ASTV เมเนเจอร์ออนไลน์
เปิด 2 เงื่อนไขที่จะทำให้ทักษิณ กลับไทย สั่งลิ่วล้อเดินหน้า ปรองดอง-นิรโทษกรรม พร้อมเร่งเอาผิด "5 บุคคล"สำคัญ ผลักเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตัดสินติดคุกทั่วหน้า เตรียมใช้กลไกนิรโทษกรรมฟอกตัว จับตากระแสต้าน "แม้ว" โดยเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวริค์ปลุกพลังสู้ ขณะที่ทหารส่งกลิ่นปฎิวัติสูง
หยุดไม่อยู่แล้ว สำหรับพรรคเพื่อไทย และกระบวนการคนเสื้อแดง ที่วันนี้ ต่างออกมาเคลื่อนไหวให้ “นายใหญ่” กลับบ้าน และเป็นการกลับบ้านโดยกระบวนการฟอกผิดให้กลับมาแบบสง่างาม (ลืมอดีตให้สิ้น) และแบบไม่ต้องติดคุกเสียด้วย!
“นายใหญ่”ใช้ใครทำอะไร เดินหน้าทางไหน กลับได้เมื่อไรและจะกลับมาได้จริงหรือไม่?
กลับมาต้องไม่ติดคุก
แหล่งข่าวในวุฒิสภา เปิดเผยว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทย และกระบวนการคนเสื้อแดงวันนี้จะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีให้กลับบ้านนั้น ดูจากความเคลื่อนไหวแล้ว จะมีอยู่ 3 ส่วนสำคัญคือ คดีอาญาที่พ.ต.ท.ทักษิณติดขัดอยู่,คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกยึดไป และทำอย่างไรให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้อีก
ทั้ง 3 ส่วนนี้ ได้เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก กล่าวคือ คดีอาญาที่พ.ต.ท.ทักษิณ ติดคดีอยู่นั้น น่าจะเป็นเรื่องทีผลักดันให้เกิดได้ง่ายที่สุดในฐานะที่ได้เปรียบในการเป็นผู้นำรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ โดยคดีอาญาที่ พ.ต.ท.ทักษิณติดอยู่นั้นเป็นเรื่องของคดีที่ดินรัชดาฯ ที่พ.ต.ท.ทักษิณโดนตัดสินจำคุก 2 ปี ประกอบกับคดีที่ตามมาคือคดีหวยบนดินที่จะมีคำพิพากษาสิ้นสุดด้วย ซึ่ง 2 คดีนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทยไม่ได้ในช่วงที่ผ่านมา
เครื่องมือที่จะปลดล็อคคดีความที่เป็นคดีอาญาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในส่วนนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีได้เป็นคนเปิดประเด็นนี้ไปแล้ว โดยใช้เครื่องมือคือ “พ.ร.บ.ปรองดอง” โดยมีคณะกรรมาธิการปรองดองฯ ขอสภาฯ เป็นคนให้ความเห็นประกอบเพื่อขอความชอบธรรม โดยจะมีการให้ส.ส.20 คนเสนอร่าง พ.ร.บ.ฯ ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีโอกาสทำสำเร็จได้สูง
เสียงแน่น - พรรคร่วมหนุนนิรโทษ
เนื่องจากในสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้ พรรคเพื่อไทยรวมกับพรรคร่วมมีเสียงส.ส.อยู่ประมาณ 300 เสียงกว่า (รวมพรรคร่วม) รวมกับส.ว.ในส่วนวุฒิสภาสายเพื่อไทยจะมีอยู่อีกประมาณ 58 เสียง ไม่รวมส.ว.ในส่วนของพรรคร่วม ซึ่งจะมีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นมาอีก ดังนั้นในส่วนของคะแนนเสียงในสภา ถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้คุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ไว้ได้เบ็ดเสร็จ กระบวนการช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณที่จะผ่านสภา จึงไม่มีความน่าเป็นห่วงแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องทำไม่ให้ประชาชนรู้สึกต่อต้านและคัดค้าน ดังนั้น จึงมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญไปพร้อมกันนี้ด้วย โดยใช้ สสร.หรือสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสำคัญ
“โครงสร้างของสสร.น่าจะออกมาในรูปแบบของการเลือกตั้งตามเขตจำนวนประชากร ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสัดส่วนของสสร.แม้จะไม่ใช่ของพรรคเพื่อไทย 100% แต่พ.ต.ท.ทักษิณจะสามารถคุมได้เกือบ 100% เพราะถ้ามาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีสัดส่วน สสร.ที่ใกล้ชิดฝ่ายการเมืองไม่แตกต่างจากสัดส่วนของส.ส.ในสภามากนัก ดังนั้นพรรคเพื่อไทยยังสามารถคุมได้ แต่ฝ่ายคัดค้านก็จะทำอะไรไม่ได้ เพราะเขาจะอ้างว่าผ่านระบบเลือกตั้งมา ประชาชนเลือกมา”
โดยในจุดนี้เชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะยังช่วยในการยกมือสนับสนุนเนื่องจากพรรคร่วมต้องการเอี่ยวในเรื่องของการนิรโทษกรรม ซึ่งเป็นการสมประโยชน์
ที่ต้องเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญไปด้วยนั้น เนื่องจากจะให้รัฐธรรมนูญมีบทเฉพาะกาลว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมให้มีการปรองดอง เพื่อนำมาสู่การรับรอง พ.ร.บ.ปรองดอง และเมื่อสสร.ซึ่งมีภาพของคนกลาง ไม่ใช่ภาพนักการเมือง ก็จะได้รับการยอมรับมากกว่า อีกทั้ง สสร.ก็จะมีกระบวนการไปรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน สามารถอ้างได้อีกว่าประชาชนต้องการ เป็นการรับรองความชอบธรรมเบ็ดเสร็จ ซึ่งกระบวนการรับรอง พ.ร.บ.ปรองดองนั้นจะเกิดขึ้นตอนรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็ได้ หรือระหว่างการจัดทำรัฐธรรมนูญก็เป็นไปได้เช่นกัน
หลังจากนั้นก็จะทำในส่วนที่ 2 คือหาวิธีคืนทรัพย์สินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนนี้ดูได้จากข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า ที่ให้มีการทบทวนอำนาจของคตส.เนื่องจากเกิดจากการปฏิวัติ ดังนั้นอาจจะมีการให้พลิกฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลยก็จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีสิทธิได้เงินคืน
ส่วนการกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะว่ากระแสสังคมยังไม่ได้ให้การยอมรับในส่วนนี้มากเท่าไร และ พ.ต.ท.ทักษิณก็รู้ดีในจุดนี้ ดังนั้นจะพยายามไม่แสดงตนว่าอยากกลับมาเป็นนายกฯอีกและเดินหน้าให้ตัวเองพ้นคดีเป็นลำดับแรก
อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดต้องยอมรับว่ากระบวนการทางด้านกฎหมายนี้จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีโอกาสที่จะกลับมาประเทศไทยโดยไม่ต้องถูกดำเนินคดีได้มาก เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีการคุมเสียงในสภาได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ มองว่าคนที่จะคัดค้านก็จะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีเป้าให้โจมตีได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ฉลาดที่จะให้แก้แค่มาตรา 291 รวมทั้งการตั้งสสร.ยังโยงอยู่กับอำนาจประชาชน
“ใครจะมาคัดค้านก็ลำบาก เพราะรัฐบาลจะอ้างได้ว่า สสร.มาจากการเลือกตั้ง และมีการสอบถามความคิดเห็นประชาชน ดังนั้นต่อไปเขาจะอ้างว่า ใครอยากคัดค้านก็ให้ไปสู้กันในกระบวนการลงมติรับรองรัฐธรรมนูญแทน ซึ่งในจุดนั้นพรรคเพื่อไทยมั่นใจว่าชนะอยู่แล้ว”
ทั้งนี้ ก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดสุ่มเสี่ยง จุดอ่อนของกระบวนการเดินหน้าทางกฎหมายเพื่อช่วยทักษิณนั้นมีจุดอ่อนที่สำคัญมากคือเรื่องของการเข้าไปแตะต้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า มีการโยนหินถามทางมาแล้วผ่านกลุ่มนิติราษฎร์ และครก.112 ซึ่งนอกจากไม่ได้รับการตอบรับจากสังคมไทยแล้ว ยังถูกต่อต้านอย่างหนักจนต้องล้มเลิกอย่างรวดเร็ว จุดนี้ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ว่าถ้ายอมที่จะไม่แตะต้องก็จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญ และการเดินหน้า พ.ร.บ.ปรองดองสำเร็จได้ง่ายกว่า
ทั้งนี้ มองว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับประเทศไทยภายในปีนี้ อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแม้เดิมจะเร่งรัดให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน แต่การเร่งรัดมากเกินไปจะทำให้มีข้อครหาได้ ซึ่งเมื่อรวมกับเหตุผลที่ว่าในกลางปีหน้าจะเริ่มมีการสรรหาองค์กรอิสระต่างๆใหม่ โดยเฉพาะ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ก็มองว่า น่าจะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นก่อนกลางปีหน้า และคาดว่าจะไม่มีการเลือกตั้งใหม่เพราะครองเสียงข้างมากในสภาได้อยู่แล้ว ไม่มีการแก้ที่มาของสภาผู้แทนราษฎร แต่จะแก้ที่มาของวุฒิสภา,องค์กรอิสระ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เท่านั้น
แม้วสั่งเด็ดหัว 5 แกนนำคัดค้าน
เช่นเดียวกับ แหล่งข่าวความมั่นคง ที่มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะได้กลับประเทศไทยได้ในปีนี้ เนื่องจาก นอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณจะต้องการกลับประเทศไทยโดยไม่ต้องติดคุกแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ยังจะต้องสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นก่อน เพราะต้องการการยอมรับจากประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วยนอกจากรากหญ้า
โดยคาดว่าสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะให้ลิ่วล้อดำเนินการนั้น ที่สำคัญคือ จะต้องให้มีการดำเนินคดีกับผู้นำในกลุ่มต่อต้านอำนาจของเขาก่อน 3 ส่วนสำคัญคือ พรรคประชาธิปัตย์,ทหารและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะเชื่อมอยู่กับทหาร คือ ต้องการให้มีการดำเนินคดี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง โดยต้องการให้มีการดำเนินคดีถึงชั้นศาลและมีคำตัดสินให้ถึงขั้นติดคุก เช่นเดียวกับทหารที่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และอดีต ผบ.ทบ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
อีกคนที่นายใหญ่ต้องการให้มีการดำเนินคดีคือ สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของกลุ่มพธม.แม้ว่า สนธิ ขณะนี้จะอยู่ในระหว่างอุทรณ์คดีที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ แต่คาดว่ามีแผนที่จะให้โดนตัดสินให้ติดคุกในคดีทางการเมืองด้วย
“คุณอภิสิทธิ์ คุณสุเทพ เป็นตัวแทนฝ่ายการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.อนุพงษ์ เป็นฝ่ายทหาร คุณสนธิคือแกนนำมวลชน เมื่อทุกคนโดนคดีทางการเมืองทั้งหมด ก็จะเดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกคนได้ สังคมก็ยอมรับได้ พ.ต.ท.ทักษิณก็กลับมาได้โดยไม่ถูกต่อต้าน นี่คือสิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณตั้งใจจะรอให้เกิดขึ้น”
อย่างไรก็ดี ทางฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องไม่ประเมินทหารผิดพลาด เพราะทหารแม้ดูว่าอยู่เงียบๆ แต่ถ้าไปแตะต้องมากๆ อาจเกิดผลเสียกับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ
“ที่ผ่านมา รัฐบาลใช้ดีเอสไอ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) ในความพยายามดำเนินคดี 91 ศพ ซึ่งมี 16 ศพที่มีกระสุนสีเขียวซึ่งเป็นของทหาร แม้ทหารจะยอมรับว่าหัวกระสุนเป็นของทหารจริง แต่การที่ทหารได้ทำหน้าที่ในการรักษาความสงบของประเทศ และป้องกันตัวเอง อีกทั้งก่อนหน้านั้นมีการขโมยอาวุธของทหารไปด้วย ดังนั้นจึงจะมาเอาผิดทหารไม่ได้ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ที่เป็นผู้บังคับบัญชาจะไม่ยอมให้มาเอาผิดลูกน้อง ขณะที่ลูกน้องก็จะไม่ยอมให้เอาผิดพล.อ.ประยุทธ์ จุดนี้ถ้ารัฐบาลไม่หยุดจะทำให้ทหารยอมไม่ได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ ไม่แน่ใจจะถึงขั้นปฏิวัติหรือไม่แต่จะมี Reactionออกมาแน่ๆ เช่นเดียวกับการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่จะเป็นเหตุผลหลักให้ทหารออกมาทำการปฏิวัติได้”
ระวัง!โซเซียลเน็ตเวิร์คต่อต้านแรง
ทั้งนี้ในส่วนของมวลชน มองว่า ขณะนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น เหมือนพธม.เริ่มต่อต้านระบอบทักษิณในปี 2547-2548 ซึ่งขณะนี้มีแนวร่วมหลายกลุ่ม ทั้งสยามประชาวิวัฒน์,เสื้อหลากสี,พธม.และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทุกกลุ่มยังไม่ได้มีการมารวมตัวกัน แต่หากมีประเด็นใหญ่ๆ จะทำให้ทุกกลุ่มเหล่านี้เริ่มหันมารวมตัวกันและจะมีพลังมาก
ที่สำคัญ กระบวนการเคลื่อนไหวทางโซเซียลเน็ทเวิร์คเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีพลังมาก ซึ่งมีกลุ่มที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ และการช่วยเหลือแต่พ.ต.ท.ทักษิณไม่น้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่ออกมา แต่จะยังมีการระดมกันผ่านโซเซียลเน็ทเวิร์ค และหากมีเรื่องร้อนแรงถึงขั้นยอมไม่ได้ โดยเฉพาะการแตะต้องสถาบันสูงสุด หรือการยกเลิก หรือลดบทบาทอำนาจศาล จะทำให้คนเหล่านี้ออกมารวมตัวกัน ซึ่งจะมีพลังมาก จาก 100 เป็น 1000 เป็น 10000 คนได้ไม่ยาก
เหตุรุนแรงมีโอกาสเกิด
ขณะที่ ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณน่าจะต้องการที่จะกลับมาแล้วโดยไม่ถูกดำเนินคดี ดังนั้นจึงต้องมีการทำให้คำพิพากษาเป็นโมฆะ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อให้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรม แต่ก็ต้องใช้เวลานาน และไม่ทราบว่าจะสำเร็จหรือไม่เพราะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ อาจรอไม่ได้
ขณะที่การออกเป็นกฎหมายธรรมดาอย่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และอภัยโทษให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งเสื้อเหลือง-เสื้อแดงจะเป็นไปได้เร็วกว่า
“แม้พ.ต.ท.ทักษิณจะมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องทางการเมือง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็เอาการเมืองมาแก้ไม่ได้ ต้องอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย ดังนั้นถึงแม้จะมีการเจรจาเพื่อปรองดอง แต่ก็ต้องเอากฎหมายไปลบล้างคำตัดสินของศาลอยู่ดี ไม่มีช่องทางอื่น”
ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญยังอยู่ที่ภาคประชาชนจะยอมรับเรื่องนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ทำให้ทางฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณยังต้องอาศัยกรรมาธิการวิสามัญปรองดองให้ พล.อ.สนธิ บุญยกลิน อดีตแกนนำคมช.(คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) เป็นประธาน และให้สถาบันพระปกเกล้าเสนอความคิดเห็นให้มีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและยกเลิกอำนาจ คตส. เพื่อสร้างกระบวนการให้สังคมยอมรับ ลดทอนกระแสต่อต้าน
อย่างไรก็ดี ความพยายามที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยโดยไม่มีการดำเนินคดีนั้น จะนำไปสู่ความรุนแรงของความขัดแย้งระหว่างมวลชนได้หรือไม่ มองว่า กระบวนการความขัดแย้งอย่างเป็นนามธรรมทางการเมืองนั้นยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง และกำลังสั่งสมทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และมีสิทธิที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้ไม่ยาก
“ที่ผ่านมากลุ่มสีเสื้อจะเป็นลักษณะขัดแจ้งกับอำนาจรัฐ เช่นตอนประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็มีเรื่องของมวลชนเสื้อแดงที่ 4 แยกราชประสงค์ ตอนสมัยสมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ ก็มีมวลชนเสื้อเหลืองออกมาต่อต้าน ที่ผ่านมาแดง-เหลืองจึงไม่เคยปะทะกันเอง เพราะมีความพยายามหลีกเลี่ยงอยู่ แต่ในอนาคตไม่แน่ หากมีเหตุการณ์ผันแปร ซึ่งเมื่อเกิดสภาพสังคมเป็นอนาธิปไตย ทหารจะเข้ามายึดอำนาจหรือแค่เข้ามารักษาสถานการณ์ก็เป็นไปได้เช่นกัน”
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555
ผ่า แผนโยนหินหาแห้ว พี่แม้วกลับไทย ฉบับเหลิม - บัง สับขาหลอก
ผ่า
แผนโยนหินหาแห้ว พี่แม้วกลับไทย ฉบับเหลิม - บัง สับขาหลอก ? VS ปริศนา ?
พ.ร.บ.ปัตตานีนคร ฉบับ ยามีละห์หน้าเหี่ยว..เสียวไส้..?? !!..
by
vincentoldbook
,
.. ขอบคุณภาพ จาก เนชั่น ไทยพับลิก้า โพสต์ทูเดย์ ไทยรัฐ และ อื่นๆในอินเตอร์เน็ต ..
....................................
ผ่า แผน โยนหิน..หาแห้ว พี่แม้วกลับไทย ฉบับ เหลิม - บัง สับขาหลอก ? VS ปริศนา ? พ.ร.บ.ปัตตานีนคร .. ฉบับ ยามีละห์หน้าเหี่ยว..เสียวไส้..?? เมื่อ บิ๊กตู่ ..ปรี๊ดดแตก !!!..
ช่วงนี้..
ห่างหายการเขียนบทความไปนาน..
เอาเวลาไปพักผ่อนท่องเที่ยวเที่ยวทะเลจันท์มาครับ..
กว่า จะได้ฤกษ์กลับมานั่งตั้งหน้าตั้งตาเขียนบทความการเมืองยาวๆกันอีก ก็ต้องมานั่งบิดขี้เกียจอยู่หลายวัน อ่านข่าวแต่ละข่าว ช่วงนี้มีแต่ข่าวสารที่น่าเบื่อหน่าย อ่านไปหลายๆข่าวก็แทบอยากจะคายของเก่าออกมา เพราะมันชวนคลื่นเหียน จนเวียนศรีษะจริงๆ..
โดยเฉพาะข่าวของ .. นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือ น้องปูแดงของเรา ที่โผล่หน้าไปไหนมาไหน ? หากไม่มีเรื่อง ฉาวโฉ่ ก็ต้องมีเรื่อง โพยโผล่ ออกมาให้ได้ด่ากัน ให้ได้นินทากัน จนขำกันกระจัดกระจายไปทั่วบ้านทั่วเมือง ..
เป็นนายกรัฐมนตรีไทย พูดภาษาอังกฤษ ไม่ได้ ไม่เก่ง ไม่แปลกหรอก !!!..
ทว่า ที่มันแปลก ก็คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รู้ว่าตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีปัญหาในการ พูด อ่าน สนทนา ภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย แต่ดันไม่มีการพัฒนาการทางด้าน การอ่าน พูด สนทนา ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง ..
แต่กลับใช้วิธี ให้พวกลูกกระเป๋ง ทีมงานโฆษก ทั้งโทรโข่งส่วนตัว ทั้งโทรโข่งรัฐบาล ออกมาแก้ต่าง แก้ข่าว ตลบแตลงหาข้ออ้างสารพัดเหตุผลมากล่าวอ้าง ก่อนจะไปจบที่การฟาดงวงฟาดงาใส่ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ..
ผู้นำทั่วโลก ไม่มีใครเขามานั่งกระมิดกระเมี้ยน ทำเอียงอาย บิดไปบิดมา แล้วก็เอามือแง้มๆโพยอ่าน แบบเขินๆ หรือ ไปยืนกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทย ๗ นาทีรวด จนทำให้พี่ยุ่นปวดหัว และ งงเป็นไก่ตาแตก ก่อนจะปัดตูดหนีเฉย เหมือน นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือ น้องปูเน่า เอาแต่ใจของเราหรอก จริงๆ ..
ดังนั้น เมื่อผู้นำประเทศ มีจุดด้อย มีจุดอ่อน ที่ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง หรือ ฝึกทักษะเพิ่มเติม ไม่ว่าจะในเรื่องของ การสนทนา การกล่าวสุนทรพจน์ หรือ การตอบคำถามสื่อมวลชน ไม่ว่าจะโดยภาษาไทย หรือ ภาษาสากลอย่างภาษาอังกฤษ ..มันย่อมจะมีปัญหาตามมาแน่ๆอยู่แล้ว..
อย่าง ที่เราได้เห็นในการแสดงออก และ หนีเตลิดเปิดเปิงไปดื้อของ นายกฯหญิงคนแรกของเราเวลาเจอนักข่าวต่างชาติ หรือ นักข่าวชาวไทย ยิงคำถามใส่นั่นแหละ ..
หากเธอไม่ตอบแบบ ถามอย่าง ตอบอีกอย่าง เธอก็จะใช้วิธีเดินหนีเอาตัวรอดไปง่ายๆ ..
สะท้อน ให้เห็นถึงภาวะผู้นำที่บกพร่อง ไม่รับผิดชอบต่อสาธารณชน เป็นบุคคลสาธารณะแต่ดันทำตัวเป็น บุคคลพิเศษ มีความเป็นส่วนตัว เลอเลิศ แตะต้องไม่ได้ งอนตุ๊บป่อง เป็นแม่เทพธิดาทองไม่รู้ร้อน ผู้เลอโฉม สุดยอดสตรีนักสู้ ของ ผู้สื่อข่าว ..รับจ้าง !!!..
นักสู้จริงๆ คือ สู้ราคา สู้ไม่ถอย ในเรื่องราคาเสื้อผ้า ค่าแต่งหน้า ค่าแต่งผม ..
ราคาเท่าไหร่ ? ไม่เคยท้อ สู้ไม่ถอยจริงๆ !!..
........................................
หรือ นักข่าวถามไปก็ไม่ได้อะไรกลับมานอกจากการโยนไปให้คนนั้นคนนี้ตอบแทน มันก็เปล่าประโยชน์ ที่จะไปคาดหวังอะไรกลับมาจากนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะความเชื่อมั่น หรือ ความน่าศรัทธา..
ที่ผ่านมาหลายเดือน ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ เราจึงพบว่า มันมีเรื่องแปลกประหลาดมากๆต่อพฤติกรรมของ ยิ่งลักษณ์ หรือ น้องปูแดงของพี่แม้วแดง นั่นก็คือ ในเรื่องปัญหาส่วนตัวของนายกฯเอง ยิ่งลักษณ์ ก็ให้ เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ชี้แจง ..
ในเรื่องปัญหา ส่วนของ คุณพี่แม้ว หรือ นักโทษชายทักษิณ มหาเศรษฐีวายร้ายหนีคุก เธอก็ให้ ..ดร. เหลิม บางบอน เป็นคนชี้แจง ..ในเรื่องของข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ปรองดอง กฎหมายนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องวุ่นๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของโคตรเหง้าเหล่าตระกูล หรือ ผลประโยชน์ทางการเมือง ทางธุรกิจของตระกูล ..ยิ่งลักษณ์ ก็ให้ไปถาม ..เฉลิม !!!..
จนทำให้ เฉลิม อยู่บำรุง กลายเป็น ดาวรุ่งพุ่งนรกตอนแก่ ..
เพราะเจอแต่ ..ปมชวนทัวร์นรกทั้งสิ้น !!!..
เห ลิม บางบอน ..ตอบทุกๆคำถามเสมือนหนึ่งผู้รู้ แต่ที่เรารู้ๆก็คือ เหลิม บางบอน ตอบมาเพราะไม่รู้ หรือ ตอบมาเพราะต้องการสร้างความสับสน และ ต้องการ สับขาหลอกให้ใครต่อใครงงมากกว่าจะให้คำชี้แจงที่ถูกต้อง มันก็เลยกลายเป็นว่ายิ่งภาระการตอบคำตอบ การไขข้อข้องใจของสาธารณชนตกมาอยู่ที่ ปากพล่อยๆของเฉลิม มากเรื่องหลายประเด็นเพียงใด ?..สถานการณ์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยิ่งวุ่นวาย เลอะเทอะไปด้วยปัญหาสารพันไปกันใหญ่ ..
ล่าสุด กับ กรณี ..พาทักษิณกลับบ้านเหมือนกัน ..
ยิ่งลักษณ์ ตอบปฏิเสธ หรือ บอกว่า ..ปีนี้ ทักษิณ ไม่กลับมาหรอก ??..
ในขณะที่ใครต่อใคร อีกหลายๆคนก็ยังงงๆกันอยู่ว่า พ.ร.บ.ปรองดองของ เฉลิม มันจะผ่านสภาได้อย่างไร ?? ขนาด พ.ร.ฎ.อภัยโทษ แค่ขยับโยนหินถามทางมาว่าจะเอื่้อประโยชน์ และ อภัยโทษ ทักษิณ ด้วย ฝ่ายประชาชนที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาเดินขบวนประท้วง ยื่นหนังสือประท้วงกันล่ะ ..
นับประสาอะไรกับ พ.ร.บ.ปรองดอง ฉบับ เหลิมพรีเซนต์ ที่นั่งยัน นอนยัน มานานแสนนานแล้วว่า ต้องการทำเพื่อทักษิณ ทักษิณต้องได้กลับมาแบบไม่มีความผิด เพราะทักษิณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม !!!..
ประเด็นการโพนทะนา พ.ร.บ.ปรองดอง ของ เฉลิม .. น่าแปลกประหลาดใจเข้าไปใหญ่เมื่อมันมา ประจวบเหมาะลงตัวพอดิบพอดี กับ งานวิจัยของ สถาบันพระปกเกล้า ที่เป็นข้อเสนอในเรื่องแนวทางปรองดอง ที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง บิ๊กบัง หรือ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน อดีต หัวหน้าคณะรัฐประหาร คมช. ที่มีสาระสำคัญในเรื่องของการ ..ยกเลิกคดีความต่างๆของ คตส . ที่แน่นอนว่าคนที่จะได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆหนีไม่พ้น ทักษิณ ชินวัตร !!..
ซึ่ง มองดูทิศทางไป หรือ ระยะเวลาในการออกมาโพนทะนา มันมีความเป็นไปไม่ได้ และ มีความไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ด้วยประการทั้งปวง แต่เหตุไฉน ??.. ทั้งเฉลิม และ บิ๊กบัง ถึงกล้าเอาตัวเองมาผลักดัน ประเด็นร้อนที่จะทำให้โดนผู้คนในสังคมประณาม และ ก่นด่า แบบนี้ ??..
หาก เรื่องนี้ .. ผู้ผลักดัน หรือ ผู้โพนทะนา ทั้ง ๒ หน่อ ทั้ง เหลิม และ บิ๊กบัง ไม่หวังผลถึงความสำเร็จ หรือ ไม่หวังผลของความเป็นไปได้ เพราะข้อเสนอของทั้ง กฎหมายปรองดองของเฉลิม ที่เฉลิมเขียนเอง และ กฎหมายนิรโทษกรรมของ บิ๊กบัง ที่สถาบันพระปกเกล้าฯ ไปทำวิจัยจากพวกแกนนำเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่แล้ว..
ผู้ผลักดัน หรือ ผู้โพนทะนา ทั้ง ๒ หน่อ ทั้ง เหลิม และ บิ๊กบัง ..
หวังผลอะไรกันแน่ ?? ในการออกมาตีกระแสข่าวในเรื่องนี้ ณ ช่วงเวลานี้ ???..
..........................................
กระแสข่าวนี้ มันไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้ ..
เพราะยิ่งลักษณ์ ก็บอกเองว่า พี่แม้วไม่กลับแน่ๆปีนี้ (ทางตัน) ..
ที่ สำคัญ หากจะพาทักษิณกลับบ้าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับ พรรคเพื่อไทย ก็ทำกันแบบเงียบๆ ไม่ดีกว่าหรือ ? ได้ไม่ได้ก็ไปลุ้นกันทีเดียว ดีกว่าปล่อยให้มีการโพนทะนา โยนหินถามทาง กันมาแบบประเจิดประเจ้อ เช่นนี้ ..ทั้งๆที่รู้ดีว่า จะได้รับผลสะท้อนกลับไปอย่างไร ??..จากผู้คนมากมายทั่วประเทศที่เขาต่อต้านทักษิณ !! ..
ที่สำคัญยิ่ง ไปกว่านั้น ก็คือ ..หากพิจารณาตามพฤติกรรมสันดานขี้ขลาดตาขาว เอาตัวรอดแบบเดิมๆของ ทักษิณ ชินวัตร แล้ว การกลับประเทศไทย ท่ามกลาง ม็อบชนม็อบ สงครามกลางเมือง ผู้คนออกมาประท้วงทั่วบ้านทั่วเมือง มันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่ทักษิณ ชินวัตร จะกลับประเทศไทยได้ ..ในเร็ววัน หรือ ภายใน ปีสองปีนี้ !!..
ดังนั้น ผู้โพนทะนาทั้งสอง หรือ กลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกับบุคคลทั้งสองนี้นั้น หากไม่หวังผลที่แท้จริงในเรื่องของความสำเร็จของ กฎหมายปรองดอง และ กฎหมายนิรโทษกรรมจริงๆ ในช่วงนี้ พวกเขาก็น่าจะ หรือ อาจจะมีจุดประสงค์สำคัญในการ สร้างกระแสข่าวปรองดอง ฉบับ ทักษิณกลับบ้าน ทักษิณได้ประโยชน์ ขึ้นมาให้ผู้คนตื่นตัว และ โกรธเกรี้ยว เพื่อกลบเกลื่อน เพื่อกลบข่าว เรื่องสำคัญๆบางเรื่อง .. จริงหรือไม่ ??..
ทว่า มองไปมองมา พิจารณาดูแล้วในประเด็นต่างๆที่ว่านี้ .. มันก็ไม่น่าจะใช่ อีกนั่นแหละ ??..
เพราะ ว่า แม้ว่ามันจะเป็นเหตุผลที่สอดคล้องเข้ากันกับ ท่าทีพฤติกรรมจอมสอพลอของ เฉลิม แต่ว่า..กับ บิ๊กบัง ล่ะ ?? บิ๊กบัง..จะได้อะไรจากการเล่นเกม..เข็นตัวเองลงนรกเช่นนี้ ??..
มัน ต้องมีเรื่องสำคัญๆกว่านั้น ที่เฉลิมต้องการกลบเกลื่อน มันต้องมีเรื่องสำคัญกว่านั้นที่ทางรัฐบาลนอมินี่ทักษิณต้องการปกปิด และ ..บิ๊กบัง ในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิด (หรือเปล่า ??) ก็เลยเออออห่อหมก ต้องการที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยผลักดัน ในฐานะตัวละคร..ที่เป็นตัวหลอก ??!!..
มองหาเหตุผลอื่นๆ เพื่อมาเป็นเหตุผลสนับสนุนใหม่ๆอยู่หลายวันก็หาไม่เจอ..
จนกระทั่ง ..มาเจอข่าว บิ๊กตู่ ปรี๊ดดแตก..ใส่ บิ๊กอ๊อด รองนายกฯ..ต่อ ประเด็น ร่าง พ.ร.บ. ปัตตานีนคร นั่นแหละ .. ปริศนา? ทุกอย่างจึงค่อยๆกระจ่าง ..
จนมาตาสว่างเมื่อมาถึง ..บางผัวนางอ้อ !!..
........................................
โปรดจับตามองสถานการณ์นี้ดีๆ..
มีสองครั้งเท่านั้นที่ บิ๊กตู่ ปรี๊ดดแตกแรงขนาดนี้ในรอบหลายปี ..
ครั้งแรก ปรี๊ดดแตกใส่ คณะนิติราษฎร์ ของ พวกจานแดง กรณี จะแก้ไข ม. ๑๑๒ และ แก้ รธน. หมวดพระมหากษัตริย์
ครั้งที่สอง ก็มาปรี๊ดดแตกใส่ .. รัฐบาลปูแดง แบบตรงไปตรงมา ..ต่อกรณี ร่าง พ.ร.บ. ปัตตานีนคร..
ซึ่ง แน่นอนคนที่ต้องมารับแรงเสียดทานจากทางฝ่ายกองทัพในรอบนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหน ? ก็เป็นลูกหม้อกองทัพอย่าง บิ๊กอ๊อด พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา นั่นแหละ ..
ที่ แรกๆออกมาแบ่งรับแบ่งสู้ ทำทีเป็น ..หนูไม่รู้ ตามนายหญิง ? แต่ท้ายสุด บิ๊กอ๊อด ก็ยอมรับความจริงว่า มันมีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ ทาง บิ๊กอ๊อด ได้เห็นร่าง พ.ร.บ.ปัตตานีนครแล้ว เพราะมีคนส่งมาให้ แต่ก็ตะแบงแก้ตัวว่าแค่เอามาดู และ ให้ทาง สมช. เอาไปศึกษาไม่ใช่ว่า ..จะทำจริงๆ !!!..
บิ๊กตู่เลยปรี๊ดดแตกแรงกว่าเดิมเลยทีเนีียะ ..วันนี้ใครไปถามแกเรื่อง นิรโทษกรรมทักษิณ แกควันออกหู ใครมาถามเรื่อง พ.ร.บ.ระเบียบกลาโหม แกบอกให้เป็นไปตามกฎหมาย ..
แต่สำหรับเรื่อง พ.ร.บ.ปัตตานีนคร บิ๊กตู่ ระบายความในใจออกมาในช่วงหลายวันมานี้ แบบเป็นหนังยาว ร่ายมาเป็นชุดๆ ..แสดงถึงจุดใกล้แตกของความอึดอัดใจเป็นอย่างมาก..
อ่านรายละเอียดข่าวประกอบเรื่องตามนี้ ..
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030748
แฉเครือข่าย'ยา-อาวุธ'ป่วนใต้
http://www.komchadluek.net/detail/20120312/125225/%E0%B9%81%E0%B8%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html
ผบ.ทบ.ฟันธง ยาเสพติด - ค้าของเถื่อน โยงไฟใต้
http://www.thairath.co.th/content/pol/245334
'ประยุทธฺ'ฉุนสื่อถูกซักนิรโทษ'ทักษิณ'
http://www.komchadluek.net/detail/20120314/125382/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%BA%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93.html
http://www.komchadluek.net/detail/20120314/125394/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html
เริ่มแรกตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นมา..
ข่าว ร่าง พ.ร.บ.ปัตตานีนคร หรือ เรื่องการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษรัฐปัตตานี ..
กลาย เป็นประเด็นร้อน ที่ทำให้เกิดความเดือดดาลขึ้นจากฝ่ายกองทัพ เห็นได้ชัดเจนว่า บิ๊กตู่ ไม่พอใจ และ มีท่าทีต่อต้านในเรื่องนี้อย่างชัดเจน เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะ บิ๊กตู่ ติดตามสถานการณ์ชายแดนใต้มาอย่างต่อเนื่อง ..รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร ??..
รู้ดีว่า .. ใครกันแน่ ?? .. ที่มันอยู่เบื้องหลัง ..โจรใต้ ??..
และ .. รู้ด้วยว่า ..ไอ้พวกที่มันอยู่เบื้องหลังโจรใต้นี้ ..มันต้องการ..อะไร ??..
ดังนั้น มันจึงมีเรื่องของการ โต้ตอบกันไปมาผ่านสื่อของ บุคคลสำคัญๆทางฝ่ายความมั่นคงของประเทศ ๒ - ๓ คน ตามมา..
ก่อน อื่นเลย ก็คือ บิ๊กตู่ กับ บิ๊กอ๊อด ที่แสดงความคิดเห็นขัดแย้งกัน (อยู่มาก) ผ่านสื่อ ..ต่อมาก็เป็น เฉลิม อยู่บำรุง ที่ออกมาแก้ข่าวและปฏิเสธข่าวที่สื่อเจาะลึกว่า มีขบวนการค้ายาเสพติด ค้าอาวุธสงคราม และ ค้าของเถื่อน พัวพันกับสถานการณ์ไฟใต้ ..
พอมา วันนี้ บิ๊กตู่ ก็ออกมาตอกย้ำ ฟันธงให้เราหายสงสัยกันว่า ในสถานการณ์ไฟใต้นั้น มีขบวนการค้ายาเสพติด ค้าอาวุธสงคราม และ ค้าของเถื่อน เข้ามาพัวพันจริง และ ตอบโต้กรณีที่มีกระแสข่าวจะให้ตำรวจเข้าไปดูแลพื้นที่แทนทหารว่า ให้กลับไปถามตำรวจว่ามีความพร้อมเพียงไร ขนาดทหารเป็นกองทัพ ยังเอาแทบไม่อยู่ ..
ทว่า ที่น่าจับตาดูต่อไปในอนาคต ก็คือ วันนี้ท่าทีของฝั่งรัฐบาลก็มีอะไรแปลกๆออกมา ก็คือ ทางบิ๊กอ๊อด เตรียมส่ง ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. (เฉพาะกิจ) คนใกล้ชิดตระกูลชิน ไป "คุยลับ" หรือ "เจรจา" แต่อ้างว่า "ไปรับฟังข้อเสนอ" กับทางฝ่ายกลุ่ม บีอาร์เอ็น ด้วยข้ออ้างว่า ตอนนี้ทางโจรใต้พวกนี้อ่อนกำลังลงมากแล้ว อยากจะเจรจา แต่ทางรัฐบาลจะไม่เจรจาเพราะจะเป็นการไปยกระดับพวกนี้มากไป จึงจะใช้วิธี ..ไปรับฟังข้อเสนอแทน ..แป่ว ???!!..
นี่แหละ ..ถึงบอกว่า มันมีความไม่ชอบมาพากลของกระแสข่าวต่างๆในช่วงนี้ ?? ..
สมรภูมิชายแดนใต้นี้ มันจะไม่มีการต่อสู้กันอยู่เพียงแค่สนามรบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้อีกต่อไป แต่มันกำลังจะลามปามมาต่อสู้กันยกใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนอมินี่ทักษิณ น้องสาวทักษิณ เป็นใหญ่นี่แหละ..
ที่มันจะเป็นสงครามความขัดแย้ง สุดท้ายท้ายสุดจริงๆของความขัดแย้งทั้งหมดทั้งมวลของคนไทย หลังจากที่เราต่อสู้ทางความคิดกันมาอย่างยาวนานหลายปีดีดัก หากใครชนะในสงครามครั้งนี้ได้ ก็เอาไปเลย อนาคตทั้งหมดของประเทศไทย คงตกอยู่ในกำมือของคนที่สามารถแบ่งแยกดินแดน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ไปได้นั่นแหละ..
พ.ร.บ. ปัตตานีนคร ไม่ใช่ของแปลกใหม่ ..มันมาพร้อมๆกับเรื่องของ โจรแบ่งแยกดินแดนนานมาแล้ว เพียงแค่มันเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ ผ่านกลุ่มบุคคลหลากหลายกลุ่ม ที่มีการเชื่อมโยงผลประโยชน์ถึงกันอยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ..
เฉลิม อยู่บำรุง ก็เคยพูดถึงเรื่อง เขตปกครองพิเศษนี้ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย สมัยสมัคร แต่ก็โดนสัญญาณเบรคหัวทิ่มข้ามมาจากต่างประเทศให้ ..หุบปาก !!..
พ่อใหญ่ลา บิ๊กจิ๋ว หรือ ขงเบ้งตุ๊ต๊ะของเรานั้น ดูเหมือนจะเป็นตัวตั้งตัวตีหลักๆ ที่ผลักดันในเรื่องนี้มาอย่างออกหน้าออกตามาโดยตลอด แม้กระทั่งตอนหาเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด พรรคเพื่อไทยก็ชูนโยบาย ปัตตานีนคร เพื่อหวังมัดใจพี่น้องไทยมุสลิม พี่น้องชายแดนใต้ แต่สุดท้ายได้แต่แห้ว กับ ญิฮาบแดงของ แม่นางยามีละห์หน้าเหี่ยวกลับมา ..
เพราะคนชายแดนใต้ เขาไม่เลือก เขาไม่เอาด้วย ..
และ เขาไม่ต้องการ..แบ่งแยกดินแดน !!!..
ทว่า คนท้องถิ่น พี่น้องไทยมุสลิม ทหารหาญของชาติบ้านเมือง จะต้านทานนักการเมืองขี้ฉ้อ และ พวกนายทุนสามานย์ ที่ผสมผสานกันมาทั้ง นายทุนในประเทศ และ นายทุนต่างชาติ ที่หวังเข้าไปครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ของโลกอนาคตได้นาน ขนาดไหน ?? ..
ที่มันหวังเข้าไปยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการค้าของโลก ในอนาคต ..ความเจริญ ความทันสมัยของ ท่าเรือ สนามบิน รถไฟความเร็วสูง แลนด์บริดจ์ ออยล์บริดจ์ จุดเชื่อมต่อของ สามเหลี่ยมเขตเศรษฐกิจ ไทย มาเลย์ อินโดฯ?? ผ่านการกว๊านซื้อที่ดิน และ การออกกฎหมายเวนคืนที่ดินเพื่อการพัฒนาในอนาคต..
อ่านรายละเอียดข่าวประกอบเรื่องตามนี้ ..
http://thaipublica.org/2012/01/southern-oil-bridge-eco-industrial-estate/
จินตนาการภาพอนาคตไม่ออก ..
ก็ลองมองๆหาจุดเด่นของ สิงคโปร์ เอาไปผสมผสานกับความเป็น เขตปกครองพิเศษของฮ่องกง และ มองลงไปยังทุกสิ่งทุกอย่างที่สองประเทศนี้มี ..
นั่นแหละ คือ ภาพอนาคตของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสายตาของกลุ่มนายทุนล่ะ !!!..
แต่ คำถามคือ เมื่อความเจริญเข้าไปขนาดนั้น ในอนาคต อาจจะ ๑๐ ปี หรือ ๒๐ ปี พี่น้องไทยมุสลิม พี่น้องไทยพุทธ และ คนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยกันมานานก่อนหน้านี้ จะให้พวกเขาไปอยู่ที่ไหน ?? ..
จะ ไปอยู่ไหน ?? .. เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ ? ..แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้หลายๆคน หลายๆครอบครัว ก็ขายที่ ทิ้งสวน ขายบ้าน หนีไปทำมาหากินที่อื่นล่ะ ..
ก็ ในเมื่อกว่าสิบปีมานี้ ชายแดนใต้ มีกลุ่มโจรแปลกประหลาด ที่ฆ่าดะไม่เลือกฝ่าย แถมไม่มีความรับผิดชอบ และ ไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะบอกว่า ฆ่า หรือ ระเบิด เพื่อหวังสิ่งใด ? และ กลุ่มใดเป็นคนลงมือทำ ? และ กลุ่มนั้นมีอุดมการณ์ของกลุ่มที่จะต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดน หรือ เพื่ออะไร ??..
มันกลายเป็นว่า ..พื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็น "คิลลิ่ง ฟิลด์" คือ พื้นที่สังหาร พื้นที่สร้างศพ เพื่อเอาศพคนบริสุทธิ์ ที่ตกเป็นเหยื่อสถานการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อไม่ให้ชายแดนใต้เกิดความสงบ เพื่อเอาความไม่สงบที่เกิดขึ้นรายวันนั้น ไปขับไล่คนในพื้นที่ ไปกดดันคนในพื้นที่ ไปทำให้คนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัว และ ไม่ไว้วางใจในการรักษาความปลอดภัย การดูแลความสงบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ชาวบ้าน กลัวไปหมดไว้ใจใครไม่ได้ ทั้งโจร และ เจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ..
สุดท้ายสถานการณ์ความ ไม่สงบต่างๆ คดีความต่างๆ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ของพี่น้องชายแดนใต้ ก็จะถูกนำมาเป็นข้ออ้าง นำมาเป็นข้อเรียกร้อง นำมาเป็นข้อเสนอแนะเพื่อหาทางออกร่วมกันของ กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มบางพวก..
ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคล ที่มีความใฝ่ฝันมานานแสนนาน..
ว่าอยากจะแบ่งแยกการปกครอง แบ่งแยกดินแดน..
แบ่งแยก รัฐปัตตานี ออกจาก ..
ราชอาณาจักรไทย !!!..
..........................................
วินเซนต์
ริมโขง บึงกาฬ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
เปิดผลศึกษากรรมาธิการปรองดอง
หมายเหตุ - สาระสำคัญของร่างรายงานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากสถาบันพระปกเกล้านำเสนอรายงานการวิจัยแนวทางการสร้างความปรองดองมายังกมธ.ก่อนหน้านี้
-------------
1.ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ
1.1 คณะกรรมาธิการเห็นว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่เกิดจากการเมือง การปกครอง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
ซึ่งทุกด้านมีความอ่อนแอ ขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาโดยการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549
ทำให้เกิดข้อวิจารณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักนิติธรรมของกลไกต่างๆของรัฐกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการยึดอำนาจดังกล่าว
เป็นเหตุให้ปัญหาความขัดแย้งที่มีอยู่แล้วมีความซับซ้อนและเพิ่มปัญหามากขึ้น
1.2เห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ว่าเหตุการณ์แห่งความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 มิได้เกิดจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เป็นผลของการกระทำและเหตุการณ์หลายๆครั้งต่อเนื่องกันที่เป็นปัญหาความขัดแย้งจนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกระทั่งเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553
1.3เห็นว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้แตกต่างจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต ครั้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนที่แสดงออกโดยการแบ่งออกเป็นกลุ่มเป็นสี
จึงต้องแก้ที่รากเหง้าของปัญหาควบคู่ไปกับการสร้างกระบวนการปรองดองสมานฉันท์เพื่อขจัดความทุกข์ความไม่สบายใจของคนในชาติโดยร่วมกันแสวงหาทางออกให้กับประเทศ
กรรมาธิการยังพบว่าการสร้างกระบวนการปรองดองในประเทศไทยแตกต่างกับต่างประเทศที่เหตุการณ์ความรุนแรงได้ยุติลงแล้วจึงเกิดกระบวนการปรองดอง
แต่ในกรณีของประเทศไทยเป็นการสร้างความปรองดองในขณะที่คู่กรณีและสาเหตุแห่งความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ซึ่งอาจเกิดการเผชิญหน้าที่นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงได้อีกตลอดเวลา
การสร้างความปรองดองของสังคมไทยจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายนำพาประเทศก้าวข้ามความขัดแย้งในครั้งนี้ไปให้ได้
1.4พบว่าประเด็นที่อ่อนไหวอันอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าของผู้คนในสังคมและนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงได้ในที่สุดขณะนี้ประกอบด้วย
(1)ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวข้องกับการแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา (2) ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ (3) ประเด็นการปรองดองโดยเฉพาะการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องระมัดระวังในการนำเสนอประเด็นดังกล่าวป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้อีก
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับก
ารไต่สวนหาสาเหตุการเสียชีวิตและการเยียวยาประชาชนในเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553และการเยียวยาพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากรัฐบาลยังไม่สามารถทำความเข้าใจหรือสร้างกระบวนการให้เป็นที่ยอมรับจากสังคมได้ จะกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งใหม่ของสังคมในที่สุด
1.5 ผลความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยขณะนี้ สร้างความเสียหายเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคง ในระดับอันตรายสูงสุด ทำให้ประเทศขาดความมั่นคงและสูญเสียอำนาจการแข่งขัน ประกอบกับที่ประเทศไทยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
ปัจจัยสำคัญดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องมีการความปรองดองหันหน้าเข้าหากันแปลงวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสเพื่อฟื้นความสงบสุขและความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศกลับมา
ประการสำคัญความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้มาจากความแตกต่างทางความคิดซึ่งล้วนแต่มีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้นจึงจำเป็นที่ประเทศไทยต้องยุติความขัดแย้งและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติโดยเร็วที่สุด
1.6เห็นด้วยกับผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าสังคมไทยจำเป็นต้องดำเนินมาตรการสร้างความปรองดองระยะสั้นเพื่อให้การใช้ความรุนแรงยุติลง ทำให้ความขัดแย้งบาดหมางและบาดแผลที่เกิดขึ้นกับสังคมและปัจเจกบุคคลกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
ด้วยการให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวกับเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเจ้าหน้าของรัฐ และผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย
2.ข้อเสนอแนะ
2.1 ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่าตระหนักว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยขณะนี้ถูกสั่งสมจนทำให้เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกเกินกว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขโดยลำพังได้ขณะที่รากเหง้าอันเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งยังไม่ได้รับการแก้ไข
สภาพความขัดแย้งและคู่กรณีแห่งความขัดแย้งรวมถึงเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้าของผู้คนในสังคมยังคงมีอยู่ตลอดเวลาทุกฝ่ายในสังคมต่างต้องการให้ประเทศชาติก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งนี้ไปสู่การปรองดองด้วยกันทั้งสิ้น
ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐบาลพรรคการเมือง กลุ่มบุคคลและองค์กรต่างๆ ต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดอง สภาพสังคมไทยขณะนี้เปราะบางเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันบริหารความขัดแย้งให้อยู่ในกรอบสันติวิธี
การนำเอาหลักความยุติธรรมทางอาญา(CriminalJustice)ที่มีมาตรการในเชิงลงโทษเพียงอย่างเดียวมาใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทางการเมือง ไม่สอดคล้องต่อปรัชญาการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้
การให้ความยุติธรรม(Justice) ในทางกฎหมายกับทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม นำเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน(Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย
โดยใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายตามวิถีทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.2รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐจะต้องใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด
กรรมาธิการยังเห็นว่าการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองแม้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความปรองดองก็ตาม
แต่รัฐบาลต้องกระทำไปด้วยความรอบคอบเพื่อให้สังคมเกิดการยอมรับว่าได้ดำเนินการไปด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปรองดองอย่างแท้จริง
ขณะนี้สังคมเริ่มมีความคลางแคลงในมาตรการเยียวยาของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่10 ม.ค.2555 รัฐบาลต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับสังคมให้เกิดการยอมรับ
พึงระลึกว่าต้องไม่เป็นผู้สร้างความขัดแย้งเสียเองและตระหนักว่ายังมีประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการการชดเชยอย่างเหมาะสม
2.3 แม้ผลศึกษาของคณะกรรมาธิการจะพบว่า เหตุการณ์ที่นำไปสู่ความรุนแรงจนเกิดความสูญเสียอย่างประมาณค่ามิได้ มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองและเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง
แต่ขณะที่สังคมไทยมีความเปราะบางตั้งอยู่บนความหวาดระแวงกรรมาธิการจึงเห็นว่าฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญควรกำหนดประเด็นที่จะแก้ไขและนำเสนอต่อสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าเป็นการกระทำเพื่อประเทศชาติ
มิได้กระทำไปโดยเจตนาอื่นแอบแฝงหรือกระทำไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดหากแต่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์สาธารณะ
การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการขอแก้ไขมาตรา291โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ไปดำเนินการแก้ไข แต่ประเด็นใดที่ควรแก้ไข แม้จะถือเป็นดุลพินิจของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แต่ทุกพรรคการเมืองที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถนำเสนอประเด็นต่อสังคมได้ว่าต้องการให้แก้ไขประเด็นใดบ้างมีสาระสำคัญอย่างไร
ดังนั้น หากการแก้ไขของสภาร่างรัฐธรรมนูญมิได้เป็นไปตามกรอบ หรือขัดแย้งกับหลักการที่พรรคการเมืองได้นำเสนอต่อสังคมไว้แล้ว ก็ชอบที่พรรคการเมืองนั้นจะไม่ลงมติรับเป็นกฎหมาย
ด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะทำให้สังคมมีความไว้วางใจและจะนำไปสู่การถกเถียงในทางวิชาการที่จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญและสามารถยุติความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าวได้ในที่สุด
2.4เห็นว่าสังคมไทยจำเป็นต้องสร้างกระบวนการปรองดองควบคู่ไปกับการยุติเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งหลายที่อาจเป็นต้นเหตุนำไปสู่การเผชิญหน้าของผู้คนในสังคมและนำไปสู่ความรุนแรงได้ในที่สุด
การยุติความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองของคนในชาติจึงถือเป็นปัญหาความมั่นคงและเป็นที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการบริหารราชการแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ การรักษาความมั่นคงของรัฐและการพัฒนาประเทศไม่อาจดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความขัดแย้งและความแตกแยกเช่นนี้
จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักว่าหน้าที่ในการสร้างความปรองดองไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติเท่านั้นหากแต่เป็นของทุกฝ่ายในสังคม
ประการสำคัญกระบวนการปรองดองจะต้องดำเนินการโดยผู้ที่ไม่ใช่คู่กรณีแห่งความขัดแย้งและมีความเป็นกลางเพียงพอคณะกรรมาธิการจึงเห็นด้วยกับแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่เสนอโดยสถาบันพระปกเกล้า
2.5แม้การยุติความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติจะถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดแต่โดยที่คณะกรรมาธิการมีอำนาจหน้าที่เพียงนำเสนอรายงานผลการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นทางออกหนึ่งให้กับสังคมไทยเท่านั้น
กรรมาธิการจึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่อาจนำเอาความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการและสถาบันพระปกเกล้าในประเด็นที่จะทำให้การใช้ความรุนแรงยุติลงด้วยการให้อภัยโดยการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง
และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)ด้วยการคืนความถูกต้องและความชอบธรรมบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดรูปธรรมโดยเร็วที่สุด
เนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งและเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้ารวมถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของผู้คนในสังคมยังดำรงอยู่จึงจำเป็นต้องยุติเงื่อนไขดังกล่าวโดยเร่งด่วน
ประการสำคัญการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแสวงหาทางออกให้กับประเทศชาติด้วยกันทั้งสิ้น
เขียนโดย Kunginter inter
ต่างด้าวฮุบที่ดินไทย
ชำแหละธุรกรรมอำพรางต่างชาติ ฮุบที่ดินไทย
. เขียนโดย isranews
เป็นที่ฮือฮาเมื่อ ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน พูดกลางวงเสวนาของวุฒิสภาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปัจจุบันที่ดินกว่า 1 ใน 3 ของประเทศไทย ถูกถือครองอำพรางในมือของต่างชาติ ส่วนใหญ่อยู่แถบชายทะเลเช่น หาดบ้านเพ จ.ระยอง หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ พัทยา จ.ชลบุรี เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ภูเก็ต
ที่มาดังกล่าว มาจากงานวิจัย ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มอบหมายให้ น.ส.ปิยะนุช โปตะวณิช อาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาเรื่อง “ตัวแทนอำพราง” ศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ สำนักข่าวอิศราคัดบางส่วนมานำเสนอดังนี้
ต่างชาติกับนิติกรรมอำพราง
ผลจากการเปิดโอกาสให้มีการใช้ความรู้ความสามารถแข่งขันกันในการผลิตสินค้าและบริการภายใต้ระบบการค้าเสรีที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการหลั่งไหลของคนต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปรากฎว่ามีคนต่างด้าวจำนวนมากที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในลักษณะที่ปฏิบัติถูกต้องและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงอาศัยช่องว่างหรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้ผู้มีสัญชาติไทยดำเนินการแทน การสนับสนุนหรือชี้ช่องให้ดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือแสวงหาประโยชน์อันมิชอบหรือประโยชน์ที่มิควรได้ที่ส่อไปในทางทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ฟอกเงิน ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือที่ดิน การเป็นต้วแทนในหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
การทำธุรกรรมของคนต่างด้าวผ่านตัวแทนในลักษณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่เข้าใจกันในสังคมไทยว่าการกระทำเป็นตัวแทนอำพราง หรือ นอมินี (Nominee) ซึ่งในวิจัยฉบับนี้หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลใดเข้าทำนิติกรรมแทนตัวการซึ่งเป็นคนต่างด้าว โดยอำพรางการกระทำของตัวการซึ่งไม่อาจทำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ ตัวแทนอำพรางดังกล่าวอาจถูกกำหนดให้กระทำการแทนบุคคลอื่นในหลายรูปแบบ เช่น การสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย การตั้งตัวแทนอำพรางซึ่งเป็นคนไทยเพื่อถือครองที่ดินแทนคนต่างด้าว การตั้งตัวแทนอำพรางเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเพื่อเลี่ยงกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือการตั้งตัวแทนอำพรางซึ่งเป็นคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นหรือถือครองทรัพย์สินของนักการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงการแจ้งบัญชีทรัพย์สินตามกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งการทำธุรกรรมเหล่านี้มีลักษณะเป็นการอำพราง เจ้าของหรือผู้ที่มีอำนาจที่แท้จริง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้บังคับกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันการทำธุรกรรมที่มีลักษณะอำพรางของคนต่างด้าวผ่านตัวแทนผู้มีสัญชาติไทยอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 เป็นต้น ในขณะเดียวกัน
การเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างเสรียังมีกฎหมายที่ส่งเสริมอีกหลายฉบับเช่นกัน อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ามีคนต่างด้าวดำเนินการโดยให้ผู้มีสัญชาติไทยกระทำการเป็นตัวแทนอำพรางอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการตรวจสอบธุรกรรมต้องสงสัยและการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ รวมถึงไม่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมและป้องกันการกระทำความผิดในทางปฏิบัติ เนื่องจากเป็นเรื่องซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะ ยากที่จะดำเนินการโดยการกำหนดมาตรการทั่วไปในการควบคุมการทำธุรกรรมผ่านตัวแทนอำพราง จึงกลายเป็นปัญหาพื้นฐานของประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลวิจัยได้สรุปถึง รูปแบบและลักษณะการทำธุรกรรมในประเทศไทยโดยอาศัยตัวแทนอำพรางในปัจจุบันพบว่า การทำธุรกรรมในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 3 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ การทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้แก่ 1) สถาบันการเงิน 2) สำนักงานที่ดิน 3) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 13 (ธุรกรรมที่ใช้เงินสดและธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย)
ประเภทที่สอง คือ ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ต้องรายงาน ได้แก่ ธุรกรรมที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2543) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2554) เช่น การทำธุรกรรมเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ การชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์แลพะการบริการชำระเงิน
ประเภทที่สาม คือ ธุรกรรมที่ไม่ต้องรายงาน เช่น การทำธุรกรรมเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1. ลักษณะและรูปแบบการทำธุรกรรมอำพรางในประเทศไทย
การทำธุรกรรมในลักษณะตัวแทนอำพรางในประเทศไทย มีหลากหลายรูปแบบ จากการศึกษาข้อมูลจากพบว่ามี 2 ลักษณะ ได้แก่
1.1) การประกอบกิจการธุรกิจประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
ข้อมูลการทำธุรกรรมโดยตัวแทนอำพรางเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการถือหุ้น จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวแทนอำพรางพบว่าการธุรกรรมที่มีการจัดตั้งตัวแทนอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ปรากฏอยู่ในธุรกรรมทั่วไป โดยเฉพาะการทำธุรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมีการทำธุรกรรมที่ตั้งตัวแทนอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น การอำพรางผู้ถือหุ้นที่แท้จริงเพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย การปั่นหุ้น การฟอกเงิน กิจการเป็นของผู้มีสัญชาติไทยแต่คนต่างด้าวมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท คนต่างด้าวถือบุริมสิทธิมีสิทธิออกเสียงมากกว่าหรือการใช้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจที่ลงทุน เป็นต้น
ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า แม้ว่าปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมและห้ามบุคคลทำธุรกรรมเกี่ยวกับตัวแทนอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายอยู่แล้วก็ตาม แต่ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่ากฎหมายที่ควบคุมธุรกรรมเกี่ยวกับตัวแทนอำพรางยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ มีสาเหตุจากบทบัญญัติกฎหมายยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมที่ถือว่าเป็นธุรกรรมเกี่ยวกับตัวแทนอำพรางไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับการกฎหมายที่ควบคุมธุรกรรมเกี่ยวกับตัวแทนยังเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการประสานงานด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมที่เป็นความผิด ยังไม่มีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พิจารณาการทำธุรกรรมที่มีตัวแทนอำพรางเพื่อเลี่ยงกฎหมาย รวมถึงการพิจารณาทำธุรกรรมไม่มีความชัดเจน
1.2) การถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการถือครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ได้ดำเนินการวิเคราะห์เกี่ยวกับการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าวโดยหลีกเลี่ยงกฎหมายประการหนึ่งเกิดจากการที่รัฐจำกัดการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไขและข้อจำกัดมากซึ่งสวนทางกับความจำเป็นในการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างความมั่นคงให้กับการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ในภาวะที่โลกเกิดการขาดแคลนอาหารสภาพอากาศแปรปรวนเนื่องจากโลกร้อนขึ้นส่งผลต่อการทำการเกษตรในหลายพื้นที่ที่ในโลกทำให้คนต่างชาติมีเป้าหมายหาพื้นที่เพื่อผลิตอาหารหรือวัตถุดิบป้อนกลับไปยังประเทศของตนหรือเพื่อส่งไปขายยังประเทศที่สาม ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่ง
ในเป้าหมายของคนต่างด้าวในการหาพื้นที่เพื่อทำการเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร ทำสวน แต่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 กำหนดห้ามคนต่างด้าวไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษไว้ในบัญชีที่หนึ่ง ทำให้คนต่างด้าวได้ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้บุคคลดำเนินการแทนในลักษณะของตัวแทนอำพรางในรูปแบบต่างๆ เช่น การสมรสกับคนไทย การเช่าหรือซื้อผ่านผู้มีสัญชาติไทย การตั้งเป็นนิติบุคคลไทยแล้วถ่ายโอนในภายหลัง การใช้นิติบุคคลซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สูงกว่าราคาทุนจดทะเบียน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลการศึกษาปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ การขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทยกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในการร่วมกันตรวจสอบการทำนิติกรรมที่มีลักษณะเข้าข่ายการทำธุรกรรมอำพราง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้มีการตรวจสอบการถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในนิติบุคคลสัญชาติไทยในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มธุรกิจการค้าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจการเกษตร กลุ่มธุรกิจที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นเกินร้อยละ 49 และกลุ่มพิเศษอื่นๆ [๑] พบว่านิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นจากนิติบุคคลไทยเป็นนิติบุคคลต่างด้าวหรือมีการเพิ่มทุนจนมีสภาพที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวแต่เคยรับโอนที่ดินในขณะที่เป็นนิติบุคคลไทย[๒] แต่ไม่ได้มีการรายงานไปให้กรมที่ดินทราบเพื่อดำเนินการสั่งจำหน่ายที่ดิน การใช้คนไทยถือครองหุ้นโดยผ่านความสัมพันธ์ทางครอบครัว เช่น การสมรส การถือครองโดยบุตร เป็นต้น การขาดการประสานงานหรือข้อมูลระหว่างหน่วยงานดังกล่าว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบคนต่างด้าวที่อาศัยช่องว่างในการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ โดยมีวิธีการหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้บุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีสัญชาติไทยดำเนินการแทนในลักษณะของตัวแทนอำพรางและในการเก็บรวบรวมข้อมูลการกระทำอันมีลักษณะตัวแทนอำพรางที่เกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สามารถพบการกระทำในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
(1) การสมรสกับคนไทยแล้วให้คู่สมรสผู้มีสัญชาติไทยถือครองที่ดินแทนตน แต่สิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ นั้นยังคงเป็นของคนต่างด้าว ซึ่งการใช้ช่องทางนี้ในการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์แทนคนต่างด้าวในลักษณะตัวแทนอำพรางได้ปรากฏปัญหามีการฟ้องร้องกันอยู่หลายกรณีในชั้นศาล เช่น การซื้อขายที่ดินและบ้าน ตึกแถวแทนสามีซึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นต้น แม้กรมที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะได้มีมาตรการป้องกันโดยให้คนไทยและคู่สมรสต่างด้าวยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่ฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่หามาได้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หากพิสูจน์ได้ว่าการซื้อที่ดินนั้นมาในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับคนต่างด้าวจะเป็นผลให้คนต่างด้าวมีสิทธิในที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและจะถือว่าเป็นการซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่ประสบผลอย่างที่ต้องการมากนักแม้กรมที่ดินจะได้ออกมาตรการป้องกันการถือครองที่ดินแทนคนต่างด้าว เนื่องจากคนต่างด้าวยังคงต้องการหลักประกันในทรัพย์สินที่ตนได้ออกเงินหาซื้อมา จึงยังคงมีการหลีกเลี่ยงให้เห็นในหลายพื้นที่ตามที่เป็นข่าวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นระยะๆ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เรื่อง ชาวยุโรป เอเชีย ที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยมีการใช้ผู้หญิงไทยเป็นนอมินีซื้อบ้านและที่ดินจำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากคนต่างด้าวไม่สามารถซื้อที่ดินได้ แม้ว่าจะนำสินสมรสมาซื้อก็ตาม
(2) การให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้ซื้อที่ดินและมีการทำสัญญากู้ยืม จำนองหรือสัญญาเช่าไว้กับคนต่างด้าวเพื่อเป็นหลักประกันในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่คนต่างด้าวเป็นผู้ออกเงินซึ่งเป็นการยากที่จะตรวจสอบ เช่น ข่าวคฤหาสน์ของเดวิด เบคแฮม นักฟุตบอลชื่อดังของประเทศอังกฤษมีที่ดินมากกว่าเจ็ดไร่ซึ่งในบทบัญญัติกฎหมายไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวถือครองที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่ ดังนั้น กรณีมีบ้านอยู่บนเกาะสมุยที่มีเนื้อที่มากกว่าเจ็ดไร่จึงเป็นการถือครองที่มีลักษณะของตัวแทนอำพรางอย่างแน่นอน นอกจากนี้การถือครองที่ดินของคนต่างด้าวโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้เกิดการฟ้องร้องกันในภายหลังอยู่หลายกรณี
(3) การถือครองที่ดินโดยรูปแบบของนิติบุคคลไทย โดยให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทนคนต่างด้าวแต่อำนาจครอบงำกิจการยังเป็นของคนต่างด้าว การตั้งเป็นนิติบุคคลไทยแล้วถ่ายโอนในภายหลัง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นจากนิติบุคคลไทยเป็นนิติบุคคลต่างด้าวหรือมีการเพิ่มทุนจนมีสภาพที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวแต่เคยรับโอนที่ดินในขณะที่เป็นนิติบุคคลไทย เช่น กรณีที่บริษัท สมุยพร็อพเพอร์ตี้โซลูชั่น จำกัด ได้ประกาศขายที่ดินในหนังสือ “สมุย-พงัน” เรียลเอสเตท ฉบับประจำเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2549 และในอินเทอร์เน็ตได้ประกาศขายที่ดินบริเวณเขาด่างตรงข้ามแหลมไม้แก่น ถนนบ่อผุด-พระใหญ่ หมู่ 1 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงเดอะพีค เนื้อที่ 514 ไร่ ราคาไร่ละ 8 ล้าน รว,มูลค่าทั้งสิ้น 4,112 ล้านบาทเป็นต้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกมาตรการในการตรวจสอบและป้องกันการได้มาซึ่งที่ดินของนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นโดยให้มีการสอบสวนและลงไปตรวจสอบในพื้นที่ตรวจสอบ
2. ผลกระทบจากการทำธุรกรรมของตัวแทนอำพรางที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง
ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย พบว่า ลักษณะและธุรกรรมของตัวแทนอำพรางที่เกี่ยวพันกับคนต่างด้าวยังคงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมักจะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและลักษณะ “ตัวแทนอำพราง” ของสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าการกระทำลักษณะนี้มีมานานแล้วตั้งแต่อดีตโดยเป็นเรื่องปกติของระบบทุนนิยม แต่ปัจจุบันมีการกระทำความผิดในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย อันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมทั้งการละเลยไม่บังคับใช้กฎหมายทั้งๆ ที่มีการทำความผิดอย่างแจ้งชัด แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เกี่ยวข้องกลับร่วมมือให้เกิดการกระทำความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการถือครองที่ดิน การกำกับดูแลและอำนาจของการบริหารในนิติบุคคล การจัดโครงสร้างการถือหุ้น และ/หรือ การบริหารงานบริษัท โดยให้คนต่างชาติสามารถครอบงำการบริหารงานของบริษัท หรือการได้รับปันผลมากกว่าผู้ถือหุ้นไทย การควบคุมทางการเงินและการร่วมทุนระหว่างบริษัทจากต่างประเทศกับบริษัทของคนไทย เป็นต้น นอกจากนี้ อาจจะเป็นในรูปของการสมรสกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย และให้คู่สมรสเข้าซื้อที่ดินหรือหุ้นในบริษัทแทนตนเอง การว่าจ้างให้บุคคลที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้ดำเนินการซื้อที่ดินและให้ทำสัญญากู้ยืมหรือสัญญาจำนองไว้กับตนเองเพื่อเป็นประกัน นอกจากนี้ ตัวแทนอำพรางของสังคมไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นทั้งในระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจ เป็นตัวปัญหาของการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ใช้บังคับกับบุคคลหรือนิติบุคคลและเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น กรณีผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง บุคคลเหล่านี้ก็เป็นตัวแทนอำพรางดำเนินธุรกรรมทางการเมืองทั้งๆ ที่ตนเองถูกเพิกถอนสิทธิ
3. กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่มีการตรากฎหมาย “ตัวแทนอำพราง” แล้ว ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าสมควรที่จะตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยตรงแต่จะต้องแต่จะต้องให้มีประสิทธิภาพจริงๆ หรืออาจจะเพิ่ม “หน่วยงานย่อย” ขึ้นในหน่วยงานของรัฐเก่าที่มีอยู่แล้ว และหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย “ตัวแทนอำพราง” มากที่สุดน่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ได้รับผลกระทบก่อนเป็นอันดับแรก เพราะจะต้องตรวจสอบการจัดตั้งนิติบุคคลที่มีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นอย่างละเอียดแล้ว ยังต้องตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของเงินลงทุนด้วยว่าเป็นแหล่งเงินทุนในไทย หรือจากต่างประเทศโอนเข้ามา โดยจะต้องประสานงานหรือขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะมีผลกระทบมากที่สุด ส่วนกรมที่ดินจะเป็นหน่วยงานลำดับต่อไปที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว เพราะจะต้องพิจารณาว่านิติบุคคลนั้นเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยอย่างแท้จริง ไม่ใช่นิติบุคคลที่อาศัยตัวแทนอำพราง และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีหน้าที่โดยตรงที่จะตรวจสอบเส้นทางของแหล่งเงิน แต่ทั้งนี้ การตรวจสอบดังกล่าวทำไม่ได้ง่ายนัก คงตรวจสอบได้เพียงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เท่านั้นว่าได้แหล่งเงินมาจากที่ใด ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบให้ต้องมีภาระงานเพิ่มขึ้นได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมที่ดิน กรมสรรพากร ด้านการเมือง เช่น รัฐสภา เป็นต้น
งานวิจัยยังมีข้อเสนอที่ควรพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อบัญญัติไว้ในกฎหมาย “ตัวแทนอำพราง” คือ การกำหนดให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันโดยตรงและโดยอ้อม เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่เข้าลักษณะตัวแทนอำพราง และมีการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับ “ข้อสันนิษฐาน”ตามกฎหมาย ว่าลักษณะหรือการกระทำใดของนิติบุคคล หรือบุคคลเป็น ตัวแทนอำพราง
ประเด็นเกี่ยวกับ “บทลงโทษ” จะต้องชัดเจน และเป็นโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่งในสถานหนัก เช่น นอกจากริบอสังหาริมทรัพย์นั้นแล้ว โทษปรับต้องกำหนดไว้ในอัตราสูงให้เท่ากับมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้มีโทษจำคุกรวมอยู่ด้วย
ประเด็นเกี่ยวกับ “ความชัดเจนและความกระจ่าง” ในตัวบทกฎหมาย ในกฎหมายนั้นจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าการกระทำในรูปแบบใดบ้างที่เข้าลักษณะ “ตัวแทนอำพราง” เพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีการตีความกฎหมายผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย
นอกจากประเด็นที่กล่าวข้างต้น กฎหมาย “ตัวแทนอำพราง” ควรกำหนดให้สิทธิตัวแทนอำพรางในการถือเอาทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อตน ให้เป็นกรรมสิทธิของตนเอง โดยถือว่าสัญญาที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนทั้งหมดไม่มีผลบังคับและไม่ต้องมีการคืนทรัพย์หรือกลับคืนสู่สถานะเดิม
ส่วนการที่จะนำเกณฑ์ใดมาพิจารณาและถือว่าเป็นการทำธุรกรรมโดยอาศัยตัวแทนอำพรางต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ข้อเท็จจริงของแต่ละกรณีอาจจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ในการพิจารณาต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากหลายหน่วยงานมาประกอบกันเพื่อดูแนวทางการดำเนินธุรกรรมประกอบกับเส้นทางการไหลของตัวเงิน หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ แหล่งที่มาของเงิน หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจในการบริหารจัดการ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดแบ่งผลประโยชน์หรือกำไรที่เกิดขึ้น การกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณาไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะเกี่ยวพันกับประเทศรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะประสานประโยชน์ของสองสิ่งที่สวนทางกันให้เกิดจุดดุลยภาพ คือ ความต้องการเงินทุนของต่างชาติให้นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยกับการจำกัดการถือครองและเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินในประเทศได้อย่างไร เพราะธรรมชาติของการการค้าการลงทุนผู้เป็นเจ้าของกิจการหรือเจ้าของเงินเมื่อลงทุนไปแล้วก็ต้องการความมั่นใจต้องการเป็นเจ้าของที่ดินและอื่นๆ การที่จะให้ต่างด้าวนำเงินมาลงทุนพัฒนาในประเทศไทยแต่จะไม่ให้เป็นเจ้าของที่ดินเลยคงเป็นไปไม่ได้ หากแต่หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือเงื่อนไขเช่นไรจึงเหมาะสมที่สุดต่างหาก คือ การแก้ไขปัญหานี้ที่สาเหตุ รวมไปถึงพิจารณาแนวทางที่จะจำแนกเรื่องตัวแทนอำพรางว่าจะมีส่วนใดที่สามารถทำให้ถูกต้องได้ (บนดิน) เพื่อจะได้ตรวจสอบง่ายและเป็นระบบมากกว่าที่จะให้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ใต้ดิน) ทั้งหมดผลการศึกษาพบว่าในข้อเท็จจริงประเทศไทยมีการเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนต่างด้าวเหล่านั้นมีองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่ทัดเทียมต่างชาติ อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน เมื่อคนต่างด้าวเข้ามาแข่งขันมากขึ้นย่อมทำให้คนไทยต้องเสียเปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น เพื่อป้องกันและควบคุมการเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จึงได้มีการตรากฏหมายขึ้นหลายฉบับ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของคนต่างด้าวในการเข้ามาประกอบธุรกิจ ทำให้คนต่างด้าวส่วนหนึ่งได้รับการแนะนำให้อาศัยช่องว่างของกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายในรูปแบบการทำธุรกรรมต่างๆ โดยมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้ดำเนินการแทน ให้การสนับสนุนหรือชี้ช่องให้ดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือแสวงหาประโยชน์อันมิชอบหรือประโยชน์ที่มิควรได้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทำธุรกรรมผ่านตัวแทนอำพราง
สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันหรือควบคุมการทำธุรกรรมของคนต่างด้าวที่เข้าอยู่อาศัยหรือเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการถือครองหุ้น
การประกอบธุรกิจและการถือครองหุ้นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ แต่กฎหมายที่มีบทบัญญัติควบคุมการเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2522 ซึ่งมีการกำหนดนิยามความหมายของคนต่างด้าวไว้อย่างชัดเจนและกำหนดห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภทไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ 3 กลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมจะแข่งขันกับคนต่างด้าว แต่ในข้อเท็จจริงกลับพบว่า คนต่างด้าวได้อาศัยตัวแทนผู้มีสัญชาติไทยอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย เช่น การอำพรางผู้ถือหุ้นที่แท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย การให้ผู้มีสัญชาติไทยจัดตั้งบริษัทแต่คนต่างด้าวมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทหรือคนต่างด้าวถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิออกเสียงมากกว่าหรือการใช้ผู้มีสัญชาติไทยที่ไม่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ลงทุนเป็นตัวแทน เช่น นักบัญชี ทนายความ นายหน้า เป็นผู้ถือหุ้นแทน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
การถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 แต่การอนุญาตให้ถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นมีหลักเกณฑ์ค่อนข้างมีเงื่อนไขและข้อจำกัดมาก ซึ่งสวนทางกับความต้องการในการถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าว ทำให้มีการหลีกเลี่ยงกฎหมายเพื่อถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ โดยใช้บุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้ซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์แทนคนต่างด้าว เช่น การให้คู่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทยถือครองที่ดินแทนแต่สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ยังเป็นของคนต่างด้าว การให้ผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้ซื้อที่ดินแต่คนต่างด้าวให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องทำสัญญากู้ยืม สัญญาจำนองหรือสัญญาเช่าไว้กับคนต่างด้าว การถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์โดยรูปแบบของนิติบุคคลไทยแต่อำนาจในการลงลายมือชื่อแทนบริษัทหรือการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นจากนิติบุคคลไทยไปเป็นของคนต่างด้าวในภายหลัง เป็นต้น
ตรากม.หยุดวิธีอำพราง แก้ต่างด้าวฮุบที่ดิน
จากงานวิจัยของ น.ส.ปิยะนุช โปตะวณิช อาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาเรื่อง “ตัวแทนอำพราง” ซึ่งนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เปิดเผยข้อมูลว่ามีชาวต่างชาติใช้การอำพรางในการทำนิติกรรมเพื่อครอบครองที่ดินในประเทศไทยไปแล้วเป็นจำนวนมากนั้น (อ่าน ชำแหละธุรกรรมอำพรางต่างชาติ ฮุบที่ดินไทย ) ผู้วิจัยได้นำเสนอทางออกของปัญหานี้ไว้ ดังนี้
ผู้วิจัยได้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม การรับฟังความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจจะพออนุมานได้ว่าปัจจุบันคนไทยเป็นจำนวนมากยังไม่เข้าใจความหมายหรือรู้จักคำว่า “ตัวแทนอำพราง” แต่คนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจคำว่า “นอมินี (Nominee)ซึ่งหมายถึงผู้ทำนิติกรรมแทนตัวการซึ่งไม่อาจกระทำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย โดยอาจจะอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เช่น การให้คู่สมรสซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนหรือการจัดตั้งบริษัทเพื่อถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อให้คนต่างด้าวดำรงสถานะอยู่อย่างคนไทย และอำนาจในการบริหารหรือครอบงำกิจการยังเป็นของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ เพื่ออำพรางการดำเนินการหรือสถานะที่แท้จริง และผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องทรัพยากรและทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ควรเปิดโอกาสคนต่างด้าวเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจของไทยมาก โดยส่วนใหญ่เห็นควรให้มีกฎหมายป้องกันคนต่างด้าวทำธุรกรรมโดยหลีกเลี่ยงกฎหมายผ่านผู้มีสัญชาติไทย
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในเรื่องของการควบคุมการกระทำอันมีลักษณะตัวแทนอำพราง โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะที่นำผลการศึกษาไปใช้ในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้น ข้อเสนอแนะในการตรากฎหมายเพื่อควบคุมการทำธุรกรรมอำพรางซึ่งจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถาม การรับฟังความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1) ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้น
สภาพปัญหาประการหนึ่งในการตรวจสอบและควบคุมการทำธุรกรรมอำพรางของคนต่างด้าวเกิดจากการที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบูรณาการและประสานข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งขาดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ ศึกษาและประมวลผลการกระทำที่เข้าข่ายธุรกรรมอำพราง ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่จะให้เกิดผลอย่างจริงจังและชัดเจนในระยะเร่งด่วนนี้ ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อตราระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการทำธุรกรรมอำพรางแทนคนต่างด้าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 1 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาการทำธุรกรรมอำพรางแทนคนต่างด้าว โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีสาระครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
- แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพราง เพื่อให้มีบทบาทและหน้าที่เสนอมาตรการป้องกันการทำธุรกรรมอันมีลักษณะตัวแทนอำพรางเพื่อกำหนดองค์ความรู้และประสานงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
- กำหนดให้มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่บูรณาการข้อมูลและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในเบื้องต้นผู้วิจัยเห็นว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันมีภารกิจดูแลเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมในการดำเนินงานและทำหน้าที่สนับสนุนงานธุรการของคณะกรรมการและมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอในการติดตาม ตรวจสอบ ศึกษาวิจัยและประมวลผลการกระทำในรูปแบบต่างๆ
ที่เข้าข่ายการทำธุรกรรมอำพราง
2) ข้อเสนอในการตรากฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว
โดยที่กระบวนการตรากฎหมายมีขั้นตอนและระยะเวลานาน และการตรากฎหมายจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็นแก่การต้องบังคับกับประชาชนหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น การตรากฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาที่ถาวรและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องบังคับโดยบทบัญญัติของกฎหมายและในบางกรณีอาจต้องมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย ในการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยจึงเห็นควรเสนอในระยะยาวให้มีการตรากฎหมายจึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงกลไกและกระบวนการควบคุมการทำธุรกรรมอำพราง ดังนี้
- ควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบคลุมการทำธุรกรรมอำพราง เช่น แก้ไขบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว”ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยให้ครอบคลุมถึงการที่คนต่างด้าวมีอำนาจบริหารหรือครอบงำกิจการของนิติบุคคลที่คนต่างด้าวตั้งขึ้นมาโดยใช้คนไทยเป็นผู้อำพรางการทำธุรกรรม
- ควรกำหนดให้การทำธุรกรรมแทนคนต่างด้าวที่มีลักษณะอำพรางเป็นความผิดฐานตัวแทนอำพราง เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับฐานความผิดตัวแทนอำพราง รวมทั้งกำหนดกรอบของการทำธุรกรรมบางประเภทที่เข้าข่ายเป็นการทำธุรกรรมอำพรางตามกฎหมาย
- ควรมีการจัดทำกฎหมายกลางเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีลักษณะตัวแทนอำพรางเพื่อกำหนดกลไกและกระบวนการในการตรวจสอบการดำเนินการที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทุกประเภท
- ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่จะรับผิดชอบทำหน้าที่ประสานงานด้านข้อมูลในการตรวจสอบการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพรางก่อนรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย
- ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินในการตรวจสอบและให้รางวัลสินบนแก่ผู้ชี้เบาะแสในการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง โดยนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ได้อายัดมาจากการกระทำความผิดและศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้นำทรัพย์สินดังกล่าวขายทอดตลาดได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐ
- ควรมีบทกำหนดโทษคนต่างด้าวที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายในความผิดฐานตัวแทนอำพราง รวมทั้งผู้มีสัญชาติไทยที่ให้การสนับสนุน โดยกำหนดบทลงโทษไว้เป็นแบบขั้นบันไดตามความหนักเบาแห่งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำความผิด เว้นแต่คนต่างด้าวหรือผู้มีสัญชาติไทยนั้นจะได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น หนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมายบังคับ สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นใหม่นั้น อาจสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
(1) กำหนดหลักการให้มีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดลักษณะตัวแทนอำพรางเพื่อใช้เป็นกฎหมายกลางในความผิดฐานตัวแทนอำพราง
(2) กำหนดนิยามคำว่า “ตัวแทนอำพราง” และ “ธุรกรรมอำพราง” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับบุคคลและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใดๆ กับผู้อื่น ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ หรือสิทธิในทรัพย์สินนั้นแทนคนต่างด้าวโดยปกปิดชื่อเจ้าของที่แท้จริงซึ่งเป็นคนต่างด้าวหรือกระทำการภายใต้การบริหารงาน การควบคุมหรือครอบงำของคนต่างด้าว ให้ถือว่าเป็นการทำธุรกรรมอำพราง
(3) กำหนดการกระทำที่เข้าข่ายลักษณะการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง เช่น การซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า โอน รับโอน หรือครอบครองทรัพย์สินโดยเจตนาเป็นตัวแทนอำพราง หรือ กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางสิทธิที่แท้จริงการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิใดๆ แทนคนต่างด้าว รวมทั้งการให้การสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยเป็นตัวแทนอำพราง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
(4) กำหนดโครงสร้างการบริหารงานตามกฎหมาย ควรมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานของกฎหมาย ดังนี้
คณะกรรมการควบคุมการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพราง
- องค์ประกอบของคณะกรรมการ กำหนดให้มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกฎหมาย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง กฎหมายหรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
- กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพราง มีบทบาทและหน้าที่ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการเสนอมาตรการป้องกันการทำธุรกรรมอันมีลักษณะตัวแทนอำพรางต่อคณะรัฐมนตรี ส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อสอดส่องและป้องกันการทำธุรกรรมอันมีลักษณะตัวแทนอำพราง รวมทั้งตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง
หน่วยงานสนับสนุนงานของคณะกรรมการ
-จัดตั้งสำนักงานควบคุมการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพรางขึ้นเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระและเป็นกลาง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ จัดทำรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมอำพราง เก็บ รวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ศึกษาวิจัย ประมวลผล และวิเคราะห์รายงานและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมอำพราง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง
(5) กองทุนตัวแทนอำพราง
-กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนตัวแทนอำพราง เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบและการชี้เบาะแสการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง ประกอบด้วยทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้จากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ เงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เงินและดอกผลที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำความผิด เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายหรือโดยนิติกรรมอื่น และดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งเงินและดอกผลทั้งหมดไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
- กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพรางเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนห้าคน โดยในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเงิน หลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด พิจารณาอนุมัติ
การจ่ายเงินเกี่ยวกับการชี้เบาะแสการกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพราง และรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการ
บทกำหนดโทษ
(6) กำหนดบทลงโทษแก่การกระทำความผิดฐานตัวแทนอำพรางเป็นแบบขั้นบันได โดยมีความหนักเบาแห่งข้อหาตามความรุนแรงหรือความเสียหายของการกระทำความผิด รวมทั้งกำหนดโทษสำหรับการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของเจ้าพนักงานหรือฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่มีคำสั่งให้ผู้ใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน