บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Mr.Meechai Ruchupan replies to a question to him about foreigners' comments on Lese Majesty Law


โดย Ronayos At Gmailcom 
 
มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานรัฐสภา อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา ตอบเรื่องวิพากษ์กฎหมายหมิ่นสถาบัน

Original Post in Thai at http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=&action=view&id=046033#q
In an online news http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000162693

Mr.Meechai Ruchupan replies to a question to him about foreigners comments to Lese Majesty Law as follows.

Mr.Meechai Ruchupan, An Eminent Scholar in Laws, Former House of Parliament Speaker, Former House of Senate Speaker, Former Vice Prime Minister

Article 112 only prohibits three deeds.

It prohibits defamation, slander and feud against His Majesty the King, the Queen, Heir apparent or the regent. Such deeds, no matter to the head of the country, against lay people are also not permitted. Any person's freedom falls to be limited where it does not violate others. If personal freedom is allowed without consideration of others, the society could reach cataclysm. Even US allows us neither defame, slander nor express feud against their President. Or can we?
Importantly, each country has her own different concerns. Looking from another country's stand point, one may see it inappropirate. But civilized people do accept cultures and traditions of others and do not judge by their own acquaintance.

For example, American is out of their mind with fear of terrorism. Whoever entering the country would be thoroughly searched without consideration to personal rights to the extent of complete stripping. Luggages can also be searched at their wills. When American was searching for Bin Laden, from aerial reconnaissance, they visualized a group of people walking with sticks at a foothill and imagined that it could be Bin Laden. An expensive guided missile was dispatched to kill them all. Later, it was discovered that it was not Bin Laden but villagers were murdered for free. Isn't that more cruel than in the stone age? I do not know if Americans or UN had condemned that. The reason may be that they still have the wrath about the attacks of the collapsed buildings.

Singapore has judicial corporal punishment (beating) to chasten for certain offences. A naughty american spray painted graffitis on walls, and was caught, was ass-beaten to shame before. No matter what request was made, Singapore government did not yield. Nobody called for amendment of the law because they would beat only convicts. This is similar to Thai laws which punish only those who violate the offences.

If there are discrepancies or errors from translation, they all belong to ronayos.

Original Post in Thai at http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=&action=view&id=046033#q
คำถาม แก้กฎหมายหมิ่นฯ
กราบ สวัสดีอาจารย์มีชัยด้วยความเคารพ มีคำถามที่อยากเรียนถามอาจารย์ถึงกระแสการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการและ ภาคประชาชนต่างๆที่ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 โดยระบุว่ามาตรานี้มีปัญหาต่างๆมากมาย ไม่ทราบว่าอาจารย์มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร เพราะขณะนี้องค์กรระหว่าง ประเทศ เช่น ยูเอ็นหรือสถานทูตสหรัฐตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศเริ่มมี การวิพากษ์วิจารณ์ปัญหากฎหมายมาตรานี้และเรียกร้องให้มีการแก้ไขแล้วและส่ง ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยอย่างไรในสายตาของต่างประเทศ ขอบคุณอาจารย์ ล่วงหน้าครับ

คำตอบ
มาตรา ๑๑๒ ห้ามการกระทำเพียง ๓ อย่าง คือ ห้ามหมิ่นประมาท ห้ามดูหมิ่น และห้ามอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  การกระทำทั้ง ๓ อย่างนั้น อย่าว่าแต่จะทำกับประมุขของประเทศเลย ทำกับคนธรรมดา ก็ยังไม่ได้  เสรีภาพของบุคคลนั้นย่อมมีขอบเขตอันจำกัดที่จะต้องไม่ไปละเมิดคนอื่น ถ้าคำนึงถึงแต่เสรีภาพของบุคคลโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของคนอื่น  สังคมก็คงกลียุค แม้แต่ในอเมริกาเองก็ใช่ว่าเราจะไปหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายประธานาธิบดีของเขาได้เสียเมื่อไรล่ะ ข้อสำคัญประเทศแต่ละประเทศย่อมมีความระแวดระวังในเรื่องที่ต่างกัน ถ้ามองในแง่มุมของอีกประเทศหนึ่งอาจเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สมควร แต่คนที่เจริญแล้วเขาก็ต้องยอมรับนับถือประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ไม่ไปตัดสินจากความคุ้นเคยหรือความเคยชินของตนเอง

ยก ตัวอย่างเช่น อเมริกันกลัวการก่อการร้ายจนขี้ขึ้นสมอง ใครจะผ่านเข้าประเทศจะตรวจค้นอย่างละเอียดยิบโดยไม่คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ของใคร ถึงขนาดจับแก้ผ้าก็ยังทำ  แม้แต่กระเป๋าเดินทางก็เปิดรื้อค้นเอาเองได้ เมื่อตอนที่อเมริกันตามล่าบินลาเด็นน่ะ เคยจับภาพจากอากาศเห็นคนกลุ่มหนึ่งเดินถือไม้เท้าอยู่เชิงเขา นึกว่าเป็นบินลาเด็น ส่งจรวดราคาแพงไปถล่มตายหมดทั้งกลุ่ม จึงรู้ภายหลังว่าไม่ใช่บินลาเด็น ชาวบ้านเลยตายฟรีนั่นน่ะไม่โหดร้ายป่าเถื่อนเสียกว่ายุคหินอีกหรือ ก็ไม่เห็นคนอเมริกันหรือสหประชาชาติจะไปตำหนิอะไร เพราะความแค้นในเรื่องถูกถล่มตึกยังค้างคาอยู่ในใจ

       ประเทศสิงคโปร์มีโทษเฆี่ยนตี ให้หลาบจำจะได้ไม่ทำผิดบางอย่าง คนอเมริกันมือซนเอาสีสเปรย์ไปพ่นที่กำแพง เขาจับได้ ลงโทษตีก้นให้ได้อายมาแล้ว จะโวยวายหรือขอร้องอย่างไร รัฐบาลสิงคโปร์ก็ไม่ยอม ไม่มีใครไปเรียกร้องให้เขาแก้ไขกฎหมาย เพราะเขาจะเฆี่ยนตีก็แต่เฉพาะคนที่ทำผิด เหมือนกับกฎหมายของไทย จะลงโทษก็แต่เฉพาะคนที่ทำผิดที่ห้ามไว้

มีชัย ฤชุพันธุ์
21 ธันวาคม 2554



Another article in Thai
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000163601

สำรวจร่าง พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอกฎหมาย...ความเป็นไปได้ของ "ปัตตานีมหานคร"

ต้อง ยอมรับว่าห้วงเวลานี้ กระแส "กระจายอำนาจ" และ "ท้องถิ่นปกครองตนเอง" กำลังมาแรง ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ก็เพิ่งมีเสียงประกาศก้องจากเวที "ปัตตานีมหานคร: ประชาชนจะได้อะไร?" เดินหน้าล่าชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายขอสิทธิบริหารจัดการท้องถิ่นเองภายใต้โมเดล "ปัตตานีมหานคร"
          แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า การเข้าชื่อเสนอกฎหมายในประเทศไทยนั้น แม้รัฐธรรมนูญจะให้สิทธิไว้ก็จริง แต่กระบวนการ วิธีการ และเส้นทางสู่ความสำเร็จ มีความเป็นไปได้น้อยมาก...

10 ปี 37 ฉบับ-สภาถกกว่า 1 พันวัน "ตกเกือบหมด"
          จากการเก็บข้อมูลของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ พบว่า ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 พบว่ามีการเสนอกฎหมายจากภาคประชาชนรวมทั้งสิ้น 37 ฉบับ เป็นร่าง พ.ร.บ.36 ฉบับ ร่างรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ เฉลี่ยแล้วปีละ 4 ฉบับ
          ทั้งนี้ ใน 37 ฉบับ เป็นการเสนอกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 จำนวน 16 ฉบับ รัฐธรรมนูญปี 2550 จำนวน 21 ฉบับ เป็นกระบวนการนำเสนอจากประชาชนโดยตรง 31 ฉบับ นำเสนอผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 6 ฉบับ โดยกฎหมายที่ถูกนำเสนอมากที่สุดเป็นกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น กฎหมายจัดตั้งจังหวัด กฎหมายสภาตำบล ร่าง พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
          จากข้อมูลยังพบว่า กระบวนการพิจารณากฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนมี 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
          1.ตรวจสอบรายชื่อและหลักเกณฑ์
          2.กระบวนการพิจารณากฎหมายโดยสภาผู้แทนราษฎร และ
          3.กระบวนการพิจารณากฎหมายโดยวุฒิสภา
          แต่ที่ผ่านมาพบว่ากฎหมายจากภาคประชาชนไม่ผ่านขั้นตอนที่ 1 มากที่สุด จำนวนถึง 17 ฉบับ โดยจำแนกระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาต่อฉบับ คือ ขั้นตอนที่ 1 ใช้เวลาเฉลี่ย 333 วัน ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ประมาณ 359 วัน ขณะที่ชั้นวุฒิสภาใช้เวลา 468 วัน รวมแล้วกฎหมายภาคประชาชนทั้งฉบับใช้เวลาพิจารณากว่า 1,100 วัน
          เห็นอย่างนี้แล้ว ทำให้เกิดคำถามว่า ร่าง พ.ร.บ.ปัตตานีมหานคร จะอยู่ตรงไหนกัน หรือจะมีจุดจบไม่ต่างกับร่างกฎหมายเกือบ 40 ฉบับที่กล่าวมานั้น
          อย่างไรก็ดี ณ นาทีนี้ต้องบอกว่าการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนไม่ใช่ช่องทางที่สิ้นหวัง เสียทีเดียว เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ก็ได้มีการปรับเกณฑ์การเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ง่ายขึ้น แม้จะยังไม่สมบูรณ์ สะดวก รวดเร็ว และเคารพความเห็นของประชาชนมากที่สุดก็ตาม
          ปัจจุบันมีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ที่เสนอโดยองค์กรต่างๆ รวม 4 ฉบับ "ศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา" จึงขอเสนอบทวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างร่างกฎหมาย 4 ฉบับนี้ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 ซึ่งมีอยู่เดิม และยังบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ที่กฎหมายจากปวงชนชาวไทยเจ้าของประเทศจะ ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาให้ได้ชื่อว่าเป็น "กฎหมายของประชาชน" อย่างแท้จริง

ย้อนดูหลักเกณฑ์เก่า "เข้าชื่อเสนอกฎหมาย"
          การเปิดให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายนั้น มีบัญญัติรับรองไว้ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 และยังได้ตรากฎหมายลูก คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 ออกมาด้วย โดยยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าหลักเกณฑ์สำคัญๆ ของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจะเปลี่ยนไปมากแล้วตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ตาม
          แต่ในเมื่อยังไม่มีกฎหมายใหม่ออกมารองรับ จึงให้ใช้กฎหมายเดิมไปก่อนโดยอนุโลม
          จากตรวจสอบของ "ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา" พบปัญหามากมายในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนตามหลักเกณฑ์เดิมที่ระบุไว้ ใน พ.ร.บ.ฉบับปี 2542 ซึ่งสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
          - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 50,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
          - การเสนอกฎหมายต้องมีร่างกฎหมายพร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบ
          - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อกฎหมายได้เอง หรือร้องขอให้ กกต.ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายก็ได้ โดยผู้มีสิทธิเข้าชื่อต้องลงลายมือชื่อตามแบบที่รัฐสภากำหนด พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เข้าร่วม
          - การร้องขอต่อ กกต.ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 100 คนขึ้นไปยื่นต่อประธาน กกต.พร้อมร่างกฎหมาย
          - ต้องติดประกาศรายชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่หน่วยงานราชการต่างๆ อาทิ ศาลากลางจังหวัด อำเภอ เทศบาล และเขตชุมชนขนาดใหญ่ เพื่อเปิดให้เจ้าของรายชื่อได้คัดค้านหากไม่ประสงค์จะเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จริง หรือป้องกันการแอบอ้าง
          - กำหนดบทลงโทษจำคุก 1-5 ปีหรือปรับ 2 หมื่นถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีผู้ใดกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิ การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

เทียบ 4 ร่างฯใหม่ ชงกฎหมายเข้าสภา "ง่ายขึ้น"
          ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้ปรับแก้เนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยลดจำนวนรายชื่อประชาชนจาก 50,000 รายชื่อเหลือเพียง 10,000 รายชื่อ ซึ่งแม้ดูเหมือนจะทำให้ช่องทางการใช้สิทธิของประชาชนเปิดกว้างขึ้น แต่จนถึงบัดนี้กฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึง ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ กลับยังไม่คลอดออกมา ทั้งๆ ที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มานานถึง 4 ปีแล้ว
          ปัจจุบันมี 4 องค์กรเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จำนวน 4 ฉบับ มีเนื้อหาแตกต่างกัน และแตกต่างกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายพ.ศ.2542 ด้วย โดยแยกพิจารณาได้ดังนี้
          1.ร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำหนดให้มี "ผู้ริเริ่ม" เสนอกฎหมาย พร้อมกำหนดกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ในรายละเอียด ทั้งให้ยกเลิกบทบาทของ กกต.ที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการเข้าชื่อของประชาชน โดยกำหนดให้มีการประกาศร่างกฎหมายและรายชื่อผู้ร่วมเสนอกฎหมายไว้ในเว็บไซต์ และกำหนดบทลงโทษใหม่ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 2 ด้าน คือ การหลอกลวง ขู่เข็ญ ชักจูงด้วยเงินเพื่อให้ลงชื่อด้านหนึ่ง และการปลอมแปลงหรืออ้างชื่อปลอมอีกด้านหนึ่ง
          ประเด็นที่ขาดหายไปจากร่างของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ คือ ไม่กำหนดระยะเวลาในการตรวจร่างของประธานรัฐสภา ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้ และไม่ได้กำหนดให้องค์กรใดให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ หรือช่วยเหลือในการรวบรวมรายชื่อ ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนเป็นไปได้ยาก เพราะขาดทรัพยากรและทุนทรัพย์
          2.ร่างของพรรคพลังประชาชน มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายพ.ศ.2542 โดยไม่มีการเสนอหลักเกณฑ์ใหม่ที่เอื้อให้การเสนอกฎหมายโดยประชาชนสามารถทำ ได้ง่ายขึ้นและเป็นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม (เพียงแต่เปลี่ยนจำนวนประชาชนที่ร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จาก 50,000 รายชื่อ เหลือ 10,000 รายชื่อตามรัฐธรรมนูญ)
          3.ร่างของสถาบันพระปกเกล้า (มาจากการเข้าชื่อเสนอโดยประชาชน) มีจุดเด่นอยู่หลายประการ อาทิ กำหนดระยะเวลาตรวจร่างของประธานรัฐสภาว่าต้องไม่เกิน 45 วัน และขยายเวลาการรวบรวมรายชื่อเพิ่มเติมหากรายชื่อไม่ครบได้อีก 90 วัน, เปิดให้มีองค์กรสนับสนุนประชาชนในกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยกำหนดให้องค์กรปฏิรูปกฎหมายช่วยเหลือในการยกร่าง และให้กองทุนพัฒนาการเมืองสนับสนุนด้านงบประมาณ แต่ไม่มีการกำหนดบทลงโทษกรณีมีผู้กระทำผิด
          4.ร่างของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มาจากการเข้าชื่อเสนอโดยประชาชน) มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับร่างของสถาบันพระปกเกล้า โดยได้เพิ่มเนื้อหาให้ทั้งสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเป็นองค์กรสนันสนุนการยกร่าง มีการจำกัดเงื่อนเวลาในการตรวจสอบร่างกฎหมายของประธานรัฐสภาให้สั้นลงเหลือ เพียงแค่ 30 วัน เพื่อให้กระบวนการเสนอกฎหมายเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และในกรณีที่ต้องรวบรวมรายชื่อเพิ่ม ก็ให้เวลาอีก 60 วัน และยังกำหนดว่าถ้าประธานรัฐสภาจำหน่ายเรื่อง ก็ไม่ตัดสิทธิประชาชนในการยื่นเรื่องใหม่
          หลักการสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ ในชั้นพิจารณาของรัฐสภา ต้องให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ชี้แจงหลักการของร่าง พ.ร.บ.ที่เสนอ และคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายนั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย

เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ทำไมต้องใช้ทะเบียนบ้าน?
          รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มีอุปสรรคสำคัญหลายประการ อาทิ ประชาชนไม่สามารถรวบรวมรายชื่อได้ครบ และขั้นตอนยุ่งยากตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลูก ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ลดจำนวนประชาชนผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายจาก 50,000 คนเป็น 10,000 คน น่าจะส่งผลให้การเสนอกฎหมายทำได้ง่ายขึ้น
          อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายใหม่ของทั้ง 4 องค์กร ก็ไม่ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการลงชื่อ กล่าวคือการลงชื่อต้องทำตามแบบที่รัฐสภากำหนด โดยต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน คำถามคือวิธีการลงชื่อเช่นนี้เอื้อให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามจริงหรือไม่ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน เพราะประชาชนไม่ได้พกติดตัวตลอดเวลา
          อุปสรรคข้อต่อมาคือ ขั้นตอนการพิจารณาโดยรัฐสภา ในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการวิสามัญควรมีผู้แทนประชาชนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมาธิการทั้งหมด (มีเสนอในร่างของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)
          ประเด็นที่สำคัญกว่านั้น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายอย่างแท้จริง เพราะปัจจุบันยังครึ่งๆ กลางๆ เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสามารถ แก้ไขเนื้อหาของร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนได้ หากต้องการยืนยันว่ากระบวนการเสนอกฎหมายเป็นของประชาชนจริง ควรมีบทบัญญัติห้ามแก้ไขเนื้อหาที่ประชาชนยกร่างขึ้น หรือเปิดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างกฎหมายของประชาชน ไม่ใช่ให้อำนาจอยู่ที่รัฐสภาเพียงอย่างเดียว

นักวิชาการชู 6 ข้อเสนอเพิ่มอำนาจประชาชน
          รศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวอีกว่า ในวาระที่มีการเสนอและพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ จึงมีข้อเสนอแนะคือ
          1.ต้องเปิดให้การร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายทำได้ง่ายขึ้น โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและลายเซ็นก็พอ ไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน
          2.ควรกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการพิจารณารับร่างกฎหมายของประธานรัฐสภา รวมถึงจำกัดเวลาในทุกขั้นตอนของกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา อาทิ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จและลงมติภายใน 3 เดือน เป็นต้น
          3.อาจคงบทบาทของ กกต.ในกระบวนการเข้าชื่อ เพราะ กกต.เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากร จึงสามารถช่วยเหลือประชาชนในการประสานงานรวบรวมรายชื่อได้ แต่บทบาทของ กกต.จะต้องจำกัดให้เป็นเพียงสถานที่ในการประสานงานเท่านั้น เพื่อป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง
          4.เมื่อถึงขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้คงหลักการที่ต้องมีผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายร่วมชี้แจงไม่ น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการวิสามัญ
          5.สร้างกลไกที่จะทำให้ประชาชนผู้เสนอกฎหมายและประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการเสนอกฎหมายโดยประชาชนได้
          6.กระบวนการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมาย อาจมีได้ทั้งผ่านรัฐสภาและการทำประชามติโดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ทั้ง 2 กระบวนการอาจมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น แนวทางแรกอาจใช้เสียงประชาชนเพียง 10,000 คนในการเสนอกฎหมาย ส่วนแนวทางที่ 2 (ทำประชามติรับไม่รับร่างโดยไม่ผ่านรัฐสภาอย่างเดียว) อาจใช้เสียงประชาชน 20,000 คน เป็นต้น
          เมื่อมองเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนแล้ว ก็ต้องมารอลุ้นกันว่าร่างกฎหมายใหม่จะผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้เมื่อ ไหร่...
          หากทันภายในปีหน้า ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งปัตตานีมหานคร ก็อาจได้อานิสงส์ด้วย!


. เขียนโดย ไพศาล เสาเกลียว, ปกรณ์ พึ่งเนตร  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง