บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อนอกชี้ “การแย่งชิงอำนาจ” ในไทยยังไม่จบแม้ผ่านพ้นการเลือกตั้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2554 12:07 น.

พรรคเพื่อไทยจับมือ กับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน, ชาติไทยพัฒนา, พลังชล และมหาชน จัดตั้งรัฐบาลผสม 5 พรรคขึ้นบริหารประเทศ หลังได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์(3)ที่ผ่านมา
       เอเจนซีส์ - ชัยชนะของพรรคของไทยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม อาจสะท้อนให้เห็นการปฏิเสธการเมืองระบบเก่า และทำให้บ้านเมืองเกิดเสถียรภาพได้ในไม่ช้า ทว่าเกมการช่วงชิงอำนาจอาจจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ
      
       อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำหญิงคนแรกของไทย ทั้งยังเป็นการอุดช่องโหว่ที่ศัตรูทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนอาจฉวยโอกาสเข้า แทรกแซง
      
       กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างมหาเศรษฐีผู้นี้กับกลุ่ม หัวอนุรักษ์นิยมยังคงฝังรากลึก และการกระทบกระทั่งกันในอนาคตก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง
      
       “การเลือกตั้งคราวนี้ไม่ใช่สงครามครั้งสุดท้ายระหว่างทักษิณกับศัตรู ของเขา ยังจะมีการต่อสู้กันต่อไปอีก” กานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย สยาม อินเทลลิเจนส์ ยูนิต (เอสไอยู) กล่าว
      
       “ประเทศไทยยังคงสุ่มเสี่ยง แม้ว่าขณะนี้กลุ่มฝ่ายขวาจะไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะแทรกแซง แต่พวกเขาจะรอจนกว่าพรรคเพื่อไทยและทักษิณพลั้งพลาด เมื่อนั้นเราจะได้เห็นพวกเขาโต้กลับแน่นอน”
      
       พรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม 5 พรรคได้อย่างสะดวกโยธิน ขณะที่นายทหารระดับสูงซึ่งอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเมื่อปี 2006 ก็มีท่าทียอมรับรัฐบาลใหม่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเจรจาหลังม่านกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
      
       ความพยายามโค่นล้มพรรคเพื่อไทยในขณะนี้อาจเป็นชนวนไปสู่เหตุนองเลือด ครั้งใหม่ ขณะที่ผลการเลือกตั้งผลักดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยพุ่งขึ้นถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเงินบาทปรับตัวแข็งค่าอีก 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันจันทร์ (4) ที่ผ่านมา
      
       อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงทุนอาจกลับมาคึกคักเพียงระยะสั้นๆ และเมื่ออำนาจกลับไปอยู่ในมือทักษิณ ความขัดแย้งจึงเริ่มส่อเค้าลางให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพรรคเพื่อไทยคิดจะนำ “นายใหญ่” กลับบ้านโดยปราศจากความผิดฐานคอร์รัปชั่น
      
       การกลับมาของทักษิณยังทำให้กลุ่มอำนาจเก่าในไทยหนาวๆ ร้อนๆ เนื่องจากการเมืองไทยผูกพันใกล้ชิดกับระบบอุปถัมภ์ และกลุ่มอิทธิพลซึ่งเป็นพันธมิตรกับนายทหารระดับสูง ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปกปักรักษาหรือโค่นล้มรัฐบาลมาโดยตลอด
      
       ฐานอำนาจดังกล่าวเริ่มอ่อนแอเมื่อทักษิณเข้ามาปกครองประเทศระหว่างปี 2001-2006 จนนำไปสู่การรัฐประหารเพื่อฟื้นฟูบทบาทของกองทัพและกลุ่มอิทธิพลที่อยู่นอก เหนือการเมือง
      
       ทว่า สภาพการณ์เหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ที่บ้านพักในดูไบว่า ยินดีจะใช้ชีวิตในต่างประเทศต่อไป และไม่คิดกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีไทยอีก
       แม้ทักษิณจะแสดงออกว่าไม่ต้องการท้าทายขั้วอำนาจเก่า โดยให้สัมภาษณ์จากดูไบวานนี้ (4) ว่ายินดีจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่ในต่างแดนต่อไป และไม่คิดกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก แต่น้อยคนนักที่จะเชื่อคำพูดของเขา
      
       เจคอป แรมเซย์ ที่ปรึกษาจากบริษัท คอนโทรล ริสก์ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องแน่นอนที่สุดที่พรรคเพื่อไทยจะต้องพยายามนำทักษิณกลับบ้านอย่าง ผู้บริสุทธิ์
      
       “พวกเขาต้องพิจารณาทางเลือกต่างๆเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้น และหาทางนิรโทษกรรมให้แก่ทักษิณ” แรมเซย์ระบุ
      
       การนิรโทษกรรมถือเป็นประเด็นละเอียดอ่อนอย่างยิ่งในสังคมไทย ซึ่ง ยิ่งลักษณ์ ก็พยายามใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง โดยระบุว่าจะนิรโทษกรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และยืนยันว่าจะไม่ปฏิบัติต่อทักษิณเป็นกรณีพิเศษ ขณะที่ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธาน คอป.ก็โยนลูกกลับไปให้ว่าที่นายกฯ หญิง โดยกล่าวว่าไม่ใช่หน้าที่ของ คอป.ที่จะพิจารณาหรือออกกฎหมายนิรโทษกรรม
      
       ด้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งมีบทบาทสำคัญในการโค่น ล้มรัฐบาลในเครือทักษิณ ก็ยังไม่ประกาศว่าจะเคลื่อนไหวต่อต้านพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ทว่าได้ยื่นเรื่องถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตัดสินยุบพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับ ทักษิณ ซึ่งถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
      
       เหล่าศัตรูของทักษิณคงจะรอคอยเวลาให้การจัดตั้งรัฐบาลผ่านพ้นไปเสีย ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยยึดพื้นที่แยกราชประสงค์นาน ถึง 9 สัปดาห์เมื่อปีที่แล้ว จนนำไปสู่เหตุสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ราย
      
       นักวิเคราะห์ระบุว่า การรัฐประหารครั้งที่ 2 จะยิ่งทำลายเสถียรภาพของไทยให้ย่ำแย่ลงไปอีก และอาวุธที่กลุ่มต่อต้านจะใช้จัดการกับทักษิณได้อย่างมีประสิทธิภาพและแยบยล ที่สุด คือ กระบวนการยุติธรรม
      
       “คงจะน่าแปลกใจ หากศัตรูทางการเมืองของทักษิณไม่ใช้กฎหมายเลือกตั้งที่มีอยู่ เป็นเครื่องมือบั่นทอนฐานมวลชนของยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย” รายงานการวิจัยจากซิตีกรุ๊ป โกลบอล มาร์เก็ตส์ ระบุ

ขวางเพื่อไทยยุบกองทุนน้ำมัน

ขวางเพื่อไทยยุบกองทุนน้ำมัน ชี้ชาวบ้านอ่วมค่าแก๊ส ถัง15กิโลแพง575บาท

เศรษฐกิจ 5 กรกฎาคม 2554 - 00:00
  “มนูญ” ระบุไม่เห็นด้วยนโยบายเพื่อไทยให้ยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง "พลังงาน" ชี้หากยุบจริง ครัวเรือนอ่วม แก๊สหุงต้มแพงถังละ 575 บาท รัฐมีภาระต้องหาเงินชดเชย ด้าน กบง.ลดเก็บเงินเข้ากองทุนอีก 60 สตางค์ หลังราคาตลาดโลกพุ่งไม่หยุด "อภิสิทธิ์" เซ็นแล้ว ขึ้น LPG ภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาท     
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่จะยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง  เพราะปัจจุบันกองทุนฯ เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการควบคุมราคาน้ำมัน ไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก จนส่งผลกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน นอกจากนี้กองทุนฯ ยังมีภาระหลักคือการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม (LPG ) และก๊าซธรรมชาติ (NGV)
 “การยุบกองทุนน้ำมันไม่สามารถทำได้ เพราะกองทุนฯ เป็นเครื่องมือในการควบคุมราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งการยุบกองทุนฯ จะทำให้รัฐบาลประสบปัญหาการหาเงินที่ต้องหามาชดเชยราคา LPG ภาคครัวเรือน และ NGV และถ้ายกเลิกก็ต้องลอยตัวราคาน้ำมัน แต่เชื่อว่า พท.จะตรึงราคาน้ำมันไปถึงเดือน ก.ย.นี้” นายมนูญกล่าว
 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ต้องจับตาดูการจับขั้วตั้งรัฐบาล หากพรรคเดิมได้โควตากระทรวงพลังงาน นโยบายด้านพลังงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่หากพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารเอง อาจมีความเป็นไปได้ที่จะยุบกองทุนฯ เพราะจะทำให้ราคาน้ำมันลดลงทันที ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บเงินจากน้ำมันเบนซิน 95 เข้ากองทุนฯ 7.50 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 6.70 บาทต่อลิตร ส่วนแก๊สโซฮอล์ 95 เก็บ 2.40 บาทต่อลิตร
 นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายพรรคเพื่อไทยในการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ เนื่องจากจะช่วยในเรื่องกลไกราคาได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น
 แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การยุบกองทุนน้ำมันฯ นั้น ทำไม่ได้ เพราะผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งปัจจุบันต้องอุดหนุนราคาก๊าซ LPG ในภาคครัวเรือนประมาณ 19 บาทต่อ กก. ดังนั้น หากยกเลิกจะทำให้ราคาก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นทันทีจาก กก.ละ 18.13 บาท เป็น 37.13 บาทต่อ กก. หรือราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มขนาดถึง 15 กก. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 575 บาท จากราคาปัจจุบัน 290 บาทต่อถัง
 นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องนโยบายยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่เป็นผู้พิจารณา เพราะกระทรวงพลังงานอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติเท่านั้น
 สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 4 ก.ค. มีมติปรับลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับดีเซลลง 60 สตางค์ต่อลิตร จากเดิม 2.40 บาทต่อลิตร เหลือ 1.80 บาทต่อลิตร เนื่องจากน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลเหลือเพียง 54 สตางค์ต่อลิตร
 นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว เพื่อรองรับการประกาศลอยตัวราคา LPG ภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้ราคาก๊าซ LPG ปรับเพิ่มขึ้น ไตรมาสละ 3 บาทต่อ กก. ส่วนจะมีผลเมื่อไหร่ ต้องรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน.

“สุนันท์”เตือนนโยบายลดแลกแจกแถม ไม่เกิน10 ปี ประเทศล่มสลาย


“สุนันท์” เชื่อสายไปนิดหากช้อนหุ้น บวกมาสามวันติดอาจแกว่งตัวเล็กน้อย ชี้นโยบายยกเลิกกองทุนน้ำมัน สินค้าต่างๆจะแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่จะตัดวงจรขึ้นแล้วไม่ค่อยลงได้ ไม่มั่นใจค่าแรงขั้นต่ำนายจ้างรายย่อยจะทำได้ เตือนนโยบายลดแลกแจกแถม ไม่เกิน10 ปี ประเทศล่มสลาย ปัญหาการปล้น ลักเล็กขโมยน้อยจะตามมามากมาย
    
 


    
       วันที่ 4 ก.ค. นายสุนันท์ ศรีจันทรา สื่อมวลชนอาวุโส ได้รับเกียรติให้เป็นแขกรับเชิญในรายการ เคาะข่าวเศรษฐกิจ ออกอากาศทางสถานีเอเอสทีวี ทีวีของประชาชน มาวิเคราะห์ถึงสภาวะตลาดหุ้น และใครได้ใครเสียหากยกเลิกกองทุนน้ำมัน โดยนายสุนันท์ กล่าวว่า นักลงทุนประเมินแนวทางการจัดตั้งรัฐบาลสดใส แม้การเมืองจะนิ่งในช่วงสั้นๆ แต่ก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก ทำให้บรรยากาศซื้อขายหุ้นร้อนแรง ดีดตัวกว่า 50 กว่าจุด มูลค่าการซื้อขายหลายหมื่นล้าน หากมองแนวโน้มในช่วง 3 เดือน ตนว่าตลาดหุ้นยังดี หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารงานของรัฐบาล อย่างไรก็ดีปัจจัยชี้นำของตลาดหุ้น ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจยุโรป สหรัฐ ด้วย หากเขามีปัญหาต่อให้การเมืองเราสดใสอย่างไรก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี
    
       “หุ้นในกลุ่มชินคอร์ป ขึ้นยกแผง แต่ก็จะเป็นไปตามหลักสัจธรรม วันนี้หุ้นขึ้นแรงเพื่อรอจังหวะเทขายทำกำไร เมื่อขึ้นร้อนแรงมากๆเกินไป ปฎิกริยาตอบสนองคนจะเริ่มทิ้งหุ้น ดังนั้น สำหรับสถานการณ์พรุ่งนี้ หากซื้ออาจสายไปนิด เพราะหุ้นบวกมาสามวันติด ก็อาจแกว่งตัวเล็กน้อย”
    
       นายสุนันท์ กล่าวถึง สัญญานโยบายยกเลิกกองทุนน้ำมันของพรรคเพื่อไทย ว่า หากทำจริงถึงระยะหนึ่งราคาน้ำมันต้องปรับเข้าสู่กลไกตามกลไกตลาดโลก น้ำมันดีเซลจากเคยตรึงราคาไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร อาจพุ่งขึ้นเป็นราคา 36 บาทต่อลิตร จะเกิดภาวะเงินเฟ้อสินค้าต่างๆจะแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
    
       แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็มีข้อดีอยู่บ้าง หากราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้นเราขึ้นตาม เขาลงเราลง ไม่ใช่เหมือนที่ผ่านมาขึ้นแล้วไม่ค่อยลง และเมื่อน้ำมันแพงคนก็ประหยัดการใช้ ทำให้ไทยเสียเงินไปซื้อน้ำมันต่างประเทศน้อยลง อย่างไรก็ดี หากปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ตนขออย่างเดียว ขอให้เป็นไปตามกลไกจริง เพราะน้ำมันมีหลายค่าย เช่น ปตท. บางจาก เอสโซ่ ซึ่งปกติต้องแข่งราคากันเนื่องจากแต่ละค่ายต้นทุนน้ำมันนำเข้าแตกต่างกัน แต่ตนไม่เข้าใจทำไม หากมีค่ายหนึ่งขยับราคาขึ้น ค่ายอื่นๆจะต้องปรับราคาตามให้เท่ากัน เมื่อกระทรวงพลังงานถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์มหาศาล ตนฟันธงได้เลย ว่าตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เน้นกระทรวงพลังงานอย่างเดียว เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญในช่องทางเรื่องนี้มาก
    
       นายสุนันท์ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำทันที 300 บาทต่อวัน แม้จะลดภาษีให้ผู้ประกอบการ แต่ตนไม่มั่นใจว่าผู้ประกอบการจะทำได้หรือไม่ น่าเป็นห่วงกับบรรดาเอสเอ็มอี รายย่อย เพราะส่วนใหญ่ใช้แรงงานมากกว่าการผลิตโดยเครื่องจักร ซึ่งไม่ค่อยมีกำไรอยู่แล้ว แล้วเขาจะจ่ายอย่างไรไหว อีกอย่างระหว่างปรับค่าแรง ตนกลัวว่าสินค้าต่างๆจะขึ้นราคาไปรอก่อนแล้ว เท่ากับขึ้นค้าจ้างไปก็ไม่ได้ประโยชน์ เรื่องนี้ก็ต้องดูกันต่อไปพรรคเพื่อไทยจะทำได้ตามที่ประกาศหรือไม่
    
       ในขณะที่ฐานะประเทศ ยังย่ำแย่อยู่ นักการเมืองยังผุดนโยบายประชานิยม ลด แลก เจก แถมทั้งหลาย เท่ากับใช้เงินในอนาคตของลูกหลาน รายได้เข้ารัฐน้อยแต่รายจ่ายเพิ่ม ทำให้เกิดภาวะขาดดุล ทำให้หนี้สินสาธารณะเพิ่มขึ้น หากใครเข้ามาเป็นรัฐบาล มุ่งแต่ใช้นโยบายนี้ เพื่อเกทับกันหวังเพียงแค่ได้หน้า ท้ายที่สุดจะเป็นดินพอกหางหมู เมื่อพอกมากๆแล้วหมูจะเดินไม่ไหว หากใช้นโยบายนี้ต่อไปไม่เกิน10 ปี เราจะเดินไปสู่ความย่อยยับ การร่มสลายจะวิกฤติรุนแรงกว่า ปี 40 ปัญหาการปล้น ลักเล็กขโมยน้อยจะตามมามากมาย
    
       “ใครจะมาเป็นทีมเศรษฐกิจภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยก็แล้วแต่ ล้วนถูกกำหนดกรอบความคิด ตามนโยบายพรรคไว้แล้ว ดังนั้นมุมมองนโยบายเศรษฐกิจในมิติใหม่ๆ เช่นเศรษฐกิจพอเพียง จึงคาดหวังได้ยาก” นายสุนันท์ กล่าว
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง