โดย Boon Wattanna
“นับจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทย เราได้มีนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ก็คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมานั้น การบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าทางการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ หรือทางด้านสังคม รวมถึงยังมีเเนวคิดที่จะช่วยเหลือนักโทษชายหนีคดี อย่างนายทักษิณ ชินวัตร โดยการพยายามทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรม
1. เริ่มตั้งเเต่การเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เเทนที่จะเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงานประเทศ เเต่กลับเลือกที่จะตอบสนองกลุ่มทุน เเละยังมีการแทรกเเซงจากบุคคลที่ห้ามเคลื่อนไหวในทางการเมืองเข้ามาจัดการเเต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
2. มีการเอาคนที่มีคดีความรวมถึงคนที่มีเเนวคิดอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เป็นพรรคพวกตนเอง มาเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งในทางการเมือง
3. มีการโยกย้าย เเต่งตั้งข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
4. นายกไม่สนใจการทำงานในสภา โดยเฉพาะการตอบกระทู้สดของฝ่ายค้าน
5. มีการเเทรกเเซงสื่อไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งเเต่ใช้คนในระบอบทักษิณไปข่มขู่คุกคามสื่อมวลชน รวมถึงการเเทรกทางโดยทางตรงของทางรัฐบาลเอง ในการสั่งห้าม น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ไปร่วมทำข่าวกับคณะของนายกที่ไปเยือนประเทศกัมพูชา
6. มีการบริหารงานผิดพลาด ในอุทกภัยน้ำท่วม 54 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต ถึง 815 ราย ยังไม่นับความเสียหายในด้านอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล รวมถึงยังมีคดีการทุจริตจัดซื้อ จัดจ้างถุงยังชีพ ที่ยังอยู่ในการตรวจสอบของ ปชป.
7. มีการบิดพลิ้วกับนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชนในช่วงเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ในหลายโครงการตอนหาเสียงประกาศไว้ว่าจะทำทันที เเต่ในที่สุดก็ทำไม่ได้ตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ เช่นค่าเเรง 300 บาท เงินเดือน 15,000 บาท การเเจกแท็บเล็ต สำหรับนักเรียนทั่วประเทศ
8 มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
9. มีการออกนโยบาย ทีมีผลกระทบต่อประชาชน ประเทศชาติ อย่างค่าเเรง 300 บาท ซึ่งทำให้คนตกงาน SME ได้รับผลกระทบ มีการย้ายโรงงานไปประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนนโยบายจำนำข้าวก็ทำให้ไทยต้องเสียตำแหน่งประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก
10. ในการปราบปรามกวาดล้างยาเสพติด มีข้อร้องเรียนเป็นระยะว่ามีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จากเจ้าหน้าที่รัฐ
11. จากวาทะกระชากค่าครองชีพ แต่ปล่อยให้ข้าวของขึ้นราคา จนประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนทั่วทุกหัวระเเเหงเป็นประวัติการณ์
12. ส่วนพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน ต้องออกมาประท้วงกันทั้งประเทศ
. มีการปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะที่ชัดเจนอย่างโครงการรับจำนำข้าว จำนำหัวหอม
13. การแก้ปัญหาภาคใต้ ยังไร้ทิศทาง ทำให้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายที่รุนเเรงอยู่ทุกวัน
14. มีการช่วยเหลือนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ตั้งเเต่ก่อนที่ยังไม่มีการทำงานอย่างเป็นทางการ ในการที่ช่วยให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้
15. ไม่ยอมขอตัวผู้ร้ายข้ามเเดนเมื่อทราบว่านักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ ที่ได้ทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับไทย
16. ในด้านภาษา ทักษะไหวพริบ ภาวะ การเป็นผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะผู้นำประเทศ สร้างความอับอายให้ชาวไทย ทั้งในเวทีไทยและเวทีโลก ทั้งคำพูดและการกระทำ หลายต่อหลายครั้ง
17. ออกพระราชบัญญัติปรองดอง รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยขาดความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อผลประโยชน์ของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว ที่ถือว่าเป็นการกระทำที่พยายามทำลายนิติรัฐนิติธรรมที่จะส่งผลต่อความเสียหายของประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง รวมถึงจะทำให้เกิดความแตกเเยก ขัดเเย้งในหมู่ประชาชน
วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ปทุมโมเดล!
โดย Boon Wattanna
จากปรากฏการณ์ปทุมธานีโมเดล คนเสื้อแดงสั่งสอนพรรคเพื่อนักโทษหนีคุกได้อย่างลงตัวและเป็นไปตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากชาวปทุมธานีได้เห็น ธาตุแท้ของนักการเมืองภายใต้การควบคุมสั่งการของนักโทษหนีคุก จากเหตุการณ์มหาอุทกภัย ปทุมธานีจมน้ำไม่น้อยกว่า 2 เดือน ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส โดยปราศจากการดูแลอย่างจริงจังของรัฐบาลปูแดง ดีแต่สร้างภาพ “เอาอยู่” ไปวัน ๆ !!!
การสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ด้วยการบอยคอตไม่ลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อนักไทยทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนคนปทุมธานีได้แสดงให้สังคมได้เข้าใจถึงหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
เมื่อนักการเมืองไม่ซื่อสัตย์ใช้กลยุทธหลอกลวงในการหาเสียงกับประชาชน ตลอดจนตระบัดสัตย์ละทิ้งประชาชน จึงสมควรได้รับบทเรียน ซึ่งชาวปทุมธานีได้ใช้สิทธิ์ประท้วงอย่างสันติและโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเรียกร้องและสั่งสอนนักการเมือง จากภัยเดือดร้อนที่ประสบกับตัวเองโดยตรง ทำนองว่าปี 2555 และปีต่อ ๆ ไป รัฐบาลอย่าทำให้ชาวปทุมธานีจมน้ำและทอดทิ้งประชาชนให้เดือนร้อนเหมือนปี 2554 อีกนะ!!! อะไรทำนองนี้
แต่สิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศขณะนี้ ปรารถนาได้เห็นปรากฏการณ์ “เชียงใหม่โมเดล” ในเร็ว ๆ นี้ และภาวนาขอให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ๆ เป็นรูปธรรม เพราะ
1. จากผลของนโยบายหาเสียงหลอกลวงประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เช่น กระชากค่าครองชีพ ลดราคาพลังงาน ขึ้นค่าแรง ฯลฯ แต่ผลการบริหารประเทศออกมากลับทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างถ้วนทั่วหน้า
2. จากการบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ไร้กึ๋น มีผลทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนจาก “แพงทั้งแผ่นดิน” แต่รัฐบาลปูแดง ยังหลอกชาวบ้านและกล่าวหาชาวบ้านว่าคิดไปเอง แม้แต่เมื่อ 2 – 3 วันนี้ (11 พ.ค. 2555) นายกฯปู ยังพร่ำพูด “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายท่อ” แบบมั่ว ๆ และยังมีความเชื่อว่ากระแสข้าวของแพงเพราะ “ห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งหมายความว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศอุปทานเอาเองว่า “ข้าวยากหมากแพง” จึงเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าทั้งหลายออกมายืนยันนอนยัน “ของถูก” ล้างสมองประชาชนคนไทยทั้งประเทศทุกวัน
3. จากความพยายามของนักการเมืองรัฐบาล ตั้งหน้าตั้งตาช่วยคน เพียงคน ๆ เดียว จึงมุ่งทำงานเพียงเรื่องเดียวคือ เปลี่ยนรัฐธรรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเร่งจะออกกฏหมายปรองดอง เพื่อให้คนบางคนกลับบ้านเท่ ๆ ได้ทรัพย์สินที่ถูกยึดคืน โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศ แต่อย่างใด (หรือทำทีสนใจ แต่ก็ไม่มีปัญญาแก้ปัญหา เพราะไม่มีกึ๋น)
ดังนั้น ประชาชนคนไทยทั้งประเทศจึงหวังที่จะได้เห็นคนเชียงใหม่ (ทั้งเสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อแดง) สร้างวีรกรรมแสดงพลังช่วยสั่งสอนนักการเมือง เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศให้หลุดพ้นจากสภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน”
เพื่อทำให้รัฐบาลสำนึก และหันกลับมาสนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งช่วยเศรษฐีคนดียวที่รวยล้นฟ้า (แต่ขี้เหนียวสุด ๆ) และเลิกพฤติกรรมเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าออกมาสร้างกระแส “ถูกทั้งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นการดูถูกของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยไม่ยอมรับความจริงถึงความเดือดร้อนของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
จากปรากฏการณ์ปทุมธานีโมเดล คนเสื้อแดงสั่งสอนพรรคเพื่อนักโทษหนีคุกได้อย่างลงตัวและเป็นไปตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากชาวปทุมธานีได้เห็น ธาตุแท้ของนักการเมืองภายใต้การควบคุมสั่งการของนักโทษหนีคุก จากเหตุการณ์มหาอุทกภัย ปทุมธานีจมน้ำไม่น้อยกว่า 2 เดือน ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส โดยปราศจากการดูแลอย่างจริงจังของรัฐบาลปูแดง ดีแต่สร้างภาพ “เอาอยู่” ไปวัน ๆ !!!
การสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ด้วยการบอยคอตไม่ลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อนักไทยทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนคนปทุมธานีได้แสดงให้สังคมได้เข้าใจถึงหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
เมื่อนักการเมืองไม่ซื่อสัตย์ใช้กลยุทธหลอกลวงในการหาเสียงกับประชาชน ตลอดจนตระบัดสัตย์ละทิ้งประชาชน จึงสมควรได้รับบทเรียน ซึ่งชาวปทุมธานีได้ใช้สิทธิ์ประท้วงอย่างสันติและโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเรียกร้องและสั่งสอนนักการเมือง จากภัยเดือดร้อนที่ประสบกับตัวเองโดยตรง ทำนองว่าปี 2555 และปีต่อ ๆ ไป รัฐบาลอย่าทำให้ชาวปทุมธานีจมน้ำและทอดทิ้งประชาชนให้เดือนร้อนเหมือนปี 2554 อีกนะ!!! อะไรทำนองนี้
แต่สิ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศขณะนี้ ปรารถนาได้เห็นปรากฏการณ์ “เชียงใหม่โมเดล” ในเร็ว ๆ นี้ และภาวนาขอให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ๆ เป็นรูปธรรม เพราะ
1. จากผลของนโยบายหาเสียงหลอกลวงประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เช่น กระชากค่าครองชีพ ลดราคาพลังงาน ขึ้นค่าแรง ฯลฯ แต่ผลการบริหารประเทศออกมากลับทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างถ้วนทั่วหน้า
2. จากการบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ไร้กึ๋น มีผลทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนจาก “แพงทั้งแผ่นดิน” แต่รัฐบาลปูแดง ยังหลอกชาวบ้านและกล่าวหาชาวบ้านว่าคิดไปเอง แม้แต่เมื่อ 2 – 3 วันนี้ (11 พ.ค. 2555) นายกฯปู ยังพร่ำพูด “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายท่อ” แบบมั่ว ๆ และยังมีความเชื่อว่ากระแสข้าวของแพงเพราะ “ห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งหมายความว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศอุปทานเอาเองว่า “ข้าวยากหมากแพง” จึงเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าทั้งหลายออกมายืนยันนอนยัน “ของถูก” ล้างสมองประชาชนคนไทยทั้งประเทศทุกวัน
3. จากความพยายามของนักการเมืองรัฐบาล ตั้งหน้าตั้งตาช่วยคน เพียงคน ๆ เดียว จึงมุ่งทำงานเพียงเรื่องเดียวคือ เปลี่ยนรัฐธรรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเร่งจะออกกฏหมายปรองดอง เพื่อให้คนบางคนกลับบ้านเท่ ๆ ได้ทรัพย์สินที่ถูกยึดคืน โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศ แต่อย่างใด (หรือทำทีสนใจ แต่ก็ไม่มีปัญญาแก้ปัญหา เพราะไม่มีกึ๋น)
ดังนั้น ประชาชนคนไทยทั้งประเทศจึงหวังที่จะได้เห็นคนเชียงใหม่ (ทั้งเสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อแดง) สร้างวีรกรรมแสดงพลังช่วยสั่งสอนนักการเมือง เพื่อช่วยคนไทยทั้งประเทศให้หลุดพ้นจากสภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน”
เพื่อทำให้รัฐบาลสำนึก และหันกลับมาสนใจความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง แทนที่จะมุ่งช่วยเศรษฐีคนดียวที่รวยล้นฟ้า (แต่ขี้เหนียวสุด ๆ) และเลิกพฤติกรรมเกณฑ์บรรดาลิงหลอกเจ้าออกมาสร้างกระแส “ถูกทั้งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นการดูถูกของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยไม่ยอมรับความจริงถึงความเดือดร้อนของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
“มหกรรมเลือกตั้งท้องถิ่น” พรรคใหญ่จ้องกินรวบ – ผู้นำรุ่นใหม่เกิดยาก
ปี 2555 ถือเป็นปีแห่งมหกรรมการเลือกตั้งของคนไทยอีกครั้ง เพราะเป็นจังหวะพอดีที่ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นหลายพันแห่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ทำให้คนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ต้องไปใช้สิทธิ์ เข้าคูหาหย่อนบัตรคึกคักทุกเดือนเพื่อเลือกตัวแทนไปปกป้องผลประโยชน์ และดูทุกข์สุกของประชาชนในท้องถิ่น และถ้าไม่ไปใช้สิทธิ์ก็จะเสียสิทธิ์ในการยื่นคัดค้านบางประการตามที่กฎหมาย กำหนด
ข้อมูลของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า จำนวนองค์กรปกครองส่วนที่จะครบวาระในปี 2555 มีทั้งสิ้น 3,118 แห่ง ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 แห่ง เทศบาล 839 แห่ง แยกเป็น เทศบาลนคร 18 แห่ง เทศบาลเมือง 95 แห่ง เทศบาลตำบล 726 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 2,202 แห่ง และการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา
ในกระแสการเลือกตั้งท้องถิ่น ก็สอดแทรกด้วยการเลือกตั้งซ่อม สส. ในบางพื้นที่ ส่วนหนึ่งถูกกกต.แจก ใบเหลืองย้อนหลังฐานทำผิดกฎหมายในการเลือกตั้ง สส. ปีที่แล้ว บางรายถูกชี้มูลความผิดกรณีฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เช่น ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลฎีกานักการเมืองตัดสินเว้นวรรคการเมือง 5 ปี ในคดีซุกหนี้ 100 ล้าน บางรายลาออกจาก สส. ไปลงนายกฯอบจ. เช่น กรณี สส.พรรคเพื่อไทย ไขก๊อกไปลงเลือกตั้งนายกฯอบจ.ปทุมธานี จนแพ้เลือกตั้งเป็นข่าวใหญ่ครึกโครม
อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจอยู่ที่ การเลือกตั้งนายกฯอบจ. ในแต่ละจังหวัด ที่แข่งขันกันเข้มข้น โดยเฉพาะในพรรคเดียวกันอย่างพรรคเพื่อไทยที่ฟาดฟันกันเอง ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในพรรค เกิดการต่อสู้ ลงชิงเก้าอี้นายกฯอบจ.กันหนัก ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย สส.ต้องบินไปขอการสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้ชี้ขาดว่า กลุ่มใดจะได้เป็นตัวแทนเสียงจริงของพรรค รวมถึงกลุ่มเสื้อแดงที่กดดันพรรคเพื่อไทยให้ส่งตัวแทนของคนเสื้อแดงลง โดยแกนนำนปช. ถึงกับประกาศว่า จะสนับสนุนคนเสื้อแดงให้ลงเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อปักหมุดคนเสื้อแดงตาม จังหวัดต่างๆ
เช่น การเลือกตั้งนายกฯอบจ. นครราชสีมา เมื่อเดือนมี.ค. เป็นศึกระหว่างกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยกันเอง ฝ่ายหนึ่งมี สส.เพื่อไทย 5 คน มีแรงหนุนจากนพดล ปัทมะ และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ที่ไปจับมือร่วมกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา สนับสนุน ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ชิงเก้าอี้นายกฯอบจ. ส่วนอีกฝ่าย มีสุพร อัตถาวงศ์ แกนนำนปช. และ วิรัช รัตนเศรษฐ์ แกนนำเพื่อไทยโคราช สนับสนุน น.พ.สำเริง แหยงกระโทก อดีตนายก อบจ. ก่อนฝ่ายนี้จะแพ้ไปฉิวเฉียด ทิ้งความแตกแยกในทีมโคราชของพรรคเพื่อไทยเอาไว้
ยังมีที่ จ.นครพนม ที่จะเลือกกันในวันที่ 27 พ.ค. ก็แข่งกันเดือดระหว่างคนของเพื่อไทย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมี ไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม เขต 3 ให้การสนับสนุน “สมชอบ นิติพจน์” อดีตนายก อบจ.นครพนม แชมป์เก่าสู้กับ นส.ณัฎฐ์พัชร์ ยงใจยุทธ หลานสาว “บิ๊กจิ๋ว”พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธซึ่งก็ได้ สส.นครพนมของพรรคเพื่อไทยหลายคน เป็นแขนขาสนับสนุน นับเป็นศึกวัดบารมี กลุ่มก๊วนในพรรคเดียวกัน
ที่ดุเดือดอีกสนาม คือ เก้าอี้นายกฯอบจ. จ.เชียงราย ในวันที่ 27 พ.ค. เมื่อคนของเพื่อไทยและเสื้อแดงมาลงแข่งตัดคะแนนกันเอง ถึง 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสนับสนุนนางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ภรรยา ยงยุทธ ติยะไพรัช กลุ่มที่สองสนับสนุน สฤษฎ์ อึ้งอภินันท์ อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน กลุ่มที่สาม มี น.ส.พนิดา มะโนธรรม แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชื่อกลุ่ม “เชียงรายตะวันแดงกระตุ้นเศรษฐกิจ” ลงสมัครอีกคนหนึ่งด้วย โดยมี คู่แข่งคนสำคัญคือ รัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายก อบจ.เชียงราย สมัยล่าสุดลงแข่งอีกครั้ง
เรื่อยไปถึงศึกตระกูลดังใน จ. ร้อยเอ็ด "จุรีมาศ-พลซื่อ-ยนต์ตระกูล เลือกตั้ง วันที่ 27 พ.ค. เช่นกัน ที่ต้องแย่งกันประกาศว่า เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ระหว่าง มังกร ยนตร์ตระกูล อดีตนายกฯอบจ. คนล่าสุด คนเพื่อไทยเก่า กับ คนใหม่เพื่อไทย รัชนี พลซื่อ สอดแทรกด้วย ทินกร จุรีมาศ จากพรรคชาติไทยพัฒนา
นายกฯอบจ. มีวาระ 4 ปี มีหน้าที่พัฒนาจังหวัด เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข สาธารณูปโภค ด้านต่างๆ มีอำนาจและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มากจากการคุมเม็ดเงินภาษีทางตรงที่ อบจ. จัดเก็บในจังหวัด บางจังหวัดมีรายได้หลายร้อยหลายพันล้านบาท เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ บางส่วนมาจากภาษีบางชนิดที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วจัดสรรให้ อบจ. เหล่านี้ เป็นปัจจัยเอื้อให้ ผู้มีอิทธิพลในจังหวัดต่างอยากเข้ามาคุมงบประมาณ และสร้างฐานเสียงในจังหวัด เชื่อมต่อกับพรรคการเมือง
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ “ทีมข่าวปฏิรูป ศูนย์ข่าวอิศรา” ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งนี้เป็นรอบของมันที่ครบวาระ 4 ปี และก็ต้องเลือกตั้งกันใหม่ แต่มีข้อสังเกตุ 3 เรื่องสำคัญ
ประการแรก ท้องถิ่นหลายแห่งมีการช่วงชิงเพื่อเอาชนะคะคานกัน นายกฯอบจ. นายก.อบต.หลายแห่งลาออกก่อนครบวาระ กรณีนี้เป็นปัญหาแท็คติคของการชิงความได้เปรียบกันในทางการเมือง สังเกตได้ จะมีการเลือกตั้งนายกฯอบจ. วันหนึ่ง ถัดมาอีกเดือนก็จะเลือกสมาชิกสภาจังหวัด ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในวาระพร้อมกัน แต่กฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องการลาออกก่อนกำหนด การลาออกก่อนกำหนดก็เพื่อไม่ให้มีการเลือกนายกฯ กับ สมาชิกสภาท้องถิ่น พร้อมกัน ฉะนั้น นายกฯที่เลือกตั้งก่อน ถ้าใครชนะจะมีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาในช่วงถัดไป ซึ่งในทางหลักวิชาการ มันควรจะเลือกพร้อมกันเพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวม แต่ถ้าเลือกไม่พร้อมกัน มันก็สิ้นเปลือง
ประการที่สอง มีแนวโน้มที่เห็นได้ชัดว่า พรรคการเมืองระดับชาติ ต้องการขยายอิทธิพล องคาพยพของตนในการเลือกตั้งท้องถิ่นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่ผ่านมา พรรคขนาดใหญ่ของไทย ไม่ค่อยพยายามขยายตัวแทนเข้าไปครอบงำการเมืองท้องถิ่น เพราะมันเกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งของผู้สมัคร กลุ่มต่างๆ ในพรรค ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองมีความยากในการจัดการ แต่พรรคการเมืองของไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะตั้งแต่พรรคไทยรักไทยที่แปรเปลี่ยนเป็นพรรคพลังประชาชนและ พรรคเพื่อไทยซึ่งมีเสียงข้างมากในสภา เพราะเขาคงคิดว่า การครอบงำการเมืองท้องถิ่น อาจจะทำให้บริหารประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จ และพรรคก็สามารถคุมนโยบาย งบประมาณ เครือข่าย สาขาพรรคได้เป็นเอกภาพมากขึ้น
เขาบอกว่า แนวคิดนี้ต้องการให้เกิดประชาธิปไตยที่เน้นเสียงข้างมากหรือ เน้นประสิทธิภาพเป็นใหญ่ เช่น รัฐบาลมีนโยบายเรื่องโอท็อป ท้องถิ่นก็ต้องทำโอท็อปด้วย รัฐบาลต้องการทำสวัสดิการคนชรา ท้องถิ่นก็ต้องทำสวัสดิการคนชราเช่นกัน เพื่อให้เป็นนโยบายอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งองคพายพ ซึ่งก็เห็นชัดในการเมืองของต่างประเทศหลายประเทศที่พรรคการเมืองระดับชาติลง ไปเล่นการเมืองท้องถิ่นเอง
“แต่ผลด้านลบ คือ องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นองค์กรประชาธิปไตยขนาดเล็ก คือ เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ฉะนั้น ประชาชนก็ต้องมีอิสระ ดุลยพินิจในการตัดสินด้วยตัวเอง เช่น สามารถตัดสินในเชิงของประชาธิปไตยชุมชน ท้องถิ่นเอง ฉะนั้น นโยบายของท้องถิ่นในความเห็นผม ไม่ควรที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐบาลมากนัก แต่ถ้าอยากเห็นรัฐบาลมีนโยบายอย่างไร รัฐบาลก็ควรจะมอบหมายให้ท้องถิ่นทำแทน และรัฐบาลก็ต้องส่งเครื่องมือ งบประมาณไปด้วย ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นก็มีปัญหาหลากหลาย เช่น บางท้องถิ่นอาจมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยมาก เพราะมีสลัม แออัดมาก ก็ต้องแก้เรื่องที่อยู่อาศัย บางท้องถิ่นมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเหตุผลที่เรามีท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ก็เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ในการปกครองตนเอง ตัดสินใจด้วยตนเอง รับผิดชอบด้วยตัวเอง นี่จึงเป็นข้อเสียที่พรรคแกนนำรัฐบาลตั้งใจจะครอบงำ หรือ มีอิทธิพลครอบงำท้องถิ่นอย่างเต็มที่”
ประการที่สาม แนวโน้มที่เห็นชัด คือ บรรดาผู้นำท้องถิ่น กลุ่มการเมืองท้องถิ่น มีความพยายามจะต่อสู้ กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มผลประโยชน์ รวมถึง กลุ่มอุดมการณ์ย่อย เช่น กลุ่มรักษ์ท้องถิ่น กระทั่ง กลุ่มเสื้อแดง ที่ก็มีลักษณะเป็นผู้นำท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดกรณีของการส่ง สส.ในการเลือกตั้งซ่อม สส.เชียงใหม่ กลุ่มเสื้อแดงก็อยากให้ส่งผู้แทนของกลุ่มเสื้อแดง แต่พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ตัดสินใจส่งตัวแทนของตัวเองลงสมัคร กรณีเลือกตั้งนายกฯอบจ. และ สส.ปทุมธานี ก็เช่นเดียวกัน เป็นความขัดแย้งกันระหว่างพรรคกับ ตัวแทนของกลุ่มท้องถิ่น
รองอธิการบดีธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นรอบนี้ถือเป็นรอบที่สี่ ถ้าคิดจุดเริ่มจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ทำให้มีการเลือกตั้งเลือกตั้งอปท. เต็มพื้นที่จริงๆปี 2542 ส่วนรอบสอง ปี 2546 รอบสามปี 2550 รอบสี่ปี 2554 - 2555 แม้จะผ่านมาสี่ครั้ง แต่พัฒนาการโดยรวมก็ยังไม่ได้ดีขึ้น ยังมีปัญหาเรื่องการพัฒนา ความพร้อม ถ้าประเมินแล้วอาจมีแค่ 10% หรือ 700-800 หน่วย ที่อยู่ในระดับที่ดี น่าพอใจ เป็นประชาธิปไตย มีความสามารถในการจัดการ พัฒนาตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นจะพัฒนาได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายเรื่อง ประชาธิปไตยเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นในการที่จะให้ประชาชนไปเลือกตัว แทนมาปกครองตนเอง องค์ประกอบที่สอง คือ งบประมาณ ภาษี ที่ท้องถิ่นเก็บได้ ภาษีที่รัฐแบ่งให้ เงินอุดหนุนต่างๆ ประชาธิปไตยมันต้องการเงินพอสมควร รวมถึง ศักยภาพของคน ผู้นำ ที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่มันยังมีลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น คือเรายังไม่ค่อยมีดุลยภาพที่พอเหมาะพอควรในการเปลี่ยนแปลงระดับท้องถิ่น ของไทย
ส่วนแนวโน้มที่จะได้เห็น “ผู้นำรุ่นใหม่” ในระดับท้องถิ่น ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมาหลายครั้งนั้น นครินทร์ เห็นว่า มีไม่มาก แต่ก็มีข้อสังเกตุว่า ผู้นำท้องถิ่นผูกขาดอำนาจได้ประมาณ 2 วาระ ความจริงกฎหมายเก่าเรื่องท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง นายกฯอบจ. นายกฯอบต. นายกฯเทศมนตรี อยู่ได้แค่สองรอบเท่านั้น แต่มาแก้กฎหมายในสมัยที่พรรคภูมิใจมาดูแลกระทรวงมหาดไทย ทำให้การเลือกตั้งนายกฯอบจ. มันต่อเนื่องไปได้ 3-4 รอบ อีกด้านหนึ่งก็เห็นว่า ท้องถิ่นดีๆ อยู่ได้ประมาณ 2 รอบเท่านั้น เพราะมันมีการแข่งขัน ต่อสู้กันเยอะ ระหว่างกลุ่มต่างๆ มากพอสมควร
สำหรับความขัดแย้งภายในพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มเสื้อแดงในการส่งตัวผู้สมัคร ลงนายกฯอบจ.นั้น เห็นว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของหลายส่วนไม่ใช่เสื้อแดงอย่างเดียว มีทั้งเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ แกนนำ นปช. และอีกหลายกลุ่ม การขัดแย้งในเรื่องตัวผู้นำที่จะลงเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นแค่ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งก็สำคัญ แต่เรื่องสำคัญอย่างยิ่ง คือ ปัจจัยเรื่องอุดมการณ์ การแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนโยายปรองดอง ดังนั้น จะยังไม่ขัดแย้งแตกแยกเสียทีเดียว
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การเลือกตั้งท้องถิ่น ถือเป็นรากเหง้าของระบอบประชาธิปไตย ชาวบ้านรู้สึกว่า สามารถเลือกผู้นำของเขาเองได้ ไม่ใช่ได้คนที่เจ้านายส่งมา แต่ปัญหาด้านหนึ่งที่เป็นข้อเสีย คือ มีการแข่งขันสูง ใช้ความรุนแรง และหลายพื้นที่ ก็มีการสืบทอดอำนาจกันโดยผู้มีอิทธิพลในจังหวัด แต่โดยรวมการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีขึ้นมา 10 ปีมันค่อยๆ พัฒนาขึ้น หลายพื้นที่มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ช่วยทลายการผูกขาดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลได้ สิ่งที่ต้องติดตามในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ คือ จะแข่งกันด้วยอะไร การรณรงค์หาเสียง นโยบาย ข้อเสนอที่จะตอบแทนประชาชนอย่างไร เช่น ปรับปรุงระบบการศึกษาในพื้นที่ แต่งานวิจัยพบว่า การหาเสียงโดยรวม เน้นข้อเสนอในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว และส่วนใหญ่ยังเป็นตระกูลนักการเมืองเป็นคุมฐานเสียงในจังหวัด ขณะที่กลุ่มใหม่มักจะขายความคิดคใหม่ในเรื่องการดูแลประชาชน
“โดยรวมทิศทางการเลือกตั้งท้องถิ่น เลือกกันมาแล้ว 2 ครั้ง ในรอบ 10 ปี ช่วยให้คนฉลาดและรู้ทันขึ้น ว่า เขาควรเลือกเพราะอะไร เชื่อว่าในอนาคต เครื่องมือที่จะใช้ในการหาเสียงจะเป็นข้อเสนอในการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็น รูปธรรม เช่น จะทำสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นไหม จะทำโรงเรียนสอนเด็กเล็ก และผู้สมัครที่มาจากนักการเมืองระดับชาติที่ลาออก หรือ กลุ่มผู้มีอิทธิพล จะต้องเจอการท้าทายจากผู้สมัครที่มีการศึกษา มีความคิดก้าวหน้า มีอุดมการณ์ การแข่งขันด้านนโยบายจะเข้มข้นมากขึ้น” สิริพรรณ ทิ้งท้าย
โดย isranews
เครือข่ายธุรกิจปั๊มซีดี“ฉลอง เรี่ยวแรง”โยงผู้ค้าหวยใหญ่-ที่ตั้งเดียว“จตุพร-พวก”
ถ้านายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ไม่ออกมาให้สัมภาษณ์ขัดขวางการขึ้นสู่เก้าอี้รัฐมนตรีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเดียวกัน แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็จะไม่ถูกแฉกลับจาก ส.ส.เครือข่ายของนายจตุพรว่าเกี่ยวพันกับธุรกิจซีดีและอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่? วันถัดมาจากท่าทีแข็งกร้าวดุดันนายฉลองได้พลิกกลับมาเชียร์นายจตุพรราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สาธารณะจึงไม่มีโอกาสรู้ความจริงว่าแท้จริงแล้วนายฉลองเกี่ยวพันธุรกิจผลิตซีดีอย่างไร?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลเครือข่ายธุรกิจของนายฉลองกับพวกมาเปิดเผย
นายฉลองได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.นนทบุรี วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ระบุว่า นอกจากเงินเดือน ส.ส.ยังมีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ บริษัท ปารมีโปรโมชัน จำกัด เดือนละ 20,000 บาท รวม 12 เดือน 240,000 บาท แต่นายฉลองก็มิได้ระบุว่ามีเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า บริษัท ปารมีโปรโมชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจขายภาพยนตร์ วีซีดี แผ่นเสียง จดทะเบียนวันที่ 21 ธันวาคม 2544 ทุนเริ่มแรก 2 ล้านบาท ปัจจุบัน 4 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 163 หมู่ที่ 2 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 นางสาวจิรวรรณ เรี่ยวแรง (บุตรสาวนายฉลอง) จำนวน 31,600 หุ้นหรือ 79% นางสาววิไล ทองทวี 2,000 หุ้น หรือ 5% นางกฤตยา ธนวรกาญจน์ นางสาวภูริดา สุพยนต์ นางสาววิลาวัลย์ มุนีมงคลทร คนละ 1,600 หุ้น นางเจริญ ทองทวี 1,000 หุ้น นายศรีชาติ เรี่ยวแรง 600 หุ้น นางเจริญ ทองทวี เป็นกรรมการ
บริษัท ปารมีโปรโมชั่น จำกัดได้แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปี 2552 มีรายได้ 8,329,251 บาท ขาดทุนสุทธิ 179,349 บาท
ปี 2553 รายได้ 6,781,560 บาท ขาดทุนสุทธิ 16,820 บาท
ปี 2554 รายได้ 5,134,683 บาท กำไรสุทธิ 42,667 บาท สินทรัพย์ 6,223,480 บาท
จากการตรวจสอบพบว่า นางเจริญ ทองทวี หุ้นส่วนและกรรมการบริษัท ปารมี โปรโมชั่น จำกัด เป็นกรรมการ บริษัท โมทีฟเฮ้าส์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 28 มีนาคม 2549 ทุน 1 ล้านบาท ผลิตและจำหน่ายของตกแต่งบ้านและงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศ ที่ตั้งเลขที่ 62 ซอยสุภาพงษ์ 3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2549 นางเจริญ ทองทวี ถือหุ้น 5,000 หุ้น หรือ 50% นายสุพจน์ พรหมสว่างศิลป์ 4,970 หุ้น หรือ 49.7% และร่วมเป็นกรรมการ บริษัทนี้มิได้ส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
จากการตรวจสอบพบว่านายฉลองเคยทำธุรกิจค้าเพชรพลอยอัญมณีชื่อ บริษัท เมมโมรี่ จำกัด ทะเบียนวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ทุน 2 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 904 หมู่ที่ 6 อาคารซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ มีนางพรพิไล กาญจนศักดิ์ชัย และนายธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ เป็นกรรมการ เลิกกิจการในปี 2545
จากการตรวจสอบพบว่า นางพรพิไล กาญจนศักดิ์ชัย และนายธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ เป็นเจ้าของธุรกิจค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลชื่อ บริษัท แพน-คอสโม จำกัด และ บริษัท จีโร่ เทคโนโลยี่ จำกัด ที่ตั้งเลขที่ 93 ซอยพัฒนาการ 56 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ และ บริษัท ไนน์ ล็อตโต (2000) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 ทุน 20 ล้านบาท ประกอบธุรกิจซื้อ จัดหา รับเช่า ถือกรรมสิทธิ์ ปรับปรุง ใช้ ที่ตั้งเลขที่ 69/10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ และได้แจ้งเลิกบริษัทซึ่งนายทะเบียนได้รับจดทะเบียน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545
น่าสังเกตว่า ที่ตั้งเลขที่ 69/10 ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่ตั้งเดียวกับธุรกิจ 5 แห่งของนายจตุพร กับพวก ได้แก่ หจก.สยามเชนจ์ พอยท์ หจก.วิชั่น แอนด์ ซีนะรี หจก.ศรีหมวดเก้า หจก.บุตรตะวัน และ หจก. ศรีสมุย ลองสเตย์ รวมเงินลงทุน 25 ล้านบาท (เฉพาะนายจตุพร 8.6 ล้านบาท) ซึ่งทั้ง 5 แห่งเปิดดำเนินการเพียงสั้นๆในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2545 และแจ้งเลิกกิจการพร้อมกัน วันที่ 24 ธันวาคม 2547
ทั้งนี้ นายฉลองยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทรัพย์สิน (แจ้งสถานภาพหย่า) ระบุมีทรัพย์สินรวม 27,284,428.24 บาท 4 รายการ ประกอบด้วย
เงินฝาก 88,428.24 บาท
ที่ดิน 200,000 บาท (ภบท.5 หมู่ 7 ต.ทับตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี เนื้อที่ 45 ไร่)
ยานพานะ 10,000 บาท (มอเตอร์ไซค์)
ทรัพย์สินอื่น 26,950,000 บาท (ในจำนวนนี้เป็นพระเครื่องมูลค่า 25 ล้านบาท)
หนี้สิน 88,790,232.42 บาท (หนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ)
รวมมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 61,541,804.18 บาท
โดย เสนาะ สุขเจริญ
เปิดสัญญาลับ“ก่อแก้ว”โอนหุ้นให้“นอมินี” ใช้กระดาษเอ4 -ไร้ค่าตอบแทน
ในการปรากฏรายชื่อเป็นผู้ถือครองหุ้น บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แทน นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชี รายชื่อพรรคเพื่อไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 112,500 หุ้น รวมมูลค่า 56,458,612.78 บาท ของนายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล (นายก่อแก้ว ระบุในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ว่า จากงบดุลของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่ารวม 150,556,300.76 บาท ดังนั้นมูลค่าในส่วนของผู้ยื่น = 0.375*150,556,300.76 หรือ =56,458,612.78 บาท)
อาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า นายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล สองหุ้นส่วนธุรกิจของนายก่อแก้ว ได้อะไรต่อแทนจากการถือครองหุ้นแทนครั้งนี้ตอบแทนบ้าง?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า การโอนหุ้นของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ไปยังนายประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ดังกล่าว ได้มีการทำหนังสือสัญญาการถือหุ้นแทน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้นแทน ระหว่าง นายก่อแก้ว ในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” กับ นายประคัลภ์ และนายพงศ์ศักดิ์ ในฐานะ “ผู้ถือหุ้นแทน”
โดยเบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันทำสัญญาถือหุ้นแทน ดังมีข้อความต่อไปนี้
1. นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ตกลงให้นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ถือหุ้นแทน ใน บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 112,500 หุ้น ดังต่อไปนี้
- นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ ถือแทนจำนวน 37,250 หุ้น (12.42%)
- นายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ถือแทน จำนวน 75,250 หุ้น (25.08%)
2. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล ยินยอม “ถือหุ้นแทน” นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ในบริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตามข้อ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน
3. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล “ผู้ถือหุ้นแทน” ยินยอมคืนหุ้นที่ถือแทนให้ นายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” ในบริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตามข้อ 1 ทันที เมื่อนายก่อแก้ว พิกุลทอง “ผู้ถือหุ้น” มีความประสงค์เข้าถือหุ้นด้วยตนเอง
4. นาย ประคัลภ์ ธวัชปีดิพงษ์ และนายพงศ์ศักดิ์ วิญญูตระกูล “ผู้ถือหุ้นแทน” ตกลงจะไม่โอน ขายหรือยกให้ หรือกระทำการใดๆ เกี่ยวกับหุ้นของผู้ให้ถือทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจาก “ผู้ถือหุ้น”
5. หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประพฤติผิดสัญญาแม้ข้อใดข้อหนึ่งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องร้อง บังคับ/ให้เป็นไปตามสัญญานี้ได้ ทั้งมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งได้ด้วย
ทั้งนี้ หนังสือสัญญาฉบับดังกล่าว ระบุว่า จัดทำขึ้นที่บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 โดยมีไม่ชื่อนายก่อแก้ว และคนในตระกูล พิกุลทอง เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ก่อนที่นายก่อแก้ว จะเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ในเวลาต่อมา โดยหนังสือสัญญาการถือหุ้นแทน ฉบับนี้ นายก่อแก้ว ได้ส่งมอบให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับทราบเป็นหลักฐานด้วย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือสัญญาดังกล่าว ใช้กระดาษเอ 4 ธรรมดา ในการทำ และไม่ปรากฏตราสัญญาลักษณ์บริษัท นิวสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประทับไว้เป็นหลักฐานบนสัญญาแต่อย่างใด
โดย isranews
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน