บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดพิมพ์เขียวโรดแมปปรองดอง ฉบับ "ดร.คณิต ณ นคร"

มติชนออนไลน์


สัมภาษณ์พิเศษ


อาจกล่าวได้ว่า มีแต่ "ดร.คณิต ณ นคร" และคณะ เท่านั้น ที่ได้รับอาณัติให้เขียน "โรดแมป-ปรองดอง"

ในฐานะอดีตอัยการสูงสุด "ดร. คณิต" บอกว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง

ในฐานะหัวขบวนค้นคว้าความจริง "ดร.คณิต" สารภาพกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยากที่สุด-เหนื่อยที่สุด ในชีวิต

ทุกบรรทัดจากนี้ไป คือรายงานปากเปล่าจาก "ดร.คณิต" ถึงรัฐบาล...ถึง ผู้ก่อการร้าย...ถึงผู้น้ำม็อบ และถึงทุกคนที่ต้องการ สันติ-ปรองดอง

- ขับเคลื่อน คอป.มาถึงวันนี้ เหนื่อยและยากไหมกับการค้นหาความจริง

ยากที่สุดในชีวิตผม (เน้นเสียง) เพราะเรื่องมันยังไม่จบ เราไม่ใช่ทำในสิ่งที่จบไปแล้ว เช่น พฤษภาทมิฬ ที่เรื่องจบไปแล้ว มันถึงยากที่สุด คุณคิดว่าผมอยากทำ เหรอ ผมไม่อยากทำหรอก แต่ผมไม่รู้ จะหนีไปไหน ในเมื่อทุกคนพุ่งมาที่ผม เพราะผมพอเชื่อถือได้มั้ง ผมเลยต้องทำ

- ภาพรวมในการหาความจริงสำเร็จไปกี่เปอร์เซ็นต์

มันไม่ใช่เหมือนการสร้างบ้าน เวลานี้เราเหมือนมุงหลังคาแล้ว ล่าสุดผมเพิ่มลงนามในหนังสือเพื่อส่งไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้เขาส่งข้อมูลมาให้กับเรา เพราะรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนให้ คอป.ได้ทำงานต่อ

ที่ผ่านมาภาครัฐยังให้ความร่วมมือน้อย และเราไม่มีอำนาจในการเรียกข้อมูล รายงานที่เสนอต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เช่น การปล่อยตัวชั่วคราว ห้ามตีตรวนผู้ที่ถูกคุมขังในเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่การตอบสนองกลับมาไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะกระบวนการยุติธรรมของเรามีความเข้าใจกฎหมายคลาดเคลื่อน

- ทำไมภาครัฐถึงไม่ให้ความร่วมมือ

ผมคิดว่าเขาคงกลัวมั้ง ความจริงถ้าภาครัฐร่วมมือก็อาจจะเสร็จไปแล้ว ผมไปพบปลัดกระทรวงกลาโหมคนก่อน ตอนนั้นท่านบอกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำลังรวบรวมข้อมูลแต่จนถึงวันนี้ผมก็ยังไม่ได้อะไร

สิ่งที่เราอยากได้ เช่น แผนยุทธการของทหาร เพราะการเคลื่อนกำลังของทหารอยากจะไปไหนต้องมีแผน ถ้าเราได้แบบนั้นก็จะได้รู้ว่าใครรับผิดชอบตรงไหนบ้าง เพื่อจะได้ไปพบและขอความร่วมมือ แต่จนวันนี้ยังไม่ได้เลย

- รัฐบาลยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ความสำคัญกับ คอป.มากน้อยแค่ไหน

เขาเขียนไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ก็คิดว่าจะให้ความร่วมมือที่ดี ถ้าเราขอข้อมูลไปเขาก็สั่งมาหน่อยก็น่าจะได้ เราต้องอยู่ห่างจากการเมือง ถ้าผมเข้าไปใกล้การเมืองก็จะยุ่งอีก ความน่าเชื่อถือจะไม่มี

- การค้นหาความจริงจะเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล และอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีส่วนได้ส่วนเสีย

ความจริงมันก็ต้องยอมรับว่ามันได้อะไร เพราะเราต้องทำงานเพื่อที่จะใช้ความจริงมาตีแผ่ให้เห็น จะได้เป็นบทเรียนไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก ซึ่งรายงานของเราทำทั้ง 2 ภาษาไทย-อังกฤษ เพราะเราไม่อยากให้ไปแปลกันผิด ๆ ถูก ๆ ซึ่งเราจะออกรายงานฉบับที่ 2 ภายในเดือนนี้ ในรายงานจะมีข้อเสนอแนะไปให้รัฐบาลด้วย เหมือนที่เราเสนอตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วว่าให้มีการเลิกตีตรวน เรื่องประกันตัว แต่ก็ไม่ได้

- ผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ในมุมของ คอป.จำเป็นต้องปล่อยไปหรือไม่

การก่อการร้ายไม่ใช่ในแบบที่เราเข้าใจ แต่ก่อการร้ายมันเป็นความผิด ที่เขาลงโทษก่อนการกระทำ เช่น คุณตั้งสมาคมอั้งยี่เพื่อจะไปทำผิด เขาลงโทษแล้ว แต่โทษอย่างนี้จะน้อย แต่ของเราโทษถึงประหารชีวิตก็ไปกันใหญ่ แต่ถ้าเขาตั้งสมาคมอั้งยี่แล้วไปทำอะไรต่อ เช่น ฆ่า ไปเผา ก็ว่ากันไป

นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับก่อการร้ายของเราได้มาโดยไม่ถูกต้อง เพราะออกโดยพระราชกำหนด ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเหมือนปกติ กฎหมายอาญามีที่ไหน เร่งด่วนขนาดนี้ ก็ในสมัยคุณทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) นั่นแหละเป็นคนทำ

- แสดงว่าสิ่งที่เรียกว่าชายชุดดำ หรือคำว่าก่อการร้าย กลายเป็นอุปสรรคในการปรองดอง

เรื่องนี้กระบวนการยุติธรรมเราไปตั้งคำว่า ก่อการร้าย เพราะเราไม่เข้าใจความผิดฐานก่อการร้ายดีพอ

- คอป.ควรจะเสนอให้รัฐบาลรื้อระบบกระบวนการยุติธรรมใหม่หรือไม่

เรากำลังดูอยู่ โดยกระบวนการยุติธรรมของเราจะต้องมีการปฏิรูปหลาย ๆ ด้าน เรื่องหนึ่งที่เรากำลังทำอยู่คือ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

- ฝƒายไหนในกระบวนการยุติธรรม ที่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง

ทั้งหมด ทั้งตำรวจ อัยการ และศาล เช่น อัยการ ซึ่งเป็นสำนักงานเก่าของผม ผมเคยเสนอไปว่า ความผิดที่เกิดการมั่วสุมกันเกิน 10 คนที่เป็นเรื่องของการชุมนุมมันอาจจะเกินเลยไปบ้าง ถ้าจะสั่งไม่ฟ้องให้หมดมันน่าจะดีนะ

ใช้กฎหมายเถรตรงเกินไปมันก็ไม่เกิดประโยชน์หรอก เพราะฉะนั้นในสถานการณ์อย่างนี้มันต้องมีความคิดกันบ้าง มีดุลพินิจในการไม่ฟ้องได้ เพราะเมื่อคุณใช้กฎหมายแล้วมันสร้างปัญหา คุณก็จะกลายเป็นปัญหาเสียเอง แต่ผมมองว่าที่เป็นปัญหาไม่ใช่กฎหมาย แต่คนเป็นปัญหา

เราไม่สามารถที่จะไปบังคับรัฐบาลได้ ถ้ารัฐบาลเห็นว่าสิ่งที่เราเสนอไปนำไปสู่ความสันติเขาก็เอาไปปฏิบัติ แต่ถ้าผมเป็นอัยการสูงสุดผมจะไม่สั่งฟ้องเสียเลย การเป็นอัยการไม่ยากแต่เป็นอัยการที่ดีมันไม่ใช่ง่าย เพราะคุณต้องมีความคิดช่วยให้สังคมสงบ หากเป็นอัยการเช้าชามเย็นชามจะมีประโยชน์อะไร

- อัยการทำหน้าที่ตอบโจทย์แนวทาง ปรองดองมากน้อยขนาดไหน

ไม่ได้ทำอะไรเลย ผมเท้าความให้เห็นว่า สมัยหนึ่งครั้งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ฆ่ากันตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกจับไปกว่า 2 พันคน อธิบดีกรมอัยการขณะนั้นสั่งไม่ฟ้องหมดเลย เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี ต่อมาคนที่หลบหนีในป่าก็ออกมาช่วยชาติเห็นหรือเปล่า ถึงยุครัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ทำผิดได้กลับเข้ามา พอถึงยุครัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ออกคำสั่ง 66/23 ทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทาง

- กรณีที่กลุ่มเสื้อเหลืองบุกยึดสนามบิน และกรณีเสื้อแดงปิดแยกราชประสงค์ เผาเซ็นทรัลเวิลด์ อัยการควรไม่ฟ้อง

ก็สั่งไม่ฟ้องได้ ฟ้องไปแล้วถอนฟ้องยังได้เลย เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน อัยการของเราเป็นคนที่จะช่วยให้เกิดความสงบได้เยอะ แต่ศาลเนี่ยยาก เมื่อส่งฟ้องไปแล้วก็ต้องตัดสิน จะให้เจ๊าเสมอกันไม่ได้ แต่อัยการได้ โดยเฉพาะตำรวจและอัยการจะต้องทำงานร่วมกัน รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

- ทำเช่นนี้จะพ้นจากข้อครหาว่าถูกแทรกแซงหรือไม่

แทรกแซงใคร ในเมื่อคุณมีดุลพินิจของคุณเองที่จะแก้ป้ญหาได้ แต่แน่นอนคุณก็ต้องรับผิดชอบ เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์คุณก็ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเราทำด้วยสุจริตก็ไม่ต้องไปกลัวอะไร สมัยที่ผมเป็นอัยการสูงสุด ผมไม่เคยกลัวนักการเมือง ผมก็ทำไปตามหน้าที่ เรื่องไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ทำไป

- นอกจากอัยการที่จะต้องปฏิรูปตัวเองแล้ว ยังมีองค์กรไหนที่ต้องปฏิรูปเพื่อความปรองดอง

ทุกองค์กรโดยเฉพาะทหาร ผมไปอ่านเจอในรัฐธรรมนูญเยอรมนีเขากำหนดให้มีผู้ตรวจการทหาร ไม่ใช่กรรมาธิการ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขทหารได้ แต่หากทหารคนไหนทำออกนอกลู่นอกทางเขาปลดเลย

- ทหารต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อให้เข้าสู่โหมดปรองดอง

ใครจะคาดคิดว่าหลังปี 2540 จะมีทหารมายึดอำนาจ แล้วคนยึดอำนาจตอนนี้อยู่ไหน ก็อยู่ในสภา เห็นไหมประหลาดนะ ทั้งที่คนยึดอำนาจต้องไม่สนับสนุนประชาธิปไตย แต่ตอนนี้ก็เข้าสู่ประชาธิปไตยแล้ว นี่มันเป็นอะไรกัน ไม่เห็นมีใครพูดสักคน เรื่องแบบนี้เราต้องพูดเพื่อปราม โดยใช้ social sanction มาตรการทางสังคมกดดัน จะทำให้คนไม่ดีต้องม้วนเสื่อ

- เวลานี้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเยียวยาได้

สิ่งที่ผมพยายามทำคือ ทำให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้น การที่จะนำคนผิดขึ้นศาลทั้งหมดอาจเป็นเรื่องไม่ดี ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นศาลหมดมันมีประโยชน์อะไร ควรเอาแต่เรื่องใหญ่ ๆ

- แสดงว่าควรเอาโรดแมปจากเหตุ การณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 มาปรับใช้เพื่อให้เกิดความปรองดองในยุคปัจจุบัน

ผมเขียนไว้ในรายงาน แนะนำรัฐบาลผมเขียนไปโดยเชื่อว่าเขาไม่กล้าทำหรอก เพราะมันขี้กลัว คนที่อยู่ในสถานะเช่นนั้น เป็นอัยการสูงสุดเขาไม่ใช่ให้คุณ ไปเผยอหน้าอยู่ในสังคม แต่เขาต้องการให้มาแก้ไขปัญหาประเทศชาติ

ผมเสนอให้สั่งไม่ฟ้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเหลือง แดง เขียว เพราะมันเป็นเรื่องของการชุมนุม อาจเกินเลยไปบ้างก็ไม่เป็นไร มันไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ถ้าไปฆ่าคนเราค่อย single out-เลือกเฉพาะบางคดีออกมา แต่เรื่องของม็อบมันต้องคิด และยิ่งสถานการณ์แบบนี้ต้องคิดให้มากเพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่อย่างงั้นจะไปแก้ปัญหาประเทศชาติได้อย่างไร อัยการประเทศอื่นมันแก้ปัญหา แต่ประเทศเรามันไม่ใช่

- หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง จำเป็นหรือไม่จะต้องออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ไม่จำเป็น เพราะเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้องก็คือจบ การนิรโทษกรรมก็ไม่จำเป็น

- คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณจำเป็นต้องมีการนิรโทษกรรมหรือไม่

คดีของคุณทักษิณเป็นคดีการเมืองตรงไหน มันไม่ใช่การเมือง บังเอิญเป็นนักการเมือง จึงคนละเรื่องกัน นักการเมืองทำผิดไม่ได้เหรอ ก็ต้องทำผิดได้เหมือนนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นยังติดคุก อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้ยังกระโดดหน้าผาตายเลย ของไทยมันอย่างหนาไม่ทำอะไร

- แต่ พ.ต.ท.ทักษิณมักพูดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

ตรงไหนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลดำเนินคดีศาลก็พิพากษาแล้ว ไม่ได้รับความเป็นธรรมตรงไหน

- เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นชนวนเหตุหนึ่งของความขัดแย้งในสังคมไทย เราจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร

บทความที่ผมเขียนเรื่อง "หักดิบกฎหมาย" เพราะการหักดิบกฎหมายเป็นที่มาของความไม่สงบ มันเกิดขึ้นในสมัยที่คุณทักษิณซุกหุ้นภาค 1 แล้ว จริง ๆ ผมวิเคราะห์ว่าคุณทักษิณแพ้คดี แต่มันเล่นแร่แปรธาตุจนชนะเห็นไหม เขาแพ้คดี 7 ต่อ 6 แต่ตุลาการ รัฐธรรมนูญไม่พิพากษา แล้วเอาคะแนนมารวมเป็น 8 ต่อ 7 อย่างนี้จะไม่เรียกว่าหักดิบได้อย่างไร นี่คือรากเหง้าของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

เวลานั้นแต่ละคนเชียร์คุณทักษิณ สุด ๆ คือคนในบ้านเมืองเราไม่ยึดหลัก แต่มันยึดคนคิดว่าคนนี้มันดี ผมจึงบอกว่าคนมันดีไม่ได้นานหรอก ตอนไม่มีอำนาจก็ดีหรอก แต่พอมีอำนาจเต็มที่ก็ออกลาย นี่คือสาเหตุที่เกิดการฆ่ากัน

-หลังจากนี้โอกาสที่เราจะเห็นความ ปรองดองยังมีอยู่หรือไม่

ชีวิตมันต้องมีความหวัง เราหวังว่าทุกอย่างมันจะดีขึ้นแล้วนำไปสู่ความสงบในอนาคต แต่จะเมื่อไรไม่มีใครตอบได้หรอก มันจะอยู่กันอย่างนี้ได้อย่างไร

-ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยทั้ง 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19, พฤษภาทมิฬ ความขัดแย้งที่กลับมาปรองดองกันได้เพราะเขายอมกัน

มันคนละอย่างนะ เหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา มันเป็นเรื่องของทหารกับประชาชน แต่คราวนี้เป็นเรื่องของประชาชนด้วยกัน

-ข้อเสนอ คอป.ต่อรัฐบาลเป็นโรดแมปความปรองดองที่เคยปฏิบัติสำเร็จมาแล้วในต่างชาติ เช่น แอฟริกา หรือรวันดา

บริบททางสังคมไม่เหมือนกัน แต่ของไทยเราอยู่กันสงบมานานแล้ว แม้ว่าเราจะมีชนกลุ่มน้อยหลายเชื้อชาติหลายภาษาแต่เราไม่เคยสู้รบปรบมือกันนะ ผมยังมีความหวังว่าจะกลับไปแบบเดิมได้ คนไทยไม่ได้เป็นคนใจไม้ไส้ระกำเราเวลานี้นานาชาติได้ส่งนักวิชาการที่เคยทำเรื่องปรองดองสำเร็จในแอฟริกาใต้ และรวันดาเข้ามาช่วยเรา

-บริบทบ้านเรามีวาทกรรมสองมาตรฐาน

ผมไม่เห็นว่าสองมาตรฐานตรงไหน แต่การปฏิบัติที่ไม่มีมาตรฐานมันมี เช่น การตีตรวนมันมี การนำคนมาขังโดยไมˆมีเหตุ อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่าสองมาตรฐาน ต้องเรียกว่าไม่มีมาตรฐาน

-ประเทศไทยต้องปฏิรูปขนานใหญ่ถึงจะปรองดองได้

ทุกภาคส่วนช่วยกันก็จะดีขึ้น แต่คราวนี้ไม่ได้ใช้ระยะเวลาอันสั้น มันต้องใช้เวลา เพราะความขัดแย้งคราวนี้มันลงลึกมาก คณะผมไม่ได้รับผิดชอบ ต่อรัฐบาลนะ แต่ผมรับผิดชอบต่อ ประชาชน ยึดประชาชน เพราะเรารู้ว่าตอนตั้งคณะกรรมการใหม่ ๆ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่เราไม่ได้ห่วง ถ้าเราทำงานแล้วประชาชนเชื่อถือเราก็ทำงานต่อ แต่ถ้าทำงานแล้วถูกมองว่าไม่ได้เรื่องเราก็หยุด ผมไม่ติดยึดอะไร

-อีกนานแค่ไหนสังคมไทยจะได้เห็นความปรองดองเกิดขึ้น

บางประเทศ 20 ปีนะมันต้องค่อย ๆ แก้ แต่มันอาจจะเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นก็ได้ใครจะไปรู้ แต่เวลานี้คำว่าปรองดองพูดกันเปรอะ ผมไม่ได้พูดเรื่องปรองดอง แต่ผมพูดว่าจะมีสันติภาพเกิดขึ้น เมื่อไรสันติจะกลับคืนมาสู่สังคมเรา คำว่าสันติมันสำคัญยิ่งกว่าปรองดอง

-นักการเมืองพูด-หากินกับเรื่องปรองดอง มันจะปรองดองได้จริงหรือ

ตอนช่วงหาเสียงเขาก็เอาผมไปหาเสียงด้วย ไม่รู้เขาคิดอย่างไร แต่ถ้าเขาบอกว่าต้องการสันติอย่างนี้มันน่าสนใจ เพราะผมคิดว่าปรองดองคือการสันติ คือไม่ได้มาเกี้ยะเซียะกัน

-การเยียวยาที่จะเสนอต่อรัฐบาล

กำลังคิดกันอยู่เพื่อเสนอต่อรัฐบาล ที่กลุ่มคนเสื้อแดงบอกว่าต้องเยียวยาผู้ที่เสียชีวิตรายละ 10 ล้าน มันเป็นคนละเรื่องกัน เพราะเราต้องการเยียวยาด้านจิตใจ เช่น ลูกเขาตาย เขาก็เดือดร้อน

-กรณีที่ทหาร ตำรวจที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานต้นสังกัดต้องเข้ามาช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต

ก็อาจจะจำเป็น โดยเราจะใช้หลักวิชาการในการพิจารณา สมมติว่าการเยียวยาความเสียหายด้านจิตใจควรจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องดูกฎหมายของต่างประเทศประกอบไป เราไม่ได้มานั่งคิดว่าจะชดเชย 10 ล้าน 20 ล้านบาท

     องค์ประกอบ แห่ง การปฏิวัติ ทางการเมือง

     

by เชษฐ


การปฏิวัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วและรุนแรง  โดยใช้กำลัง เพื่อ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ค่านิยมความเชื่อและวัฒนธรรม  ให้พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ที่เรียกว่า การปฏิวัติพลิกแผ่นดิน (social revolution)

ส่วนการเปลี่ยนแปลง อำนาจทางการเมืองของผู้ครองอำนาจ โดยไม่กระทบต่อ โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม นั้นเป็น การรัฐประหาร (coup d' état)

การปฏิวัติที่เห็นชัดที่สุด คือ การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1789  การปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917  การปฏิวัติจีน ในปี ค.ศ.1911 และ ค.ศ.1949
 
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Crane Brinton ได้เขียนหนังสือชื่อ The Anatomy of Revolution

โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบ การปฏิวัติ ฝรั่งเศส  อังกฤษ  อเมริกา  เม็กซิโก และ รัสเซีย เพื่อหาลักษณะร่วม ที่นำไปสู่ การปฏิวัติ การเปรียบเทียบห้าประเทศนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาทฤษฎีในระดับหนึ่ง ลักษณะร่วมดังกล่าว ก็คือ ตัวแปรที่จะนำไปสู่ปรากฏการณ์อันเดียวกัน คือ การปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงระบบ การเมือง สังคม และ เศรษฐกิจ



Crane Brinton ได้พบว่า การปฏิวัติ ที่เกิดขึ้นในห้าประเทศดังกล่าวนั้น จะมีลักษณะร่วมดังต่อไปนี้  คือ

 
1.  ก่อนการปฏิวัติ จะเกิดความขัดแย้งทางชนชั้น (class struggle) อย่างขมขื่น แต่ความขัดแย้งทางชนชั้นนั้น ไม่ใช่ระหว่าง คนรวยและคนจน  หากแต่เป็น กลุ่มคนชั้นสูงด้วยกัน โดยกลุ่มหนึ่ง กุมอำนาจรัฐ สถานะทางสังคม และ ทรัพย์ศฤงคารในแง่ที่ดิน และ กิจการอื่น ๆ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มคู่แข่ง ซึ่งส่วนใหญ่ ก็คือกลุ่มซึ่งเป็น ชนชั้นกระฎุมพี และ ไม่พอใจที่คนกลุ่มข้างบน ใช้อำนาจทางการเมือง และ อภิสิทธิ์ กดดันให้ตนเองต้องเสียโอกาส และเสียเปรียบ จึงพยายามปฏิวัติ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบ โดยใช้คนกลุ่มชั้นล่าง เป็นแนวร่วม ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น คือ คนที่เป็นกลุ่มผู้นำด้วยกันเองนี้ คือ ตัวแปรสำคัญ ตัวที่หนึ่ง 

 
ข้อน่าสังเกต ก็คือ การปฏิวัติมวลชนล้วน ๆ นั้น ยังไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์  ส่วนใหญ่จะต้องนำโดย นักคิด  เช่น ในการปฏิวัติโดยมีชาวนาเข้าร่วมนั้น จะต้องมี นักคิด เป็น ผู้นำ เสมอ เพราะจำเป็นต้องใช้ การปลุกเร้ามวลชน ใช้อุดมการณ์ เป้าหมาย และ การวางแผน ถ้าเป็น การลุกฮือธรรมดา ก็จะกลายเป็น กบฏชาวนา หรือ การจลาจลที่ไร้ทิศทาง

 
2.  การปฏิวัติ ที่เกิดขึ้นในห้าประเทศดังกล่าวนั้น มิได้เกิดขึ้น ตอนที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการศึกษาแล้วว่า สังคมที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุด ก็อาจนำไปสู่ การแย่งอาหาร ตีชิงวิ่งราวปล้นร้านค้า แต่จะไม่เกิดการปฏิวัติ แต่การปฏิวัติ จะเกิดขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้น ตามลำดับ และ การขยายในทางบวกของเศรษฐกิจนั้น หยุดชะงักลงจนทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะ มีการคาดหวังที่สูง (rising expectation) ยิ่งขึ้น  ความไม่พอใจ อันเนื่องมาจาก การหยุดชะงักงันของผลประโยชน์ ย่อมรุนแรงกว่า สภาพเศรษฐกิจที่ยากจนค้นแค้น และ การปฏิวัติ มักจะเกิดขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจดี ดีกว่า ในช่วงที่ตกต่ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน จึงเป็นตัวแปรสำคัญของ การป้องกันการปฏิวัติ การทำความดีที่ไม่ตลอด เป็นเรื่องที่อันตราย  ทำนองเดียวกับ การที่คน ๆ หนึ่งช่วยเหลือเกื้อกูล คนกลุ่มหนึ่ง และ ฉับพลันก็หยุดการช่วยเหลือ ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ  รวมทั้ง เกิดความเคียดแค้นได้ สภาวะดังกล่าว ใช้ได้แม้ในความสัมพันธ์ส่วนตัว

 
3.  การปฏิวัติ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ากลุ่มผู้นำ ยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อนการปฏิวัติ กลุ่มผู้นำ ที่ครองอำนาจรัฐนั้น จะเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และเกิดความขัดแย้ง เพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็เกิดจากความขัดแย้ง ในกลุ่มผู้นำชั้นสูง และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดความขัดแย้งใน กลุ่มผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้นำทหาร ที่เป็นตัวแปรสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

 
4.  บรรยากาศ ก่อนการปฏิวัติ จะเป็นบรรยากาศของ ชนชั้นผู้นำทางความคิด หันเหความภักดีต่อ สังคมและระบบ จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบบในทางลบ เช่น ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส Tolstroy ก็ดี หรือ Robespierre ก็ดี ล้วนแต่เขียนหนังสือหรือบทความโจมตี ระบบการปกครองเดิม จนประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตาม ในส่วนนี้ การออกหนังสือ โดย เหมา เจ๋อตุง และ โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยกระทำแบบใต้ดิน ก็เป็นตัวแปรสำคัญ ที่นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐได้ ชนชั้นปัญญาชนหรือนักคิด เป็นชนชั้นที่ปูพื้นทางจิตวิทยา โดยปลุกเร้าให้ต่อต้านระบบเดิม หันไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างระบบใหม่ ในปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการคงอยู่ของรัฐบาล หรือแม้แต่ระบบ บางครั้งจะเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองนั้น เป็นการต่อสู้ผ่านทางสื่อ

 
5.  ก่อนที่จะมี การปฏิวัติเกิดขึ้น ในห้าประเทศดังกล่าวนั้น กลไกรัฐ ในการปกครองบริหาร ทั้งในระบบการเมือง และ ในระบบองค์กรบริหารรัฐ (bureaucracy)   ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างเห็นได้ชัด ระบบการเมือง และ ระบบการบริหาร ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ ไม่สามารถจะบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทางเศรษฐกิจ และ ความเหลื่อมล้ำ อันเนื่องมาจาก ความไม่สนใจ หรือ เนื่องมาจาก ขาดข่าวสารข้อมูล หรือ หลงมัวเมาในอำนาจ  ทั้งหลายทั้งปวง ดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่ ระบบการเมืองและการบริหาร ขาดประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจ คือ ความอดอยากและความเหลื่อมล้ำ หรือ การแก้ไขความไม่ยุติธรรม และ ความรู้สึกแปลกแยกจากระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดความเข้าใจ อารมณ์ของประชาชน หรือ อารมณ์ทางการเมืองของสังคม ระบบนั้นก็คงอยู่ไม่ได้ 

 
งานศึกษาของ Crane Brinton เกี่ยวกับ การปฏิวัติ มีประโยชน์อย่างยิ่งในทางวิชาการ แต่การปฏิวัติ ในลักษณะดังกล่าวนี้ คงไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะ มีทางออกและการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แรงเสียดทานและแรงกดดัน ที่จะมีการปฏิวัติ ก็จะลดน้อยลง ที่สำคัญ มนุษย์เรียนรู้ที่จะปรับตัว เป็นต้นว่า ความขัดแย้ง ระหว่างคนสองกลุ่มในระดับบนนั้น ก็อาจจะต้องมีการออมชอม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระบบเปิดกว้าง ก็สามารถจะสอดแทรกเข้าไปร่วมงานกันได้ เพราะ ระบบที่เปิดกว้าง เป็นการปฏิรูปทางผู้นำ หมายความว่า สามารถจะดึงฝ่ายตรงกันข้าม เข้าไปอยู่ในวงอำนาจ  ซึ่งต่างจาก การปฏิรูปทางนโยบาย โดยฝ่ายตรงกันข้าม ยังอยู่นอกวงอำนาจ เพราะฉะนั้น ระบบการเมือง ต้องเปิดให้มี การร่วมกันใช้อำนาจ 

 
ขณะเดียวกัน สภาวะทางเศรษฐกิจนั้น ก็อาจทำการแก้ไขได้ง่ายกว่าในอดีต การใช้สื่อมวลชน เพื่อ ปลุกเร้าให้เกิดทีท่าต่อระบบ และต่อผู้ใช้อำนาจนั้น ก็อยู่ในข่ายที่ สองฝ่ายค่อนข้างจะเท่าเทียมกัน ปัญหาอยู่ที่ว่า ประชาชนจะเชื่อฝ่ายใด การรณรงค์ผ่านสื่อ จึงเป็นกุญแจสำคัญ จนผู้นำบางคน เช่น แฟรงค์คิน ดี. รุสเวลล์ ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือ ที่เรียกว่า fire-side chat  และ ริชาร์ด นิกสัน ก็ใช้โทรทัศน์ เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ และที่สำคัญ คือ ชนชั้นปัญญาชน ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่อยู่ฝ่ายครองอำนาจ ฝ่ายตรงกันข้าม และ ฝ่ายที่เป็นกลาง

กรณีกลไกของรัฐนั้น เนื่องจาก มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการมากขึ้น โอกาสการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง อาจจะบรรเทาลงได้  เพราะ ท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องตัวเองได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน ระบบการเมือง ก็ทำหน้าที่เป็น วาล์วเครื่องจักรไอน้ำ ที่เปิดให้แรงกดดันไหลออกมาได้ ในรูปของการประท้วง เดินขบวน การต่อรอง ในรูปของสภาพกลุ่มผลักดัน องค์กร เอกชน 

แต่ที่สำคัญ คือ อิทธิพลและแรงกดดัน จากต่างประเทศ ที่ไม่ต้องการเห็น ความวุ่นวายเกิดขึ้นในสังคมใด ๆ เพราะ จะขัดแย้งกับเสถียรภาพทางการเมืองและการค้า อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ ยังมีบรรยากาศของ การส่งเสริมระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การค้าเสรี การรักษาสภาพแวดล้อม และ การเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสันติภาพ ฯลฯ ทฤษฎีการปฏิวัติของ Crane Brinton อาจจะเป็นเรื่องของอดีต แต่ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา ก็คือ การใช้ตัวแปรต่าง ๆ เป็นดัชนีประเมินระดับการพัฒนา หรือ การเกิดปัญหาหรือวิกฤต ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้

http://www.dhiravegin.com/detail.php?item_id=000547

เปิดร่างกฎหมายฉบับสำคัญ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" รอรัฐบาลยิ่งลักษณ์หยิบปัดฝุ่นใน 60 วัน

ข่าวเจาะ » 

เปิดร่างกฎหมายฉบับสำคัญ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" รอรัฐบาลยิ่งลักษณ์หยิบปัดฝุ่นใน 60 วัน


           กฎหมายจากรัฐสภาชุดที่แล้วยังค้างอยู่หลายสิบฉบับ รอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หยิบขึ้นมาพิจารณาภายใน 60 วัน โดยเฉพาะกฎหมายสำคัญๆ บางฉบับที่ต้องวัดใจว่า รัฐบาลชุดนี้จะโหวตผ่านหรือไม่
            รัฐธรรมนูญมาตรา 153 ระบุไว้ว่า หลังจากได้รัฐบาลชุดใหม่ สามารถนำกฎหมายต่างๆ ที่พิจารณาค้างอยู่จากรัฐบาลชุดก่อนมาพิจารณาต่อได้ ภายใน 60 วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งขณะนี้เหลือเวลาอีก 20 กว่าวันเท่านั้น
             น่าสนใจว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะนำกฎหมายที่ค้างไว้กลับมาพิจารณาหรือไม่ เพราะกฎหมายบางฉบับก็ขัดแย้งกับนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศไป บางฉบับพรรคเพื่อไทยก็เคยวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้ บางฉบับพรรคเพื่อไทยก็เสนอเอาไว้เอง ยังมีกฎหมายที่ภาคประชาชนเสนอที่ผ่านการต่อสู้ทางความคิดอย่างยาวนานและ สร้างข้อถกเถียงขึ้นในสังคมซึ่งต้องยอมรับว่าบางฉบับเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหา สาระที่มุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
              ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ-www.tcijthai.com) รวบรวมกฎหมายสำคัญๆ ที่ค้างอยู่ตั้งแต่รัฐสภาชุดที่แล้วมาให้ตรวจสอบดูว่า ร่างกฎหมายฉบับใดที่รอรัฐบาลชุดนี้หยิบขึ้นมาพิจารณาบ้าง

กฎหมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภาคใต้
                ร่างพระราชบัญญัติสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถระเบิด หรือยุทธภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ ทางราชการ พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม
ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการใช้สิทธิชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการบริหารการใช้สิทธิชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับผู้บริโภค
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการติดตามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับการรับบริการสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐในการคุ้มครองผู้รับบริการและผู้ให้บริการทางสาธารณสุข พ.ศ. ....

กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....

กฎหมายด้านสวัสดิการ คุณภาพชีวิต การศึกษา และสิทธิ
ร่างพระราชบัญญัติรับรองสิทธิบุคคลที่แปลงเพศ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับผู้พิการหรือทุพพลภาพ ตามมาตรา ๑๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเลิกมาตรา 18(7) มาตรา 41 มาตรา 42 และ มาตรา 50(8))
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ....

กฎหมายด้านเศรษฐกิจ
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับการปรองดองและนิรโทษกรรม
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทาง การเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ และระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึงวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๒ พ.ศ. ....

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระบรมราชวงศ์
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระบรม ราชวงศ์)
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดการไต่สวนมูลฟ้องในความผิดต่อพระบรมราชวงศ์)

กฎหมายอื่นๆ
ร่างพระราชบัญญัติการทำสัญญาของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ...
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ....


ภาพจาก www.chaoprayanews.com

คนเคาะข่าว ช่วงที่2 รัฐบาลไทย รัฐบาลตระกูลชินวัตร

คดีแม้ว"รื้อ"ไม่ ได้ สภาทนายชี้ ไม่มีหลักฐานใหม่

เฉลิมเมินหยุดหุบปาก งัดพรบ.ช่วย"ทักษิณ"
"วุฒิศักดิ์"ถกนัดแรก วางกรอบตรวจ"ฎีกา"

ที่กระทรวงยุติธรรม บ่ายวันที่ 9 กันยายน ผศ.วุฒิศักด์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดี คณะรัฐศาสตร์ ว่าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานคณะทำงาน กลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีบุคคลทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เรียกประชุมคณะทำงานฯครั้งแรก นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม 1 ในคณะทำงานดังกล่าว แถลงว่าหลังการประชุมว่า ทางอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้รายงานขั้นตอนตั้งแต่ กระทรวงยุติธรรมรับมอบหมายจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดำเนินการตรวจสอบรายชื่อ การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อกลางปี พ.ศ.2552 และมีการดำเนินการมาตามลำดับ

กระนั้นก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้มีการหารือลงลึกในรายละเอียดหรือให้ความเห็นไปในทางใดทางหนึ่ง แต่ได้กำหนดประเด็นการทำงานของคณะทำงานฯ ว่า ประเด็น ข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องพิจารณาโดยรอบคอบ มีอยู่ 3 ประเด็น

ตั้งกรอบการทำงาน3ประเด็น

คือ 1.ผู้ที่ลงชื่อ (กลุ่มคนเสื้อแดง) อยู่ในฐานะที่มีสิทธิ์ยื่นเรื่องถวายฎีกาตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งต้องดูให้รอบคอบ ทั้งกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมาย อื่นใดที่เกี่ยวข้อง ว่าการยื่นเรื่องดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ จะต้องรวบรวมและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ให้ คณะทำงานฯพิจารณา

2.วิธีการยื่นเรื่องถูกต้องหรือไม่ กระบวนการขั้นตอนจำเป็นต้องใช้แบบฟอร์มของทางราชการหรือไม่ และยื่นกับหน่วยงานที่รับผิดชอบถูกต้องแล้วหรือไม่ และ 3.มีข้อกฎหมายหรือธรรมเนียม ปฏิบัติ หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง รวมทั้งการขอพระราชทานอภัยโทษ ผู้นั้นต้องอยู่ในฐานะที่ได้รับโทษหรือถูกบังคับคดีแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมให้น้ำหนัก ให้ความสนใจ หลังจากนี้คงต้องทำงานด้วยความละเอียดรอบรอบ หากจำเป็นต้องเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือให้ความเห็นก็จะดำเนินการต่อไป ส่วนการประชุม ครั้งหน้าถัดไปอีก 2 สัปดาห์ คาดว่าจะเป็นวันพฤหัสฯที่ 22 ก.ย.นี้

ยังไม่กำหนดกรอบการสรุป

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีกรอบระยะเวลาในการตรวจสอบประมาณกี่วัน นายธงทอง กล่าวว่า ประเด็นนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่า ต้องใช้กรอบระยะเวลาสิ้นสุดเมื่อใด รวมทั้ง ในคำสั่งของรัฐมนตรียุติธรรมที่มอบหมายภารกิจในส่วนนี้ก็ไม่ได้กำหนด กรอบเวลาว่าต้องทำงานให้เสร็จเมื่อใด ซึ่งการประชุมเป็นครั้งนี้เป็นเพียงการมอบนโยบายให้ ฝ่ายเลขานุการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ไปรวบรวมเอกสารต่างๆ และ ยังไม่ทราบว่าจะรวบรวมเอกสารได้มากน้อยเพียงใดมีประเด็นใดบ้างที่ควรจะต้องเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามแนวทางปฏิบัติหรือมีข้อสักถามเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยการทำงานครั้งนี้ก็จะทำงานด้วยความรอบคอบคงต้องใช้เวลาพอสมควร

ย้ำกรรมการมีหน้าที่ให้ความเห็น

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องผู้ที่ลงชื่อ ถวายฎีกาจะต้องมีรายชื่อของญาติหรือไม่ นายธงทองกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นประเด็น ที่คณะทำงานฯต้องพิจารณาต่อไป ผู้สื่อข่าวถามว่า มีบางฝ่ายที่ไม่เชื่อมั่น ต่อคณะทำงานฯชุดนี้ นายธงทองกล่าวว่า ตนไม่มีฐานะที่จะต้องไปเรียกร้องให้ใคร เชื่อมั่น แต่เชื่อว่าคณะทำงานฯสามารถ ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นบนพื้นฐานวิชาชีพเพราะแต่ละท่านเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่มีประสบการณ์มีบทบาทที่ผ่านหน้าที่ต่างๆ มา

เมื่อถามว่าคณะทำงานฯชุดนี้ฝ่ายการเมืองไม่สามารถให้ความเห็นได้ นายธงทอง กล่าวว่า ไม่มีใครมามอบหมายหรือสั่งการ ตนมีความมั่นใจในตนเองและมั่นใจต่อการทำหน้าที่ ทั้งนี้ คณะทำงานฯทั้งหมดเป็นเพียงผู้ให้ความเห็นไม่ใช่เป็นผู้ชี้ขาด

เหลิมใหญ่ใครสั่งหุบปากไม่ได้

ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่มีใครที่จะมาห้ามตน ไม่ให้พูดเรื่องฎีกา พ.ต.ท.ทักษิณ และการรื้อฟื้นคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ผมโตพอที่ ไม่ต้องมีคนห้าม และในเรื่องที่ถูกต้องใครก็ห้ามผมไม่ได้ เรื่องนี้ ไม่มีใครห้ามผม ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวยืนยันท่ามกลางกระแสข่าวว่า กุนซือของพรรคเพื่อไทยไม่พอใจ ร.ต.อ.เฉลิมที่พูดถึงเรื่องฎีกา พ.ต.ท.ทักษิณ จนผู้คนชิงชังรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

รองนายกฯผู้นี้ยังอธิบายเกี่ยวกับ ที่ไปที่มาของการจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ จน พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี และต่อมา การซื้อที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะและ กองทุนฟื้นฟูฯต้องคืนเงินให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ อันจะส่งผล ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถรื้อฟื้นคดีใหม่ ได้เนื่องจากสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น กระนั้นก็ตามการรื้อฟื้นคดีอยู่ในดุลยพินิจของศาล ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ก็ไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจะมายื่นกระทู้สดทำไม

อ้างพรบ.รื้อฟื้นคดีอาญารื้อคดี

กรณีพ.ต.ท.ทักษิณมีสิทธิ์ยื่นคำร้องตามพ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญา 2526 ระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถรื้อฟื้นคดีอาญาได้ โดยมอบหมายให้ทนายความ ดำเนินการฟื้นคดี แต่ศาลจะรับหรือไม่ก็เป็นดุลยพินิจของศาล และศาลเมื่อรับแล้วจะใช้ดุลยพินิจอย่างไรก็เป็นเรื่องของศาล มันเรื่อง อะไรของชาวบ้านที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของท่านทักษิณกับศาล ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

ทั้งยังอธิบายเรื่องการถวายฎีกา ช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า รัฐบาลชุดก่อน เก็บเรื่องไว้ 2 ปี และสุดท้ายก็เป็นพระราชอำนาจเท่านั้น

ยิ่งลักษณ์ไม่กล้าเบรกเฉลิม ในขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ กังวลว่าการให้สัมภาษณ์รายวันของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะเป็นสายล่อฟ้าของรัฐบาลว่า การสัมภาษณ์ แต่ละคนก็ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ตราบใดที่อยู่ในส่วนของการชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน พี่น้องประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาได้เอง

เมื่อถามต่อว่า การให้สัมภาษณ์รายวัน ของร.ต.อ.เฉลิม มีความเหมาะสมแล้วใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า อย่าพูด อย่างนั้นจะดีกว่า เพราะร.ต.อ.เฉลิม คงมีในส่วนของข้อคิดเห็นในการแสดงออกต่อ พี่น้องประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการทำหน้าที่ อยู่แล้ว

ต่อข้อถามที่ว่า ถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่มากเกินไปหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น แต่สื่อมวลชนคงจะให้ความสนใจ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นพิเศษก็เป็นได้ สำหรับให้ความคิดเห็นของร.ต.อ.เฉลิม ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลแล้วหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า คงต้องถามว่าเรื่องใด ต้องคุยกันทีละเรื่อง

อ้างไม่มีนโยบายถวายฎีกาแม้ว

เมื่อถามว่า กรณีการยื่นถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ร.ต.อ.เฉลิม ออกมาระบุว่า อาจจะไม่เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษแต่จะเป็นการยื่นฎีการ้องเรียนแทน มองว่าอย่างไรบ้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า คงต้องแยกเรื่องสำหรับตัวบุคคลกับด้านนโยบาย ซึ่งเรื่องการยื่นฎีกานั้น ถือเป็นกระบวนการปกติ เมื่อเรามารับงานใหม่ รัฐบาลใหม่ก็ต้องมาดูว่าเรื่องที่ค้างของรัฐบาลเก่ามีอะไรบ้าง อะไรที่ต้องสานต่อ ก็ถือว่าอยู่ในกระบวนการปกติ อีกทั้งเราไม่มีนโยบายตรงนั้นที่จะมาเร่งรัดในเรื่องนี้ ฉลองหนุนรื้อคดีนายใหญ่

นายฉลอง เรี่ยวแรง สส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย อดีตผู้คุมในเรือนจำบางขวาง กล่าวสนับสนุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณรื้อคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯขึ้นมาใหม่ ในสมัยที่ผมเป็นผู้คุมในเรือนจำ บางขวางมานาน 13 ปี ได้เห็นหลายคดี ทั้งเป็นคดีอาญาร้ายแรง ถูกลงโทษผิดตัว ต้องโทษติดคุก 5-10 ปี เมื่อใดที่ครอบครัว หรือญาติพบหรือมีหลักฐานข้อมูลใหม่ ก็สามารถยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงคำตัดสินใหม่ได้จนทำให้สามารถออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งถือเป็นหนทางหนึ่งที่กฎหมายเปิดช่องและเป็นการให้ความเป็นธรรมในการต่อสู้ตามกระบวนการ ยุติธรรมŽ นายฉลอง อธิบาย

ย้ำแม้วต้องได้รับความเป็นธรรม

ในขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.และคนเสื้อแดง ยืนยันว่ากลุ่มเสื้อแดงสนับสนุนให้มีการถวายฎีกา แต่จะไม่มีการเคลื่อนไหวนำมวลชนไปกดดันรัฐบาล ทั้งนี้คนเสื้อแดงอยากถามว่าขั้นตอนอยู่ตรงไหนแล้ว จึงอยากให้มีการชี้แจงให้คนเสื้อแดง ได้รับทราบ

เมื่อถามว่าในคดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อาจไม่ต้องมีการขออภัยโทษหรือออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะคดีที่ดินรัชดาฯ ศาลแพ่งตัดสินเป็นโมฆะไปแล้ว นายณัฐวุฒิ ตอบว่า เรื่องนี้แบ่งเป็นสองประเด็น หนึ่งการดำเนินคดีกับพ.ต.ท.ทักษิณตั้งแต่ต้นเป็นการดำเนินคดีโดยขัดต่อหลักนิติธรรม โดยใช้อำนาจของคณะปฏิวัติ เมื่อต้นทางขัดต่อหลักนิติธรรมแล้ว ปลายทางก็ย่อม ไม่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีจะยอมรับ ได้อย่างไร ตนเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ควรมีโอกาสได้รับความยุติธรรม

ทนายแม้วงงเหลิมรื้อคดีแม้ว

ขณะที่นายฉัตรทิพย์ ตัณฑประสาสน์ ทีมทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ออกมากล่าวถึงความเป็นไปได้ในการรื้อคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ภายหลังศาลแพ่งตัดสินให้สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว เป็นโมฆะว่า เรื่องนี้เห็นจากข่าวเท่านั้น ทีมทนายความยังไม่ได้หารือกันเลยว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ หรือยังมีช่องทางใด ในการรื้อคดี ที่สำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณยัง ไม่ได้สั่งการมายังทีมทนายดำเนินการใดๆ เมื่อถามว่า มีช่องทางกฎหมายให้รื้อคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหรือไม่ นายฉัตรทิพย์กล่าวว่า ตอนนี้ยังเป็นแค่ข่าว ยังไม่ขอให้ความเห็นใดๆŽ

ปชป.ยำกลบข่าวบริหารงานเหลว

วันเดียวกัน นายเทพไท เสนพงศ์ สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าว ว่าตนไม่เข้าใจที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีและพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เตรียมดำเนินการ รื้อคดีที่ดินรัชดาให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เข้าใจว่าคนอย่างร.ต.อ.เฉลิม ที่บอกว่าอ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็นถึง ไม่เข้าใจถึงกระบวนการพิจารณาของศาล กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณนั้นมีความผิดตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา 100 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง นายเทพไท อธิบาย และว่าการที่ศาลแพ่งตัดสินให้ คุณหญิงพจมาน ชนะคดีนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้ความผิดของ พ.ต.ท.หลุดพ้นไปด้วย เพราะฉะนั้นหากจะรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ ก็ไม่น่าจะเป็นการหวังผลทางการปฏิบัติ แต่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างกระแส กลบเกลื่อนการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาลในเรื่องของการแก้ปัญหาของแพง ปัญหาน้ำท่วม และการโยกย้ายข้าราชการ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องมากกว่า

มาร์คยังมองไม่เห็นช่องฟื้นคดี

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังมองไม่เห็นช่องทางที่จะรื้อฟื้นคดี พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะศาลแพ่งบอกว่าการทำสัญญาซื้อที่ดินรัชดาฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเพิกถอนการซื้อขายที่ดินดังกล่าว แต่จะอ้างว่าพอเพิกถอนแล้วความผิดทางอาญาไม่เกิด คงไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่เห็นประเด็นที่จะมารื้อคดีได้ และการที่ศาลแพ่งพิพากษาดังกล่าวยิ่งเป็นการย้ำว่ากระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องดำเนินคดีอาญาไปตามนั้น

นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงกรณีที่คน เสื้อแดงจะไปเตะบอลกับสมเด็จฮุนเซ็น นายก รัฐมนตรีกัมพูชา และเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปร่วมเตะด้วยว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีใคร ไปเตะบ้าง ต้องขอรอดูข้อเท็จจริงก่อน แต่ถ้าคนในรัฐบาลไปพบหรือรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ที่ไหนก็ควรทำหน้าที่ของตัวเองในการ ที่จะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ภายใต้กฎหมายไทยต่อไป

แนะรัฐบาลไปช่วยแก้น้ำท่วม

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก พรรคประชาธิปัตย์ ในการบริหารประเทศของรัฐบาลปู-ยิ่งลักษณ์ แต่ละวันจะมีข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามานับไม่ถ้วน มีคนในรัฐบาลออกมาพูดทุกวัน ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลประชาชนที่จะหมกมุ่นเรื่องนี้เรื่องเดียว ออกมาเปิดประเด็นหน้าสื่อมวลชนทุกวัน อย่างนี้คนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม และรอการช่วยเหลือจะรู้สึกอย่างไร แล้วใครที่เดือดร้อนกว่ากัน หรือคิดว่าคนที่น้ำท่วมจะไม่ได้ดูข่าวถึงกล้าทำในเรื่องส่วนตัว เรื่องของญาติพี่น้อง และพรรคพวกของตัวเอง ดังนั้น เป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์และประชาชนต้องร่วมมือกัน

สภาทนายออกโรงรื้อคดีไม่ได้

นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีใหม่ ว่า หลักการสำคัญของพ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 คือ ต้องมีพยานหลักฐานใหม่จริง ที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ผู้ที่เคยถูกพิจารณานั้นไม่มีความผิด ขณะที่จะมีการอ้างผลคำพิพากษาคดีแพ่งว่าสัญญาที่ดินเป็นโมฆะแล้วได้สั่ง คืนเงินซื้อขายนั้น ต้องย้อนดูด้วยว่าคำพิพากษา ของศาลแพ่ง ได้อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาฯที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง แล้วกลับเซ็นเอกสารยินยอมให้คู่สมรสทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่มี หน่วยงานรัฐกำกับดูแล จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 มาตรา 100 และการทำสัญญาซื้อขายจึง ไม่ชอบเพราะเป็นประโยชน์ทับซ้อน ต่อมาจึงต้องมีการดำเนินกระบวนการทางแพ่งเพื่อให้เกิดการเพิกถอนการทำสัญญาที่ ไม่ชอบ ศาลแพ่งจึงพิพากษาว่าสัญญาเป็นโมฆะ ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกันทางคดีอาญา จึงมองได้ว่า ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่

เชื่อมีโอกาสรื้อคดีมีน้อย

ขณะที่หลักการพิจารณาคดีอาญา คือ การกระทำเป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดนั้นเกิดขึ้นและสำเร็จแล้ว ซึ่งการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายป.ป.ช. ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทาง การเมืองก็สำเร็จแล้วตั้งแต่เซ็นเอกสารให้ภริยาทำสัญญาเมื่อปี 2546 การนำผลคดีแพ่งมาหักล้างผลที่เป็นการกระทำทางอาญาที่ศาล ได้มีคำพิพากษาแล้ว

อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายก็เป็นสิทธิ์ยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีได้ แต่ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รื้อฟื้นคดีใหม่ ผลคดีแพ่ง ดังกล่าวไม่ใช่เพราะเป็นการพิจารณาต่อเนื่อง จากคดีอาญาที่มีผลคำพิพากษาถึงที่สุด แล้ว หากจะมียื่นคำร้องจริง ยังต้องรอใช้เวลา พิสูจน์พยานหลักฐานที่หยิบขึ้นมาอ้างว่า เป็น พยานหลักฐานใหม่จริง ตัวอย่าง คดีอาญาฆ่า น.ส.เชอร์รี่ แอน ดันแคน ชัดเจนมากว่าเมื่อจะมีพยานกลับคำให้การ ก็ต้องเริ่มกระบวนพิสูจน์ด้วยว่าคำให้การเดิมเป็นความเท็จ ก็ต้องเริ่มฟ้องคดีให้การเท็จก่อนแล้ว เพราะไม่ใช่บอกว่าจะรื้อฟื้นคดีแล้วอ้างว่ามีพยานหลักฐาน ก็จะทำได้วันนี้ หรือพรุ่งนี้

เมื่อถามว่า มองว่าการหยิบยกประเด็นรื้อฟื้นคดีใหม่ เป็นการอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนการขออภัยโทษ ที่จะไม่ต้องให้รับโทษหรือไม่ นายเจษฎากล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องยอมรับมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แม้การรื้อฟื้นจะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องได้ แต่ศาลท่านเองก็ต้องทำตามกฎหมายอยู่แล้ว ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายบัญญัติให้ถูกต้อง

ครส.ไม่เอานายกฯหุ่นเชิด

เย็นวันเดียวกันกลุ่มเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน (ครส.) นำโดย นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายฯ และผู้ชุมนุม 100 คน ได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณลานพระบรมรูป ร.6 สวนลุมพินี ชูป้ายข้อความ ที่ระบุว่า ห้ามแตะ ม.112 หรือ คนโกงต้องติดคุก ไม่เอานายกฯ หุ่นเชิดŽ

นายบวรอ่านแถลงการณ์ว่า ขณะที่มีกระบวนการล้มสถาบัน เพื่อสถาปนารัฐไทยใหม่ แต่ทางรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงกลับสงบเงียบ ทางครส.เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องออกมาปกป้องสถาบันอย่างเปิดเผย และไม่ประมาทอย่างที่ผ่านมา โดยจะมีการชุมนุมเคลื่อนไหวให้ความรู้ประชาชน ทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.30- 18.30 น.ที่ลานพระบรมรูป ร.6 นายบวรยังกล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ และคนเสื้อแดง ทั้งยืนยันว่าเคลื่อนไหวหนนี้ไม่ได้รับงานมาจากฝ่ายค้าน

ปึ้งลั่นปรองดองเพื่อนบ้าน

ค่ำวันเดียวกัน ที่กระทรวงการ ต่างประเทศ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กล่าวในงานเลี้ยงสังสรรค์พบปะสื่อมวลชนประจำกระทรวงการต่างประเทศ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐบาลจะเดินสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกัมพูชา พม่า ลาว และมาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ติดกับสามจังหวัดชายแดนใต้ พร้อมยืนยันจะไม่สั่งยกเลิกพาสปอร์ตแดงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯเหมือนที่ท่านเคยสั่งยกเลิก พาสปอร์ตแดง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ.


แนวหน้า
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง