บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดร่างแรกแก้รธน.50 โมเดล"แดง"เฟ้นส.ส.ร.

หมายเหตุ : เนื้อหา บางส่วนในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย (พท.) เตรียมยื่นต่อประธานรัฐสภาก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อประชาชนได้ครบ 5 หมื่นชื่อตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีเนื้อหาทั้งสิ้น 10 หน้ากระดาษเอ 4 รวม 5 มาตรา สาระสำคัญอยู่ที่การเพิ่มความในหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีมาตรา 291/1 ถึง 291/27 เพื่อเปิดทางให้มีสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 3 จำนวน 101 คนขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 291/1 ให้มี ส.ส.ร.ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้

(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ได้จังหวัดละหนึ่งคน

(2) สมาชิกซึ่ง ส.ส.ร.คัดเลือกจากผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ จำนวน 24 คน ดังต่อไปนี้

(ก) ด้านสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 8 คน

(ข) ด้านสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 8 คน

(ค) ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนด จำนวน 8 คน

มาตรา 291/2 บุคคลมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1 (1) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

มาตรา 291/3 บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ได้แก่บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามมาตรา 102(1)(2)(4)(5)(6)(7)(9)(10)(12)(13) และ (14)

(2) เป็น ส.ว.หรือ ส.ส.หรือข้าราชการการเมือง

(3) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น

(4) เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 100(2) หรือ (4)

มาตรา 291/5 ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้

การ เลือกตั้ง ส.ส.ร.ในแต่ละจังหวัด ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มี ส.ส.ร.จังหวัดละหนึ่งคน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 1 เสียง และให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.ร.ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา 291/8 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 291/7 แล้ว ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดให้ผู้สมัครรับคัดเลือกทั้งหมดมาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกกันเองตาม วิธีการดังต่อไปนี้

(1) ผู้สมัครคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ก) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน

(2) ผู้สมัครรับคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ข) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน

(3) ผู้สมัครรับคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ค) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน

การ ลงคะแนนคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สมัครรับคัดเลือกมีสิทธิเลือกได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันจะทำให้มีผู้ได้รับเลือกเกินจำนวน ให้ใช้วิธีจับสลาก

เมื่อได้คัดเลือกบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง แล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตาม (1)(2)และ(3) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 291/1(2)(ก)(ข) หรือ (ค) และให้เป็นที่สุดทั้งนี้ การดำเนินการคัดเลือกดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่ เกิน 45 วัน นับแต่วันที่ได้ประกาศการเปิดรับสมัคร

มาตรา 291/11 ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/5 และผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/10 ประชุมร่างร่วมกันภายใน 10 วัน นับแต่วันที่มีผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ร.ครบจำนวนแล้ว เพื่อคัดเลือกผู้สมควรเป็นประธาน 1 คน และรองประธาน 2 คน แล้วแจ้งผลให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป

มาตรา 291/17 ส.ส.ร.จะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มี ส.ส.ร.ครบจำนวนตามมาตรา 291/1

การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ร.

ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ

ร่าง รัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้

ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรคสี่ ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป

มาตรา 291/19 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ส.ร.แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น ส.ส.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวน 25 คน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด

มาตรา 291/20 เมื่อ กมธ.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยัง ส.ส.ร. องค์กรและบุคคล ดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น

(1) สภาผู้แทนราษฎร

(2) วุฒิสภา

(3) คณะรัฐมนตรี

(4) ศาลฎีกา

(5) ศาลปกครองสูงสุด

(6) คณะกรรมการการเลือกตั้ง

(7) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(8) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(9) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(10) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(11) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(12) สถาบันอุดมศึกษา

ให้ กมธ.เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารชี้แจงตามวรรคหนึ่งให้ประชาชนทั่วไปทราบ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนประกอบด้วย

มาตรา 291/21 เมื่อ ส.ส.ร.ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารตามมาตรา 291/20 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมี ส.ส.ร.ลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส.ร.ที่มีอยู่ และต้องยื่นคำขอแปรญัตติพร้อมทั้งเหตุผลก่อนวันนัดประชุม ส.ส.ร. ตามมาตรา 291/20 และคำขอแปรญัตติตามมาตรา 291/22

สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติ หรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอแปรญัตติหรือรับรองคำขอแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้

มาตรา 291/23 ให้ ส.ส.ร.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และพิจารณาให้แล้วเสร็จตามมาตรา 291/22 ภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มี ส.ส.ร.ครบจำนวนตามมาตรา 291/1

เมื่อ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็น ชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วันนับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ส.ส.ร. ประกาศกำหนด

การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ

มาตรา 291/25 ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็น ชอบ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาบังคับใช้แล้ว ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลฯ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ได้ แต่ถ้าเสียงข้างมากไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น หรือมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเป็นจำนวนไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2554

'อย่าเอา รธน.มาสู้กันเป็นเกมการเมือง' ฟันธง!ปีหน้าได้เห็นแน่ แก้ กม.สูงสุดประเทศ


Pic_225524
"การเมืองทั้ง 2 ฝ่าย เอาอารมณ์และความคิดเห็นมาต่อสู้กัน ที่ผ่านมาการเมืองไทยก็ถือว่าเลวร้ายมากอยู่แล้ว ผมยังเคยคิดถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นอยู่อย่างนี้ ไปๆ มาๆ ชั่วชีวิตที่เราดำรงอยู่จะมีความสุขไม่ได้จนกว่าเราจะตายหรือไม่? ชีวิตคนเราต้องการความสุข สงบ ดังนั้น ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้น ตอนนี้เหมือนเอารัฐธรรมนูญที่ความจริงควรเป็นกฎหมายหลักที่ทำให้ประเทศมี ความสุข กลับมาสู้กันทางการเมือง แล้วใครล่ะจะได้ประโยชน์ ถ้าต่อไปหากคนรุ่นพวกเราตายกันไปแล้วลูกหลานเราโตขึ้น เราจะบอกกับลูกหลานเราอย่างไร เหตุที่คนไทยแตกแยกกัน"
ดร.เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 (ส.ส.ร.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" กรณีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาดักคอรัฐบาลเพื่อไทย กรณีการล็อกสเปก ผู้ที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 ในการยกร่างแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวเห็นว่า ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการและการกำหนดที่มาของ ส.ส.ร.มากกว่า แต่หากถามว่าเป็นห่วงเรื่องการล็อกสเปก ส.ส.ร. ที่อาจเกิดขึ้นตามที่ฝ่ายค้านออกมาชิงดักคอรัฐบาลหรือไม่นั้น ยอมรับว่าก็มีความเป็นห่วงอย่างแน่นอน ทิศทางเป็นไปได้สูง เพราะรัฐบาลมีเสียงในสภามากกว่าฝ่ายค้านอยู่แล้ว 

เพราะความจริงแล้ว ที่ผ่านมารัฐสภาเองก็พยายามคิดวิธีการหลายวิธีในการคัดเลือก ส.ส.ร.มาโดยตลอด แต่ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็มีช่องโหว่ให้เห็น

อย่าง ตนเองเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ปี 2540 กฎหมายก็กำหนดให้การสรรหา ส.ส.ร. ให้มาจากการที่ประชาชนเลือกกันเองได้จังหวัดละ 10 คน แล้วส่งเข้ามาให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกเหลือเพียง 1 คน ประเทศไทยมี 76 จังหวัด ก็จะได้ ส.ส.ร. 76 คน ขณะที่จะมีการเสนอรายชื่อนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ ให้รัฐสภาเลือกให้ได้อีก 23 คน รวมเป็น 99 คน เมื่อวิธีการเลือกเป็นเช่นนี้ ก็แน่นอนใครสามารถล็อบบี้เสียงในสภา หรือมีพวกมากกว่า ก็มีโอกาสมากที่จะล็อกสเปกได้ 

หรืออย่างตอนเลือก ส.ส.ร. 2 ยกร่าง รธน.ปี 2550 ก็เช่นกัน วิธีการก็ต้องกำหนดให้มีการเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยสมัครเสนอตัว ผ่านทางสมัชชาแห่งชาติิ ซึ่งในตอนนั้นมีผู้สนใจลงสมัคร จำนวนกว่า 2,000 คน และทุกคนก็ต้องมาเลือกกันเอง แน่นอนว่าก็ไม่มีใครเลือกคนอื่นนอกจากเลือกพวกตัวเอง ขณะที่จะมี ส.ส.ร.อีกส่วน ที่จะได้รับเลือกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอีก 100 คน ซึ่งความเป็นจริงแล้ววิธีการเลือก ส.ส.ร.แบบนี้ ผู้ที่สมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.ร.ทุกคนก็มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ สามารถเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทุกคน เพียงแต่จะเลือกเอาคนไหนก็เท่านั้น

ดร.เสรี กล่าวอีกว่า ดังนั้น หากมาดูเรื่องวิธีการเลือก ส.ส.ร.แล้ว ยอมรับว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ดูจะมีช่องโหว่ที่จะเอื้อกับการล็อกสเปกได้ทั้ง นั้น หากจะให้เสนอวิธีการสรรหา ส.ส.ร.3 แบบที่เชื่อว่าจะสามารถป้องกันข้อครหาการล็อกสเปกได้อย่างชงัด 100% หรืออย่างน้อยก็ป้องกันได้มากที่สุดนั้น ตนก็ยังคิดไม่ออกว่าจะแนะให้ใช้วิธีการใด นอกจากวิธีการจับสลากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองการที่รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 จะสำเร็จหรือไม่ว่าหลักการทำงาน ก็คือฝ่ายรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ไปตามนโยบายตัวเอง ส่วนฝ่ายค้านก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบหรือจับผิดในสภา ว่า เสียงข้างมากทำอะไรถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกก็ต้องเสนอให้ประชาชนได้รับทราบว่า ทำอย่างไรก็ไม่ทำให้เกิดการล็อกสเปก ส.ส.ร.3 อย่างที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตไว้่ก่อนหน้า
"ก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือ ไม่ อย่างไร แต่หลักการทำงานต้องตอบคำถามก่อนว่าทำเพื่ออะไร ทั้งการออกนิรโทษ หรืออภัยโทษ ต้องรู้ก่อนว่าทำเพื่ออะไร เพื่อใคร หากทำเพื่อคนคนเดียวจริง สมควรหรือไม่ ขณะที่ถ้าถึงขนาดต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ยกเลิกมาตรา 309 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าก็ไม่รู้จะทำได้อย่างไร เพราะหลักการแก้กฎหมาย อะไรก็ตามที่กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จะกลับไปยกเลิกให้เหมือนกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เป็นคุณเขียนแล้วให้ประโยชน์เป็นคุณกับคนกระทำความผิดก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทั้งหมดต้องไม่ผิดหลักทุจริต แสวงอำนาจโดยมิชอบ หรือดูหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นที่เคารพรััก" ดร.เสรี กล่าว


แต่ กับปรากฏการณ์การเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รับบทออกมาเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน เร่งเครื่องยื่นแก้กฎหมายมาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.3 โดยมีการตั้งโมเดล ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด จะต้องให้เสร็จสิ้นประมาณเดือน มิ.ย. 2556 ซึ่งหากนับไปจากนี้ก็จะมีเวลาอีกประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยกำหนดให้รัฐบาลจะต้องยื่นขอแก้กฎหมาย รธน. มาตรา 291 ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2554 ทีเดียวจะเรียกได้ว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเดินเต็มลูกสูบเหมือนกลัวอาจอยู่ไม่ถึง ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ถือว่าเป็นลูกคู่อย่างชาติไทยพัฒนาก็ออกมาขานรับ ไล่รวมไปถึงพรรคการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามอย่างประชาธิปัตย์ ยังออกอาการเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเฉพาะมาตรา 237 ที่เกี่ยวข้องกับกรณีการยุบพรรค ส่วนมาตราอื่นๆ ยังขอคัดค้านสุดลิ่มทิ่มประตู โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม "นายใหญ่" ของพรรคเพื่อไทย ที่อยู่ ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ทุกฝ่ายเห็นฟ้องต้องกันว่า อย่างไรเสียก็ต้องเห็นการเดินหน้ากระบวนการแก้ไข รธน.แน่



มอง ดูแล้วการเมืองไทยในปีหน้า (งูใหญ่) 2555 คงหนีไม่พ้นการตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นบางรายมาตรา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น รัฐจะสามารถดำเนินการได้ดังที่คาดหวังไปตามแผน หรือจะเกิดอุปสรรคระหว่างทาง อาทิ มีกลุ่มบางกลุ่มก่อม็อบออกมาต่อต้านอย่างที่กลัวเกรงกัน ทุกอย่างคงขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเอง จะเป็นผู้กำหนด หากการแก้ รธน.มีการสอดไส้แก้ในมาตราที่ถือว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะมาตราที่ต้องขีดเส้นแดงเอาไว้ตรงนี้เลยคือ มาตรา 309 (ลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารเมื่อปี 2549) แน่นอนกลุ่มต่อต้านที่จับจ้องอยู่ คงออกมาประท้วงสร้างความวุ่นวายอีกแน่

ทั้ง นี้ นับรวมไปถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 เรื่องการหมิ่นสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย ต้องขอย้ำก่อนว่า เป็นการวิเคราะห์ดูตามหน้าเสื่อที่ออกมาเท่านั้น แต่ไม่ขอออกความคิดเห็นใดๆ ส่วน รธน.ในมาตราอื่น ทั้งมาตรา 190 หรือ 237 หรือจะให้เอา รธน. ปี 2540 กลับมาปรับปรุงใหม่ ก็เห็นว่าไม่น่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่นายกรัฐมนตรีจะต้องกล้าออกมาส่งสัญญาณให้ชัดเจนด้วยว่า รัฐบาลมีความเห็นและจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่หนูไม่รู้...อย่างเดียว ทั้งหมดมันก็เป็นประการฉะนี้.

ไทยรัฐออนไลน์

คอป. เสนอแก้มาตรา 112 และ 133

คอป. เปิดข้อเสนอแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 133 ให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้แจ้งดำเนินคดี และลดโทษสูงสุดเหลือ 7 ปี
คณิต ณ นคร (ภาพจาก Facebook ของ คอป.)
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดเผยว่า คอป.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 30 ธ.ค. 54 เรื่องข้อเสนอแนะของคอป.เกี่ยวกับความผิดที่ต้องให้อำนาจหรือการดำเนินคดี มาตรา 112 ซึ่งสังคมมีความสับสนมาก ฝ่ายหนึ่งได้ใช้ความผิดฐานดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางการเมือง ของตน อ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับ ผู้ถูกกล่าวหา ม.112 อย่างเคร่งครัด ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพในทางการเมืองตามรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งหากกระทำเป็นความผิดอาญาย่อมขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นจึงเสนอให้ ยกเลิก ม.112
นายคณิต ระบุในหนังสือ คอป.ด้วยว่า ในส่วนของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น คอป.ได้ทำการศึกษาในแง่มุมของกฎหมายควบคู่ไปด้วย เพราะประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงตัวบทกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปรองดองต่อคนในชาติ โดยได้ทำการศึกษาถึงพื้นฐานความแตกต่างในสังคมประชาธิปไตยในต่างประเทศกับใน สังคมไทย พบว่าในประเทศประชาธิปไตยคนในกระบวนการยุติธรรมจะมีความเป็นเสรีนิยมสูงแต่ คนในกระบวนการยุติธรรมของไทยมีความเป็นอำนาจนิยมสูง
นายคณิต ระบุด้วยว่า เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่กำลังเป็นที่โต้เถียงและขัดแย้งกัน มา คอป.เห็นว่าการจะยกเลิก ม.112 เสียเลยน่าจะยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย แต่การที่จะคงสภาพเป็นความผิดอาญาในลักษณะปัจจุบันโดยไม่มีทางออกใดๆ ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะยังมีการใช้ความผิดฐานนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง จากการศึกษาของคอป.พบว่าความผิดฐานนี้มีช่องทางในทางกฎหมายที่จะสร้างความ สมดุลได้ เช่น ในเยอรมันมีการบัญญัติความผิดอาญาบางฐานที่ไม่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความผิดที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลสาธารณะ ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าเป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจกล่าวคือ แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นความผิดอาญาแต่การดำเนินคดีขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจของผู้เสียหายเป็นสำคัญ เช่นการดูหมิ่นประธานาธิบดี การสอบสวนจะเริ่มได้ต่อเมื่อประธานาธิบดีให้อำนาจดำเนินการเท่านั้น
นโยบายทางอาญาในระบบกฎหมายเยอรมันแสดงให้เห็นว่าประเทศที่เป็น ประชาธิปไตย นโยบายทางอาก็ต้องเป็นนโยบายที่ส่งเสริมการฝึกและพัฒนาคน นักการเมืองก็ต้องฝึกและพัฒนา นักการเมืองในด้านจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยในเมืองไทย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายมีสองแบบ ถ้าเน้นอำนาจก็เป็นกฎหมายที่เด่นในด้านกำจัดคนชั่ว แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เน้นการศึกษาซึ่งมุ่งสร้างคนดีจะมีลักษณะในการจัดสรร โอกาส ในทางปกครองและกฎหมายจะต้องทำหน้าที่สองด้านคือ ส่งเสริมคนดีและกำราบคนร้าย แต่คอป.เห็นว่ากฎหมายของไทเน้นที่การบังคับด้านเดียว ส่วนมากจะจบลงด้วยบทกำหนดโทษ นโยบายทางอาญาของไทยทำให้เกิดสภาพกฎหมายอาญาเฟ้อ รัฐควรวางเป็นนโยบายเพื่อให้กฎหมายและระบบกฎหมายเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง และดีขึ้น
สำหรับการแก้ปัญหาของชาติโดยเฉพาะการสร้างความปรองดอง คอป.เห็นว่านอกจากฝ่ายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติควรพิจารณาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดย คอป.ขอยื่นข้อเสนอแนะดังนี้
  1. ควรตรากฎหมายกำหนดให้ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจ โดยถือว่าการตรากฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญและเร่งด่วน
  2. ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นความผิดที่คุ้มครองความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเป็นคุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนรวม เป็นเรื่องของสถาบัน หาใช่เรื่องส่วนพระองค์ไม่ ดังนั้น การจะให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีย่อมเป็นการไม่เหมาะสม และขัดต่อจารีตประเพณีของบ้านเมืองที่ต้องเทิดทูนสถาบัน เลขาธิการพระราชวังเป็นข้าราชการพลเรือนในประองค์ที่ได้รับการแต่งตั้ง ตามพระราชอัธยาศัยจึงอาจกำหนดให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้ให้อำนาจดำเนิน คดี
  3. ในส่วนของระวางโทษตาม ม.112 ควรมีความเป็นเสรีนิยมมากกว่าในปัจจุบันหรือโทษควรเบาลง อย่างน้อยควรกลับไปนำโทษที่เคยกำหนดไว้เดิมมาใช้
  4. คอป.เสนอให้แก้กฎหมายอาญา ม.112 เสนอต่อรัฐสภา ดังนี้ ใครหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรค 1 เป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจ การสอบสวนดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอำนาจจากเลขาธิการพระราชวัง
  5. ความผิดตาม ม.112 และ ม.133 เป็นเรื่องที่ยึดโยงกันเมื่อแก้ ม.112 ก็ต้องแก้ ม.133 ในคราวเดียวกัน โดยให้บัญญัติว่าผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายต่อราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นายคณิต ระบุท้ายข้อเสนอว่า คอป.ทำงานตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อประชาชนข้อเสนอแนะของคอป.ข้าง ต้นถือเป็นข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายต่อรัฐสภาและประชาชนด้วย ในส่วนของรับสภานั้นคอป.เห็นว่าเหมาะสมที่จะผลักดันกฎหมายดังกล่าวและ ประชาชนเองก็ควรที่จะผผลักดันให้กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นด้วย เพื่อช่วยกันสร้างสันติและความปรองดองของคนในชาติ โดยคอป. ได้ส่งเอกสารแนบท้ายข้อเสนอแนะประกอบด้วยหนังสือรวมบทความการก่อการร้ายกับ การมอบอำนาจให้ดำเนินคดี หนังสือนิติศาสตร์แนวพุทธของป.อ.ปยุตโต เอกสารเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายญี่ปุ่นและเอกสารเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายใน เยอรมัน
ที่มา คมชัดลึก



รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง