บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เปิดเส้นทาง ‘บัตรทอง’ ขุมทรัพย์ที่พึ่งคนจน

เปิดเส้นทาง ‘บัตรทอง’ ขุมทรัพย์ที่พึ่งคนจน ‘สปสช.’ ถึงวันสั่นคลอน การเมือง-ผลประโยชน์จ่องาบงบแสนล้าน

เปิดเส้นทาง ‘บัตรทอง’แหล่งเงินก้อนใหญ่ ที่พึ่งของคนจนเกือบ 10ปี ที่กำลังถึงจุดสั่นคลอน เมื่อกลายเป็นที่หมายปองของกลุ่มผลประโยชน์รอบด้าน ทั้งนักการเมือง กลุ่มแพทย์ บริษัทยา ที่สำคัญกระทรวงสาธารณสุข ผู้เคยถือเงินก้อนโต แต่กลับต้องถ่านโอนมาอยู่ในมือ สปสช.กว่าแสนล้าน
โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล ศูนย์ข่าว TCIJ
การงัดข้อกันระหว่างกลุ่มแพทย์ โดยมีแพทยสภา ซึ่งมีกลุ่มแพทย์โรงพยาบาลเอกชนและบริษัทยาหนุนหลัง กับกลุ่มเอ็นจีโอ แพทย์ชนบท และเครือข่ายผู้ป่วย ที่ฝ่ายหลังกล่าวหาฝ่ายแรกว่าพยายามล้มระบบหลักประกันสุขภาพ หรือที่รู้จักติดปากในชื่อ “บัตรทอง” หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค (แม้ว่าปัจจุบันไม่ต้องจ่าย 30 บาทแล้ว) กำลังเป็นสมรภูมิอันดุเดือดที่มีประชาชนกว่า 47 ล้านคนในระบบหลักประกันสุขภาพเป็นตัวประกัน
น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ จากกลุ่มแพทย์ชนบท ออกมาแฉบันได 4 ขั้น ล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเริ่มต้นมาประมาณ 3 ปีแล้ว ว่า
ขั้นที่ 1 ฝ่ายการเมืองเปิดทางให้กลุ่มแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบหลักประกัน รวมถึงนายทุนพรรคการเมือง เข้าไปนั่งเป็นกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อจัดคนของตัวเองเข้าสู่อนุกรรมการการเงินการคลังและอนุกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งปรับนโยบายหลักประกันสุขภาพที่เดิมยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นเป็นยึดหน่วยบริการเป็นหลัก
ขั้นที่ 2 เปลี่ยนเลขาธิการ สปสช. เป็นตัวแทนของฝ่ายการเมือง เพื่อยึดครอง สปสช. และลดบทบาทการปฏิรูปและตรวจสอบระบบบริการ
ขั้นที่ 3 ของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่ม ในอัตราเดียวกับประกันสังคมที่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ครั้งใหญ่และอัตรา เดียวกับที่สวัสดิการข้าราชการได้รับ เพื่อสร้างเงื่อนไขภาระงบประมาณให้รัฐบาล
และขั้นที่ 4 สร้างกระแสสังคมให้ยุบเลิกหรือแก้ไขสาระสำคัญของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งเท่ากับสิ้นสุดยุคปฏิรูประบบสุขภาพที่ น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และภาคประชาชน ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน

น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ผลักดันให้เกิดสปสช.และเป็นเลขาธิการคนแรก
ด้าน สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ หนึ่งในเครือข่ายของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพที่มี จอน อึ๊งภากรณ์ เป็นประธาน ก็เปิดการ์ดชกว่า กลุ่มที่พยายามล้มระบบหลักประกันสุขภาพ เพราะเสียผลประโยชน์มีด้วยกัน 7 กลุ่มคือ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า), สมาคมโรงพยาบาลเอกชน, ชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม, สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุขประเทศไทย (สผพท.), คนบางกลุ่มในแพทยสภา, กระทรวงสาธารณสุข และฝ่ายการเมือง เป็นเหตุให้ พ.ญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธาน สผพท. เรียกหาหลักฐานยืนยันสิ่งที่กลุ่มคนรักหลักประกันฯ กล่าวหา และขู่ว่าจะแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มนี้
 เชื่อว่างานนี้จะเป็นมหากาพย์ยืดเยื้อ เมื่อต่างฝ่ายต่างมีทัพหลวงที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และยังมีทัพหลังคอยหนุนเนื่อง
ถ้าประเด็นที่ น.พ.เกรียงศักดิ์ และกลุ่มคนรักหลักประกันฯ กล่าวถึงเป็นความจริง คำถามในใจประชาชนคงหนีไม่พ้นว่า ทำไมจึงต้องล้ม สปสช. ซึ่งเรื่องนี้ ศูนย์ข่าว TCIJ จะทยอยนำเสนอต่อไป แต่การจะทำความเข้าใจเรื่องราวในปัจจุบัน เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเข้าใจรากฐานที่มาของระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้เห็นเงื่อนงำบางประการชัดเจนขึ้น
‘หมอหงวน’ต้นแบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2545 งบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งหมดอยู่ในการดูแลและรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัดต่างๆ เมื่อผ่านการบริหารจัดการโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลหน่วยบริการสาธารณสุขทั้งหมดทั้งโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ และสถานีอนามัย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.)
ผลจากระบบส่งผลให้โรงพยาบาลเติบโตทั้งในแง่ขนาด จำนวนเตียง เครื่องมือแพทย์ และบุคลากร ขณะที่สถานีอนามัยไม่ได้รับการเหลียวแล คนในแวดวงสาธารณสุขเรียกระบบนี้ว่า ทฤษฎีไม้ไอติม หมายถึง กว่างบประมาณจะผ่านหน่วยงานต่างๆ กว่าจะถึงสถานีอนามัย เงินซึ่งเปรียบกับไอติมแท่ง ก็เหลือเพียงน้ำเชื่อมติดปลายไม้
สภาวะนี้สร้างปัญหาแก่โครงสร้างและคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข ทำให้เกิดการกระจุกตัวของงบประมาณในโรงพยาบาล ขณะที่สถานีอนามัยซึ่งเป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ใกล้ชิดชุมชน มีข้อมูลความเจ็บไข้ของชุมชนดีกว่า เข้าถึงผู้คนได้เร็วกว่า เป็นแหล่งความรู้ข้อมูลด้านการดูแล ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาวะโดยไม่ต้องรอให้ป่วย แต่กลับไม่ได้รับงบประมาณเพื่อการพัฒนาอย่างเหมาะสม ซึ่งหากสถานีอนามัยสามารถทำงานได้ตรงตามหลักปรัชญาของการก่อตั้งแล้ว ภาระของโรงพยาบาลจะลดลง เมื่อสถานีอนามัยขาดแคลนงบประมาณ พันธกิจที่ควรจะบรรลุจึงไม่อาจเป็นจริง
เหล่านี้คือภาพที่ น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้เติบโตจากการทำงานในชนบท โดยเฉพาะในภาคอีสาน สัมผัสมาโดยตลอด จึงหาลู่ทางพัฒนางานวิชาการเพื่อตอบโจทย์ทางความคิดว่า ทำอย่างไรจะทำให้เกิดระบบการเงินการคลังแบบรวมหมู่ ที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคนจนที่ป่วยจะได้รับการดูแลจากสังคม ในลักษณะ ‘เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข’และหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุดเป็นที่พึ่งของคนทั้งในยามป่วย และไม่ป่วยได้มากที่สุด ผ่านโครงการระดับอำเภอที่ชื่อ ขุนหาญโมเดล  โครงการระดับจังหวัดที่คนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆ ว่า อยุธยาโปรเจ็ค ซึ่งผลลัพธ์สำคัญจากการดำเนินโครงการนี้คือ การมีบริการ ‘70 บาทรักษาทุกโรค’ซึ่งเป็นที่มาของ “30 บาทรักษาทุกโรค” และโครงการระดับประเทศที่ชื่อว่า โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบสาธารณสุข (Thai European Health Care Reform Project) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป  อันนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของระบบสาธารณสุขไทย

บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค
ดึงเงินจากกระทรวงสาธารณสุขสู่มือสปสช.
การตอบรับที่ดีของประชาชนในอยุธยาโมเดล ผลักดันให้ น.พ.สงวน ต้องการขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ดังที่รู้กันพอสมควรแล้ว น.พ.สงวน, น.พ.วิชัย โชควิวัฒนะ และ น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ร่วมกันนำไอเดียนี้เสนอแก่พรรคการเมืองทุกพรรค แต่ไม่มีพรรคใดตอบรับ กระทั่งวันหนึ่งสามารถนัดหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น พร้อมกับ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี พี่น้องจากมหิดล  เวลาเพียงสั้น ๆ ที่ได้นำเสนอได้เปลี่ยนหลายสิ่งอย่างของประเทศ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อแนวคิดนี้มาปรับเป็นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เปิดทางเข้าสภาให้แก่ ส.ส.พรรคไทยรักไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ถึงปี 2545  รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ทำตามสัญญาด้วยการคลอดนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค พร้อมด้วยการสนับสนุน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
การเกิดขึ้นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยมี สปสช. เป็นหน่วยงานที่ถืองบประมาณ ถือเป็นการปฏิรูปการเงินการคลังด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่  ผู้ถือเงินย่อมเท่ากับถืออำนาจ ระบบนี้ส่งผลสะเทือนต่อกระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างมาก และไม่เป็นที่พึงใจนักการเมือง ในช่วงสปสช.ตั้งไข่ นักการเมืองพยายามส่งคนของตนเข้ามานั่งตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อน.พ.สงวน เจ้าของความคิดลงชิงตำแหน่งด้วย
ค่าเหมาจ่ายรายหัวในปีแรกที่น.พ.สงวนชงขึ้นไปตกที่ประมาณ 2,000 กว่าบาท แต่ได้รับมาเพียง 1,202.40 บาทเท่านั้น ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้น บุคลากรด้านสาธารณสุขยังไม่คุ้นเคยและไม่มีความพร้อม อีกทั้งเมื่อประชาชนรู้ว่าตนเองมีสิทธิ จึงแห่แหนกันไปใช้สิทธิ ระบบที่มุ่งจะสร้างหน่วยบริการระดับปฐมภูมิจึงยังไม่อาจเป็นจริง ทั้งปัญหายังสะสมขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้โรงพยาบาลบางแห่งต้องประสบปัญหาขาดทุน อย่างไรก็ตามปัญหาโรงพยาบาลขาดทุนมักถูกหยิบยกขึ้นมาใช้โจมตีการบริหารงบ ประมาณของ สปสช.เสมอ ทว่าข้อเท็จจริงประเด็นนี้มีความซับซ้อนกว่านั้น และหากจะมีคนผิด ก็ไม่ใช่สปสช.ฝ่ายเดียว
ถึงกระนั้น งบเหมาจ่ายรายหัวก็เพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ 1,202.40 บาทในปี 2546 ขึ้นมาเป็น 3,147.74 บาทในปี 2554 หากคูณด้วยตัวเลขกลมๆ ของประชากรที่ สปสช. ดูแลคือ 47 ล้านคน เท่ากับปี 2554 สปสช. มีเงินงบประมาณ 1.47 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามในงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว จะรวมเงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุขด้วย  ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น สำนักงบประมาณจะหักเงินส่วนนี้ไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แล้วจึงส่งงบประมาณค่าบริการทางการแพทย์สุทธิมาให้ สปสช.อีกทอดหนึ่ง
ในยุคของน.พ.สงวนแม้จะมีความพยายามแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง แต่ด้วยความเป็นน.พ.สงวนที่เป็นคนมั่นคงมีหลักการเหนียวแน่น ทำให้ฝ่ายการเมืองตระหนักดีว่าไม่สามารถสั่นคลอนได้ จึงเป็นเกราะกำบังที่คอยลดแรงเสียดทานให้แก่สปสช.ได้เป็นอย่างดี จวบจนน.พ.สงวนถึงแก่กรรม
เมื่อทำเพื่อชาวบ้านก็เท่ากับสร้างศัตรูรอบตัว
 แนวคิดประการหนึ่งของน.พ.สงวนคือการให้ความสำคัญแก่ภาคประชาชน ทั้งในช่วงตั้งต้นระบบหลักประกัน น.พ.สงวนในฐานะเลขาธิการต้องการเสียงสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ทำให้มีกรรมการหลักประกันสุขภาพ เป็นกลุ่มคนที่มีแนวคิดใกล้เคียงหรือเป็นเครือข่ายของ น.พ.สงวน รวมทั้งส่วนหนึ่งยังมีภาคประชาชนเข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการ ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ ‘ประชาชน’สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้จริง และคนกลุ่มนี้คือหลักค้ำยันให้น.พ.สงวน เดินหน้านโยบาย ขณะที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเป็นคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งในโครงสร้างสปสช. จะเป็นตัวแทนจากภาคโรงพยาบาลเอกชนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อสร้างความสมดุลและการตรวจสอบคุณภาพการบริการ
ระบบหลักประกันสุขภาพสร้างความไม่พึงพอใจอะไรขึ้นบ้างแก่กลุ่มต่างๆ นอกจากนักการเมืองและบุคลากรสาธารณสุขจำนวนหนึ่งที่ไม่คุ้นชินกับการเปลี่ยน แปลง
ระบบหลักประกันสุขภาพสร้างระบบบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อจัดหายาที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และประหยัด ขณะที่ทัศนคติของแพทย์จำนวนไม่น้อยยังรู้สึกว่า การสั่งจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยควรเป็นสิทธิของแพทย์ แพทย์ควรมีสิทธิเลือกยาที่คิดว่าดีที่สุด ระบบหลักประกันจึงสร้างความไม่พอใจแก่แพทย์ เนื่องจากรู้สึกว่าเป็นการลดทอนสิทธิของแพทย์ลง ผลกระทบที่ตามมาคือเปอร์เซ็นต์จากค่ายาที่โรงพยาบาลเคยได้รับจากบริษัทผลิต และจำหน่ายยาจึงลดน้อยลงตามไปด้วย

 เมื่อสปสช.เป็นผู้บริหารจัดการงบประมาณ ย่อมหมายถึงอำนาจในการต่อรองกับหน่วยบริการและบริษัทผลิตและจำหน่ายยามาก ขึ้น สามารถจัดหาการบริการสุขภาพและยาได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งประเด็นนี้ น.พ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เคยให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าว TCIJไว้ (อ่านได้ใน www.tcijthai.com/investigative-story/1093)
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า อิทธิพลของแพทย์ที่มีแนวคิดสาย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มีบทบาทสูงขึ้นชัดเจนจากการถือกำเนิดขององค์กร ‘ตระกูล ส.’หลายองค์กร สปสช. ก็หาได้พ้นจากอิทธิพลนี้ เกิดข้อครหาทำนองว่า เอาแต่พวกพ้อง อนุมัติโครงการกันเอง เป็นต้น
นอกจากนี้สปสช. ยังอยู่เบื้องหลังนโยบายและกฎหมายหลายฉบับ เช่น การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไตที่สร้างความไม่พอใจแก่ฟากโรงพยาบาล เอกชน การหนุนสิทธิปฏิเสธการรักษา ในมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งตัวละครหลักๆ ที่ออกมาคัดค้านคือคนเดียวกันกับที่ถูกกลุ่มคนรักหลักประกันฯ กล่าวหา การหนุนมาตรการบังคับใช้สิทธิเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาของผู้ป่วย แต่สร้างความไม่พอใจแก่บริษัทยาข้ามชาติ และจุดแตกหักของความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อ สปสช.สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข สร้างความไม่พอใจแก่แพทยสภาและกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนอย่างสูง เพราะเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้แพทย์ถูกฟ้องร้องเพิ่มขึ้น
การที่ตัวละครที่จ้องล้มระบบหลักประกันจากปาก สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เป็นคู่ขัดแย้งกับสปสช.จากกรณีต่างๆ ข้างต้น จะเป็นเพียงความบังเอิญหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือ มีคู่กรณีที่ไม่พอใจการทำงานของ สปสช. หลากหลายกลุ่ม และอาจมีความเป็นไปได้ที่ผู้ที่ไม่พอใจการทำงานของ สปสช. ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
กลายเป็นที่มาของความขัดแย้งรอบใหม่ในวงการสาธารณสุขไทยที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน 47 ล้านคนในไม่ช้า

 
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง

รู้จักกับ ‘กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ’ ให้งบจังหวัดละ 100 ล้านบาท

กลายเป็นข่าวข้ามประเทศเมื่อนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นเวที World Economic Forum ที่ดาวอส ในหัวข้อ ”Women as the Way Forward” ในฐานะผู้นำประเทศที่เป็นผู้หญิง และพูดถึงโครงการ “กองทุนพัฒนาสตรี” ของรัฐบาลไทยบนเวทีด้วย (จากทำเนียบรัฐบาล)


“รัฐบาลจึงได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่าจะสนับสนุนและส่งเสริมให้สตรีไทยเป็นพลังสำคัญและการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ กองทุนนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของสตรี รวมทั้งปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทำต่อสตรีเท่านั้น หากแต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพของสตรีไทย (Empowerment) และรวมถึงการสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาเครือข่าย (Partnership) ให้สตรีไทยได้มีบทบาทอย่างมากในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศต่อไป”

ถึงแม้จะเป็นประเด็นเล็กๆ ท่ามกลาง “วาระใหญ่ๆ” มากมายที่ดาวอส (โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปที่ยังไม่ลุล่วง) แต่โดยเนื้อหาแล้ว “กองทุนพัฒนาสตรี” ก็น่าสนใจในตัวของมันเอง


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประชุมร่วมกับ สภาสตรีแห่งชาติ
จุดกำเนิดจากนโยบายหาเสียงเพื่อไทย

กองทุนพัฒนาสตรี หรือชื่อเต็มๆ คือ “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ” มีที่มาจากนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 โดยเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทยได้ให้ข้อมูลของนโยบายด้านสตรีไว้ 6 ประการ ดังนี้

นโยบายเพื่อพัฒนาสตรีของพรรคเพื่อไทย

1. พรรคเพื่อไทยมีนโยบายส่งเสริมสตรีทั้งในเรื่องของสิทธิ บทบาทความเท่าเทียมในสังคม และศักดิ์ศรี

2. พรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่จะตั้งกองทุนส่งเสริมบทบาทสตรี โดยจะตั้งงบเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการส่งเสริมในเรื่องของรายได้และเป็นศูนย์ฝึกอาชีพให้กับสตรี ซึ่งหากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลก็จะทำงานร่วมกับสภาสตรีฯ และกลุ่มแม่บ้านในแต่ละจังหวัดควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้โอท็อปถือเป็นการแสดงถึงความสามารถของสตรี ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมอาชีพให้กับผู้หญิง และเพื่อให้องค์กรสตรีสามารถขับเคลื่อนได้ มีความคล่องตัวในการตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของสตรีอย่างแท้จริง

3. พรรคเพื่อไทยจะเทียบโอนหน่วยกิตให้กลุ่มแม่บ้านที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับ ม.6 ?แต่มีความรู้ความสามารถ สามารถสอบซ่อมและเชื่อมหน่วยกิตที่เคยเรียนในอดีตเพื่อเป็นการยกระดับให้กับกลุ่มแม่บ้านภายใน 1 ปี เพื่อจะได้มีวุฒิไปใช้สมัครงานได้

4. เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของศูนย์พึ่งได้ OSCC (One Stop Crisis Center) 24 ชั่วโมง

5. 1 อำเภอ 1 Day care Center สถานที่ดูแลเด็กในที่ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมไปถึงในชุมชน

6. การประยุกต์กฎหมายการละเมิดสตรีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและยังเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุแล้วค่อยมาป้องกัน ด้วยการเพิ่มโทษผู้ที่กระทำความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาสตรีให้มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากับชาย โดยการได้รับความคุ้มครองจากรัฐในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการถูกกระทำรุนแรง และถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ส่วนตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเอง ก็เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ในขณะที่พบกับตัวแทนจากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ไว้ดังนี้ (จากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย)

ในฐานะที่เป็นสตรี อยากเห็นผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในสังคม และเชื่อว่า ประเทศไทยเองมีผู้หญิงเก่ง ที่ยังไม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งเข้าใจผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่และภรรยา หรือผู้ตามของครอบครัว โดยนโยบายของพรรคเพื่อไทย มีแนวนโยบายในการส่งเสริมสตรีในเรื่องของสิทธิ บทบาทเพื่อให้เกิดความทัดเทียมในเรื่องของความเป็นมนุษย์ ความเป็นผู้หญิงต่อครอบครัว รวมทั้งการส่งเสริมรายได้และอาชีพของสตรี คุณภาพแรงงาน ของสตรี เรื่องงบประมาณต่างที่จะช่วยให้องค์กรสตรีได้ขับเคลื่อนและตอบโจทย์ของสตรีอย่างแท้จริง ซึ่งพรรคมีนโนบายตั้งกองทุนส่งเสริมบทบาทสตรี และหากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลก็จะมีการตั้งโดยเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอาชีพสตรี โดยจะทำงานร่วมกับสภาสตรีและจังหวัดทุกจังหวัด

โดยแนวคิดแล้ว “กองทุนสตรี” ของพรรคเพื่อไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับกองทุนหมู่บ้านของพรรคไทยรักไทยในอดีต นั่นคือจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลาง และให้ส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารจัดการกันเอง ซึ่งในกรณีของกองทุนหมู่บ้านให้งบหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท แต่ของกองทุนสตรีจะให้งบประมาณจังหวัดละ 100 ล้านบาทแทน

ความคืบหน้าของนโยบาย

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. น.ส.อรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย, ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับกลุ่มคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) พะเยาว่ากองทุนสตรีน่าจะเริ่มได้ในปี 2555 โดยมอบเป็นหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นผู้รับผิดชอบ (จาก ผู้จัดการ)

กพส.จ.พะเยา และเครือข่ายแม่ญิงฯ ได้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องนโยบายกองทุนพัฒนาสตรี 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่หาเสียงไว้ด้วย

ประธาน กมธ.กล่าวอีกว่า จากเดิมหากไม่มีวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่การเดินหน้านโยบายกองทุนฯ จะเริ่มต้นได้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาวิกฤติน้ำท่วม คาดว่าจะเริ่มต้นได้ปี 2555 โดยการดำเนินนโยบายกองทุนฯ จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ล่าสุดทราบว่าร่างระเบียบที่จะมีผลในทางปฏิบัติของกองทุนฯ สำเร็จประมาณร้อยละ 95 ซึ่งคงจะคล้ายคลึงกับระเบียบของกองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) เพราะรัฐบาลต้องการให้กองทุนฯ มีความยั่งยืน ไม่สูญหาย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 รมว.พัฒนาสังคมฯ ให้ข่าวว่าเริ่มประชุม “คณะกรรมการขับเคลื่อน” ตั้งกองทุนพัฒนาสตรีฯ ไปครั้งแรกแล้ว โดยบทบาทของกองทุนจะแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ เงินกู้สำหรับพัฒนาอาชีพ และเงินจ่ายให้กับสตรีที่ตกทุกข์ได้ยาก กำหนดเสร็จวันที่ 8 มีนาคม “วันสตรีแห่งชาติ” (จากเว็บไซต์ พ.ม.)

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ ว่า“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ”เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เพื่อใช้เป็นเงินกองทุนในการพัฒนาอาชีพ การสร้างงาน สร้างรายได้ การพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การเพิ่มบทบาทและสร้างภาวะผู้นำ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการให้แก่สตรีในหมู่บ้าน โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาสตรีแห่งชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลและจัดสรรงบประมาณกว่า ๗,๗๐๐ ล้านบาท ให้จังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนพัฒนาสตรีในหมู่บ้าน มีคณะกรรมการของหมู่บ้านควบคุมดูแล แบ่งวงเงินออกเป็น ๒ ส่วน คือ ร้อยละ ๖๐-๘๐ เป็นเงินกู้เพื่อการลงทุนพัฒนาอาชีพ และอีกร้อยละ ๒๐-๔๐ เป็นเงินจ่ายขาดให้สตรีที่ตกทุกข์ได้ยาก

นายสันติ กล่าวต่อว่า โครงการนี้เป็นความหวังของสตรีทั่วประเทศกว่า ๓๓ ล้านคน ทางคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ กำหนดเปิดตัวโครงการและทำการอนุมัติวงเงินให้แต่ละจังหวัด ใน วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ นี้ ซึ่งเป็น “วันสตรีสากล” โดยนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานสั่งจ่าย และหากโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อาจเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และจากภาษีอบายมุข เพิ่มเติมให้อีกด้วย

ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 31 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสตรี โดยเป็นวาระเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2555 (ข้อมูลจากทำเนียบรัฐบาล)

31 ม.ค.55 นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติตามนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีประกอบด้วย

1. การสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนพัฒนาสตรีแบบดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย

2. การพัฒนาโอกาสในการงานและอาชีพการพัฒนาศักยภาพ การเพิ่มบทบาท และการสร้างภาวะผู้นำ

3. การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรีช่วยเหลือเยียวยาสตรี

4. การรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ ภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์พลังงานสตรี ให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ”

เครือข่ายสตรีสนับสนุน-ติงอย่าใช้เป็นนโยบายการเมือง

ด้านเครือข่ายสตรีออกมาสนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาล พร้อมเร่งรัดให้ดำเนินการออก พ.ร.บ.ให้แล้วเสร็จใน 90 วัน และตั้งเป้าไม่ให้เป็นนโยบายตอบสนองฝ่ายการเมือง (ข้อมูลจาก MCOT)

เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายสตรีหลายองค์กรทั่วประเทศ ระดมความคิดเห็นต่อ “กองทุนพัฒนาสตรี” เพื่อแสดงจุดยืนและระดมข้อเสนอเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดให้ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ (ฉบับประชาชน) และร่าง พ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตสตรีแห่งชาติ เป็นกฎหมายใน 90 วัน นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้ต้องนำมาใช้เพื่อให้ผู้หญิงหลุดพ้นจากวงจร “โง่ จน เจ็บ” ไม่ใช่กองทุนที่หวังผลทางการหาเสียงหรือการเมือง และมีการบริหารกองทุนอยู่บนหลักการกระจายอำนาจโปร่งใส

» Siam Intelligence


บทสัมภาษณ์ วรเจตต์


หนังสือพิมพ์มติชน

ปฏิกิริยาที่เกิดกับครก.112 และคณะนิติราษฎร์ในช่วงนี้


มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


ไล่ให้ไปอยู่เมืองนอกจนถึงเผาหุ่นไล่กันแล้ว


แน่นอนหลังจากมีปฏิกิริยาดังกล่าว


คนที่จะโต้กระแสนี้ได้ดีที่สุดต้องเป็น "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" เท่านั้น


รวมไปถึงกำลังใจของกลุ่มนิติราษฎร์ยังดีอยู่หรือไม่
----------------------


มีคนกล่าวหาว่ากลุ่มอาจารย์เป็นพวกกินยาผิดซอง อาจารย์จะสะท้อนข้อกล่าวหานี้อย่างไร

คณะนิติราษฎร์กับฝ่ายการเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว นิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร การตัดสินคดียุบพรรค จนมาถึงคดียึดทรัพย์ที่ดินรัชดาตั้งแต่ยังเป็นกลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. สื่อหลายสำนักเชื่อมโยงการกระทำของเราว่า ทำเพื่ออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร หรือเชื่อมโยงกับพรรคไทยรักไทยจนมาถึงเพื่อไทย แต่ผมยืนยันว่า แถลงการณ์ต่าง ๆ ของคณะนิติราษฎร์ทำไปบนหลักของวิชาการ บนพื้นฐานของหลักการ ในทางการเมืองนิติราษฎร์ไม่มีอำนาจไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เพราะฉะนั้นพรรคเพื่อไทยจะมีจุดยืนอย่างไร อันนั้นเป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทย ไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว รัฐมนตรีในโควตาของพรรคเพื่อไทยจะพูดอย่างไร ก็เป็นความเห็นของเขาซึ่งถ้าไม่ได้ให้เหตุผล ก็ไม่จำเป็นต้องโต้แย้ง นิติราษฎร์เพียงแค่แสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะตามสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรัฐ ธรรมนูญให้ไว้


ฝ่ายการเมืองปิดประตูเรื่องการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ไปแล้ว เรื่องนี้ถือว่าหมดความหวังหรือไม่

เป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย สุดท้ายแล้วกฎหมายก็ต้องไปที่สภาไม่ใช่ว่ารวบรวมรายชื่อแล้วจะสามารถแก้ไข ได้ ก็ต้องไปพูดกันในสภา ถ้าพรรคการเมืองในสภาไม่เห็นด้วย ร่างกฎหมายมันก็ตกไป แต่ว่าการที่นักการเมืองในสภาไม่เอานั้นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถขัดขวาง การแสดงความคิดเห็นหรือขัดขวางการเข้าชื่อประชาชนเพื่อเสนอแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรานี้ได้
การแก้กฎหมายต้องแก้ในสภา คุณชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ก็พูดชัดว่ากฎหมายนี้ไม่ผ่านสภาแน่ แต่คุณชวนท่านก็มีเกียรติเพราะบอกว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการเข้าชื่อเพื่อ แก้กฎหมาย ผมเห็นว่าการที่มีคนไม่เห็นด้วยกับการแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีความเห็นอีกทางหนึ่งจะเสนอความคิดเห็นไม่ได้ การออกกฎหมายไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนแต่เป็นหน้าที่ของรัฐสภา เพราะนั้นถ้าเขาไม่แก้มันก็แก้ไม่ได้โดยกลไกของรัฐสภา

แต่สิ่งที่ ครก.112 (คณะรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ทำนั้นอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายเพราะรัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนในการเข้าชื่อ แก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพได้ กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯลฯเป็นกฎเกณฑ์ที่มีโทษทางอาญาซึ่งกระทบกับเสรีภาพในร่างกาย อีกทั้งลักษณะของการพรรณนาองค์ประกอบความผิดก็เป็นกฎเกณฑ์ที่กระทบกับ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จึงต้องถือว่ากฎหมายเรื่องดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนตามหมวด 3 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนมีสิทธิริเริ่มเสนอขอแก้ไขได้ ส่วนอำนาจในการที่จะแก้ไขหรือไม่แก้ไข ถ้าจะแก้ไข จะแก้อย่างไร มากน้อยเพียงใดอยู่ที่รัฐสภา

หลายกระแสบอกว่านิติราษฎร์เน้นจะปฏิรูปสถาบันทางการเมือง จะเน้นสถาบันทางการเมืองไหนเป็นพิเศษ


ในแง่ของเนื้อหารัฐธรรมนูญก็เสนอไปหลายประเด็น มีคนถามว่าทำไมนิติราษฎร์เสนอเรื่องปฏิรูปศาล ปฏิรูปกองทัพ แต่ไม่เสนอเรื่องปฏิรูปสถาบันการเมืองบ้างซึ่งไม่จริงเลย นิติราษฎร์เสนอเรื่องปฏิรูปสถาบันการเมือง แต่ประเด็นดังกล่าวดำรงอยู่ในรูปของการปฏิรูปกฎหมายรัฐสภา ให้มีการทำข้อบังคับการประชุมครม. ทำพระราชบัญญัติรัฐมนตรี เสนอให้มีสถาบันขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระในทางปกครอง ซึ่งที่เสนอนั้นครอบคลุมหลักการใหญ่ๆอันเป็นโครงสร้างของรัฐธรรมนูญทั้งหมด และทุกองค์กรนั้นต้องมีอำนาจที่ได้ดุลภาพกันและตรวจสอบกันได้ ถ่วงดุลกันทุกองค์กร

แม้แต่ศาลพอขึ้นถึงศาลสูงสุดก็ต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนผ่านคณะ รัฐมนตรี ผ่านรัฐสภา แต่วันนั้นเราเสนอแค่หลัก ยังไม่ได้เสนอรายละเอียด รายละเอียดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งผู้พิพากษาศาลสูงสุด จะต้องมีการทำบัญชีในการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นผู้พิพากษาศาลล่างขึ้นสู่ศาล สูงสุด คนที่จะได้รับการแต่งตั้งย่อมจะมาจากคนในศาลนั้น ซึ่งมีคณะกรรมการตุลาการของศาลแต่ละระบบศาลซึ่งมีที่มาที่ชอบธรรมตามหลัก ประชาธิปไตยเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง และเสนอบัญชีรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ไม่ได้หมายถึงให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเลือกตัวบุคคลว่าจะเอาใครขึ้นหรือไม่ แต่คณะรัฐมนตรีก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธหากคนนั้นขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุที่มีสภาพร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นชอบได้

ทั้งนี้เพื่อถ่วงดุลอำนาจกัน ไม่ใช่ปล่อยให้องค์กรศาลโดดเดี่ยวออกไปแล้วไม่มีการปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง เลยตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือหลังการอภิวัฒน์สยาม 2475 ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเลือกใครก็ได้ขึ้นศาลสูงสุดตามอำเภอใจ หรือต่อไปผู้พิพากษาต้องไปวิ่งเต้นกับนักการเมือง ไม่ใช่อย่างนั้น อันนี้เป็นรายละเอียดที่ต้องทำต่อไปในอนาคต
นิติราษฎร์เสนอให้มีผู้พิพากษาสมทบในศาลระดับล่าง ในคดีบางประเภท เพื่อเปิดให้เห็นความโปร่งใสในการทำงาน เสนอให้มีการปฏิรูปกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มาซึ่งผู้พิพากษาตุลาการ เสนอเรื่องผู้ตรวจการกองทัพที่จัดตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร เสนอเรื่องการพิจารณาเรื่องทางวินัยกับส.ส. เช่น ส.ส. ที่ไม่ค่อยมาประชุมสภาโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรฐานทางวินัย จะได้รับผลร้ายตามลดหลั่นกันไปตามแต่ลักษณะการกระทำ เช่น การถอนคืนตำแหน่งกรรมาธิการ การประกาศตำหนิพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น

เหล่านี้จะออกมาเป็นการปฏิรูปรัฐสภาและกฎหมายรัฐสภา นี่รวมถึงการปฏิรูประบบเลือกตั้งตลอดจนพรรคการเมืองด้วย แต่นิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยที่จะไปเน้นแต่สถาบันทางการเมืองเพราะคุมแค่นักการ เมืองอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาระบบการเมืองได้ทั้งหมด มันต้องทำทั้งระบบและต้องไม่มีเรื่องในรัฐธรรมนูญที่ห้ามแตะต้อง ดังนั้นเวลาจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องพูดได้หมดทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดที่ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะหลายครั้งที่แก้หมวดนี้มักจะแก้กันหลังจากมีการทำรัฐประหาร แล้วก็ไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ออกมาเลย แต่พอนิติราษฎร์เสนอให้มีการอภิปรายพูดคุยกันบนพื้นที่สาธารณะ และเสนอประเด็นตัวอย่างบางประเด็นโดยมีวัตถุประสงค์จะให้ระบอบประชาธิปไตย เดินไปโดยไม่สะดุด เพื่อป้องกันการรัฐประหารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อธำรงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้มั่นคงในกรอบของรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย กลับมีกระแสปฏิกิริยาต่อต้าน
สังคมหลายส่วนยังเข้าใจว่าหมวดพระมหากษัตริย์นั้นไม่เคยถูกแตะต้องเลย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งไม่จริง รัฐประหารหลายครั้งมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมวดนี้มาโดยตลอด แล้วนิติราษฎร์ชัดเจนว่า ต้องการรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยในรัฐที่เป็นราชอาณาจักร


กระแสบางส่วนในสังคมบอกว่า สิ่งที่นิติราษฎร์ทำเกี่ยวกับลบล้างผลพวงของรัฐประหารนั้นดีอยู่แล้ว แต่การไปจุด ประเด็น เรื่องการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้น้ำหนักเรื่องการลบล้างผลพวงขอรัฐประหารมีน้ำหนักน้อยลงไป ทำไมอาจารย์ต้องจุดประเด็นเรื่องการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรานี้ด้วย แล้วอาจารย์ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้หรือไม่

เราทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจ เรื่องไหนที่ขัดแย้งกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนเราจำเป็นต้องทำ ต้องรณรงค์เพื่อให้กฎหมายสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์ แม้จะรู้ว่าถ้านำเสนอ ออกไปแล้วย่อมมีปฏิกิริยาตอบกลับที่รุนแรงแต่ก็จะทำเพราะต้องการเห็นสังคม ไทยเป็นสังคมที่ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง สง่างามในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกอย่างหนึ่งประเด็นเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนเสนอบนพื้นที่สาธารณะ เราจึงนำเสนอ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็โต้แย้งกันด้วยเหตุด้วยผล เราไม่ได้คิดถึงความนิยมในหมู่ประชาชนเป็นหลัก แต่คิดถึงปัญหาที่เป็นอยู่เป็นหลัก เราลืมคดีอากง sms กันแล้วหรือ แน่นอน แม้การเสนอแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้จะไม่ได้มีผลต่อคดีอากงโดยตรง แต่ก็ทำให้สังคมและรัฐสภาได้อภิปรายพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งเมืองนอก องค์การระหว่างประเทศพูดถึงอย่างหนาหูมากแล้ว เราจะอยู่กันในความเงียบที่หนวกหูอย่างนั้นหรือ


ปฏิกิริยาจากข้อเสนอของ ครก.112 คือสิ่งสะท้อนความไร้ตรรกะของสังคมไทยหรือไม่

ในบางเรื่องนั้นสังคมไม่ได้ใช้เหตุผลมาคุยกันถ้าดูจากในรายการตอบโจทย์ ที่ผมเคยไปออกกับคุณคำนูญ คุณไชยันต์หรืออาจารย์สุลักษณ์ มันก็แสดงให้สังคมเห็นว่า แม้แต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน บางประเด็นคิดขัดแย้งกันแต่ทุกคนก็สามารถคุยกันได้ด้วยเหตุผล แล้วก็นำเหตุผลนั้นมาสู้กันตามวิถีทางของประชาธิปไตยแต่ตอนนี้กระแสที่โหม กระหน่ำใส่กลุ่มนิติราษฎร์ โดยเฉพาะตัวผมเองนั้นมันเป็นกระแสฟาดฟันด้านเดียว กระแสมีธงจะทำลาย พอมันมีธงทำลายแล้ว เขาจะพูดด้วยเหตุผลก็เป็นไปไม่ได้


ในบรรดาปฏิกิริยาจากคนที่ค้านการแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ใครดูมีท่าทีที่เป็นเหตุผลสำหรับอาจารย์มากที่สุด

จนถึงวันนี้ ผมยังไม่เห็นเลยว่าจะมีใครโต้แย้งกับนิติราษฎร์หรือกับตัวผมเองด้วยเหตุผล หลายคนผมเชื่อว่ายังไม่ได้อ่านข้อเสนอของนิติราษฎร์และยังไม่รับรู้วัตถุ ประสงค์ในการณรงค์ของ ครก.112 เลย หลายคำถามที่บรรดาคอลัมนิสต์หรือนักวิชาการบางส่วนมาโต้แย้งผมนั้น ผมก็ได้พูดชัดเจนไปตั้งแต่วันที่ 15 มค. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วแล้ว ทุกปฏิกิริยาผมตอบไว้ก่อนอย่างชัดเจนแล้ว เพียงแต่ฝ่ายปฏิกิริยาไม่ได้อ่านสิ่งที่ผมได้พูดไว้แล้ว แล้วก็จับอยู่แต่ประเด็นเดียวคือเรื่อง ล้มเจ้า การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คือการล้มเจ้า ตอนนี้ผมจึงไม่เห็นว่าจะมีใครมาถกเถียงกันเรื่องการแก้กฎหมายอาญามาตรานี้ ด้วยเหตุผลเลย


ทำไมกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับหลักการของคณะนิติราษฎร์จึงต้องถูกกล่าวหาว่ากำลังล้มเจ้าด้วย

มันเป็นภาพที่สร้างขึ้นมา พอพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แล้วพุดถึงการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะถูกหาว่าล้มเจ้าทั้งหมด สังคมกำลังสุดโต่งมากเกินไปในเรื่องของการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ คือสภาพมันไปไกลถึงขนาดว่าถ้าไม่เป็นไปในทางเฉลิมพระเกียรติ ก็จะถูกหาว่าเป็นการล้มเจ้าไปหมด นี่ขนาดพูดชัดเจนว่าผู้เสนอ เสนอในกรอบของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร ก็ยังถูกกล่าวหาว่าล้มเจ้า กลายเป็นว่าสังคมไม่เปิดพื้นที่ให้แก่กลุ่มคนที่ต้องการจะพูดถึงสถาบันฯ ตามหลักการและเหตุผลโดยเพื่อให้สถาบันฯ ยังดำรงอยู่ได้ต่อไปเลย สังคมปิดพื้นที่ตรงนี้แล้วไปผลักคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกล้มเจ้า แต่ลึก ๆ ผมเชื่อว่า สุดท้ายสังคมเราอาจจะต้องใช้เวลาในการใช้เหตุผลในการพูดถึงสถาบันฯ ผมยังพอมีความหวังสำหรับเรื่องนี้นะ


คิดว่าสังคมจะต้องมีจุดแตกหักก่อนไหม จึงจะสามารถคุยประเด็นนี้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน

ต้องไม่มีคนฉวยโอกาสจากประเด็นนี้ แต่ดูจากสื่อที่สร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคม หรือบางคนอาจอาศัยจังหวะที่ผมและนิติราษฎร์กำลังเพลี่ยงพล้ำในกระแสของสื่อ มวลชนโหนกระแสนี้เพื่อให้ตัวเองดูเด่นขึ้นมาในหน้าสื่อสารมวลชน คนที่ต้องการจะบอกว่า ตัวเองมีความจงรักภักดีมากที่สุดนั้นจะต้องยืนอยู่สูงที่สุด บ่อยครั้งที่การยืนบนที่สูงที่สุดเพื่อให้คนเห็นหน้าว่าตนจงรักภักดีกว่าใคร นั้น ก็ยืนขึ้นโดยเหยียบหัวผมขึ้นไป พร้อมกับร้องว่าผมเนรคุณ บางคนแสดงความจงรักภักดีไปพร้อมกับการเหยียดหยามคนอื่น หรือบางกลุ่มก็แสดงความอาฆาตมาดร้าย ก่นด่า ประณามนิติราษฎร์ไปด้วยเพื่อให้ความจงรักภักดีที่คน ๆ นั้นกำลังแสดงอยู่นั้นมีน้ำหนักในหน้าสื่อสารมวลชนมากขึ้น อย่างนี้ก็สุ่มเสี่ยงอยู่เหมือนกันว่าจะมีจุดแตกหัก

สื่อต้องมีข้อมูลของแต่ละคนที่พูดเรื่องนี้ออกมาสู่สังคม เช่น บางคนแสดงความจงรักภักดีโดยมีฐานความเชื่อหรือมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับ สถาบันฯ อย่างไรบ้าง มีความเชื่อมโยงทางฐานอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างไร ถ้าสื่อสามารถตีแผ่ตรงจุดนี้ออกมาได้ สังคมจะได้รู้ถึงสาเหตุที่แต่ละฝ่ายต้องออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่พวกผมทั้ง 7 คน ในนิติราษฎร์ไม่ได้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์อะไรเลยจากข้อเสนอต่าง ๆ ที่เราเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ


การแสดงความเห็นของอาจารย์ทำให้ภาพลักษณ์ของอาจารย์เชื่อมโยงกับแนวคิดของคนเสื้อแดง อาจารย์จะสะท้อนมุมนี้อย่างไร


ถ้าผมกังวลใจในส่วนนี้ ในทางหลักวิชาการแล้วผมจะนำเสนอความเห็นใด ๆ ทางกฎหมายมหาชนที่มีประเด็นเชื่อมโยงกับการเมืองไม่ได้เลย เพราะถ้ากลัวว่าเราแสดงความเห็นออกไปแล้วไปเข้าอีกข้างหนึ่ง กังวลว่าการแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องสถาบันฯ การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 จะถูกกล่าวหาว่าล้มเจ้าแล้ว ผมจะแสดงความเห็นอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น สังคมนี้ก็จะถูกปิดตายทางความคิดความเห็นทันทีเหมือนกับถูกขังอยู่ในถ้ำ ถ้าไม่มีใครสักคนหรือใครหลายคนกล้าที่จะพูดถึงใจกลางของปัญหาหลายปัญหาในทาง การเมือง ดังนั้น เราควรจะทำให้สังคมออกมาจากถ้ำเสียที


อยากถามอาจารย์ในเชิงความเห็นว่า นิติราษฎร์จะจัดการปมที่ถูกมัดจากสังคมกระแสหลักว่า เป็นกลุ่มคนล้มเจ้า นี้อย่างไร

ก็จะพยายามอดทนอธิบาย ชี้ให้เห็นว่าเราไม่ได้เปลี่ยนรูปของรัฐเลย รัฐไทยยังเป็นราชอาณาจักร ซึ่งหมายความว่ามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ส่วนประเด็นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 นั้น ก็เสนอแก้ไขปรับปรุงในกรอบของรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปใช้เป็นเครื่องมือทำลายกัน ทางการเมือง ทำตัวบทกฎหมายในเรื่องนี้ให้ได้มาตรฐานสากล ไม่ใช่ปล่อยให้มาตรานี้ซึ่งถูกแก้ไขโดยการเพิ่มอัตราโทษสมัยหลังรัฐประหาร เมื่อเดือนตุลาคม 2519 ใช้บังคับต่อไปโดยไม่คิดจะปรับปรุงให้เหมาะแก่กาลสมัย โดยวิธีนี้จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างสง่างามคู่กับระบอบ ประชาธิปไตยและการประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะส่งผลในทางบวกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้สถาบันมั่นคงปลอดภัย

ที่ อาจารย์ทำตรงส่วนนี้เพราะอาจารย์กำลังจะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น หรือมันเป็นเรื่องที่ขัดแย้งอยู่แล้วเพียงแต่อาจารย์จุดประเด็นนี้ขึ้นมา

สังคมไทยมีความขัดแย้งมานานแล้วแต่ความขัดแย้งนั้นมันครุกกรุ่นอยู่ใน อารมณ์ความรู้สึกของคน สิ่งที่ผมทำมาตลอดในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาก็คือ นำความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นมาพูดบนเวทีสาธารณะด้วยเหตุและผล ถ้าเราสามารถนำความขัดแย้งที่เกิดจากอารมณ์ของคนที่เป็นฝ่ายถูกกระทำขึ้นมา สู่เวทีสาธารณะได้ สังคมก็จะผ่านความขัดแย้งนี้ไปโดยไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้นอีก


หลายกระแสบอกว่าถ้าแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง อาจารย์จะสะท้อนแนวคิดดังกล่าวอย่างไร

ผมคิดว่ากลุ่มคนหลายกลุ่มเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นอาศัยสถาบันฯ เป็นเครื่องมือในการฟาดฟันปรปักษ์ทางการเมือง การยอมให้ใช้สถาบันฯเป็นเครื่องมือในลักษณะดังกล่าวต่างหากที่จะทำให้ สถาบันฯอ่อนแอลง กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบหากรัฐสภาผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างน้อยที่สุด จากที่ใครก็ได้สามารถเข้าแจ้งความดำเนินคดีได้ ก็จะมีหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ ซึ่งตามร่างของนิติราษฎร์ คือ สำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้ดำเนินการ คราวนี้คนที่เคยใช้เรื่องนี้ฟาดฟันกันทางการเมือง ก็จะใช้เครื่องมือนี้ไม่ได้อีกต่อไป ประเด็นสำคัญของครก.112 จึงอยู่ที่ “แก้ไขมาตรา112 ฟื้นฟูประชาธิปไตย หยุดใช้สถาบันกษัตริย์ เป็นเครื่องมือ” ประเด็นของ ครก.112 ชัดมาก กลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจำนวนหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์ จากที่เคยใช้กฎหมายมาตรานี้ในการทำร้ายคู่แข่งทางการเมือง


บางกระแสบอกว่าถ้าแก้ไขกฎหมายมาตรานี้จะทำให้ประชาชนบางส่วนสามารถใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือหมิ่นประมาทสถาบันฯ ได้ง่ายขึ้น


เป็นไปไม่ได้ครับ เราเสนอให้แก้มาตรานี้ก็จริง แต่ยังไว้ซึ่งความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพียงแต่แยกความผิดฐานหมิ่นประมาท กับดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายออกจากกัน และกำหนดโทษไว้แตกต่างกัน ตลอดจนแบ่งแยกความผิดดังกล่าวที่กระทำต่อมหากษัตริย์ ออกจากพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกจากกัน ให้รับกับความผิดอื่นๆที่กระทำต่อบุคคลทั้งสี่ตำแหน่งดังกล่าว และให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งคุ้มครองพระมหากษัตริย์ไว้เป็นพิเศษกว่าตำแหน่งอื่น อีกอย่างการด่าทอกันในสังคมนอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ในหลายกรณียังถูกตำหนิ ประณามจากสังคมด้วย สิ่งที่เราเสนอไปเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 ก็คือ การให้ศาลตีความโดยแยกให้ออกระหว่างการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ตามกรอบของสังคมประชาธิปไตยกับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย การวิพากษ์วิจารณ์ทำได้ตามกรอบของกฎหมาย แต่การด่าทอหยาบคายหรือใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงยังเป็นสิ่งที่ผิด กฎหมายอยู่


สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งระหว่างอะไรกับอะไร

สิ่งที่สังคมเผชิญอยู่นั้นคือความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างกลุ่มคนที่ อยากให้มีการเมืองเลือกตั้งให้อำนาจจากประชาชนเลือกนักการเมืองเข้ามาทำงาน โดยตรวจสอบได้กับกลุ่มคนที่ปฏิเสธการเมืองแบบเลือกตั้งและให้อำนาจองค์กรของ รัฐที่ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเข้าควบคุมนักการเมือง เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่นิยมเลื่อมใสระบอบประชาธิปไตยในรัฐที่เป็น นิติรัฐกับฝ่ายที่ปฏิเสธประชาธิปไตยเพราะคิดว่าประชาชนไม่พร้อมและเน้นอำนาจ ทางจารีตตลอดจนอำนาจที่ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนเจ้าของอำนาจ ทั้งๆที่ความจริงแล้วในแง่อุดมการณ์ประชาธิปไตย ต้องเคารพในการตัดสินใจของประชาชนเป็นเบื้องแรกและต้องถือว่าสิ่งนี้เป็นคุณ ค่าสำคัญ แล้วต้องสามารถตรวจสอบสถาบันในทางรัฐธรรมนูญ ตลอดจนสถาบันในทางการเมืองได้ทั้งหมด
แต่ชัดเจนว่า รธน.ปี 2550 ไม่ตรงกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยตรงจุดนี้เลย หลายคนออกมาเห็นแย้งกับนิติราษฎร์ที่เสนอว่า ให้สถาบันศาลเชื่อมโยงกับประชาชน แต่ไม่ได้กังวลเลยว่าศาลตลอดจนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญสามารถเสนอคำขอแปร ญัตติงบประมาณรายจ่ายต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภาได้โดยตรงซึ่งผิดหลัก ประชาธิปไตย

นี่คือสาเหตุสำคัญว่าทำไมข้อเสนอของนิติราษฎร์จึงมีปฏิกิริยาจากกลุ่มคน อีกฝ่ายอย่างรุนแรง นั่นก็เพราะข้อเสนอของนิติราษฎร์ไปแตะองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ที่อยู่ในรธน. โดยเฉพาะศาลและองค์กรอิสระ ซึ่งมีปัญหาในแง่ของความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ถ้าสู้กันด้วยเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา กลุ่มคนดังกล่าวที่ได้ประโยชน์จาก รธน. ปี2550 จะไม่ใช้การโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพวกเขาโดยตรง เพราะเหตุผลของพวกเขาอาจมีน้ำหนักไม่มากพอที่จะโต้แย้งข้อเสนอของนิติราษฎร์ เว้นแต่ใช้คาถานักการเมืองเลว ทุนสามานย์ หรือประชาชนยังไม่พร้อม ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มคนอีกฝ่ายจึงต้องใช้สถาบันกษัตริย์ ใช้ข้อหาล้มเจ้ามาฟาดฟันเพื่อให้น้ำหนักข้อเสนอของนิติราษฎร์อ่อนลง


หลังจากนี้นิติราษฎร์จะทำอย่างไรต่อไป จะจุดไฟความคิดให้กับสังคมในประเด็นไหนต่อไป

ประเด็นเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นเรื่องของ ครก.112 ที่จะตัดสินใจ แต่ผมคิดว่าเขาคงดำเนินการต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น หลังจากนิติราษฎร์ได้นำเสนอประเด็นหลักๆออกสู่สาธารณะแล้ว หลังจากนี้ไปก็จะพักสักระยะ ใช้เวลาพูดคุยกันเกี่ยวกับรายละเอียดของรัฐธรรมนูญแต่ละเรื่อง ซึ่งคงเริ่มด้วยเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร และการปฏิรูปสถาบันการเมือง การเสนอประเด็นเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง และการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมืองก่อน ถ้าโอกาสอำนวยก็อาจจะนำเสนอประเด็นเหล่านี้ในเวทีเสวนา แล้วคงจะดูสถานการณ์ของสังคมว่าควรจะพูดประเด็นไหนต่อไป แต่แผนในระยะสั้นยังไม่มีอะไร

ผมและอาจารย์คณะนิติราษฎร์ก็มีชีวิตเหมือนอาจารย์ทั่วไป ต้องสอนหนังสือ ต้องตรวจข้อสอบด้วยเช่นเดียวกัน ที่ออกมาจุดไฟความคิดให้แก่สังคมก็ทำด้วยใจ ใช้เวลาว่างจากการสอนหนังสือมาเสนอความคิดเห็นเรื่องกฎหมายมหาชนออกสู่ สาธารณะ นี่เป็นสิ่งที่เราอยากทำให้กับสังคมในวงกว้างขึ้น ไม่อยากให้เรื่องกฎหมายมหาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง จำกัดอยู่แค่วงการศึกษา มีแต่อาจารย์กับนักศึกษาเพียงสองฝ่ายเท่านั้น

นิติราษฎร์อยากทำให้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองเป็น เรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม เราพยายามสืบสานปณิธานเมื่อแรกตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองของ ผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ที่จะให้มหาวิทยาลัยเป็นเหมือนบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร เมื่อเราไม่สามารถเคลื่อนไหวทางความคิดตามกรอบของระบบราชการปกติได้ เราจึงก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ขึ้น เราจึงทำเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก เราก็ช่วยกันออกสตางค์คนละนิดละหน่อย เพื่อเคลื่อนไหวทางความคิดในเรื่องของนิติรัฐและประชาธิปไตย ให้ประชาชนในวงกว้างได้มีโอกาสรับรู้ ได้ศึกษา ได้คิดคล้อย และคิดค้าน นี่เป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เราทำเพื่อสนองคุณภาษีอากรของราษฎร
หลายคนคาดหวังจะให้ผมนำมวลชน ผมขอยืนยันชัดเจนว่าไม่นำ แต่ขอทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อคิดเห็นและเนื้อหาในทางวิชาการเท่านั้น ถ้าสิ่งที่นำเสนอนำเสนอมันไปตรงกับใจของคนไม่น้อย ก็เป็นเรื่องผลพลอยได้ ผมว่าตอนนี้นิติราษฎร์เป็นปรากฏการณ์นะที่สามารถนำเสนอประเด็นทางวิชาการ แล้วประชนให้ความสนใจนำไปคิดต่อยอดได้ นักวิชาการหลายคนไม่เชื่อว่า การนำเสนอแนวคิดวิชาการบริสุทธิ์ออกสู่สาธารณะจะมีประชาชนสนใจและพยายามทำ ความเข้าใจกับสิ่งที่เราเสนอได้ถึงขนาดนี้

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้วมวลชนนั้นก็มีฐานความคิดอยู่แล้ว พวกเขารู้ว่าการกระทำใดถูกต้องตามหลักการ การกระทำใดผิดหลักประชาธิปไตย นิติราษฎร์อาจจะทำหน้าที่แค่นำสิ่งที่พวกเขาคิดแต่ไม่สามารถอธิบายเป็นเหตุ เป็นผลมาอธิบายเป็นข้อเสนอหรือแนวคิดเชิงวิชาการ ให้สามารถถกเถียงแลกเปลี่ยนกันได้ง่ายขึ้นเท่านั้น


อาจารย์ได้ประโยชน์อะไรจากการออกมาเสนอแนวคิดสู่สังคม

สมมติว่าผมอยากเป็นนักการเมืองผมจะทำเรื่องนี้ทำไม ถ้าผมอยากเป็น สสร. 3 ผมจะเห็นค้านการใช้ สสร.3 ทำไม ความอยากเป็นอยากดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นสิ่งที่ผมคิดไว้ท้ายสุดของชีวิต ตอนนี้ก็ชัดแล้วว่า ไม่มีใครให้ผมเป็น สสร. หรอก แต่ผมก็ไม่ได้อยากเป็นอยู่แล้ว ถ้าเป็นแล้วไม่สามารถนำเสนอความคิดในการปฏิรูปปรับโครงสร้างทั้งหมดของ สถาบันทางการเมืองและองค์กรต่างๆในรัฐธรรมนูญได้ เพราะสิ่งที่ผมเสนอ เชื่อว่าทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านก็ไม่รับลูกต่อ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเลยเพราะผมไม่ได้สนใจตรงจุดนั้น ผมเพียงแต่ทำหน้าที่ในการนำเสนอหลักกฎหมายออกสู่สังคมในสถานการณ์ที่การตี ความทางกฎหมายดูจะบิดเบี้ยวมากขึ้นทุกที ก็เท่านั้น


ทั้งหลายทั้งปวงที่นิติราษฎร์เสนอ ความเห็น จุดไฟความคิดทางสังคมจนเกิดปฏิกิริยาทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมากมาย นิติราษฎร์ทำไปเพื่ออะไร

ผมอยากเห็นสังคมนี้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นสังคมที่พูดกันได้อย่างตรงไปตรงมาบนพื้นฐานของความปรารถนาดีต่อกันเท่า นั้น นิติราษฎร์เห็นว่าการใช้กฎหมายมันบิดเบี้ยวตั้งแต่หลังรัฐประหาร จริงๆ ผมพูดมาหลายเรื่องก่อนการรัฐประหารรัฐบาลคุณทักษิณแล้ว นี่รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจบางเรื่องของรัฐบาลคุณทักษิณ หรือการตัดสินคดีบางคดีของศาลด้วย แต่การใช้กฎหมายอย่างบิดเบี้ยวอย่างสำคัญ ผิดไปจากหลักการที่ได้เรียนมา เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา
ทุกอย่างที่นิติราษฎร์ทำ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ทั้ง 7 คนผมยืนยันและรับรองได้ว่าไม่มีใครเป็นอย่างที่สื่อกระแสหลักกล่าวหาเพราะ รู้จักกันหมด บริสุทธิ์ใจและไม่มีนอกไม่มีใน แล้วผมก็มีอาชีพสอนหนังสือ ถ้าทำอะไรผิดก็สอบสวนไปตามวินัยว่าผมผิดตรงไหน ซึ่งแน่ใจว่าไม่มี ทุกอย่างอยู่ในกรอบของกฎหมายและความเหมาะสม นิติราษฎร์ทำในแง่ของงานวิชาการและไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง ผมบอกตามตรงเลยว่า ทำไมถึงเสนอแบบนี้ เพราะมันดีต่อประชาชนเจ้าของอำนาจ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อสถาบันกองทัพ ต่อศาล ต่อสถาบันการเมือง และผมพร้อมที่จะอธิบายในทุกๆที่ ตอนนี้ เราเพียงแต่ปรารถนาว่า สังคมโดยเฉพาะสื่อกระแสหลักคงไม่โหมกระแสความเกลียดชัง คงจะฉุกคิด ใช้สติ และโต้เถียงกับเราอย่างมีเหตุผล และเป็นอารยะ อย่าได้ถอยหลังพ้นไปจากความเป็นมนุษย์เลย

ธรรมศาสตร์ระอุ!!


ธรรมศาสตร์ระอุ!! องค์การนักศึกษาแถลงการณ์ประท้วง ห้ามเคลื่อนไหว ม.112



หลังจากที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีประมวลกฎหมายมาตรา 112 อีกต่อไป นั้น

ในเฟซบุ๊กขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปลี่ยนรูปภาพที่หน้าเฟซบุ๊ก เป็นรูปภาพพื้นสีดำ มีข้อความกำกับว่า “เสรีภาพทางความคิด ไม่สามารถใช้งานได้ขณะนี้ ขออภัยในความไม่สะดวก”

…………………………………………………………………

นอกจากนี้ ทางองค์การนักศึกษายังได้เผยแพร่แถลงการณ์ ผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

กรณี มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหว มาตรา ๑๑๒…


ตามที่ได้มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนข้อความผ่านทาง Facebook ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งมีข้อความว่า “ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา ๑๑๒ อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้” นั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในฐานะผู้แทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่ามติที่มีผลผูกพันดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) จึงขอแสดงจุดยืนที่มีต่อมติดังกล่าว ดังนี้

1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์ เป็นสถานที่หลักในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป

3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน

สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่างไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย

ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทางการเมืองใดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง

ด้วยจิตคารวะ

คณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕”




แถลงการณ์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรณี มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหว มาตรา ๑๑๒

ตามที่ได้มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนข้อความผ่านทาง Facebook ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งมีข้อความว่า “ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา ๑๑๒ อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้” นั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในฐานะผู้แทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่ามติที่มีผลผูกพันดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) จึงขอแสดงจุดยืนที่มีต่อมติดังกล่าว ดังนี้

1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์ เป็นสถานที่หลักในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป


3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน


สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่างไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย



ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทางการเมืองใดเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง



ด้วยจิตคารวะ

คณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

โดย: องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



Freedom


เปิด!สเปคแท็บเล็ตเด็กป.1จากจีนราคา2,400บาท








เปิดร่างทีโอ อาร์สเปคแท็บเล็ตเด็กป.1จากจีนราคา2,400บาท เครื่องต้องได้มาตรฐาน ใช้ระบบแอนดรอยด์-ลินุกซ์ ความจุมากกว่า16GB รับประกัน2ปี

 ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ถึงความคืบหน้าถึงโครงการ One Tablet Pc Per Child ที่กังวลว่าเปิดภาคเรียน ปี 2555 ในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้จะไม่สามารถแจกเครื่องคอวพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต)ให้นักเรียนป.1 ทุกคนได้ทันและระบุด้วยว่าแท็บเล็ตที่จะซื้อตามสเปคราคาแค่ 2,400 บาท ที่ถือเป็นพัสดุที่ราคาไม่แพง
 ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวตรวจสอบสเปคของแท็บเล็ตที่กระทรวงศึกษากำลังมี การร่างข้อตกลงหรือทีโออาร์สเปคของแท็บเล็ตราคา 2,400 บาท เพื่อแจกเด็กป.1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยแหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยสเปคกับสำนักข่าวเนชั่นว่า ขณะนี้กำลังมีการร่างรายละเอียดของแท็บเล็ตโดยฉบับล่าสุด มีการกำหนดเป็นสเปคให้บริษัทที่เบื้องต้นจะเป็นบริษัทจากประเทศจีนที่จะผลิต แท็บเล็ตมาให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสเปคคือ ต้องมีจอแบบสัมผัสจอภาพโดยติดตั้งระบบความปลอดภัยระดับ OS Security Level ที่ให้แสดงโลโก้ของกระทรวงศึกษาทันทีเมื่อเริ่มเปิดเครื่อง โดยขนาดของจอแสดงผลขนาดไม่น้อยกว่า7นิ้ว ความละเอียดของจอภาพไม่น้อยกว่า1024x768 Pixel และจอภาพต้องทนทานต่อรอยขีดข่วน และต้องมีการติดฟิล์มกันรอยที่หน้าจอและหลังตัวเครื่อง และต้องมีซองบรรจุเพื่อป้องกันเครื่องทั้งด้านหน้าและหลังด้วย
 ส่วนหน่วยบันทึกข้อมูล(Internal Mass Storage) นั้น ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 16 GB(กิ๊กกะไบท์) หน่วยประมวลผลกลางไม่ต่ำกว่า 1 GHz และเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core และหน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 512 MB(เมกกะไบท์) สำหรับระบบปฏิบัติการนั้นต้องออกแบบมาเฉพาะแท็บเล็ต หรือเป็นระบบ Android 3.2 ZHoneycomb ) ,Linux Kernel 2.6.36 ขึ้นไป และรองรับ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) , Linux Kernel 3.0.1 ได้
 นอกจากนี้แท็บเล็ตราคา 2,400 บาท ต้องมีระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ทั้งสายสัญญาณ Data Sync มีช่องเสียบชุดหูฟังพร้อมไมโครโฟน ทั้งยังต้องมีช่องสำหรับใส่สื่อบันทึกMicro SD Card มีลำโพง มีอุปกรณ์การเชื่อมต่อแบบ USB มีระบบเชื่อมต่อไวเลสเน็ตเวิร์คกิ้ง ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b/g หรือดีกว่าโดยใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz มีระบบเซ็นเซอร์สำหรับปรับแสงสว่าง มีGPS ชนิดติดตั้งภายในตัวเครื่อง Built-in
 สำหรับมาตรฐานของเครื่องแท็บเล็ตนั้น ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการแผ่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มอก.1956-2548 มาตรฐานความปลอดภัย มอก.1561-2548 มาตรฐานเพือสิ่งแวดล้อม RoHs และต้องผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับใช้งานกับไฟฟ้ากระแสสลับได้ ในช่วงตั้งแต่ 190 ถึง 240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ท 1 เฟส พร้อมระบบสายดินตามมาตรฐานของประเทศไทย รวมทั้งโรงงานประกอบ ผลิต และหรือสายการผลิต ต้องได้รับมาตรฐานในอนุกรม มอก.9001 หรือ ISO 9001 อีกทั้งผู้ขายต้องจัดทำ Storage Partition ทำการ Reload ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด
 ขณะที่เงื่อนไขการรับประกันครุภัณฑ์นั้น ผู้ขายต้องรับประกันอุบัติเหตุ อุบัติภัยเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันตรวจรับ พร้อมทั้งต้องให้บริการ ณ สถานที่ติดตั้ง(One Site Service) เป็นเวลาอย่างน้อย1ปี แต่ในกรณีที่แท็บเล็ตเครื่องหนึ่งเครื่องใดเสียใช้การไม่ได้ ผู้ขายต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่ผู้ขายได้รับแจ้ง และต้องเข้าไปตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก6เดือนอย่างน้อยตลอดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันส่งมอบ รวมทั้งต้องจัดให้มีศูนย์บริการตอบปัญหาการใช้งานและแจ้งเครื่องมีปัญหาที่ สามารถติดต่อได้ 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นการจัดซื้อจัดหาจำนวนมากกว่า 1,000 เครื่องในคราวเดียวกัน ผู้ขายต้องจัดเครื่องสำรองให้แก่ผู้ซื้อ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนที่จัดซื้อในคราวเดียวกัน
 “และหากมีแท็บเล็ตเครื่องหนึ่งเครื่องใดเมื่อใช้งานปกติแล้วแบตเตอรี่ เกิดระเบิด ผู้ขายจะต้องเปลี่ยนเครื่องทั้งหมดที่ขายให้แก่โครงการ และกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ขายต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด”
Tags : Tablet
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง