โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ. เปิดประชุมสมัยนิติบัญญัติ 21 ธ.ค.นี้ กมธ.ปรองดองสภาเพื่อไทยย้อนศรจ่อถก"กฤษฎีกา"งัดมติครม. 66/23 ยุคป๋าเปรมปัดฝุ่น แก้ความขัดแย้ง "อดีตส.ส.ร." ติงรบ.เดินหน้าแก้รธน.ไม่เหมาะสม เชื่อผู้มีอำนาจกำหนดโจทย์ให้ส.ส.ร.แก้ไข "มาร์ค"เหน็บแก้มาตรา 309 ต้องการช่วยใคร ดักคอ"ยิ่งลักษณ์"ต้องรับผิดชอบ หากเป็นชนวนขัดแย้ง ด้าน นายกฯ โบ้ยยังไม่คุยรายละเอียด อ้างระบอบปชต.ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง "สนธิ"เตือน หากรบ.ทำเพื่อคนๆ เดียวประชาชนจะลุกฮือ ด้าน"สมเจตน์"ระบุเตรียมขยายผลกลุ่มสยามสามัคคีต้าน ขณะ"ชวนนนท์" จับโกหก กต.คืนพาสปอร์ต "ทักษิณ" ตอก "นพดล" บิดเบือนข้อเท็จจริง ยัน ปชป.เตรียมฟ้อง "ปึ้ง" ลั่นคนเกี่ยวพันเข้าคุกแน่ สะพัดนายกฯรอปรับบ้านเลขที่ 111 ปรับครม.ใหญ่รวดเดียวเดือน พ.ค.
เมื่อวันที่19 ธ.ค.54 ผู้สื่อข่าวรายงาจากรัฐสภาว่าได้มีสำเนาพระราชกฤษฎีกาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ลงวันที่18ธ.ค.54 โดยระบุถึงพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎีกาที่โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 127 มาตรา 128 และมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญ เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติพ.ศ.2554 ในวันที่ 21 ธ.ค. พ.ศ.2554 นี้ ซึ่งมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ที่กระทรวงมหาดไทย นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงบัญชีแต่งตั้งผู้ว่าราชการที่ยังว่างอยู่ทั้ง 16 จังหวัดว่า จะมีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันอังคารที่ 27 ธ.ค.นี้ 54 ส่วนกระแสข่าวที่ว่านายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปประเทศสิงค์โปร์เพื่อพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น นายพระนายฝากตนมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรียังไม่มีการส่งสัญญาณการปรับ ครม.ในช่วงนี้ คงต้องรอดูท่าทีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก่อน อย่างไรก็ตามเท่าที่ตนคุยกับนายสนธยา คุณปลื้ม อดีตรมว.ท่องเที่ยวและกีฬานั้น คาดว่าท่าทีการปรับครม.ใหญ่น่าจะอยู่ในช่วงเดือนพ.ค.54 นี้ ขณะที่มีรายงานว่าเป็นที่ทราบกันดีกว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองบ้านเลขที่111 จะพ้นโทษที่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้ว
"คนอาจมองว่าพรรคพลังชลน่าจะเหมาะกับการดูแลกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเพราะในอดีตคุณสนธยา ก็เคยเคยดำรงตำแหน่งรมว.ท่องเที่ยวฯ จึงถูกจับตาเป็นพิเศษ แต่ในพรรคตอนนี้ก็ยังไม่มีการพูดเรื่องปรับครม.เลย แต่ไม่ว่าเราจะทำงานอยู่ตรงไหนก็ทำเต็มที่ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ "
อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีที่พรรคเพื่อไทยเริ่มเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น นางสุกุมล กล่าวว่า คงต้องดูรายละเอียดในเหตุผลและความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรานั้น ๆ ซึ่งเชื่อว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องมีคนออกมาต่อต้านอยู่แล้ว ดังนั้นการแก้ไขสมควรจะยึดถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักโดยส่วนตัวของพรรคคงมีการหารือในเรื่องนี้อีกครั้ง
ที่รัฐสภา ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เหตุผลที่รัฐบาลต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ มี 2 ประการ คือ 1.เพราะไม่สามารถเข้าครอบงำองค์กรอิสระได้ และ 2.เพื่อใช้รัฐธรรมนูญเป็นทางออกให้มีการนิรโทษกรรมความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประเด็นนี้ตนจะนำหารือในภาคีเครือข่ายสยามสามัคคีเพื่อต่อต้านด้วย
"ส่วนตัวมองว่าปัญหาของประเทศขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญแต่อยู่ที่ตัวนักการเมืองที่ต้องการรับใช้นายทุนเจ้าของพรรคมากกว่าประโยชน์ของประเทศ การที่อ้างว่ารัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย และส.ว.สรรหามาจากระบบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผมขอให้ท่านเปรียบเทียบมาตรฐานความดี-ชั่ว ระหว่างส.ว.สรรหา กับส.ส.บางคน หากจะปิดทางไม่ให้มีส.ว.สรรหา ก็จะเข้าอีหรอบเดิมสมัยรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีแค่สภาผัว สภาเมียเท่านั้น"
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานะอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร. ) กล่าวว่าประเด็นการเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาลนั้น ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลทำเรื่องแบบนี้ไม่ค่อยดีนัก เพราะพรรคเพื่อไทยรวมถึงรัฐบาลเองล้วนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสาระที่นำเสนอแก้ไขจึงออกมาจากผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้รัฐบาลควรที่จะมีการสอบถามไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 244 (3) ที่ระบุอำนาจให้ผู้ตรวจการแผ่นดินติดตามและจัดทำข้อเสนอแนะก่อน เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
"ในประเด็นที่รัฐบาลนำเสนอว่าจะมีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร. นั้นแต่ในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจจะเป็นผู้เลือก ส.ส.ร.เข้ามาทำหน้าที่ ดังนั้นเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยผ่าน ส.ส.ร.จะเป็นไปตามการชี้นำและโจทย์ที่พรรคเพื่อไทยได้ตั้งไว้ก่อนหน้าแล้ว"
ด้านนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยว่า รัฐบาลมีอำนาจในการเสนอแก้ไขอยู่แล้วแต่ก็ต้องดูเหตุผลที่สมควรด้วย โดยไม่จำเป็นจะต้องมาสอบถามผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งในส่วนของผู้ตรวจฯ จะทำการประเมินเพื่อเป็นมาข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ส่วนรวมและขณะนี้ได้ทำการศึกษาการใช้รัฐธรรมนูญปี 50 ไปพอสมควรแล้ว โดยยอมรับว่าการประเมินผลเป็นเรื่องยากเพราะมีหลายระดับที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองที่ส่งผลกระทบในภาพใหญ่ ทั้งในเรื่องข้อเสนอจากฝ่ายการเมืองจะยุบองค์กรอิสระ ซึ่งกรณีนี้ตนไม่คงขัดข้อง แต่ในกรณี ม.237 ที่นักการเมืองซื้อเสียงแล้วส่งผลถึงการยุบพรรคได้ตนมองว่าไม่ควรแก้ไขเนื่องจากต้องการให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์และไม่มีระบบอุปถัมภ์
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลยังไม่มีการพูดอย่างชัดเจนว่าเป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร เพราะหากยังวนเวียนอยู่กับเรื่องนิรโทษกรรมก็ไม่มีประโยชน์มีแต่ขัดแย้งเพิ่มขึ้น ยิ่งมีธงในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ที่ตนไม่คิดว่าจะแก้ปัญหาให้กับใครได้ โดยตนขอให้นายกฯพักเรื่องของพี่ชายเอาไว้ก่อนและขอให้เลิกปฎิเสธความรับผิดชอบว่าไม่รู้ไม่เห็นเรื่องใดๆ เพราะสุดท้ายหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆขึ้น นายกฯก็ต้องรับผิดชอบ
ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านพรรคเพื่อไทยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 309ว่ายังไม่ได้คุยกันในรายละเอียดในเรื่องนี้กับพรรค แต่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยที่มาจากภาคประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง ซึ่งหากตนทำดีที่สุดแล้วก็คงจะไม่ห่วงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นวันข้างหน้า
เมื่อถามว่ารัฐบาลมั่นใจหรือไม่ว่าจะนำไปสู่ความปรองดองได้ นายกฯ กล่าวว่า ตั้งใจอย่างนั้นตั้งแต่วันแรกที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ซึ่งอยากขอความร่วมมือทุกส่วนให้มาช่วยกันเพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบ เพราะที่ผ่านมาคงจะเห็นคำตอบแล้วว่าประเทศชาติของเราไม่ได้ไปไหน
ด้านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ(กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงประเด็นที่พรรคเพื่อไทยเตรียมเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.กลาโหม ว่า ตนขอฝากรัฐบาลต้องระวังอย่าทำอะไรที่มีวัตถุประสงค์ซ้อนวัตถุประสงค์ หากรัฐบาลทำประโยชน์เพื่อคนๆ เดียวมากกว่าส่วนรวมประชาชนอาจลุกฮือออกมาจนเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีทางสู้ได้ ทั้งนี้สำหรับแนวทางสร้างความปรองดองที่ตนดูแลอยู่นั้น ในเบื้องต้นกมธ.ยังคงจะยึดหลักแนวคิดของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.)และแนวทางของการให้อภัยมาใช้ อย่างไรก็ตามตนยังได้เตรียมเชิญคณะกรรมการกฤษฏีกาและภาคประชาชนมาให้ความเห็นในที่ประชุมด้วย
ด้านนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยในฐานะรองประธานกมธ.ปรองดอง กล่าวว่าในการประชุมกมธ.ปรองดองในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ได้เชิญกฤษฎีกามาให้ความเห็นถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อดูในข้อกฏหมายว่าจะใช้เป็นทางออกความขัดแย้งนี้อย่างไร โดยจะใช้คำสั่งคณะรัฐมนตรีที่ 66/23 สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นแบบในการศึกษาและใช้เป็นโมเดลแก้ปัญหาความขัดแย้ง นอกจากนี้จะต้องเชิญทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนมาเสนอทางออกร่วมกันด้วย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ..ต.ท.ทักษิณ มักจะพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงและแกล้งโง่ในเรื่องที่กระทรวงต่างประเทศออกพาสปอร์ตใหม่ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณว่า ตนขอจับผิดนายนพดลในหลายประเด็นเช่น1.การโกหกประชาชนที่ว่า พ.ต.ท.ท.ทักษิณไม่รู้เรื่องการดำเนินการคืนหนังสือเดินทางและไม่ได้ยื่นคำร้องใดๆ แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศพูดชัดว่าวันที่ 25 ต.ค.54ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ยื่นคำร้องที่สถานทูตกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 2.การที่นายนพพดลพยายามจะนำกรณีดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับกรณีของนายวัฒนา อัศวเหมและนายสมชาย คุณปลื้มว่าเหตุใดในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ไปเพิกถอนหนังสือเดินทาง ทั้งที่ตนพูดชัดหลายครั้งว่าการเพิกถอน พ.ต.ท.ทักษิณตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศมาตรา 23(7) ที่ระบุว่าการเดินทางอยู่ในต่างประเทศแล้วสร้างความเสียหายให้กับประเทศ ซึ่งแตกต่างกับนายวัฒนาและนายสมชายที่ไม่ได้มีสถานะเช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ
"หนังสือที่ส่งมาจากศาลฎีกาและหมายจับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ยืนยันชัดถึงสถานะของพ.ต.ท.ทักษิณ และหนังสือฉบับนี้ก็อยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ แต่การที่นายสุพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศไปออกหนังสือเดินทางใหม่ให้ ทั้งที่พ.ต.ท.ทักษิณทำผิดมาตรา 21เกือบทุกวงเล็บ หมายความว่าอย่างไร หากจะออกหนังสือเดินทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลชุดนี้ต้องออกให้กับนายวัฒนาและนายสมชายด้วย เรื่องนี้ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์กำลังรวบรวมข้อมูลหลักฐานอยู่ ซึ่งมั่นใจว่าจะดำเนินการฟ้องได้ในเร็วๆนี้ โดยนายสุพงษ์ ที่เป็นผู้เกี่ยวข้องหลักนั้นไม่ต้องกังวลได้เข้าคุกแน่"
ขณะที่นายนพดล ปัทมะ ได้ส่งอีเมล์คำแถลงตอบโต้นายชวนนท์ว่า ยังยืนยันว่านายกษิต ภิรมย์ อดีตรมว.ต่างประเทศ เพิกถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณโดยเลือกปฎิบัติและไม่เป็นธรรม ซึ่งอย่างน้อยคนกว่า15 ล้านคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยไม่คิดแบบพรรคประชาธิปัตย์ โดยตนเข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์แข่งเลือกตั้งแพ้พรรคฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณทุกครั้งจึงเป็นเหตุให้ไม่พอใจและทำการกลั้นแกล้งพ.ต.ท.ทักษิณดังกล่าว
สยามรัฐ
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
"Non-Stoical Ar Kong"An Article (Original in Thai)คำแปล บทความเรื่อง"คดีอากง"
โดย Ronayos .
คำแปล บทความเรื่อง"คดีอากง" โฆษกศาลยุติธรรม สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ตอบ 5 สงสัย ความผิดตามมาตรา 112
"Non-Stoical Ar Kong"An Article (Original in Thai) By Court of Justice Spokesman, Mr.Sithisak Wanachakij
As soon as the criminal court pronounced the verdict on November 23, 2011, in the criminal case number OR.311/2554 , State Attorney vs Mr.Ampon Tangnopakun, so called "Ar Kong", who is 61-year-old defendant indicted for defamation, insult, and expression of feud against the King and the Queen, which is an offence according to the Criminal Codes Act article 112 and Computer Crime Act B.E 2550 article 14(2) (3), the interest of the public gets as strong as the recent torrential flood in Bangkok. Also, some foreign countries pay interest and concern as well as negatively criticize Thai court of justice.
However, no matter which direction of the public converse, the court and law enforcement authorities never obstruct any people's expressions if they are based unbiassedly and academically, in accordance with legal principles, rule of law, reasonable logics, or honest personal believes of sufficient facts.
Nevertheless, several people negatively criticize the verdict above despite that they have not thoroughly seen the evidences or facts. Thus, silence of the court and law enforcement authorities can be no longer golden.
The writer would like to draw the attention to some matter in this case to answer the doubts raised in the public and to communicate with the audiences as follows.
1.Ar Kong has not committed any crime. Why does the court jail him?
2.The court's sentence of 20 year imprisonment is too much.
3.Ar Kong is very old and, thus, deserves a relieved sentence, release or bail.
4.Thai courts do not hold an international standard. Freedom of expression should be guaranteed.
5.The offences as stipulated by the Criminal Codes Act article 112 and the Computer Crime Act should be revoked.
First, any people who believe that Ar Kong has not committed crime, but is incriminated by people out of the court and law enforcement authorities, would find it difficult to reason this because it may be only personal belief without their actual presence in the crime scenes. It is only subjective without supporting evidence.
Whilst this case has passed investigative processes, verified by the state attorney, the defendant could freely defend himself in the court which is according to the universal principles where, in the trials, defendants or convicts can impartially and justly defend themselves.
Why the court of the first instance rules that the defendant Ar Kong is guilty, is because the court has weighed the evidences from both sides and believes that the defendant is actually guilty as charged by the state attorney. If the defendant does not agree with the verdict, he can appeal or petition as stipulated by the law.
In fact, there are plenty of cases in which higher courts overturn or change lower courts' verdicts. Thus, when the case is not final, the conclusion that Ar Kong is finally convicted and absolutely guilty cannot be definitely drawn for certain as some hold such believes. Actually, Ar Kong remains assumed not guilty until the case is final.
Next, what are the reasons for court's sentencing him to imprisonment? As a matter of fact, in the past, defamation or insult of ordinary people resulting in severe damage to others' reputations, have already led the court of justice to sentence defendants to jail without probation.
In this case, there were expressions of profanity and feud, insulting HM the King and the Queen with barbaric and filthy words, even in excess of what either sages or lay people would insult others. In particular, the crimes targetted at HM the King, the head of the country, whom is highly respected and worshipped of all Thais and around the world. The King has been on the throne for more than 65 years, exercising the Ten Precepts of Royal Ethics, caring for the whole citizens throughout. Despite of his illnesses, His Majesty keeps working to relieve sufferings of the people drown in this flood.
HM the King has devoted his life to work for national and public tranquility of all groups. The Constitution article 8 stipulates that "HM the King possesses the highly respectful and worshipped status which no one may violate." HM the King, in particular, is not a disputant who would have conflicts with or would afflict the defendant to the least extent. Moreover, HM the King is above all political conflicts and all political mass movements. Therefore, there is no reason to support the deceptive claim that the case has a political base which is unfair and far from truths.
Second, this case, apart from the context of the case, the severely profane expressions, facts include that the defendant did not do it only once, but actually committed 4 various incidences of different expressions of profanity and feud, indicating definite intention to defiantly violate the law without respect to the law and moral restraint.
Since the defendant refuses to plea guilty throughout during the court's deliberation, there is no cause to relieve the penalty as stipulated by the law. The penalty for the offence in the Criminal Codes Act article 112 is 3 to 15 years imprisonment while the penalty for the offence in the Computer Crime Act is at maximum 5 year imprisonment.
The penalty which the court of the first instance sentences for each deed is 5-year imprisonment according to article 112 which carries severe penalties, is only two years higher than the minimum penalty limit, leaving ten years more to the maximum which could have been enforced. When counting all four deeds together, it adds up to a total of 20 years which some people unknowingly may consider too severe for a crime. However, if the actual serious circumstances of the crimes are taken into account, several people may otherwise consider the penalty of too light or optimal.
Third, the defendant is widely called "Ar Kong" which sounds like a very old man, however, the defendant is 61 years old which is not too old or crippled to need a guardian. He still understands and utilizes new technology, therefore a fully conscious and sane, not so elder as a great grandfather.
As for any old veteran to the world but possessing malevolence toward the public institutions and toward the national head who is highly respectful and worshipped of the public, and could cause vast extent of confusion and major disasters, the writer believe that there would be nobody wishing him free in the society, to successively damage others. for one day in the futre, his close acquaintances may also fall victims of him. Proper measures are to obstruct the chance for the future crimes and to punish the criminal severely enough to make him feel the guilts while to fend off others. Particularly with those who meticulously but intriguingly conspire the crimes, appropriate measures are crucial to protect public order of the country and the people. Therefore, it is not to be taken for grant that an old convict would always derserve relieved penalties, minimal punishment, or to be released, because, in fact, it depends on the offences, damages and the circumstances of individual case.
In terms of permission to bail, the decision individually depends on the context of each case as stipulated by the Criminal Deliberation Codes article 108 and 108/1.
Fourth, the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) affirmatively states in article 19 as follows.
1. Everyone shall have the right to hold opinions without interference.
2. Everyone shall have the right to freedom of expression; this right shall include freedom to seek, receive and impart information and ideas of all kinds, regardless of frontiers, either orally, in writing or in print, in the form of art, or through any other media of his choice.
3. The exercise of the rights provided for in paragraph 2 of this article carries with it special duties and responsibilities. It may therefore be subject to certain restrictions, but these shall only be such as are provided by law and are necessary:
(a) For respect of the rights or reputations of others;
(b) For the protection of national security or of public order (ordre public), or of public health or morals.
Moreover, the International Covenant on Civil and Political Rights also protects the reputation and dignity of a person not to be violated in article 17 as follows.
1. No one shall be subjected to arbitrary or unlawful interference with his privacy, family, home or correspondence, nor to unlawful attacks on his honour and reputation.
2. Everyone has the right to the protection of the law against such interference or attacks.
Thus, despite of the acceptance of the freedom of expression as a basic human right by the ICCPR, it also limits the right to base on sense of responsibility not to violate rights of others, because equally everyone has the right to defend one's own reputation and dignity which is also protected by the law.
The International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) is a multilateral treaty adopted by the United Nations General Assembly on December 16, 1966, and in force from March 23, 1976. It commits its parties to respect the civil and political rights of individuals, including the right to life, freedom of religion, freedom of speech, freedom of assembly, electoral rights and rights to due process and a fair trial. As of October 2011, the Covenant had 74 signatories and 167 parties.
Thailand joined this treaty by accession on October 29, 1996. Since October 29, 1997 the treaty has been in effect in Thailand and in accordance with the Constitution of the Kingdom of Thailand article 45 which states, "Every person has freedom of expression, speech, writing, printing, press, and any communication means. Restriction of the rights in the first clause is not permitted except provided by the laws to protect the state security; rights, freedom, dignity, reputation, family and privacy rights of others; or to protect public peace, order and morality..."
In addition, Civil and Commercial Codes article 5 stipulates, "In exercise one's own right, one has to carry out honestly". Article 421 stipulates, "In exercise one's own right, which would damage other person, is considered illegal.". These are of the same standard as the international treaty above which demonstrate that Thailand provides rights and freedom to the citizens, and possesses laws which are equally advance as other developed countries. It is the administrative system which differs and hence every country should respect such differences which are cultural and social prides of individual country.
If any critic, has not yet thoroughly studied background history enough, lacks of adequate facts, or does not understand local cultures and traditions of a country, but criticizes the court or the justice system of the other country, as if such critic is so worried that the court has inferior standard to the international, it would be highly sensitive and risky to mean an unfair comment. Such comment may mean that the critic is mixed up with bias or carries hidden agenda. In fact, for very a long time, Thailand has autonomy in administration and justice system while her citizens have freedom of expression under her Constitutional Monarchy.
Fifth, all Thai laws have been enacted by the legislative body which comes from the whole Thai citizens, and can be amended or revoked. of the House of Representatives sees that the law is obsolete or inappropriate. The court is the body who enforces the law according to the spirit of the law which the House of Representatives draws. There are several laws which have been written in a way that nearly do not allow the court's discretion or that the severe punishment is unavoidable for some offences such as producing or importing addictive substances of type 1 for only one tablet, or murdering one's own parent which carries only death penalty. Although law amendment or revocation is possible, the public's concern, public peace and order as well as side effects and sequelaes are to be considered without emotion or instigation to the wrong path.
Ar Kong case is still in the first stage of proving the defendant guilty or not along the path of freedom which the law allows, so long as the case is not final. Premature conclusions to blame anybody or bodies who keep the law of the society may be unfair.
By the way, people of any races or cultures are patriotic to their cherished motherlands, respectful in their faithful religious prophets who are their religions' leaders. Differences in ideologies, races, religions, politics, arts, cultures and traditions are not abnormal in the world. Insult, libel or expression of feud against other religion's prophet is a behaviour which civilized people must not do because such minute cause may spark a national disaster.
Therefore, if one wishes to know the present and future of any nation, please study the history of that nation. Thailand has maintained her autonomy and identity which is admired by all other nations because all Thais in the society have affinity and unity. They are generous and flexible to each other. They are not severely aggressive or unreasonably insensate. They cherish the country, religions, and Royal institutions from generation to generation. It has long been a delivered legacy to the present young generation.
Thais are still patriotic and proud in their homeland. They will protect the nation, religions and the King. Criticizing is definitely allowed and free to do with unbiased impartiality based on constructive attitude. Exercise of one's right beyond the limit to encroach upon another is not allowed.
Claiming political reasons or other reasons to justify oneself for expression of feud, or insulting with speech and lies against others is also not allowed. Future generations of Thais are not going to be left with wreckage of the nation because the present generation of Thais is careful and willingly protect the legacy of pride.
This article is originally written in Thai by Court of Justice Spokesman, Mr.Sithisak Wanachakij
and translated into English with slight modification by Ronayos.
If there are any errors or discrepancy from the original article, they belong to Ronayos.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000159016
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU16ZzJOVFExTmc9PQ==§ionid=
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20111214/424435/news.html
"คดีอากง" โฆษกศาลยุติธรรม ตอบ 5สงสัย ความผิดตามมาตรา 112 หลังกระแสสังคมเกือบทุกสาขาอาชีพต่างให้ความสนใจ
พลันสิ้นคำอ่านคำพิพากษาศาลอาญาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.311/2554 ระหว่างพนักงานอัยการฯ โจทก์ นายอำพล ตั้งนพคุณ จำเลยอายุ 61 ปี ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นแสดง ความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินีฯ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(2)(3) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 หรือที่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า “คดีอากง” กระแสสังคมเกือบทุกสาขาอาชีพต่างให้ความสนใจเหมือนกระแสน้ำที่ไหลบ่ามาท่วมศาลและกระบวนยุติธรรมเช่นน้ำท่วมกรุงเทพฯที่ผ่านมา
รวมทั้ง ต่างชาติบางประเทศก็ให้ความสนใจแสดงความห่วงใย วิพากษ์วิจารณ์ ศาลยุติธรรมไทยในทางไม่สร้างสรรค์นักแต่ไม่ว่าความเห็นของสังคมจะสื่อสารในทางใดก็ตาม
ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่เคยขัดขวางการแสดงความคิดเห็นของบุคคลใดๆ ขอเพียงการแสดงออกตั้งอยู่บนฐานคติที่ปราศจากอคติ ภายใต้หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม หลักเหตุผล หรือหลักความเชื่อส่วนตนที่สุจริตมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์
แต่ดูเหมือนหลายคนที่วิจารณ์ผลคดีข้างต้นในทางลบยังมิได้รู้เห็นพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงในสำนวนความอย่างถ่องแท้ ซึ่งการนิ่งเฉยของศาลและกระบวนยุติธรรมมิได้มีค่าเป็นตำลึงทองเสียแล้ว
ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำความจริงบางประการในท้องสำนวนคดีนี้ ประกอบกับประเด็นที่สังคมตั้งข้อสงสัยมานำเฉลยเอ่ยความ เพื่อเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านที่เคารพ ซึ่งมีประเด็นใหญ่ๆ ที่ผู้คนกล่าวขานกันดังนี้
1. อากงไม่ได้กระทำความผิด เหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุก
2. ศาลลงโทษจำคุก 20 ปี เป็นโทษที่หนักเกินไป
3. อากงอายุมากแล้วควรได้รับการลดโทษ ปล่อยตัวไป หรือได้รับการประกันตัว
4. ศาลไทยไม่มีมาตรฐานสากล ควรรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
5. ควรยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์
ในข้อแรก ผู้ที่เห็นว่า อากงมิได้กระทำความผิดนั้น หากเป็นการตัดสินกันเองโดยบุคคลกลุ่มคนนอกศาลและกระบวนการยุติธรรม คงจะหาเหตุผลรองรับความชอบธรรมยากสักหน่อย เพราะเป็นความเชื่อส่วนตนที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เป็นอัตวิสัยที่อาจปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน
ในขณะที่คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากลและหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้คดีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า อากงหรือจำเลยมีความผิดเพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาได้ตามกฎหมาย
ซึ่งในอดีตมีคดีที่ศาลสูงเห็นต่างจากศาลชั้นต้นพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลล่าง ก็ไม่น้อย ดังนั้นเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด การจะด่วนสรุปว่าอากงเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยเสร็จเด็ดขาดนั้น ก็ยังมิใช่เป็นเรื่องที่แน่แท้เสมอไปดังที่บางคนมีความเชื่อและเข้าใจในทำนองนั้น แท้จริงแล้ว อากงยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อต่อมา ที่ว่าเหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ปกติการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดาที่เป็นการดูหมิ่นใส่ความทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงเกียรติคุณอย่างร้ายแรง กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมีโทษถึงจำคุก ศาลยุติธรรมก็เคยลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมาแล้ว
สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินีด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของประเทศ อันเป็นที่เคารพยกย่องเทิดทูนของปวงชนชาวไทยและทั่วโลก ในหลวงทรงครองสิริราชย์มาเป็นเวลากว่า 65 ปี ทรงครองแผ่นดินด้วยหลักทศพิธราชธรรม ห่วงใยทุกข์เข็ญของอาณาประชาราษฎร์ตลอดเวลา แม้ในยามทรงพระประชวร พระองค์ก็ยังทรงงานเพื่อแก้ไขความทุกข์ยากของประชาชนเช่นอุกทุกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทุ่มเทพระวรกายตลอดพระชนม์ชีพ ทรงงานเพื่อความผาสุกของประเทศชาติและประชาชนทุกหมู่เหล่า ในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความขัดแย้งสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่น้อยนิด รวมทั้งพระองค์ท่านทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่า จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง
ข้อสอง คดีนี้มีข้อเท็จจริงบางประการที่ผู้วิจารณ์อาจยังรู้ไม่ครบถ้วนและเข้าใจคลาดเคลื่อนคือ นอกเหนือจากพฤติการณ์แห่งคดีหรือข้อความหมิ่นประมาทที่มีความรุนแรงและร้ายแรงอย่างมากแล้ว ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตามกฎหมาย ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กฎหมายระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2 ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4 กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มี
ข้อสาม แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด
สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิดอย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อหาความผิด ความเสียหายและพฤติการณ์การกระทำแต่ละคดีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ส่วนการจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นเรื่องๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ,มาตรา 108/1
ข้อสี่ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (International Covenant on Civil and Political Rights) ICCPR ได้บัญญัติรับรองในข้อ19 ว่า
1) บุคคลมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากแทรกแซง
2) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับและสื่อสารข้อมูลและความคิดทุกชนิด โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยการพิมพ์ ในรูปแบบของศิลปะหรือโดยสื่อประการอื่นใดที่บุคคลดังกล่าวเลือก
3) การใช้สิทธิตามวรรคสองของข้อนี้ต้องประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอันเป็นพิเศษ ดังนั้น สิทธิดังกล่าวจึงอาจอยู่ภายใต้ข้อจำกัด บางประการ แต่ข้อจำกัดนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเท่าที่จำเป็น
(ก) เพื่อเคารพต่อสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) เพื่อคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนสาธารณสุขหรือศีลธรรมอันดี
นอกจากนั้น กติการะหว่างประเทศฯ ยังได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการที่จะไม่ถูกล่วงละเมิดทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติภูมิไว้ด้วยตามข้อ 17 ซึ่งกำหนดว่า
“1. ไม่มีบุคคลใดที่จะต้องตกอยู่ภายใต้การแทรกแซงตามอำเภอใจหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อความเป็นส่วนตัว ครอบครัวหรือการติดต่อสื่อสาร หรือการโจมตีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อเกียรติภูมิและชื่อเสียง
2. บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการแทรกแซงหรือการโจมตีเช่นว่านั้น”
ฉะนั้นแม้การแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กติการะหว่างประเทศฯ ให้การยอมรับ แต่ในขณะเดียวกัน กติการะหว่างประเทศฯ ก็ได้กำหนดไว้ด้วยว่าการใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำด้วยความสำนึกรับผิดชอบและไม่ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล เนื่องจากบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ ในการรักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนและต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญา พหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 ประเทศและภาคี 167 ประเทศ
ประเทศไทย เข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 อันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่เสรีภาพดังกล่าวก็ยังถูกจำกัดได้โดยกฎหมายหากเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิ หรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน...”
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต และมาตรา 421ก็บัญญัติว่า การใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักการสากลข้างต้น อันแสดงว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน มีกฎหมาย ที่ความก้าวหน้าทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เพียงแต่ภายใต้ระบอบการปกครองบ้านเมืองที่แตกต่างกัน ทุกประเทศจึงควรที่จะต้องให้เกียรติเคารพในความต่างที่เป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมและสังคมของแต่ละประเทศ
หากผู้วิจารณ์คนใดยังศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ไม่ลึกซึ้งถึงแก่นแท้หรือมีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมประเทศใดแล้ว การแสดงความเห็นว่าศาลหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศอื่นในทำนองห่วงใยว่าจะไม่มีมาตรฐานสากลนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรม
อาจทำให้คิดไปว่าผู้วิพากษ์เจือปนด้วยอคติที่ผิดหลงมีวาระซ่อนเร้น ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน และประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อห้า กฎหมายทุกฉบับออกหรือตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนมาจากปวงชนชาวไทย สามารถแก้ไขปรับปรุงและยกเลิกได้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าล้าสมัยไม่เหมาะสม ศาลเป็นเพียงผู้ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ที่สภานิติบัญญัติตราขึ้น มีกฎหมายหลายฉบับเขียนให้ศาลแทบใช้ดุลพินิจไม่ได้หรือ ต้องลงโทษสถานหนักในบางข้อหาเช่น ผลิตนำเข้ายาเสพติดให้โทษประเภท 1 แม้เพียง 1 เม็ดหรือ ข้อหาฆ่าบุพการี ต้องประหารชีวิตสถานเดียว เป็นต้น แม้การแก้ไขยกเลิกกฎหมายจะกระทำได้ก็ตาม แต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคมและผลกระทบข้างเคียงอื่นที่อาจตามมาด้วย อย่าให้อารมณ์หรือกระแสแห่งการปลุกปั่นยั่วยุชักจูงไปในทางที่เสียหายได้
คดีอากง เป็นแค่ปฐมบทในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ตามครรลองแห่งเสรีภาพที่กฎหมายเปิดช่องไว้ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุด การด่วนรวบรัดตัดความกล่าวโทษบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รักษากติกาสังคมอาจยังไม่เป็นธรรมนัก
อย่างไรก็ตาม คนทุกชาติ ทุกภาษา ต่างหวงแหนรักในแผ่นดินเกิดของตนเองเคารพและศรัทธาในศาสดาที่เป็นผู้นำทางศาสนาของตนเอง ความแตกต่างทางความคิดเชื้อชาติศาสนาการปกครองบ้านเมืองศิลปวัฒนธรรม ประเพณี มิใช่สิ่งผิดปกติในสังคมโลก แต่การกล่าวร้ายใส่ความ แสดงความอาฆาตมาดร้ายศาสดาของศาสนาอื่น เป็นพฤติการณ์ที่ผู้เจริญมิสมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำผึ้งหยดเดียวอาจกลายเป็นความหายนะของชาติได้
ดังนั้น หากท่านผู้อ่านอยากรู้ปัจจุบันและอนาคตของชาติใด ขอจงศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น สำหรับชาติไทยดำรงคงเอกราชมีเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นที่ชื่นชมยกย่องของคนทุกชาติทุกภาษา เพราะผู้คนในสังคมไทยยังมีความรักสามัคคี มีน้ำใจ เอื้ออาทรผ่อนปรนเข้าหากัน ไม่ก้าวร้าวรุนแรงโดยขาดสติไร้เหตุผลรักหวงแหน เทิดทูนในชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์จากรุ่นสู่รุ่น และปลูกฝังถ่ายทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน
หากคนไทยยังรักและภูมิใจในแผ่นดินเกิด ขอได้โปรดช่วยกันรักษาสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ การจะติชมวิพากษ์เป็นเสรีภาพที่กระทำได้ ขอเพียงมีจิตเป็นกลาง ไม่มีอคติ และบนฐานคติที่สร้างสรรค์ พึงอย่าได้ใช้สิทธิส่วนตนเกินส่วนจนเกินขอบเขตก้าวล้ำสิทธิเสรีภาพผู้อื่น
อย่าได้แสดงความพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ประหัตประหารด้วยอาวุธลมปากและความเท็จต่อผู้อื่น โดยอ้างเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุอื่นมาสร้างความชอบธรรมแก่ตนเอง อย่าให้ลูกหลานในอนาคตเหลือแค่ความทรงจำแห่งความภาคภูมิในอดีตบนซากปรักหักพังของชาติไทย ที่ผองชนรุ่นปัจจุบันได้ทำลายล้างไปอย่างตั้งใจและมิได้ตั้งใจ
อาจารย์ดังแฉ ! กลโกงภาษี "ยักษ์ข้ามชาติ"
Posted by A.punnee ,
บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกจะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคล้ายกันคือ การทำกำไรให้มากที่สุดแต่เสียภาษีให้น้อยที่สุด เช่น กลุ่มเครือข่ายธุรกิจค้าสารเคมีเกษตร ซึ่งผลิตและส่งออกปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ฯลฯ มาจำหน่ายในเมืองไทยนั้น กำลังถูกจับตามองว่าอาจมีบางบริษัททำงบการเงินไม่โปร่งใส
ล่าสุด “คม ชัด ลึก” พบข้อมูลงบการเงินของทั้งบริษัทขายสารเคมีเกษตรข้ามชาติหลายแห่งที่แจ้งกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อปี 2553 ว่ามีการจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงไม่กี่ล้านบาท ทั้งๆ ที่มีเงินหมุนเวียนทำการค้าระดับร้อยล้านถึงหลายพันล้านบาท เช่น บริษัทแห่งหนึ่งจากทวีปยุโรป มีรายได้ขายสินค้ารวมแล้วเกือบ 5,000 ล้านบาท แต่แจ้งว่าต้นทุนสูงกว่า 4,000 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด เหลือกำไรสุทธิเพียง 90 กว่าล้านบาท ทำให้เหลือยอดจ่ายภาษีเงินได้เพียง 8.4 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังพบอีก 2 บริษัทสัญชาติอเมริกา ที่พยายามขอขึ้นบัญชีกับกรมวิชาการเกษตรเพื่อนำเข้าสาร "เมโทมิล" และ "คาร์โบฟูราน" ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงพิษร้ายแรงที่หลายประเทศห้ามใช้แล้ว โดยพิจารณาจากงบการเงินเมื่อปี 2553 บริษัทแรกระบุว่ามีรายได้รวม 6,000 ล้านบาท และแจ้งต้นทุนสูงถึง 5 ,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเหลือเพียง 460 ล้านบาท ทำให้ต้องจ่ายภาษีเงินได้เพียง 195 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่ 2 แจ้งว่ามีรายได้รวม 590 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 488 ล้านบาท เมื่อเสียภาษีเงินได้ 20 ล้านบาทแล้ว ปรากฏว่าบริษัทนี้ขาดทุนสุทธิประมาณ6 ล้านบาท
สรรพากรระดับอาวุโสแอบกระซิบให้ฟังว่า การจ่ายภาษีไม่ถูกต้องนั้นแทบจะเป็นเรื่องปกติของบริษัททุกแห่ง ส่วนใหญ่มักเรียกว่าเป็นคดีเลี่ยงภาษีมากกว่าโกงภาษี ขอเพียงแต่เจ้าหน้าที่สรรพากรตั้งใจตรวจสอบก็จะพบความผิดปกติทันที หากผู้ทำบัญชีเชี่ยวชาญการซ่อนเงินมากเท่าไร สรรพากรก็ต้องเก่งมากกว่า จึงจะตรวจพบว่ามีการจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง
การทำงบการเงินเพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทใหญ่ๆ นั้น ต้องใช้เทคนิคซับซ้อนแบบไม่ธรรมดา ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีชื่อดัง “อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์” หรือที่รู้จักกันในนาม "หมอภาษี" อธิบายให้ “คม ชัด ลึก” ฟังว่า บริษัทใหญ่ๆ มักใช้วิธีเลี่ยงภาษีแบบไม่ผิดกฎหมาย หรือการใช้ช่องว่างของกฎหมายให้เป็นประโยชน์ ตามสำนวนที่พูดกันติดปากว่า "ถูกกฎหมายแต่ผิดศีลธรรม"
อ.อมรศักดิ์ ผู้บริหารโรงเรียนภาษี เล่าจากประสบการณ์ที่คลุกคลีวงการภาษีอากรมานานกว่า 20 ปีว่า ทุกอย่างเริ่มต้นจากการวางแผนภาษี (Tax Planning) หมายถึง การเตรียมการ การบริหารจัดการภาระภาษีที่พึงจะเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระภาษีให้มากที่สุด โดยเทคนิคที่นิยมใช้กันมี 5 วิธีคือ
1.การใช้ "อนุสัญญาภาษีซ้ำซ้อน" ระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ หมายความว่า การลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่จะคำนวณเลยว่าควรเสียภาษีตามถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินได้ หากประเทศใดเสียภาษีน้อยกว่าจะเลือกให้ประเทศนั้นเป็นหลักในการทำให้เกิดรายได้
2.เมืองปลอดภาษี (Tax Heaven Country) เช่น เคย์แมน, บาฮามาส์, บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ฯลฯ กลุ่มธุรกิจข้ามชาตินิยมไปตั้งบริษัทแม่ที่ประเทศเหล่านี้ เพราะไม่มีการเก็บภาษีหรือเก็บน้อยมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่มีการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
3.เทคนิคการตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) หมายถึง การทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพื่อมีกำไรน้อยลง แล้วจะเสียภาษีไม่มาก วิธีนี้ต้องทำเฉพาะในเครือบริษัทเดียวกันเท่านั้น เช่น ตั้งราคาต้นทุนสินค้าสูงกว่าราคาขายในตลาดทั่วไป สินค้าที่ขายให้ประเทศอื่นๆ ราคาทั่วไป 100 บาท แต่เมื่อส่งมาขายให้บริษัทสาขาในไทยจะขายให้ 120 บาท เมื่อบริษัทลูกซื้อสินค้ามาในราคาต้นทุนแพง ขายเสร็จแล้วจะได้กำไรน้อยลง สุดท้ายจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีรายได้ก็น้อยลงไปด้วย
4.การกู้ยืมกับบริษัทในเครือ (Debt Financing) เป็นกลยุทธ์เชิงภาษีที่กู้ยืมเงินบริษัทในเครือ จากนั้นก็หักค่าใช้จ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้กำไรลดลง เมื่อกำไรลดลงก็เสียภาษีรายได้ลดลงด้วย ส่วนข้อสุดท้ายคือ
5.การสร้างรายจ่ายเท็จ มีการคิดค่าใช้จ่ายและค่าบริการบางประเภทแพงกว่าปกติมาก เช่น ค่าที่ปรึกษาทางเทคนิค ค่าลิขสิทธิ์ ค่าบริการต่างๆ ฯลฯ ส่วนใหญ่บริษัทแม่จะเรียกเก็บค่าบริการเหล่านี้จากบริษัทสาขาในประเทศต่างๆ ถือเป็นรายจ่ายที่ไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานมากนัก ทำให้เลี่ยงภาษีได้อย่างถูกกฎหมาย กลยุทธ์ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นเทคนิคทั่วไปที่หลายบริษัทใช้ แต่บางบริษัทอาจมีลูกเล่นมากกว่านี้ ทำให้ตามเก็บภาษีได้ยาก
อ.อมรศักดิ์แนะนำว่า ถึงเวลาแล้วที่กรมสรรพากรจะยกเครื่องการตรวจสอบภาษีรายได้ เช่น ไม่ควรดูเฉพาะงบการเงินที่แต่ละบริษัทยื่นในแต่ละปี แต่ต้องตรวจสอบรายละเอียดและขอดูเอกสารทางบัญชีทุกอย่าง โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำภาษีเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ยังควรปรับปรุงคุณภาพของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมการโกงภาษีในรูปแบบใหม่ที่มีหลากหลายวิธี
สุดท้ายคือรัฐบาลต้องปรับปรุงปฏิรูปกฎหมายภาษีอากรครั้งใหญ่ เพื่อรองรับปี 2558 ซึ่งประเทศไทยจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน อัตราภาษีเงินได้ไม่ควรแตกต่างจากประเทศอื่นมากนัก เช่น ภาษีเงินได้ของไทย 30% แต่สิงคโปร์ 17% กัมพูชา 20% หรือ จีน 25% การปรับให้ภาษีเท่ากับประเทศอื่นเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน มิเช่นนั้นจะเสียเปรียบเรื่องการแข่งขันทางการค้า
รายงานพิเศษ
คมชัดลึก 16/12/2554
/////////
จัญไร, แทรกแซงกิจการภายใน, รุกราน, ล้มเจ้า ฯลฯ มาจากสาเหตุเดียว
เพราะความเห็นผิดของผู้ปกครองไทยทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายล้มเจ้าและฝ่ายพิทักษ์เจ้า ที่เห็นการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ว่าเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ฝ่ายแกนนำเสื้อแดง แกนนำพรรคเพื่อไทย แนวร่วม พรรคคอมฯ นิติราษฎร์ พวกล้มเจ้า และนักวิชาการซ้าย รวมทั้งกระแสสากล พวกผู้คนเหล่านี้ ต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยจะยกเอารัฐธรรมนูญฉบับ 40 มาเป็นต้นแบบ อันที่จริงจะว่าไปแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับ 40 ดุจดังรถไฟ ได้วิ่งตกเหวไปแล้ว มันเป็นรัฐธรรมนูญที่จัดความสัมพันธ์ผิด ผิดเพราะไม่มีหลักการปกครอง (ระบอบ) โดยธรรม และเป็นรัฐธรรมนูญลักษณะระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมาก และแยกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกันแบบไม่เด็ดขาด กลุ่มพวกนี้มุ่งหวังลดบทบาทของพระเจ้าแผ่นดินหรือถ้าเลิกได้ก็เลิกไปเลย กลุ่มพวกนี้ชิงชังไม่เห็นคุณค่าของสถาบันพระมหากษัตริย์ ปากว่าตาขยิบ ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ หมอตุลย์มวลชนคนหลากสี สยามสามัคคี ฯลฯ ยึดรัฐธรรมนูญฉบับ 50 ฝ่ายนี้ยึดเอารัฐธรรมนูญฉบับ 50 และเห็นผิด เข้าใจผิด เชื่อผิดว่านี่คือ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” กลุ่มนี้พูดเหมือนดูดี และรักเทิดทูนเชิดชูสถาบัน แต่เชิดชูแบบผิดๆ หรือชูเพื่อเอาประโยชน์หรือไม่ หากคิดอย่างลึกซึ้งแล้วพวกเขาก็ทำลายสถาบันโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เป็นพลังที่ทำให้สถาบันอ่อนแอ กลุ่มฝ่ายค้าน แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นผิด อยู่ 2 ประการคือ 1) เห็นผิดว่า เป็นระบอบประชาธิปไตยแท้จริงเป็นการเมืองแบบเผด็จการโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีระบอบหรือหลักการปกครองโดยธรรมจะพูดอย่างไรๆ พวกเขาก็ไม่เข้าใจแดกดันกันไปจนพังทั้งประเทศ 2) เห็นว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขระบอบ พวกรัฐธรรมนูญ 50 เห็นผิด พูดผิด ทำผิด รู้หรือไม่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขประเทศหรือประมุขแห่งรัฐ ไม่ใช่ประมุขระบอบฯ แต่กลายเป็นประมุขระบอบเผด็จการ แล้วอย่างนี้เขาเรียกว่าเชิดชูเพื่อเอาประโยชน์ แต่แท้จริงกลับทำลาย รู้ตัวกันหรือไม่ สภาพความเป็นจริงของการเมืองไทยเป็นระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญหรือเป็นเผด็จการโดยกฎหมาย กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือหรือวิธีการปกครองการนำเอาเครื่องมือ เอาวิธีการ มาเป็นจุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติมันปัญญาอ่อน จะพยายามยกร่าง 100 ครั้ง 1,000 ฉบับ ก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตย ก็พิสูจน์มาแล้ว 18 ฉบับมิใช่หรือ กลุ่มคนรักในหลวงจริงควรจะเข้าใจเสียใหม่ว่า การสร้างระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องสร้างด้วยนโยบาย จากนั้นจึงสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นเสียก่อน สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงคิด สถาปนา “หลัก Democracy” แต่พวกคณะราษฎรอยากได้ “ธรรมนูญการปกครอง” จึงร่างรัฐธรรมนูญ จึงมีวัน “พระราชทานรัฐธรรมนูญ” ซึ่งสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ทรงเห็นด้วยเลย แต่ต้องจำยอม หวังจะแก้ไขในภายหลัง ผ่านมา 79 ปี ยังไม่มีใครแก้ไขได้ เพื่อนชาวโหวตโน และพสกนิกรที่รักสถาบันทั้งหลาย รู้อย่างถูกต้องว่า“จุดมุ่งหมายมาก่อนวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมายเสมอไป” เราจะไปวัดพระแก้ว วัดพระแก้วต้องมีอยู่ก่อน จุดมุ่งหมายจึงต้องมาก่อน ส่วนวิธีการเกิดภายหลังและย่อมแตกต่างหลากหลาย เช่น เดินไปวัดพระแก้ว วิ่ง ขี่จักรยาน รถยนต์ เป็นต้น พวกเราแตกต่างหลากหลายไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือวัดพระแก้ว ฉันใด ปวงชนในชาติแตกต่างหลากหลายต่างมุ่งตรงไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรมฉันนั้น จะ 80 ปี การเมืองไทยไม่มีหลักการปกครอง ไม่มีระบอบฯ มีแต่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเครื่องมือหรือวิธีการปกครองของรัฐบาล และรัฐบาลนั้นๆ จึงกลายเป็นตัวระบอบฯ เสียเองโดยอัตโนมัติ มันจึงผิดหลักผิดเกณฑ์ มันจึงเป็นเหตุของความเลวร้ายนับตั้งแต่คอร์รัปชัน นักการเมืองจัญไร ประชาชนอ่อนแอ ด่าเจ้า ยึดเขาพระวิหาร ครอบงำเศรษฐกิจ แทรกแซงกิจการภายในของยูเอ็น เป็นต้น สภาพการณ์ของการเมือง การปกครอง สังคม ยุ่งเหยิงเป็นฝอยขัดหม้อ ดุจลิงแก้แหเช่นนี้ ย่อมสร้างคนในสังคมให้เห็นแก่ตัว ถือตัวตนเป็นใหญ่ ทำอะไรๆ ทำตามอำเภอใจ ไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ที่เด่นชัดเช่นพวกนักวิชาการทั้งซ้ายและขวา นักการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฯลฯ ที่ตกอยู่ใต้การเมืองเผด็จการครอบงำมายาวนาน เรียกว่าพวก อนาธิปไตย (Anarchism) ก็เป็นพวกที่ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ ระบอบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ของรัฐ เราจะเห็นได้ว่าชัดว่า ทักษิณ ก็ดี ฝ่ายเสื้อแดงก็ดี นักวิชาการฝ่ายซ้าย, ดา ตอร์ปิโด, คำ ผกา, อากง ก็ดี พวกนี้ล้วนคิดอคติจะเอามันตามใจฉัน จะพูดด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้เลย จะว่าไปพวกนี้มีลักษณะเหมือนเด็กเวลาโกรธกระทืบเท้าตีอกชกตัวเอง หากมีอำนาจก็กดขี่เอาเปรียบประชาชน ย้อนมาดูพรรคเพื่อไทย วางแผนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขาเริ่มแล้ว ซึ่งเราก็บอกว่า พวกคุณเห็นผิด พวกคุณคือทายาทคณะราษฎร์เมื่อ79 ปีที่แล้วเข้าใจผิดคิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย นี่คือแผนการใหญ่ที่ผิดใหญ่โตเพื่อรักษาระบอบเผด็จการเอาไว้ และรวบรวมพวกเพื่อล้มเจ้าก็เท่านั้น “รัฐธรรมนูญมันก็แค่ไข่ขาว แล้วไข่แดงหายไปไหน” หากพวกคุณเจตนาดีบริสุทธิ์ใจต่อชาติ พวกคุณต้องเสนอหลักการปกครองโดยธรรมคือไข่แดง ทั้งๆ ที่เห็นผิดมา 18 ครั้ง ก็ยังคิดยกร่างทำแต่ไข่ขาว แล้วก็ผิดซ้ำซากทุกครั้งไป ทั้งที่ “เสี่ยงภัยและเสียเวลา” ให้กับชาติบ้านเมือง ฟันธงพวกคุณเป็นพวกเห็นผิดอย่างร้ายกาจทำลายชาติและประชาชน นี่คือเหตุแห่งวิกฤตชาติ “มีแต่ดาวเคราะห์ ไม่มีดวงอาทิตย์มันจะอยู่ได้อย่างไร” นี่คือแผนการหลอกเสื้อแดงให้เป็นทาสต่อไป และให้ไปตายแทนอีกแล้วครับท่าน
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน