บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“ขออย่าให้การปฏิรูปหลงทางอีกเลย”

โดย Prida Kunchol
เป็น ข้อความทิ้งท้ายของบทความเรื่อง”ระวังปฏิรูปหลงทาง” ที่เขียนโดยอาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันศุกรที่ 22 กันยายน 2549 หลังจาก คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำ รัฐประหารรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพียง 3 วัน เป็นคำเตือนสติของอาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ให้คณะรัฐประหารนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นมิให้ปฏิรูปการเมืองหลงทางอีก หลังจากที่รัฐบาลชวน หลีกภัย และ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประสบความล้มเหลวปฏิรูปการเมืองอย่างซ้ำซากนับจากมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการ เมือง พ.ศ. 2540 ต่อเนื่องกันนานถึง 9 ปี

ชื่อของคณะรัฐ ประหารชี้ให้เห็นความต้องการปฏิรูปการเมืองเช่นเดียวกับความมุ่งมั่นของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้ที่รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยไม่ลงคะแนนให้ผู้ใด(Vote No)ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554 โดยมีเป้าหมายให้ปฏิรูปการเมือง อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารและรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง สาเหตุเป็นเพราะ 1. ขาดความรู้ต้นเหตุที่โลกปฏิรูปการบริหาร 2. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดคุณสมบัติ 3. กระบวนการปฏิรูปการเมือง(Reinventing Government Process)ผิดขั้นตอน

1 ขาดความรู้ต้นเหตุที่โลกปฏิรูปการบริหาร: เมื่อไม่มีความรู้สาเหตุที่โลกต้องปฏิรูปการบริหารทำให้รัฐบาลไทยไม่สามารถ ปฏิรูปที่ต้นเหตุ จึงพบแต่ ความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศทุกเรื่อง เช่น ความล้มเหลวปฏิรูปการศึกษาจนต้องให้มีการปฏิรูปทศวรรษที่สอง...ความล้มเหลว ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่มีคุณภาพ และความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมือง

สาเหตุที่โลกปฏิรูปการบ ริหาร: เกิดจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง (Edwards W. Deming) เมื่อต้นทศวรรษ 1970s พบว่า การทำงานของ”คน”มีประสิทธิภาพไม่เกิน 15% เท่านั้น อีก 85% ขึ้นอยู่กับ ”ระบบ”(System) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารว่าออกแบบระบบได้ดีแค่ไหน ต้นเหตุจึงอยู่ที่”ระบบ”อันเป็นหัวใจของการปฏิรูปการบริหารหรือปฏิรูปการ เมือง ดังนั้น ความสำเร็จของการปฏิรูปการเมืองจึงอยู่ที่ความสามารถของรัฐบาลในการออกแบบ ระบบที่ดี เพราะ”ระบบ”.เป็นพื้นฐานที่ทำให้ความต้องการของประชาชนเป็นความจริงอย่าง ยั่งยืน

การสร้างระบบที่ดีไม่ควรใช้วิธีการเก่าด้วยการแต่ง ตั้งคณะกรรมการให้ช่วยกันคิดดังที่รัฐบาลนิยมทำเช่นนี้อย่างจำเจและล้มเหลว อย่างซ้ำซาก... วิธีออกแบบระบบที่ดีให้สำเร็จ คือ การเสาะหาระบบที่ดีที่สุด(ของโลก)เพื่อนำมาเป็นตัวอย่าง(Benchmarking Best Practices) ระบบที่ดีชุดเดียวกันสามารถใช้ปฏิรูปทั้งการเมือง ปฏิรูปแผนเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งปฏิรูปการศึกษาแล้ว ระบบดีชุดนี้ยังใช้ปฏิรูปการบริหารของรัฐสภา และปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจได้ด้วย โดยใช้โครงร่างองค์กร(Organizational Profile)อันเดียวกัน และใช้ระบบที่ดีชุดเดียวกันคือ “ระบบงาน” และ “กระบวนการทำงาน”รองรับทุกหมวด(Categories and items)ในโครงร่างองค์กร หากขาดหรือไม่สามารถออกแบบระบบที่ดีทั้ง 2 รายการนี้ได้แล้ว การบริหารระบบจะยากลำบาก

ระบบงาน (Work Systems): หมาย ถึงระบบที่สร้างความสำเร็จให้การทำงานในองค์กร เป็นระบบแสดงขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน(Documented Procedures)ที่ชี้เป้าหมาย(Purpose)แต่ละเรื่องไว้ชัดเจน ระบบงานทำหน้าที่ได้ถึง 4 ประการคือ 1.ใช้ระบบเป็นแผนงาน(Plan)ที่แสดงวิธีปฏิบัติตามแผน 2. สามารถใช้ระบบตัวนี้แสดงวิธีปฏิบัติงาน(Do) 3.ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจประเมิน(Check)โดยประเมินที่ระบบงานและกระบวน การทำงาน 4.ใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพ(Act for Improvement)ที่ได้จากการประเมินตาม ข้อ 3.....ระบบงานยังมีประโยชน์ในการป้องกัน(Prevention) เช่น ป้องกันนักการเมืองโกงชาติได้...“ระบบงาน”ป้องกันการเลือกตั้งทุจริตได้ดี กว่า “คน” เมื่อท่านต้องการป้องกันปัญหาอะไร ก็ให้ระบุไว้ในระบบ

กระบวนการทำงาน (Work Processes): เป็นเอกสารที่แสดงลักษณะงานทุกตำแหน่งในองค์กร ซึ่งเอกสารนี้เป็นพื้นฐานที่ดีในการวัด วิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ ยกระดับคุณภาพงานขององค์กรให้สูงขึ้นซึ่งหมายถึงการยกระดับความสามารถแข่ง ขัน...กระบวนการทำงานแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของงานที่เป็นประเด็นในการปรับ ปรุง (Key Work Process Requirements) เพื่อให้การวัดหรือการชี้วัด(Measures or Indicators)ในการปรับปรุงทำได้ง่าย...สำหรับการบริหารกระบวนการทำงานให้ ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีปฏิบัติที่แสดงใน ระบบงาน (Work Systems)

2. แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดคุณสมบัติ: การ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 น่าจะสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปการเมืองได้ หากมีการแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติความรู้เรื่องการบริหารระบบงาน และ กระบวนการทำงาน ดังกล่าวร่วมในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการบริหารระบบดังกล่าวคือความสำเร็จในการปฏิรูปการเมือง

3. ขั้นตอนกระบวนการปฏิรูปการเมือง (Reinventing Government Process): ได้แก่การสร้างหรือออกแบบระบบ(System Design)ก่อนอื่น อันได้แก่ระบบงาน และ กระบวนการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ประเทศมีการบริหารระบบตามมาตรฐานสากล...ขั้น ตอนที่สร้างความสำเร็จของการปฏิรูปการเมือง นอกจากการออกแบบระบบให้ได้ระบบที่ดีโดยการเปรียบเทียบกับระบบดีที่สุดของ โลก(Benchmarking Best Practices)แล้ว... ยังต้องจัดโครงสร้างให้เป็นระบบ(Organization as a system) และมีระบบการวัด/วิเคราะห์(Measurement, Analysis) มีผลให้ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อประเทศมีความสามารถแข่งขันให้ประชาชนพอใจด้วย

การปฏิรูปการเมืองคืออะไร: คือ เปลี่ยนการบริหารภาครัฐจากการบริหารสมัยเก่า (Bureaucracy) ที่ขาดระบบ ไปสู่การบริหารที่มีระบบ หรือ การบริหารคุณภาพ TQM (Total Quality Management) เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน

                             เมื่อมหาชนไม่ประสงค์เลือกนักการเมืองผู้ได(Vote No)ในวันเลือกตั้งทั่วไปที่ 3 กรกฏาคม 2554 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีการปฏิรูปการเมืองแล้ว...การปฏิรูปการเมือง ไม่หลงทางอีกตามความเป็นห่วงของอาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เมื่อใช้วิธีการบริหารระบบข้างต้นซึ่งเป็นวิธีปฏิรูปการเมืองของนานาชาติ 

ว่าที่นายกหญิงคนแรกของประเทศไทย


 ปู กับ กี้ 

  (ขอความกรุณา ห้ามผวนโดยเด็ดขาดครับ )

สัมภาษณ์...'น.อ.ดร.สมัย ใจอินทร์' พรรคการเมืองชูนโยบายพลังงานแค่ 4 บรรทัด

SHARE STORE:00digg
 


"ผมได้ไปดูข้อมูลตามเว็บไซต์ของทุกพรรคแล้ว

พบว่า บางพรรคมีนโยบายด้านพลังงานเพียงแค่ 4 บรรทัด

4 บรรทัดกับการบริหารจัดการด้านพลังงานที่มีค่าใช้จ่าย 1.8 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา”

 

ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ ใน พ.ศ.นี้ ไม่ว่าจะพรรคเล็ก พรรคใหญ่ต่างเปิดตัวแคมเปญสวยหรู ลด-แลก-แจก-แถมกันเต็มสูบ หวังซื้อใจประชาชนชุดใหญ่ ขณะเดียวกันก็ผุดนโยบายใหม่ๆ รายวัน ชนิดที่ว่า อันไหนดี เด็ด ดัง สร้างกระแสได้ ก็จับไมค์ ประกาศทันที

แต่ทว่า นโยบายหนึ่งที่ดูเหมือนจะเงียบเหงา และยังไม่มีพรรคไหนหยิบขึ้นมาขายเลย นั่นก็คือ นโยบายด้านพลังงาน นาวาอากาศเอก ดร.สมัย ใจอินทร์ นักวิชาการด้านพลังงาน กูรูผู้คร่ำหวอดกับการศึกษาวิจัย ทดลองด้านพลังงานทดแทน รับอาสาเปิดข้อมูลให้กับ  "ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย" หลังจากไล่ดูทุกเว็บไซต์ของทุกพรรคการเมืองแล้ว 

@ คิดยังไง กับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง ด้านพลังงาน 

...เวลานี้กระแสประชานิยม กระแสนิรโทษกรรม กลบกระแสอื่นๆหมด 

วันนี้ไม่มีใครพูดถึงความอ่อนแอ หรือปัญหาในเชิงโครงสร้างเลย ไม่ว่าจะนโยบายด้านพลังงาน เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเรื่องของการต่างประเทศ ไม่มีใครพูดว่าก้าวจากนี้ไปในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ประเทศจะมีทิศทางอย่างไร

@ อะไรที่ทำให้พรรคการเมืองไม่ค่อยมีนโยบายด้านพลังงาน

(ตอบสวนทันที) เขามีนะ แต่ขึ้นอยู่กับว่า มีแล้วผลักดันให้ใช้มากน้อยแค่ไหน เพราะเท่าทีติดตาม พอแถลงต่อนโยบายรัฐสภาเป็นคนละเรื่องกันเลย 

@ ถ้าอย่างนั้น ความเป็นไปได้ของนโยบายด้านพลังงาน ในแต่ละพรรคจะเป็นอย่างไรนั้น

ขณะนี้ก็ชัดเจนว่า "นิวเคลียร์" ไม่มีพรรคไหนเอาด้วยสักพรรค เพราะปัญหาที่ฟูกูชิมา ความเสี่ยง รวมถึงด้านการลงทุน มีมากเกินไป ดังนั้น นโยบายช่วงต่อไป นิวเคลียร์ก็คงไม่เกิด

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องกลไกการบริหาร ผมคิดว่าวันนี้ ยังไม่มีการตอบคำถามเชิงโครงสร้างหลายเรื่อง นโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ได้มีความแตกต่างกันในหลักคิดเลย ใครเข้ามาต้องอุ้มราคาน้ำมันดีเซล เพราะกลัวเสียคะแนนใครเข้ามาก็ต้องอุ้มแอลพีจี เพราะกลัวว่าราคาสินค้าจะขึ้น

แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และเป็นปัญหาที่ต้องพูดตรงๆ ว่า ตราบใดที่เป็นรัฐบาลผสม (ซึ่งก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นรัฐบาลผสม) การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้ก็คงมีลักษณะ ‘ดึงกันไป ดันกันมา’ ในที่สุด นโยบายก็คงทิศทางเดิม 

ที่นี้ ทิศทางเดิมๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ จะมีหน้าตาอย่างไร ก็คงใช้ได้คำเดียวว่า เหมือนปัจจุบัน

นั่นคือ ในเรื่องน้ำมันก็ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการตลาด ที่วันนี้ ปตท. คุมตลาดหลักๆ ของน้ำมันและก๊าซไว้หมดแล้ว ส่วนในเรื่องของก๊าซ ที่ผ่านมาก็ถือว่า บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ใช่ว่าจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป 

เพราะในช่วงใกล้หมดอายุของรัฐบาลหน้า สมมุติว่า หากอยู่ครบ 4 ปีก็ประมาณปี 2559 ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะเริ่มพร่อง!!

ถึงวันนั้นผมคิดว่า เราคงต้องพึ่งก๊าซจากประเทศเพื่อนบ้านหรือพม่ามากขึ้น เพราะก๊าซเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ชนิดที่ว่า ไฟฟ้าในบ้านเรา 70 เปอร์เซ็นต์มาจากก๊าซ และถึงแม้ว่า การใช้ก๊าซจะไม่ถูกทางที่สุด แต่ก็เป็นมาตรการที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไทย ขณะเดียวกัน โครงสร้างหลักๆ ดังกล่าว นโยบายของรัฐก็ไม่ได้เข้าไปมีส่วนกำกับอะไรมาก

@ คิดอย่างไรกับการตรึงราคา

เป็นเรื่องผิดพลาดมาก รู้ทั้งรู้ว่าเป็นนโยบายชั่วคราว ทำได้ไม่ตลอด ทำแล้วก็ต้องเลิก ยิ่งพอทำนานเข้าจะเลิกก็เลิกไม่ได้ เพราะกลายเป็นว่า ฝั่งไหนเลิก ฝั่งนั้นโดน

@ นโยบายด้านพลังงานของพรรคไหนที่เข้าตาบ้าง หรือจะทำได้จริงบ้างไหม

ทุกพรรคก็พรรณนาไว้สวยหรูหมด จะทำพลังงานทดแทนให้ดี ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่า ดี แต่เอาเข้าจริงก็จะเหลือแค่ 4-5 ข้อทุกที ดังนั้น ผมว่า พูดแล้วต้องทำด้วย ไม่เช่นนั้น ผมว่าสักวันน่าจะต้องมีคนเอาสิ่งที่พรรคการเมืองแถลงต่อสภาขึ้นศาลปกครองซักที...(ตอบด้วยน้ำเสียงหนักแน่น)

แต่อย่างน้อยที่เขียนๆ กันมา ผมก็จำไม่ค่อยได้นะว่าพรรคไหนที่บอกว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการใช้พลังงานทดแทนของทวีปเอเชีย จะเป็นแนวหน้าให้ได้ ซึ่งจริงๆ ประเทศไทยก็เกือบจะเป็นอยู่แล้ว แต่ใจเราไม่ถึงพอ ไม่ว่าจะใจของรัฐบาลหรือข้าราชการประจำเองก็ตาม

พูดตรงๆ บ้านเรามีข้าราชการประจำเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ แต่ข้าราชการประจำต่างๆ ไม่มีใจ อย่างเช่น แค่นโยบายในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีรถยนต์ ประเทศไทยยังไม่มีเลย 

ส่วนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ผมมองว่าขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลไหนจะหยิบจับอะไรขึ้นมาทำให้เป็นรูปร่าง เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนแค่ไหน อย่างเช่นกรณีการสร้างระบบขนส่งทางราง รถไฟรางคู่ รถไฟชานเมืองจะใช้ได้เมื่อไหร่ ระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ๆ ที่ไม่ใช่แค่กรุงเทพ แต่รวมไปถึงพื้นที่ภาคอื่นจะทำอย่างไร เพราะเห็นมีแต่คนพูด แต่ไม่มีใครทำสักที  

ผมจึงเน้นว่า เรามีคำถามเชิงโครงสร้างหลายเรื่อง เช่น แม้วันนี้เราจะมีคณะกรรมการกำกับพลังงาน ซึ่งทำหน้าที่จะดูแลว่าค่าไฟฟ้า ใบอนุญาตในการก่อตั้งโรงไฟฟ้า แต่ก็ต้องชั่งใจและเข้าไปดูองค์ประกอบกันอีกที่ว่า กรรมการแต่ละคนมีที่มาจากไหน ซึ่งส่วนใหญ่ก็พบว่า มาจากข้าราชการประจำ ผู้มีหน้ามีตา มีฐานะทางสังคมขั้นสูงทั้งนั้น

คำถามต่อไปคือ มีเสียงประชาชนอยู่บ้างไหม 

ขณะเดียวการบริหารรัฐวิสาหกิจเรื่องพลังงาน ไม่ว่าจะในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง รวมถึงภาคการขนส่ง ทั้งขนคน ขนสินค้า อย่าง ขสมก. การรถไฟ ผมว่าถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด  ปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหาร รื้อระบบเสียใหม่ แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีใครพูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย  

@ ดูเหมือนทุกพรรคจะแตะแต่เรื่องผิวเผิน

ใช่ครับ... จริงๆ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสื่อ เป็นหน้าที่ของประชาชน เวลาตั้งคำถามกับนักการเมืองหรือพรรคการเมือง แทนที่จะถามว่า เสื้อดำฆ่าประชาชนทำไม

ต้องเปลี่ยนมาถามว่า จะดูแลประชาชนในเรื่องพลังงานอย่างไร ?

เพราะวันนี้ต้นทุนสำคัญที่สุดของประเทศไทย 18 % ของจีดีพีคือ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ฉะนั้น จึงเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทุกคน นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ปีไหนที่ค่าใช้จ่ายพลังงานเกิน 18% ปีนั้นจะเกิดวิกฤตทางการเมือง 

“ปี 2549 มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน 18.4%  ปี 2551 มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน 18.47% ส่วนที่ปีนี้ผมทำนายเลยว่าเกิน 18.5% แน่ๆ แต่ก็ยังทำนายไม่ได้นะว่า จะมีวิกฤตทางการเมืองอีกหรือไม่”

@ ทิศทางด้านพลังงานของประเทศไทยจะอย่างไรต่อ

พูดตรงๆ ผมว่า เราคงไม่ได้เห็นการตัดสินใจในเชิงโครงสร้างต่างๆ รวมทั้งการบริหารในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงาน เพราะรัฐในวันนี้ยังติดโรคประชานิยมกันอยู่ ดังนั้น หากจะแก้โรคดังกล่าว ต้องมองปัญหากันยาวๆ เช่น หากคิดจะควบคุมราคา ก็ต้องควบคุมกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แต่ต้องตั้งเป้าในการแก้ไขไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่มั่วแต่ชักช้าหรือเลื่อนการตัดสินใจออกไปเรื่อยๆ เพราะปัญหาจะหมักหมม กระทั่งในที่สุดเกิดเป็นถึงจุดวิกฤตที่อาจแก้ไขได้ เหมือนกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 

ส่วนการบริหารพลังงาน กรณี LPG นั้น ผมว่า....ในทางเทคนิค เราสามารถแยกได้ตลาดอุตสาหกรรมยานยนตร์กับภาคครัวเรือนออกจากกันได้ กอปรกับเมื่อเราอยู่ในระบบเสรีนิยม ก็ควรต้องเปิดโอกาสให้ทุกบริษัทขึ้นมาแข่งขันกันได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เปรียบ

แต่ทั้งนี้ คงต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความเด็ดเดี่ยวทางการเมือง ในการบริหารกิจการโครงการพลังงานต่างๆ 

แต่ในความเป็นจริง คงต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมก๊าซ น้ำมันในบ้านเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันมียักษ์ใหญ่อยู่ ซึ่งจะแยกยักษ์ใหญ่ออกจากตลาดก็เป็นเรื่องยาก ต้องใช้ความกล้าอย่างมาก (ลากเสียง)

ซึ่งก็ผมไม่เชื่ออย่างสนิทใจว่า ไม่มีพรรคการเมืองไหนกล้าหักแน่นอน เพราะอย่างที่รู้กัน บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่มีเงินมากกว่ารัฐบาลอีก แต่ผมอยากชี้ว่า สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อรัฐ เพราะการให้คนกลุ่มหนึ่งไม่เกิน 11-12 คน คุมเงินมากกว่ารัฐบาลทั้งรัฐบาล

(ย้ำ) ไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน ดังนั้น ถึงเวลาที่จะต้องแยกกันให้ขาด ตลาดจะได้เกิดการแข่งขัน ผู้บริโภคจะได้รับการดูแล ไม่เช่นนั้น คนไทยก็คงหลีกกับดักประชานิยมไม่พ้น

@ มีส่วนหรือไม่ที่นโยบายพลังงานเทียบชั้นกับ ‘ประชานิยม’ ไม่ได้

คงไม่ถึงขนาดนั้น ผมว่าถ้ามองให้ทะลุและหาคำตอบที่เหมาะกับประเทศไทย มันมีทาง

ยกตัวอย่างเช่น วันนี้แม้เราจะมีพลังงานเชื้อเพลิงที่หลากหลาย แต่ก็เป็นทางเลือกที่แพงทั้งนั้น

ที่นี้เอาใหม่ หันมาพัฒนาแก๊สโซฮอล์ จากมันสำปะรัง อ้อย ซึ่งเป็นผลผลิตภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง ผมว่า รัฐอยู่ได้ แถมยังเป็นการสร้างทางเลือก สร้างความยุติธรรมให้กับผู้บริโภค ดังนั้น หากจะผลักดันนโยบายพลังงานทดแทน ให้เป็นพลังงานหลักของประเทศ ผมเชื่อว่าทำได้อยู่แล้ว

เพราะอย่างจากเยอรมัน ประกาศยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดภายใน 10 ปีข้างหน้า เขาก็ใช้มาตรการหนึ่ง คือผลักดันพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลัก จากเดิม 20% ก็จะขยับให้เป็น 35% ซึ่งก็ทำได้ แต่ก็อย่างที่ว่า ต้องใช่ความมุ่งมั่นทางการเมือง

@ พรรคการเมืองต้องชูนโยบายด้านพลังงานอย่างไร ถึงจะตอบโจทย์ประเทศไทย

(นิ่งคิด..) ผมว่าสิ่งที่ต้องชัดเจนคือ...

หนึ่ง นโยบายพลังงาน โดยเฉพาะด้านการขนส่ง ต้องมีนโยบายชัดเจนว่า กรณีของเอทานอล แก๊สโซฮอล์ รวมถึงยานยนต์ที่มาใช้พลังงานดังกล่าวจะเอาอย่างไร  

สอง เมื่อตลาดน้ำมันดีเซล เป็นตลาดใหญ่ของประเทศ ดังนั้น ควรที่จะมีนโยบายเรื่องการผลิตไบโอดีเซลขึ้นมาทดแทน ทั้งนี้ จะมองประเด็นดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงเรื่องการขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม รวมถึงการควบคุมอย่างไรให้ยั่งยืน คำตอบเหล่านี้ต้องชัด

สาม โครงสร้างตลาดของก๊าซธรรมชาติ จะบริหารผ่าน ปตท. ต่อไปหรือจะแยกออกมา จะเปิดโอกาสอย่างในประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่น ที่บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าทุกแห่งสามารถซื้อก๊าซธรรมชาติได้ด้วยตนเองหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องน่าคิด

สี่ นโยบายขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะโครงการรถไฟฟ้า รถใต้ดิน หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงการขนส่งคน ผมว่าต้องฟังแต่ละพรรคว่ามีนโยบายอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้คือ ค่าใช้จ่ายหลักของคนทั้งประเทศ 

ห้า ด้านโลจิสติกส์ของไทยที่ตายไปพร้อมๆ กับการรถไฟแห่งประเทศไทย อีกทั้งไม่มีวี่แววว่าจะฟื้น เพราะไม่มีใครไปจับมาเป็นประเด็น ปล่อยเลยตามเลย เพราะทุกคนกลัวแรงกดดันกันหมด

หก ถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำ เพราะเป็นช่องทางที่มีค่าขนส่งถูกที่สุด เพื่อลดต้นทุนลง สินค้าเกษตรจะได้มีราคาถูกตามไปด้วย 

“ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตั้งแต่พิจิตร พิษณุโลกลงมาถึงปทุมธานี เป็นที่ปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ทำดีๆ จะกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ ส่วนในพื้นที่ดอน เราก็ปลูกอ้อย จนขณะนี้ไทยส่งออกอ้อยเป็นอันดันสองของโลก ฉะนั้น วันนี้การขนส่งข้าว อ้อย น้ำตาล ต้องมีการแก้ไข ไม่เช่นนั้น การแข่งขันของไทยจะแย่ลง ชาวนาจะได้เงินน้อยลง ถึงเวลาที่ต้องคิดเรื่องโลจิสติกส์การเกษตรกันดู”

แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายต่างๆ ที่เขียนไว้ในนโยบายพรรค เมื่อมีการแถลงต่อสภา จะนำมาเป็นนโยบายรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งเมื่อผ่านไป 1 ปี 2 ปีจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา นโยบายที่เขียนไว้สวยหรู เวลาไปทำจริง ไม่เคยเป็นไปทำตามนั้นเลย บริหารกันไปวันๆ แบบถูลู่ถูกัง...

(ถอดหายใจ) ผมว่าแย่...

@ แล้วพลังงานทดแทนจะเป็นในรูปแบบใด

ผมคิดว่า ทุกวันนี้มีแต่คนวิ่งไปหาก๊าซ เพราะน้ำมันมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ  มีแต่คนรวยเท่านั้นที่มีสิทธิใช้น้ำมัน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เอาเป็นว่า ใครอยากใช้น้ำมันแพงนำเข้าจากซาอุดีอาระเบีย ใช้น้ำมันเบนซินซุปเปอร์ก็ใช้ไป ส่วนคนจนเราจะเอาแก๊สโซฮอล์ ก๊าซธรรมชาติมาให้ใช้

ซึ่งผมคิดว่ายุค 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคทองของการใช้เชื้อเพลิงก๊าซ ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง ฉะนั้น คำถามต่อไปคือ จะขนก๊าซกันอย่างไร จากอ่าวไทย ส่งมาภาคกลาง แล้วจะส่งต่อไปยังภาคเหนืออย่างไร เพราะเท่าที่มีอยู่ตอนนี้ชัดเจนว่าไม่พอ

ส่วนพลังงานทดแทนประเภทอื่น เช่น แสงอาทิตย์ ผมคิดว่าที่ผ่านมา เราไปผิดทางนิดหน่อย เพราะเราปล่อยให้มีการไปซื้อแผงโซล่าเซลล์ราคาถูกจากต่างประเทศมาผลิตไฟฟ้า จากนั้นก็ให้คนที่ใช้ไฟจ่ายเพิ่ม ซึ่งเรื่องดังกล่าว หากเป็นการพัฒนาในระดับเบื้องต้นก็พอรับได้ แต่เมื่อไหร่หากมียักษ์ใหญ่เข้ามาทำ ผมก็ชักกังวลว่า คนไทยจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ หรือจะไปกระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม

ทางกลับกัน หากเป็นไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่บ้านเราพัฒนาขึ้นเอง ผลิตขึ้นเอง และสามารถเพิ่มมูลค่า สร้างงานให้กับประเทศ อันนี้ผมเห็นด้วยเต็มที่

ส่วนในเรื่องพลังงานลม วันนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า หากเราออกแบบกังหันที่เหมาะกับขนาดลมในประเทศไทย ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ มีให้เห็นแล้ว เช่น โครงการชั่งหัวมันที่จังหวัดเพชรบุรี  หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ และมีการส่งเสริมให้นำไปใช้ในพื้นที่ต่างจังหวัด ทางภาคเหนือ บนดอยต่างๆ ก็จะทำให้ครัวเรือนขนาดเล็กพึ่งพาตนเองได้อีกด้วย

สุดท้ายผมว่า นโยบายเรื่องพลังงานทดแทนของไทยดีที่สุดในอาเซียน ดีที่สุดในเอเชียก็ว่าได้ มีแต่คนมาดูงานบ้านเรา แต่คงต้องรออีกนิด รอความมั่นคงของนโยบาย รอความเป็นหนึ่งทางการเมือง และนั่นจะเป็นโอกาสที่แท้จริง ยิ่งเฉพาะในวันที่ไทยประกาศชัดว่า ไม่เอานิวเคลียร์ คงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพลังทดแทน ไม่ว่าจะพลังงานแกลบ ลม แสงอาทิตย์ น้ำ หรือกระทั่งมูลสุกร เรียกว่ามีอะไรก็ต้องใช้ให้หมด

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลชุดถัดไป ไม่ว่าจะอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะต้องช่วยกันอย่างจริงจัง 

@ แล้วพรรคไหนที่มีวี่แววว่า จะเอาจริงเอาจังกับการบริหารจัดการด้านพลังงานมากที่สุด 

(นิ่งเงียบ) พูดยากมาก..

ทุกพรรคใหญ่เขียนนโยบายไว้ค่อนข้างดี ในทุกๆ ด้าน แต่เมื่อจัดตั้งรัฐบาลแล้วจะให้ความสำคัญกับข้อไหนก่อนหลังเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่หากรัฐบาลเป็นพรรค ชุดเดิมเหมือนสมัยที่ผ่านมา ผมว่าก็คงไม่น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร คงคล้ายๆ ของเดิม แต่หากมีการเปลี่ยนขั้ว ก็น่าติดตามเหมือนกันว่า ใครจะเข้ามานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และจะมีทิศทางอย่างไร

เบื้องต้นผมได้ไปดูข้อมูลตามเว็บไซต์ของทุกพรรคแล้ว พบว่า บางพรรคมีนโยบายด้านพลังงานเพียงแค่ 4 บรรทัดเท่านั้น ซึ่งก็ต้องพูดกันตรงๆ ว่าไม่พอ 

“4 บรรทัดกับการบริหารจัดการด้านพลังงานที่มีค่าใช้จ่าย 1.8 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา และในปีนี้อีกประมาณ 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้น จะบริหารงบประมาณของรัฐอย่างไร จะต้องแถลงให้ชัดเจน และทางที่ดีผมว่า น่าจะต้องมีการดีเบตกันนิดหน่อย

แต่แทนที่จะให้ผู้นำรัฐบาลอย่างคุณยิ่งลักษณ์ หรืออภิสิทธิ์มาดีเบตกัน ผมเห็นว่า ต้องให้ว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน พ่วงด้วย ว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจมาดีเบตกัน แต่ผมต้องขอวงเล็บด้วยนะว่า...อย่าเอานอมินีมา”

ผบ.ทบ.แนะอย่า เลือกคนเลว,จ้องล้มสถาบัน ซัดสื่อนอกระบบ"เหลือง-แดง"ปั่นหัวคนไทย แยก ยันหน่วย315 ไม่แทรกเลือกตั้ง เผย"สุเทพ"หารือก่อนออกทีวี




เมื่อ ประมาณ  14.00 น. วันนี้(14 มิ.ย.) หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีจึงกลับเข้าทำเนียบรัฐบาล โดยการพบครั้งนี้แจ้งรหัสวิทยุสื่อสาร (ว.) ว่า "วีไอพีทบ.1" เข้าพบ ไม่ใช้รหัสว "สร.2" ซึ่งหมายถึงรองนายกรัฐมนตรี เช่นปกติ 
จากนั้น พลเอกประยุทธ์ได้อัดเทปรายการสัมภาษณ์พิเศษ ชี้แจงบทบาทของกองทัพต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อนำออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และ ช่อง 7     
ผู้บัญชาการทหารบก เปิดใจถึงภารกิจหลักของกองทัพบกในสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ว่า ความเข้าใจทั้งในและนอกกองทัพ ตนคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์ภายนอกได้เข้ากด ดันที่กองทัพหลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง การทหาร หรือแม้กระทั่งจัดตั้งรัฐบาล หรือการทำงานตามพันธกิจต่าง ๆ ของกองทัพ ก็ได้ถูกกล่าวไปในทางที่จะทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นได้ในกองทัพบกด้วยกัน หน้าที่โดยตรงในการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดน ซึ่งมี 7 กองกำลังในการดูแลโดยปฏิบัติร่วมกันระหว่างทหารหลัก ทหารพรานและ ตำรวจตระเวนชายแดน ภารกิจอื่น ๆ คือการจัดระเบียบพื้นที่ตามแนวชายแดน การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นพันธกิจ 4 ประการ ที่กองทัพบกได้ดำเนินการอยู่ 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ มีมากหลายประการ กองทัพบกจำเป็นที่จะต้องเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไปเกี่ยวข้อง เช่นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงรับสั่งมาเป็นเวลา 30 ปีแล้วในการรักษาสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นหลัก และต้องพึ่งพาน้ำ ซึ่งมาจากฝนที่เกิดมาจากป่า หากเราไม่รักษาสิ่งเหล่านั้นไว้ ก็จะเกิดภัยพิบัติตามมาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมีผลมาจากไม่รักษาสภาพแวดล้อมที่เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ สิ่งที่กองทัพบกทำอยู่ทุกวันนี้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในเรื่องการดูแลพื้นที่ป่า จัดกำลังเข้าไปดูพิสูจน์ทราบ รวมถึงการป้องกัน และปราบปรามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่โดยตรง 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ขึ้นมาเช่น โครงการพลิกผืนป่าด้วยพระบารมี โครงการดับไฟฟ้าด้วยพระบารมี โครงการ 8,400 คูคลองสนองพระปณิธาน ปัจจุบันมีโครงการปลูกต้นไม้สร้างฝายขยายคูคลองสนองพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งได้เปิดโครงการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ จะเห็นว่ากองทัพพยายามเข้าไปดูแลมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราก็จะทำแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ โดยมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ 3 ส่วน มาพบกันในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่วนทหารก็มีหน้าที่ประสานงาน   และส่วนสุดท้ายคือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะเข้าไปดูแลในการพิทักษ์ปก ป้อง หากมารวมกันก็จะทำให้ภารกิจต่าง ๆ สำเร็จได้ด้วยดี 
ส่วนเรื่องการป้องกันยาเสพติดมีอยู่ หลายทีมงาน ทั้งศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก โดยมีทั้ง 7 กองกำลังตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันของรัฐบาล เรามีอยู่ 5 รั้วที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้มีการลักลอบนำสิ่งของผิดกฎหมายเข้ามา ที่ผ่านมาเราได้มีการจับกุมมีการปะทะอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการร่วมมือกันระหว่าง พลเรือนตำรวจ และ ทหาร แต่ปัจจุบันจากการพิสูจน์ทราบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามยาเสพติด (ปปส.) ที่รับผิดชอบโดยตรง ก็ได้หารือมาว่าปัจจุบันว่าทำมีการแพร่หลายของยาเสพติดในพื้นที่ตอนในมาก ขึ้น มีการจับกุมมากขึ้น จึงได้มาสำรวจดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น โดยปริมาณยาเสพติดที่แพร่หลายในประเทศประมาณ 35 % ส่วนที่เหลือก็อยู่บริเวณรอบนอกที่รอจะเข้ามาในพิ้นที่ตอนใน ดังนั้นเมื่อส่วนหนึ่งมีการเข้ามาเราจึงจะต้องมีกองกำลัง หรือมีการทำงานร่วมกันของชุดปฏิบัติการพิเศษ หรือ 315 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง ปปส. ทหาร และ ตำรวจ โดยเป็นการริเริ่มของรัฐบาล และ ปปส. 
"เดิมมีการพูดคุยกันตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า จะทำอย่างไรให้ลดการแพร่ระบาด 35 % ที่ว่า ที่แพ่ระบาดในพื้นที่ กทม. ชุมนุมต่าง ๆ เกือบ 2,000 แห่ง และปริมณฑล โดยเรามีฐานข้อมูล และลงไปดูว่าจะทำวิธีใดที่เร็วที่สุดจะซื้อขายกันไมได้ ถ้าซื้อขายกันไม่ได้อย่างอื่นก็จะเบาลงบ้าง   ในส่วนการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือการบำบัดรักษา โดยมีอยู่ 2 อย่าง คือราชการ หรือ สังคมตัวเอง โดยจะต้องใช้เวลา สถานที่ เราก็มามองว่าเร็วที่สุดเพื่อสนองต่อประชาชนว่าจะทำให้ยาเสพติดหมดไปจาก ชุมนุม เนื่องจากมีสิ่งของหาย มีการทุจริตผิดกฎหมายมากขึ้น ก็มาจากสาเหตุดังกล่าว เราจึงได้ลงไปช่วย แต่เรียนว่าทั้งหมดภายใต้การดูแลควบคุมเป็นของตำรวจ และ ปปส. เป็นหลัก ทหารไปเพิ่มเท่านั้นเนื่องจากกำลังมีไม่เพียงพอ จึงได้ขอทหารลงไปช่วย และทหารลงไปก็ได้มีการอบรม และแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยทาง ปปส.เป็นผู้แต่งตั้ง ดังนั้นทุกคนไปทำงานมีอำนาจตามกฎหมาย เราไม่ได้ลงไปปราบปราม แต่ลงไปทำหน้าที่จัดทำฐานข้อมูล ระบบการป้องกันให้เข้มแข็งกับสังคม" 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การที่ลงไปทำงานในครั้งนี้เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย และได้รับการตอบสนองจากประชาชน ว่าเขาพอใจกับผลงานที่ทหารลงไปปฏิบัติ การทำหน้าที่ของทหารทำอย่างนิ่มนวล และลงไปพบปะพูดคุยไปทำความรู้จักกัน และขอร้องว่าหากพบใครกระทำผิดกฎหมายก็แจ้งให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบ ไม่เคยไปข่มขู่ใครทั้งสิ้น และไม่เคยไปดูว่าพื้นใดเป็นหัวคะแนนนั้นคะแนนนี้ ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ แต่สนใจว่าจะทำอย่างไรให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากชุมชนดังกล่าว   และจะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เราไม่ต้องการที่จะไปต่อต้าน หรืออะไรต่าง ๆ ทำอะไรก็ทำไป แต่ท่านอย่าทำผิดกฎหมายเท่านั้นเอง ตนขอร้องแค่นั้น 
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.นี้ว่า เราจะสนับสนุนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ อยากให้ประเทศชาติผ่านพ้นห้วงเวลาที่ไม่สงบสุขไปได้ด้วยดี สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือเรื่องสื่อ ตนเรียนว่าสื่อเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ความเป็นไปมาของบ้าน เมือง เป็นฐานันดรหนึ่ง ที่สำคัญ แต่ตนเรียนว่าปัจจุบันนั้นมีผลกระทบมากกับสังคม และประชาชน เพราะว่าประชาชนถูกชักจูงไปโดยกลุ่มคนบางประเภท บางจำพวกที่ไม่ได้ปราถนาดี หรือคิดว่าปราถนาดีก็ตาม แต่สิ่งที่กลับมาทำให้เกิดผลตอบสนองย้อนกลับมาทำให้กองทัพมีปัญหากับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย การดูแล ดังนั้นสื่อจะต้องช่วยเรา และช่วยประเทศชาติให้ผ่านพ้นเวลาวิกฤตนี้ไปให้ได้ 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเราจะมีสื่อในระบบ และนอกระบบ สื่อในระบบจะเห็นได้จากทั่วไปสื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณาทีวี   ส่วนอีกสื่อหนึ่งที่รับจากดาวเทียมที่ออกอากาศอยู่ทุกวันนี้ทำให้เกิดการแตก แยกกันหรือเปล่า แต่ตนก็ไม่แน่ใจตรงนี้ แต่ถ้าเราต้องการให้ประเทศชาติไปได้ และปรองดอง คิดว่าสื่อทั้งสองฝ่ายจะต้องเลิก หยุดได้แล้ว วันเวลาที่ผ่านมา สื่อบางสื่อทำให้เกิดเหตุต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น ตนไม่ได้บอกว่าอันไหนถูกหรือผิด แต่ตนถามว่าความควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ถ้าต่างฝ่ายต่างบอกว่าไม่เกี่ยวข้องกันและไม่เอื้อประโยชน์ให้ใครก็ไม่น่าจะ มาออกอากาศในตอนนี้ และที่ผ่านมาก็ทำให้ประชาชนเป็นสองฝักสองฝ่าย ตนคิดว่าวันนี้ต้องไม่มีฝักฝ่ายกันได้แล้ว ฉะนั้นอย่ามาบอกว่าตนเป็นทหาร มาห้ามสื่อ มีอำนาจบาดใหญ่ไม่ใช่ แต่เป็นความคิดส่วนตัวในฐานะประชาชน เรื่องนี้ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะต้องมาดูแลหรือเปล่าตนไม่รู้ 
"การออกมาพูดทุกวันนี้ ผมพยายามฟังบ้างไม่ฟังบ้าง บางวันเวลาก็ไม่ค่อยเป็นธรรมกับผมเท่าไหร่ ไม่เป็นธรรมกับกองทัพ แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรทั้งสิ้น หรือยอมรับ แต่ผมไม่ได้ให้ความสนใจมากกว่า แต่ประชาชนอีกระดับหนึ่งส่วนหนึ่งเขาฟังอยู่ ผมยกตัวอย่างว่าเคยได้รับโทรศัพท์จากต่างประเทศโทรมาหาผม และตำหนิผมในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก ในการปกป้องดินแดนไม่ได้ เรื่องของการทำร้ายประชาชน ผมพยายามอธิบายแต่ก็ไม่เข้าใจ และบอกว่าฟังมาจากสื่อที่ผมระบุ 2-3 สื่อที่ว่านี้ เขาคิดว่าเป็นแบบนี้ ผมถือว่าอันตราย เพราะมันไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ต่างประเทศด้วย และเราคิดว่าเราจะอยู่กันแบบนี้ต่อไปหรือ ฉะนั้นสังคมจะต้องมาดูและลงความเห็นว่าจะปล่อยให้มีสื่อแบบนี้ต่อไปหรือไม่ ทั้งสื่อ ผมรู้ผมพูดวันนี้ก็จะต้องมีใครมาโจมตีผมแน่นอน แต่ก็ไม่เป็นไรผมยอมอยู่แล้ว ไม่เป็นไร ผมเรียนตรงนี้และก็อย่าย้อนกลับไปอีก 6 เดือนนี้ กับก่อนหน้านี้มันคนละเรื่อง"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ทั้งหมดยืนหยัดด้วยกฎหมายใครผิดก็ว่าไปตามผิด กฏหมายเปิดโอกาสให้ต่อสู้ได้อยู่แล้วตามกระบวนการยุติธรรม ใครมีโทษมากโทษน้อย ก็สู้กันไป แก้กันไป แต่ท่านบอกว่ากลไกไม่ถูก ผมว่าไม่ได้ เพราะการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะตั้งอะไรมาก็จะต้องเข้า สู่กระบวนการยุติธรรม เราไปแตะต้อง หรือละเมิดไม่ได้ก็ต้องใช้ตามหลักฐานพยานต่าง ๆ ที่มีอยู่ใครผิด ใครถูกก็สู้กันไป ละเมิดไม่ได้ ขอร้องประชาชนเรื่องการรักษากฎกติกาของบ้านเมือง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในฐานะเราเป็นเจ้าหน้าที่ เราเสียใจที่มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่เสียชีวิต ไม่ควรจะเกิดแม้แต่คนเดียว ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นได้อีกแล้ว ต้องว่ากันไปตามกฎหมายว่า ใครผิดหรือถูก ถ้าโยนกันไปกันมาไม่ได้ การแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองด้วยการออกมาเลือกตั้งเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเลือกเลือกคนดีเข้า การที่มีคุณธรรมสำคัญ คือ รู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี อะไรถูก อะไรผิด และสร้างจริยธรรมของท่านขึ้นมาในองค์กรของท่าน ที่ผ่านมาเราเสียใจ และจะพยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก 
"จากการติดตามของฝ่ายความั่นคงเห็นว่า มีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันมากขึ้น ในเรื่องนักวิชาการในเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน คิดว่า มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2475 ในวิธีการตามปกติของประชาธิปไตย แน่นอนต้องมีคนกลุ่มหนึ่งต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่วันนี้ไม่ปกติที่ทหารต้องออกมาเคลื่อนไหวบ้าง ไม่ใช่ว่า ทหารจะผูกขาดจงรักภักดี สถาบันทรงมีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน ประเทศไทยเป็นประเทศทุกวันนี้เพราะสถาบันพระมหกาษัตริย์ พระองค์ไม่เคยลงไปเกี่ยวข้องอะไรที่ไม่ใช่พระราชกิจของท่าน ถึงวันนี้ท่านทรงทำงานมากว่า 60 ปี วันพระองค์น่าจะทรงพักผ่อนด้วยความสบายพระราชหฤทัย เห็นความั่นคงของประชาชน แต่มีคนบางกลุ่มไม่ปกติ โดยเฉพาะในช่วงเลือกตั้งที่มีการกระทำผิดกฎหมายมากขึ้น โดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มคนที่อยู่ต่างประเทศทั้งสิ้น เช่น นายใจ   อึ๊งภากรณ์ และนายจักรภพ เพ็ญแข ที่พยายามทำให้สถาบันเสียหาย เกี่ยวพันยึดโยงกับคนอีกหลายกลุ่ม ซึ่งเรายอมไม่ได้"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ทุกคนต้องช่วยกันดูแลพระองค์ท่าน ท่านไม่เคยเรียกร้องความเข้าใจจากใคร ท่านไม่เคยตอบคำถามใครได้ สิ่งกล่าวอ้างทั้งหมดไม่เป็นธรรม ไม่สุภาพด้วยประการทั้งปวง สังคมต้องดูว่า เกิดจากที่ไหนอย่างไร เกี่ยวพันกับเรื่องอะไร ทำไมถึงมากขึ้นทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค หรือสื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณาระดมมากขึ้นในช่วงเลือกตั้ง สถาบันไม่เคยสั่งให้ทำโน่นทำนี่ ไม่อยากให้คนไปละเมิดท่าน กฎหมายมาตรา 112 ก็มีคนจะล้มเลิก คิดว่า ไม่ใช่เรื่อง ถ้าท่านไม่ไปยุ่ง หรือละเมิดว่ากล่าว สถาบัน ท่านจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ ที่ผ่านมาท่านประสงค์ไม่ให้ดำเนินคดี แต่สิ่งที่ท่านทรงพระเมตตากลับทำให้คนเหล่านี้ ได้ใจว่า ยังไงก็ไม่โดน ซึ่งคนดีส่วนใหญ่ไม่ยอม และพอเจ้าหน้าที่ทำงานกลับต่อต้านมาตรา 112 ฝากคำถามนี้ให้สังคมไปแก้ 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สุดท้ายขอให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าช่วยไปเลือกตั้งทราบว่า มียอดผู้มีสิทธิ์ 30 - 40 ล้านออกมาเลือกตั้งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หากท่านปล่อยให้การเลือกตั้งเป็นเหมือนเดิมๆ เราก็ได้อะไรแบบเดิมๆตลอด อยากฝากให้ทุกตนเลือกตั้งใช้สติมีเหตุผล รู้จักคิดว่า ทำอย่างไรบ้านเมือง สถาบันจึงจะปลอดภัย ทำอย่างไรคนดีจึงจะได้มาบริหารชาติบ้านเมือง ประชาชนอย่าให้คนเขาดูถูกว่า ท่านชักจูงง่าย โดยไม่ได้ดูว่า คนนั้นดีหรือไม่ มีคุณธรรมหรือไม่ เขาทำผิดกฎหมายหรือไม่ ตนบอกว่า กริยาที่นักการเมืองบางท่านใช้ไม่เหมาะสม แล้วจะเลือกเขาเข้าไปทำไม เลือกคนที่ดี คนที่สุดภาพ ตั้งใจทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองเข้าไปทำงานแล้วกัน
วันเดียวกันนี้ ที่สโมสรกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์( ร.1 รอ ) ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นสถานที่พรรคการเมืองมาจัดตั้งรัฐบาลคราวที่ ผ่านมา ได้เปิดโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเขต ดินแดน-พญาไท จาก 5 พรรคการเมือง ที่แสดงความประสงค์มาหาเสียงในค่ายทหารได้สนอนโยบายต่อกำลังพล และครอบครัว ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคความหวังใหม่ และพรรคเพื่อฟ้าดิน 
พ.อ.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ได้ทำความเข้าใจให้ตัวแทนของแต่ละพรรคว่า การหาเสียงในหน่วยทหารครั้งนี้จะไม่มีการโจมตี หรือกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีกัน

“แม้ว” ไต่บันไดขั้นสองยึดอำนาจ-บล็อก “สีเขียว” ขยับไม่ออก !!

  
       ยิ่งใกล้รู้ผลการเลือกตั้งมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้บรรยากาศการเมืองตึง เครียดมากขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากเป้าหมายของแต่ละฝ่ายต่างก็ต้องการแย่งชิงอำนาจรัฐกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาในความเป็นไปได้มากที่สุด ขอแยกออกมาเป็นสองขั้วหลักๆเท่านั้น คือ ขั้วที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ผลักดันให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับมาเป็นายกรัฐมนตรีอีกรอบ ขณะที่ ขั้วที่สอง นำโดย พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 เป็นแคดิเดตนายกรัฐมนตรี
      
       ส่วนขั้วที่ 3 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น นาทีนี้ถือว่าแทบเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย ที่ผ่านมาเป็นแค่ “วาทะกรรมอำพราง” ทางการเมืองเท่านั้น เนื่องจากเวลานี้พรรคการเมืองในกลุ่มนี้ ต่างก็เคลื่อนไหว “เอาตัวรอด” กันแล้ว แม้กระทั่งเอ็มโอยูที่ลงนามกันล่วงหน้าระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนากับพรรคภูมิใจไทยว่า “ไปไหนไปกัน” นั้นล่าสุดทำท่าจะจะถูก “ฉีกทิ้ง” อย่างไร้ความหมาย ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า “ประเทศชาติต้องการปรองดอง และต้องเดินไปข้างหน้า”
      
       อย่างไรก็ดีเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดมากขึ้นก็ต้องสรุปเข้าไปใกล้อีกก็ คือเวลานี้หากพิจารณาจากแนวโน้มแล้วหลายฝ่ายเริ่มมองเห็นแล้วว่า พรรคเพื่อไทย น่าจะชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ส่วน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ต้องรอดูคำตอบหลังจากรู้ผลการนับคะแนนได้จำนวน ส.ส.ไปแล้ว
      
       สาเหตุที่ยังไม่ชัวร์ว่า ยิ่งลักษณ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น เนื่องจากหนทางข้างหน้ายังเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามไม่น้อย โดยเฉพาะในด้านกฏหมายในเรื่องคดี ให้ “ข้อมูลเท็จ” กรณีคดีซุกหุ้นภาค 2 ของ พี่ชายคือ ทักษิณ ชินวัตร ที่เวลานี้ แก้วสรร อติโพธิ อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) นักวิชาการด้านกฎหมายคนสำคัญพร้อมด้วยทีมงานได้ “เงื้อง่า” เตรียมเข้าแจ้งความดำเนินคดีเอาไว้แล้ว หากทุกอย่างดำเนินการเข้าสู่กระบวนการศาลเมื่อไหร่นั่นก็หมายความว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะเป็นคู่กรณีทำให้การเสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจมีปัญหา ในข้อห้ามเรื่อง “ขัดกันแห่งผลประโยชน์” แม้ว่าล่าสุดทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีมติออกมา “ฟอกตัว” ให้ ยิ่งลักษณ์ แล้วว่า กรณีการถือหุ้นแทนของเธอให้กับ ทักษิณ พี่ชาย นั้นไม่เข้าข่ายความผิด เนื่องจากเป็นการถือหุ้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ใช่ว่าจะพ้นวิบากกรรมไปได้ เพราะยังมีประเด็นอื่นในทางกฎหมายตามมาอีก ซึ่งจากการระบุของ แก้วสรร ว่าเป็น “ความผิดที่สำเร็จแล้ว”
        
      
       นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ทักษิณ ก็ไม่ต้องการให้น้องสาว “ช้ำ” ไปก่อนเวลาอันควร มีความประสงค์ตั้งแต่แรกแล้วว่าไม่ได้ต้องการผลักดันให้เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรู้ดีว่าต้องเจอกับแรงเสียดทานขนาดหนักรอบด้าน ในฐานะที่เข้ามาเป็นตัวแทนของตระกูลชินวัตร ขณะที่ตัวเธอยังด้อยประสบการณ์จึงเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง แต่ที่ต้องลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่ออันดับที่ 1 ทางหนึ่งก็เพื่อสร้างกระแส “ตัวแทน” หรือ “โคลนนิ่ง” อย่างที่ได้ระบุเอาไว้ แต่เมื่อถึงเวลาเอาจริงก็มีตัวเลือกคนอื่นที่ “ซ่อน” เอาไว้แล้ว ซึ่งเท่าที่พอมองเห็นแว่บๆก็อาจจะเป็น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคลำดับที่ 5 ก็ได้
      
       อย่างไรก็ดีเอาเป็นว่านาทีนี้แม้ว่าในเชิงลึกอาจจะยังไม่ชัดเจนเต็ม ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งลักษณ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ด้วยเหตุผลทางกฏหมายดังกล่าว แต่เมื่อดูจากสถานการณ์แวดล้อมรอบด้านแล้วก็น่าจะเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยชนะ การเลือกตั้งเป็นไปได้สูงยิ่ง สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน
      
       แต่ขณะเดียวกันก็ใช่ว่าหนทางข้างหน้าจะไม่มีอุปสรรค เนื่องจากยังมี “กลุ่มอำนาจ” สำคัญที่ยังไว้ใจไม่ได้เต็มร้อย นั่นก็คือ กองทัพ หรือ “พรรคสีเขียว” ที่ แม้ว่าเวลานี้มีการกำหนดออกมาเป็นนโยบายนำไปปฏิบัติจากผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างหนักแน่นไปแล้วว่า ทหารไม่ยุ่งการเมือง และวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการย้ำออกมาหลายครั้งเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจ
      
       เพราะต้องยอมรับว่าไม่ว่าใครก็ตามก็ต้องย่อมปฏิเสธกลุ่มพลังอำนาจของกองทัพไปได้ และที่ผ่านมาสาเหตุที่ ทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอย่าง “ฉับพลัน” ก็ มาจากกลุ่มนี้นั่นเอง และตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี หลังจากถูกรัฐประหาร ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับผู้นำกองทัพก็ยังกระท่อนกระแท่น ไม่ชัดเจน แม้ว่ามีรายงานมาตลอดว่า ทั้งสองฝ่ายพยายามต่อสาย “เคลียร์” กันมาหลายครั้งแล้วก็ตาม แม้กระทั่งในช่วงเวลานี้ก็ยังมีข่าวว่ากำลัง “ต่อรอง” กันใน “บางเรื่อง” อยู่ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเล็ดรอดออกมาว่าไปถึงขั้นไหนกันแล้ว
      
       แต่ในช่วงราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวที่กระทบกระทั่งกัน ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของหน่วยเฉพาะกิจ 3-1-5 ไปเกิดเรื่องเกิดราวกับผู้สมัครคนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่กรุงเทพมหา นคร จนมีการชักปืนข่มขู่ทหารและต่อมามีการแจ้งความดำเนินคดี รวมไปถึงการกระพือข่าวเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารในยุคของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากปากของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และตอกย้ำโดย หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ชุมพล ศิลปอาชา ในเรื่องของ “อำนาจแฝง” ที่ปฏิเสธไม่ได้
      
       สอดรับกับการให้สัมภาษณ์สื่อสารกับสื่อต่างประเทศ และภายในประเทศของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ ระบุว่าหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งคงไม่มีการขัดขวางไม่ให้จัดตั้ง รัฐบาล หรือคงไม่มีใครมาขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยของประชาชนไปได้ ซึ่งก็ฟังดูดีมีหลักการ
      
       แต่อีกด้านหนึ่งนี่คือการ “บล็อก” ไม่ให้กองทัพหรือ “พรรคสีเขียว” ที่ฝ่าย ทักษิณ ยังให้ความยำเกรงมากที่สุดได้เคลื่อนไหวโดยพลการ โดยยกเอาเรื่อง “ทวนกระแส” มา ข่มขู่ และมองข้ามช็อตไปหลังเลือกตั้งที่มั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง หลังจากส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่าจะต้องดึงพรรคชาติไทยพัฒนาของ บรรหาร ศิลปอาชา แยกออกมาจากพรรคภูมิใจไทยมาร่วมเกมขย่มเรื่อง “อำนาจแฝง” และ การ “ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” ความหมายก็คือก็เพื่อสร้างแรงกดดันกลับไปที่ผู้นำกองทัพให้รีบแสดงท่าทีออกมา ซึ่งก็ได้ผลอย่างน้อยก็ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาย้ำอีกครั้งว่า กองทัพเป็นกลาง และพร้อมยอมรับผลการเลือกตั้ง
      
       มองในเชิงยุทธวิธีถือว่าฝ่าย ทักษิณ ได้รุกคืบเข้ามาเป็นขั้นเป็นตอนตาม “แผนขั้นบันใด” สำหรับการกลับมายึดอำนาจรัฐ ยึดประเทศนี้อีกรอบ นั่นคือหลังจากชนะเลือกตั้งแล้วก็ต้องจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ แต่ในเมื่ออุปสรรคยังอยู่ที่กองทัพ ดังนั้นก็ต้องหาทางบีบให้อยู่ในที่ตั้ง ซึ่งก็ได้ผล ทุกอย่างเริ่มกลับมาอยู่ในเกมที่ ทักษิณ ชินวัตร ต้องการแล้ว

ที่มา: ASTV

หมากตาอับประเทศไทยเพราะทุนผูกขาดขนาดใหญ่

โดย Tan Rasana เมื่อ 15 มิถุนายน 2011 เวลา 6:52 น.

ประเทศ ไทยทุกวันนี้ผมมีลางสังหรณ์ว่าจะถึงหมากตาอับ เพราะสะสมความรุนแรงเชิงโคงสร้างกันมานาน คนที่จะมาบริหารบ้านเมืองก็ไม่เคยได้คิดถึงทุกข์สุขและความต้องการของ ประชาชนในระยะยาว ไม่เคยมีแบบแผนในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ คงปล่อยให้ต่างชาติและทุนผูกขาดสูบกินเลือดเนื้อเหงื่อไตลของคนทั้งชาติ อย่างเมามัน คนทุกวันนี้ยากจนลงอย่างใจหายทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง สินค้าราคาสูงแต่ค่าแรงไม่เพิ่ม เงินเดือนข้าราชการเพิ่มจริงแต่หักกลบลบหนี้แล้วเหลือเท่าเก่าหรือน้อยกว่า เก่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกลุ่มทุนผูกขาดที่ใหญ่ที่สุด สูบเลือดสูบเนื้อด้วยกลไกราคาและเทคนิคสารพัด ทำกำไรปีละหลายหมื่นล้าน น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนฐานของสินค้าราคาแพงทุกอย่างแพงไปหมด พรรคการเมืองใหญ่สองพรรคที่กำลังแข่งกันหาเสียง ไม่มีนโยบายสักข้อที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเหล่านี้ แข่งขันกันเอาชนะกันด้วยนโยบาย"ประชานิยม"ซึ่งผลสุดท้ายจะยิ่งเพิ่มความ รุนแรงเชิงโครงสร้างให้มากขึ้น ผมว่าถึงเวลาแล้วล่ะครับที่คนไทยต้องลุกขึ้นมาล้มโครงสร้างเดิมๆที่มีปัญหา แล้วสร้างกติกากันขึ้นมาใหม่
 


บริษัทน้ำมันอันตราย
คอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3793 (2993)
การประกาศผลกำไรในไตรมาสแรกที่มีตัวเลขสูงสุดของบริษัทเอ๊กซอนซึ่งเป็นบริษัทน้ำมัน และบริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมๆ กับการประกาศให้เงินตอบแทนนายลี อาร์ เรมอนด์ ซีอีโอ ของบริษัทเป็นเงินมากถึง 686 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 2 หมื่น 7 พันล้านบาท
เงินตอบแทนนี้เป็นเงินตอบแทนสำหรับเฉพาะช่วง 12 ปีหลังของการบริหารงานของนายเรมอนด์ในระหว่างปี 1993-2005 หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ ฉบับประจำวันที่ 15 เมษายน 2006 ได้คำนวณรายได้เป็นวันจะตกวันละ 144, 573 เหรียญ หรือ 5.78 ล้านบาทต่อวัน
ในขณะเดียวกันรายได้ในปีสุดท้ายของซีอีโอ เรมอนด์ คิดเป็นเงินสูงถึง 400 ล้านเหรียญ หรือ 1 หมื่น 6 พันล้านบาท
ผลกำไรสุทธิของบริษัทน้ำมันยักษ์ 4 แห่งในไตรมาสแรกเท่านั้น บริษัท เอ๊กซอนมีกำไร 8.4 พันล้านเหรียญ หรือ 3.36 แสนล้านบาท
บริษัทเชฟรอนได้กำไรสุทธิ 4 พันล้านเหรียญ หรือ 1 แสน 6 หมื่น ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 49
บริษัทโคโนโค ฟิลลิปส์ ได้กำไรสุทธิ 3.23 พันล้านเหรียญ หรือ 1.29 แสนล้านบาท
บริษัทบีพี ได้กำไร 5.69 พันล้านเหรียญ หรือ 2.27 แสนล้านบาท
คิดง่ายๆ ผลกำไรสุทธิของบริษัทเหล่านี้ใน 1 ปี ก็เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินของไทย
ผลกำไรของเอ๊กซอนติดอันดับสูงสุดเป็นที่ 5 ในประวัติศาสตร์ของบริษัททั้งหลายที่เคยทำกำไรมาก่อน ส่วนผลกำไรสุทธิของไตรมาสปี 2005 เอ๊กซอนทำลายสถิติโลกโดยมีกำไรสูงถึง 10.71 พันล้านเหรียญ หรือ 4.285 แสนล้านบาทในเวลาเพียง 3 เดือน และ 36.1 พันล้านเหรียญ (1.44 ล้านๆ บาท) เมื่อรวมกันทั้งปี
ปั๊มค้าปลีกของบริษัทน้ำมันเหล่านี้รู้ดีว่าผลกำไรเหล่านี้ล้วนสูบเอาจากค่าการตลาดอันน้อยนิดจากหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อของพวกเขา และผู้บริโภคที่ไม่มีทางเลือก
รายรับทั้งปีของบริษัทเอ๊กซอนเพิ่มขึ้นจาก 82.05 พันล้านเหรียญ ในปี 2004 มาเป็น 88.98 พันล้านเหรียญ ในปี 2005 ซึ่งมากกว่าจีดีพีของประเทศผู้ผลิตน้ำมันอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีจีดีพีเพียง 74.67 พันล้านเหรียญ และคูเวตที่มีจีดีพีเพียง 55.31 พันล้านเหรียญ
บริษัทเอ๊กซอนผลิตน้ำมันได้วันละ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่าที่ประเทศคูเวตผลิตเสียอีก และยังผลิตแก๊สธรรมชาติได้อีกวันละ 9.2 พันล้านคิวบิกฟิต
นักวิเคราะห์กล่าวว่าผลกำไรของบริษัทน้ำมันและผลตอบแทนของผู้บริหารเป็นการรีดเลือดเอาจากปูจากการโก่งราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 200 เปอร์เซ็นต์ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังบริหารงานอย่างขาดหลักการ "บริหารธรรม ( Good governance)"
ตัวอย่างเช่น กรณีที่นายเรมอนด์ ซีอีโอของบริษัทเอ๊กซอนได้รับหุ้นจำนวน 550,000 หุ้น ซึ่งเป็นหุ้นที่สงวนไว้ให้กับผู้บริหารแบบมีเงื่อนไข ผูกติดกับระยะเวลาทำงานในอนาคต ซึ่งมีมูลค่า 32 ล้านเหรียญ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2005 แต่นายเรมอนด์ เกษียณอายุเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2005 หรือ 1 เดือนให้หลังเมื่อได้รับหุ้น ซึ่งเป็นการผิดหลักการที่กรรมการบริษัทนำหุ้นประเภทนี้มามอบให้ผู้บริหารที่กำลังจะเกษียณอายุในการทำงาน
ซีอีโอของบริษัทน้ำมันอื่นๆ ก็ได้รับผลตอบแทนในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่ากันนัก เช่น นาย Ray R. Irani ซีอีโอของบริษัทน้ำมันขนาดเล็ก ชื่อ อ๊อกซิเดนตัล เปโตรเลียม ก็ยังผลตอบแทนมากถึง 63 ล้านเหรียญ ในปี 2005 คิดเป็น 2 เท่าของที่ได้รับในปี 2004
เมื่อรวมกับหุ้นที่ผูกติดกับผลประกอบการ และสิทธิการซื้อหุ้นนายไอรานีได้รับผลตอบแทนทั้งสิ้นมากถึง 135 ล้านเหรียญ
นาย David J. O"Reilly ซีอีโอของบริษัทเชฟรอน ได้รับผลตอบแทน 37 ล้านเหรียญ บวกกับหุ้นตอบแทนอีก 34 ล้านเหรียญ ในปี 2005
Lord Browne ซีอีโอของบริษัทน้ำมันบีพี ได้รับผลตอบแทน 14.8 ล้านเหรียญ ในปี 2005
นาย Jeroen van der Veer ซีอีโอของบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ ได้รับผลตอบแทน 9 ล้านเหรียญในปี 2005
ตัวเลขที่ผู้บริหารงานบริษัทน้ำมันเหล่านี้ได้รับ คือคำตอบว่าทำไมราคาน้ำมันในตลาดโลกจึงเพิ่มขึ้นตลอดเวลาทั้งๆ ที่ปริมาณการผลิตน้ำมันในโลกก็ไม่ได้ลดลง และปริมาณการใช้ก็ไม่ได้มากขึ้นตามสัดส่วนการขึ้นราคาของน้ำมัน
ผู้ประกอบการปั๊มค้าปลีกน้ำมันในประเทศไทยที่หลวมตัวไปทำสัญญาระยะยาวแล้วดิ้นไม่หลุดจะรู้ดีที่สุดว่า ค่าการตลาดของตนนั้นถูกกดให้ต่ำจนเรียกได้ว่า ต้องทำงานฟรีให้บริษัทเหล่านี้ได้กำไปเลี้ยงดูผู้บริหาร ที่นั่งอยู่ในสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ
แม้แต่ผู้ถือหุ้นของบริษัทน้ำมันเหล่านี้ ก็ไม่ได้รับกำไรอย่างยุติธรรมเพราะเงินส่วนใหญ่จะถูกผู้บริหารระดับสูง เล่นแร่แปรธาตุเข้ากระเป๋าของตนไปเสียเป็นส่วนใหญ่
สื่อมวลชนในอเมริกาและประชาชนผู้บริโภคต่างวิพากษ์วิจารณ์และร้องเรียนมายังสภาผู้แทน ให้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัทน้ำมันและผู้บริหารที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและผู้ถือหุ้นอย่างโหดเหี้ยม
ผู้ขับขี่รถยนต์ในหลายรัฐได้เขียนป้ายประท้วงบริษัทน้ำมันเหล่านี้ว่า "พวกตะกละตะกลาม- พวกไร้สัญชาติ- พวกขุนนางแห่งการปล้นสะดม"
วุฒิสมาชิก จอห์น แมกเคน ผู้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเงิน ได้ออกมาร่วมประณามบริษัทน้ำมันว่า "บริษัทพวกนี้เหมือนกับพวกลัทธินอกศาสนาที่ไม่สนใจมติมหาชนที่วิพากษ์วิจารณ์พวกเขา"
คณะกรรมาธิการการเงินได้ทำเรื่องไปยังกรมสรรพากร เรียกหลักฐานรายงานการเงิน และรายงานการจ่ายภาษีของบริษัทน้ำมันยักษ์ทั้งหมด มาตรวจสอบตัวเลขกำไรที่สูงมากผิดปกติ รวมทั้งอัตราการจ่ายผลตอบแทนผู้บริหารก็สูงผิดปกติด้วย
ในขณะเดียวกันบริษัทน้ำมันเหล่านี้ก็ไม่ได้นั่งเฉย แต่ได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลไม่น้อยกว่า 20 ล้านเหรียญในปี 2005 ในการโฆษณาทั้งทางสถานี โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ในการสร้างภาพลักษณ์ว่า เป็นผู้จัดหาพลังงานมาให้ประชาชนได้ใช้อย่างไม่ติดขัด และอธิบายว่าทำไมราคาน้ำมัน และแก๊สถึงได้ไต่ขึ้นตลอดเวลาโดยไม่ลดลงเลย
บริษัทน้ำมันเหล่านี้ได้หาแพะรับบาป โดยอ้างว่าความต้องการใช้น้ำมันมีมากกว่าปริมาณน้ำมันที่กลั่นได้ โดยกล่าวโทษประเทศจีนเป็นตัวการที่ใช้น้ำมันมากในการพัฒนาเศรษฐกิจ
การกล่าวโทษจีนเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวแต่ได้นกสองตัว คือเป็นการโยนความผิดจากการคอร์รัปชั่นทางนโยบายของบริษัท ในการนำผลกำไรมาแบ่งปันกันเอง ในหมู่ผู้บริหารระดับสูงเพื่อไม่ให้ต้องรับผิด แล้วโยนความผิดให้กับประเทศจีน รวมทั้งเป็นการสะกัดกั้นการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของอเมริกาไปในตัวด้วย
ในปี 2005 บริษัทน้ำมันใหญ่ 10 แห่งได้ควักกระเป๋ารวมกันเป็นเงินจำนวน 30 ล้านเหรียญ ในการล็อบบี้รัฐสภาอเมริกัน ไม่ให้ยุติการอุดหนุนเงินแก่บริษัทในการค้นคว้าวิจัย และค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพราะว่าบริษัทน้ำมันมีกำไรมหาศาลแล้ว
การอุดหนุนที่สำคัญที่สุด คือ บริษัทน้ำมันเหล่านี้ไม่ต้องจ่ายค่าภาคหลวงในการขุดน้ำมัน และแก๊สจากอ่าวเม็กซิโก ให้รัฐบาลอเมริกัน โดยถือว่าเป็นแรงจูงใจให้บริษัทน้ำมันค้นหาแหล่งพลังานใหม่ๆ
วุฒิสมาชิก จอห์น คอร์นิน จากรัฐเทกซัส ให้สัมภาษณ์ น.ส.พ. นิวยอร์กไทม์ ว่า "บริษัทน้ำมันเหล่านี้ควรจะเปิดเผยตัวเลขที่แท้จริงว่า ได้ใช้เงินน้อยนิดเพียงไรในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันใหม่ เพื่อทำให้ราคาน้ำมันถูกลง"
วุฒิสมาชิก ชาร์ลส์ อี กราสลิ จากรัฐไอโอวา ได้ไปไกลกว่านั้น โดยเรียกร้องให้บริษัทน้ำมันนำผลกำไรอันมหาศาลมาอุดหนุนค่าไฟฟ้าของคนจนบ้าง
วุฒิสมาชิกเสียงข้างมาก บิล เฟิร์สท์ ได้ร่างกฎหมายเสนอให้สภาคืนเงินให้ผู้ใช้น้ำมันครอบครัวละ 100 เหรียญ เพื่อชดเชยที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันแพง
อย่างไรก็ตาม บริษัทน้ำมันยักษ์ทั้ง 10 ก็ยังเป็นผู้อุดหนุนเงินรายใหญ่ของพรรคการเมืองทั้งสองพรรค ความเห็นของ ส.ส.และวุฒิสมาชิกข้างต้นก็เป็นเพียงเสียงข้างน้อย ที่ไม่อาจจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่กดดันบริษัทน้ำมันไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภคได้
แต่ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับ ส.ส. และ ส.ว.ของบ้านเรา จะหาผู้ที่ออกมาศึกษา และหาวิธีการที่จะบรรเทาความเดือดร้อน จากราคาน้ำมันแพง และหาวิธีเล่นงาน หรือควบคุมบริษัทน้ำมันยักษ์ และโรงกลั่นน้ำมันที่รวมหัวกัน "ปล้นสะดม" คนไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายเหมือนอย่าง ส.ส. และ ส.ว. อเมริกันก็ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นเลย
นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้า และน่าอับอายของบุคคลที่เสนอตัวเข้ามารับเลือกตั้ง แต่ไม่มีจิตสำนึกสาธารณะที่จะเสนอกฎหมาย ออกมาปกป้องประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน อย่างเช่นกรณีน้ำมันราคาแพง แต่บริษัทน้ำมัน และโรงกลั่น กลับกำไรมหาศาลอย่างไม่ปกติธรรมดา โดยปล่อยให้บริษัทน้ำมัน หากินกับความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างหน้าตาเฉย ดังนี้
ใน 3 ปี ที่ผ่านมาบริษัทน้ำมัน 7 บริษัท ประกอบด้วยโรงกลั่นในเครือ ปตท.4 บริษัท คือ สตาร์, ระยอง, ไทยออยล์, บางจาก บริษัทน้ำมัน ESSO, RPC, TPI และบริษัท ปตท. มีตัวเลขกำไรรวมจาก 22,099 ล้านบาท เมื่อปี 2545 มาเป็น 56,686 ล้านบาทในปี 2546 และจาก 120,989 ล้านบาท ในปี 2547 มาเป็น 202,020 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2548 ที่ผ่านมา
เมื่อ ส.ส.และ ส.ว. ที่ผ่านมา และว่าที่ทั้งหลายไม่เคยคิดปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและผู้บริโภค จึงเป็นหน้าที่ของสมาคมวิชาชีพ เช่น สภาทนายความ มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมวิชาชีพอื่นๆ เช่น สมาคมพ่อค้า สมาคมผู้ส่งออก สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งล้วนถูกกระทบจากราคาน้ำมันแพงทั้งสิ้น จะต้องออกมาร่วมกันกดดันเพื่อหามาตรการควบคุมผลกำไรของบริษัทน้ำมันไม่ให้ฮั้วกันค้ากำไรเกินควรอย่างที่เป็นมาในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาให้ได้เพื่อความอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจไทย

บทความนี้เป็นตัวเลขเก่าๆของคุณกมล กมลตระกูล แต่ผมว่าน่าเชื่อถือและยังทำให้มองปัญหาน้ำมันในเชิงโครงสร้างได้ภาพที่ชัดเจนอยู่ครับ
 
มาดูดำไรของกลุ่ม ปตท.ทุนผูกขาดสูบเลือดคนไทยรายใหญ่
 
  กลุ่มปตท.ปีนี้กำไรทะยาน
  • 13 พ.ค. 2554, 07:58 น.
งวดแรกลูกๆอู้ฟู่ พลังงานไฟฟ้าวูบ หุ้นลุ้นเข้าMSC
 
บิ๊ก ปตท.แอ่นอกรับปีนี้รายได้และกำไรแจ่ม หลังไตรมาสแรกบริษัทในเครือทำกำไรได้มากกว่า 50%
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า ภาพรวมรายได้และกำไรของบริษัทปีนี้จะออกมาดีกว่าปีก่อน เพราะหากดูกำไรสุทธิงวดไตรมาสแรก ปี 2554 ของทุกบริษัทในเครือออกมามีกำไรสุทธิมากกว่า 50% ของกำไร 2553 ทั้งปี และเป้ารายได้ปีนี้ตั้งไว้ที่ 2.2-2.3 ล้านล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านบาท และกำไรปีก่อนอยู่ที่ 8.3 หมื่นล้านบาท
“ผลประกอบที่ออกมาดีขึ้นเพราะราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอัตราค่าการกลั่น และอัตรากำไรของธุรกิจปิโตรเคมีทั้งสายอะโรเมติกส์และโอลิฟินส์ดีขึ้น และกำลังผลิตส่วนเพิ่มก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นหากไม่มีเหตุการณ์อะไรเข้ามากระทบรุนแรงกำไรทั้งปีจะดี”
สำหรับกรณีที่มีข่าวว่าบริษัท ไทยออยล์ (TOP) จะซื้อบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) นั้น นายประเสริฐ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุปหรือได้รับข้อมูลใดๆ จาก TOP แต่หากมองเป็นโอกาสและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโรงกลั่นการควบรวมกิจการก็เป็น เรื่องปกติ แต่ก็ต้องไม่ทำให้เกิดการผูกขาด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการในไทยอยู่ 3 ราย คือ ESSO และเชฟรอน และบริษัท ซึ่งก็มีการแข่งขันดีอยู่แล้ว
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TOP กล่าวว่า การจะเข้าซื้อ ESSO หรือไม่นั้น ถือเป็นหนึ่งในหลายแผนงานกลยุทธ์ระยะยาวถึงปี 2563 ซึ่งแผนธุรกิจทั้งหมดจะสรุปภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาภายในเดือน ต.ค.
ด้านบริษัทในธุรกิจไฟฟ้าประกาศผลดำเนินงานงวดไตรมาสแรกปรากฏว่ากำไรลดลง เช่น โกลว์พลังงาน (GLOW) มีกำไรสุทธิ 951.15 ล้านบาท ลดลง 42.90% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,667 ล้านบาท ขณะที่ราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) มีกำไรสุทธิ 1,196.15 ล้านบาท ลดลง 18.09% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,460 ล้านบาท เพราะบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี หยุดผลิตปีกว่า และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด และรายได้จากบริษัทร่วมบริหารลดลง เพราะทั้งสองบริษัทขาดทุนค่าเงิน
น.ส.มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีเดือน พ.ค.นี้ จะขึ้นไปที่ระดับ 1,150-1,200 จุด จากเงินทุนไหลเข้าและวันที่ 16 พ.ค.นี้ MSCI จะปรับการคำนวณน้ำหนัก ซึ่งคาดว่าหุ้นไทยน่าจะเพิ่มน้ำหนักในหุ้นไทยเพิ่มขึ้น และนักลงทุนสถาบันเข้ามาซื้อหุ้นกว่าหมื่นล้านบาท ก็จะหนุนตลาดหุ้นจึงแนะนำให้ซื้อหุ้นขนาดใหญ่
แต่ในไตรมาส 3 หุ้นจะปรับฐานรอบใหม่หลังการเลือกตั้ง เพราะจากสถิติหลังเลือกตั้งหุ้นจะลดลง 10% แต่ก่อนเลือกตั้ง 3 เดือนหุ้นจะขึ้น 6% และสหรัฐยังไม่ต่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 แต่หุ้นไม่หลุด 1,000 จุด
ดัชนีหุ้นวันที่ 12 พ.ค. ปิด 1,086.27 จุด ลดลง 14.21 จุด หรือ 1.29% มูลค่าซื้อขาย 34,470 ล้านบาท

คำถามของผมก็คือ ถ้าเราคิดว่าเรามีตัวแทนของเราไปนั่งในรัฐสภาแบบเดิมๆปัญหาเชิงโครงสร้างที่บิดเบือนเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขหรือไม่ เคยมีส.ส.สักกี่คนที่อภิปรายปัญหาน้ำมันแพง และเปิดโปงธุรกิจของการปิโตรเลียมที่ไม่โปร่งใส เอากำไรคนไทยจากการโป้ปดเรื่องราคาที่ไปอิงกับราคาสิงคโปร์ขณะที่น้ำมันดิบราว ๒๐ เปอร์เซนต์เราสามารถขุดเจาะได้ในประเทศ และที่รั่วไหลขนส่งออกไปทางทะเลโดยไม่ผ่านระบบภาษีของเราอีกเท่าไหร่ มีรัฐบาลชุดไหนบ้างที่กล้าท้าฃนกับ ปตท.มีรัฐมนตรีพลังงานคนไหนบ้างที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการเป็นบอร์ดและควบคุมบอร์ดของ ปตท...??   // Tan Rasana

ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์' เปิดโปง 5ขุมทรัพย์นักการเมือง


ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ขุมทรัพย์นักการเมือง” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 โดยเชิญ 3 วิทยากร โดยได้นำเสนอ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช และ นวลน้อย ตรีรัตน์ ไปแล้ว สัปดาห์นี้จะขอนำเสนอบทอภิปรายของ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (Thailand Information Center for Civil Rights and Investigative Journalism: TCIJ) ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ขุมทรัพย์นักการเมือง” โดยเชิญ 3 วิทยากร ได้แก่ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตกรรมการปฏิรูปประเทศ, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทั้งสามได้ร่วมกันฉายภาพแหล่งขุมทรัพย์ทางการเมืองที่สำคัญ โดยไล่เรียงทั้งในเชิงประวัติศาสตร์จนถึงโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของประเทศ
 
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สรุปสาระสำคัญมานำเสนอดังนี้ 
 
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ 
 
“คำถามหนึ่งที่มีคนถามว่า คอร์รัปชั่นมันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ใต้โต๊ะก็สูงขึ้นเรื่อยๆ พวกนักธุรกิจก็พูดกันว่าสูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ทำไมไม่มีพรรคการเมืองไหนชูนโยบายปราบคอร์รัปชั่นเลย ทุกพรรคตอบว่ามีหมด แต่ไม่ตอบว่าทำไมไม่ชูขึ้นมาหรือเลี่ยงที่จะตอบ
 
“หัวข้อ ‘ขุมทรัพย์นักการเมือง’ ผมอยากจะเข้าเรื่องเลยจากประสบการณ์และการรวบรวมข้อมูล ผมอยากจะแบ่งขุมทรัพย์นักการเมืองออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ
 
“ประเภทแรกคือตลาดหุ้น เป็นรายได้หลักของนักการเมืองในยุคหนึ่งจนถึงยุคปัจจุบันอาจจะซาๆ ลงไปหรือไม่เห็นหลักฐาน ราวๆ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วคือธนาคาร กลุ่มที่เกี่ยวพันกับธนาคารกรุงเทพพาณิชยการหรือบีบีซีมีการปั่นหุ้นขึ้น ตอนนั้นบีบีซีปล่อยกู้ให้นักการเมืองกลุ่ม 16 และนักธุรกิจต่างประเทศไปซื้อหุ้นบริษัท ก. เหมือนเอาเงินบีบีซีมาซื้อ เสร็จแล้วก็เอามาใส่ตะกร้าล้างน้ำประมาณ 1 ปี หุ้นก็ขึ้นไปหุ้นละ 2 บาท 3 บาท แล้วก็ขายทิ้งโดยให้อีกกลุ่มหนึ่งมาซื้อ กลุ่มนี้ก็ใช้เงินกู้ของบีบีซีเหมือนกัน เขาจะได้ส่วนต่างประมาณ 3-4 บาท จากหุ้น 300 ล้านหุ้น เป็นการปั่นหุ้นแบบง่ายๆ
 
“แล้วก็มีการใช้ข้อมูลภายใน มีอดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ รัฐมนตรีศึกษา ก็คนเดียวกัน ในสมัยรัฐบาลทักษิณเคยใช้ข้อมูลภายใน ก็ถูกจับได้ ถูก ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ปรับไป 61 ล้าน เรื่องนี้ออกมาก่อนถูกตั้งเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ไม่กี่วัน แต่ก็ตั้งครับ เพราะตอนนั้นตั้งเสาไฟฟ้าก็ได้
 
“ถัดมาสมัยทักษิณ 2 ก็จะเห็นกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งร่ำรวยจากหุ้นบริษัทปิกนิค ไม่ใช่หุ้นอย่างเดียวนะครับ ต่อมามีการพัฒนาที่เรียกว่าหุ้นกู้แปลงสภาพหรือวอร์แรนท์ เทคนิคที่จะหากินคือการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุน ถ้าใครซื้อหุ้นเพิ่มทุน หุ้นสามัญ เขาก็จะแถมวอร์แรนท์หนึ่ง หุ้นแปลงสภาพพวกนี้ราคาจะขึ้นกับหุ้นสามัญเพราะเมื่อถึงเวลาหนึ่งคุณสามารถ เอาหุ้นกู้แปลงสภาพไปซื้อหุ้นสามัญได้ สมมติว่าขณะนั้นคุณซื้อมา 15 บาท แต่หุ้นสามัญ 20 บาท คุณก็ได้กำไร 5 บาท ก็ปั่นหุ้นสามัญขึ้นไปก่อน กลุ่มนี้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ได้หุ้นวอร์แรนท์ไปจำนวนมาก ปรากฏว่าช่วง 3 เดือนเขาขายวอร์แรนท์ไปได้ประมาณ 1,000 ล้าน แล้วก็มีคนคนหนึ่งที่ได้กำไรมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ มีข่าวว่าซื้อตำแหน่งมาในราคา 600 ล้านบาท แต่รัฐมนตรีคนนี้อยู่สักพักก็ไป ตอนนี้ก็โดนคดีและหนีอยู่
 
“พูดถึงหุ้นและการใช้ข้อมูลภายใน ผมว่าหุ้นชินก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน ถ้าเราไปดูตารางหุ้นชิน การใช้คนรับใช้ถือ หมายถึงไม่มีใครรู้ว่าเป็นคนรับใช้ในครอบครัวชินวัตรนะครับ จะซื้อหุ้น ขายหุ้น กี่รอบก็ตาม อย่าให้พ้นข้อกำหนดคือ 5 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่มีใครรู้หรอก แต่ ก.ล.ต. ก็บอกว่าตอนนั้นเล่นงานไม่ได้ เนื่องจากตอนนั้นบริษัทหลักทรัพย์ถูกปิดไปแล้ว 10 ปี หลักฐานหายหมดแล้ว
 
“อีกวิธีหนึ่งคือฉ้อโกงบริษัท เคสปิกนิกโดนทั้งสองกรณีคือกำไรจากวอร์แรนท์ด้วย กำไรจากการฉ้อโกงบริษัทด้วย คือสร้างถังแก๊ซปลอมขึ้นมา มีการจ้างบริษัทถังแก๊ซ 2,000 ล้านบาท ผมมานั่งนับ ถังละ 500 ต้อง 6-7 ล้านถัง ผมไปนั่งตรวจบริษัทถังในประเทศไทย มันผลิตไม่ได้ภายใน 6 เดือน-1 ปี ไปดูบริษัทที่เขาจ้างก็เป็นโรงงานเล็กๆ อยู่แถวบางชัน วิธีส่งมอบไม่มีการตรวจถังนะครับ จึงทำให้บริษัทเขาโตมาก ภายในสองสามปีโตจาก 4,000 ล้าน เป็น 12,000 ล้าน โตจากเงินกู้ครับ เขาเอาพวกถังปลอมนี่มาค้ำประกันแล้วเอาเงินออกมา
 
“วิธีต่อมาคือการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ทำให้ราคาหุ้นสูง อันนี้คงชัดเจนจากการศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดีคุณทักษิณ แม้ว่านักกฎหมายบางท่านจะเห็นว่ามันไม่ถึงขนาดจะลงโทษยึดทรัพย์ได้ แต่เมื่อเราศึกษาดูอย่างไม่มีอคติ เราจะเห็นว่ามีร่องรอยอยู่ เงินกู้พม่า ลูกชายหรือคนในบริษัท มีความเกี่ยวข้องตรงไหนถึงต้องเดินทางไปด้วย เรื่องตลาดหุ้น ถ้าเราไปดูในรายละเอียดจะเห็นว่าครอบครัวชินวัตรบางคนก็เข้าเร็ว ออกเร็วในหุ้นบางตัว แม้ว่าจะจับไม่ได้ในแง่ของกฎหมายหลักทรัพย์ แต่จะเห็นร่อยรอยอะไรบางอย่าง
 
“ที่บอกว่าตลาดเงิน ตลาดทุนมันเป็นเทรนด์ใหม่ แล้วถ้าใครยึดได้นี่ก็จะเป็นแหล่งทุนที่สำคัญมาก สองสามวันนี้เห็นข่าวมั้ยครับ บริษัทอะไรสักอย่างทำธุรกิจขนส่ง ปรากฏว่ามีนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งเทคโอเว่อร์ จนหุ้นส่วนใหญ่ออกมาโวยวาย ข้อเท็จจริงยังไงไม่รู้นะครับเพราะฉะนั้นไม่ต้องมาฟ้องผม แต่เขาแถลงว่าถ้าเทคโอเว่อร์ได้จะให้คุณวิจิตร สุพินิจ ซึ่งเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาเป็นประธานบริษัท ตลกมั้ย
 
“แล้วจริงๆ ถ้าดูตรงนี้ ย้อนกลับไปสมัยรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช มีรัฐมนตรีคลังชื่อสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ช่วงนั้นกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยและกฎหมายกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์มีการปรับโครงสร้างของกรรมการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และโครงสร้างของ ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทยเดิม ประธานคือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็เปลี่ยนเป็นคนนอกผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ส่วน ก.ล.ต. ก็เป็นคนนอกเช่นเดียวกัน ปรากฏว่ากระบวนการสรรหาเหล่านี้ รัฐมนตรีคลังเป็นคนตั้งกรรมการสรรหาก็ตั้ง 2 ชุด ปรากฏว่า 2 ชุดนี้เป็นคนกลุ่มเดียวกัน แล้วก็สรรหาไขว้กันไปมากันเอง พอดีมีคนไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการฯ ก็ชี้ว่าการสรรหาไม่ชอบ มีการยกเลิก แล้วก็ถวายฎีกากันวุ่นวายไปหมด หมอเลี้ยบก็ถูก ป.ป.ช. สอบเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เรื่องอยู่ระหว่างอัยการ อัยการก็เห็นว่าพอที่จะฟ้องได้อยู่ อย่างไรก็ตามควรจะสอบเพิ่มสองสามประเด็น จะเห็นว่ากระบวนการนี้ไม่ถูกเบรกซะก็จะมีคนกลุ่มเดียวคุมทั้งตลาดเงินและ ตลาดทุน
 
“ขุมทรัพย์ประเภทที่ 2 คือสัมปทาน อาจารย์ชัยอนันต์ก็พูดไปแล้ว สัมปทานที่เป็นกอบเป็นกำคือสัมปทานสื่อสารมีมาตั้งแต่ปี 2533-2534 สมัยรัฐบาลน้าชาติ-พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จะเห็นว่ามีโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมาจนถึงคุณทักษิณซึ่งชัดเจนที่รวยจากสัมปทาน แต่รวยจากอะไรต้องไปดูนะครับ ตอนนั้นโทรศัพท์เครื่องละเป็นแสน ต่างประเทศเครื่องถูก กระบวนการที่ไม่มีคนชำแหละได้ชัดเจนคือกระบวนการขายเครื่องโทรศัพท์ที่มีการ ผูกขาด ไม่เคยมีคนสามารถชำแหละกระบวนการการขายเครื่องโทรศัพท์ได้ คุณเอาเข้ามาเท่าไหร่ คุณผูกขาดขายเครื่องหลายหมื่นบาทเลย แต่จริงๆ ต้นทุนต่างประเทศถูกมาก
“ปัจจุบันก็มีสัมปทานรถไฟฟ้า จัดซื้อจัดจ้าง สองหมื่นกว่าล้านที่แอร์พอร์ตเรลลิงค์ แต่คุณภาพการก่อสร้างแย่มาก ก็รวยกันไป แล้วก็ยังมีสัมปทานอีกอันหนึ่งที่ในอนาคตหลังจาก กสทช. เกิดก็คือสัมปทานทีวีต่างๆ ก็ต้องรอดูกันไป
“ประเภทต่อมาครับ งบประมาณแผ่นดิน มีรายละเอียดย่อยลงไปอีก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่โบราณที่สุดแต่ก็ยังเป็นขุมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดคือการ จัดซื้อ จัดจ้าง เรามีงบลงทุนประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ตกประมาณ 5 แสนล้าน ถ้ารั่วไหลสัก 20 เปอร์เซ็นต์ก็แสนล้าน จะเห็นว่าโครงการต่างๆ ที่ผุดขึ้นมามันมีผลประโยชน์อยู่ พอไม่ได้ก็จะเป็นจะตายเอา การจัดประมูลในท้องถิ่นก็มีขุมทรัพย์กระจายไปสู่หัวคะแนนหรือ ส.ส. ที่มีเครือข่ายกับบริษัทรับเหมา อันที่สองคือส่วนของเงินกู้ที่นำมาลงทุนอันนี้ก็เป็นประเด็นว่า เงินกู้มากๆ ก็มีส่วนที่จะรั่วไหล
 
“แล้วก็พวกโครงการที่ทำให้ราคาพืชผลราคาสูงและโครงการรับจำนำ โครงการรับจำนำเป็นโครงการที่กินได้ตลอดโครงการเลย จะเห็นว่าพรรคการเมืองหลายพรรคบอกว่า ถ้ามาเมื่อไหร่จะล้มโครงการประกันราคาข้าว เพราะโครงการประกันราคาข้าวไม่ได้จับสตางค์นี่ครับ โรงสี พ่อค้า หัวคะแนน ไม่ได้จับสตางค์ แต่รับจำนำได้จับสตางค์อยู่แล้ว แล้วจะกดราคาอะไรก็ตามแต่ สองได้ค่าสต็อก มหาศาลครับ ลองไปดูสิครับว่าปีหนึ่งที่เก็บสต็อกค่าโกดังเท่าไหร่ ตอนขายก็ได้อีกครับ
 
“สุดท้ายในเรื่องงบประมาณแผ่นดินคือเรื่องรัฐวิสาหกิจครับ สมัยก่อนการบินไทยกว่าจะซื้อเครื่องบินลำหนึ่งมีปัญหามากมาย ตอนนี้ผมไม่ทราบว่าเป็นเหมือนเดิมหรือเปล่า ไม่ได้ตาม งบลงทุนก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อยากจะสร้างนู่น สร้างนี่ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้สภาพัฒน์ฯ จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เลิกไปแล้วครับ ไม่มีแล้ว ไม่มีความหมายแล้ว
 
“แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ทางด่วนบางปะกงก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่โครงการประมูลรถที่อาจารย์พูดถึง ผมเข้าใจเองว่าเป็นรถเมล์ 4,000 คัน ก็เป็นรัฐวิสาหกิจ สุดท้ายก็คือการปล่อยสินเชื่อธนาคาร เป็นแหล่งทุนสำคัญตั้งแต่ยุคคุณตาม ใจ ขำภโต ยุคพันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ แม้แต่เอสเอ็มอีแบงค์ยุคคุณทักษิณ กู้ไปปลูกผักบุ้งยัง 30 ล้านเลยนะครับ ส.ส. คนหนึ่ง เราจะเห็นว่าทุกอย่างทุกเม็ดมีปัญหาหมด
“ขุมทรัพย์ที่ 5 ครับ คือการซื้อขายตำแหน่ง ใครว่าน้อยครับ เยอะนะครับ เมื่อก่อนที่ป่าไม้ชุกชุมนี่ก็หนักใช่มั้ยครับ พอป่าไม้มันเหลือน้อยก็เป็นตำแหน่งอื่นไป ในกระทรวงทรัพย์ก็ยังมีข่าวลือเรื่องตำแหน่ง เรื่องผู้ว่าฯ บ้าง ผู้ว่าฯ บางคนอาจจะไม่ได้จ่ายเงินสดนะครับ อาจเป็นเช็คล่วงหน้า
 
“อีกตัวหนึ่งคืองบภัยพิบัติ จะเห็นว่าทำไมเราชอบประกาศภัยแล้ง ประกาศที่ก็ซื้อแท็งค์น้ำ แล้วซื้อทีก็ตั้งงบทีหนึ่งพันล้าน หัวคิวสิบยี่สิบเปอร์เซ็นต์ พันล้านก็หลายร้อยล้าน ภัยหนาวก็ประกาศจัง ซื้อผ้าห่มไปแจกไม่รู้ทำไมผ้าห่มขาดบ่อยเหลือเกิน ประกาศภัยแล้งทีก็แจกแทงค์น้ำ ประกาศภัยหนาวทีก็แจกผ้าห่ม จะมีประจำทุกปี ที่บอกว่าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอิสระนั้น ยากครับ เพราะจะประกาศงบแบบนี้ไม่ได้
 
“แล้วทีนี้ทางออกล่ะ ถ้าให้พูดตรงไปตรงมา ทางออกคงไม่มีเพราะทางออกมีเงื่อนไขทั้งสิ้น เช่นถ้าบอกว่าต้องเปิดเผยข้อมูล แล้วอะไรจะทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลดียังไง ผมยอมรับครับว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของรัฐมนตรี ต่อมาฉบับปี 50 พัฒนาเป็น ส.ส. และ ส.ว. ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นต้นมามีรัฐมนตรีที่ไม่ใส่ใจเรื่องนี้หลุดจากตำแหน่งไปหลายคน คุณทักษิณก็เกือบจะหลุด แต่ก็มีคนไปอุ้มไว้ ก็ถือว่าเป็นผลดีไป แต่ว่าตอนนี้เขารู้แล้วครับ ยากมาก ที่จะให้พลาดในเรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สินนั้น มี แต่น้อยมาก ถ้าพวกฉลาดไม่มีทาง
 
“แต่ผมอยากจะพูดอย่างนี้ครับ เวลาเราพูดถึงการซื้อเสียงก็จะมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งมาอธิบายถึงเหตุจำเป็น ว่าการซื้อเสียงไม่ใช่ปัจจัยเดียว อะไรต่างๆ เยอะแยะ เพราะชาวบ้านมีความจำเป็น ถึงจะรับเงินแต่ถ้าไม่ใช่พวกพ้อง ไม่มีสายสัมพันธ์อื่นก็จะไม่ลงคะแนนให้ ก็อธิบายไปต่างๆ เราเห็นการรณรงค์ห้ามให้เงินขอทาน จริงๆ เอ็นจีโอเห็นตรงกันหมดนะครับว่าการให้เงินขอทานเป็นการส่งเสริมให้เขาเอา เด็กมาหลอกเราให้ได้เงิน ชาวบ้านจะรู้หรือไม่ก็ตามว่าการรับสตางค์เป็นตัวส่งเสริม เป็นตัวทำให้วงจรมันเชื่อมมาสู่การเมือง เพราะถ้าระบบการซื้อเสียงเกิดขึ้น เขาก็ต้องไปหาตังค์ ไม่มีใครโง่ควักกระเป๋าตัวเองมาหรอกครับ ถ้าเรายังคงรับสตางค์อยู่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผล ด้วยคำอธิบายทางสังคมวิทยาอะไรก็ตามแต่ มันก็เป็นตัวเชื่อมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และทุกคนไม่เคยโทษตัวเองครับ ไหนๆ เราไม่ค่อยมีโอกาสอยู่แล้ว ให้ก็รับไว้ซะเลย ปีหนึ่งหนหนึ่ง เพราะเราจน ทุกคนจะมีเหตุผลอธิบายเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาได้หมด
 
“ฟากนักธุรกิจ ประกาศอีกแล้วว่าจะจับมือการไม่จ่ายใต้โต๊ะ พอจะลงนามเห็นเงื่อนไขถอยทุกคนเลยนะครับ นี่ก็เป็นตัวส่งเสริมเหมือนกัน แล้วจะโทษใครล่ะครับ ผมคิดว่าเราเสนอวิธีแก้ปัญหายังไงก็ตามแต่ ถ้ายังคิดว่าไม่ใช่ปัญหาที่เรา เป็นปัญหาที่คุณ นักการเมืองเป็นตัวดี ทุกคนรุมชี้ไปที่นักการเมืองว่ามันโกง เราไม่มีทางเลือก ตอนนี้เราไม่มีทางเลือกจริงๆ ครับ เรามี 3 ห. 1 น. 3 ห.คือ ห้อยขมังเวทย์ หล่อเทพประทาน หรือเหลี่ยมนรกแตก หรือโนโหวต เลือกอันไหนเข้าทางทุกฝ่ายหมดครับ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องหาทางของเราเอง
 
“วิธีแก้อย่างหนึ่งของสังคมไทยคือเพิ่มอำนาจ ป.ป.ช. กฎหมายฉบับใหม่เพิ่มอำนาจ ป.ป.ช. เข้าไปมหาศาลเลยนะครับ เดิมเจ้าหน้าที่รัฐเวลาพ้นตำแหน่งเกิน 2 ปี ป.ป.ช. สอบไม่ได้นะ แต่ตอนนี้ 5 ปี แล้วถ้าพ้น 5 ปีแล้วปรากฏหลักฐานก็มีมติให้สอบได้อีกนะครับสูงสุด 10 ปี มีอำนาจในการสั่งให้หน่วยงานเปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจริงๆ กฎหมายข้อมูลข่าวสารมีอยู่แล้ว แต่ว่าไม่เวิร์คก็เลยออกกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ก็จะดูว่าเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจเยอะๆ แบบนี้แล้ว โดยที่ไม่มีฐานข้อมูล ป.ป.ช. ก็เอาแค่บัญชีทรัพย์สินมาแปะไว้ ใครอยากรู้ก็เปิดเอาเองแล้วกัน ก็ไล่ดูกันหน้ามืด ก.ก.ต. ก็เอาเงินบริจาคมาแปะไว้ แทนที่จะเอาข้อมูลมาจัดการให้เป็นระบบ เช่น กดปุ๊บ นาย ก. บริจาคกี่หน เท่าไหร่ ขึ้นมาเลย ถ้ามีการลงทุนด้านนี้จะช่วยประหยัดเวลาขนาดไหน
 
“แต่ผมคิดว่ามันคงแก้ลำบาก เคยเห็นโมเดลเสนอเยอะแยะไปหมด แต่ถ้าไม่เริ่มจากตัวเองผมว่าคงลำบาก เพราะทุกอย่างมันเป็นเงื่อนไขหมด”

แถลงการณ์ผลสอบคดีซุกหุ้น “ยิ่งลักษณ์” ให้การเท็จ วินมาร์ค”

ก.ล.ต. เผยแถลงการณ์ผลสอบคดีซุกหุ้น “ยิ่งลักษณ์” ให้การเท็จ วินมาร์ค” ไม่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ พร้อมชี้แจง ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ทั้งกรณีถือหุ้นของครอบครัวชินวัตร ในชินคอร์ป และเอสซี แอสเสท จึงถือว่าคดีน่าจะเป็นที่สิ้นสุด พร้อมระบุ “ยิ่งลักษณ์” ไม่มีหน้าที่รายงานถือหุ้น SHIN เหตุถือต่ำกว่า 5%
      
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยผ่านแถลงการณ์ชี้แจงกรณีการเคลื่อนไหวของเครือข่ายพลเมืองคัดค้าน นิรโทษกรรมคอร์รัปชันทักษิณ (คนท.) ที่เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ก.ล.ต. ให้ดำเนินการต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้เป็นไปตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ก.ล.ต.ได้ตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดแล้ว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต.มี 2 ประเด็น ดังนี้
      
       ประเด็นที่สืบเนื่องจากการที่ศาลฎีกาฯ ได้วินิจฉัยว่า การถือหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH (ชื่อเดิม SHIN) ของบุคคล 4 ราย (ซึ่งรวมถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และของบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ จำกัด เป็นการถือหุ้นแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ชินวัตร) ดังนั้น บุคคลที่ถือหุ้นแทนดังกล่าว จะถือว่ามีการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นเท็จหรือไม่
      
       ก.ล.ต.ชี้แจงว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้รายงานการขายหุ้นให้แก่บุคคลทั้ง 4 ราย และบริษัทแอมเพิลริชฯ ในปี 2543 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ว่าไม่ใช่การขายจริง ในเรื่องนี้ ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้ว (ดีเอสไอ) ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2553 ในข้อหาว่าไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการรายงานอันเป็นเท็จทั้งในปี 2543-2544 และการขายในปี 2549 ด้วย
      
       ทั้งนี้ ก.ล.ต.ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษลงวันที่ 21 ตุลาคม 2553 แจ้งว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานในกรณีการรายงานการถือหลักทรัพย์อันเป็นเท็จในปี 2543 และต่อมาพนักงานอัยการก็มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทั้งสองในกรณีดังกล่าว แล้วเช่นกัน
      
       และในประเด็นที่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ซึ่งศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่าถือหุ้นแทน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จะมีหน้าที่ประการใดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ หรือไม่นั้น เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์มีจำนวนหุ้นที่เกี่ยวข้องต่ำกว่าร้อยละ 5 จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานใดๆ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
      
       ทั้งนี้ การกล่าวโทษดังกล่าว ก.ล.ต.ดำเนินการภายหลังจากที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ โดย ก.ล.ต.ก็ได้ส่งพยานหลักฐานทั้งหมดให้กรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว ดังนั้น สำหรับด้าน ก.ล.ต.จึงถือได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์ฯ ครบถ้วนแล้ว
      
       ส่วนอีกประเด็น กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้แจงว่า ครอบครัวชินวัตรไม่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นในกองทุน 2 แห่ง และบริษัทวินมาร์ค โดยขัดต่อพยานหลักฐานที่ ก.ล.ต.ได้จากการตรวจสอบนั้น ก.ล.ต.ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 238 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ที่ครอบคลุมเฉพาะการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ โดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน หรือเกี่ยวกับราคาซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงกรณีนี้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวกับการถือหุ้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับบริษัทหรือราคาซื้อขาย จึงไม่เข้าลักษณะความผิดที่กฎหมายหลักทรัพย์กำหนดไว้
      
       และการชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นในขั้นตอนทั่วไปที่ ก.ล.ต.สอบถามมิใช่การชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราช บัญญัติหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ใช่ความผิดที่ ก.ล.ต.จะใช้อำนาจกฎหมายดำเนินการได้ตามมาตรา 302 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
      
       อนึ่ง กรณีเกี่ยวกับการปกปิดโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ตามประเด็นที่ 2 ก.ล.ต.ได้รวบรวบข้อมูลหลักฐานทั้งในและต่างประเทศ และส่งเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 โดยมีการประสานความร่วมมือต่อเนื่องมาจนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีความเห็นควร สั่งฟ้องบริษัท และนางบุษบา ดามาพงศ์ ในฐานะกรรมการบริษัทที่ร่วมลงนามในแบบดังกล่าวในความผิดฐานเปิดเผยข้อมูล เป็นเท็จในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 278 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และเห็นควรสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ในความผิดเกี่ยวกับรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และการไม่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ตามมาตรา 246 และ 247 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
      
       ในปัจจุบันคดีนี้ได้ยุติแล้ว โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทุกรายดังกล่าว ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น ก.ล.ต.จึงเห็นว่าได้ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาฯ หรือการถือหุ้นของครอบครัวชินวัตรในบริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอสซี แอสเสทฯ ตามอำนาจหน้าที่แล้ว และได้รายงานการดำเนินการให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.ทราบในการประชุม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ด้วยแล้ว
      
       อย่างไรก็ดี หากปรากฏว่าข้อมูลใดใหม่ ก.ล.ต.ก็พร้อมจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้อีกครั้ง และจะแจ้งดำเนินการในเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.เพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไปด้วย

เจาะ 14 ปี “มาร์ค” รวยขึ้น หรือ จนพิสดาร?


     ตรวจสอบทรัพย์สิน“มาร์ค”ตั้งแต่รั้งเก้าอี้เสนาบดีสมัยแรก เป็นผู้นำรัฐบาล  กระทั่งพ้นตำแหน่งนายกฯและต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ในเร็ววันนี้ 14ปีตั้งแต่เป็นรัฐมนตรี และ 2  ปีเศษบนเก้าอี้นายกฯ รวยขึ้นหรือจนพิสดาร?  
       เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่ามี
มีทรัพย์สิน 557,363,123 บาท  ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุน 13,433,017 บาท  คุณหญิงพจมานมี 8,842,085,955 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุน 2,360,261,735 บาท
      รวม 2 คน 9,399,449,078 บาท  (บุตร 3 คน บรรลุนิติภาวะหมดแล้ว-ไม่รวมทรัพย์สินที่ถูกยึดทรัพย์ร่ำรวยผิดปกติ 4.6 หมื่นล้าน)
      ลดลงจากตอนเป็นรองนายกฯในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ วันที่ 7พฤศจิกายน 2540  แจ้งว่า มีทรัพย์สิน 5,929,319,144บาท      คุณหญิงพจมานมีทรัพย์สินรวม 11,243,888,307บาทไม่มีหนี้สิน รวม 2 คน  17,173,207,451 บาท
       บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 3คน(ขณะนั้น) นายพานทองแท้ (โอ๊ค) นางสาวพิณทองทา (เอม) และเด็กหญิงแพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) มีทรัพย์สินรวมกัน 3,896,083,935บาท
       เบ็ดเสร็จ 5คนมีทรัพย์สิน 21,069,291,386บาท
       หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม และต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
        2 ปีเศษบนเก้านายกฯคนที่ 27 รวยขึ้นหรือจนลง เป็นคำถามที่คนจำนวนไม่น้อยอยากรู้?
       ก่อนถึงเวลานั้น ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนสอบสวนฯ  (TCIJ)นำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินของ “มาร์ค”แต่ละช่วงมาเปิดเผยอย่างละเอียด
       ตอนรับตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2540  นายอภิสิทธิ์แจ้งว่ามีทรัพย์สิน  27,732,451  บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 2,306,968  บาท  หุ้นบริษัทโรงพยาบาลพร้อมมิตร จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น มูลค่า 100,000 บาท  ที่ดิน 3 แปลง เนื้อที่ 15-1-59 ไร่ อยู่คลองตัน (บางกะปิฝั่งใต้)  พระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 0-0-32  ไร่  ,ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เนื้อที่ 15-0-0ไร่  และที่ดินใน ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 0-1-27 ไร่  รวมมูลค่า 16,407,000บาท  สิ่งปลูกสร้าง  2 หลัง อาคารชุด อาคาร พิงผา ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  6,000,000 บาท รถยนต์ 2 คัน  ยี่ห้อเมอร์ซิเดส เบนซ์  190 E  เลขที่ทะเบียน 6 ฮ -1183  และ ฮอนด้า  ODYSSEY ทะเบียน 9ฬ 2733 กรุงเทพฯ   2,693,483 บาท  ทรัพย์สินอื่น 225,732 บาท หนี้สิน 835,903 บาท
     รวมทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 26.8 ล้านบาท
      ทญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ  ภริยามีทรัพย์สินเพียง  2,559,806 บาท  แบ่งเป็นเงินฝาก 1,049,806 บาท ทรัพย์สินอื่น 1,510,000บาท ไม่มีหนี้สิน   
      บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน ได้แก่ ด.ญ.ปราง เวชชาชีวะ และ ด.ช.ปัณณสิทธ์ เวชชาชีวะ  มีทรัพย์สิน 399,290 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 249,290 บาท  ทรัพย์สินอื่น 150,000 บาท
      รวมทรัพย์สิน30,691,547 บาท  
       ตอนพ้นตำแหน่งวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544  นาย อภิสิทธิ์แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 26,685,224 บาท  แบ่งเป็นเงินฝากบัญชี 1,259,741  บาท หุ้นบริษัทโรงพยาบาลพร้อมมิตร จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น มูลค่า 100,000 บาท  ที่ดิน 3 แปลง 16,407,000บาท สิ่งปลูกสร้าง  (คอนโดมีเนียม 2 หลัง)  6,000,000 บาท  รถยนต์ 2 คัน  ยี่ห้อ เมอร์ซิเดสเบนซ์  6 ฮ.-1183 กทม. และ ฮอนด้า  ODYSSEY  9 ฬ -2733 กทม.   2,693,483 บาท ทรัพย์สินอื่น 225,000 บาท    ไม่มีหนี้สิน
      ทญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ  มีทรัพย์สิน 2,817,591 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 782,591 บาท ทรัพย์สินอื่น 2,035,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
     บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน มีเงินฝาก 342,334 บาท   ทรัพย์สินอื่น 150,000 บาท รวม 492,334 บาท
     รวมทรัพย์สิน  29,995,149 บาท
      ตอนพ้นครบ 1 ปี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545
      นายอภิสิทธิ์แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 46,099,313  บาท  แบ่งเป็นเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี 407,654 บาท  หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 2 รายการ  ได้แก่ หุ้นโรงพยาบาลพร้อมมิตร 1,000 หุ้น มูลค่า 100,000บาท กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเพิ่มทรัพย์ 122,360 หุ้น  มูลค่า 1,766,176  บาท รวม  1,866,176 บาท  ,ที่ดิน 3 แปลง 16,407,000 บาท ได้แก่ ที่ดินใน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี  เนื้อที่ 15-0-0 ไร่ ที่ดินใน ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 0-1-27 ไร่ และที่ดิน ในคลองตัน (บางกะปิฝั่งใต้ พระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 0-0-32  ไร่   ,สิ่งปลูกสร้างอื่น 4 หลัง 24,500,000 บาท  ได้แก่ อาคารชุดอาคาร พิงผา ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี   อาคารชุดบ้านแสนสราญ  2 ห้อง ใน ต.หนองแก อ.หัวหิน (ปราณบุรี) จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น  ซ.ประสานมิตร ถ.สุขุมวิท 23 แขวงคลองตันเหนือเขตวัฒนา กรุงเทพฯ ,รถยนต์ 2 คัน  ได้แก่ BENZ 190 E  เลขที่ทะเบียน 6 ฮ -1183  และ HONDA ODYSSEY ทะเบียน 9ฬ 2733 กรุงเทพฯ   ,ทรัพย์สินอื่น  225,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
       ทญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ  มีทรัพย์สิน 4,295,959 บาท แบ่งเป็นเงินฝากในธนาคาร 3 บัญชี 344,783 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต  กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเพิ่มทรัพย์  122,360 หุ้น มูลค่า 1,766,176 บาท  ทรัพย์สินอื่น เครื่องประดับ  2,185,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
     บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน มีทรัพย์สิน 517,944 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 5 บัญชี 36,7944 บาท ทรัพย์สินอื่น 150,000 บาท
     รวมทรัพย์สิน 50,913,216 บาท
      ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์แจ้งว่ามีรายได้ต่อปีจากเงินเดือน 968,196 บาท เงินรายได้ประจำอื่นๆได้แก่ เงินเดือน 240,000 บาท ค่าเช่า 60,000 บาท ดอกเบี้ย 8,153 บาท เงินปันผล 2 ,000 บาท และค่านายหน้า 2.8 ล้านบาท  รวม 4,078,349 บาท คู่สมรสมีรายได้จากเงินเดือน 98,280 บาท  และดอกเบี้ย 6,895 บาท  รวม 105,175 บาท บุตรมีรายได้จากดอกเบี้ย 7,358 บาท
      เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินกรณีพ้นตำแหน่งเดือนกุมภาพันธ์  2544  เท่ากับนายอภิสิทธิ์มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น  20.7 ล้านบาท      
      ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551
     นายอภิสิทธิ์แจ้งว่ามีทรัพย์สิน  36,195,929  บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 1,659,929 บาท ที่ดิน  2 แปลง 15-1-27 ไร่  ราคา 19581000 บาท  อยู่ใน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เนื้อที่ 15-0-0ไร่ และ ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 0-1-27 ไร่
       คอนโดมีเนียม 2 แห่ง 3 ห้อง ได้แก่  เลขที่ 174/16 ชั้น 4 อาคารชุดพิงผา ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  ,เลขที่ 89/227 และเลขที่ 89/278 ชั้น 4 อาคารชุดบ้านแสนสราญ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  รวมราคา 13,800,000 บาท
       รถยนต์  2 คัน  ยี่ห้อ ฮอนด้า  ODYSSEY ทะเบียน 9ฬ 2733 กรุงเทพฯ  ราคา 500,000 บาท และ ฮอนด้า CR-V ทะเบียน ว ณ 4533 กรุงเทพฯ ราคา 400,000 บาท รวม 900,000 บาท
      ทรัพย์สินอื่น 255,000 บาท  ได้แก่ นาฬิกา Patek Philippe 1 เรือน 200,000 บาท สร้อยคอทองคำ 1 เส้น 25,000 บาท และนาฬิกา  Jaeger-LaCoultre รุ่น Reverso 1 เรือน ราคา 30,000 บาท  ไม่มีหนี้สิน
      ทญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ  มีทรัพย์สิน 14,644,438บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 4,186,797 บาท เงินลงทุน กองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พิเศษ  จำนวน 732,367.9 หุ้น  มูลค่า ณ วันแสดงบัญชี 7,388,640 บาท ทรัพย์สินอื่น เครื่องประดับ 17 รายการ มูลค่า 3,000,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
     บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีเงินฝาก 452,057 บาท
     รวมทรัพย์สิน  51,292,425  บาท
      ล่าสุดตอนรับตำแหน่งนายกฯ วันที่ 22 ธันวาคม 2551นายอภิสิทธิ์แจ้งว่า มีทรัพย์สิน 37,057,945 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 1,351,945 บาท  ที่ดิน 2 แปลง 19,581,000 บาท  อยู่ใน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เนื้อที่ 15-0-0ไร่ และ ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 0-1-27 ไร่
       คอนโดมีเนียม 2 แห่ง 3 ห้อง ได้แก่  เลขที่ 174/16 ชั้น 4 อาคารชุดพิงผา ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  ,เลขที่ 89/227 และเลขที่ 89/278 ชั้น 4 อาคารชุดบ้านแสนสราญ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  รวมราคา 13,800,000บาท
     รถยนต์ 2 คัน ยี่ห้อ HONDA CR-V เลขทะเบียน ว ณ 4533 กรุงเทพฯ ราคา 400,000 บาท และ MITSUBISHI SPACE WAGON  เลขทะเบียน ณ ง 5317 กรุงเทพฯ ราคา 1,670,000 บาท  รวม 2,070,000 บาท
     ทรัพย์สินอื่น ได้แก่ นาฬิกา Patek Philippe 1 เรือน 200,000 บาท สร้อยคอทองคำ 1 เส้น 25,000 บาท และนาฬิกา  Jaeger-LaCoultre รุ่น Reverso 1 เรือน ราคา 30,000 บาท หนี้สินเงินกู้จากธนาคารธนชาติ 1,087,674 บาท
      ทญ.พิมพ์เพ็ญ มี15,356,024 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 4,431,977 บาท เงินลงทุน กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงิน  จำนวน 668,769 หุ้น  มูลค่า ณ วันแสดงบัญชี 7,605,047 บาท ทรัพย์สินอื่นเครื่องประดับ 18 รายการ มูลค่า   3,319,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
     บุตรไม่บรรลุนิติภาวะมีเงินฝาก 469,582 บาท
     รวม 52,883,552  บาท
     สรุปทรัพย์สินของ “มาร์ค” เทียบระหว่างปี 2540  กับ ปี 2551 เพิ่มขึ้น 22 ล้านบาท โดยช่วงที่เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงปี 2544-2545 ขณะนั้นเป็น ส.ส.ฝ่ายค้านซึ่งเจ้าตัวเคยชี้แจงว่ามาจากธุรกิจซื้อขายที่ดิน?   
   
                     
                                            ทรัพย์สินของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและครอบครัวที่ยื่นต่อ ป.ป.ช.

14 พฤศจิกายน 2540  รมต.ประจำสำนักฯ
 (บาท)
18 กุมภาพันธ์ 2544 พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี
(บาท)
18 กุมภาพันธ์ 2545 พ้นตำแหน่งครบ 1 ปี
(บาท)
22 มกราคม 2551
 ส.ส. สัดส่วน
 (บาท)
22ธันวาคม 2551
รับตำแหน่ง นายกฯ
(บาท)   
อภิสิทธิ์    27,732,451  อภิสิทธิ์     26,685,224  อภิสิทธิ์     46,099,313 อภิสิทธิ์    36,195,929 อภิสิทธิ์   37,057,945
พิมพ์เพ็ญ   2,559,806 พิมพ์เพ็ญ    2,817,591 พิมพ์เพ็ญ   4,295,959 พิมพ์เพ็ญ 14,644,438 พิมพ์เพ็ญ 15,356,024
บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน   399,290 บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ2 คน   492,334 บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ2 คน  517,944 บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ1 คน  452,057 บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ 1 คน 469,582
รวม    30,691,547 รวม      29,995,149 รวม      50,913,216 รวม    51,292,425 รวม 52,883,552


http://www.tcijthai.com/investigative-story/507
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง