บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“สมปอง-ยินดี” ลั่นพลังโหวตโนมีผลทางกฎหมาย หวังใช้คว่ำบาตรนักการเมืองชั่ว


“อ.สมปอง” ลั่นสหประชาชาติให้การยอมรับโหวตโน และไม่ถือเป็นบัตรเสีย ถือเป็นมาตรการปกป้องอธิปไตยไทย โดยไม่ต้องพึ่งคำวินิจฉัยศาลโลก ด้าน “อดีตผู้พิพากษา หน.คณะศาลฎีกา” ชี้โหวตโน ถือเป็นการคว่ำบาตรนักการเมือง เพราะประชาชนไร้ที่พึ่งแล้ว ย้ำสิทธิผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน สามารถปิดหีบเลือกตั้งได้ทั้งพฤตินัยและนิตินัย
      
       
      
       
      
       
      
      
      
       วันนี้ (24 มิ.ย.) ในช่วงเสวนา “Vote NO มุ่งสู่การปฏิรูปประเทศ” นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ศ.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ พล.อ.อ.อรุณ พร้อมเทพ อดีตรอง ผบ.สส. ร่วมในการเสวนา โดยมีนายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ
      
       โดยนายสมปองกล่าวช่วงหนึ่งว่า ในต่างประเทศให้การยอมรับคะแนนโหวตโนหรือบัตรที่ไม่ประสงค์จะเลือกใคร และมีผลทางกฎหมาย โดยไม่ถือเป็นบัตรเสีย ทั้งยังมีระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติด้วย โดยตนเห็นด้วยกับการที่บอกว่าคะแนนโหวตโนในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นขั้นแรกในการช่วยรักษาอธิปไตยของชาติไทยได้ ส่วนความคืบหน้าในการต่อสู้ในศาลโลกต่อกรณีข้อพิพาทไทย-กัมพูชานั้น ตนยืนยันว่ารัฐบาลต้องออกมาประกาศว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังสามารถทำได้ ไม่ต้องรอให้มีคำวินิจฉัยออกมา และไม่ได้เป็นการเสียศักดิ์ศรีด้วย เพราะในความเป็นจริงเราปฏิเสธอำนาจของศาลโลกมาหลายสอบปีแล้ว รวมทั้งกรณีการช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒาไพบูรณ์ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชานั้น ตนไม่เข้าใจเหตุใดคนไทย ไม่สามารถเดินในประเทศไทยได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นรัฐบาลก็ไม่ทำหน้าที่คุ้มครองคนชาติไทย และไม่รู้แม้กระทั่งเขตแดนของชาติตัวเอง
      
       “ฝากความหวังประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว การป้องกันตัวสามารถทำได้ ไม่ต้องรอให้ใครมายิงเราก่อน” นายสมปองกล่าว
      
       ด้าน นางยินดีกล่าวว่า การประกาศยุบสภาเป็นการคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ครั้งนี้ประชาชนกลับไม่ดีใจ เพราะเห็นว่าเป็นการยุบสภาเพื่อหนีปัญหาของฝ่ายการเมือง ซึ่งการรณรงค์โหวตโน ถือเป็นการคว่ำบาตรนักการเมืองทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ใช่คว่ำบาตรการเลือกตั้ง อย่างที่หลายฝ่ายพยายามมอง โดยตั้งแต่ที่ประเทศเรามีการเลือกตั้งมา เป็นการเปิดโอกาสให้นักการเมืองเข้าไปครอบงำข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ จนทำให้ประชาชนไม่มีที่พึ่ง โดยไม่มีการท้วงติงจากผ็มีอำนาจที่สามารถทำได้ จนเกิดเป็นพลังในการคว่ำบาตรในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคการเมืองที่ไม่คำนึงถึงประชาชน ไม่เลือกคนที่มีศักดิ์ศรี หรือมีศีลธรรมมาให้ประชาชนเลือก แต่กลับนำผู้ต้องหามาเป็นผู้สมัคร ส.ส. ดังนั้น เมื่อประชาชนมีศักดิ์ศรีมากกว่าผู้สมัคร แล้วเราจะมีผู้แทนราษฎรไปเพื่ออะไร
      
       ส่วนกรณีคะแนนโหวตโนมีผลทางกฎหมายหรือไม่นั้น นางยินดีกล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับความเห็นของนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่อ้างถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 88-89 ที่ว่าผู้ได้รับเลือกตั้งต้องได้คะแนนมากกว่าผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน โดยตนมองในหลักของสิทธิที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชน อิงหลักตามสิทธิทางรัฐธรรมนูญ ส่วนแง่มุมทางกฎหมายนั้นเชื่อว่าจะมีการตีความอีกครั้ง
      
       ขณะที่ พล.อ.อ.อรุณกล่าวว่า ประเทศไทยได้หมดหวังแล้วกับนักการเมืองที่เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และนายกฯ ที่การศึกษาดีเป็นนักเรียกนอก ทำให้วันนี้หมดสิ้นความหวัง มีเพียงทางออกเดียว คือ การโหวตโน
      
       
      
       

“พระรักเกียรติ” เผย “ทักษิณ” เคยโทร.ปลอบให้ยอมรับผิดตามคำสั่งศาล แต่พอโดนเองบ้างกลับหนีคดีอ้างตัดสินไม่เป็นธรรม


“พระรักเกียรติ” เผย “ทักษิณ” เคยโทร.ปลอบให้ยอมรับผิดตามคำสั่งศาล แต่พอโดนเองบ้างกลับหนีคดีอ้างตัดสินไม่เป็นธรรม ชี้ถ้ายอมรับผิดป่านนี้ออกมาจากคุกแล้ว ยัน “นช.แม้ว” ขออภัยโทษทั้งที่หนีคุกไม่ได้ ยันออกกฎหมายนิรโทษตัวเองไม่เป็นธรรม แนะเลิกโทษคนอื่นแล้วกลับมารับกรรม เชื่อประชาธิปัตย์ชนะเพราะมีตัวช่วยเข้าสู่อำนาจ ยันเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบประเทศ ซ้ำนำพาเข้าสู่กลียุค
       ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระรักเกียรติ รักขิตธัมโม หรือนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีต รมช.สาธารณสุข กล่าวในการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Vote NO มุ่งสู่การปฏิรูปประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มกุหลาบสีเหลือง ถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเป็นนักการเมืองดาวรุ่ง และเป็นถึงรัฐมนตรี แต่สุดท้ายก็ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาทุจริตประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ว่า เป็นผลมาจากความลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจ จนกลายเป็นกรรมที่ทำให้ตัวเองต้องกลายเป็นดาวร่วงในที่สุด แม้จะหนีคดีอยู่ 1 ปี แต่สุดท้ายก็ยอมรับความผิดมาชดใช้กรรมในคุก 5 ปีจาก 15 ปีที่ศาลตัดสิน ซึ่งวันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในตอนนั้นก็เคยโทรศัพท์มาหาและปลอบใจว่าศาลตัดสินอย่างยุติธรรม แล้ว แต่เหตุใดวันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาเดียวกัน และมีโทษเพียงแค่ 2 ปี กลับหนีไปต่างประเทศ แล้วยังมาทำให้บ้านเมืองวุ่นวายอีกด้วย
      
       “แม้อาตมาจะผิดพลาดเคยทำความผิด เคยอยู่ในเรือนจำใช้กรรมของตัวเอง แต่ก็ถือว่าอาตมายังมีบุญอยู่บ้างที่ออกมาแล้วได้มาอยู่ในร่มกาสาวพัตร์ ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณทำผิดแล้ว ก็มีแต่แก้ตัวว่าไม่เป็นธรรมแล้วหนีไปต่างประเทศ หาก พ.ต.ท.ทักษิณ คิดที่จะแก้ไขตัวเอง ป่านนี้ยอมมารับโทษ ก็คงได้ปล่อยตัวออกมาแล้ว เพราะโทษแค่ 2 ปีเอง” พระรักเกียรติ กล่าว
      
       พระรักเกียรติกล่าวต่อว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามที่จะขอพระราชทานอภัยโทษนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องติดคุกเสียก่อน แล้วรอให้มีวโรกาสพิเศษเสียก่อนจึงจะสามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อขอพระราชทานอภัยโทษไม่ได้ ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องกลับมารับโทษ วันนี้อาตมาเข้าคุกก็เป็นคนโทรมาบอกอาตมาว่ายุติธรรมแล้ว วันนี้อยากถามว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีโทษแค่ 2 ปีแต่หนีไป อย่างนี้เป็นธรรมกับพระรักเกียรติ หรือ แม้แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ยกเว้นความผิดให้ตัวเอง ก็ถือว่าไม่เป็นธรรมกับอาตมาเช่นกัน เพราะอย่างไรก็ต้องกลับมารับโทษ อาตมาอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เลิกโทษคนอื่น ขอให้โทษตัวเองที่หลงไหลในกิเลศแล้วยอมมารับโทษเสีย ทำกรรมใดไว้ต้องยอมรับ
      
       ต่อมา พระรักเกียรติยังได้กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันก่อนการเลือกตั้ง ด้วยว่า ในสถานการณ์ที่มีการเตรียมการโกงเลือกตั้งทั้ง 2 ขั้วการเมือง ซึ่งแม้ทุกโพลจะให้พรรคเพื่อไทยชนะ แต่ตนยังเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะชนะ เพราะนอกจากจะโกงเหมือนกันแล้วก็ยังมีตัวช่วยให้เข้าสู่อำนาจอีกด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีวางตัวตั้งแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับเขต ซึ่งเป็นข้าราชการที่รอการเลื่อนตำแหน่งทั้งหมด โดยคนเหล่านี้ก็ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายโดยพรรคการเมืองชื่อย่อ น. ที่มีอำนาจในการโยกย้ายข้าราชการท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ว่าราชการในภาคอีสานที่พรรคการเมืองนี้เป็นผู้แต่งตั้งทั้งหมด จึงเชื่อว่าไม่มีทางที่พรรคเพื่อไทยจะชนะยกจังหวัดได้เหมือนเมื่อการเลือก ตั้งปี 50 อย่างแน่นอน อย่างน้อยๆพรรคประชาธิปัตย์ต้องได้ 1 ที่นั่งในทุกจังหวัดของภาคอีสาน และพรรคภูมิใจไทยได้แน่นอน 3 ที่นั่งในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน
      
       “การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการชิงบ้านชิงเมือง เอาประเทศเป็นตัวประกัน มีการใช้เงินอย่างรุนแรง และมีความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตกัน โดยวันนี้ฆ่าหัวคะแนนฝ่ายตรงข้าม หลังเลือกตั้งจะมีการฆ่าหัวคะแนนตัวเอง และก็มีการทุจริตโกงเลือกตั้งอย่างโหฬาร จึงทำให้เชื่อว่าหลังเลือกตั้งจะไม่มีการยอมรับผลการเลือกตั้ง จนเกิดกลียุคขึ้นมา บ้านเมืองไม่สงบ ดังนั้นเลือกตั้ง 3 ก.ค.จึงไม่ใช่คำตอบของประเทศ ส่วนทางออกจะเป็นอย่างไรขอให้ประชาชนพิจารณาเอง” พระรักเกียรติ ระบุ

"น.ต.ประสงค์" โผล่เวทีโหวตโน

โร่ขึ้น'เวที'โชว์โหวตโน! สงค์สุ่นโผล่ปลุกผีปฏิวัติ 'ทหารจะหนุนหลังปชช.' มี'อุบัติเหตุ'ก่อนเลือกตั้ง

ประสงค์
"น.ต.ประสงค์ " โผล่เวทีโหวตโน สับเละทั้งเพื่อไทย "พวกแก้ไข ไม่แก้แค้น"  ประชาธิปัตย์ "พวกไม่ทำอะไร ดีแต่พูด" อ้างเลือกตั้งจบไม่สงบเหมือนเคย ยังไม่เห็นแสงสว่าง พูดเป็นนัย "ทหารจะหนุนหลังประชาชน" ก่อนการเลือกตั้งอาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น


วันที่ 24 มิ.ย.2554 นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวว่า เชื่อภายหลังการเลือกตั้งบ้านเมืองยังไม่สงบ เพราะไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะมีกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหว เช่น นักวิชาการไม่เอา"ระบอบทักษิณ" ออกมาต่อต้าน หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล และประชาชนเสื้อแดงออกมาหากมีรัฐบาลชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนการยุติความไม่สงบนั้น มองแนวทางการปฏิวัติต้องเกิดขึ้นแต่จะเป็นรูปแบบใหม่คือ "ทหารหนุนหลังประชาชน"

"การเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่มีอะไรเป็นแสง สว่าง หากจะให้ทุกอย่างคลี่คลายต้องหลังการควบคุมสถานการณ์ และมีเหตุการณ์ชั่วคราวเกิดขึ้น เพราะอยู่ดีๆ จะให้ดีขึ้นมาทันทีไม่ได้ ซึ่งผมขอไม่พูดต่อ ให้รอดูก่อนการเลือกตั้งอาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น" น.ต.ประสงค์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านั้น น.ต.ประสงค์พูดบนเวทีเสวนา "โหวตโน มุ่งสู่การปฏิรูปประเทศไทย : ทางออกประเทศ" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่าสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ยังวิกฤตทุกด้าน นับตั้งแต่ปี 2554 เพราะคนมีอำนาจทางการเมืองมีแนวบริหารผลประโยชน์สาธารณะเพื่อพวกพ้อง และใช้นโยบายประชานิยมมอมเมาประชาชน และการเมืองช่วง 2 ปีหลายฝ่ายฝากความหวังไว้กับรัฐบาลนายกฯรูปหล่อ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาสะสมมาตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดปรากฏการณ์เติบโตของหมู่บ้านเสื้อแดง การละเมิดสถาบันเบื้องสูง

น.ต.ประสงค์ กล่าวอีกว่า การแข่งขันทางการเมืองในปัจจุบัน ไม่ใช่การปราศรัยหาเสียง แต่เป็นเวทีด่าคนอื่นแล้วทำเป็นร้องไห้ เสียใจมีคนเผาบ้านเผาเมือง ขอถามว่าขณะที่ประชาชนถูกเผาบ้านและเดือดร้อนจากการปิดแยกราชประสงค์ คนมีอำนาจตอนนั้นไปมุดหัวอยู่ในรู หรือค่ายทหารที่ไหน

"บอกว่าขอเวลา อีก 4 ปีจะแก้พิษทักษิณ แต่ทำไมช่วง 2 ปีเศษมีอำนาจ แค่ถอดยศยังทำไม่ได้ แบบนี้จะให้ประชาชนเลือกเข้ามาอีกหรือ"น.ต.ประสงค์กล่าวย้ำ

น.ต.ประสงค์ ยังกล่าวอีกว่า ครั้งนี้เป็นการแข่งขันระหว่างคน 2 พวก คือ "พวกแก้ไข ไม่แก้แค้น" และ"พวกไม่ทำอะไร ดีแต่พูด" หรืออีกชื่อคือพวกทำแพลงกิ้งไปวันๆ ส่วนพรรคอื่นเป็นเพียงพรรคประดับ ดังนั้น ถ้ามีการเลือกตั้งจะเป็นการต่อสู้ของ 2 พรรคใหญ่เท่านั้น

"ถ้านะ ถึงแม้ไม่กี่วันจะเป็นวันลงคะแนนเสียงแล้วก็ตาม เพราะเราไม่ทราบว่า 2-3 วันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผมขอเล่าเรื่องให้ฟังอย่างหนึ่ง มีชายหิวโซเดินเข้าร้านอาหารสั่งเด็กเสริฟว่า มีอะไรให้ยกมา ปรากฏเด็กยกมา 4 จาน ประกอบด้วย หนึ่ง เมนูผัดเผ็ดปลาไหลยัดไส้หมูโคราช สอง เมนูยำสะตอแหลใส่ตับกับห้อยจ้อห่อใบเฟิร์น สาม ปูผัดไข่ชั่งกิโล และ 4.จานเปล่า ผมไม่บอกว่าจานไหนเป็นพรรคการเมืองใดบ้าง ให้คิดเอาเอง แต่จานเปล่า คือ โหวตโน" น.ต.ประสงค์ กล่าว

พันธมิตรฯแรลลี่ ชูป้ายขึ้นรถแห่รณรงค์โหวตโนทั่วเมือง

ย้อนกลับไป 79 ปีที่แล้ว

ทบทวนประวัติศาสตร์: บนถนน 2475 : ก่อนวันนั้นจะมาถึง


วันที่ 24 มิถุนายน เมื่อ 79 ปีที่ผ่านมาในปี 2475 ถือเป็นวันสำคัญทางการเมืองไทย เป็นวันเริ่มต้นของระบอบการเมืองประชาธิปไตยของไทย

ณัฐพล พึ่งธรรม ช่วยเตือนความจำพวกเราในเรื่องนี้พร้อมกับเล่าความเป็นมาของวันที่ 24 มิถุนายน 2475

โดย ณัฐพล พึ่งธรรม

24 มิ.ย. 2554


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อฉายภาพเส้นทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสยามก่อนจะดำเนินมาถึงวันที่ คณะราษฎรได้ร่วมกันอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จึงขอร่วมรำลึกเหตุการณ์นี้ในวาระครบ 79 ปี การปฏิวัติ 2475 มา ณ โอกาสนี้
*****
ศตวรรษ ที่19 คลื่นจักรวรรดินิยมพร้อมทั้งกระแสทุนนิยมจากโลกตะวันตกเดินทางมาถึงโลกตะวัน ออก สยามในฐานะ“รัฐกษัตริย์”ซึ่งปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย เริ่มสั่นคลอนและจำต้องปรับตัวเพราะไม่สามารถทัดทานกระแสทุนนิยมอันเป็น วิวัฒนาการของสังคมตะวันตกได้ก้าวไปถึงแล้ว
รัฐบาลสยามยอมเสียเปรียบ ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ในปี2398 และได้กลายเป็นต้นแบบให้ชาติตะวันตกอีก 13 ประเทศ เข้ามาเจรจาทำสัญญาในแบบเดียวกัน นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สยามต้องรับมือกับคลื่นจักรวรรดินิยมและกระแสทุนนิยม ที่ถาโถมเข้าใส่
ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่5 อธิปไตยของสยามถูกท้าทายอย่างมากจนราชสำนักได้ตระหนักถึงความด้อยกว่าทั้ง ความรู้และความคิด จึงได้พยายามปรับตัวโดยจัดรูปแบบของรัฐใหม่ตามแบบแผนตะวันตกและไม่ลืมที่จะ ผสานจารีตการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำเอาไว้บางอย่าง
ในรัชสมัยนี้เอง ที่อุดมการณ์ประชาธิปไตยเริ่มเข้าสู่สังคมสยามอย่างค่อนข้าง ชัดเจน เริ่มจากชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่งมีทั้งเจ้านายและขุนนางที่ไปศึกษาและปฏิบัติ ราชการในยุโรป ได้ออกมาเคลื่อนไหวครั้งแรกในร.ศ.103(พ.ศ.2427) คณะเจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มีหนังสือกราบทูลรัชกาลที่5 มีสาระสำคัญเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) โดยเห็นว่าเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้สยามรอดพ้นภัยคุกคามจากตะวันตกได้ และเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวว่า “แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด”
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
รัชกาล ที่ 5 ทรงปฏิเสธและตอบกลับไปว่า พระองค์ไม่เคยคิดที่จะหวงแหนอำนาจไว้เลย แต่ติดขัดที่สถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เหมาะสม เพราะขาดคนมีความรู้ความสามารถและความกล้าที่จะทำหน้าที่นิติบัญญัติเพื่อ ถ่วงดุลกับอำนาจบริหารที่ของกษัตริย์
ทว่าหลังจากนั้น ก็มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตามแนวทางของพระองค์เอง กล่าวคือ การสถาปนาอำนาจส่วนกลางภายใต้รัฐบาลแบบสมัยใหม่ที่รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วน กลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นการก่อร่างสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) โดยมีกษัตริย์เป็นองค์อธิปัตย์สูงสุด มีอำนาจสมบูรณ์และแบ่งแยกไม่ได้ คงสถานะความศักดิ์สิทธิ์เหนือประชาชนเช่นเดียวกับยุคศักดินา และในสมัยนี้นอกจากกลุ่มชนชั้นสูงแล้ว ยังมีสามัญชนหัวก้าวหน้าอย่าง “เทียนวรรณ” และ ก.ศ.ร. กุหลาบ ที่ได้พยายามนำเสนอแนวคิดท้าทายและกล้าวิพากษ์วิจารณ์การปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยสำนึกถึงความเป็นมนุษย์ที่ต้องมีสิทธิ ความเสมอภาค คนทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ดังที่เทียนวรรณ ได้แต่งบทประพันธ์ขึ้นตอนหนึ่งว่า
...ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ
ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ
แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ
จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย...”
แม้การเปลี่ยนแปลงยังมิได้เกิดขึ้นตามข้อเรียกร้อง แต่ก่อนที่รัชกาลที่5 เสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชดำรัสอันเปรียบเหมือนคำมั่นสัญญาว่า "จะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์...จะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น"
พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (คราวเสด็จนิวัติพระนคร หลังทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ)



ถึงต้นศตวรรษ ที่20 หลังจากรัชกาลที่5เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารก็เสด็จขึ้นครองราชย์ กล่าวได้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 มิได้มีปรากฏการณ์ใดที่จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยแท้จริง
ทรงมุ่งสร้างความมั่นคงให้กับรัฐตามแนวทาง ชาตินิยมและอนุรักษ์นิยม ทรงริเริ่มตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย และให้มีหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอข่าวด้วย มีคนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า ดุสิตธานีเป็นเพียงการละเล่นของกษัตริย์และไม่ได้ตั้งใจก่อตั้งรูปการปกครอง แบบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
ก่อนหน้านั้นช่วงต้นรัชกาลมีเหตุปฏิวัติ โค่นล้มระบอบกษัตริย์ขึ้นในจีน ตุรกีและโปรตุเกส เหตุการณ์เหล่านี้มีอิทธิพลมาถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยในสยาม นั่นคือ เหตุการณ์ รศ.130 กลุ่มนายทหารและปัญญาชนวางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้กษัตริย์พระราชทาน รัฐธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อนจึงถูกจับกุมเสียก่อน

คณะร.ศ.130 หลังถูกจับกุม
หลัง การก่อการครั้งนี้ รัชกาลที่6 ยังทรงยืนยันหนักแน่นว่า ราษฎรยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย “ระบอบกษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุดนั้นดีแล้ว ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศสยามเพราะราษฎรไม่มีความรู้” พร้อมกับทรงเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังที่เกิดในหลายประเทศ เช่น “การปฏิวัติทั้งในจีนและโปรตุเกส เป็นสิ่งไม่ถูกต้องเพราะนำมาซึ่งความวุ่นวาย”
เหตุการณ์ ปฏิวัติจีน ปี1911 (พ.ศ.2454) ขบวนการปฏิวัติภายใต้การนำของดร.ซุน ยัตเซ็น หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้เคยเดินทางเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเทศรวมทั้งสยาม ได้ปฏิวัติโค่นล้มอำนาจการปกครองระบอบจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงได้สำเร็จและ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำขบวนการปฏิวัติ
ปี2457 เกิดสงครามโลกครั้งที่1 และหลังจากนั้นก็มีเหตุปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์เกิดขึ้นอีกหลายประเทศ ทั้งในรุสเซีย เยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี ขณะที่ภายในประเทศก็มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อสามัญชนเริ่มตื่นตัว และแสดงออกทางการเมืองกว้างขวางขึ้น เช่น หนังสือพิมพ์ “จีนโนสยามวารศัพท์” ของนายเซียวฮุดเสง ที่เผยแพร่โฆษณาความคิดเชิงประชาธิปไตย จนกระทั่งรัฐบาลไม่พอใจถึงกับออกกฎหมายควบคุมและให้รัฐมีอำนาจสั่งปิดได้ นับเป็นกฎหมายเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย


ห้วงเวลาสู่วิกฤต
รัชกาล ที่ 6 ในฉลองพระองค์"แฟนซี" เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา วันที่ 29 ธันวาคม 2466 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลสยามกำลังประสบภาวะขาดดุลการคลังอย่างมาก
รัชกาลที่ 6 ขณะทรงแสดงละครร่วมกับข้าราชสำนัก กล่าวกันว่า รัชสมัยนี้ งานด้านศิลปะการละครเฟื่องฟูมากถึงขีดสุด

สถานการณ์ ช่วงปลายรัชกาลที่6 ย่ำแย่ลงเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองที่รุมเร้าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และราชสำนักยิ่งซับซ้อนมากขึ้น สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจของชาติตั้งแต่ พ.ศ.2465เป็นต้นมา งบประมาณแผ่นดินขาดดุลอย่างหนัก ต้นพ.ศ.2467 ใกล้สิ้นรัชกาล สถานการณ์ยิ่งทรุดหนัก และคนจำนวนหนึ่งได้พุ่งเป้าไปที่การใช้จ่ายเงินเกินตัวของราชสำนักเวลานั้น จนกระทั่งเงินคงคลังเหลือน้อยจนรัฐบาลเกือบอยู่ในสภาพล้มละลาย วิกฤตการณ์ในรัชสมัยนี้มีส่วนสำคัญต่อสถานะของระบอบกษัตริย์ที่กำลังสั่น คลอน
พันธบัตร ที่รัฐบาลรัชกาลที่ 6 ออกจำหน่ายในตลาดยุโรป ปี1922 (พ.ศ.2465) เพื่อกู้ยืมเงิน 2 ล้านปอนด์ มาใช้คืนเงินคงคลัง แก้ปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ท่ามกลางภาวะขาดดุลงบประมาณอย่างหนักช่วงปลายรัชกาล

เมื่อ เข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสถียรภาพของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มวิกฤต ดังเห็นได้จาก"บันทึกเรื่องการปกครอง" (23 กรกฎาคม-1สิงหาคม 2469) ที่ รัชกาลที่7ทรงเขียนถึง ดร.ฟรานซิส บี แซร์(พระยากัลยาณไมตรี)อดีตที่ปรึกษาราชการต่างประเทศฯสมัยรัชกาลที่ 6 เนื้อความที่ปรากฏในบันทึกนี้สะท้อนถึงสถานะของราชสำนักสยามในเวลานั้นได้ อย่างชัดเจน

"..ในรัชสมัยที่เพิ่งสิ้นสุด(รัชกาลที่6) หลายสิ่งหลายอย่างได้ทวีความเลวร้ายไปมาก เนื่องจากเหตุหลายประการซึ่งข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องเล่า ด้วยท่านเองก็ทราบดีแก่ใจเพียงพอแล้ว พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นผู้ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของข้าราชการบริพารคนโปรด ข้าราชการทุกคนถูกเพ่งเล็งมากบ้างน้อยบ้างในด้านฉ้อราษฎรบังหลวง หรือเล่นพรรคเล่นพวก
ยังนับเป็นโชคดีที่พระบรมวงศานุวงศ์ยังเป็น ที่เคารพยกย่องว่า เป็นคนซื่อสัตย์ สิ่งที่เป็นที่น่าเสียใจยิ่งคือ พระราชสำนักของพระองค์เป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรง และในตอนปลายรัชสมัยก็ถูกเลาะเลียนเยาะย้อย กำเนิดของหนังสือพิมพ์ฟรีเพสทำให้สถานการณ์ในขณะนั้นขยายตัวเลวร้ายมากขึ้น ฐานะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาวะลำบาก ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ระยะเวลาของระบอบเอกาธิปไตยเหลือน้อยลงเต็มที..."
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
และ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลสยามแก้ปัญหาขาดดุลการคลังด้วยการปลดข้าราชการออกจำนวนมาก ปัญหาเศรษฐกิจได้ขยายวงสู่ความขัดแย้งในวงของผู้บริหารจนกระทั่งถึงขั้นมี การลาออกของเสนาบดี รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่อนุรักษ์นิยมเน้นการจัดงบประมาณให้เข้า ดุล จึงต้องตัดงบประมาณรายจ่าย ลดเงินเดือน ลดจำนวนข้าราชการพร้อมกับเก็บภาษีในรูปใหม่ซึ่งกระทบคนชั้นกลางมากที่สุด จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างมาก ขณะที่เกษตรกรชาวนาก็อยู่ในภาวะทุกข์ยาก ราคาข้าวและราคาที่ดินตกต่ำอย่างมาก ชาวนาขาดเงินสดที่จะซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค ในขณะเดียวกันก็ขาดเงินสำหรับเสียภาษีอากร ทั้งยังไม่สามารถจะหาเงินกู้มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เกิดหนี้สินรุงรังและเกิดอัตราว่างงานสูง
แม้ประเทศกำลังประสบ ภาวะเศรษฐกิจก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเจ้านายและชนชั้นสูงยังคงดำรงสถานะที่สูงส่งเช่นเดิม ด้วยแนวคิดของระบบเจ้านายต้องผดุงไว้ซึ่งขัตติยะ เพราะหากมีเรื่องใดเสื่อมเสียมากระทบชนชั้นเจ้านาย ย่อมส่งผลต่อพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ด้วย ดังนั้นพระมหากษัตริย์ต้องพระราชทานเงินให้แก่ชนชั้นเจ้าอย่างเพียงพอ
สถานการณ์ ดังกล่าวเชื่อมโยงมาถึงกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยที่รุนแรงมากขึ้น “รัฐสภาและรัฐธรรมนูญ” เป็นคำที่คุ้นเคยกันทั่วไปอย่างน้อยก็ในหมู่ปัญญาชน เวลานั้นมีกระแสข่าวว่า รัชกาลที่7 จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ท้ายที่สุดก็มิได้เกิดขึ้น พระองค์ทรงแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิธีเดิม คือ “การปรับปรุงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เพราะทรงเห็นว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแบบฉบับพระบิดานั้น เป็นวิธีที่ดีที่สุด”

ถึงปี2474 รัชกาลที่7 ทรงมอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศและที่ปรึกษาร่างเค้าโครงธรรมนูญเพื่อเตรียม ไว้ว่า อาจจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนเมษายน ในโอกาสครบ 150 ปี ราชวงศ์จักรี หากแต่เค้าโครงธรรมนูญฉบับนี้ ยังเป็นธรรมนูญที่ให้อำนาจสูงสุดแก่กษัตริย์และขุนนางเสนาบดีเช่นเดิม เพราะไม่ได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปจากสถาบันกษัตริย์ มิใช่ธรรมนูญที่อยู่บนพื้นฐานอำนาจของประชาชนตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป หากเป็นธรรมนูญแบบกษัตริย์นิยม ดังเห็นได้จากที่ระบุไว้ในมาตรา 1 ของร่างฯฉบับนี้ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์" แต่แล้วการพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งนั้นก็ล้มเหลวไปพร้อมๆกับโอกาสของสยาม ที่จะมีระบอบรัฐสภา
ขบวนการคณะราษฎร
ทหาร และพลเรือนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ ในยุโรป มีเจตนาตรงกันคือต้องการเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งได้เริ่มประชุมกันครั้งแรกตั้งแต่ราวเดือนกุมภาพันธ์ ปี2469 ณ กรุงปารีส และตกลงกันใช้วิธี "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์อยู่เหนือ กฎหมาย มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยเน้นแผนการที่หลีกเลี่ยงการนองเลือดเพื่อป้องกันการถือโอกาสเข้ามา แทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คืออังกฤษและฝรั่งเศส

หลังการประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการกลับมาประเทศสยาม ก็พยายามเสาะหาสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วมการปฏิวัติ จนได้สมาชิกจากหลากหลายอาชีพ
  • สายพลเรือน นำโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
  • สายทหารเรือ นำโดยน.ต. หลวงสินธุสงครามชัย
  • สายทหารบกชั้นยศน้อย นำโดย พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม
  • และสายนายทหารชั้นยศสูง นำโดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
เมื่อ จัดตั้งขบวนการสำเร็จเป็นรูปร่าง คณะราษฎรได้ประชุมเตรียมการหลายครั้ง แต่ได้ล้มเลิกแผนการบางแผน เช่น การยึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในวันที่ 16มิถุนายน เนื่องจากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่าจะปฏิบัติการในรุ่งเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกล กังวล เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนในกรุงเทพ ทำให้สามารถเข้ายึดอำนาจโดยหลีกเลี่ยงการปะทะที่เสียเลือดเนื้อได้ เป้าหมายสำคัญของปฏิบัติการนี้คือการเข้าควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในเวลานั้น
คณะราษฎรสายทหารบก
แถว ที่1 (ยืนจากซ้าย) ร.อ.หลวงเชวงศักดิ์สงคราม ร.อ.หลวงเสรีเริงฤทธิ์ ร.อ.หลวงชาญสงคราม ร.ท.ขุนพิพัฒน์สรการ ร.อ.หลวงอดุลเดชจรัส ร.อ.หลวงพรหมโยธี ร.อ.หลวงกาจสงคราม ร.ท.ขุนปลดปรปักษ์ ร.อ.หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ร.ท.ขุนวิมลสรกิจ พ.ต.หลวงวิจักรกลยุทธ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ ร.อ.ขุนสุจริตรณการ ร.ท.น้อม เกตุนุติ ร.อ.หลวงสวัสดิ์รณรงค์

แถวที่ 2 (นั่งจากซ้าย)
พ.ต.หลวง อำนวยสงคราม ร.อ.หลวงทัศไนยนิยมศึก พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ ร.อ.หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต พ.ต.หลวงสฤษฎิ์ยุทธศิลป์

แถวที่3 (นั่งพื้นจากซ้าย) ร.ท.ขุนจำนงภูมิเวท ร.ท.ขุนนิรันดรชัย ร.ท.ขุนเรืองวีรยุทธ์ ร.ท.ขุนศรีศรากร ร.อ.หลวงรณสิทธิพิชัย ร.ท.ไชย ประทีปะเสน ร.ต.จำรูญ จิตรลักษณ์ ร.ต.สมาน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร.ต.อุดม พุทธิเกษตริน
สี่ทหารเสือคณะราษฎร (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา และ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)
ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475
ย่ำ รุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้นำทหารบกและทหารเรือประมาณ 2,000 ชีวิต มารวมตัวกันรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะได้อ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือนประกาศยึดอำนาจการปกครองก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร ด้านสนามเสือป่า ดังปรากฎในทุกวันนี้มีหมุดทองเหลืองฝังอยู่บนพื้นถนน เป็นหลักฐานติดตรึงประวัติศาสตร์หน้าสำคัญ มีข้อความจารึกว่า
"ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"

หมุด ทองเหลือง ฝังบนพื้นถนน เคียงข้างพระบรมรูปทรงม้า ณ จุดที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย นับเป็นอนุสรณ์แห่งเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
คณะ ราษฎรได้ส่ง น.ต.หลวงศุภชลาศัยไปอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อให้เสด็จนิวัติพระนคร โดยเสนอให้ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปได้แต่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หากทรงปฏิเสธจะเลือกเจ้านายพระองค์อื่นขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อไป พระองค์ได้ทรงปรึกษากับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ที่ตามเสด็จและได้ตัดสินพระทัยตกลงตามเงื่อนไขของคณะราษฎร
เมื่อเสด็จ กลับถึงวังศุโขทัย เช้าวันรุ่งขึ้น ผู้แทนคณะราษฎร 7 คน ได้เดินทางนำเอกสารสำคัญไปกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช2475 ซึ่งร่างโดยนายปรีดี พนมยงค์ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ที่เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของราษฎร ดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราแรกว่า
"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย"

--------------------------------
ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อ กษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้

การที่ แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่ รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้ เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิด ว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครอง โดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ ลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า

๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

๓.ต้อง บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)

๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎร ทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

โหวตโนมีผลแน่นอน

Tanawat Wongpromdej
ความหมายของโหวตโน

โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ 23 มิถุนายน 2554 15:48 น.


ผมรู้สึกงงมากที่นักวิชาการ นักวิชาเกิน นักกฎหมายบางคนออกมาเขียนแสดงความคิดเห็นว่า โหวตโนเป็นคะแนนเสียเปล่า ไม่มีความหมายอะไร ถ้าไม่มีความหมายจริง แล้วกฎหมายจะกำหนดให้มีช่องนี้ไว้ทำไมในบัตรเลือกตั้ง เมื่อคราวที่พรรคไทยรักไทยถูกพรรคการเมืองอื่นบอยคอตไม่ลงเลือกตั้งนั้น เรารู้กันว่า ถ้าผู้สมัครคนเดียวได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้สมัคร ก็จะถือว่าผู้นั้นไม่ได้รับเลือกตั้ง กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ก็ไม่มีใครพูดถึงคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลย

แต่ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิก พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงเรื่องคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนไว้ในมาตรา 88 โดยมีสาระว่า

ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากันหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น (เลือกตั้งแบบพวง 3 คนหนึ่งเขต) ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้ง ต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้นหรือ ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนี้ใหม่

ในมาตรา 89 ก็ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับมาตรา 88 โดยบัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 88”

ต่อมามีการยกเลิก 2 มาตราดังกล่าว โดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 14 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ โดยรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ข้อความที่แก้ไขใหม่ ในกรณีความสำคัญของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนยังอยู่เหมือนเดิม

เมื่ออ่านรายละเอียดในข้อกฎหมาย 2 มาตรานี้ แปลได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตทุกคน ต้องอ่านเกณฑ์ได้คะแนนเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และต้องได้คะแนนมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนด้วย จึงจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แม้คะแนนของผู้นั้นจะเท่ากับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนก็ตาม

เพราะฉะนั้น จำนวนของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงมีความสำคัญที่จะสกัดกั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งมิให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ได้ เพราะในความเป็นจริงการกาในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (หรือโหวตโน) เป็นประชามติของมหาชน ซึ่งกฎหมายก็ต้องให้ความสำคัญ เรื่องนี้ผู้เขียนอยากจะโทษ กกต.ที่ไม่ให้ความกระจ่างแก่ประชาชนในเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าท่านมัวทำอะไรกันอยู่ จึงไม่เอาข้อกฎหมายดังกล่าวให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจโดยทั่วกัน หรือสงสัยว่าท่านเหล่านั้น ได้อ่านกฎหมายทั่วถึงหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นมีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง อยากให้ กกต.ออกมาทำความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย

ต้องขอขอบคุณคุณอนุรักษ์ อย่างมากที่ได้จุดประกายในเรื่องนี้ จนทำให้ผู้เขียนต้องค้นหาความจริงมาเผยแพร่ และขอยืนยันว่า ความเห็นของคุณอนุรักษ์ถูกต้องที่มาตรา 89 ต้องใช้มาตรา 88 ด้วย ไม่จำเป็นต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีก เพราะความหมายชัดอยู่ในตัวแล้ว เพราะผู้เขียนเองก็ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายมาแล้วเป็นจำนวนมากในการเป็นกรรมการกฤษฎีกามากว่าสิบปีแล้ว

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

เบื้องหลังราชประสงค์ที่อภิสิทธิ์ไม่กล้าปราศรัย

       คงจะเต็มอิ่มกันแล้วนะครับ กับการปราศรัยที่ราชประสงค์ของท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ รองฯ เทพเทือก ในฐานะเลขาพรรคประชาธิปัตย์ ผู้มีหน้าที่ดูแลเรื่องความมั่นคงของประเทศ ก็หวังว่าคนเสื้อแดงจะได้ตาสว่างกันเสียทีว่าแท้จริงแล้ว 91 ศพนั้นมีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร และใครที่เชื่อมโยงกับขบวนการเผาบ้านเผาเมือง
       
       แต่การเพิ่งมาพูดชัดๆ ในเวลานี้ ก็ไม่รู้ว่าระหว่างจำนวนคนเสื้อแดงที่ได้ฟังข้อมูลแล้วจะหูตาสว่างมาเลือกพรรคประชาธิปัตย์ กับจำนวนคนเสื้อแดงที่ถูกยัดข้อมูลผิดๆ มาแรมปีแต่รัฐไม่เคยให้ข้อมูลที่ถูกแก่เขาเพราะไม่ต้องการจะไปสะกิดแผลตามนโยบายปรองดองแล้วยิ่งฟังจะยิ่งแค้นหาว่านายกฯ โกหกให้ร้ายพวกเขา อะไรจะมากไปกว่ากัน
       
       แต่ที่รู้ๆ หลังการเลือกตั้ง มวลชนทั้งฝ่ายแดงและประชาธิปัตย์ ไม่สามารถจะอยู่ร่วมผืนแผ่นดินเดียวกันได้อีกต่อไป เพราะนโยบายปรองดองที่นายอภิสิทธิ์พยายามใช้มาตลอดนั้น ถูกขยี้จนแหลกเละไม่เป็นชิ้นดีด้วยคำพูดของท่านเองจากเวทีราชประสงค์เมื่อคืนนี้ แต่ในมุมของประชาธิปัตย์ก็คงจะคุ้ม เพราะคิดว่าน่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้พลังเงียบตัดสินใจได้ แม้ว่าจะไม่ได้ถูกใจการบริหารของนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม
       
       อันที่จริงข้อมูลที่นายอภิสิทธิ์และรองเทือกปราศัยนั้น คนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารคงจะได้ผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยมีใครมาปะติดปะต่อเชื่อมโยงกันให้เห็นถึงเรื่องราวทั้งหมดเหตุใดจึงเกิดตรงนั้น และทำไมเหตุการณ์จึงพัฒนามาถึงวันนี้ เพราะการจะเข้าใจอะไรเราต้องเข้าใจภาพรวมป่าทั้งป่า ไม่ใช่เพียงแค่ชายชุดดำและแค่แกนนำแดงปลุกระดมให้มีการเผาบ้านเผาเมืองแล้วฆ่ากันเองก่อนจะมาโยนผิดให้รัฐ
       
       ย้อนกลับไปในช่วงม็อบเสื้อแดงในปี 2553 ถ้ายังจำกันได้ เราคงจะเห็นนายอภิสิทธิ์ออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ บ่อยครั้งจนเฝือ แต่ทางรัฐก็ยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ในขณะมวลชนเสื้อแดงและกองกำลังชุดดำรุกไล่และกดดันรัฐและทหารอย่างหนัก ทั้งยังมีข่าวว่านายอภิสิทธิ์กำลังจะถอดใจยุบสภาเพราะว่าเชิญแกนนำ นปช.มาดีเบตตามที่ท่านถนัดจนหมอเหวงออกอาการเหวงออนแอร์ให้เห็นแล้วก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้น
       
       แม้ว่าจะมีกลุ่มคนเสื้อหลากสีออกมาให้กำลังใจ และมีหลายคนออกมาเตือนให้บล็อกมวลชนเสื้อแดงให้อยู่ในพื้นที่จำกัดอย่าให้ไปตั้งม็อบที่ราชประสงค์ได้ และให้ปรับยุทธการรับมือใหม่ แต่นายอภิสิทธ์ก็ยังคงไม่กล้าตัดสินใจ ปล่อยให้เหตุการบานปลายสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง เป็นเหตุให้เราต้องเสียทหารหาญไปหลายคนเป็นเหยื่อของกองกำลังติดอาวุธชุดดำ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ก็เป็นหนึ่งในนั้น
       
       กระทั่งมวลชนเสื้อแดงยึดราชประสงค์เป็นที่ตั้งหลัก และเริ่มหนักข้อเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ มีการเอาถังแก๊สนับสิบถังไปไว้ใต้อาคาร จนกระทั่งสมเด็จพระสังฆราชต้องเสด็จอพยพออกอย่างเร่งด่วน แทนที่จะสั่งการอย่างเด็ดขาด กลับมีข่าวว่ามีรัฐมนตรีและคนในพรรคแมลงสาบบางคนไปเจรจาต่อรองกันลับๆ กับตัวแทนของทักษิณ เพราะนายอภิสิทธิ์ไม่อยากโดนตราหน้าว่าเป็นนายกฯ มือเปื้อนเลือดสั่งปราบประชาชน
       
       เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความอึดอัดและเดือดร้อนแก่ประชาชน และทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างยิ่งจนมีกระแสเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติและจัดการบ้านเมืองให้เข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ซึ่งกำลังจะไปเข้าเส้นทางการเถลิงสู่อำนาจของทหารอ้วนผู้ดูแลความมั่นคง ผู้รอชุบมือเปิบ หากนายอภิสิทธิ์ยังไม่ตัดสินใจ
       
       และนั่นจึงเป็นที่มาของการแจ้งเกิดของ “เสธ.ไก่อู” พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่มาออกทีวีแทนนายอภิสิทธิ์และเปลี่ยนการตัดสินใจในทางยุทธการไปสู่มือของกองทัพ จนกระทั่งเกิดยุทธการกระชับพื้นที่ที่ต้องแลกมาด้วยการที่บ้านเมืองถูกเผาและมีผู้เสียชีวิตโดยรวม 91 ศพดังที่นายอภิสิทธิ์และรองเทือกได้ชี้แจง ณ ราชประสงค์ อย่างไรก็ตาม จากการเจรจาครั้งนั้นทำให้แกนนำแดงได้รับอานิสงส์ถูกควบคุมตัวอย่างละมุนละม่อมไปเสวยสุขในบ้านพรรคตากอากาศในรั้วตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ค่ายนเรศวร
       
       หลังเหตุการณ์เผาเมืองสงบลง และคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยลดฮวบต่ำกว่าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ก็รู้จึงมองว่าเป็นช่วงเหมาะสมหากจะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แต่ก็รู้ว่าอาจจะเจอกับมาตรการต่อต้านการหาเสียงของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยังแค้นฝังหุ่น และเกิดความรุนแรงขึ้นได้อีก ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากถูกพรรคภูมิใจไทยขี่คออีกต่อไป การเจรจาทางลับของกลุ่มคนชุดเดิมของทั้งสองขั้วจึงมีการสานต่อ
       
       ข้อเสนอที่เป็นการตกลงของทั้งสองฝ่าย คือ หากพรรคแมลงสาบชนะ พรรคเพื่อไทยก็พร้อมจะเข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสมพรรคใหญ่สองพรรคที่มีเสถียรภาพและลบภาพความขัดแย้ง โดยจะมีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เพื่อจะให้มวลชนคนเสื้อแดงยอมรับ รัฐบาลจะต้องดำเนินแผนการปรองดอง โดยเริ่มจากการปล่อยตัวนายวีระ มุสิกพงศ์ (ปัจจุบันคือ วีระกานต์ มุสิกพงศ์) ออกมาเป็นผู้ประสานงาน
       
       นั่นคือที่มาของคณะกรรมการปรองดอง ที่มี นายคณิต ณ นครที่นายอภิสิทธิ์เชื้อเชิญมาเป็นหนังหน้าไฟ และ “เสธ.หนั่น” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นคนเดินเกม ซึ่งเป้าหมายคือการปล่อยตัว 7 แกนนำก่อการร้ายที่อยู่ในคุกเพื่อซื้อใจคนเสื้อแดง ขณะนั้นประชาธิปัตย์ย่ามใจกับคะแนนนิยมของตนเองที่อยู่เหนือพรรคเพื่อไทย จึงเทน้ำหนักมาที่การปรองดองมากกว่าการใช้หลักนิติรัฐจัดการกับคนผิดและใครที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็จะถูกวิชามารกล่าวหาว่าไม่อยากให้บ้านเมืองสงบ
       
       ในขณะที่แผนปล่อยตัวแกนนำเสื้อแดงดำเนินการประสานผ่านทางนายวีระ และ “ธิดาแดง” นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ทหารผู้ร่วมปฏิบัติการกระชับพื้นที่คืนความสงบให้บ้านเมืองกลับถูกลอยแพ โดยถูกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน และนั่นคือสิ่งที่แกนนำเสื้อแดงนำเอาไปบิดเบือนและปลุกเร้าให้มวลชนที่เลียแผลในที่ตั้งมีความเข้าใจผิดกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม
       
       ภาพของแกนนำเสื้อแดงที่ถูกปล่อยตัวมาราวฮีโร่ สร้างความฮึกเหิมให้มวลชนแดง เข้าใจว่าพวกเขาเหล่านั้นถูกปล่อยตัวออกมาเพราะรัฐบาลต้านทานการกดดันของประชาชนไม่ไหว ซึ่งทางหนึ่งก็สร้างความโล่งใจให้กับนายอภิสิทธิ์เพราะมีกระแสข่าวว่าอาจมีการปฏิวัติเพื่อจัดการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มล้มเจ้า-เผาเมือง หลังจากการขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และตัวช่วยสะกดความเคลื่อนไหวทหารเอาไว้ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่า 7 แกนนำแดงที่เพิ่งถูกปล่อยตัว
       
       นายอภิสิทธิ์ ณ เวลานั้นต้องการจะเยียวยาแต่ทางคนเสื้อแดง ขณะที่ผู้เสียหายตัวจริงอย่างผู้ค้าย่านราชประสงค์ถูกลอยแพให้เจรจากับกลุ่มเสื้อแดงเอาเอง และที่ลืมไม่ได้คือภรรยาของ พ.อ.ร่มเกล้า (ซึ่งได้รับพระราชทานยศเป็น พล.อ.ร่มเกล้า หลังเสียชีวิต) ยังคงแต่งดำทำงานอยู่ในทำเนียบที่นายอภิสิทธิ์นั่งทำงาน เพื่อเรียกร้องหาความยุติธรรมให้สามีเธออยู่ทุกวัน
       
       และในเวลาไม่นานหลังจากนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็ถูกสังคมตั้งคำถามกรณีการขาดแคลนน้ำมันปาล์มที่มีการกักตุน และราคาสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปเป็นทุนเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง ซึ่งความเดือดร้อนดังกล่าวกระทบไปถึงทุกครัวเรือน มีการตำหนิรัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าเป็นรัฐบาลอำมาตย์ที่หากินกับคนหาเช้ากินค่ำ
       
       เหตุการณ์เหล่านี้เริ่มทำให้คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยกระเตื้องขึ้นมา ในที่สุดนายอภิสิทธิ์จึงต้องรีบตัดสินใจยุบสภาก่อนที่คะแนนจะทิ้งห่างไปมากกว่านี้ ทว่า กว่าพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์จะรู้ว่าเสียค่าโง่ให้กับพรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดงก็สายเกินไป เพราะไปหาเสียงที่ไหนก็โดนกลุ่มคนเสื้อแดงตามรังควานและเอาเรื่อง 91 ศพราชประสงค์เป็นเครื่องมือในการโจมตีอย่างได้ผล
       
       นอกจากนี้ กระแสการโหวตโนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มุ่งไปสู่การปฏิรูปการเมืองกำลังเป็นที่กล่าวขานของสังคม รวมไปถึงกระแสของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่แอบแตะมือกับพรรคเพื่อไทยลับๆ เพื่อตัดคะแนนประชาธิปัตย์ กำลังออกฤทธิ์ ยุทธวิธีสุดท้ายของพรรคประชาธิปัตย์จึงใช้เรื่องเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง และเรื่องขบวนการล้มเจ้า ออกมาใช้เพื่อให้คนที่รักบ้านเมืองรักสถาบันยอมจำนนกลับมาเทคะแนนเสียงให้ โดยผ่านตัวแทนที่ไม่เป็นทางการอย่างคนทำสื่อ ทั้งเครือเนชั่นและไทยโพสต์ หมอตุลย์ นายแก้วสรร รวมไปถึงการออกมาของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ชั่งน้ำหนักแล้วว่าพร้อมที่จะร่วมหัวจมท้ายกับพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า และหมัดสุดท้ายคือการปราศรัยที่ราชประสงค์ของนายอภิสิทธิ์ที่ผ่านมาเมื่อคืน
       
       แต่หากใครได้ใช้ตรรกะคิดให้ดีถึงลำดับเหตุการณ์เบื้องลึกเบื้องหลังราชประสงค์ดังกล่าว คงจะเห็นชัดว่า ใครเป็นคนปล่อยให้บ้านเมืองโดนเผา ใครเป็นคนเลี้ยงไข้ให้ขบวนการล้มเจ้าเติบโต ใครเป็นรู้เห็นเป็นใจกับการประกันตัวผู้ก่อการร้าย ใครกำลังตอกลิ่มให้แผ่นดินแตกเป็นเสี่ยง และใครกำลังจะเอาคะแนนบริสุทธิ์เอาความรักชาติรักบ้านเมืองรักสถาบันของคุณเป็นตัวประกัน
       
       สำหรับนักการเมืองแล้ว ตำแหน่งสำคัญกว่าสิ่งใด พรรคการเมืองสำคัญกว่าประเทศชาติและประชาชน เราจะยอมจำนนให้กับคนเหล่านี้หรือครับ?
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง