บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การคอรัปชั่นการจัดซื้อสาธารณะ บทวิเคราะห์จากองค์กรความโปร่งใสสากล


ไทยพับลิก้า





การจัดซื้อจัดจ้างเป็นกระบวนการที่ส่งผลกระทบรอบด้านต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เผาผลาญงบประมาณของรัฐในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล การก่อสร้างอาคารสถานที่โดยหน่วยงานของรัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ การสร้างถนน การให้บริการด้านสุขภาพ การศึกษา การจัดการเรื่องน้ำดื่มและระบบสุขาภิบาล เป็นตัวอย่างของการลงทุนสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง

องค์กรเพื่อการพัฒนาและแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (The Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) ได้ประเมินมูลค่าตลาดการจัดซื้อของรัฐบาลทั่วโลกไว้กว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และชี้ให้เห็นว่ายิ่งเงินมีโอกาสเปลี่ยนมือได้มากเท่าไร เมื่อนั้นโอกาสเกิดคอรัปชั่นก็จะมีมากตามไปด้วย

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่มีความสลับซับซ้อน แต่ความเชื่อเหล่านี้ควรจะเปลี่ยนไป ทุกคนควรตระหนักว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะเข้าใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อสาธารณะ

เริ่มตั้งแต่บุคคลทั่วไป จนถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทุกคนล้วนมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เงินภาษีของประชาชน ถูกใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย

องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International – TI) ได้นำเสนอบทความเรื่อง Corruption and Public Procurement มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ และเพิ่มความสนใจของบุคคลทั่วไป ต่อการส่งเสริมความซื่อสัตย์และโปร่งใสในจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ โดยบทความมีสาระสำคัญดังนี้

ความเข้าใจเรื่องการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อสาธารณะ
การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (Public Procurement) คือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ แก่หน่วยงานของรัฐ เริ่มตั้งแต่การแสดงความจำนง การสร้างเอกสาร สัญญาตอบแทนคู่สัญญา การตรวจสอบ ดำเนินงาน และการเบิกจ่ายเมื่อสัญญาแล้วเสร็จ โดยเป็บระเบียบแบบแผนที่หน่วยงานของรัฐทั่วโลกปฏิบัติ เพื่อป้องกันการทุจริต

นโยบายระดับสากลยังไม่มีการให้ความสำคัญกับการจัดซื้อที่ปราศจากการทุจริตเท่าไรนัก กลุ่มผู้บริจาคและองค์การระหว่างประเทศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD), ธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multilateral development banks หรือ MDBs), องค์การการค้าโลก (World Trade Organisation หรือ WTO) และสหภาพยุโรป ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มความโปร่งใสและความสามารถในการดูแลการทุจริตในการจัดซื้อ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้การใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และเงินที่ได้รับจากการบริจาคถูกใช้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ประชาคมโลกและกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ร่วมกันยกให้ความซื่อสัตย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของระบบจัดซื้อระดับประเทศที่มีประสิทธิภาพ

ในการจัดซื้อสาธารณะที่ไม่มีความซื่อสัตย์ จะนำไปสู่การคอรัปชั่นต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่การติดสินบน ค่าน้ำร้อนน้ำชา การสมรู้ร่วมคิด การฮั้วประมูล การเอื้อผลประโยชน์ ไปจนถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเกิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใช้อำนาจ หรือตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดซื้อ นักการเมืองผู้สร้างนโยบาย ผู้ประมูล คู่สัญญา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายในสัญญา รวมไปถึงธนาคารผู้ปล่อยกู้อย่างผิดกฎหมาย

ต้นทุนของการทุจริตในการจัดซื้อสาธารณะ
เนื่องจากการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างจะถูกทำกันอย่างลับๆ การประเมินมูลค่าการทุจริตจึงเป็นเรื่องยาก แต่คนส่วนใหญ่ก็รับรู้ว่าการทุจริตนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของรัฐเป็นจำนวนมหาศาล

องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (TI) ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายทั่วไปโดยเฉลี่ยที่เกิดจากการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างอยู่ที่ 10 – 25 % และในกรณีที่แย่ที่สุดอาจมากถึง 50 % ของมูลค่าโครงการ ในประเทศโมรอคโค แม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้ดีขี้น แต่ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมก็ยังประเมินว่า มูลค่าการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง มีถึง 5 % ในมูลค่าสัญญา ในประเทสฟิลิปปินส์ กลุ่มนักธุรกิจได้ประเมินไว้ว่าอาจมีสูงถึง 50 %

การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้สร้างให้เกิดความเสียหายเฉพาะในรูปตัวเงินเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เช่นการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้อาคารบ้านเรือนถล่ม ดังตัวอย่างการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศจีน เฮติ อินเดีย หรือตุรกี ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ล้วนถูกกล่าวหาว่าเป็นผลมาจากการทุจริตในการก่อสร้าง หรือการผลิตยาปลอม ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ไม่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยได้



ความเสี่ยงในการทุจริตและการแก้ไข
ในบทความยังได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการทุจริตในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดซื้อ พร้อมทั้งบอกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทุจริต โดยมีการแบ่งขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างเป็นขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนแรกคือ การประเมินความต้องการ เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นขอบเขต ความเป็นไปได้ของโครงการ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเงินค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม โอกาสในการทุจริตในขั้นตอนนี้คือ การอนุมัติให้ทำในสิ่งไม่จำเป็น โครงการที่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ การประเมินมูลค่าโครงการเกินความเป็นจริง หรือการออกแบบโครงการให้เอื้อประโยชน์กับข้าราชการ นักการเมือง หรือภาคเอกชนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

แนวทางในการป้องการทุจริตในขั้นตอนนี้ก็คือ การขยายช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้บุคคลทั่วไป รวมไปถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การรับฟังความเห็นของประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการ มีการคัดเลือกที่ปรึกษาโครงการด้วยความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และอิสระจากแรงกดดันทางการเมือง มีการสร้างกฎกติกา แนวทางปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการทุจริต

ขั้นตอนที่สอง การเตรียมการ เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการพิจารณา และอนุมัติโครงการ ผู้สร้างสัญญาต้องออกแบบสัญญา เตรียมแผนการและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมาย เตรียมเอกสารและประกาศให้มีการประมูล โอกาสในการทุจริตในขั้นตอนนี้คือการออกแบบสัญญาที่เอื้อประโยชน์ มีอคติ หรือเข้าข้างผู้ประมูลรายใดรายหนึ่ง ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประมูล

แนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตในขั้นตอนนี้คือการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ที่มีคุณสมบัติ มีความสามารถดูแลการดำเนินงาน และดูแลเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ปฏิบัติหน้าที่ทเกี่ยวข้อง มีที่ปรึกษาที่เป็นอิสระ และมีขั้นตอนการคัดเลือกที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงข้อมูล เอกสาร สัญญาขั้นสุดท้าย มีการรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้ามาตรวจสอบและติดตามได้

โดยมีการยกตัวอย่างการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศต่างๆ ที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (TI) ได้เข้าไปมีส่วนในการสอดส่องดูแลร่วมกับภาคประชาสังคม พบว่าการเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระ หรือภาคประชาสังคมเข้าไปร่วมสอดส่องดูแลทำให้ ผู้เข้าร่วมประมูลเกิดความเชื่อมั่น ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใสยิ่งขึ้น ลดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในครงการ และทำให้การส่งมอบตรงเวลาตามสัญญาที่กำหนด

ขั้นตอนที่สาม การคัดเลือกคู่สัญญาและผลตอบแทน เป็นขั้นตอนในการเปิดเผยรายละเอียดของโครงการเพื่อดึงดูดผู้สนใจให้เข้าร่วมการประมูล โดยโอกาสที่จะเกิดการทุจริตในขั้นตอนนี้คือ การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ หรือข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประมูลรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ การเปิดเผยข้อมูลล่าช้า ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ประมูล รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาหลังจากได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว

วิธีในการป้องกันการทุจริตในขั้นตอนนี้คือการเปิดเผยข้อมูลที่เหมือนกันต่อผู้เข้าร่วมประมูลทุกคน มีการเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประมูลทั้งหมดต่อผู้ประมูลและต่อสาธารณะ

ขั้นตอนที่สี่ การปฎิบัติตามสัญญา ในขั้นตอนนี้ผู้ที่ชนะการประมูล หรือคู่สัญญา จะต้องดำเนินงาน ส่งมอบสินค้าหรือบริการ ตามที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยมีผู้มีอำนาจคอยกำกับดูแล โอกาสเสี่ยงที่จะทุจริตในขั้นตอนนี้คือการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่เป็นไปตามข้อสัญญา การป้องกันการทุจริตในขั้นตอนนี้คือการเปิดกาสให้ภาคประชาสังคม ชุมชน ผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการเข้ามาตรวจสอบการก่อสร้าง ให้เป็นไปตามข้อกำหนด และไม่มีการแก้ไขสัญญาในภายหลัง

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การทำบัญชีขั้นสุดท้ายและการเบิกจ่าย ซึ่งมีโอกาสเกิดการทำบัญชีผิดพลาด ต้นทุนค่าใช้จ่ายผิด มีการทุจริต แจ้งหนี้ซ้ำ หรือสรุปยอดเงินผิด ข้อปฏิบัติในขั้นตอนนี้คือเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามมีโอกาสเข้ามาตรวจสอบค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบระหว่างบัญชีขั้นสุดท้ายกับสัญญาและข้อตกลงในตอนต้น ไม่ให้มีความคลาดเคลื่อน และมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดต่อสาธารณะ



ระบบจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
การจัดซื้อจัดจ้างเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ดีควรคำนึงถึง ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า การประมูลแข่งขันที่เป็นธรรม ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งระบบจัดซื้อจัดจ้างที่ดีควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ ดังนี้

กฎ ระเบียบและวิธีการปฏิบัติ – การประมูลจัดซื้อจัดจ้างจำเป็นต้องมีการสร้างกฎระเบียบปฏิบัติมาบังคับใช้เพื่อป้องกันการทุจริต กฎระเบียบปฏิบัติควรครอบคลุมและเป็นที่ยอมรับของทุกองค์กรของรัฐที่ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชน การจัดซื้อต้องเปิดให้มีการประมูลสาธารณะ ที่มีความเป็นธรรม เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าร่วมประมูล ประกาศหลักเกณฑ์การประมูล วัน เวลา ในการประมูลให้ชัดเจน เป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งกฎระเบียบเหล่านี้สามารถเปิดโอกาสให้ร้องเรียนและแก้ไขภายหลังได้

ระบบจัดซื้อ – ระบบจัดซื้อจะต้องถูกพัฒนาอย่างเหมาะสมไปพร้อมๆกับระบบการจัดการโครงสร้างสถาบันการเงิน เพื่อให้การวางแผน และใช้จ่ายเงินมีประสิทธิผล ระบบจัดซื้อจัดจ้างจะต้องถูกบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายโดยที่ปรึกษา ผู้ดูแล และผู้ปฏิบัติ ให้เกิดความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เช่นการประมูลออนไลน์

การเข้าถึงข้อมูล – ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างควรถูกเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการดำเนินการ การตัดสินใจ หรือข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์หรือเผยแพร่ข้อมูล การกระจายตัวกันของการจัดซื้อไม่ควรเป็นข้ออ้างในการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลทางสถิติ ควรมีการนำเทคโนยีมาช่วยเพื่อสร้างให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบ สิ่งที่เป็นข้อมูลทางเทคนิคควรจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจของบุคลทั่วไป ข้อมูลที่ถือว่าเป็นความลับ หรือข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ควรจะมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

การพัฒนาขีดความสามารถ – ระบบควรทำให้แต่ละฝ่ายของงานจัดซื้อ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ข้าราชการหน่วยต่างๆจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ ที่เกิดจากการฝึกฝนหรือการชี้แนะในองค์กร โดยระบบของราชการต้องเอื้อให้ภาคเอกชนสามารถร่วมงานกับภาครัฐ และขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาขีดความสามารของภาคประชาสังคมให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบระบบจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความโปร่งใส

ระบบควบคุมและตรวจสอบ -  การควบคุมและตรวจสอบระบบจากทั้งภายในและภายนอกเป็นรากฐานของการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อ โดยการควบคุมและตรวจสอบจะต้องมีการติดตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอาผิดเนื่องจากความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ บทลงโทษสำหรับการทุจริตจะต้องถูกระบุอย่างชัดเจน และมีการบังคับใช้

กลไกการอุทธรณ์ – ต้องมีหน่วยงานที่สามารถรับข้อร้องเรียนได้ โดยหน่วยงานนี้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และจะต้องเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ ผู้ดำเนินงานจัดซื้อ หน่วยงานตรวจสอบ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโครงการ

มาตรการป้องกันการทุจริต – ระบบการจัดซื้อจะต้องมีความสามารถในการป้องกันการทุจริต ด้วยกระบวนการป้องกัน ตรวจหา และคว่ำบาตรการทุจริต ต้องมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการทุจริตในกฎหมายอาญา ทั้งการปลอมแปลง การฉ้อโกง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การคว่ำบาตรเป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐสามารถใช้เพื่อทำให้กระบวนการทางกฎหมายมีประสิทธิภาพ เป็นการป้องกัน และลงโทษไม่ให้ผู้ที่เคยทำความผิดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อได้อีก

เมื่อสรุปถึงวิธีการสำคัญในการรับมือกับปัญหาการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างนั้น มาตรการป้องกันถือเป็นวิธีการที่ดีกว่ามาตรการแก้ไข ที่รอให้ปัญหาเกิดแล้วจึงไปแก้ โดยสิ่งสำคัญที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างก็คือความโปร่งใส ที่เกิดจากการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้ามาตรวจสอบ แก้ไขกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีการอำนวยความสะดวกให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ และรายงานความผิดที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น พัฒนาให้เกิดการประมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมากขึ้น หรือสร้างมาตรการในการคุ้มครองพยานที่สามารถให้เบาะแสการกระทำความผิดได้ เพื่อให้บุคคลอื่นๆ สามารถเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบ หรือร้องเรียนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น


เจาะลึกเครือข่ายขุมทรัพย์ พระกี้

เจาะลึกเครือข่ายขุมทรัพย์ล่าสุด “อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง” แกนนำ นปช.สายฮาร์ดคอก่อนบวชเป็นพระภิกษุ มีเงินเพียงบาทเดียว ธุรกิจรับเหมาของครอบครัวฟันรายได้ 2 กระทรวง 4 หน่วยงาน 111 ล้าน
แกนนำและอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือหุ้น บริษัท เพื่อนพ้อง น้องพี่ จำกัด บริษัท พีทีวี ทีวีเพื่อประชาชน จำกัด และบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด รวมมูลค่า 23 ล้านบาท (มูลค่าหุ้นตามสัดส่วนทุนจดทะเบียน)


นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย มีเงินลงทุนในหจก. 5 แห่ง 8.6 ล้านบาท ในช่วงปี 2545 จากเงินลงทุนกับพวกทั้งหมด 25 ล้านบาท และถือหุ้น บริษัท เพื่อนพ้อง น้องพี่ จำกัด บริษัท พีทีวี ทีวีเพื่อประชาชน จำกัด ในช่วงปี 2549-2550 นับสิบล้านบาท
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ภรรยานายเหวง โตจิรากร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เพิ่งได้รับเลือกเป็นประธาน นปช. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ถือหุ้นร่วมกับเครือญาติในบริษัท เฟอร์โน่ จำกัด และบริษัท สเพรด บิสซิเนส จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายแอลกอฮอล์แห้งมีรายได้ 5 ปีหลายร้อยล้านบาท
นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำสายฮาร์ดคอซึ่งบวชเป็นพระเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
ข้อให้ดูข้อมูลดังนี้
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า ครอบครัวพงศ์เรืองรอง เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างชื่อ บริษัท พงศ์เรืองรองก่อสร้าง จำกัด จดทะเบียนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2538 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 33/1 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นายไชยา พงศ์เรืองรอง ถือหุ้นใหญ่ 6,000 หุ้น นายเฮง พงศ์เรืองรอง 1,000 หุ้น นางน้ำผึ้ง พงศ์เรืองรอง 600 หุ้น นายอริสมันต์ 600 หุ้น (ดูตาราง)
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ระหว่างปี 2549 -2553 บริษัท พงศ์เรืองรองก่อสร้าง จำกัด แจ้งว่ารายได้แต่ละปีรวม 101,467,418 บาท กำไรสุทธิรวม 5,200,144 บาท
น่าสังเกตว่ารายได้มากขึ้นในช่วง 2 ปีหลัง โดยเฉพาะปี 2552 รายได้ 23,377,686 บาท กำไรสุทธิ1,410,430 บาท ปี 2553 รายได้ 30,553,279 บาท กำไรสุทธิ 1,775,769 บาท
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า นับจาก ปี 2543 เป็นต้นมาถึงต้นเดือนมิถุนายน 2554 บริษัท พงศ์เรืองรองก่อสร้าง จำกัด ได้รับว่าจ้างเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐทั้งสิ้น 67 ครั้ง (สัญญา) วงเงิน 111,510,399 บาท ในจำนวนนี้เป็นหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย มากสุด คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 47 ครั้ง รวมวงเงิน 76,179,400 บาท (อบจ.เทศบาล อบต.) รองลงมา กรมทางหลวงชนบท 15 ครั้ง กรมการปกครอง 3 ครั้ง และกรมโยธาธิการและผังเมือง 2 ครั้งตามลำดับ (ดูตาราง)
นอกจากนี้พบว่า นายเฮง และนางน้ำผึ้ง พงศ์เรืองรอง ยังทำธุรกิจร่วมกับ นายสมบัติ พิษณุไวศยวาท อีกอย่างน้อย 7 บริษัท
1.บริษัท โซล่า แอสฟัลท์ จำกัด ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางมะตอย จดทะเบียนวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 112 หมู่ที่ 5 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
2. บริษัท ทรายย่งฮั้ว จำกัด ประกอบการบ่อทราย จดทะเบียนวันที่ 19 มีนาคม 2535 ทุนปัจจุบัน 150 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 133/1 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
3.บริษัท สมบัตินภา จำกัด ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 46/1 หมู่ที่ 11 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
4.บริษัท ต.ผลิตภัณฑ์คอนกรีต จำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก หลักทางโค้ง หลักกิโลเมตร ป้ายแสดงระยะทาง ป้ายแสดงเครื่องหมายต่างๆ จดทะเบียนวันที่ 19 มีนาคม 2535 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 133/1 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
5.บริษัท อัลฟาเอสไลน์ จำกัด รับจ้างเหมาตีเส้นจราจร,รับจ้างเหมา ขายวัสดุก่อสร้างจดทะเบียนวันที่ 8 สิงหาคม 2537 ทุนปัจจุบัน 40 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 44/13 ถนนบ้านปากแรต ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
6.บริษัท โซล่าโพลีแซค จำกัด ประกอบธุรกิจ กระสอบพลาสติกสาน ถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเม็ดพลาสติก จดทะเบียนวันที่ 21 มีนาคม 2550 ทุนปัจจุบัน 160 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 112/1 หมู่ที่ 5 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
7. บริษัท ซีแมนอินดัสตรี้ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตและจำหน่ายสีและวัสดุเทอร์โมพลาสติกที่ใช้ในการทำเครื่องหมายจราจรบนถนน จดทะเบียนวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ทุน7 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 47 หมู่ที่ 11 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
จากการตรวจสอบพบว่า เฉพาะบริษัท โซล่า แอสฟัลท์ จำกัด เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ 57 ครั้ง วงเงิน 100.8 ล้านบาท บริษัท อัลฟาเอสไลน์ จำกัด 84 ครั้ง วงเงิน 205.3 ล้านบาท
บริษัท โซล่า แอสฟัลท์ จำกัด แจ้งผลประการปี 2553 รายได้ 711,338,769 บาท กำไรสุทธิ 24,863,682 บาท บริษัท อัลฟาเอสไลน์ จำกัด แจ้งมีรายได้ 44,434,623 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,288,026 บาท
ทั้งนี้ ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 นางระพิพรรณ ระบุมีทรัพย์สิน 11,298,404 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 2,988,135.78 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง (ไม่ได้ระบุรายละเอียด) มูลค่า 3,720,267.43 บาท รถยนต์ 4,590,000 บาท หนี้สิน 5,995,090.08 บาท
นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง คู่สมรส มีทรัพย์สิน เงินฝาก 1.06 บาท หนี้สิน 3,702,267.43 บาท
บุตรไม่บรรลุนิติภาวะมีเงินฝาก 424,287.86 บาท
รวมทรัพย์สินทั้งสิ้น 15,000,672.49 บาท
ก่อนหน้านี้นายอริสมันต์ถูกบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้พิทักษ์ทรัพย์มูลค่า 17 ล้านบาท แต่นายอริสมันต์ได้มอบหมายให้ทนายความมายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดออกไปก่อน
ณ วันนี้อย่าแปลกใจทรัพย์สินของ “อริสมันต์”ที่แจ้งต่อ ป.ป.ช. (มีเงินฝากเพียงบาทเดียว) อาจไม่สอดคล้องกับความมั่งคั่งทางธุรกิจของครอบครัว?
.......

(หมายเหตุ : เจาะเครือข่ายขุมทรัพย์"พระกี้ร์-อริสมันต์"แดงห่มเหลือง 111 ล้าน? โดย กรมพัฒนาธูรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org/) รวบรวม)

ผอ.องค์การค้าฯ อ่วมอรทัย “ดีเอสไอ” ลากไส้เพิ่ม

“สันติภาพ” ผอ.องค์การค้าฯ อ่วมอรทัย “ดีเอสไอ” ลากไส้เพิ่ม แสบเอาน้องสาวรับหน้าเสื่อนายหน้า ทุจริตจัดซื้อสื่อการเรียนทีวี 3 ส่วนที่ดินสุราษฎร์พิรุธอื้อ ทั้งเรื่องราคา และการยืดระยะเวลาการชำระ ชงต้นสังกัดปลัดฯ ยันรัฐมนตรีศึกษา พร้อมส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช.ลงดาบเชือดต่อ
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วย นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 เปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กรณีการสั่งซื้อหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอนของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือไทยทีวีสี ช่อง 3 ให้กับโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 158 แห่ง จากองค์การค้าของ สกสค. และการขายที่ดินขององค์การค้าฯ สกสค. ในจ.สุราษฎร์ธานี
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ทั้ง 2 เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและเชื่อว่ามีการกระทำผิดในลักษณะของการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ผู้กระทำความผิด คือ นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ผอ.องค์การค้าฯ ทางดีเอสไอจึงมีหนังสือแจ้งไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของนายสันติภาพ ว่าทางดีเอสไอตรวจพบการทุจริตคอรัปชั่น นอกจากนี้ยังได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช.ไปแล้วเช่นกัน
ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กล่าวถึงการทุจริตการจัดซื้อหนังสือแบบเรียนดังกล่าวของ สกสค.ว่า ไทยทีวีสี ช่อง 3 ได้มีหนังสือถึงนายสันติภาพ ในฐานะผู้อำนวยการองค์การค้าฯ เพื่อสั่งซื้อหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอน แต่ สกสค.ได้ทำสัญญากับนางพรทิพย์ เขมะรัตน์ ให้เป็นผู้ประสานการขาย โดยมีผลย้อนหลังใช้บังคับ ซึ่งแต่เดิมไม่มีผู้ประสานการค้า ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหนังสือที่นางพรทิย์ทำถึงนายสันติภาพ ขอเป็นผู้ประสานการขายนั้น มีการทำเอกสารย้อนหลัง ซึ่งจากการตรวจสอบของดีเอสไอ พบว่า สกสค.ได้ส่งสินค้าให้กับไทยทีวีสี ช่อง 3 จำนวน 3 รายการ ได้แก่ หนังสือ สมุด และเครื่องเขียน รวมเป็นเงิน 3,696,855 บาท ขณะที่นางพรทิพย์ได้ค่านายหน้าจาก สกสค. เป็นเงินทั้งสิ้น 1,215,052.89 บาท ที่สำคัญจากการตรวจสอบยังพบว่านางพรทิพย์ เป็นพี่น้องกับนายสันติภาพอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทุจริตดังกล่าวสร้างความเสียหายให้ สกสค.อย่างมาก
นายธานินทร์ กล่าวถึงการขายที่ดินขององค์การค้าฯ สกสค. ในจ.สุราษฎร์ธานี ว่าการที่นายสันติภาพขายที่ดินให้กับเอกชน อาจทำให้องค์การค้าของ สกสค. ได้รับความเสียหาย โดยที่ดินมีทั้งหมด 84 ไร่ และแยกขาย 2 แปลง ซึ่งแปลงแรกขายไปในราคา 800,000 บาท ส่วนแปลงที่สองขายไปในราคา 1,000,000 ซึ่งเป็นที่ดินติดถนนเหมือนกัน แต่ทำไมราคาจึงแตกต่างกัน ทางดีเอสไอจึงตั้งข้อสังเกตว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตที่ดินดังกล่าวมีวงเงิน 48 ล้านบาท แต่วางเงินมัดจำเพียง 3 ล้านบาท จึงเป็นอีกประเด็นที่ทางดีเอสไอสงสัย ซึ่งการวางเงินมัดจำค่อนข้างน้อย อาจมีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนที่ซื้อที่ดินหรือไม่
ด้านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวเสริมด้วยว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นข้อพิรุธในการจัดซื้อที่ดิน ทั้งเรื่องราคา และการยืดระยะเวลาการชำระ ทั้งที่ควรชำระในครั้งเดียว ซึ่งทางดีเอสไอเชื่อว่ามีมูลในการทุจริต จึงได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป
************************************
น.4-ข่าว1-210255
“สันติภาพ” ผอ.องค์การค้าฯอ่วมอรทัยดีเอสไอลากไส้ทุจริตจัดซื้อสื่อ-ที่ดินสุราษฎร์แสบทรวงเอาน้องสาวรับหน้าเสื่อนายหน้า
“สันติภาพ” ผอ.องค์การค้าฯ อ่วมอรทัย “ดีเอสไอ” ลากไส้เพิ่ม แสบเอาน้องสาวรับหน้าเสื่อนายหน้า ทุจริตจัดซื้อสื่อการเรียนทีวี 3 ส่วนที่ดินสุราษฎร์พิรุธอื้อ ทั้งเรื่องราคา และการยืดระยะเวลาการชำระ ชงต้นสังกัดปลัดฯ ยันรัฐมนตรีศึกษา พร้อมส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช.ลงดาบเชือดต่อ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วย นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 เปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างขององค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กรณีการสั่งซื้อหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอนของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือไทยทีวีสี ช่อง 3 ให้กับโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 158 แห่ง จากองค์การค้าของ สกสค. และการขายที่ดินขององค์การค้าฯ สกสค. ในจ.สุราษฎร์ธานี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ทั้ง 2 เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและเชื่อว่ามีการกระทำผิดในลักษณะของการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ผู้กระทำความผิด คือ นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ผอ.องค์การค้าฯ ทางดีเอสไอจึงมีหนังสือแจ้งไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของนายสันติภาพ ว่าทางดีเอสไอตรวจพบการทุจริตคอรัปชั่น นอกจากนี้ยังได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช.ไปแล้วเช่นกัน ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กล่าวถึงการทุจริตการจัดซื้อหนังสือแบบเรียนดังกล่าวของ สกสค.ว่า ไทยทีวีสี ช่อง 3 ได้มีหนังสือถึงนายสันติภาพ ในฐานะผู้อำนวยการองค์การค้าฯ เพื่อสั่งซื้อหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอน แต่ สกสค.ได้ทำสัญญากับนางพรทิพย์ เขมะรัตน์ ให้เป็นผู้ประสานการขาย โดยมีผลย้อนหลังใช้บังคับ ซึ่งแต่เดิมไม่มีผู้ประสานการค้า ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหนังสือที่นางพรทิย์ทำถึงนายสันติภาพ ขอเป็นผู้ประสานการขายนั้น มีการทำเอกสารย้อนหลัง ซึ่งจากการตรวจสอบของดีเอสไอ พบว่า สกสค.ได้ส่งสินค้าให้กับไทยทีวีสี ช่อง 3 จำนวน 3 รายการ ได้แก่ หนังสือ สมุด และเครื่องเขียน รวมเป็นเงิน 3,696,855 บาท ขณะที่นางพรทิพย์ได้ค่านายหน้าจาก สกสค. เป็นเงินทั้งสิ้น 1,215,052.89 บาท ที่สำคัญจากการตรวจสอบยังพบว่านางพรทิพย์ เป็นพี่น้องกับนายสันติภาพอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทุจริตดังกล่าวสร้างความเสียหายให้ สกสค.อย่างมาก นายธานินทร์ กล่าวถึงการขายที่ดินขององค์การค้าฯ สกสค. ในจ.สุราษฎร์ธานี ว่าการที่นายสันติภาพขายที่ดินให้กับเอกชน อาจทำให้องค์การค้าของ สกสค. ได้รับความเสียหาย โดยที่ดินมีทั้งหมด 84 ไร่ และแยกขาย 2 แปลง ซึ่งแปลงแรกขายไปในราคา 800,000 บาท ส่วนแปลงที่สองขายไปในราคา 1,000,000 ซึ่งเป็นที่ดินติดถนนเหมือนกัน แต่ทำไมราคาจึงแตกต่างกัน ทางดีเอสไอจึงตั้งข้อสังเกตว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตที่ดินดังกล่าวมีวงเงิน 48 ล้านบาท แต่วางเงินมัดจำเพียง 3 ล้านบาท จึงเป็นอีกประเด็นที่ทางดีเอสไอสงสัย ซึ่งการวางเงินมัดจำค่อนข้างน้อย อาจมีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนที่ซื้อที่ดินหรือไม่ ด้านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวเสริมด้วยว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นข้อพิรุธในการจัดซื้อที่ดิน ทั้งเรื่องราคา และการยืดระยะเวลาการชำระ ทั้งที่ควรชำระในครั้งเดียว ซึ่งทางดีเอสไอเชื่อว่ามีมูลในการทุจริต จึงได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป************************************




รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง