บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

มาร์คเปิดประตูให้แม้ว กลับประเทศไทย


โดย วิทยา วชิระอังกูร
               เหตุบ้านการเมืองที่คนไทยต้องจับตา และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นับจากนี้ไป เกิดจากการออกมาจุดกระแสของ ส.ส.แกนนำคนเสื้อแดง จตุพร พรหมพันธ์ ที่ออกมาพูดซ้ำๆว่า “ประมาณเดือนธันวาคมเป็นต้นไป กลุ่มบุคคล ที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล จะเริ่มขยับตัว...” ซึ่งสอดคล้องกับ การออกมาร้องเตือนของนายอรรถพร พลบุตร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้ระวังวิกฤติการณ์การเมืองรอบใหม่ กำลังจะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนข้างหน้า โดยมีสาเหตุมาจากรัฐบาลเพื่อไทยใช้อำนาจอย่างเกินขอบเขตเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จนเกินกว่าสังคมจะรับได้
 ดูตามพฤติกรรมต่างๆ ของรัฐบาลนี้ ก็ดูเหมือนจะเร่งร้อน ทำในสิ่งที่จะเอื้อประโยชน์ให้ ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นมลทินความผิดทั้งปวง เพื่อกลับประเทศไทยได้ในเร็ววันจริงๆ
  งานจำเป็นเร่งด่วนเฉพาะหน้า ที่ต้องเยียวยาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน เกือบทั่วประเทศที่เป็นวิกฤติรุนแรง ประชาชนผู้ประสบภัยเดือดร้อนแสนสาหัส  กลับกลายเป็นงานรอง ไม่เอาจริงเอาจัง เหมือนเรื่อง ฏีกาแดงขอพระราชทานอภัยโทษ ที่กระทรวงยุติธรรมถือเป็นงานใหญ่ ทั้งการโยกย้ายอธิบดีกรมราชท้ณฑ์ มารองรับหน้าที่ ทั้งการตั้งคณะทำงานตรวจพิจารณาฏีกา ที่ล้วนแล้วแต่ตั้งบุคคลที่เป็นเครือข่ายใกล้ชิดที่พร้อมจะดำเนินการทุกอย่างให้เป็นคุณแก่ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไม่แยแสความถูกต้องชอบธรรม
 แต่ก็อีกนั่นแหละ ว่ากันเฉพาะเรื่องฏีกาคนเสื้อแดง ก็ต้องโทษรัฐบาลดีแต่พูดอีกตามเคย เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ควรจะใช้อำนาจระงับยับยั้งยุติฏีกาที่ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์และหลักกฏหมายที่ว่าด้วยการขอพระราชทานอภัยโทษ ตามระเบียบแบแผนที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน รัฐบาลดีแต่พูดกลับปล่อยให้กรมราชทัณฑ์ตรวจรายชื่อผู้ยื่นฎีกายาวนานเกือบสองปี จนหมดวาระรัฐบาล เรื่องยังค้างอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม และมาเข้าทางแม้ว เหมือนเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง ที่ดีแต่พูดแต่ไม่ทำ
 นอกจากนั้น ที่นับเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สร้างคุณูปการให้แก่ น.ช. ทักษิณ ชินวัตร ก็คือ การตราพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ที่ดันไปแก้ไขหลักการสำคัญ ในมาตรา 6(2) ง จากเดิมที่มีการตราไว้ก่อนหน้านั้น 4 ฉบับ (พ.ศ. 2542,2547,2549 และ 2550) ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันว่า นักโทษที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ คือ
 เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ตามกำหนดโทษ
 โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ฯ แก้ไข เป็น
 เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
 พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ฉบับที่ตราในยุคคุณอภิสทธิ์ฯ จึงเข้าทางแม้วอย่างเต็มประตู เพราะ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 62 ปี และเหลือโทษจำคุก 2 ปี จึงเข้าข่ายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอภัยโทษ โดยเพียงแต่ยอมมารับโทษติดคุกไม่กี่วัน ก่อน ที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ 2554 จะมีผลบังคับใช้
 หลายวันก่อน โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจารย์ปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ จึงออกมาดักคออย่างรู้ทันว่า เป้าหมายที่แท้จริงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ ที่จะช่วยพี่ชายได้แน่ๆ คือ การตราพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 โดยเพียงแต่ลอกตาม ฉบับ พ.ศ. 2553 ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องฎีกาแดงหรือการออกข่าวนิรโทษกรรมอื่นๆ เป็นแค่เป้าลวงให้ผู้คนหลงเป้าหลงทาง
 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็ออกมาใช้ลวดลายด้วยการแจกสำเนาพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2550 เป็นการเบี่ยงเบนหลอกนักข่าวว่ากรณีอภัยโทษทักษิณ ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้นักข่าวหลงทาง รวมทั้งการพูดหลอกล่อ ให้มุ่งประเด็นไปที่ฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษว่า 
  1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลยื่นถวายฎีกา 2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริงๆนานเท่าใดจึงจะถวายฎีกาได้ 3.การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้ หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด 4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฎหมายว่า ผู้หลบหนีจะต้องมามอบตัวและรับโทษจำคุกเสียก่อน จึงขออภัยโทษได้นั้น เป็นการแปลกฎหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้

  แท้ที่จริง ทั้งสิ้นทั้งปวง คงเพราะเห็นช่องทาง ที่จะกลับมารับโทษไม่กี่วัน แล้วได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามเงื่อนไขพระราชกฤษฎีกาที่กำลังเตรียมยกร่าง เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 ทำให้ทักษิณ เคยเผลอกล่าวกับคนเสื้อแดงอย่างมั่นอกมั่นใจว่าจะกลับมางานแต่งงานลูกสาว ในเดือนธันวาคม ปีนี้แน่นอน
 และทั้งสิ้นทั้งปวงนี่เอง ที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์การเมืองรอบใหม่ อย่างที่รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลง หรือเกิดการขยับตัวของกลุ่มบุคคลที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล อย่างที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ออกมาคาดการณ์ล่วงหน้า
 อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ในบ้านเมืองอันพิลึกกึกกือนี้ ประเทศไทยโชคร้ายทีเคยมีนายกรัฐมนตรี ชื่อทักษิณ ชินวัตร และประเทศไทยก็โชคไม่ดี ที่เคยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
 ตอนนี้มีนายกรัฐมนตรีหญิงชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ติดตามตอนต่อไปว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายหรือโชคไม่ดี (ฮา...)

เปิดบันทึกกฤษฎีกาเบรก”ยิ่งลักษณ์” ยกเก้าอี้ ผอ.กอ.รมน.ให้”กุนซือ-พล.อ.พัลลภ”


 

หมายเหตุ-เป็นบันทึกคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1(นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน)ให้เห็นความเห็นกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหารือว่า นายกรัฐมนตรีจะมอบอำนาจให้“ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี”คนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจแทนในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(ผอ.กอ.รมน.) โดยอาศัยกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาให้คำตอบว่า การมอบอำนาจของนายกรัฐมนตรีในกรณีนี้ ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
กล่าวคือมอบได้แต่เฉพาะอำนาจในการกำกับการบริหารราชการ โดยมิอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นบททั่วไปได้  ทั้งนี้ เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว
ทั้งนี้  มาตรา๑๑  (๒)ระบุว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการ มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวงไม่มีการระบุว่า สามารถอำนาจให้”ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี”ได้
(บันทึกเรื่องเสร็จที่ ๗๖๘/๒๕๕๔ ส่งพร้อมหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๙๐๑/๑๑๔๗ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
สำหรับที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีปัจจุบันมีอยู่ ๔ คน ประกอบด้วย พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี, พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร,นายโอฬาร ไชยประวัติ และนายสุชน ชาลีเครือ
ในจำนวนทั้งหมด พล.อ.พัลลภ เคยดำรงตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน.และที่ปรึกษา กอ.รมน.มาก่อนและทำงานใน กอ.รมน.มาอย่างนาวนาน จึงคาดหมายกันว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการที่จะให้ พล.อ.พัลลภปฏิบัติหน้าที่ ผอ.กอ.รมน.แทน
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง  การมอบอำนาจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๕ (ลน)/๘๕๐๕ ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ด้วยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภาย
ในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายก รัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร โดยกำหนดให้
ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. รวมทั้งมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจดังกล่าว ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้ อำนาจแทนก็ได้
แต่โดยที่มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า นอกจากการมอบอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นปฏิบัติแทนก็ ได้ ซึ่งมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติว่า อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตาม กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่าง อื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ในพระราชกฤษฎีกา
ด้วยเหตุนี้ นายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีหากนายกรัฐมนตรีจะมอบอำนาจให้ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติ หน้าที่และใช้อำนาจแทนในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยอาศัยกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้หรือไม่ อย่างไร
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า มาตรา ๕[๑] แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรี “ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล” เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) และเป็นผู้บังคับบัญชาข้า
ราชการ พนักงาน และลูกจ้างในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ ได้บัญญัติเรื่องการมอบอำนาจของ ผอ.รมน. ไว้เป็นการเฉพาะ คือ มาตรา ๕ วรรคแปด ที่อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทน ได้ และมาตรา ๘ ที่บัญญัติว่า นอกจากการมอบอำนาจตามกฎหมายว่า
ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นปฏิบัติแทนก็ ได้
สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดใช้อำนาจแทนใน ฐานะ ผอ.รมน. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ได้บัญญัติหลักทั่วไปของการมอบอำนาจไว้ในมาตรา ๓๘[๒] ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตาม กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น ได้ ก็ต่อเมื่อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของ
คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ และโดยที่มาตรา ๕[๓] แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ ได้บัญญัติให้การดำรงตำแหน่ง ผอ.รมน. ของนายกรัฐมนตรีเป็นการดำรงตำแหน่ง “ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล” ซึ่งมาตรา ๑๑[๔] แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่และการมอบอำนาจของนายก
รัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว
ดังนั้น การมอบอำนาจของนายกรัฐมนตรีในกรณีนี้ จึงต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑[๕] แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ คือมอบได้แต่เฉพาะอำนาจในการกำกับการบริหารราชการ โดยมิอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๘[๖] แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นบททั่วไปได้  ทั้งนี้ เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว
(นายอัชพร  จารุจินดา)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กันยายน ๒๕๕๔
——————————————————————————–
[๑]มาตรา ๕  ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า �กอ.รมน.� ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายก รัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า �ผอ.รมน.� เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการ กอ.รมน. มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการกำหนด
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.  ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระ ราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้ อำนาจแทนก็ได้
[๒]มาตรา ๓๘  อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือ ดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่าง อื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ฯลฯ                               ฯลฯ
[๓]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๑, ข้างต้น
[๔]มาตรา ๑๑  นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(๕) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการ สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(๖) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(๗) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
(๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(๙) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบายระเบียบตาม (๘) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้
[๕]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๔, ข้างต้น
[๖]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๒, ข้างต้น

prasong.com www.Stats.in.th

‘เชฟรอน’ ยึดทะเลแสนตารางกิโลเมตร ตั้งแท่นขุด ‘อุบลB12/27’ กลางอ่าวไทย

 

ก้อนน้ำมันชายหาดสงขลา เป็นก้อนน้ำมันสุกนอกอ่าวไทย แจงรักษามาตรฐานดูแลมลพิษอย่างเคร่งครัด
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมสงขลา 2 โรงแรมบี.พี.สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและการผลิต จำกัด จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1 โครงการผลิตปิโตรเลียม ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน
นายสุขสรรพ์ จินะณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกร บริษัท เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ชี้แจงว่า โครงการผลิตปิโตรเลียมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 204 กิโลเมตร หรือ 110 ไมล์ทะเล ห่างจังหวัดนครศรีธรรมราช 153 กิโลเมตร หรือ 82 ไมล์ทะเล ห่างจากเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 190 กิโลเมตร หรือ 105 ไมล์ทะเล และห่างจากเกาะกูด จังหวัดตราด 399 กิโลเมตร หรือ 183 กิโลเมตร
นางศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า จะมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการประเมินผลกระทบด้านต่างๆของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการผลิตปิโตรเลียมในทะเลของสผ. และเงื่อนไขของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
นางวิลาสินี อโมนาศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า จะมีจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เน้นเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรง ที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านรอบอ่าวไทย จะรับฟังทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยไม่เลือกปฏิบัติ
นางวิลาสินี ชี้แจงอีกว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 และวันที่ 2 มิถุนายน 2554 ได้จัดประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอระโนด สทิงพระ และสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม 2554 ให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการ และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากสถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน และสื่อมวลชนในภาคใต้
“อีกทั้งในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายน 2555 จะมีการให้ข้อมูลข่าวสาร มีการสนทนากลุ่มย่อย สัมภาษณ์รายบุคคล และสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน หน่วยงานต่างๆ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน คาดว่าประมาณเดือนพฤษภาคม 2555 จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2” นางวิลาสินี กล่าว
พ.ต.ท.ไมตรี นักธรรม สารวัตรตำรวจน้ำสงขลา ถามว่า พื้นที่แปลงสัมปทานของเชฟรอน มีกี่แปลง แปลงหนึ่งเจาะกี่หลุม พื้นที่สัมปทานกว้างเท่าไหร่ และจะกระทบต่อการทำประมงหรือไม่
นายศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย วิศวกรสิ่งแวดล้อม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ชี้แจงว่า เชฟรอนมีพื้นที่สัมปทาน 10 แปลง บางแปลงมีพื้นที่ 1 พันตารางกิโลเมตร บางแปลง 2 หมื่นตารางกิโลเมตร บางแปลง 5 ห้าหมื่นตารางกิโลเมตร มีแท่นขุดเจาะประมาณ 300 แท่น จะมีกันพื้นที่บริเวณแท่นขุดเจาะในรัศมี 500 เมตร ไม่ให้ชาวประมงเข้าไป เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
“ถ้าตีตารางจะกินพื้นที่แต่ละแท่นขุดเจาะ 3–4 ตารางกิโลเมตร คูณจำนวนแท่นขุดเจาะ 300 แท่น หากนับพื้นที่รวมๆ แล้ว จะใช้พื้นที่ในอ่าวไทยเป็นแสนตารางกิโลเมตร” นายศักดิ์ชัย ตอบ
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า กระบวนการในการขุดเจาะมีการดูดหิน และสิ่งอื่นๆ ขึ้นมาเท่าไหร่ มีขนาดเท่าไหร่ นำไปทิ้งที่ไหน ถ้าทิ้งในทะเลเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสะสมรวมกันเป็นกองหินขึ้นมา
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า บางส่วนจะปล่อยลงสู่ทะเล เศษหินก้อนใหญ่ๆ จะจม ส่วนก้อนเล็กจะกระจัดกระจายไปตามกระแสน้ำ ทั้งหมดจะมีการติดตามตรวจสอบ ส่วนปริมาณเศษหินจะปล่อยใกล้แท่นขุดเจาะใกล้ 20 เซนติเมตร สำหรับเศษหินเล็กๆ ที่กระจายในกระแสน้ำ อาจจะตรวจสอบลำบาก
พ.ต.ท.ไมตรี แสดงความเห็นว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจจะทำให้เกิดการตื้นเขินจากการสะสมของเศษหินขนาดใหญ่ ส่วนเศษขนาดเล็กจะกระจายสู่ท้องทะเล และการรั่วไหลของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะ อาจส่งผลให้สภาพทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลง
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงอีกว่า กระบวนการขุดเจาะมีถังสำหรับเก็บสารเคมีสังเคราะห์ ถ้าส่งผลกระทบก็ส่งผลกระทบน้อยมาก
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า ในจังหวัดสงขลามีชาวบ้านพบก้อนเศษน้ำมัน หลังจากนั้นชาวบ้านก็ไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อมามีการนำมาชั่งกิโล แล้วคำนวณน้ำหนักจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงด้วยว่า สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะมีราคาสูงมาก จะมีถังกักเก็บนำมาใช้ซ้ำในการขุดเจาะหลายครั้งมาก ในกระบวนการขุดเจาะสารดังกล่าวจะปะปนมากับเศษหิน แล้วจะผ่านกระบวนการแยก และจะทิ้งเศษหินบริเวณใต้แท่นขุดเจาะ ถ้าเป็นเศษหินเล็กๆแจะปลิวออกไปตามกระแสน้ำ 5–6 กิโลเมตร ในระยะเวลา 1–2 วันจะตกตะกอนลงสู่ทะเล ส่วนสารเคมีสังเคราะห์จะนำกลับมาใช้หมุนเวียน
“ที่มีชาวบ้านในจังหวัดสงขลาพบก้อนเศษ น้ำมัน เราได้นำไปวิเคราะห์พบว่าไม่ได้เป็นก้อนน้ำมันดิบ แต่เป็นก้อนน้ำมันสุก อีกทั้งยังพบว่าไม่ใช่เศษน้ำมันจากอ่าวไทย เนื่องจากก้อนน้ำมันจะสามารถบอกได้ว่ามาจากที่ไหนเหมือนลายนิ้วมือของคน” นายสุขสรรพ์ กล่าว
พ.ต.ท.ไมตรี ถามด้วยว่า มีของเสีย หรือวัสดุอะไรบ้างที่นำกลับมาเข้าฝั่ง ไม่ว่านำมาใช้ต่อ หรือทำลายทิ้ง
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า วัสดุที่ขนกลับเข้าฝั่งจะมีขยะของพนักงาน ซึ่งจะมีระบบการคัดแยกเป็นอย่างดี อะไรสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ก็ใช้ซ้ำ ส่วนของเสียอื่นจะมีสีและวัสดุปนเปื้อนน้ำมัน ซึ่งจะมีการจัดการและใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงอย่างเคร่ง ครัด โดยจะขึ้นฝั่งที่ท่าเรือประทีป ตรงแหลมแท่น มีบริษัทที่ได้รับอนุญาตนำไปจัดการตามความเหมาะสม
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า มีบริษัทขุดเจาะน้ำมันใดบ้างที่มีการทิ้งเศษหิน หรือเศษก้อนน้ำมันลงทะเล ตนจะได้สามารถหาวิธีตรวจสอบจับกุม ถ้ามีการถ่ายของเสียลงสู่ทะเล
นายธรณิศวร์ ทรรพนันทน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ชี้แจงว่า สำหรับเชฟรอนไม่มีแน่นอน ตนคิดว่าทุกบริษัทพยายามทำตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากจะมีกระบวนการตรวจสอบติดตามจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเช้ามาดูแลอย่างเข้มงวด แต่ละบริษัทจะต้องส่งรายงานการกำจัดของเสียให้กรมพลังงานธรรมชาติทุกเดือน สำหรับขั้นตอนการจัดการของเสียของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน
ที่มา :: ประชาไท

ความลึกลับของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
http://www.facebook.com/verapat.pariyawong

ศาลรัฐธรรมนูญดูจะเป็นองค์กรสำคัญของชาติที่มีความลึกลับอยู่ไม่น้อย


จากข่าวเรื่อง “คลิปลับ” ที่บันทึกการสนทนาระหว่างตุลาการและเจ้าหน้าที่ศาลบางคนเกี่ยวกับการนำ “ข้อสอบ” ให้คนรู้จักไปอ่าน สุดท้ายจริงเท็จอย่างไรก็ยังคงลึกและลับจนถึงบัดนี้
หรือกรณีการตีความไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสองคดีเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ (คดีเงิน ๒๙ ล้านบาท และคดีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ซึ่งแม้ศาลเดียวกันจะตัดสินทั้งสองคดีในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ก็ยังลึกลับอยู่ว่าเหตุใดกลับตีความประเด็นเดียวกันขัดแย้งกันโดยสิ้น เชิง (ดู http://bit.ly/qLeK63)

ความลึกลับนั้นน่ากังวลอยู่ไม่น้อยน้อยเมื่อสวนดุสิตโพลแสดงผลสำรวจกลุ่ม ตัวอย่างว่ามีประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่าร้อยละ ๕๖ ที่ “ไม่ค่อยเชื่อมั่น” หรือ “ไม่เชื่อมั่น”ในศาลรัฐธรรมนูญ
ล่าสุดมีกรณีลึกลับอีกกรณี คือ หลังจากมีข่าวว่าคุณชัช ชลวรได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง “ประธานศาล” แล้วนั้น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวที่ ๗/๒๕๕๔ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ มีใจความว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติโดยเอกฉันท์เลือกคุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้นมีข่าวว่าสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากำลังรอหนังสือจากสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการให้ประธานวุฒิสภานำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญต่อไป




อย่างไรก็ดี สื่อมวลชนได้เผยแพร่บทความโดย  “คุณสันติ รัศมีธรรม” และ “คุณวิปัสสนา ปัญญาญาณ”  (ที่ http://bit.ly/oNEKDm และ http://bit.ly/r5YrFH) ซึ่งทักท้วงว่าการเลือกคุณวสันต์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการที่คุณชัชลาออกจากเพียงตำแหน่ง “ประธานศาล” แต่ยังคงตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ไว้นั้น เป็นการทำผิดขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ

เรื่องนี้ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติว่า
“ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามมาใช้บังคับ”
(มาตรา ๒๐๔ วรรคสาม ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ)

ผู้ที่ทักท้วงเห็นว่า ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องถือว่าคุณชัช ได้ลาออกและพ้นจากตำแหน่งโดยเด็ดขาดจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แทนคุณชัช (โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ตามมาตรา ๒๑๐ วรรคสอง) และให้ตุลาการผู้ได้รับเลือกใหม่นั้นประชุมกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น เพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ (กล่าวคือ เมื่อคุณชัชลาออก คุณชัชจึงไม่มีตำแหน่งตุลาการ และจะมาร่วมลงคะแนนเลือกคุณวสันต์เป็นประธานไม่ได้)

จึงเกิดคำถามว่า คุณชัชยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่ และการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่กระทำไปนั้น ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่?

ผู้เขียนเห็นว่าบทความทั้งสองของผู้ทักท้วงนั้นมีเหตุผลที่รับฟังได้และ น่าเห็นด้วยอยู่ไม่น้อย (มิอาจทวนได้ทั้งหมดในที่นี้) อีกทั้งยอมรับว่ารัฐธรรมนูญมีความไม่ชัดเจนและน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดปัญหา วุ่นวายตามมาหรือไม่
หากมีเหตุให้เชื่อว่ากระบวนการไม่ถูกต้องจริง ประธานวุฒิสภาย่อมต้องใช้ความรอบคอบก่อนนำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แต่หากดำเนินการไปแล้ว จะเกิดผลอย่างไร? หรือจะถือว่าเป็นกรณีที่ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าถูกต้องแล้ว?
หรือหากวันหนึ่งจะมีผู้โต้แย้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าตุลาการมีที่ มาไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่? และหากโต้แย้งแล้ววันนั้นผู้ใดจะเป็นผู้วินิจฉัย ? (รัฐธรรมนูญมิได้ระบุไว้ชัด ต่างจากเรื่องสถานะของสมาชิกรัฐสภาหรือรัฐมนตรี ซึ่งมาตรา ๙๑, ๙๒ และ ๑๘๒ ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย) อีกทั้งใครจะบอกได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญกลับเข้าใจรัฐธรรมนูญผิดไปเอง?

เพื่อช่วยร่วมคิดและคลี่คลายความลี้ลับ ผู้เขียนขอเสนอ “คำอธิบายทางเลือก” ว่า คุณชัช ยังคงเป็น “ตุลาการศาล” อยู่โดยถูกต้อง กระบวนการเลือกคุณวสันต์จึงไม่ได้มีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ประธานวุฒิสภาจึงสามารถนำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้  ดังนี้

การพิจารณาถ้อยคำว่า “พ้นจากตำแหน่ง” ในมาตรา ๒๑๐ วรรคสี่นั้น ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า “พ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ” โดยเด็ดขาดเท่านั้น แต่สามารถหมายถึงการพ้นจากตำแหน่ง “ประธานศาล”  ที่ไม่พ้นจากตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ก็เป็นได้ เพราะกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้พิจารณา ตำแหน่ง “ประธานศาล” ที่มีตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ซ้อนอยู่อีกด้วยชั้น เจตนารมณ์ดังกล่าวพบได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

ประการแรก มาตรา ๒๐๔ วรรคหนึ่ง ใช้ถ้อยคำว่า "ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนและตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญอื่นอีกแปดคน"

ที่ว่ายังมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ "อื่น" อีกแปดคน จึงตีความอีกทางได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแปดคน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ "อื่น" อีกหนึ่งคน (คือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ) กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้มองว่า “ประธานศาล” นั้นมีสภาพพิเศษแยกเด็ดขาดจาก “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น” แต่แท้จริงแล้ว “ประธานศาล” ก็คือผู้เป็น “ตุลาการศาล” คนหนึ่ง เพียงแต่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มในส่วนที่เป็น “ประธานศาล”

ประการที่สอง มาตรา ๒๐๙ วรรคสอง ใช้ถ้อยคำว่า “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...”

ในกรณีที่มีประธานศาลหรือตุลาการคนใดการพ้นจากตำแหน่งบางกรณี เช่น ตาย หรือ ลาออก นั้น มาตรา ๒๐๙ วรรคสอง ใช้ถ้อยคำว่า “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...”

จะเห็นได้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...” โดยไม่ได้กล่าวถึง “ประธานศาล” แต่ย่อมต้องหมายความรวมถึงส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ซ้อนอยู่ด้วย มิฉะนั้นก็จะตีความอย่างแปลกประหลาดว่าแม้หากประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้พ้น จากตำแหน่ง แต่ก็ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ประการที่สาม มาตรา ๒๑๖ บัญญัติว่า "องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" นั้น "ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ..."

เช่นเดียวกับ มาตรา ๒๐๙ ที่อธิบายมาในประการที่สอง มาตรา ๒๑๖ ไม่ได้เจาะจงว่า “องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” จะต้องมี “ประธานศาล” ประกอบอยู่ด้วย แต่ทั้งนี้ก็ย่อมต้องหมายความรวมถึงส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ซ้อนอยู่ด้วย มิฉะนั้นก็จะตีความอย่างแปลกประหลาดว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นส่วน หนึ่งของ “องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ”

ประการทั้งสามที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ยืนยันว่า กฎหมายไม่ได้มีเจตนารมณ์แยกตำแหน่ง “ประธานศาล” เป็นพิเศษออกจาก “ตุลาการศาล”  โดยเด็ดขาด แต่มีการกล่าวถึง “ตุลาการศาล” โดยรวม ซึ่งครอบคลุมถึง “ประธานศาล” ด้วย

ดังนั้น การพิจารณาถึงตำแหน่ง “ประธานศาล” จึงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่ามีสองส่วนที่ซ้อนกัน คือส่วนที่เป็น “ตุลาการศาล” และ ส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ที่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นมา มิใช่ว่าเป็น “ประธาน” อยู่อย่างเดียวและเข้าหรืออกจากตำแหน่งแต่แค่การเป็น “ประธาน” เพียงนั้น

คำถามที่ตามมาก็คือ เวลา “ประธานศาล” “ลาออก” หรือ “พ้นจากตำแหน่ง” นั้น จะหมายถึงตำแหน่ง “ประธานศาล” เท่านั้นหรือ ต้องรวมไปถึง “ตุลาการศาล” ที่ซ้อนกันอยู่ด้วย?

แน่นอนว่ามีบางกรณีที่ตอบได้ง่าย เช่น การพ้นจากตำแหน่งโดยการตาย ย่อมถือว่าต้องพ้นจากทั้งส่วนตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการศาล” อย่างไม่ต้องสงสัย

แต่การ “ลาออก” นั้นย่อมต้องพิจารณาจากธรรมชาติของการ “ลาออก” ซึ่งเป็นเรื่องความประสงค์ของเจ้าตัวตุลาการเอง เช่น เมื่อคุณชัชลาออกจากการทำหน้าที่ “ประธานศาล” แต่ยืนยันว่าตนไม่เคยลาออกจากการเป็น “ตุลาการศาล” แล้วจะหาเหตุผลอื่นใดมาบังคับได้ว่า คุณชัชได้ลาออกจากการเป็น “ตุลาการศาล”?

การตีความเช่นนี้นอกจากจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่ต้องการให้ มีการซ้อนกันระหว่างตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการ” แล้วยังไม่ได้สร้างปัญหาความชอบธรรม หรือความไม่เป็นธรรมในทางสาระสำคัญหรือกระบวนการของกฎหมายแต่ประการใด เพราะท้ายที่สุดผู้ที่เลือกคุณวสันต์เป็นประธานศาลก็คือตุลาการผู้มีมติเป็น เอกฉันท์ ไม่ได้ต่างอะไรในสาระสำคัญกับการต้องให้คุณชัชออกจากตำแหน่งตุลาการแล้วคัด เลือกตุลาการใหม่เข้ามาประชุมเลือกประธานศาล (เว้นเสียจะมีผู้เถียงว่าตุลาการที่ได้รับเลือกเข้ามาใหม่จะเป็นตัวเลือก ประธานศาลที่ดีกว่า)
ยิ่งไปกว่านั้น การตีความดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าประสงค์อันเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการ ยุติธรรม คือ ศาลสามารถมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานระหว่างตุลาการด้วยกัน กล่าวคือ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง “ประธานศาล” เห็นว่าตนไม่เหมาะสมที่จะเป็น “ประธานศาล” หรือ เห็นว่ามีผู้อื่นที่เหมาะสมกว่าตน ไม่ว่าจะเพราะเหตุใด แต่เหตุนั้นไม่ได้กระทบต่อการทำหน้าที่ “ตุลาการศาล” ของตน “ประธานศาล” ผู้นั้นก็เพียงแต่สละตำแหน่ง “ประธานศาล” ให้ผู้อื่นที่ได้รับเลือก โดยที่งานคดีของศาลก็ยังดำเนินต่อเนื่องได้ เพียงแต่ “ประธานศาล” คนเดิมได้ลดบทบาทตนเหลือเพียง “ตุลาการศาล” อีกทั้งไม่ต้องสร้างภาระให้กับผู้อื่นมาคัดเลือก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาและสร้างภาระในการโยกย้ายบุคคลากร เช่น จากศาลฎีกา เป็นต้น

ในทางตรงกันข้าม หากตีความตำแหน่ง “ประธานศาล” ให้มีสภาพพิเศษแยกเด็ดขาดจาก “ตุลาการศาล” คือเป็นตำแหน่งโดดๆ ที่ไม่มีส่วนซ้อนกับ “ตุลาการศาล” ก็ย่อมทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหารงาน เพราะหากมีกรณีใดที่ผู้ดำรงตำแหน่ง “ประธานศาล” เห็นว่าตนไม่เหมาะสมที่จะเป็น “ประธานศาล” หรือเห็นว่ามีผู้อื่นที่เหมาะสมกว่าตน แต่ผู้นั้นก็จะไม่สละตำแหน่ง “ประธานศาล” (แม้ตนจะอยากให้คนอื่นที่เหมาะสมกว่าทำหน้าที่แทน) เพราะไม่ต้องการเสียตำแหน่ง “ตุลาการศาล” นั่นเอง ซ้ำร้าย หากผู้นั้นอยากใช้ความรู้ความสามารถเป็น “ตุลาการศาล” ต่อไป แต่กลับเบื่อหน่ายกับหน้าที่เฉพาะของ “ประธานศาล” ก็อาจต้องตัดใจลาออกจากศาล ทั้งที่ตนเองก็ยังเหมาะกับการทำหน้าที่ “ตุลาการศาล” ต่อไป การตีความเช่นนี้เท่ากับกึ่งสนับสนุนให้ตุลาการยึดประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ส่วนรวม อีกทั้งเป็นความเคร่งครัดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร

สรุป
เมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป้าประสงค์แห่งกระบวนการยุติธรรมมุ่ง หมายให้ ตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการศาล”  เป็นสองส่วนที่ซ้อนกัน และคุณชัชไม่เคย “ลาออก” จากส่วนของการเป็น “ตุลาการศาล”  คุณชัชจึงยังคงเป็น “ตุลาการศาล”  และการประชุมเลือกคุณวสันต์เป็นประธานศาลที่ดำเนินการมาจึงถูกต้องแล้ว
ข้อสังเกตเพิ่มเติม
๑. ผู้เขียนเองไม่ได้พอใจกับ “คำอธิบายทางเลือก” มากไปกว่าเหตุผลของผู้ทักท้วง เพียงแต่เสนอเป็นทางเลือกร่วมคิด ในสิ่งที่น้อยคนอาจคิดได้ถึง หากยังไม่เห็นด้วยกับทั้งสองทาง วิธีตีความอีกวิธี คือ การตีความว่ารัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องให้คุณชัชลาออกเฉพาะความเป็น “ประธาน” ศาล ดังนั้น การลาออกของคุณชัชจึงยังไม่มีผล การเลือกคุณวสันต์ก็เป็นการข้ามขั้นตอน ทุกอย่างจึงย้อนกลับสู่สภาพเดิม และคุณชัชยังคงเป็นประธานศาลต่อไป

๒. ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคือการร่างกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและใช้ถ้อยคำไม่เสมอ กัน บางครั้งกล่าวถึงประธานศาลและตุลาการแยกกัน แต่บางครากลับกล่าวรวมกัน จึงเป็นเรื่องที่สมควรการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่วนนี้ให้ชัดเจน
๓. การตีความกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งการตีความอย่างสุจริตและเคร่งครัดกลับสร้างปัญหาวุ่นวาย แต่บางครั้งการตีความที่ยึดเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ก็กลับเป็นการใช้ ดุลพินิจตามอำเภอใจที่อธิบายไม่ได้ แม้การตีความแบบแรกแม้จะไม่ดีเลิศ แต่แบบที่สองนั้นน่ากลัวกว่ายิ่งนัก นักกฎหมายที่ดีจึงต้องตีความกฎหมายให้ตรงกับเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ พร้อมสามารถยกบทบัญญัติขึ้นอธิบายผลการตีความได้อย่างลึกซึ้ง เฉียบแหลมและแยบยล จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ยอมรับการลาออกของคุณชัช และดำเนินการเลือกคุณวสันต์เป็นประธานนั้น แท้จริงแล้วได้กระทำไปโดยอาศัยการตีความแบบใด
๔. ผู้ทักท้วงได้เสนอว่าการคานอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีเช่นนี้อยู่ที่ขั้น ตอนประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลและคณะองคมนตรีถวายความเห็น ผู้เขียนเห็นด้วยว่าประธานวุฒิสภาไม่อาจนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลอย่างไม่ รอบคอบ และตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า มาตรา ๒๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจวุฒิสภาสามารถตรวจสอบว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ “ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” หรือไม่ หากผู้เป็นสมาชิกวุฒิสภาระลึกในหน้าที่ของตนในฐานะผู้แทนของปวงชนอย่างแท้ จริงไซร้ ก่อนที่จะนำความอันเป็น “ปัญหา” ขึ้นกราบบังคมทูลก็สมควรดำเนินการตรวจสอบตามมาตรา ๒๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญเสียก่อน อันจะเป็นการเหมาะควรและสอดคล้องกับหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยมากกว่าการปล่อย ให้เกิดการระคายเบื้องพระยุคลบาทโดยแท้
๕. สุดท้ายแม้มีการนำความขึ้นกราบบังคมทูลไปแล้ว ก็มิได้มีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้วุฒิสภาทำหน้าที่ตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา ๒๗๐ แต่ประการใด แม้แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน ก็มีสิทธิเข้าชื่อขอให้วุฒิสภาดำเนินการตรวจสอบศาลได้ตามมาตรา ๒๗๑ แห่งรัฐธรรมนูญ

สัมภาษณ์พิเศษพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" คือผู้นำกองทัพ


ประชาชาติธุรกิจ





5 ปีก่อน "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" คือผู้นำกองทัพ คือผู้นำคณะรัฐประหาร

สวมหัวโขนผู้บัญชาการทหารบก - ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรองนายกรัฐมนตรี

เหตุผลของการยึดอำนาจจากรัฐบาล "ไทยรักไทย" ของ "บิ๊กบัง" อดีตหัวขบวนกองทัพคือ ป?ญหาการทุจริต ทำให้คนในชาติแตกแยก

วาระ 5 ปีรัฐประหาร

"ประชาชาติธุรกิจ" บันทึกความรู้สึก"บิ๊กบัง" วันที่สวมหัวโขน ส.ส.หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ท่ามกลางเสียงเสียดสี และข้อครหาจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย

- ความรู้สึกกับการทำหน้าที่ ส.ส.ครั้งแรกเป็นอย่างไร

จริง ๆ แล้วเราเรียนรู้ทางทฤษฎีมาเยอะ จากนี้มาสู่ขั้นปฏิบัติ ทำให้นักการเมืองที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ ๆ ได้มองไปถึงภาพของนักการเมืองที่ควรจะเป็น เราไม่ได้หนักใจ เพราะเราไม่ได้เป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล แต่เราเป็นฝ่ายที่ตรวจสอบการทำงานพร้อมกับเป็นตัวแทนของประชาชน เรามีแนวคิดทางสร้างสรรค์

- รู้สึกอย่างไรเวลาที่นั่งอยู่ในสภา ได้ยิน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเสียดสีว่าเป็นผู้นำรัฐประหาร แต่กลับมาเล่นการเมือง

เฉย ๆ นี่คือการเมือง ก็ต้องมีคนรักมาก รักน้อยธรรมดา ไม่มีนักการเมืองคนไหนมีแต่คนรักหมด หรือมีคนเกลียดหมด เป็นธรรมดา ทุกคนก็ต้องมีรักมากหรือรักน้อย เหมือนสุภาษิตว่าคนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ เป็นเรื่องปกติ จะไปคิดอะไรมาก

- เคยคิดโกรธบ้างหรือไม่

จะไปโกรธได้อย่างไร ไม่เห็นจะต้องโกรธอะไร เราไม่เคยทะเลาะกับใคร ไม่เคยโกรธเกลียดใครเลยเหรอ มันก็ธรรมดา เขาพูดก็ต้องฟังเขาไป บางครั้งมันก็เป็นประโยชน์

- อย่าง ส.ส.ด้วยกันให้การยอมรับท่านมากน้อยแค่ไหน

ก็โอเคนะ... ก็เรามีเพื่อนเยอะ ส.ส. ในพรรคเพื่อไทยก็เยอะ แล้วการเมืองจะมาทะเลาะกันได้อย่างไร เพราะมันเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

- ตอนนี้มีสถานภาพ ส.ส.แล้ว เห็นว่า ส.ส.ไทยควรปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง

มันมีหลายอย่าง ส.ส.ในบ้านเรา ควรนำหลักการของนักการเมืองมา ใช้เป็นแนวคิดในการปฏิบัติ

เพราะนักการเมืองจะต้องทำเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติเป็นหลัก บนพื้นฐานของอุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรม

- คิดว่าคุณธรรม จริยธรรม ในด้านไหนที่ ส.ส.ควรมี

ทุกคนจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติทำอย่างไรให้ผล ที่มันออกมานำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีความสุข มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นหน้าที่ของ ส.ส.จะต้องพยายามทำ แต่หากมีนักการเมืองคนไหนที่ทำหน้าที่ไม่ตรง เราก็จะเสนอแนะ แต่ไม่ถึงกับขั้นตักเตือน

- มองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไร

ก็โอเคนะ รัฐบาลเพิ่งมาเป็นใหม่ ๆ นโยบายที่แถลงไว้ก็ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน ก็ต้องให้ทดลองทำงานดู แล้วเราก็คอยตรวจสอบ ขณะนี้ต้องปล่อยให้เขาทำงานไป

- ให้เวลารัฐบาลทำงานกี่เดือน

ไม่ได้ให้เวลา แต่ตัวเราเองมองทุกปัญหาที่รัฐบาลทำ เพราะนโยบายให้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่รัฐบาลทำสอดคล้องกับ ข้อเท็จจริงไหม สอดคล้องกับนโยบายไหม สอดคล้องกับประชาชนหรือไม่ถ้าไม่สอดคล้องเราก็ต้องเสนอแนะไปบอกรัฐบาลว่าสิ่งนี้ไม่ถูกต้อง

- รัฐบาลถูกฝ่ายค้านโจมตีว่า นโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาไม่ตรงกับที่หาเสียงไว้

ตรงนี้ (นิ่งคิด) เป็นกลยุทธ์ที่เขาหาเสียง แต่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินในเรื่องแนวนโยบายของรัฐบาล

- อนาคตหากเพื่อไทยขอ 2 เสียงของมาตุภูมิไปร่วมรัฐบาล จะยินดีหรือไม่

เรื่องพวกนี้ต้องคุยเรื่องใหญ่ ส่วนตัวไม่กล้าไปตัดสินใจเรื่องนี้ เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกรรมการพรรค

- พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคีที่มาจากไทยรักไทยที่ถูกรัฐประหาร แต่ชนะเลือกตั้งได้กลับมาเป็นรัฐบาล มองเรื่องนี้อย่างไร

มันขึ้นอยู่กับประชาชน เมื่อประชาชนตัดสินใจอย่างไรก็ต้องยอมรับผลการตัดสินใจนั้น เราไม่มีสิทธิ์ไปมองว่าอันนั้นถูก อันนี้ไม่ถูก หรือผิด ประชาชนรู้ เมื่อประชาชนรู้เขาถึงเลือก เพราะฉะนั้นจากนี้ไปถึงเวลาที่ประชาชนจะเฝ้ามองรัฐบาลว่าทำเพื่อประชาชนหรือทำเพื่ออะไร

- เวลานี้เริ่มมีการจุดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

มันต้องยอมรับความเป็นจริงอันหนึ่ง เมื่อเวลาเปลี่ยนไปอะไรก็เปลี่ยนได้หมด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ วันนั้น เวลานั้นเป็นอย่างนี้ พอถึงสถานการณ์ตอนนี้มันควรเป็นอย่างนี้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการของมัน

- พรรคเพื่อไทยให้เหตุผลว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 เพราะมันเป็นมรดกของการรัฐประหาร

อันนั้นมันเป็นเทคนิค มันเป็นกุศโลบาย เป็นเรื่องของการหาทางที่จะพูดคุยมากกว่า

- ในฐานะที่เป็น ส.ส.1 ใน 500 คน สมควรหรือยังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การจะแก้รัฐธรรมนูญ มันต้องถามว่าแก้ไขในสภาทำได้ไหม ประชาชนคิดเห็นอย่างไร มันต้องช่วยกันคิดทุกส่วน เพราะประชาชนเป็นผู้เลือก ส.ส.เข้ามา แม้ ส.ส.ที่เข้ามาจะมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่เขาต้องฟังประชาชน ซึ่งประชาชนจะเป็นตัวชี้วัดอยู่ข้างหลัง นักการเมืองก็ต้องฟัง หากเขาอยากทำอะไรที่ไม่ฟังเสียงประชาชน อย่าลืมว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าเขาจะลำบาก ส.ส.นักการเมืองก็ต้องคิดตรงนี้

- มาตราไหนไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และจำเป็นจะต้องแก้ไข

คิดว่าสิ่งไหนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จะต้องมีการพัฒนาก็ต้องว่ากันไป เช่น แก้ไขเรื่อง ส.ว.สรรหา อย่างนี้ก็ต้องขึ้นกับที่ประชุมสภาว่า ส.ส.จะคิดอย่างไร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ส.ไม่ได้มีส่วนอย่างเดียว แต่ ส.ว.ก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไข

- เป้าหมายรัฐบาลอย่างหนึ่งคือ แก้ไข หรือตัดทิ้งรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ที่ถูกมองว่าเป็นมาตราแห่งการนิรโทษกรรม

ก็แล้วแต่...เราไม่มีความเห็นเรื่องนี้

- จะทำให้คณะกรรมการ้การตรวจสอบ "ทักษิณ" ถูกล้างไปหมดหรือไม่

มันย้อนอดีตได้เหรอ กฎหมายมันย้อนอดีตไม่ได้ มันต้องพูดถึงปัจจุบัน กฎหมายส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนี้ ต้องไปดูในกฎหมาย

- ถ้าหากตัดมาตรา 309 จะทำให้คดีต่าง ๆ ที่เสนอโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) จะเป็นโมฆะ ไม่เอาผิด ได้เลย

อันนี้ต้องดูเรื่องกฎหมาย แต่เราไม่มีความเห็น

- เวลานี้มีประเด็นนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

โอเค...มันก็เป็นสิทธิของประชาชน ของผู้แทนประชาชน ส่วนตัวไม่มีความเห็น

- จำเป็นต้องทำประชามติเพื่อขอความเห็นสำหรับนิรโทษกรรมหรือไม่

มันก็เป็นวิธีการ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 มันเป็นประชามติของประชาชน มันก็แล้วแต่เขาจะใช้วิธีการอย่างไร ก็ต้องฟังด้วย

- พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำฝ่ายค้าน ส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลว่า จะต้องนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา ดำเนินคดีในประเทศไทย ในฐานะที่มาตุภุมิเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นด้วย หรือไม่

เราบอกแล้วว่าบางเรื่องเราเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย และเป็นเรื่องของประชาชน เราไม่สามารถตอบได้

- มองว่าหนทางปรองดองในประเทศ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร

ก็แล้วแต่นายกรัฐมนตรีคนเดียวว่า จะปรองดองได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับท่าน ต้องดูกันว่าท่านเดินไปอย่างไร

- การทำงานของพรรคมาตุภูมิในฐานะฝ่ายค้านเป็นอย่างไร

เราคุยกับ 3 พรรค คือ พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ และพรรคมาตุภูมิ จัดเป็นกลุ่มพรรคเดียว เพื่อทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์ กับประชาชน อาจไม่ตรงกับเรื่องของบางฝ่าย แต่เราร่วมกันด้วยเหตุผล

นโยบายเราคือสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ทั้ง 3 พรรคจะเดินไปด้วยกัน ขับเคลื่อนไปด้วยกัน

- มีวิธีหาข้อมูลตรวจสอบรัฐบาลอย่างไร

เรามีคณะกรรมาธิการอยู่แล้ว ทุก คนจะเข้าไปอยู่ในคณะกรรมาธิการที่ ดูแลด้านใดด้านหนึ่ง รัฐธรรมนูญก็เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสามารถรวมกลุ่มเพื่อต่อรองเลือกคณะกรรมาธิการได้ เราพร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

- 2 เสียงของมาตุภูมิทำอะไรได้หรือไม่

มันอาจจะน้อยไปหน่อย

- จะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร

ส่วนตัวมองว่ามีหลายอย่างที่เป็นปัจจัยทำให้ได้แค่ 2 เสียง เพราะพรรคใหญ่เขามีบทบาทในการดำเนินการทางการเมืองอยู่แล้ว เป็นลักษณะของการชี้แจงประชาชน มีอัตราต่อรอง มีแรงจูงใจสูงกว่าพรรคเล็ก

- แสดงว่าต้องปรับยุทธศาสตร์การจูงใจประชาชน

มันมีวิธีการของมัน อย่างพรรคเล็ก ๆ ก็ประสบความสำเร็จ เช่น พรรคพลังชล พรรคชาติไทยพัฒนา ฉะนั้น เราพยายามหาหนทางของเราที่จะเดินต่อไปในวันข้างหน้า โดยเราจะนำสูตรของพรรคต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นวิธีการของพรรคมาตุภูมิ โดยเราจะเก็บสิ่งที่ดีของแต่ละพรรคมาใช้

อย่างพรรคของคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจเป็นเอกลักษณ์ของคุณชูวิทย์ แต่ของเราคงเป็นอีกสไตล์หนึ่ง

- จะสร้างแบรนด์ของตัวเองอย่างไร

คงต่างกับของคุณชูวิทย์ เพราะ แบรนด์ของเราเป็นแบบนั้นไม่ได้ คนละรูปแบบ

- สไตล์การทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมาตุภูมิจะนำมาศึกษาด้วยหรือไม่

ก็ใช่ เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ยาวนาน ต้องดูว่าเขามีกุศโลบาย มีเทคนิคอย่างไร

- วางแผนเดินเกมในสภาแบบไหน

โอ้...มาตุภูมิเป็นพรรคเล็ก เราก็ศึกษาหาความรู้ไปว่า คณะกรรมาธิการเราจะช่วยเขาตรงไหน

เศรษฐศาสตร์ความเชื่อ-การครองอำนาจนำประชาชน

โดย Tan Rasana

คัดย่อบทเพิ่มเติมใน “วิกฤติที่ไม่บอกกล่าว”(THE UNTOLD CRISIS)
 
ยุคโลกาภิวิตน์ที่ได้กลายเป็น “โลกาวิบัติ”บนกระแสโลกทุกวันนี้ ได้ตอกย้ำทฤษฎีการครองอำนาจนำ(The Concept Hegemony)ของอันโตนิโย กรัมชี่ได้เป็นอย่างดี กรัมชี่เป็นนักคิดมาร์กซิสต์ที่ฉีกแนวออกมาจากมาร์กซิสต์รุ่นเก่า เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี. ค.ศ. ๑๘๙๑– ๑๙๓๗ (http://en.wikipedia.org/wiki/Antonio_Gramsci)ผลงานที่โดดเด่นของกรัมชี่ก็คือ “บันทึกจากคุก” (Prison Notebooks) เขาใช้เวลาที่อยู่ในคุกเขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา และหลักการของเขาก็ได้อธิบายการกดขี่ขูดรีดยุคใหม่ได้ดีกว่ามาร์กซิสต์รุ่นก่อนๆของเขา(Orthodox Marxist) กรัมชี่เชื่อว่า “การปกครองด้วยความเชื่อ มีประสิทธิผลมากกว่าการปกครองด้วยความกลัว” และเขาเชื่อว่า “อุดมการณ์”เป็นสิ่งที่สร้างได้และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครอง
 
มหาอำนาจจักรวรรดินิยมนักล่าเมืองขึ้นแบบใหม่ ไม่ได้ใช้เรือปืนทำการบีบบังคับด้วยกำลังเพื่อปล้นชิงทรัพยากรในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าและมีผู้ปกครองอ่อนแอที่มีแต่ความโลภโมโทสัน หรือฉลาดแต่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตน นักล่าเมืองขึ้นแบบใหม่ใช้การให้ความช่วยเหลือทางการศึกษา สาธารณสุขและจับประเด็นสาธารณะอื่นๆค่อยๆทำการแทรกซึม ประเทศไทยเราเริ่มกลายเป็นเมืองขึ้นแบบใหม่ของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่รัฐบาลไทยลงนามในสัญญาถนัด-รัสต์(แถลงการณ์ร่วมของ นายถนัด คอมันตร์ และนายดีน รัสต์ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕ )ในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประเทศไทยได้ทำการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันนายหน้าของการพัฒนาให้ประเทศเป็นแบบตะวันตกและเป็นแบบอเมริกา ซึ่งได้ทำให้ประเทศไทยสูญเสียสำนึกของความเป็นชาติและหลงลืมมาจนปัจจุบันว่า “ผลประโยชน์ของชาติ”คืออะไร
 
คนไทยถูกปลูกฝังอุดมการณ์แบบ “เสรีประชาธิปไตย” ว่ามันคือเป้าหมายการพัฒนาเพื่อนำประเทศไปสู่ความเป็นอารยะ สิ่งเก่าๆเช่นระบอบการปกครอง ชีวิตความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ วิชาการองค์ความรู้ที่สั่งสมมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมดั้งเดิม ถูกทำให้เป็นสิ่งล้าสมัยไปหมด วิถีชีวิตแบบอเมริกัน(American Dream)ทำให้คนไทยเชื่อตามตะวันตกว่า โลกอารยะจะต้องประกอบด้วย ระบอบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจจะต้องเป็นตลาดเสรี วัฒนธรรมจะต้องทันสมัยใหม่เสมอ ซึ่งแม้จะเป็นความจริงอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวและเป็นครึ่งที่มีทวิลักษณะคือทั้งทำลายและสร้างสรรค์
 
กรัมชี่เชื่อว่าโลกยุคใหม่ผู้ที่จะมีบทบาทสูงต่อการสร้างความเชื่อและอุดมการณ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ก็คือชนชั้นกลางที่มีการศึกษา มีพลวัตในสังคมสูง มุมมองนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติโดยมหาอำนาจชาติใหญ่และมหาเศรษฐีของอเมริกาและตะวันตกที่ได้จัดตั้งในรูปของมูลนิธิบ้าง ที่คุ้นเคยและมีบทบาทสูงในประเทศแถบเอเชียเช่น มูลนิธิฟอร์ด และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเล่อร์ ที่อยู่เบื้องหลังการโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โน่ผู้แข็งขืนของอินโดนีเซีย องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเช่นยูเสด(USAID) ยูซิส(USIS)บ้างเพื่อส่งผ่านการช่วยเหลือในรูปเงินทุนแบบให้เปล่า การให้ทุนการศึกษาแก่ปัญญาชนในประเทศด้อยพัฒนา การเผยแพร่การข่าว การสาธารณสุขแผนใหม่ การนำเสนอเศรษฐกิจแผนใหม่ที่มหาอำนาจได้รับประโยชน์ความช่วยเหลือแบบนี้ให้ผลในการครอบงำที่มีประสิทธิผลมากกว่าการกดขี่โดยการใช้เรือปืนแบบเก่า กระทั่งในปัจจุบันองค์กรเหล่านี้ก็เป็นต้นรากขององค์กรโลกบาลในปัจจุบันอันได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ( IMF)ที่สามารถโค่นล้มประธานาธิบดีซูฮาร์โต้หลังจากใช้วิธีการอื่นๆไม่สำเร็จ องค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา(ASEAN Free Trade Area :AFTA )ที่มีมหาอำนาจคอยหนุนหลัง กระทั่งสนธิสัญญาทางการเมืองการทหารอื่นๆถ้ามีความจำเป็นต้องบีบบังคับให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือที่มีแนวคิดเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น นาโต้(NATO)


คัดย่อบทเพิ่มเติมใน “วิกฤติที่ไม่บอกกล่าว”(THE UNTOLD CRISIS)
 
เศรษฐศาสตร์ความเชื่อ( Unreal Economy )ในขอบเขตกว้างใหญ่ระดับโลก ต้องใช้พลังและแรงจูงใจสูงมาก มหาอำนาจมีแรงจูงใจและใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลสำหรับการเดินทางข้ามโลกเพื่อที่จะแสวงหาแผ่นดินที่เป็นแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ
 
การครองอำนาจนำประชาชนในประเทศที่ด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาหรือตรงตัวที่สุดก็คือ กำลังจะตกอยู่ในสภาพเมืองขึ้นแบบใหม่ของมหาอำนาจ จำเป็นต้องผ่านเอเยนต์ผู้ซื่อสัตย์ไว้วางใจได้และมีพลังอำนาจทางทหารเพียงพอ สมทบเข้ากับกองทัพผู้ผลิตความเชื่อให้กับสังคม หรือปัญญาชนที่ได้รับการปลูกฝังสิ่งที่เรียกว่าทันสมัยมาเพื่อแย่งชิงพื้นที่ประชาคมในประเทศนั้นๆด้วยการเบียดขับปัญญาชนรุ่นเก่าๆออกไป
 
ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันประกาศเมื่อปี ๑๙๖๗ ว่า “อินโดนีเซียเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์” (ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เช่น ทองแดง นิเกิล ดีบุก เการัน ป่าไม้และน้ำมัน)และหากสหรัฐไม่อาจเอาชนะสงครามเวียดนามได้ การเข้าแทรกแซงอินโดนีเซียได้สำเร็จนับเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คำกล่าวนี้สอดคล้องกับแผนการ ๒๐ ปีของมูลนิธิฟอร์ด
 
สหรัฐเลือกที่จะไม่ทำสงครามกับเจ้าอาณานิคมเก่าของอินโดนีเซีย แต่เลือกที่จะเบียดขับด้วยการสนับสนุนให้คนอินโดนีเซียกู้เอกราชจากฮอลแลนด์ด้วยตนเอง นี่เป็นกโลบายอันนำมาซึ่งความเชื่อว่าที่สหรัฐฯคือมหามิตรของกลุ่มประเทศแถบนี้แม้กระทั่งประเทศไทย ชัยชนะในการกู้อิสรภาพของอินโดนีเซียอยู่ในห้องโถงกลางกรุงนิวยอร์คและวอชิงตัน
 
มูลนิธิฟอร์ดได้เริ่มงานเพื่อควบคุมการศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐศาสตร์ความเชื่อ เพื่อการครองอำนาจนำประชาชนอินโดนีเซียผ่านมหาวิทยาลัยสำคัญเช่น เอ็มไอที คอร์แนล เบอร์คเล่ย์ ฮาวาร์ด ให้ทุนเรียนต่อต่างประเทศเพื่อสร้างผู้นำอินโดนีเซียยุคใหม่ที่เดินตามนโยบายของสหรัฐอเมริกาทั้งพลเรือนและกองทัพ วิชา Indonesia Studies ได้รับการบรรจุเอาไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยคอร์แนลแหล่งข้อมูลทางสังคม-การเมืองของเอเชียอาคเนย์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด
 
ประธานาธิบดีซูการ์โนผู้แข็งขืนทั้งปฏิเสธความรู้ใหม่ๆของ Joseph Alois Schumpeter เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics)และอ่านแต่หนังสือของ Karl Marx ก็ถูกวางแผนโค่นล้มโดยกลุ่มนายทหารหัวใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ บนความเพิกเฉยของกองทัพปัญญาชนเอเยนต์ผู้ผลิตความเชื่อใหม่ๆให้กับผู้คน ประชาชนผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่ราว ๒๐ ล้านคน(ก่อนหน้ากอบกู้อิสรภาพมีเพียง ๘,๐๐๐ คน)และมีส่วนในการสนับสนุนซูการ์โนถูกฆ่าตายราว ๓๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ คน(บางรายงานว่าราว ๗๕๐,๐๐๐ คน)แม่น้ำลำธารในอินโดนีเซียเกลื่อนไปด้วยศพและแม่น้ำเป็นสีเลือด
 
รัฐบาลชุดใหม่ของซูฮาร์โตได้นำเสนอต่อนายทุนชาวยุโรปและอเมริกาว่าอินโดนีเซียยุคใหม่นี้ มีเสถียรภาพทางการเมือง ค่าแรงงานถูก ลู่ทางตลาดแจ่มใส ทรัพยากรมั่งคั่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยได้ผลิตคนคุณภาพใหม่ไว้รองรับเศรษฐกิจแบบใหม่พร้อมแล้ว การเสนอดังกล่าวสร้างความพึงพอใจให้กับ นาย David Rockefeller ประธานธนาคารเชสแมนฮัตตัน เขากล่าวว่า เขาประทับใจในคุณภาพการศึกษาของคนอินโดนิเซียยุคใหม่มาก 
 
แต่หลังจากนั้นอีก ๓๐ ปีของการสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจให้กับอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตผู้ครองอำนาจมายาวนาน( ๑๙๖๘-๑๙๙๘)ด้วยการหนุนหลังของมหามิตรที่ไว้เนื้อเชื่อใจที่สุด ก็ถึงกาลล่มสลายด้วยการขูดรีดยุคใหม่ของทุนอุตสาหกรรมการเงิน ด้วยมาตรการกัดกร่อนบ่อนเซาะความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านระบบการเงินการคลังจนต้องเข้าโปรแกรมการเยียวยาในภาคบังคับของ IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ.
 
กรณีของอินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกาสามารถครองอำนาจนำเหนือผู้คนในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยการผลิตความเชื่อผ่านทุกโครงสร้างของสังคม ที่สำคัญคือโครงสร้างทางการศึกษาและการผลิตปัญญาชนเอาไว้เพื่อรองรับระบบความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใหม่ที่สามารถแยกผลประโยชน์ส่วนตนของคนในชาติออกจากผลประโยชน์ชาติ ในทางกลับกันก็ต้องสร้างให้เกิดความเชื่อแบบที่กรัมชี่เสนอไว้ว่า ต้องทำให้ผู้คนเข้าใจว่าผลประโยชน์ของรัฐนั้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชนด้วย.
 
 


Michel Camdessus and Haji Mohammed Suharto. “ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน และภาพหนึ่งถูกถ่ายในปี ๑๙๙๘ และถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก เป็นภาพที่ตราตรึงอยู่ในหัวของคนนับล้านๆคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมมาก่อน นั่นคือภาพของนายไมเคิล คัมเดซูส์ กรรมการผู้จัการไอเอ็มเอฟ(IMF)อดีตข้าราชการกระทรวงการคลังฝรั่งเศส ซึ่งอ้างว่า ตัวเองมีความคิดสังคมนิยม ยืนกอดอก ทำหน้าเครียด ค้ำหัวประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ของอินโดนีเซียผู้ต่ำต้อยที่กำลังเซ็นชื่อในข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ”- โจเซฟ อี สติกลิทซ์ -นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล จากหนังสือ โลกาภิวัตน์ที่ล่มสลาย(ขุนทอง ลอเสรีวานิช แปลจาก Globalization and its discontents)


          การขับเคี่ยวของสองระบบ ทุนนิยมและสังคมนิยมในยุคก่อนที่จะเรียกเป็นทางการว่ายุคโลกาภิวัติเป็นไปอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้น จวบจนกระทั่งเกิดการล่มสลายของประเทศศูนย์กลางสังคมนิยมสหภาพโซเวียตรุสเซีย กำแพงเบอร์ลินพังทลาย สิ้นสุดยุค “สงครามเย็น” สหรัฐอเมริกาดำรงฐานะมหาอำนาจเดี่ยว ในขณะที่มหาอำนาจอื่นๆทั้งยุโรป ญี่ปุ่นและจีนมีภาระภายในประเทศที่จะต้องทำการเยียวยาสังคมและสร้างชาติ ยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เศรษฐศาสตร์ความเชื่อที่ผลิตวาทกรรม“ภัยของคอมมิวนิสต์”ก็ถูกปรับมาเป็น “ภัยจากการก่อการร้าย” เศรษฐศาสตร์ความเชื่อถูกยกระดับให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น
 
          ก่อนหน้านั้น การยัดเยียดข้อหาคอมมิวนิสต์ให้กับฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับจักรวรรดินิยมอเมริกาเป็นหนึ่งในแผนการสร้างเศรษฐศาสตร์ความเชื่อในระดับสากลของอเมริกา เป็นยุทธศาสตร์ที่มาพร้อมๆกับการเข้าครอบครองทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ เร่ธาตุและแหล่งการตลาดใหม่ๆของนักลงทุนจากยุโรปและอเมริกา การวางแผนเพื่อขจัดอุปสรรคที่จะมาจากบูรพาทิศ เช่น จีน ซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อยและเวียดนามที่กำลังสู้รบเพื่อกอบกู้ประเทศในเวลานั้น
 
          อินโดนีเซีย-ไทยก็เผชิญหน้ากับสถานการณ์ไม่ต่างกัน และคล้ายคลึงกันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆที่มีความขัดแย้งภายในในประเด็นระบอบการเมือง ระบบเศรษฐกิจในยุคเปลี่ยนผ่านประเทศ ด้วยการแทรกแซงโดยตรงและโดยอ้อมในทั้งสองปีก การเมือง-เศรษฐกิจ ในนามความช่วยเหลือแบบเปิดและการแทรกแซงทางการทหารรวมทั้งความรุนแรงแบบปิด
 
          สถานการณ์และตัวตนของซูการ์โนไม่แตกต่างกันมากนักกับจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ที่มหามิตรจากโพ้นทะเลตะวันตกที่เคยเกื้อหนุนจุนเจือวางแผนโค่นด้วยน้ำมือของเขาเอง ซีไอเอ ท่มเงินสร้างพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ติดอาวุธและฝึกกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน ขุนเลี้ยงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์จนโค่นจอมพลป.พิบูลสงครามได้สำเร็จ ท่ามกลางบรรยากาศที่มีม่านดำคลี่คลุมครอบงำสังคมให้เกิดความเชื่อว่า จะมีการรุกรานครั้งใหญ่มาจากบูรพาทิศ จากลัทธิอันเป็นภัยต่อสังคมของประเทศกำลังพัฒนานั่นคือลัทธิคอมมิวนิสต์
 
          เอเยนต์ทางความเชื่อที่สามารถรวมศูนย์การตัดสินใจได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แบบสฤษดิ์ –ซูฮาร์โต้ ย่อมทำให้ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อในหมู่ประชาชนของประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ราบรื่นกว่าบรรยากาศทางการเมืองแบบกึ่งปิดกึ่งเปิดแบบจอมพลแปลก-ซูการ์โน มันเป็นผลดีต่อการสร้างหลักประกันให้กับรากแก้วทางเศรษฐกิจของจักรวรรดินิยมที่กำลังหยั่งราก ให้ยึดโยงได้มั่นคงและแตกรากฝอยได้ดีกว่าการที่จะมีผู้คนในประเทศที่รู้เท่าทันนับ ๒๐ ล้านคนในอินโดนีเซียและอีกนับแสนคนในประเทศไทย อีกทั้งยังคอยประท้วงสิทธิในการมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของบ้านเมืองของตนเอง มหาอำนาจใช้วิธีเดียวกันก็คือการฆ่าคนหลายแสนคนในอินโดนีเซียด้วยน้ำมือของคนในชาติเดียวกัน กำจัดศัตรูทางการเมืองนับพันๆคนในประเทศไทย แล้วแทนที่ความเชื่อเดิมๆด้วยระบอบการเมืองที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจที่อ้างว่าเสรี แทนที่การพัฒนารูปแบบอื่นๆด้วยคำว่า “ศิวิไลซ์”
         
          หลังยุคของซูการ์โน ไม่มีอะไรแตกต่างจากยุคของจอมพลสฤษดิ์ที่มีคำขวัญ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ ”
 
          “...จะสังเกตเห็นว่า นักวิชาการที่มีบทบาทมากในสมัยจอมพลสฤษดิ์  คือ นักเศรษฐศาสตร์และนักบริหารรัฐกิจ รวมทั้งนักเทคนิคทั้งหลาย เช่น นักสถิติ เป็นต้น  มีการตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ ขึ้น เช่น กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จุดเน้นอยู่ที่การพัฒนาการศึกษา มีการขยายมหาวิทยาลัยออกต่างจังหวัดทุกภาค จุดเน้นอยู่ที่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยไม่ตั้งประเด็นสงสัยในระบบการเมืองการปกครองว่ามีความถูกต้องชอบธรรมเพียงใด  กล่าวอีกนัยหนึ่งจอมพลสฤษดิ์ใช้วิธีการแช่เย็นการเมือง โดยถือว่าเป็นเรื่องวุ่นวายยุ่งยาก แต่เน้นการบริหารและการพัฒนาคือ มีรัฐบาลและระบบราชการทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนก็เพียงพอแล้ว” (ที่มา -อาจารย์รัชตะ  พันธ์แสง)
 
          อย่างไรก็ตาม  แนวความคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ก็ได้ถูกโจมตีว่า  ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและสร้างปัญหาเศรษฐกิจสังคมให้แก่สังคมไทยมากมาย เช่น งานของ ศจ.เสน่ห์ จามริก  ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาในสมัยของจอมพลสฤษดิ์ได้นำไปสู่การกระจุกตัวของกลุ่มธุรกิจผูกขาด ในขณะเดียวกันได้ทำลายโครงสร้างเศรษฐกิจในภาคเกษตรกรรมลงอย่างย่อยยับ



        ประเทศไทยไม่เพียงแต่มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์เช่นเดียวกับประเทศในอินโดจีนที่กำลังจะพัฒนา แต่ยังมีทรัพยากรอันวิเศษเป็นเป้าหมายที่ง่ายต่อการครองอำนาจนำของมหาอำนาจนั่นก็คือทรัพยากรบุคคล เนื่องจากคนไทยมีนิสัยโอบอ้อมอารี มีวัฒนธรรมอ่อน ไม่ก้าวร้าวและไม่ชอบความรุนแรงหากไม่ถูกรังแกอย่างที่สุด ทั้งเรายังมีศาสนาที่มีหลักคำสอนที่ดีงามกล่อมเกลาจิตใจ เศรษฐศาสตร์ความเชื่อจึงสามารถหยั่งรากลงไปได้ง่าย และเมื่อประชาชนถูกทำให้เชื่อว่า “ความศิวิไลซ์”หรือ “ความเจริญ”คือความดีงาม คือความมั่งคั่ง คือความผาสุก ประชาชนของเราจึงคล้อยตามไปได้ง่าย และรับมาอย่างขาดการวิพากษ์ว่า แท้ที่จริงความศิวิไลซ์ ความเจริญ ความมั่งคั่งและความผาสุกที่เห็นๆกันนั้น มันเป็นของใคร ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยแค่ไหนเพียงใด ?
 
        คนไทยเรามักภาคภูมิใจกับคำว่า“THAILAND -LAND OF SMILE” หรือสยามเมืองยิ้ม จนมองข้ามไปว่าประเทศที่เราเรียกว่ามหามิตรนั้นกำลังนำภัยพิบัติอันใหญ่หลวงเข้ามาให้กับคนไทยด้วยหรือไม่ สิ่งที่เรียกว่าความเจริญ ความมั่งคั่งและความผาสุกเป็นจริงมากน้อยเพียงใด เราต้อนรับผู้คนที่มาจากประเทศมหามิตรยุโรปและอเมริกาด้วยรอยยิ้มและน้ำใสใจจริงจนลืมไถ่ถามไปว่า พวกเขามาด้วยจุดประสงค์อันใดกันแน่
 
          การเข้ามาสร้างเศรษฐศาสตร์ความเชื่อและการครองอำนาจนำประชาชนไทย ไม่ต่างกันกับอินโดนีเซียเท่าใดนัก และประเทศที่กำลังพัฒนาก็จะพบแบบวิธีเดียวกัน “โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลในแผนกเอเชียบูรพาศึกษา ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยมีเพียงสอง-สามรายเท่านั้น อาทิ แลงการ์ตและ ควอริช เวลส์(ค.ศ. ๑๘๕๐) และมีวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ของนายเดวิด วายอัตต์และนายคอนสแตนส์ วิลสัน ที่กล่าวถึงลักษณะพิเศษทรัพยากรบุคคลของไทยดังที่กล่าวมาว่า
 
          “การสนองตอบของไทยต่อชาติตะวันตกนั้นเป็นลักษณะของการสร้างสรรค์ เพราะว่าเป็นการตอบสนองตอบอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรอบคอบระมัดระวัง แต่ก็เป็นไปโดยธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาในประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมไทยที่เปลี่ยนจากราชอาณาจักรสยามแต่โบราณมาเป็นประเทศไทยใหม่และทันสมัย”
 
          ในโลกทุนนิยมซึ่งทุนนิยมศูนย์กลางมีพลังอำนาจครอบโลก รัฐอื่นๆมีสภาพไม่แตกต่างไปจากรัฐบริวารหรือเรียกได้ว่าเป็น “ทุนนิยมบริวาร”รัฐบาลของแต่และประเทศที่ผูกพันกับมหาอำนาจ ทั้งมีคำขอและได้รับความช่วยเหลือโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือรัฐบาลนายหน้า ผลประโยชน์ของมหาอำนาจกับรัฐบาลมักจะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน และมักจะไม่ใช่ผลประโยชน์ของประชาชนโดยตรง
 
        จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ ได้ให้เหตุผลต่อประชาชนว่าอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุด พล.ท.ถนอม กิตติขจร ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านการคลัง กล่าวคือ งบประมาณประจำปี ๒๕๐๐  ขาดดุลอยู่ถึงกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท เขากล่าวว่า “สมัยก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติ ชาติที่รักของเราต้องตกอยู่ในสภาวะที่คับขันเพียงใด ฐานะทางการเงินการคลังของประเทศต้องทรุดลงไปอย่างหนักยิ่ง รัฐบาลต้องตกเป็นลูกหนี้ธนาคารแห่งชาติ ถึง ๑,๕๐๗ ล้านบาทเศษ"ทางออกของรัฐบาลก็คือ การขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนโครงการด้านเศรษฐกิจทั้งหมดใน พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒  เป็นเงิน ๕๘.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ ยุคเผด็จการอันยาวนานของจอมพลสฤษดิ์-เผ่า เป็นยุคที่สหรัฐอเมริกาทุ่มเททั้งกำลังคน พลังทางเศรษฐกิจ กโลบายทางการเมือง ไม่เพียงเป็นยุคที่ถูกเรียกขานว่าเป็น “ยุคทมิฬ” แต่ยังเป็นยุคของการฉ้อฉลจากทั้งเงินช่วยเหลือของมหาอำนาจ เงินจากการค้ายาเสพติด และจากงบประมาณแผ่นดินมากที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่ปกครองไม่กี่คนได้ถูกทำให้กลายเป็นผลประโยชน์ร่วมของคนไทยทั้งชาติ
 
        มองจากมุมมองของอันโตนิโย กรัมชี่ก็จะได้ข้อสรุปว่า เรากำลังถูกทำให้เชื่อ และเชื่อมาโดยตลอดว่า “ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มนั้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชนด้วย” แม้ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ประจักษ์อยู่ชัดแจงว่า ผลประโยชน์ของนักการเมืองที่แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชน แต่มีที่มาจากการซื้อเสียงนั้น ไม่ใช่ผลประโยชน์ของคนในชาติอย่างที่คิดที่เชื่อกัน
 
        การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศทุนนิยมทำให้พวกเขาต้องเร่งระดมทรัพยากรธรรมชาติเพื่อป้อนโรงงานทำการผลิตและขยายตลาด ทรัพยากรธรรมชาติจากโพ้นทะเลที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะต้องช่วงชิง จากการใช้เรือปืนมาสู่การใช้กโลบายทางการเมืองที่ยังต้องกำกับด้วยการทหารและกำลังรบที่แน่นอน เมื่อสังคมก้าวเข้าสู่สังคมทุนนิยมเต็มรูปแบบกระทั่งก้าวเข้าสู่ยุคผูกขาดของทุน แนวคิดที่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยม เช่นแนวคิดชาตินิยม แนวคิดสังคมนิยมและแนวคิดแบบสังคมคอมมิวนิสต์ปรากฏขึ้นคู่ขนานและขับเคี่ยวกัน การช่วงชิงสร้างเศรษฐศาสตร์ความเชื่อและการแย่งชิงพื้นที่เพื่อครองอำนาจนำเหนือแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ก็เกิดขึ้น พัฒนาขึ้นเป็นความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อของประชาชนในประเทศตัวกลางด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระดับสากล ก็ปรากฎสงครามขนาดใหญ่ที่ลากเอาประเทศโลกที่สามเข้าไปเป็นนั่งร้าน ประเทศไทยเคยมีสภาพเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ให้กับสหรัฐอเมริกาเข้าไปรุกรานประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน
       
          ที่น่าแปลกใจก็คือ ประชาชนในประเทศตัวกลางดังเช่นประเทศไทย  ผู้คนกลับพากันหลงลืมไปเสียสนิทว่า เนื้อแท้ของความขัดแย้งภายในของพวกเรานั้น ถูกครอบงำด้วยผลประโยชน์ของมหาอำนาจชาติใหญ่ซึ่งเรากำลังตกเป็นเมืองขึ้นแบบใหม่ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมือง ถูกยกระดับให้อยู่เหนือปัญหาการแย่งชิง การเอารัดเอาเปรียบ การขูดรีดทรัพยากร ความยากจนที่เพิ่มขึ้นของประชาชน ช่องว่างในสังคมที่นับวันจะถ่างกว้างออกไป ปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้ถูกแช่แข็งในที่ๆซึ่งถูกกีดกัน อำพรางเอาไว้โดยเอเยนต์ทางความคิดความเชื่อ
 
        พวกเขาก็คือบรรดานักเรียนทุน นักเรียนนอก นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก นักการเงินการธนาคาร กล่าวโดยรวมก็คือบรรดาเอเยนต์เหล่านี้มักจะเป็นเทคโนแครตในภาครัฐเสียเป็นส่วนใหญ่.
เว็บไซต์สำหรับภาพนี้... 2 วัน เผด็จการสฤษดิ์เสนอเงินรางวัลให้นับแสนบาท เพื่อให้ทรยศต่ออุดมการณ์ ... sanamluang2008.blogspot.com



รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง