บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พลาดครั้งเดียว......เสียประวัติกันยาวๆ





Kamolporn Banlue
ปันมาจาก....บ้านนี้ สีฟ้า
กิ้ว กิ้ว น่าไม่อายขายหน้าไปทั่วโลก - นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รมต.ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมถูกบันทึกประวัติ บนสารานุกรมเสรี “วิกีพีเดีย” ว่า
"นำสิ่งของบริจาคเหล่านั้นใส่ถุงติดป้ายลงชื่อในแต่ละถุงแอบอ้างว่าตนเป็นผู้บริจาค"

เห็นสันดานนักการเมือง รบ.ปูแก้ผ้าเอาหน้ารอด

เห็นสันดานนักการเมือง รบ.ปูแก้ผ้าเอาหน้ารอด เกิดกักตุน-พ่อค้าได้ปย. 'ไร้แบบแผนแก้น้ำท่วม'



"เอกยุทธ" ฉะ "รัฐบาลปู" เหมือนแก้ผ้าเอาหน้ารอด ไร้ระเบียบแบบแผนในการจัดการปัญหา "มหาอุทกภัย" ที่ทำให้คนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทำให้เกิดการกักตุนสินค้า พ่อค้าได้ปย.เต็มๆ แถมส.ส.รัฐบาลแทนที่จะไปช่วยชาวบ้าน กลับมุ่งเล่นแต่เกมการเมือง สะท้อน "สันดานนักการเมือง" ที่แท้จริง
วันที่ 10 ต.ค. 2554 นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ และทำให้ประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนว่า รู้สึกเห็นใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และก็สะท้อนการทำงานของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นอย่างดี เพราะคนพวกนี้ประกาศว่า ขอเสียสละมาทำงาน ดังนั้นไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ก็ต้องรับคำติชม แต่เป็นเรื่องน่าแปลกว่า น้ำท่วมครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนมาถึงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่มีความรุนแรง จะเห็นสมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ก็มี "สึนามิ" ที่กวาดให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มายุคยิ่งลักษณ์ขึ้นมา ก็เจอ "มหาอุทกภัย" แต่ถึงวันนี้ ก็ยังไม่ประกาศว่า เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะอ้างว่า เกรงนักลงทุนต่างชาติได้รับผลกระทบ

"อยากย้ำว่า การประกาศภาวะภัยพิบัติแห่งชาติ จะทำให้รัฐบาลทำงานได้คล่องตัวขึ้น ทั้งกำลังพลและงบประมาณ หรือเพราะยังไม่มีสคริปต์เขียนมาหรืออย่างไร ทำให้ยังไม่กล้าประกาศ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการบริหารสถานการณ์นั้นอ่อนหัด น้ำท่วมเกิดขึ้นเป็นเดือน สามารถวางแผนป้องกันและเตรียมตัวได้ เพราะน้ำไม่ได้มาเพียงวันเดียวแล้วท่วม แต่ใช้เวลาเป็นเดือน ทำให้เห็นถึงความล้มเหลวตลอด "ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" (ศปภ.) ก็เพิ่งเกิดไม่กี่วัน แต่อีกด้านหนึ่ง เราเห็นแต่สื่อมวลชนลงไปในพื้นที่และสอบถามความทุกข์ยากของชาวบ้าน หลายๆ พื้นที่ยังติดอยู่ในตัวบ้าน เครื่องอุปโภค-บริโภค สาธารณูปโภคถูกตัดขาด แต่ภาครัฐกลับเข้าไปไม่ถึง ณ วันนี้ รัฐบาลควรสร้างที่พักฉุกเฉิน ให้มีพื้นที่สูง ไม่ใช่ให้ไปนอนกลางถนน กรณีเหตุเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น เห็นได้ชัดว่า บริหารจัดการดีกว่า เมื่อเกิดเหตุ ประชาชนมีที่พัก-ที่นอน-ที่ขับถ่าย แต่ของเราสามารถทำได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ เห็นแต่การช่วยตัวเองของชาวบ้าน"นายเอกยุทธกล่าว

นายเอกยุทธ กล่าวต่อว่า การทำงานของภาครัฐและฝ่ายการเมืองในลักษณะนี้ บ่งชัดว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ไร้วิสัยทัศน์ในการบริหารงาน การสร้างศูนย์อพยพในแต่ละจังหวัด สามารถทำได้เลย เรามีทหาร-มีตำรวจเป็นแสนๆ คน แต่ทำไมปล่อยให้ชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำ โดยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างดี เราไม่มีเสื้อชูชีพ ไม่มีเรือ มีแต่ภาคเอกชน-สื่อมวลชน ที่ต้องระดมกันไปช่วยเหลือ แถมนายกรัฐมนตรีมาออกข่าวว่า "ถ้าฝนไม่ตก ถ้าน้ำไม่มาอีก เดี๋ยวน้ำก็ลดไปเอง" เหมือนไม่มีหลักประกันใดๆ ฟังแล้วใครรับได้-ก็เชิญ เพราะการนำรายงานของข้าราชการบางกลุ่ม มาแถลงข่าว ก็ถือว่า เป็นการแก้ผ้าเอาหน้ารอด เวลานี้มีการกักตุนสินค้า ประชาชนแห่ไปซื้อสินค้า จนของหมด เพราะไม่รู้ว่า สถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่านี้หรือไม่ แต่ก็ทำให้พ่อค้าก็ได้รับประโยชน์เต็มๆ ไม่รู้ว่า เป็นการออกมาเตือนโดยปากพล่อย หรือจงใจให้พ่อค้าได้ประโยชน์กันแน่

"แม้แต่ในกทม. เห็นวิธีการแก้ของผู้ว่าฯกทม. ด้วยการบนบาน ทำพิธีไล่ฝน แล้วก็เศร้า นี่แหล่ะคือการแก้ปัญหาแบบไทยๆ นี่ยังดี ไม่มีแผ่นดินไหว ไม่มีสึนามิ ไม่มีสงคราม เพราะถ้าเกิดเหตุเช่นนี้ ในช่วงเวลานี้ ก็เชื่อว่า คงไม่มีมาตรการใดๆ ออกมารองรับ หรือรีบเข้าไปแก้ปัญหาแน่"นายเอกยุทธกล่าวและว่า การทำงานต้องมีแบบแผน มีมาตรการรองรับทุกอย่าง ว่า 1-2-3-4-5 เกิดเหตุการณ์แล้วต้องทำอย่างไร ใครจะสั่งการ แต่เราไม่เคยมี นี่คือความอ่อนแอ ความด้อยของบ้านเรา เกิดเหตุอะไรก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเดียว ทำให้ประชาชนประสบความยากลำบากมาตลอด

สำหรับกรณีการรับจำนำข้าว ก็ส่อให้เกิดการทุจริต มีความจำเป็นอะไรต้องให้คนในประเทศมารับประทานข้าวในราคาที่แพงขึ้น และรัฐบาลจะนำเงินจำนวนมาก มาทุ่มให้กับโครงการนี้ ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย เช่นเดียวกับนโยบายบ้านหลังแรก-รถคันแรก ที่หลายคนชะลอการซื้อ และคอยดูมาตรการว่าจะเอื้อประโยชน์อย่างไร อีกทั้งหลายเรื่องออกมา ก็ทำไม่ได้อย่างที่พูด

"ถือว่าความเชื่อถือของรัฐบาลนี้ หมดไปแล้ว เพราะขณะที่ประชาชนที่เลือกเค้ามาทำงาน กำลังเดือดร้อน แต่ส.ส.รัฐบาลกลับมัวแต่มุ่งจะแก้พ.ร.บ.กลาโหม มุ่งแก้รัฐธรรมนูญ เดินหน้าสร้างหมู่บ้านแดง นี่คือสันดานที่แท้จริงของนักการเมือง ที่ประชาชนต้องได้เห็นในยามที่ตัวเองทุกข์ แต่สิ่งที่เห็นและตื้นตันใจในอีกมุมหนึ่งคือ ธารน้ำใจของประชาชน ที่กระโดดออกมาช่วยกัน ไม่แยกสี-ไม่แบ่งค่าย มีเมตตาจิตต่อกัน ก็อยากเห็นภาพแบบนี้ไปอีกนาน ไม่อยากเห็นภาพเสื้อแดง-เสื้อเหลือง อีกแล้ว หวังว่า น้ำมามากครั้งนี้ คงชะล้างสารพัดสีออกไป เหลือแต่รอยยิ้มและมิตรภาพต่อไปในเมืองไทย"นายเอกยุทธระบุ


การบรรเทาทุกข์ของเกษตรกรในวิกฤตน้ำท่วม ด้วยทัศนะเศรษฐศาสตร์



ในห้วงเวลานี้ไม่มีปัญหาใดจะหนักหน่วยสำหรับประเทศไทยไปมากกว่าเรื่อง ปัญหาน้ำท่วม, ปัญหาน้ำท่วมอันที่จริงแล้วจะหนักบ้างน้อยบ้างก็มีทุกปี ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงผันผวนของสภาพอากาศ การเข้าไปใช้สอยพื้นที่ริมแม่น้ำมากยิ่งขึ้น การจัดผังเมือง มนุษยภัยนานา. อย่างไรก็ตามแต่ มูลเหตุไม่ใช่ความประสงค์จะกล่าวถึงในบทความชิ้นนี้ [แม้จะเป็นเรื่องสำคัญก็ตาม] บทความชิ้นนี้ต้องการที่จะเรียนผู้อ่านทุกท่านถึงแนวทางที่น่าจะพอบรรเทา ปัญหาของเกษตรกรได้บ้าง อย่างน้อยก็ในภาวะที่ปัญหาต้นตอของการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากนั้น ดูท่าจะยังไม่สามารถหมดไปได้ในเร็ววัน
เครื่องมือหนึ่งที่สามารถจะนำมาใช้ได้ในกรณีที่ประเทศประสับปัญหาน้ำ ท่วม[หรือแล้ง]นั้นได้แก่ “ประกันสภาพอากาศ [weather insurance]” อันที่จริงเครื่องมือนี้เท่าที่ผู้เขียนเข้าใจ ได้ถูกกล่าวถึงก่อนหน้านี้อยู่บ้างโดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่างน้อยสอง ท่านคือ อ.สุกานดา ลูอิส เหลืองอ่อน และ อ.สฤณี อาชวานันทกุล, และผู้เขียนเองก็ได้เคยเขียนบทความเรื่องนี้เป็นบทความอยู่บ้างโดยอ้างอิง งานของ อ.สฤณี เป็นหลัก. ในบทความนี้ผู้เขียนจะสำรวจความเข้าใจเรื่องประกันสภาพอากาศจากเอกสารของ ธนาคารโลก [world bank] ในฐานะเอกสารชั้นต้นมากขึ้นเพื่อส่วนหนึ่งเขียนเป้นบทความให้ผู้อ่านทางบ้าง ได้เข้าใจ และในอีกทางหนึ่งก็เพื่อนำไปเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนและนักรณรงค์เคลื่อน ไหวทางสังคมได้ใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมเครื่องมือนี้ต่อชาวบ้านต่อไป
กล่าวอย่างเข้าใจง่าย, ประกันสภาพอากาศในที่นี้ก็เหมือนประกันภัยทั่วไป เช่นประกันรถยนต์ ประกันไฟ ฯลฯ กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุตามที่ผู้รับประกันได้ผูกมัดตัวเองไว้ว่าจะจ่ายให้แก่ผู้ซื้อ ประกัน ก็จะจ่ายเงินชดเชยลงมาตามสัญญาประกัน. การประกันสภาพอากาศโดยส่วนใหญ่แล้วจะประเมินจากปริมาณน้ำฝนว่า น้ำฝนแค่ไหนตกแล้วจะกระทบกับผลิตผลทางการเกษตรจนไม่สามารถได้ผลผลิตตามต้อง การ [ทั้งน้ำท่วมและแล้ง] โดยเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายเพื่อซื้อประกันนั้นก็แปรผันไปตามความเสี่ยงที่ ผู้รับประกันจะลงพื้นที่เพื่อประเมิน
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าชาวนานปลูกข้าวในพื้นที่บริเวณข้างแม่นำท่าจีน. ผู้ประเมินเบี้ยประกันก็จะลงมาประเมินว่าพื้นที่แต่ละพื้นที่รอบๆแม่น้ำท่า จีนนั้นมีความเสี่ยงที่น้ำจะท่วมจากปริมาณน้ำฝนในแต่ละระดับอย่างไร และข้าวในนาทนรับปริมาณน้ำได้มากแค่ไหน เมื่อประเมินเป็นที่เรียบร้อยก็จะคำนวณเบี้ยประกันออกมาเสนอ หากเบี้ยประกันอยู่ในอัตราที่สามารถจะยอมรับได้ ชาวนาก็มีสิทธิ์ที่จะซื้อประกันจากผู้ขายประกัน. เมื่อฝนตกมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผู้รับประกันก็จะจ่ายเงินลงมาให้แก่ชาวนา ทันทีตามที่ได้สัญญาไว้ โดยไม่สนใจว่าแปลงนาของชาวนานั้นจะมีความเสียหายเพียงใด กล่าวคือหากชาวนารักษาแปลงนาไว้ได้ไม่ประสบความเสียหาย ผู้รับประกันก็ยังจะจ่ายเงินชดเชยอยู่ดีเนื่องจากประกันภัยรูปแบบนี้สนใจ เพียงปริมาณน้ำฝนดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น.
วิธีการดังกล่าวมานี้ถือว่ามีความน่าสนใจก็เพราะ โดยปรกติแล้วการซื้อประกันจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า Moral hazard [ผู้เขียนไม่มีศัพท์บัญญัติที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายจึงขอทัพศัพท์] ซึ่งหมายถึง การที่ผู้ซื้อประกันมีแนวโน้มจะปล่อยปละละเลยให้เกิดเหตุร้ายได้ง่ายมากขึ้น เพราะมีการชดเชย เช่น คนเราเมื่อซื้อประกันรถยนต์ย่อมมีความหย่อนยานในการระวังภัยจากการขับรถมาก ยิ่งขึ้น แต่ประกันชนิดนี้สนับสนุนให้ผู้ซื้อประกันมีแรงจูงใจจะระวังภัยให้แก่ ทรัพย์สิน [เช่นที่นา] ของตนเองมากยิ่งขึ้น
ประกันชนิดนี้ช่วยแก้ปัญหา, เพิ่มเครื่องมือจัดการความเสี่ยง ให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยอย่างเกษตรกร จากที่แต่เดิมแทบจะกล่าวได้ว่า เกษตรกรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของสภาพอากาศอย่างไม่ยุติธรรม ที่ว่าไม่ยุติธรรมก็เพราะการประมาณการสภาพอากาศในปัจจุบันนั้นทำได้ยากยิ่ง ขึ้นเรื่อยๆ และโอกาสที่จะแม่นยำในระยะเวลายาวนานที่เพียงพอให้เกษตรกรจะสามารถวางแผนการ ทางการเกษตรของตนเองได้นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ความเสี่ยงในส่วนนี้จึงกลายเป็นความเสี่ยงที่เกษตรกรไม่สามารถจะจัดการได้ แม้จะรับรู้และต้องการจะจัดการก็ตาม [เพราะไม่มีเครื่องมือ – จะยกนาหนีน้ำก็ทำไม่ได้] ขนาด อ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ซึ่งมีความรู้ มีข้อมูลอย่างดี ข้าวในนาของท่านก็เป็นอันล้มพับไปต่อหน้าต่อตาโดยที่ทำอะไรไม่ได้ [way, 2011: 12]
ประสบการณ์ในต่างประเทศซึ่งทดลองใช้ประกันสภาพอากาศล้วนพบว่าเกษตรกรมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากรายงานเรื่อง Experience in index-based weather insurance for agriculture: lessons learnt from Malawi and India [ชื่อยาวมากครับ] ของ Henry K. Bagazonzya และ Renate KLoeppinger-Todd ซึ่งทำให้ธนาคารโลก [2007] อธิบายให้เห็นภาพของความสำเร็จของการนำประกันสภาพอากศไปใช้ในมาลาวี และ อินเดียว่า:
เกษตรกรรายย่อยในประเทศต่างๆมักที่จะเข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่าง ประกันภัยเพราะปัญหาหลายประการ เช่น ความยากจน การดำเนินการที่ยุ่งยากและต้นทุนสูง การขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการประเมินเบี้ยประกัน ต้นทุนในการตรวจสอบประเมินความเสียหายที่สูง เป็นต้น ดังนั้นธนาคารโลกจึงได้พยายามพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับ เกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ขึ้นมา

ทุกข์ของชาวนาที่ต้องนั่งเรือเพื่อเกี่ยวข้าว - ภาพจาก ไทยรัฐ
ทุกข์ของชาวนาที่ต้องนั่งเรือเพื่อเกี่ยวข้าว - ภาพจาก ไทยรัฐ
ช่วงแรก, 1997-2001, แม่แบบของระบบประกันสภาพอากาศได้เกิดขึ้นในอเมริกาเป็นครั้งแรก และได้ก่อให้เกิดความสนใจจนธนาคารโลกได้นำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย และพัฒนาในปี 1999 และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อออกแบบให้เหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนา. ในช่วงที่สองราว 2002-2007 ธนาคารโลกได้รับการสนับสนุนให้เข้าไปทำโครงการนำร่องในประเทศต่างๆ อาทิ เม็กซิโก [2001] อินเดีย [2003] มาลาวี [2005] เอธิโอเปีย [2006] มองโกเลีย [2006] และ ไทย[2007] และยังได้มีการเตรียมการในประเทศอเมริกากลาง เวียดนาม เคนย่า และ แทนซาเนีย ด้วย
ในประเทศมาลาวีนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะเข้าถึงประกันสภาพอากาศต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนัก ยกตัวอย่างเช่นภัยแล้งในปี 2004/2005 ทำให้แปลงเกษตรเสียหายมาก ผู้ปล่อยกู้ให้แก่เกษตรกรได้รับหนี้คืนเพียงราว 50-70% เท่านั้น ธนาคารลางแห่งเสียหนี้สูญถึงราว 110,000 เหรียญสหรัฐในหนึ่งพ้นที่การเกษตร. ปรากฏการณ์นี้ทำให้ผู้ปล่อยกู้ [รวมถึงสถาบันการเงินระดับย่อย-microfinance อีก 2 แห่ง] ยุติการปล่อยกู้รอบใหม่ให้แก่เกษตรกรกว่า 1,000 ครัวเรือน จนเป็นผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาแบกรับภาระบริจาค/ชดเชย เป็นมูลค่ากว่า 50% ของความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างขาดตอนและล่าช้า
ภัยแล้งที่เกิดแก่มาลาวีข้างต้น ส่งผลร้ายแรงอย่างมากแก่ระบบเศรษฐกิจของมาลาวีก็เพราะ 85% ของมาลาวียังนับเป็นชนบน, 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ [GDP] มาจากภาคเกษตร, 87% ของการจ้างงานอยู่ในภาคเกษตร, 64% ของรายได้ภาคชนบทมาจากภาคเกษตร และ 90% ของเงินตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมาจากภาคเกษตร การเกิดปัญหากับภาคเกษตรย่อมหมายถึงความสั่นคลอนของระบบเศรษฐกิจอย่างตรงไป ตรงมาที่สุด และเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้มาลาวี เข้าสู่โครงการนำร่องประกันสภาพอากาศ
แรกเริ่ม, ได้มีการรวมตัวกันของ 7 บริษัทมาจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรับประกันชื่อ Insurance Association of Malawi [แปลกลับเป็นไทยคงราวๆว่า บ.สมาคมประกันภัยแห่งมาลาวี] โดยทั้ง 7 บริษัทนี้ร่วมกันแบ่งความเสี่ยงในการรับประกันภัยให้แก่เกษตรกร โดยคิดราคาเบี้ยประกันเป็นราว 6-7% ของเงินที่จะจ่ายชดเชยมากสุด เช่นหากในรอบระยะเวลาหนึ่งเกษตรกรได้วงเงินชดเชยสูงสุด 100,000 บาท ราคาเบี้ยประกันก็อาจจะอยู่ราว 6,000-7,000 บาทนั่นเอง โดยมีเงื่อนไขอยู่ที่เกษตรกรจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากผู้จัดจำหน่ายที่กำหนด เท่านั้น [เพื่อกำหนดคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และทราบถึงความทนทานต่อสภาพอากาศที่คงที่] และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง เช่น ฝนแล้งขาดช่วง เงินก้อนนี้ก็จะถูกโอนจ่ายเข้าบัญชีหนี้ที่เกษตรกู้ไว้กับธนาคารเลยโดยไม่ ได้ผ่านมือเกษตรกรโดยตรง
มาตรการข้างต้นนี้ช่วยให้เกษตรกรกว่า 1,800 ครัวเรือนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยให้พวกเขาได้รับการชดเชยเมื่อ เผชิญกับภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงและควบคุมไม่ได้, มีธนาคารอีก 4 แห่งที่เตรียมการจะเข้าร่วมโครงการให้ประกันสภาพอากาศแก่เกษตรกรในวงเงินรวม ราว 10 ล้านเหรียญสหรัฐ. การที่ผลิตผลลดความเสี่ยงลงไปได้มากทำให้เกษตรกรใส่แรงงานลงไปเต็มที่ในแปลง เกษตรของตนเองกระทั่งผลิตภาพต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น แม้จะมีความท้าทายอีกมากที่จะต้องจัดการ เช่น เงินจ่ายเบี้ยประกันสภาพอากาศส่วนใหญ่ของเกษตรกรยังคงนำมาจากการกู้ หรือ วงเงินกู้ในส่วนอื่นนอกเหนือจากที่นำมาใช้ซื้อประกันสภาพอากาศยังคงมีอัตรา ผิดนัดชำระสูง เป็นต้น แต่ก็ถือว่าในส่วนของประกันสภาพอากาศได้ช่วยเกษตรกรมาลาวีเอาไว้อย่างมีนัย สำคัญ
ในกรณีของประเทศอินเดีย, โดยรวบรัดอาจกล่าวได้ว่า ประกันสภาพอากาศได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ จากปี 2003-2004 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการราว 230 ราย เพิ่มขยายเป็นกว่า 11,500 รายในปี 2006-2007 โดยมีผลประกอบการทางฝั่งผู้ให้ประกันกำไรสลับขาดทุนปีเว้นปีเรื่อยมาตั้งแต่ ปี 2003-2006 แต่โดยรวมแล้วยังคงกำไรสะสมอยู่
ประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ การประกันเป็นธุรกิจที่ว่าด้วยการแบ่งปันความเสี่ยง การที่บริษัทประกันจะอยู่ได้นั้นก็ด้วยเหตุที่ผู้ซื้อประกันไม่ใช่ทุกคนที่ ประสบเหตุพร้อมๆกัน ดังนั้นประกันสภาพอากาศจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะสำเร็จได้หากซื้อขายกันภายใน ประเทศเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมตินะครับสมมติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร [ธกส.] จัดทำประกันสภาพอากาศขึ้นมาขายชาวนาชาวไร่ในประเทศไทย เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นมาโอกาสที่ ธกส. จะขาดทุนอย่างรุนแรงมีสูงมาก เพราะเวลาน้ำท่วมโดยเฉพาะน้ำท่วมใหญ่อย่างในปัจจุบัน จะกินพื้นที่กว้างขวางหลายจังหวัดแปลว่าเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบมีปริมาณ มากผู้รับประกันก็มีภาระจ่ายสูงจนไม่คุ้มเบี้ยประกันที่รับมา
ด้วยเหตุนี้, ผู้รับประกันในประเทศจึงต้องมักผ่องถ่ายความเสี่ยงเหล่านี้ออกไปให้แก่ผู้ รับประกันต่ออีกทอดหนึ่ง [reinsurance institution] ซึ่งผู้รับประกันต่อนี้ก็อาจจะเป็นผู้รับประกันสภาพอากาศจากหลายๆพรมแดน หลายๆทวีป ทำให้กระจายความเสี่ยงไปได้ เพราะ น้ำท่วมเอเชีย แต่อาฟริกาอาจจะไม่ท่วม ก็สามารถนำเงินเบี้ยประกันที่เก็บได้จากอาฟริกา มาจ่ายชดเชยให้แก่ผู้ซื้อประกันในเอเชีย ก็จะทำให้ไม่ประสบกับปัญหาขากทุน
การรับประกันสภาพอากาศนี้อันที่จริงแล้วมีกรณีศึกษาพบว่าผู้ซื้อประกัน อาจมีได้หลายระดับ เช่น ระดับบุคคล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด รัฐบาล เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลาย โดยเฉพาะความเข้มแข็งความพร้อมของรัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นโดยเปรียบเทียบ กัน. โดยประเทศอย่างอินเดีย นิคารากัว มาลาวี และยูเครนจะนับเป็นประกันแบบรายย่อย [micro level] ที่เกษตรเป็นผู้ทำประกันโดยตรงกับสถาบันการเงินเล็กๆในท้องที่ กองทุนหมู่บ้าน สัจจะออมทรัพย์, ในระบบที่เป้นขนาดกลาง [meso level] ก็อาจจะใหญ่ขึ้นมาเป็นการทำกับระดับจังหวัด หรือเขตการปกครองซึ่งมี อินเดียทำอยู่ และแบบที่ทำระดับประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำเลย [macro level] ก็เช่นเอธิโอเปีย มาลาวี และ เม็กซิโก เป็นต้น [สฤณี อาชวานันทกุล, 2551]
ดูจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นมาในรอบสองปีนี้ และการที่เกษตรกรไทยมีความก้าวหน้าระดับหนึ่งแล้วในการเรื่องการจัดการการ เงิน [ดูจากการเกิดกลุ่มออมทรัพย์มากมาย- เข้มแข็งอ่อนแอบ้างก็สุดแล้วแต่], ประกันสภาพอากาศก็อาจจะกลายมาเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่เกษตรกรจะได้ใช้ เพื่อการจัดการความเสี่ยงของตนเอง โดยตนเองและเพื่อตนเองได้โดยไม่ต้องใช้กลไกทางการเมือง และการชดเชยผ่านระบบอุปถัมภ์อย่างที่กำลังเป็นอยู่ก็เป็นได้ครับ

ความเห็น ปชช. ถึง สรยุทธ์-ช่อง 3 คนกรุงเทพคิดยังไง?


 
มีความเห็นจากกระทู้ในขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดน่าสนใจเรื่องการทำหน้าที่ของช่อง 3 และคุณสรยุทธ์…
เห็นข่าว สรยุทธ ช่อง 3 เป็น ฮีโร่ เลยนะท่าน
Postโดย joepattawut » Sun Oct 09, 2011 12:09 pm
กำลัง ชมช่อง 3 อยู่ ไอ้ สรยุทธ กำลังเป็น ฮีโร่ ของ ชาว น้ำท่วม คนเป็น นายก คงต้องอาย ชิดขอบ ไปเลย เหอๆๆๆ สมัยหน้า เชียร์ ไห้ มันลง ส.ส เลย ดีกว่ามั้ง ครับ..อิๆๆๆ …
โดย ด๋อยแทง » Sun Oct 09, 2011 12:25 pm
ก่อนจบรายการ ก็ย้ำด้วย “คนกรุงเทพ สำนึกไว้ซะ คนอยุธยารับน้ำแทนพวกแกอยู่” เล่นกันทุกช่องเลยเว้่ยยย ควบคุมสื่อแบบบูวววรานานกาลสินะ
สุดยอดจริงๆ มีด่ารัฐบาลสักคำไม๊วันนี้ โยนให้คนกรุงหมดเลย ตูไปเสกน้ำใส่เมื่อไรวะ มีแต่ xxx นั่นไม่ใช่เหรอ ที่ปล่อยจนมันวิกฤต
นักเรียนตลอดชีพ wrote:
งานนี้ ขอชมช่อง3 กับ สรยุทธ ครับ …. ทั้งช่วยเหลือ ทั้งช่วยเป็นสื่อกลาง ทำได้ดี ครับ …
ยอม ชม ให้ครั้งหนึ่ง ครับ ..
หนูอ้อย wrote:ขอชมเรื่องความกระตือรือร้นด้วยสัญชาติญาณสื่อ ช่องสามนั้นมีเต็มเปี่ยม แต่ตอนที่ยัดความคิดตบท้ายข่าวว่า “คนกทม.คิดสักนิดว่ายุดยารับน้ำแทนพวกเรา” อันนี้ไม่ได้เรื่อง เราก็ดูทีวีอยู่พอดี ไม่เข้าใจประโยคนี้ของสรยุทธเหมือนกันว่ามันต้องการอะไร
ในฐานะที่เราอยู่ทางอีสาน วันนี้ไม่ได้รับผลสะเทือนจากก้อนน้ำทางภาคเหนือเลย จึงไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่จะวิจารณ์เรื่อง กทม.- อยุธยา จะขอลองให้ความเห็นสักนิด…
เราเห็นด้วยอย่างแรงว่าต้องรักษากรุงเทพฯไว้ให้ดีที่สุด เพราะกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางทุกอย่างทั้งเศรษฐกิจ สังคม การสนับสนุนป้องกันแก้ไขภัยพิบัติ ฯลฯ
ถ้ากรุงเทพฯล่ม เศรษฐกิจใหญ่เล็กพินาศ มันก็จะลามความพินาศนั้นไปทั่วประเทศอย่างแรงและรวดเร็วอีกทั้งถ้ามีวันนั้น การระดมทรัพยากรจากกรุงเทพฯเพื่อสนับสนุนจังหวัดอื่นๆก็จะลดประสิทธิภาพลงจน ถึงขีดศูนย์เพราะเบื้องต้นกรุงเทพฯก็ต้องเยียวยาตัวเองก่อนที่จะไปพยุง จังหวัดอื่น
คิดได้ไงนะพวกมีหัวคิดยุแหย่ว่า บ้านนอกพัง-กรุงเทพฯต้องพังไปด้วยจึงจะสาสม ???
ขอให้กรุงเทพฯปลอดภัยค่ะ…….จากใจจริงของชาวขอนแก่นคนหนึ่ง และเป็นกำลังใจให้ทุกคนทุกภาค ขอจงรอดและปลอดภัย
จากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครเจอภาวะน้ำเอ่อล้นและน้ำท่วมแล้ว เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นและเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาให้ถูกจุดทั้งในระยะ สั้นและระยะยาว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,380 คน ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1 . คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไร ? ถ้าจะมีการระบายน้ำเข้ามาบางส่วน เพื่อแบ่งเบาความเดือดร้อนของจังหวัดต่างๆ
อันดับ 1 เห็นด้วย 66.79% เพราะ กรุงเทพ ฯ มีประตูระบายน้ำหลายแห่งและเป็นเส้นทางน้ำที่จะช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเล ,เห็นใจผู้ที่ถูกน้ำท่วมในต่างจังหวัด ที่ประสบปัญหามานานนับเดือน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 20.07% เพราะ กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำคัญและเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ควรศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านอื่นๆด้วย เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 13.14% เพราะ ปริมาณน้ำท่วมในปีนี้มีมากและรุนแรง ทั้งฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง น้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ที่เอ่อล้นออกมา และน้ำทะเลหนุน สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่คิดว่าไม่น่าจะแก้ไขได้ ฯลฯ
2. “วิธีการป้องกัน” กรณี ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นจากการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
อันดับ 1 ต้องใจเย็น อดทน อย่าใจร้อน วู่วาม /ควรเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน 54.56%
อันดับ 2 ควรหาคนกลางที่สามารถควบคุมหรือมีการพูดคุยปรับความเข้าใจกันอย่างมีสติ/อาจ เป็นการเจรจาต่อรองหรือตกลงกันโดยพบกันครึ่งทาง 22.07%
อันดับ 3 ก่อนที่จะดำเนินการใดๆควรรับฟังเสียงตอบรับจากประชาชนก่อน ว่าเห็นด้วยหรือไม่พร้อมเหตุผล 14.13%
อันดับ 4 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในกลุ่มฝูงชนที่กำลังมีอารมณ์รุนแรง 9.24%
3. “ความกลัว /วิตกกังวล” ของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับน้ำท่วม
อันดับ 1 บ้านถูกน้ำท่วม ทรัพย์สิน สิ่งของเครื่องใช้เสียหาย 33.38%
อันดับ 2 กลัวว่าอาหารสด อาหารแห้ง น้ำดื่มขาดแคลน 30.46%
อันดับ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทางไม่สะดวก /ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 19.35%
อันดับ 4 เป็นห่วงคนในครอบครัว /เกิดความกลัว วิตกกังวล เครียดกับเรื่องน้ำท่วม 16.81%
4. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “รัฐบาล” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม
อันดับ 1 ระดมความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนทั้งกำลังพล อาหาร น้ำดื่ม สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ 52.82%
อันดับ 2 เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเร็ว สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน 34.20%
อันดับ 3 ควบคุมดูแลผู้ที่ฉกฉวยโอกาสจากน้ำท่วม เช่น การขึ้นราคาสินค้า การเอารัดเอาเปรียบผู้ที่เดือดร้อน 12.98%
5. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “เอกชน” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม
อันดับ 1 การระดมทุน บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย 62.70%
อันดับ 2 ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ หรือเรื่องที่ภาครัฐร้องขอและสามารถดำเนินการได้ 19.98%
อันดับ 3 การให้ความช่วยเหลือต่างๆที่สามารถทำได้ เช่น เปิดพื้นที่ให้เป็นที่พักของผู้ประสบภัยหรือใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม 17.32%
6. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “สื่อมวลชน” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม
อันดับ 1 การรายงานสภาพน้ำท่วมในภาพรวมจากทุกภาคของประเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางในการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจน 46.81%
อันดับ 2 เป็นตัวกลางในการระดมและรับความช่วยเหลือจากทุกๆฝ่าย /นำสิ่งของที่ได้ไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง 30.55%
อันดับ 3 นำเสนอข้อมูลข่าวสารในทุกแง่มุม สะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไข /สัมภาษณ์ประชาชนที่เดือดร้อนเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาแก้ไขให้ตรงจุด 22.64%
7. ความมั่นใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพฯ ต่อ “รัฐบาล” เรื่องน้ำท่วม
อันดับ 1 ไม่มั่นใจ 56.62% เพราะ ปริมาณน้ำที่เข้ามามีมาก พื้นที่ต่างๆไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะรับมือได้ ฯลฯ
อันดับ 2 มั่นใจ 43.38% เพราะ เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทุกข์ สุขของประชาชน ,รัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ฯลฯ
8. ความมั่นใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพฯ ต่อ “กทม.” เรื่องน้ำท่วม
อันดับ 1 ไม่มั่นใจ 52.03% เพราะ ปริมาณน้ำในปีนี้มีมากกว่าทุกปี มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ,ถึงจะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร? ก็ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ ฯลฯ
อันดับ 2 มั่นใจ 47.97% เพราะ มีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับน้ำท่วม มีประตูระบายน้ำหลายจุดที่สามารถผันน้ำลงทะเลได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ
9. การเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ของ คนกรุงเทพฯ
อันดับ 1 ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและมีสติ 41.80%
อันดับ 2 ซื้อสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง ยา สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นมาติดบ้านไว้ 21.03%
อันดับ 3 การรวบรวมเก็บสิ่งของที่สำคัญหรือของมีค่าไว้ด้วยกัน ขนย้ายสิ่งของไว้ที่สูง /ตรวจสอบปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ หากต้องมีการตัดไฟ 16.36%
อันดับ 4 เตรียมใจให้พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น 11.08%
อันดับ 5 เตรียมกระสอบทรายเพื่อทำแนวกั้นน้ำตามจุดต่างๆที่น้ำจะเข้ามาได้ 9.73%
10. หน่วยงาน ที่คนกรุงเทพฯ ประทับใจในการช่วยเหลือน้ำท่วม
อันดับ 1 สื่อมวลชน 29.31%
อันดับ 2 ประชาชน คนไทย 21.73%
อันดับ 3 หน่วยกู้ภัย /มูลนิธิต่างๆ 20.40%
อันดับ 4 รัฐบาล /หน่วยงานภาครัฐ 16.59%
อันดับ 5 หน่วยงานเอกชน /บริษัท /ห้างร้าน 11.97%


ข่าวโดย : สายใยไทยทั้งเมือง

เปิดงบฯบริหารจัดการด้าน“น้ำ”ลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน

เปิดงบฯบริหารจัดการด้าน“น้ำ”ลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน 4,000 โครงการแต่ล้มเหลว–พบบ.ขุมข่ายบิ๊กการเมืองรุมทึ้ง

เปิดงบฯบริหารจัดงานด้านน้ำประเทศไทย ตะลึง!ตัวเลขสูงลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน หน่วยงานนับสิบแห่ชงกว่า 4,000 โครงการทั้งกรมชลฯ กรมทรัพยากรน้ำ อบจ.เทศบาล อบต. พบบริษัทเครือข่ายนักการเมืองใหญ่ร่วมรัฐบาล-ฝ่ายค้าน รุมทึ้งแต่ไร้น้ำยาน้ำท่วมทุกปี
       ภายหลังจากเกิดอุทุกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัด สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท  ท่ามกลางความสูญเสียและคราบน้ำตาคำถามหนึ่งก็คือในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทย ใช้งบประมาณในการบริหารจัดการด้านน้ำปีละเท่าไหร่ กี่หน่วยงานที่รับผิดชอบ?
       ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่า หน่วยงานกระทรวงหลักที่มีหน้าที่บริหารจัดการเรื่องน้ำ ได้แก่
       1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ประกอบด้วย
            1.1.กรมทรัพยากรน้ำ 
            1.2.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
            1.3 กรมควบคุมมลพิษ
            1.4 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
            1.5 กรมทรัพยากรธรณี
       2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ประกอบด้วย
             2.1 กรมชลประทาน
             2.2 กรมพัฒนาที่ดิน
     3.กระทรวงมหาดไทย  ประกอบด้วย
             3.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
             3.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
             3.3 กรมโยธาธิการและผังเมือง
             3.4 กรมการปกครอง
            3.5 กรุงเทพมหานคร
      4.กระทรวงกลาโหม  ได้แก่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
         ที่เหลือเป็นหน่วยงาน อื่น อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ,กรมอุตุนิยมวิทยา  เป็นต้น   
         จากการตรวจสอบพบว่า
กรมทรัพยากรน้ำ
       ปีงบประมาณ 2551  (1 ต.ค.2550 -30 ก.ย.2551)  มีการใช้เงิน ค่าก่อสร้าง แหล่งน้ำทั้งสิ้น  687.6 ล้านบาท  (ฝายเสริมระบบนิเวศ 271 แห่ง ฝายน้ำล้น 4 แห่ง  และ อื่นๆ )   งบฯค่าปรับปรุงแหล่งน้ำ  684.5 ล้านบาท  รวมเงินทั้งหมดประมาณ 1,372.1 ล้านบาท  (จากงบประมาณทั้งหมดของกรม  2,584.2 ล้านบาท  ข้อมูลจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551)
         จากการตรวจสอบพบว่า กรมทรัพยากรน้ำได้ว่าจ้างเอกชนก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ  อาทิ ขุดลอกคูคลอง ลำห้วย ฝาย ต่างๆ ทั่วประเทศ  ประมาณ  240  โครงการ  (สัญญาจ้าง) วงเงิน  1,400 ล้านบาท
         ปีงบประมาณ 2552  (1 ต.ค.2551-30 ก.ย.2552)   ว่าจ้างก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ  อาทิ  คูคลอง ลำห้วย  ฝาย ต่างๆ  ทั่วประเทศ  ประมาณ   1,000   โครงการวงเงิน   2,215.4 ล้านบาท     

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ประมาณ 60 โครงการ อาทิ จ้างบริษัทที่ปรึกษา โครงการประเมินผลศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนและแม่กลอง,ศึกษา แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งโดยการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลพื้นที่แอ่งเจ้า พระยา ,ซื้อเครื่อง มือเครื่องใช้   ,ประชาสัมพันธ์, -ขุดเจาะน้ำบาดาล  รวมวงเงิน 560 ล้านบาท
          ปีงบประมาณ 2552   ได้ว่าจ้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ประมาณ 26  โครงการ อาทิ จ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดระบบกักเก็บน้ำใต้ดินบริเวณจังหวัด สุราษฎร์ธานี  ,ก่อสร้างระบบประปาบาดาล ,จ้างประชาสัมพันธ์    รวมวงเงินประมาณ  370  ล้านบาท 

กรมชลประทาน
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารบังคับ ประตูรายบายน้ำ  เขื่อนป้องกันตลิ่ง  ขุดบ่อ ขุดลอกคู คลอง ลำห้วย   อ่างเก็บน้ำ  ทั่วประเทศ  ประมาณ  1,460 โครงการ วงเงิน 8,500 ล้านบาท
        ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารบังคับ ประตูระบายน้ำ  เขื่อนป้องกันตลิ่ง  ขุดบ่อ ขุดลอกคูคลอง ลำห้วย   อ่างเก็บน้ำ  ทั่วประเทศ  ( รวมงบฯประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร กรมชลประทาน 19.7 ล้าน)  รวม 2,100 โครงการ วงเงิน 17,400 ล้านบาท
          
กรมพัฒนาที่ดิน 
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้าง ขุดสระเก็บน้ำ นอกเขตชลประทาน   ขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก สร้างทำนบกั้นดิน   ฝายน้ำล้น ฯลฯ  ประมาณ400 โครงการ วงเงิน 1,200 ล้านบาท
          ปีงบประมาณ 2552    ว่าจ้างขุดสระเก็บน้ำ นอกเขตชลประทาน   ขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก สร้างทำนบกั้นดิน   ฝายน้ำล้น ฯลฯ ระมาณ 500 โครงการ  วงเงิน 1,300 ล้านบาท

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
           ปีงบประมาณ  2551 ไม่มีโครงการ
           ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้างรับเหมาฟื้นฟูแหล่งน้ำ  (ผ่านศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ทั้งหมด 27 โครงการ วงเงิน ประมาณ 51 ล้านบาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง    
           ปีงบประมาณ 2551  มีโครงการปรับปรุงก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ,ก่อสร้างคันคูกั้นน้ำ ในจ.สตูล พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุบลราชธานี สมุทรปราการ พังงา เพชรบูรณ์  รวม   9 โครงการ วงเงิน 67.2  ล้านบาท
           ปีงบประมาณ 2552  มีโครงการพัฒนาเมืองและชุมชน ในการขุดลอกคูคลอง ,ก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่ง  ,ขุดลอกลำห้วย  ในจังหวัดจ่างๆ จำนวน 70 โครงการ  วงเงิน 450 ล้านบาท
      
สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย(ผ่านสำนักงานจังหวัด)
           ปีงบประมาณ  2551  ว่าจ้างขุดลอกคลอง ลำห้วย ต่าง ๆ  4 โครงการ วงเงิน 16.7 ล้านบาท
           ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้างขุดลอกคลอง ลำห้วย ต่าง ๆ 35 โครงการ วงเงิน 93.4  ล้านบาท

กรมการปกครอง  (ส่วนภูมิภาค)  
            ปีงบประมาณ  2551 ว่าจ้างขุดลอกคลอง แหล่งน้ำทั้งหมด  20 โครงการ วงเงิน  41.3 ล้านบาท
            ปีงบประมาณ 2552  จำนวน  244 โครงการ วงเงิน 458 ล้านบาท
                                        
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อบต.  เทศบาล , อบจ. 75  แห่ง ,กรุงเทพฯ ) รวมหลายร้อยโครงการแต่กระจัดกระจาย ในส่วนของ อบจ. อาทิ
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.นครราชสีมา )  ปีงบประมาณ 2552 มีโครงการขุดลอกคลองต่าง ๆ จำนวน 126  โครงการ (แห่ง)   มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท (โครงการละไม่เกิน 2 ล้านบาท)
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 6  โครงการ   วงเงิน  9.5 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี 4 โครงการ   วงเงิน 6.3 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง  20 โครงการ  วงเงิน 42.3 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม 44 โครงการ  วงเงิน 76  ล้านบาท  
             เบ็ดเสร็จเฉพาะปี 2552 งบประมาณในการบริหารจัดการน้ำผ่านหน่วยงานเท่าที่ตรวจสอบพบกว่า 2 หมื่นล้านบาท
             และยังพบว่า หลายจังหวัดมีการว่าจ้างบริษัทเครือข่ายนักการเมืองเป็นผู้รับเหมา  อาทิ
             จ.ราชบุรี หจก.แห่งหนึ่งของนักการเมืองใหญ่  (นักการเมืองเคยถือหุ้นปัจจุบันลูกถือหุ้น) เป็นผู้รับเหมาโครงการขุดลอกฟื้นฟูแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำหลายโครงการ
             จ.พิษณุโลกบริษัทรับเหมาของนักการเมืองใหญ่เป็นผู้รับเหมา (นักการเมืองเคยถือหุ้น) โครงการฟื้นฟุแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำหลายโครงการ 
             จ.หจก. ช.ของเครือญาตินักการเมืองใหญ่ (นักการเมืองเคยถือหุ้น) เป็นผู้รับเหมาโครงการขุดลอกแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การ บริหารส่วนตำบลในพื้นที่ จ.นครราชสีมา หลายสิบโครงการ   
             จ.บุรีรัมย์ บริษัทเครือญาตินักการเมืองใหญ่ จ.บุรีรัมย์ (นักการเมืองเคยถือหุ้น) เป็นผู้รับโครงการขุดลอกฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคอีสานใต้นับสิบโครงการ
             จ.สุพรรณบุรีบริษัทผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งเป็นผู้รับเหมา โครงการขุดลอก ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงการท่องเที่ยวฯหลายโครงการ
             ทั้งนี้นักการเมืองดังกล่าวมีตำแหน่งในรัฐบาลชุดปัจจุบันและชุดก่อนๆ
            ..........
หน่วยงานที่มีงบประมาณในการบริหารจัดการ ขุดลอก ฟื้นฟู แหล่งน้ำในปี 2552
หน่วยงาน
จำนวน  (โครงการ) 
วงเงิน  (บาท)
กรมทรัพยากรน้ำ
1,000
2,215.4   ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
26
370         ล้าน
กรมชลประทาน
2,100
17,400   ล้าน
กรมพัฒนาที่ดิน
500
1,300     ล้าน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
27
  51        ล้าน
กรมโยธาธิการและผังเมือง    
70
450        ล้าน
สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
35
93.4       ล้าน
กรมการปกครอง  (ส่วนภูมิภาค)
244
458        ล้าน
รวม
4,002
22,337.8  ล้าน
หมายเหตุ: ไม่รวมงบฯขององค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มา : ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com)  รวบรวม
ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ
ปรากฏในหน้าแรกที่: 
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง