บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จำเป็นต้อง share

เพราะรู้สึกอึดอัดกับการกระทำของพวกคุณเหลือเกิน ทั้งที่คิดว่าน่าจะฝากความหวังไว้ได้ เนื่องจากเป็นคนรุ่นใหม่มีการศึกษาดี ซึ่งน่าจะทำประโยชน์ให้ชาติได้มากกว่าที่คุณกำลังทำอยู่นี้ ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าในฐานะคนทำมาหากินคนหนึ่งซึ่งไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายหรือรัฐศาสตร์อย่างพวกคุณและนักวิชาการทั้งหลาย ผมรู้สึกว่าปัญหาใหญ่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาของชาติทั้งหมดนั้นมาจากเรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการ โดยเฉพาะนับวันคุณภาพและคุณธรรมของนักการเมืองเมืองไทยยิ่งต่ำติดดินลงไปเรื่อยๆ เพราะตั้งใจเป็นนักการเมืองเพื่อทำธุรกิจการเมืองโดยการทุจริตคอรัปชั่นให้คงอำนาจต่อไปเรื่อยๆ และในช่วงปี 45-49 ซึ่งเกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร เมื่อถูกวิจารณ์ ถูกชี้ว่าผิด ถูกตัดสินลงโทษ ก็ไม่ยอมรับ พยายามสร้างขบวนการต่อสู้ที่รุนแรงขึ้นมา ทำให้แตกแยกทั่วแผ่นดิน ถามว่าทุจริตคอรัปชั่นที่ถูกกล่าวหาเป็นจริงหรือไม่ ในฐานะที่ผมเป็นคนธรรมดาไม่ได้อคติกับใคร ก็ยอมรับว่าเชื่อว่าเป็นจริง เพราะในขณะที่ผู้นำยุคนั้นเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินทั้งครอบครัวไว้ที่ 20,000 กว่าล้าน แต่วันที่ถูกชี้ว่าทุจริตคอรัปชั่นมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาจากการตรวจสอบเป็น 70,000 กว่าล้าน บวกกับทรัพย์สินที่ทางการอังกฤษอายัดไว้อีก 140,000 กว่าล้าน ฯลฯถามว่าทำไมมันมีมากมายขนาดนี้ ทั้งๆที่ตอนแจ้งขณะออกจากตำแหน่งในปี 48 ก็ยังอยู่ที่ 20,000 กว่าล้านบาท

1. พวกคุณควรเลิกกระทำการในการลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันตุลาการเสียที ควรไปหาทางลดทอนอำนาจของพวกนักธุรกิจการเมือง นักธุรกิจคอรัปชั่นและนักเบียดบังผลประโยชน์ชาติอย่างมหาศาล

2. หากพวกคุณร้อนวิชาอยากวิพากษ์วิจารณ์ศาลก็จงช่วยวิพากษ์วิจารณ์อัยการในบริบทที่เป็นจริงปราศจากอคติ แต่ก็คงทำได้ยากสำหรับพวกคุณ เพราะหลายคนอิงแอบกับอำนาจรัฐแน่นแฟ้น

3. จะเป็นประโยชน์ที่สุดหากพวกคุณจะเสนอกฎหมายที่ยับยั้งการทุจริตคอรัปชั่นให้ได้ผลที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าการมาวุ่นวายกับมาตรา112 และการตัดทอนสถาบันตุลาการ ยกเว้นพวกคุณหวังผลจากนักธุรกิจการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่นมโหฬารเหล่านี้

4. เลิกพูดเสียทีเถอะว่าประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งสำหรับเมืองไทยวิเศษสุด เพราะพวกคุณต้องยอมรับความจริงว่ามันดีและพร้อมมากสำหรับประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาและความคิด และมีนักการเมืองที่เสียสละไม่ใช่เห็นแก่ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่ พวกคุณก็เห็นภาพชัดเจนอยู่แล้วว่า ส.ส. ของเมืองนี้เป็นอย่างไร คุณภาพแค่ไหน ขนาดพวกคุณที่คิดว่าจะฝากความหวังได้ ยังไม่มีปัญญาจะทำให้มันดีขึ้นได้เลย หนำซ้ำยังกลับทำตัวส่งเสริมให้ยิ่งเละกันไปเสียอีก ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าไม่พร้อมจริงๆ และที่ผ่านมาเผด็จการพลเรือน(ไม่ใช่เผด็จการทหาร)ที่มาจากการแต่งตั้งยังดีเสียกว่าเผด็จการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งเกิดจากการซื้อฐานอำนาจทุกอย่างจากเงินที่โกงประเทศมาอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งสร้างความแตกแยกและความพังพินาศ

5. สำหรับคุณซึ่งได้ไปออกรายการคมชัดลึก และพยายามนำหลักภาษาไทยมาอธิบายรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เรื่องประโยคหลักประโยคย่อยการใช้กรรมร่วม เลิกเถอะครับวิธีดิสเครดิตศาลด้วยวิธีนี้ เถียงกันไปก็ไม่รู้จักจบ เพราะถ้าจะว่ากันเฉพาะหลักภาษาไทยล้วนๆไม่เกี่ยวกับบริบททางกฎหมายแล้ว อาจมีผู้แย้งว่าประโยคที่คุณพูดถึงควรเป็นประธานร่วมมากกว่า ยกตัวอย่างประโยคเช่น “นักเรียนส่งใบสมัครให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและชำระเงินต่อพนักงานการเงิน” ซึ่งจากประโยคนี้ก็แน่นอนว่านักเรียนเป็นประธานของทั้ง 2 กริยา

6. สำหรับอัยการที่ออกมาเพื่อร่วมขบวนการดิสเครดิตศาลนั้น โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าละอายมาก เพราะเป็นการดิสเครดิตตัวเองมากกว่า ว่าอัยการได้บกพร่องและทำผิดต่อหน้าที่ ที่ผ่านมาไม่แยแสใส่ใจในคำร้องของผู้ร้อง ปล่อยดองมามากกว่า 3 เดือน พอเรื่องถูกเปิดโปงขึ้นมาก็รีบตาลีตาเหลือกแก้ตัวแก้เกี้ยวเพื่อปัดความผิดพ้นตัว และหนำซ้ำยังดิสเครดิตศาลโดยทำการพิจารณาเยี่ยงตัวเองเป็นศาลเสียเอง น่าสงสารคนไทยจริงๆที่อำนาจอยู่ในมือ


ร่างพ.ร.บ.ปรองดองนั้น เนื้อหาของร่างดังกล่าวมีความชัดเจนอยู่ในตัว เรื่องการลบล้างผลของการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้น และลบล้างความผิดที่มีคำพิพากษาตามกฎหมายของศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างไรก็ดี เป็นที่ชัดเจนซึ่งได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ทางกฎหมายของบ้านเรา ตั้งแต่มีระบบศาลยุติธรรมและการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยยืมคำจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาที่บอกว่า เรื่องทำนองนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทยหรือในโลก ที่มีกฎหมายของสภาตราขึ้นเพื่อลบล้างคำวินิจฉัยศาลสูงสุดที่ได้วินิจฉัยสิ้นสุดเด็ดขาดไปแล้ว

ยกเว้นในอดีตที่มีการออกกฎหมายของประเทศเยอรมัน ล้มล้างผลคำวินิจฉัยของระบบศาลสมัยฮิตเลอร์ครองอำนาจ แต่ไม่ใช่เรื่องลบล้างผลคำพิพากษาเฉพาะกรณี โดยไม่ได้ไปแตะต้ององค์กรศาล เพราะฉะนั้น เรื่องนี้มีเป็นครั้งแรกในโลก
เก่งจังนะไปตัดสินคนอื่น เก่งกว่าศาลอีก

รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้บัญญัติในมาตรา 198 วรรคสอง ระบุว่า ห้ามไม่ให้มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีเฉพาะ คือ คดีใดคดีหนึ่งที่มีอยู่นั้น ต้องพิจารณาไปโดยที่ศาลตั้งขึ้นก่อนหน้านั้น รวมถึงห้ามตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาเฉพาะคดี

ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าว ประสงค์ไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติแทรกแซงอำนาจตุลาการ แต่การกระทำใดจะมีความผิดหรือไม่ ต้องให้ศาลที่มีอยู่แล้ว ที่ไม่ได้ตั้งมาเพื่อการนั้น เป็นผู้พิจารณาพิพากษาให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทางกลับกันการตราพระราชบัญญัติเฉพาะ และยกเว้นคำพิพากษาเฉพาะกรณี ต้องดูความมุ่งหมายจากมาตราดังกล่าว

ตัวร่างดังกล่าวยังได้กำหนดเนื้อหาให้ลบล้างของผลการกระทำขององค์กรต่างๆที่ตั้งขึ้น เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ปี 2549 และ 2550 เป็นการขัดหลักการสำคัญที่อยู่ในมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งการพิพากษาของศาลฎีกา ทั้ง 2 คดี ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เช่น ที่ดินรัชดา และการยึดทรัพย์สินนั้น ซึ่งการลบล้างผลดังกล่าวนี้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบภาระในการใช้งบประมาณแผ่นดินที่จะต้องให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินตั้งแต่ต้น แต่การประชุมคณะกรรมาธิการ 35 คณะ สรุปว่าไม่เป็นการเงิน เปรียบเสมือนกับการชี้หมาให้เป็นแมวได้

ส่วนประเด็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291/1 นั้น อยากเรียนว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถือเป็นฉบับเดียวที่ผ่านกระบวนการการลงประชามติ ตั้งแต่มีระบอบนี้ใช้ปกครองประเทศเป็นต้นมา ดังนั้น รัฐธรรมนูญปัจจุบันจึงเป็นฉบับเดียวที่มาจากอำนาจอธิปไตยโดยตรงของเจ้าของอำนาจ คือ ประชาชน

ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ 2550 มีรากฐานมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 แต่หลักการทั่วไปและเป็นที่ยอมรับในวงนักกฎหมายและนักการเมือง หลักการพื้นฐาน 4 ประการ คือ

1. ราชอาณาจักรอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแยกไม่ได้
2. ประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. สิทธิเสรีภาพประชาชนและการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ
4. การควบคุมตรวจสอบอำนาจและองค์กรผู้ใช้อำนาจ

หน้าที่ผู้แทนมี 2 อย่าง คือ ตรากฎหมายและควบคุมตรวจสอบรัฐบาลเท่านั้น จะมีอำนาจล้มล้างอธิปไตยโดยตรง ที่ประชาชนแสดงออกผ่านการลงประชามติ แน่นอนรัฐธรรมนูญแก้ไขได้ตามสภาความเป็นจริงทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป แต่รัฐธรรมนูญที่มาจากเจ้าของอธิปไตยโดยตรง หากจะแก้ไขจะต้องแก้ด้วยกระบวนการอะไร

"คำตอบที่ตรงไปตรงมาและถูกต้อง คือ ใครที่มีอำนาจสถาปนา ผู้นั้นย่อมมีอำนาจล้มล้างซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของระบบกฎหมายมหาชน เพราะฉะนั้น กระบวนการดังกล่าวกลับหัวกลับหางกัน เพราะบอกว่าผู้แทนประชาชนแสดงเจตนาขัดต่อเจตนาของเข้าของอำนาจอธิปไตย ที่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และบอกจะไปทำกระบวนการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่มีการแก้ไขโดยผ่านการลงประชามติมาแล้ว พอทำอะไรเสร็จจะกลับไปถามใหม่

แทนที่จะเป็นกระบวนการร่างให้เสร็จ และเอาร่างทั้งฉบับไปถามกับประชาชนใหม่ว่าจะรับหรือไม่ ซึ่งกลับปรากฏว่าข้ามขั้นตอนดังกล่าวไป ดังนั้น แนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และความจะเป็นเชิงทฤษฎีของระบอบการปกครองแบบนี้ คือ จะต้องไปลงประชามติก่อนว่าจะแก้หรือไม่ แล้วนำไปสู่กระบวนการแก้ไข
นอกจากนี้ ฐานเดิมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาประชุมร่วมกันเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ โดยอ้างความเป็นตัวแทนประชาชน แต่คราวนี้ไปไกลถึงว่า ทั้ง 2 สภาจะมีมติให้แก้ โดยให้สภาที่ 3 คือ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเลือกมาเป็นตัวแทนจากประชาชน ให้สภาที่ 3 ไปแก้ โดยไม่มีกรอบความคิดและไม่มีเงื่อนไขใด แล้วแต่ส.ส.ร.จะมีมติ ดังนั้น คิดว่าแนวทางดังกล่าวจึงมีปัญหาอยู่มาก เมื่อเทียบกับหลักการพื้นฐาน

“มองได้ว่าสภากำลังให้เช็คเปล่ากับส.ส.ร.โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ซึ่งมันไปไกลยิ่งกว่าการใช้อำนาจอธิปไตย โดยผู้แทนที่อ้างเป็นฐานมาตั้งแต่ต้นเท่านั้น”

ดังนั้น คำถามสำคัญ คือ หลักการพื้นฐาน 4 ประการ ยังคงมีอยู่หรือไม่ในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะถูกร่างขึ้นมาใหม่ คำตอบคือ แล้วแต่ ส.ส.ร. แม้แต่ตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ ก็ไม่สามารถตอบได้ รวมทั้งฐานอำนาจส.ส.ร.มาจากที่ใด อีกทั้ง การดำเนินการดังกล่าวอาจละเมิดอำนาจสูงสุดซึ่งมาจากการลงประชามติจากเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่ และมันจะเป็นการทำลายระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นปรปักษ์ต่อระบอบรัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นปัญหาคำวินิจจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีผู้มาใช้สิทธิร้องตามมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญสงสัยว่า คำร้องนี้มีนัยยะหรือนำไปสู่การดำเนินการที่เป็นปฏิปักษ์กับกติกาที่รัฐธรรมนูญวางเอาไว้ ก็ให้มีการตัดสิน ทั้งนี้ บทบัญญัติ มาตรา 68 ถือว่าสมัยใหม่ และเกิดมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งอยู่ในมาตรา 63 โดยมีเนื้อหาและข้อความทำนองเดียวกัน ถามว่าเจตนาคืออะไร คือตั้งใจให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีฐานะเป็นกฎหมายสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าแนวทางขณะที่ร่างที่บอกว่าส่งเรื่องให้อสส.ก่อนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เห็นได้ 2 ทาง คือ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยตีความ และอาจรับเรื่องโดยตรงได้ แน่นอนว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการยกร่าง แต่ถามว่าถ้อยคำตามกฎหมายที่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กับเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญให้มันทำให้ตีความเช่นนั้นได้และเป็นอย่างนั้นโดยปกติในทางกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดตีความกฎหมาย เพราะฉะนั้น ศาลย่อมมีอำนาจควบคุม และเรื่องดังกล่าวถือว่าใหญ่มาก เพราะไม่ใช่การตีความกฎหมายปกติ ว่าการกระทำละเมิดหรือไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งรัฐมนตรี ของนายกรัฐมนตรี เป็นการประชุมสภาหรือไม่ กฎหมายนี้เป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ถ้าองค์กรนิติบัญญัติร่างกฎหมายออกมา และมีเนื้อความละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลก็เป็นผู้มีอำนาจที่จะประกาศว่ากฎหมายฉบับนั้นละเมิดรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจ ศาลต้องเป็นผู้มีอำนาจ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ล็อกเรื่องนี้ไว้พิจารณา เพราะเกรงว่าอาจเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญ เป็นคำวินิจฉัยที่จะมีผลมหาศาล รวมทั้งเป็นการวางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่สำคัญเทียบเท่ากับคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดของอเมริกาเมื่อปี 1803 และศาลฎีกาไทยเมื่อปี 2489

ส่วนประเด็นการถกเถียงกันอยู่ของนักกฎหมายว่าศาลมีอำนาจหรือไม่ เป็นการจงใจลืมไป ว่าทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับในทางกฎหมายอยู่แล้ว และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้รับเรื่องไว้พิจารณานั้น จึงอยากตั้งคำถามกับการรับเรื่องผ่านหรือไม่ผ่านอสส. แต่กฎหมายชัดเจนว่า คนที่มีอำนาจวินิจฉัย คือ ศาล และศาลมีอำนาจตีความ เพราะพื้นฐานรองรับการตีความกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 68 อีกทั้ง คำวินิจฉัย คือ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยขั้นตอนต้นเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะตรวจสอบการดำเนินการละเมิดหลักการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ในการเป็นปรปักษ์กับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลยังไม่คำพิพากษา และถามว่าศาลใช้อำนาจผิดพลาดหรือเกินขอบเขตนำไปสู่อะไร คือ เราจะต้องเคารพคำพิพากษาของศาล และต้องปฏิบัติตาม

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่อัยการสูงสุดออกมามีคำวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่าย ก็ไม่มีผลอะไรเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปแล้วว่าการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญทำได้ 2 ช่องทาง ส่วนคำสั่งจะมีผลผูกพันต่องค์กรอธิปไตยอื่นหรือไม่นั้น รัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย ศาล คณะรัฐมนตรี รวมถึงองค์กรอิสระทั้งหลาย เพราะต่างมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้

การที่ศาลบอกว่าให้รอการพิจารณา การดำเนินการในชั้นต่อไปเป็นดุลยพินิจของรัฐสภา จะดำเนินการอย่างไรต่อไป เมื่อศาลไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดของคดี ขอบเขตการผูกพันรับผิดชอบมีน้อย กว่าการที่ศาลได้วินิจฉัยเด็ดขาด เพราะรัฐธรรมนูญรองรับไว้แล้วว่าผูกพันทุกองค์กร

สุดท้าย
“ถ้าสภาลงมติในวาระที่สาม ไปในทางเห็นชอบ กระบวนการต่อไปที่กำหนดในมาตรา 291 วรรคท้าย สภาก็ต้องเสนอให้พระมหากษัติรย์ลงพระปรมาภิไท นื่คือขั้นตอนต่อไป โดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้วว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญก็ได้ จึงให้มีการไต่สวน เพราะฉะนั้น ถ้าสภาลงมติรับวาระที่สามของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายใน 20 วัน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาข้างหน้าหากสภาลงมติเรื่องนี้ มันก็คือเสนอเรื่องไปให้พระมหากษัตริย์ต้องตัดสินใจเลือก ว่าพระมหากษัตริย์จะทำตามศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่าต้องรอการพิจารณาไต่สวน หรือ จะลงพระปรมาภิไทตามที่รัฐสภามีมติ ซึ่งเป็นการสร้างความลำบากใจต่อประมุขของรัฐ”นายสุรพล กล่าว

โดยสถานการณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่การหลีกเลี่ยงสถานการณ์จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงในบ้านเมือง จึงเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ความเป็นจริงนั้น คืออำนาจของคน 3 คน คือ ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา กับผู้มีอำนาจเหนือรัฐสภาที่อยู่ต่างประเทศ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของประธานสภา และประธานวุฒิสภา ในฐานประธานสภาใช้ดุลยพินิจเรื่องนี้ ในทางที่เหมาะสม จะกำหนดให้สภาลงมติทางหนึ่งทางใด









ของกลุ่มคนที่เห็นแก่ตัว บริหารบ้านเมืองเป็นเหมือนของเล่นที่ใช้เงินที่โกงซื้อมา แล้วก็เล่นให้มันพังไป
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง