บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อสภาฯร้อง"ปู"ถูกเสื้อแดงข่มขู่ส่งอีเมล์ปลุกระดมทำร้ายล่าสุดนักข่าวช่อง 7 ถูกโพสต์ชื่อ-นามสกุล

สื่อสภาฯร้อง"ปู"ถูกเสื้อแดงข่มขู่ส่งอีเมล์ปลุกระดมทำร้ายล่าสุดนักข่าวช่อง 7 ถูกโพสต์ชื่อ-นามสกุล


สื่อ สภาฯร้องนายกฯถูกเสื้อแดงคุกคาม-ส่งอีเมล์ปลุกระดมไม่พอใจทำหน้าที่ ล่าสุดผู้สื่อข่าวช่อง7 ถูกโพสต์ภาพถ่ายชื่อ-นามสกุล พร้อมเรียกร้องคนเสื้อแดง "เห็นที่ไหนให้จัดการ" โฆษกฯพรรคเพื่อไทยยันไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว พร้อมประสานไอซีทีให้ลบข้อความออก
     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(25 ส.ค.) สื่อมวลชนประจำรัฐสภาทำหนังสือเปิดผนึกเรื่อง"ยุติการคุกคามสื่อมวลชน" ยื่นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้แสดงจุดยืนต่อกรณีที่มีสื่อมวลชนถูกคุกคามจากเสื้อแดงบางกลุ่ม โดยมีเนื้อหาระบุว่า
     ขณะนี้มีกลุ่มคนเสื้อแดงบางกลุ่ม ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย แสดงความไม่พอใจการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยเฉพาะนักข่าวภาคสนามที่ติดตามทำข่าวนายกรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
     ล่าสุดได้มีการฟอร์เวิร์ดเมล์ภายในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อ แดง มีข้อความปลุกระดมให้ผู้คนมีความเกลียดชังผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพ บกช่อง 7 รายหนึ่ง ด้วยการโพสต์ภาพถ่ายชื่อ-นามสกุล ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ "เปิดโฉมหน้านักข่าวที่ทำให้นายกฯปูเดินหนี" "จำหน้าหล่อนไว้นะครับ" "เห็นที่ไหนก็จัดการหน่อยก็แล้วกันครับ"
     ดังนั้น กลุ่มนักข่าวภาคสนามเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพ และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งดำเนินการกับขบวนการคุกคามสื่อมวลชนดัง กล่าว เพราะสื่อมวลชนเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการสร้างความปรองดองในสังคม
     ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย(พท.) เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยต่อการกระทำที่เกิดขึ้น กรณีเว็บไซด์ของพรรคเพื่อไทยมีประชาชนเข้ามาโพสต์ข้อความเชิงข่มขู่ผู้สื่อ ข่าวโทรทัศน์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตรวจสอบไปยังผู้ดูแลเว็บไซด์แล้ว พร้อมประสานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อขอให้ลบข้อความดังกล่าวออก แต่คงไม่ดำเนินการรุนแรงถึงขั้นต้องปิดเว็บไซด์

"130 ส.ส.ปชป."ยื่นถอดถอน “สุรพงษ์” ข้อหาช่วย “ทักษิณ” ขัดรธน.-เตือนนักการเมืองอย่าเหลิงอำนาจ!

"130 ส.ส.ปชป."ยื่นถอดถอน “สุรพงษ์” ข้อหาช่วย “ทักษิณ” ขัดรธน.-เตือนนักการเมืองอย่าเหลิงอำนาจ!
130 ส.ส.ปชป.ยื่นถอดถอน “สุรพงษ์”ข้อหาช่วย “ทักษิณ”เข้าญี่ปุ่น-ขัดรธน.  ระบุเตือนสตินักการเมืองอย่าเหลิงอำนาจ-ผิดกฎหมาย
     ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.25 น.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  ได้นำรายชื่อส.ส. 130 คน พร้อมแนบคำร้องถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ ต่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา  โดยนายวิรัตน์ กล่าวว่า การกระทำของนายสุรพงษ์ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 176 ที่ว่าคณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องผ่านสามขั้นตอน คือ โปรดเกล้าเป็นรัฐมนตรี ถวายสัตย์ต่อหน้าพระพักตร์ และแถลงนโยบาย การแถลงนโยบายเกิดขึ้นแล้ว แต่กรณีนี้นายสุรพงษ์ หรือ คณะรัฐมนตรีที่อ้างตามคำแถลงของเลขาธิการ ครม.ญี่ปุ่น คือ ครม.ไทย ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าประเทศ นอกจากไปอนุญาต และขอความช่วยเหลือแล้วพ.ต.ท.ทักษิณได้แถลงนโยบายของรัฐบาลไปก่อนที่รัฐบาล ไทยจะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา
     “ผมได้ฟังนโยบายของรัฐบาลว่าจะยกเลิกการติดตามตัวคนร้ายหรือไม่ แต่ที่ฟังในการแถลงนโยบายไม่พบว่ามีการยกเลิก แสดงว่าเป็นการแถลงเท็จต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งผมพยายามดูว่า รัฐบาลจะยกเลิกนโยบายการติดตามตัวคนร้าย มาลงโทษ เมื่อฝ่ายตุลาการพิพากษาลงโทษ หรือออกหมายจับ ตุลาการไม่มีเครื่องมือ ไม่มีคนติดตาม ต้องให้ฝ่ายบริหารรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ติดตาม ซึ่งทุกรัฐบาลมีหน้าที่ แต่รมว.ต่างประเทศ บอกว่า เขาจะไม่เอานโยบายนี้ แสดงว่าจะเลิกนโยบายการติดตามตัวคนร้ายมาลงโทษ อันนี้เป็นสาระที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อกฎหมาย” นายวิรัตน์ กล่าว
    นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า การถอดถอนต้องใช้เสียงส.ส. 1ใน 4 หรือ 125คนแต่การยื่นครั้งนี้ได้มีส.ส.ลงชื่อ130 คนแล้วเป็นในส่วนของพรรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ เช่น พรรคภูมิใจไทย ระบุว่าต้องนำความเห็นเข้าสู่ที่ประชุมพรรคก่อน ทั้งนี้กังวลว่าจะช้า จึวนำมายื่นก่อน จึงยื่นให้ทางวุฒิสภาตรวจสอบ เป็นกระบวนการที่ชี้ให้ประชาชนเห็นว่า รัฐาธิปัตย์ หรือผู้ที่มีอำนาจ ไม่อยู่ในระเบียบหรือรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมสาย บ้านเมืองเสียหาย ส่วนระยะเวลาตรวจสอบหรือไต่สวนจะนานหรือไม่ ขึ้นกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งหาก ป.ป.ช.ตรวจสอบพบว่ามีมูล จะส่งเรื่องมายังวุฒิสภา เพื่อใช้เสียง 3ใน 5 แต่อย่างน้อยเป็นการเตือนสติว่านักการเมืองอย่าเหลิง อย่าทำอะไรผิดกฎหมาย หรือผิดต่อรัฐธรรมนูญ
     ด้านพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ทางวุฒิสภาจะใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อเป็นเวลา 30 วันเบื้องต้นคาดว่าไม่มีปัญหา เพราะทางสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งหากตรวจสอบแล้วไม่พบปัญหาก็จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ไต่สวนต่อไป

โยกย้ายตุลาการชั้น 4 พรึ่บ 124 ตำแหน่ง ตั้ง “ชัยวัฒน์” นั่งแท่นประธานศาลอุทธรณ์



      
เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) ออกประกาศบัญชีโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการชั้น 4 ระดับประธานศาลอุทธรณ์, หัวหน้าคณะศาลฎีกา, อธิบดีศาลชั้นต้น รวม 124 ตำแหน่ง หลังการประชุมกต.  โดยมีนายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาลงมติเห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย และสับเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการตุลาการ ซึ่งคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 54 โดยมีตำแหน่งสำคัญดังนี้

  1. นายชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7เป็นประ ธานศาลอุทธรณ์ 
  2. นางนุจรินทร์ จันทร์รายศรี อธิบดีผู้พิพากษาภาค5 เป็นรองประธานศาลอุทธรณ์
  3. นายแรงรณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์  ประธานแผนกคดีผู้บริโภคฯ ศาลอุทธรณ์ เป็นรองประธานศาลอุทธรณ์
  4. นายวรงค์พร จิระภาค ประธานแผนกคดีเยาวชนฯ ศาลอุทธรณ์ภาค1 เป็นรองประธานศาลอุทธรณ์
  5. นายประเสริฐ โอนพรัตน์วิบูล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
  6. นายชีพ จุลมนต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3
  7. นางนวลน้อย ผลทวี ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4
  8. นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6
  9. นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
  10. นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8
  11. นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9

ส่วนระดับอธิบดีศาลชั้นต้นมีตำแหน่งมีการแต่งตั้งโยกย้ายเช่น  นายประพาฬ อนุมาน รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้,นางวีรา ไวยหงส์   รินทร์ศรี  ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง, นายสุพจน์ แสงประชากุล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาล ฎีกา เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ธนบุรี, นายจิรนิติ หะวานนท์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ศาลอุทธรณ์ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, นายอดิเทพ ถิระวัฒน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง และนายภัทรศักดิ์ วรรณแสง หัวหน้าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประ จำสำนักประธานศาลฎีกา เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและนาย รังสรรค์ ดวงพัตรา หัวหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นประธานแผนกคดีเลือกตั้งฯ ศาลอุทธรณ์  นอกจากนี้ ยังมีมติแต่งตั้งนายอำพันธ์ สมบัติสถาพรกุล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ขึ้นเป็น เลขานุการศาลฎีกา พร้อมทั้งปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการรุ่นที่ 52จำนวน 127 คน จากชั้น 2 ขั้น 40,890 บาท เลื่อนขึ้นรับชั้น 2ขั้น 48,200 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.เป็นต้นไป


แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  และสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

เสื้อแดงรุมตื๊บ 2 โจ๋ วางหรีดให้ “ขุนค้อน”






คนเสื้อแดงมีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ยอมรับได้ทุกความเห็น ความต่าง แต่ถ้าเห็นจะๆ แบบนี้ ก็.................!!!!!!!!!!!!

ทวงคืน ปตท.

ฟ้อง ปตท.ฉ้อฉล ปล้นประชาชน-สมบัติแผ่นดินกลางแดด

       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจ่อฟ้อง ปตท. ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล บรรยายฟ้องเผยกลเม็ดยักษ์ใหญ่พลังงานสูบเลือดประชาชนเอื้อประโยชน์ธุรกิจใน เครืออย่างเลือดเย็น พร้อมขอศาลบังคับกระทรวงคลังทำหน้าที่ทวงคืนสมบัติชาติตามคำสั่งศาลปกครอง สูงสุด
    
       ในที่สุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมพวก ก็ได้เตรียมยื่นฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
    
       “เราได้ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานและหาผู้ฟ้องคดีร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการกระจายหุ้นของ ปตท. ตอนนี้เราพร้อมที่จะยื่นฟ้องแล้ว” นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องคดี กล่าว
    
       การฟ้องคดีครั้งนี้ของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและพวก มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ 2) ขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล และ 3) ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ
    
       ในคำขอให้การกระทำที่ขัดต่อประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะนั้น ตาม คำฟ้องได้อ้างอิงผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีรายการการพิจารณาศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคแรก ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 26 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 4 พ.ค. 2553 มีมติเห็นด้วย และรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องเดียวกัน ภาคสอง (พฤษภาคม 2552 - ธันวาคม 2553)
    
       รายงานทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้ตรวจสอบธรรมาภิบาลในกิจการก๊าซธรรมชาติ กรณีการปรับอัตราค่าบริการผ่านก๊าซธรรมชาติของ ปตท. กรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานของรัฐกับการเข้าไปดำรงตำแหน่ง ในบริษัท ปตท. และบริษัทในเครือ กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการรายได้ของทรัพยากรปิโตรเลียม การทับซ้อนในผลประโยชน์ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กับกองทุนน้ำมัน และการปรับคุณภาพก๊าซเอ็นจีวีของปตท. รวมทั้งราคาน้ำมันที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรม ซึ่งผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงความฉ้อฉลที่เอื้อประโยชน์ให้ ปตท. โดยโยนภาระมาให้กับประชาชน (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
    
       ส่วนประเด็นการขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล ถือ เป็นประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นการกระทำที่เป็นเหตุแห่ง “โมฆะกรรม” ของการขายหุ้น ปตท. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2544 ว่า มีการแย่งชิงหุ้นของรัฐและประชาชนโดยฉ้อฉล โดยมีการยื่นแบบและรับจองหุ้นก่อนเวลา 9.30 น. ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการรับจองหุ้นตามหนังสือชี้ชวน จำนวน 863 ราย ซึ่งกรณีนี้ ปตท.ได้รับทราบผลการสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนม.ค. 2545 แล้วว่าผู้จองหุ้นรายย่อยจำนวน 859 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้จองซื้อหุ้น จำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันกระทำการฉ้อฉล ปตท. ชอบที่จะบอกล้างโมยกรรมดังกล่าว แต่ ปตท. กลับเพิกเฉย ทั้งยังยืนยันว่าผู้จองซื้อโดยฉ้อฉลเหล่านั้นเป็นผู้ถือหุ้นของ ปตท.
    
       นอกจากนี้ ยังมีการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่กำหนดให้ผู้ซื้อรายย่อยทุกรายมี สิทธิ์ยื่นจองได้เพียง 1 ใบ เท่านั้น (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
    
       ส่วนประเด็นทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการต่อหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ให้ปตท., นายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพลังงาน. แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของ ปตท.
    
       แต่อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกอำนาจและสิทธิรวมทั้งสาธารณ สมบัติของแผ่นดินกระทั่งถึงวันนี้ยังไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ประเมินมูลค่าระบบท่อก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ราคา 52,393.50 ล้านบาท แต่ ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 16,176.22 ล้านบาท ยังขาดอีก 36,217.27 ล้านบาท โดยเป็นราคาท่อก๊าซบนบกและในทะเล มูลค่า 32,613.45 ล้านบาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3,603.83 ล้านบาท ซึ่งรายละเอียดปรากฏตามรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เฉพาะเรื่องการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกให้ กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
    
       สำหรับคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก ฟ้อง ปตท. ก่อนหน้านี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาเพื่อแปรรูป ปตท. แม้ศาลปกครองสูงสุดจะพิเคราะห์ว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท.จำกัด (มหาชน) บางส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพของปตท.ล่วงเลยขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกาฯ และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือผู้ลงทุนในหุ้นปตท.จำนวนมาก
    
       ศาลเห็นว่า การเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และมีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการออกพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีเพียง 3 วัน


การแปรรูป บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อ พ.ศ. 2544 เป็นตำนานของการฉ้อฉลเชิงนโยบายในวงการเมืองไทยยุคใหม่เพราะมีมูลค่าผล ประโยชน์เกี่ยวข้องหลักหมื่นล้านบาท ผลจากการแปรรูปกระจายหุ้นให้เอกชนถือครองในครั้งนั้น มีการทุจริต ไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาลขนาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยอมรับว่าผิดปกติจริง
   
       นี่คือจุดแรกเริ่มของการเปิดยุคใหม่ให้กับองค์กรพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยนามว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จากเดิมที่เป็นองค์กรของรัฐกลายมาเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ที่สวม หน้ากากรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรหลักแสนล้านบาทต่อปี แต่ไม่สามารถเปิดเผยให้สาธารณะรับรู้ได้ว่าเอกชนผู้รับปันผลประโยชน์ตัวจริง คือใคร กลุ่มใดบ้าง เพราะเทคนิคการถือครองผ่านตัวแทนและบริษัทเอกชนหลายชั้น
   
       ปตท.กระจายหุ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รวม 800 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 35 บาท (ปัจจุบันประมาณ 260 บาท) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น
   
       กลุ่มแรก - หุ้นผู้มีอุปการคุณ 25 ล้านหุ้น ซึ่งกรรมการ ปตท.สามารถตัดสินใจที่จะให้ใครก็ได้ในนามของผู้มีอุปการะคุณคำถามตัวโตๆ ก็คือ หุ้น ปตท.ตีค่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวมไม่ใช่หุ้นบริษัทเอกชนที่เจ้าของนึกพิศวาส ใครก็ยกให้ได้ในราคาถูก ถ้า ปตท.ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจจะไม่มีคำครหาใดๆ สำหรับประเด็นนี้ มูลค่าส่วนต่างของผู้ที่ได้หุ้นกลุ่มนี้ ถ้าคิดจาก 260-35= 225 บาท/หุ้น จะเป็นเม็ดเงินถึง 5,625 ล้านบาทซึ่งบรรดาผู้มีอุปการะคุณใครก็ไม่รู้ได้ไปสบายๆ จากกิจการที่เป็นทรัพย์สมบัติชาติ
   
       นี่เป็นความไม่ชอบประการแรกในการกระจายหุ้นครั้งนั้น และที่สำคัญสังคมไทยยังไม่เคยทราบข้อมูลจาก ปตท.เลยว่าบรรดาผู้มีอุปการะคุณที่ได้รับแจกหุ้นไปมีใครบ้างและได้ไปคนละ เท่าไหร่ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นธรรมาภิบาลพื้นฐาน
   
       กลุ่มที่สอง หุ้นขายให้ผู้ลงทุนต่างประเทศ 320 ล้านหุ้น มูลค่าส่วนต่างประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาทไม่นับรวมเงินปันผลและสิทธิอื่นๆ หุ้นกลุ่มนี้เชื่อว่ามีฝรั่งหัวดำที่เป็นคนไทยและทุนไทยโดยเฉพาะทุนการเมือง คว้าไปโดยจนบัดนี้ก็ไม่เคยปรากฏจะสืบสาวได้ต่อ
   
       กลุ่มที่สาม เป็นหุ้นสำหรับบุคคลทั่วไปในประเทศ 235 ล้านหุ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเล่นหุ้นที่มีบัญชีกับโบรกเกอร์อยู่แล้ว
   
       กลุ่มที่สี่ หุ้นที่จัดสรรให้ผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้น กลุ่มนี้ ปตท.อ้างว่าสำหรับประชาชนทั่วไปที่พอมีเงินเก็บอยากลงทุนระยะยาว อยู่ตามต่างจังหวัดแท้จริงแล้วก็คือหุ้นแต่งหน้าเค้กที่สร้างภาพลักษณ์ของ การกระจายไปสู่รายย่อยจริงๆ ตบตาว่าการแปรรูปครั้งนี้กว้างขวางและลึกไปถึงมือคนไทยอย่างหลากหลาย
   
       การกระจายหุ้นในทุกกลุ่มมีปัญหาก่อให้เกิดคำถามตามมาในทุกกลุ่ม
   
       สำหรับความไม่ชอบมาพากลเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นส่วนตัวของเครือข่ายนักการเมือง และนักการพลังงาน กลุ่มแรกที่จะนำเสนอ คือ หุ้นแต่งหน้าเค้ก หรือหุ้นกลุ่มที่ 4 ซึ่งจัดสรรให้ผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้นเพราะการจัดสรรรอบดังกล่าวอยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชน จำนวนมาก
   
       หุ้นที่จัดสรรให้กับรายย่อย 220 ล้านหุ้น (ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังจัดสรรเพิ่มให้อีก 120 ล้านหุ้นรวมแล้วที่จัดสรรผ่านรายย่อยจำนวน 340 ล้านหุ้น) มีเงื่อนไขว่า ลูกค้าผู้สนใจต้องไปจองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นแม่ข่ายศูนย์ข้อมูลรับจองซื้อหุ้นจากสาขาธนาคาร ต่างๆ ทั่วประเทศ
   
       ความผิดปกติของการฮุบหุ้นเกิดจากมีการประกาศล่วงหน้าว่า เงื่อนไขของการจองครั้งนี้มีเพดานจำกัดปรากฏในหนังสือชี้ชวนเขียนว่า “ผู้จองซื้อรายย่อยจะต้องจองซื้อขั้นต่ำจำนวน 1,000 หุ้น และจะต้องเป็นทวีคูณของ 100 หุ้นแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 100,000 หุ้นต่อใบจองซื้อ”
   
       แปลความเป็นภาษาที่ประชาชนทั่วไปรับรู้คือ แต่ละคนห้ามซื้อเกิน 1 แสนหุ้น
   
       ปตท.พยายามจะบอกกับสาธารณะว่า การกระจายหุ้นครั้งนี้ต้องการให้ประชาชนคนไทยรายย่อยในต่างจังหวัดได้หุ้น กระจายไปถ้วนทั่วถึงขนาดที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้นเปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “เพื่อให้สามารถกระจายหุ้นไปสู่ประชาชนผู้สนใจได้จำนวนมาก จึงได้มีการ ปรับลดยอดการสั่งจองหุ้นต่อ 1 ใบจองจากเดิม สามารถจองได้ตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 หุ้น มาเป็นตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 100,000 หุ้น ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการสั่งจองหุ้น ปตท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บริษัทฯ จึงได้วางมาตรการอย่างรัดกุมให้การแจกใบจองหุ้นพร้อมเอกสารและขั้นตอนการจอง หุ้นมี ความสมบูรณ์ ครบถ้วนและพร้อมเพรียงกันทุกสาขาธนาคารทั่วประเทศ” (ผู้จัดการรายวัน 9 พ.ย. 2544)
   
       เมื่อถึงกำหนดซื้อขายจริงปรากฏว่าการขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2544 หมดเกลี้ยงในพริบตาหุ้นล็อตแรก 220 ล้านหุ้นหมดใน 1.25 นาที!! จากนั้นหุ้นเพิ่มเติมที่กระทรวงการคลังตัดมาให้อีก 120 ล้านหุ้นก็หมดไปด้วยอย่างรวดเร็ว 340 ล้านหุ้นรวมแล้วขายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 4.4 นาทีเท่านั้น
   
       ข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจบางฉบับรายงานว่า บางธนาคารผู้ลงทุนรายย่อยบางคนยังไม่ทันกรอกรายละเอียดในใบจองเลยหุ้นก็หมดแล้ว
   
       เรื่องร้อนๆ ที่เป็นผลประโยชน์ติดมือแบบนี้เลี่ยงไม่พ้นการตรวจสอบเพราะต่อจากนั้นมี รายงานว่าผู้จองหุ้นบางรายได้เกินจากเงื่อนไขที่ประกาศไว้ 1 แสนหุ้น บางคนได้ไปหลายแสนหุ้นขณะที่บางคนได้จัดสรรไปถึงล้านหุ้นก็มี
   
       ในที่สุดมีการร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จำเป็นต้องตั้งกรรมการตรวจสอบการกระจายหุ้นซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกับธนาคารอีก 4 แห่ง ในที่สุดผลการตรวจสอบก็ออกมาเมื่อมกราคม 2545 ผลสอบระบุว่า การจัดสรรหุ้นครั้งนั้น “ผิดปกติจริง” เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า web server ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อชี้ชวน
   
       ลูกเล่นของธนาคาร คือ สามารถกรอกรายการล่วงหน้าแล้วรอกดปุ่มรอบเดียวชื่อที่ล็อกไว้ก็จะเข้าไปใน บัญชีรายการจองได้เร็วกว่าคนอื่น นำมาสู่มติของ ก.ล.ต.ที่ลงโทษธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยการพักการเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศ เป็นเวลา 6 เดือน
   
       การสั่งสอบของ ก.ล.ต.ดูเผินๆ เหมือนจะธำรงความยุติธรรมให้กับสังคมโดยเฉพาะประชาชนรายย่อยแต่แท้จริง แล้วกลับไม่มีผลใดๆ เลยเพราะมีแค่ลงโทษด้วยการไม่ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ต้องขายหุ้นในประเทศแค่ 6 เดือนแต่ไม่ได้สั่งให้เปลี่ยนแปลงสิทธิ์การถือครองและก็ไม่สืบสาวราวเรื่อง ใดๆ ต่อปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปโดยมีผู้รับบาปถูกลงโทษแบบจิ๊บจ๊อยอย่างเสียไม่ ได้
   
       การกระจายหุ้นกลุ่มที่ 4 หรือผู้จองซื้อรายย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้นที่มีหลักฐานความผิดปกติยืนยันเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่ โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เพราะการกระจายหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ก็มีความฉ้อฉลไม่ได้กระจายสู่ตลาดเสรีตามปกติ นี่คือต้นทางของการฮุบผลประโยชน์จากองค์กรการพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยนโยบายการเมืองไปเป็นของตนและพวกพ้องนำมาสู่การบริหารกิจการพลังงาน เพื่อนายทุนนักการเมืองและพวกพ้องแทนที่จะเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและ ประชาชนส่วนรวมในเวลาต่อมา
       การกระจายหุ้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้ง 800 ล้านหุ้น เมื่อปี 2544 ในนามของการแปรรูปนั้นมีปัญหาความไม่ชอบมาพากลทุกกลุ่ม
   
       หุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ โดยหลักการแล้วหากจะขายจึงควรขายให้แก่คนไทยโดยเท่าเทียมกันก่อน หากเหลือจึงจะขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้ แต่เพื่อที่จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของชาติและประชาชน คณะกรรมการแปรรูปฯ กำหนดสัดส่วนให้ขายแก่นักลงทุนรายย่อยเพียง 220 ล้านหุ้น ขายในราคาพาร์ให้แก่ผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น ขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันไทย จำนวน 235 ล้านหุ้น แต่ขายให้นิติบุคคลต่างประเทศ จำนวนมากที่สุด และสามารถแอบแฝงเข้าถือครองได้ง่ายที่สุดจำนวน 320 ล้านหุ้น
   
       นี่คือ เทคนิคการฉ้อฉลชั้นเซียน เปรียบเสมือน “ล็อกสเปกไว้ล่วงหน้า” เพราะ การกำหนดเช่นนี้คือการวางเงื่อนไขระเบียบวิธีการและกำหนดเพื่อบุคคลเข้าแย่ง ชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในนามของการจัดสรรเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายให้นิติบุคคลต่างประเทศเพราะอยู่นอกเหนือกลไกการ ตรวจสอบใดๆ ของรัฐและอยู่ในรูปของการถือหุ้นในฐานะตัวแทนเชิด (Nominee) ได้
   
       วงการเชื่อกันว่า นักการเมืองไทยได้ครอบครองหุ้นของ ปตท.ด้วยสัดส่วนสูงมาก ผ่านหุ้นกลุ่มที่จัดขายให้นิติบุคคลต่างประเทศจำนวนมาก 320 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นการง่ายดายมากที่นักการเมืองไทยจะถือหุ้นผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ หรือที่วงการหุ้นเรียกขานว่า “ฝรั่งหัวดำ” นี่เป็นความลับ ดำมืดมายาวนานเกือบ 10 ปี ว่ามีฝรั่งหัวดำถือครองหุ้น ปตท.มากน้อยเพียงใด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงได้ร้องขอศาลปกครองเพื่อจัดการให้ความลับดำกล่าว คลี่คลายออกมาโดยบรรยายคำฟ้องว่า
   
       “มีบุคคลในรัฐบาลบางคนได้มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) เข้าไปทำสัญญาจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย ป.ป.ช. และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย ผู้ฟ้องคดีจึงประสงค์จะขอให้ศาลเรียกบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเหล่านี้จากผู้ ถูกฟ้องคดีที่ 1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และเรียกผู้ถือหุ้นต่างประเทศเหล่านี้เข้ามาในคดี และพิสูจน์ที่มาของเงินที่นำมาซื้อหุ้น ตัวตนของผู้ถือหุ้นที่แท้จริง รวมทั้งเงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศเหล่า นี้ว่า ได้โอนจากบัญชีของนิติบุคคลเหล่านั้นเข้าบัญชีของผู้ใด เพื่อตรวจสอบว่ามีหุ้นที่จำหน่ายให้แก่บุคคลโดยผิดกฎหมาย ป.ป.ช.จำนวนเท่าใด”
   
       นอกจากนั้น ความไม่ชอบมาพากลทั้งหลายปวงนอกเหนือจากหุ้นจัดสรรให้นักลงทุนต่างประเทศ กับหุ้นที่จัดสรรให้กับรายย่อยผ่านธนาคาร 220 ล้านหุ้น ซึ่งขายหมดในพริบตาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหุ้นกลุ่มที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสที่น่าเกลียดมากที่สุด อีกกลุ่ม..นั่นก็คือ หุ้นผู้มีอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น
   
       สำหรับบริษัทห้างร้านทั่วไปที่เป็นของเอกชน การที่เถ้าแก่เจ้าของกิจการจะมอบหุ้นราคาพิเศษให้กับแขกผู้ใหญ่คู่ค้าเก่า แก่ หรือคนสนิทในนามหุ้นผู้มีอุปการคุณ สามารถกระทำได้เพราะสินทรัพย์และผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นของเอกชน แต่สำหรับกิจการที่เป็นของรัฐอย่างบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เงินทุนที่ลงไปก้อนหน้าล้วนมาจากภาษีประชาชนข้อเท็จจริงคือในขณะนั้นกระทรวง การคลังถือหุ้น 100% ย่อมต้องถือว่าหุ้นทุกหุ้นเป็นสมบัติส่วนรวมของชาติ
   
       มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ได้เตรียมยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในประเด็นหุ้นผู้มีอุปการคุณด้วย โดยบรรยายคำฟ้องว่ามีการกำหนดให้บุคคลบางกลุ่มที่คณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เห็นชอบให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง จำนวน 25 ล้านหุ้นได้ในราคาพาร์ (10 บาทต่อหุ้น) ซึ่งต่ำกว่าราคาเปิดจองและต่ำกว่าราคาสินทรัพย์ต่อหุ้นที่แท้จริงของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดสามารถให้หุ้นอุปการคุณในราคาพาร์ได้ ซึ่งความจริงแล้วคณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคณะรัฐมนตรีไม่มีสิทธิกระทำเช่นว่านั้นได้ เพราะผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินของบริษัทส่วนตัวชอบที่จะขายใครใน ราคาเท่าใดก็ได้
   
       มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในคำฟ้องว่า คณะกรรมการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และคณะรัฐมนตรีมิใช่เจ้าของบริษัทฯ ดังนั้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงไม่มีอำนาจที่จะขายหุ้นซึ่งไม่ใช่ของตนให้แก่ผู้ใดในราคาตามใจชอบได้ เพราะหุ้นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นของรัฐ และประชาชนจึงต้องทำไปตามขอบเขตและบทบัญญัติของกฎหมาย ด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น คือจะต้องขายตามราคาตลาดที่แท้จริง
   
       โดยสรุปก็คือ การขายหุ้นในราคาพาร์จำนวน 25 ล้านหุ้น จึงเป็นการขายโดยไม่โปร่งใสไม่เป็นธรรม ขาดหลักธรรมาภิบาลและไม่อาจตรวจสอบได้ เพราะ ปตท.ไม่ยอมเปิดเผยว่าผู้ใดได้หุ้นอุปการคุณไปจำนวนเท่าใด และบรรดาผู้ได้หุ้นอุปการคุณไปนั้นได้มีอุปการคุณอย่างใดต่อบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
   
       การตรวจสอบทางการข่าวพบว่า ในห้วงเวลาที่กำลังมีการกระจายหุ้น ปตท. ได้มีข้อเสนอเชิญชวนระหว่างบุคคลใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บริหารของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้รับคำสอบถามว่าต้องการหุ้น ปตท.หรือไม่? ต่อมาก็ได้รับจัดสรรในบัญชีรายชื่อผู้มีอุปการคุณ หาได้มีระเบียบเงื่อนไขกำหนดชัดเจนว่า “ผู้มีอุปการคุณ” มีองค์ประกอบหรือต้องมีคุณสมบัติเช่นไรจึงเข้าข่ายได้รับสิทธิพิเศษกว่าคนทั่วไป
   
       สมมติหากมีผู้มีอุปการคุณคนหนึ่งได้รับจัดสรรไป 5 หมื่นหุ้นๆ ละ 10 บาท (ราคาพาร์) เขาจ่ายเงินต้นทุนไป 5 เพียงแสนบาทรอจังหวะราคาหุ้นขึ้นแตะ 300 บาท เท่ากับหุ้นที่เขาถือมีมูลค่าถึง 15 ล้านบาททันที - ช่างเป็นการลงทุนด้วยวิธีพิเศษที่ได้ผลงดงามยิ่ง!
   
       ในช่วงปลายปี 2544 ต่อเนื่อง 2545 อันเป็นห้วงเวลาที่สื่อมวลชน พรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์กำลังให้ความสนใจการขาย หุ้นปตท.ที่ไม่โปร่งใส มีการเปิดเผยชื่อญาติพี่น้องคนนามสกุลเดียวกับนักการเมืองขึ้นมาจำนวนหนึ่ง คำถามในช่วงแรกคือเหตุใดคนเหล่านี้จึงครอบครองหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มากเป็นหลักหลายแสนหลักล้านหุ้นมีการใช้เส้นสายล็อกหุ้นแย่งชิงมาจาก ประชาชนรายย่อยที่ต้องต่อคิวซื้อจากเคาน์เตอร์ธนาคารหรือไม่? ปรากฏว่ามีคำพยายามอธิบายจากผู้บริหารบริษัท ปตท.ว่า ผู้ถือครองหุ้นชื่อดังบางคนได้รับจัดสรรจากหลายๆ ช่องทางเช่นได้ครอบครองทั้งหุ้นผู้มีอุปการคุณและหุ้นนักลงทุนทั่วไปซึ่งมี บัญชีเปิดกับโบรกเกอร์อยู่ก่อน ดังนั้นเขาจึงมีหุ้นมาก แท้จริงมิได้ผิดปกติแต่อย่างใด
   
       คำอธิบายดังกล่าวของผู้ บริหาร ปตท.ฟังเผินๆ เหมือนจะเป็นธรรม แต่แท้จริงแล้วยิ่งสะท้อนชัดขึ้นว่า ญาติพี่น้องตระกูลดังใกล้ชิดนักการเมืองก็ได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณด้วย เช่นกัน มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงร้องศาลปกครอง ขอให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้น และขอให้ศาลได้โปรดเพิกถอนหุ้นอุปการคุณจำนวน 25 ล้านหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้เป็นของกระทรวงการคลังเช่นเดิม


แท้จริงแล้วการกระจายหุ้น ปตท.โดยมิชอบนั้น มีหลักฐานยืนยันความผิดปกติมานานแล้ว หากแต่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริหาร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และฝ่ายการเมืองกลับไม่นำพา จึงทำให้เหตุการณ์ฉ้อฉล “ปล้นสิทธิ” ที่ประชาชนทั่วไปควรจะได้กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไป
   
       หลักฐานมัดบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่าขาดความโปร่งใส ไม่ดำเนินตามธรรมาภิบาล และยังเป็นเครื่องมัดว่ามีการสมคบกันปล้นเอาสิทธิที่ควรได้ของประชาชนไปจาก การกระจายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ นั่นก็คือ “หนังสือชี้ชวน” การกระจายหุ้นซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
   
       หนังสือชี้ชวนฉบับดังกล่าวถือเป็น “เอกสารมหาชน” และ เป็นสัญญาประชาคมของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ให้ไว้แก่ประชาชนตลอดถึงผู้จองซื้อรายย่อยทุกคน เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นสาระสำคัญที่จะต้องได้รับการปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดแต่เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
   
       หนังสือชี้ชวน บ่งบอกชัดเจนบอกถึงวิธีจัดสรรหุ้นดังนี้ คือ ผู้จัดการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย (ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารอื่นๆ) จะใช้หลักการจัดสรรให้ผู้จองซื้อก่อนจ่ายเงินก่อนมีสิทธิ์ได้รับจัดสรรก่อน (First Come Fist Serve) โดยข้อมูลการจองซื้อนั้นจะต้องปรากฏที่ศูนย์กลางข้อมูลที่ผ่านตัวแทนจำหน่าย หุ้น (ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งสิทธิ์นี้บังคับใช้กับผู้จองซื้อรายย่อยทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
   
       ข้อความต่อไปในหนังสือชี้ชวน ลงรายละเอียดเงื่อนไขขั้นตอนการจองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และรัดกุมมาก เช่นกล่าวว่า โดยผู้จองซื้อจะต้องกรอกรายละเอียดการจองซื้อในใบจองซื้อหุ้นสีน้ำเงินให้ ถูกต้องครบถ้วนชัดเจน พร้อมลงลายมือชื่อ/ผู้จองซื้อหนึ่งรายสามารถยื่นใบจองซื้อได้ครั้งละหนึ่งใบ จองเท่านั้นและจะต้องชำระเงินค่าจองซื้อครั้งเดียวเต็มจำนวนที่จองซื้อ ณ วันจองซื้อที่ราคา 35 บาทต่อหุ้น/ผู้จองซื้อจะต้องเข้าแถวตามวิธีการหรือรูปแบบที่ตัวแทนจำหน่าย หุ้นได้จัดเตรียมไว้ในแต่ละสถานที่/เจ้าหน้าที่ที่รับใบจองซื้อหุ้นจะทำการ เรียกผู้ประสงค์จองซื้อเพื่อดำเนินการจองซื้อตามลำดับ/โดยในการจองซื้อเจ้า หน้าที่ที่รับจองซื้อหุ้นจะลงลำดับเลขที่ในการจองซื้อลงในใบจองซื้อหุ้นทุก ใบและลงลายมือชื่อรับจองเพื่อเป็นหลักฐานในการจองหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อ/ฯลฯ และวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนโดยเคร่งครัด และตัวแทนจำหน่ายหุ้นจะปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนจำหน่ายหุ้นให้ถูกต้องและชอบ ธรรมด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม เพื่อให้ผู้จองซื้อได้รับความสะดวกในการจองซื้อหุ้น และมีโอกาสจองซื้อหุ้นได้โดยเท่าเทียมกัน
   
       แต่ในความเป็นจริง เงื่อนไขรายละเอียดตามหนังสือชี้ชวนซึ่งเป็นเอกสารสัญญามหาชน กลับถูกฉีกทิ้ง
   
       กรณีความผิดปกติดังกล่าวถูกรายงานโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ระบุว่า มีผู้จองซื้อหุ้นรายย่อยจำนวน 854 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมีผู้จองซื้อหุ้นรายย่อยจำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งธนาคารทั้งสองบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนรับจองซื้อหุ้นรายย่อยจากประชาชนทั่วไป การฉ้อฉลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้จองซื้อหุ้นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มนั้นได้เปรียบผู้จองซื้อรายอื่น
   
       แทนที่จะทำเรื่องง่ายๆ แก้ปัญหาที่เกิดโดยพลัน แต่ผู้บริหารของ ปตท.กลับไม่ทำ! อาจเพราะว่าไม่อยากให้เหตุการณ์ที่สังคมจับตาลุกลามบานปลายออกหรือกระไรไม่ สามารถทราบได้ แต่ที่สุดแล้วผู้บริหารของ ปตท.กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีการดำเนินการละเมิดเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนที่ตนกำหนดขึ้น
   
       เอกสารบรรยายคำฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กล่าวโทษบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้ว่า “บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้จองซื้อรายอื่น” เนื่องจากว่า ปตท.ควรจะปฏิเสธไม่สนองรับจองหุ้นที่กระทำโดยฉ้อฉลดังกล่าวยิ่งมื่อทราบว่า การจองซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นไปโดยกลฉ้อฉลก็ชอบที่จะใช้สิทธิ์บอกล้าง โมฆียกรรมดังกล่าว แต่ผู้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หาได้กระทำเช่นว่านั้นไม่
   
       เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีผู้จองจำนวน 863 ราย กระทำไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข แต่กลับสวนทางโดยการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยกลุ่มดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันใบจองซื้อที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนที่ กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่ตนเองเป็นผู้ประกาศไว้
   
       หลักฐานชุดต่อมา ในคำฟ้องได้พบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขที่ระบุหนังสือชี้ชวนอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือมีผู้ยื่นใบจองมากกว่า 1 ใบจองจำนวน 428 รายรวมแล้วมากถึง 67,357,600 หุ้น ผู้จองทั้ง 428 รายทำผิดเงื่อนไขและเอาเปรียบผู้จองรายอื่นๆ โดยตรง แต่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทราบเรื่องแล้วก็ยังเพิกเฉย ทั้งๆ ที่ควรปฏิเสธการจองซื้อที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนแถมยังได้ออก ใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยจำนวน 428 ราย ดังกล่าวอีกต่างหาก
   
       ลักษณะการกระทำผิดของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้งสองกรณีคล้ายคลึงกัน คือ เมื่อพบการกระทำผิดเงื่อนไขการจองซื้อ ทั้งเรื่องการใช้เทคนิคเอาเปรียบก่อนเวลาและการสั่งจองมากกว่าสิทธิที่คน อื่นๆ ได้รับ แต่ ปตท.ก็ยังแสร้งทำไม่รู้เห็นปล่อยให้เรื่องราวฉ้อฉลเงียบหาย และให้ผู้ที่ผิดเงื่อนไขได้ประโยชน์ไป
   
       ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจึงฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้หุ้นของผู้จองซื้อ ก่อนเวลา 09.30 น.ของวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 จำนวน 863 ราย และผู้ยื่นจองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ดังกล่าวข้างต้นกลับคืนเป็นของกระทรวงการคลังต่อไป พร้อมๆ กับคำฟ้องในประเด็นอื่นอีกหลายประเด็นที่จะกล่าวถึง

ารแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” เป็นแนวคิดแบบเสรีนิยมที่เป็นกระแสมาก่อนหน้ารัฐบาลไทยรักไทยเข้าบริหารประเทศ แต่การ แปรรูป ปตท. ไปเป็นบริษัทมหาชนนั้นหาได้อิงตามแนวคิดการแปรรูปแบบเสรีนิยมเลยแม้แต่น้อย
   
       การทำความเข้าใจการเปลี่ยนสภาพจากองค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลแปรรูป ไปเป็นกึ่งเอกชนดังกล่าวต้องเข้าใจสถานะของ ปตท.เสียก่อนว่า รัฐได้ตรา พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ก็เพื่อที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจปิโตรเลียมอันเป็นกิจการอุตสาหกรรมด้าน สาธารณูปโภคที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน อีกทั้งเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลในธุรกิจพลังงานที่มีผู้ประกอบธุรกิจอยู่น้อย รายและส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ
   
       ปตท.ในอดีตยังมีบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งในตลาดพลังงาน ทำให้ราคาน้ำมันให้เกิดความเป็นธรรมโดยไม่ปรับราคาเพิ่มโดยรวดเร็วนัก จึงเป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นมากในยามที่ ราคาน้ำมันผันผวน ยังมีผลทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติไม่ค้ากำไรเกินควรจากการปรับราคาขึ้นจนสูง กว่าราคาน้ำมันของ ปตท. เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลง การกระทำทั้งหมดนี้ ปตท.ยังคงสามารถมีกำไรได้ตามสมควรเพราะยังเป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีส่วนแบ่งการ ตลาดสูงสุดและอยู่ในฐานะเจ้าตลาด (Market leader)
   
       ปตท.ได้รับสิทธิประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจยิ่งกว่ากิจการของเอกชน ทั่วไป ทำให้การสามารถเจริญเติบโตต่อเนื่องในธุรกิจค่อนข้างผูกขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจต้นน้ำ เช่น ฐานขุดเจาะน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมัน และมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น โรงงานอะโรมาติกส์ โรงงานปิโตรเคมี และอื่นๆ อุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีผู้ประกอบการน้อยรายและใช้เงินลงทุนสูงโดยธรรมชาติ ของธุรกิจแล้ว ผู้ที่ลงทุนตลอดสายนับจากฐานขุดเจาะน้ำมันจนถึงโรงงานปิโตรเคมีจึงสามารถ เข้าผูกขาดและควบคุมตลาดได้ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นต่ำ คือ แม้ราคาผลิตภัณฑ์จะสูงขึ้นมากแต่ความต้องการใช้ของผู้บริโภคจะลดลงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน
   
       พึงเข้าใจว่า สถานะรัฐวิสาหกิจกึ่งผูกขาดที่เป็นเจ้าตลาดของ ปตท. แม้จะเพิ่มอัตรากำไร (Profit Margin) เท่าใด กำไรส่วนเกินที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจก็จะตกเป็นของรัฐและประชาชนทั้ง สิ้น แต่หากปันความเป็นเจ้าของเป็นเอกชนผู้ถือหุ้นจะได้ประโยชน์จากสถานะพิเศษ บริษัทมหาชนที่ใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ได้สิทธิผูกขาดเหนือกิจการเอกชนรายอื่นๆ
   
       คำบรรยายฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ระบุว่า เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2544 ได้มีบุคคลบางกลุ่มประกอบด้วยบุคคลในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ บุคคลในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น กรรมการ ผู้ว่าการและพนักงานของ ปตท.บางคนมีวัตถุประสงค์จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในกิจการ ธุรกิจของ ปตท.ไปเป็นของตนและพรรคพวก อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ บุคคลดังกล่าวข้างต้นจึงได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและดำเนินการร่วมกันเข้า แย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท.เป็นของตนเองและพรรคพวก ด้วยวิธีการอันฉ้อฉล แยบยล
   
       ข้ออ้างแรกคือ อ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อนำมาชำระหนี้โดยกระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกัน ข้ออ้างต่อมา ให้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงราคาน้ำมัน โดยอ้างว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการลดภาระหนี้ของรัฐบาล
   
       ทั้งที่จริงแล้วข้ออ้างดังกล่าวปราศจากเหตุผล เพราะ ปตท.ในเวลานั้นยังมีฐานะทางการเงินและสภาพคล่องอย่างเพียงพอ โดยมีกำไรในปี 2544 กว่า 2 หมื่นล้านบาท จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน
       นอกจากนั้น การระดมเงินในตลาดทุนอาจทำได้โดยวิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ หรือพันธบัตรที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องขายหุ้นสามัญ เพราะสินทรัพย์ของ ปตท.ยังมีมากเพียงพอที่จะค้ำประกันหุ้นกู้ และพันธบัตรของตนเองได้
   
       สำหรับข้ออ้างเรื่องเป็นเครื่องมือแทรกแซงราคาน้ำมัน ยิ่งเหลวไหลไปใหญ่ เพราะสถานะของ ปตท.เป็นเจ้าตลาดอยู่เดิมแล้ว วิธีการเข้าแทรกแซงราคาน้ำมันก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเพียงแค่ประกาศตรึงราคา บริษัทน้ำมันต่างชาติก็จะไม่กล้าปรับราคาให้สูงขึ้นกว่าราคาที่ประกาศตรึง ไว้มากนัก และราคาที่ตรึงไว้ก็ยังเป็นราคาที่สามารถทำกำไรตามทางการค้าปกติได้
   
       ในกรณีที่รัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินแทรกแซงราคาน้ำมัน รัฐก็มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่ 27 มีนาคม 2522 แล้ว ดังนั้น การอ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อ อ้างที่ขาดเหตุผล
   
       ข้ออ้างทั้งหลายแหล่ว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจล้วนแต่เป็นแนวคิด กระแสหลักตลาดเสรีอาทิเช่นแปรรูปแล้วประสิทธิภาพจะดีขึ้น เป็นอิสระจากการกำกับของรัฐและทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นธรรมล้วนแต่เป็นวาท กรรมสวยๆ ในแผ่นกระดาษเพราะจนบัดนี้สถานะของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็คือบริษัทมหาชนที่เป็นรัฐวิสาหกิจในอำนาจพิเศษเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ พนักงานได้สิทธิรับพระราชทานเครื่องราชอิริยาภรณ์เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจ อื่นๆ มีเพียงสิ่งเดียวที่เปลี่ยนไปคือแทนที่จะทำธุรกิจเพื่อประชาชนคนไทยเจ้าของ ประเทศทั้งหมดกลับต้องรับผิดชอบต่อการทำกำไรเพื่อตอบสนองผู้ถือหุ้นเป็น ประการสำคัญ
   
       มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้สรุปประเด็นข้ออ้างเรื่องการแปรรูปรัฐวิสห กิจ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในเอกสารบรรยายคำฟ้องศาลปกครอง “ขอให้แสดงว่าการกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐและขอให้เพิก ถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล” ในส่วนนี้ว่า...
   
       “ดังนั้น การอ้างความจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินทุนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อ อ้างที่ขาดเหตุผล ใช้อ้างอิงเพียงเพื่อที่จะทุจริตเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทยมาเป็นของตนกับพรรคพวกเท่านั้น”


ฟ้อง ปตท.ฉ้อฉล ปล้นประชาชน-สมบัติแผ่นดินกลางแดด





       ในที่สุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมพวก ก็ได้เตรียมยื่นฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
     
       “เราได้ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานและหาผู้ฟ้องคดีร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการกระจายหุ้นของ ปตท. ตอนนี้เราพร้อมที่จะยื่นฟ้องแล้ว” นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องคดี กล่าว
     
       การฟ้องคดีครั้งนี้ของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและพวก มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอให้การกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ 2) ขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล และ 3) ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ
     
       ในคำขอให้การกระทำที่ขัดต่อประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะนั้น ตาม คำฟ้องได้อ้างอิงผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีรายการการพิจารณาศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคแรก ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 26 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 4 พ.ค. 2553 มีมติเห็นด้วย และรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องเดียวกัน ภาคสอง (พฤษภาคม 2552 - ธันวาคม 2553)
     
       รายงานทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้ตรวจสอบธรรมาภิบาลในกิจการก๊าซธรรมชาติ กรณีการปรับอัตราค่าบริการผ่านก๊าซธรรมชาติของ ปตท. กรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานของรัฐกับการเข้าไปดำรงตำแหน่ง ในบริษัท ปตท. และบริษัทในเครือ กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการรายได้ของทรัพยากรปิโตรเลียม การทับซ้อนในผลประโยชน์ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กับกองทุนน้ำมัน และการปรับคุณภาพก๊าซเอ็นจีวีของปตท. รวมทั้งราคาน้ำมันที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรม ซึ่งผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงความฉ้อฉลที่เอื้อประโยชน์ให้ ปตท. โดยโยนภาระมาให้กับประชาชน (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
     
       ส่วนประเด็นการขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล ถือ เป็นประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นการกระทำที่เป็นเหตุแห่ง “โมฆะกรรม” ของการขายหุ้น ปตท. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2544 ว่า มีการแย่งชิงหุ้นของรัฐและประชาชนโดยฉ้อฉล โดยมีการยื่นแบบและรับจองหุ้นก่อนเวลา 9.30 น. ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการรับจองหุ้นตามหนังสือชี้ชวน จำนวน 863 ราย ซึ่งกรณีนี้ ปตท.ได้รับทราบผลการสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนม.ค. 2545 แล้วว่าผู้จองหุ้นรายย่อยจำนวน 859 ราย สมคบกับธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้จองซื้อหุ้น จำนวน 4 ราย สมคบกับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันกระทำการฉ้อฉล ปตท. ชอบที่จะบอกล้างโมยกรรมดังกล่าว แต่ ปตท. กลับเพิกเฉย ทั้งยังยืนยันว่าผู้จองซื้อโดยฉ้อฉลเหล่านั้นเป็นผู้ถือหุ้นของ ปตท.
     
       นอกจากนี้ ยังมีการออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นของผู้ซื้อรายย่อยมากกว่า 1 ใบจอง รวม 428 ราย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอจองซื้อหุ้นที่กำหนดให้ผู้ซื้อรายย่อยทุกรายมี สิทธิ์ยื่นจองได้เพียง 1 ใบ เท่านั้น (อ่านรายละเอียดในข่าวประกอบ)
     
       ส่วนประเด็นทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการต่อหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ให้ปตท., นายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพลังงาน. แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของ ปตท.
     
       แต่อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกอำนาจและสิทธิรวมทั้งสาธารณ สมบัติของแผ่นดินกระทั่งถึงวันนี้ยังไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ประเมินมูลค่าระบบท่อก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ราคา 52,393.50 ล้านบาท แต่ ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 16,176.22 ล้านบาท ยังขาดอีก 36,217.27 ล้านบาท โดยเป็นราคาท่อก๊าซบนบกและในทะเล มูลค่า 32,613.45 ล้านบาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3,603.83 ล้านบาท ซึ่งรายละเอียดปรากฏตามรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เฉพาะเรื่องการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกให้ กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
     
       สำหรับคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก ฟ้อง ปตท. ก่อนหน้านี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาเพื่อแปรรูป ปตท. แม้ศาลปกครองสูงสุดจะพิเคราะห์ว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท.จำกัด (มหาชน) บางส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพของปตท.ล่วงเลยขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกาฯ และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือผู้ลงทุนในหุ้นปตท.จำนวนมาก
     
       ศาลเห็นว่า การเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และมีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการออกพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีเพียง 3 วัน


       รัฐมีหน้าที่กำกับควบคุมกิจการด้านพลังงาน แต่หลังจากปตท.แปรรูปเป็นบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)แล้ว รัฐกลับทำตัวเสมือนเป็นพวกพ้องกับผู้บริหารบริษัท การออกกฎระเบียบและการตัดสินใจเรื่องสำคัญบางประการแทนที่จะยึดผลักผล ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่กลับยึดประโยชน์ของบริษัทเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด ไปแบ่งปันกัน
     
        ความพิลึกพิลั่นของการแปรรูปปตท.คือรัฐได้ส่งข้าราชการระดับสูงไปนั่งกิน เงินเดือนของปตท.และบริษัทในเครือ ค่าตอบแทนต่าง ๆ รวมถึงโบนัสสูงมากกล่าวได้ว่าสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการเสียอีก วิธีการเช่นนี้ขัดกับหลักธรรมาภิบาลอย่างชัดเจนเพราะแนวโน้มที่ข้าราชการ ซึ่งมีหน้ากำกับและออกนโยบายจะตัดสินใจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมหาชน ย่อมมีมากกว่าตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลในยุคนั้นยังแก้ไขระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ข้าราชการที่มีหน้าที่กำกับนโยบายเข้าไปเสวยสุขในกิจการรัฐวิสาหกิจ บริษัทมหาชนง่ายขึ้นกว่าเก่า
     
        มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินมองเห็นความเสียหายจากประเด็นดังกล่าวจึงได้บรรจุร่วม ในคำฟ้องด้วย โดยระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวโดยเริ่มจากการแต่งตั้งให้นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลพลังงานของประเทศในขณะนั้น (2544 ) เข้าไปเป็นกรรมการบริษัทของบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) และบริษัทเอกชนในเครือ ต่อมายังได้มีการแก้ไขพรบ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐ วิสาหกิจ ฉบับที่ 5 เพื่อให้ข้าราชการผู้เป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้ บริหารในบริษัทเอกชน ที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นได้ และฉบับที่ 5 พ.ศ. 2550 เพื่อให้ข้าราชการเข้าไปเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารในนิติบุคคลที่เป็นผู้รับสัมปทาน ผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียกับรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ข้าราชการรับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม โบนัสและผลตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงินเป็นจำนวนมากเปิดช่องทางให้นโยบายของ รัฐถูกครอบงำจากภาคธุรกิจซึ่งขัดต่อหลักธรรมาภิบาลสากลอย่างร้ายแรง
     
        หลังรัฐประหาร 2549 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พยายามหาวิธีการแก้ปัญหาวิสาหกิจด้านพลังงานที่ถูกแปรรูปไปอาจจะถูกเอกชนและ กลุ่มการเมืองครอบงำ จึงได้เพิ่มองค์กรควบคุมกำกับนโยบายขึ้นมาใหม่เรียกว่าคณะกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน เพื่อให้เห็นว่าการกำกับธุรกิจพลังงานมีความเป็นอิสระ จากนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ แต่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินก็พบว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดังกล่าวกลับ ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างอิสระจริงเพราะได้เอื้อประโยชน์โดยตรงให้กับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)เบียดบังเอาเปรียบผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ
     
        คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเอื้อประโยชน์ให้ปตท.กระทืบซ้ำประชาชนหลายกรณี เช่นการช่วยปตท.เล่นกลทางบัญชีประเมินมูลค่าท่อก๊าซที่ซื้อมาจากรัฐบาลเสีย ใหม่จากเดิม มีอายุงาน25 ปีมูลค่า 46,189.22 ล้านบาท กลายเป็นมูลค่าระหว่าง 105,000 - 120,000 ล้านบาทแถมอายุเพิ่มเป็น 50 ปี
     
        การตีมูลค่าท่อก๊าซเป็นแค่ลูกเล่นทางบัญชีของปตท. ท่อก๊าซก็อยู่คงเดิมไม่ใช่การเพิ่มทุนลงทุนอะไรเพิ่มของปตท. แต่คณะกรรมการกำกับพลังงานกลับบ้าจี้อนุมัติให้ปตท.ปรับอัตราค่าบริการส่ง ก๊าซให้สูงขึ้น เพราะไปยึดแนวความคิดทางบัญชีท่อก๊าซมีต้นทุนทางบัญชีสูงเท่าไหร่แล้วคิด ย้อนกลับมาเป็นค่าบริการ
     
        การอนุมัติปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซเมื่อเมื่อ 1 มกราคม 2551 มีผลให้อัตราค่าขนส่งก๊าซผ่านท่อเพิ่มขึ้นจากอัตรา 19.7447 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.7665 บาทต่อล้านบีทียู คือเพิ่มขึ้นอีก 14.32 เปอร์เซ็นต์ ทำให้บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) มีรายได้จากการคิดค่าบริการขนส่งก๊าซผ่านท่อเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปีเป็นกว่า 22,000 ล้านบาทต่อปีในพริบตา
     
        เงินรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 2 พันล้านบาทจากค่าบริการท่อก๊าซดังกล่าวเป็นกำไรจากเทคนิคทางบัญชีเบียดบัง ประโยชน์จากรัฐ และจากการช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐบางหน่วยล้วน ๆ หาใช่เกิดจากความสามารถในเชิงธุรกิจหรือการขยายการบริการอย่างใดเลย
     
        มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินชี้ว่าการเอื้อประโยชน์ให้ปตท.ทำกำไรลักษณะนี้ของรัฐ ทำให้ปตท.มีรายได้มากขึ้นและส่งผลเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นภาคเอกชน 49% ที่ถืออยู่ เป็นการหาเงินกำไรบนการขูดรีดประชาชนโดยไม่จำเป็น
     
        การเอื้อประโยชน์เรื่องการส่งมอบท่อก๊าซคืนให้รัฐก็เช่นกันผลสืบเนื่องจาก ที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องศาลปกครองให้กลับคืนมาเป็นของรัฐ แต่จนกระทั่งบัดนี้ท่อบางส่วนยังไม่ได้กลับคืนมาตามคำพิพากษาศาลเนื่องเพราะ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพิกเฉยไม่ใส่ใจดูแลปกป้องประโยชน์ส่วนรวม
     
        เฉพาะความพิลึกพิกลหลังศาลปกครองมีคำสั่งให้ท่อก๊าซกลับมาเป็นสมบัติของแผ่น ดินนี้มีหลายเรื่อง โดยสรุปคือกระทรวงการคลังเหมือนจะไม่อยากเอากลับคืนเพราะยังไงก็ต้องส่งมอบ ให้ปตท.เช่าใช้ประโยชน์ต่ออยู่ดี ตกกลับมาเป็นของรัฐแต่เพียงในนาม ความน่าตกใจของเรื่องนี้คือกระทรวงการคลังเอื้อประโยชน์ให้บริษัทมหาชนที่มี เอกชนถือหุ้นอยู่ 49% เกินไป แทนที่จะประเมินราคาค่าเช่าให้สมเหตุสมผลกลับคำนวณแบบขาดทุนเรี่ยดิน
     
        ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลัง ได้ประเมินค่าเช่าใช้ท่อส่งก๊าซและอุปกรณ์ของปตท.(ที่ผนวกเข้าไปเป็น ทรัพย์สินบริษัท) ระหว่างปี พ.ศ.2544 จนถึงปี พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ดูเผิน ๆ เหมือนจะเยอะแต่แท้จริงแล้วเป็นค่าเช่าใช้ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหลายเท่า เพราะปตท. ได้เรียกเก็บค่าใช้ท่อส่งก๊าซไปจากประชาชนผู้ใช้ก๊าซไปแล้วเป็นเงิน 137,176 ล้านบาท
     
        ตลกสิ้นดี กรณีนี้เปรียบได้กับมีคนมาเช่าที่นาของหมู่บ้านไป 10 ปี เขาเอาที่นานั้นทำมาหารายได้ไปแล้ว 1 ล้านบาท แต่ผู้ใหญ่บ้านใจดีเรียกเก็บค่าเช่าที่นารวมแล้วเพียงหมื่นบาทแค่นั้นเอง !!
     
        กระทรวงการคลัง คำนวณเรียกคืนจากปตท. 1,300 ล้านบาทซึ่งคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่ปตท.ได้กำไรจากการเก็บค่าบริการจากประชาชน เฉพาะการประเมินช่วยกันของกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นเหตุให้ปตท. ได้กำไรเหนาะ ๆ จากค่าใช้ท่อส่งก๊าซของรัฐและประชาชนไปเป็นเงิน 135,876 ล้านบาทเงินดังกล่าวนำไปแบ่งให้เอกชนที่ถือหุ้น ส่วนประชาชนไทยเจ้าของท่อก๊าซได้เงินจากกระทรวงการคลังเพียง 1,300 ล้านบาทเท่านั้น
     
        นอกจากท่อก๊าซที่ปตท.ส่งคืนกระทรวงการคลังที่ได้กล่าวมาแล้วในปัจจุบันยังคง มีท่อส่งก๊าซที่ปตท. ยังไม่คืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดอีก มูลค่าถึง 36,217.28 ล้านบาท ส่วนที่ยังไม่คืน บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) ยังคงหาประโยชน์โดยเก็บค่าผ่านท่อทั้งยังไม่ต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่รัฐมาจน ทุกวันนี้ การที่ปตท.กระทำการเช่นนี้ได้ เนื่องจากข้าราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายพลังงานแห่งชาติและกระทรวง การคลังซึ่งควรจะเร่งรัดให้ส่งมอบคืนกลับมาเป็นของหลวงเพิกเฉยเพราะยังมีผล ประโยชน์ทับซ้อนอยู่กับบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)
     
        มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในบรรยายฟ้องว่า รายละเอียดของข้าราชการและผลประโยชน์ทับซ้อนที่กล่าวข้างต้น ผู้ฟ้องคดีขออ้างส่งศาลในชั้นพิจารณา.

คำแถลงนโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร




Government Policy54

ประเทศไทยกับความมั่นคงพลังงานไทยในอนาคต

       สวัสดีทุกๆ ท่านผมในฐานะที่พอมีความรู้และผ่านงานด้านพลังงานมาบ้าง ผมขอฝากข้อคิดต่อรัฐบาลชุดใหม่เกี่ยวกับด้านพลังงานด้วย อะไรที่รัฐบาลชุดใหม่ทำถูกผมก็สนับสนุน แต่อะไรที่ผิดและอาจจะทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือเสียผลประโยชน์นี้ ผมไม่เห็นด้วยแน่นอน
      
       เอาเรื่องที่เห็นด้วยก่อน ผมเห็นด้วยที่มีการลดภาษีน้ำมันหรือลอยตัวราคาน้ำมันในอนาคตจากความเห็นส่วน ตัวก็คิดว่าน่าจะช่วยประชาชนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจ แต่อยากเห็นนโยบายแบบนี้ในระยะยาวมากกว่านะซึ่งผลกระทบจากนโยบายนี้หลักๆ ก็จะมีสองประเด็นก็คือ
      
       1. จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นและอาจทำให้มีมลพิษเพิ่มขึ้น
      
       2. เงินสำรองในกองทุนน้ำมันลดลง
      
       คิดว่าทั้งสองประเด็นนั้นเราน่าจะมีการแก้ปัญหาดังนี้
      
       มีการชดเชยเงินส่วนนี้ด้วยการวางแผนเก็บภาษีรถยนต์ตามประสิทธิภาพของ รถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารถยนต์แบบไฮบริดรถกระบะรุ่นไหนที่ประหยัดพลังงานหรือมอเตอร์ไซค์ก็ควรจะ เก็บภาษีน้อย แต่ถ้ารถยนต์ประเภทไหนใช้พลังงานเยอะไม่ได้ประหยัดพลังงานอย่างเช่น รถยนต์สองประตูก็อาจจะต้องเก็บภาษีมากหน่อย คิดว่าถ้าวางโครงสร้างดีๆ ถ้าหลายๆ ฝ่ายร่วมมือกันคงจะนำเงินส่วนต่างตรงนี้ไปชดเชยกองทุนน้ำมันได้ แล้วยังรณรงค์ให้ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่เลือกรถยนต์แบบประหยัดพลังงานและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ก็ขอย้ำว่าเห็นด้วยกับการลดการเก็บภาษีและขอเสนอให้มีการชดเชยกองทุนน้ำมัน ด้วยการจัดโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ จะได้เห็นนโยบายแบบนี้ระยะยาวซึ่งก็มีหลายประเทศที่ทำแบบนี้อย่างเช่นประเทศ แถบยุโรปอเมริกา หรือแม้กระทั่งจีนเองก็พยายามทำอยู่
      
       แต่เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วยคือการที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลของเราพยายาม เจรจาตกลงกับทางกัมพูชา (ตามที่ผู้บริหารบางกระทรวงให้สัมภาษณ์) เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุดนี้จริงหรือ?
      
       มีการยกกรณีที่ประเทศไทยเราตกลงกับทางมาเลเซียมาเป็นโมเดล (จากการที่ผู้บริหารบางกระทรวงให้สัมภาษณ์) อันนี้ผมคิดว่าคนละกรณีกัน
      
       เพราะเราไม่ได้มีปัญหาเรื่องเขตแดนกับทางมาเลเซีย และเรามีความจำเป็นอะไร
      
       ต้องรีบขนาดนั้น?? ถ้าบอกว่าอยากให้เรานำพลังงานตรงนั้นมาใช้อันนี้ผมเข้าใจ และเห็นด้วยแต่มันมีความจำเป็นต้องรีบทำขนาดนั้นเลยหรือ และก่อนที่เราจะตกลงกันนี้ผมไม่แน่ใจว่าทางรัฐบาลเราจะทำในฐานะอะไร ถ้าในฐานะนักธุรกิจหรือเอื้อนักธุรกิจบางท่านการที่ตกลงและทำสัญญาได้เร็ว กับทางกัมพูชาแน่นอนว่าอาจจะหมายถึงว่าท่านทำผลงานสำเร็จ แต่ถ้าทำในนามรัฐบาลไทยท่านต้องทำให้ประเทศเราได้ประโยชน์มากที่สุดไม่ใช่ หรือ ท่านจะตกลงกันเองโดยที่ไม่ประเมินข้อมูลที่แน่นอนบริเวณนั้นก่อนรึ
      
       เราอาจจะมีภาพถ่ายดาวเทียวคร่าวๆ แต่เรายังต้องทำการประเมินแหล่งน้ำมัน (seismic) และเจาะสำรวจก่อน (well testing) ของแหล่งน้ำมันบริเวณนั้นก่อนอย่าทำแบบอ่าวไทยเหมือนครั้งที่เราเคยตกลงกับ บริษัทน้ำมันต่างชาติในอดีตเมื่อหลาย 40-50 ปีก่อนแล้วเราเสียผลประโยชน์บางส่วนอันนั้นผมเข้าใจว่าตอนนั้นเราไม่มีความ รู้และความสามารถในเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันนี้ประเทศเรามีทั้งบุคลากรและองค์กรต่างๆ ที่ช่วยกันดูแลเรื่องนี้
      
       ขอบอกก่อนเลยว่าต้องใช้เวลานานอาจจะหลายปี แต่ถ้าทางเราจะเริ่มเก็บข้อมูลตอนของทางฝั่งเราก็ไม่เป็นไร แต่เรื่องจะตกลงกันนั้นต้องรอให้ทุกอย่างชัดเจนก่อน ไหนจะเรื่องเขตแดนปริมาณน้ำมันที่คาดการณ์แน่นอนและบริษัทที่รับสัมปทานถ้า บริษัทที่รับสัมปทานของทางกัมพูชามีชื่อของบริษัทฝรั่งเศสอันนี้อาจจะเกี่ยว ข้องกับกรณีข้อพิพาทเขตแดนเราไปจนถึงกรณีศาลโลกเลย ซึ่งอาจจะเกี่ยวกันหมดก็ต้องจับตามองกัน ไม่มีความจำเป็นต้องรีบเลย แม้กระทั่งตอนอเมริกาตกลงกับเม็กซิโกเกี่ยวกับแหล่งน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกยัง ใช้เวลานานเลยขนาดทางเขาไม่มีปัญหาเรื่องเขตแดนบนดินนะครับ
      
       อีกประเด็นหนึ่งคือมีการผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ทำไมต้องรีบทำเรื่องนี้มีอีกหลายเรื่องที่ท่านควรจะรีบทำก่อน เช่น คาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเราไหนจะเรื่องการยกระดับพลังงานทด แทนโดยการผลักดันพลังงานลม ซึ่งอาจจะส่งผลให้เราเป็นแหล่งพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเลยก็ ได้ อีกทั้งเราจะลดการนำเข้าพลังงานมหาศาลรวมไปถึงผลักดันให้เราเข้าร่วมทบวง พลังงานทดแทนโลก(International Renewable Energy Agency (IRENA)) ซึ่งประเทศเรายังไม่เข้าร่วมเลยขณะนี้มีประเทศลงนาม 149 ประเทศ และประเทศสมาชิก 81 ประเทศ เรื่องอย่างนี้ไม่จำเป็นกว่าหรือ มีความจำเป็นอะไรขนาดนั้นที่ต้องรีบทำเรื่องแหล่งน้ำมันในบริเวณที่ยังมี ปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ตั้งแต่ต้น
      
       ขอให้ทุกคนอย่าให้รัฐบาลปิดหูปิดตาทำสัมปทานกับต่างชาติโดย ที่เราไม่รู้อย่างในอดีต เพราะเรื่องนี้เป็นยุทธศาสตร์พลังงานในอนาคตเพื่อรุ่นลูกหลานด้วย ผมมีข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมจะเปิดเผยโดยจะขอเสนอในบทความต่อๆ ไป

ดร.รักไทย บูรพ์ภาค

ผ่าขบวนการปลอมบัตรแรงงานต่างด้าวจากเนปาล-มัณฑะเลย์-เยาวราช ขยายฐานคุมการเมือง


ผ่าขบวนการปลอมบัตรแรงงานต่างด้าวขยายฐานการเมืองคลุมพื้นที่ชายแดน จากเนปาล เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า สู่แหล่งขุดทองย่านเยาวราช จ่ายสินบนใบละแสนให้ใคร?
6 เมษายนที่ผ่านมา “อามาน”เด็กหนุ่มชาวเนปาลวัย 23 ปีถูกจับในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและมีบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด หมายเลข 13 หลัก 87107 73040 861 อยู่ในความครอบครองในชื่อ “ตุ่ย กุลจารุกิจ” บ้านเลขที่ 72ม. 3ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

“อามาน” เล่าภายหลังถูกจับว่า เขาเดินจากทางจากเนปาล ผ่านมายังเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
ก่อนจะมีผู้พาเข้าประเทศไทยและไปประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างร้านตัดสูทย่าน ทองหล่อ มีเงินเดือนหลักหมื่น โดยในร้านดังกล่าวมีลูกจ้างที่เป็นชาวต่างด้าวหลายคน และทุกคนมีบัตรประชาชนจริง และมีชื่อและนามสกุลเป็นชาวไทย นับถือศาสนาพุทธ ทั้งๆที่อ่านและเขียนภาษาไทยไม่ได้แม้แต่น้อย

“มีนายหน้าพาผมมาทำบัตร เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2 หมื่นบาท แล้วเขานัดให้ผมมารับบัตรวันนี้ เขาสอนให้ผมเขียนชื่อ ก่อนที่จะนำบัตรประชาชนออกมา”  อามานบอกเพียงสั้นๆก่อนจะถูกตำรวจจากสถานีตำรวจทองผาภูมิไปควบคุมใน 2 ข้อหา คือ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไว้หรือใช้เอกสารราชการ ปลอม

กรกฎาคมปีเดียวกัน “อามาน” พ้นโทษและถูกเนรเทศออกจากประเทศไทยไปแล้วหลังครบกำหนดการลงโทษ แต่ปัญหาขบวนการปลอมบัตรประชาชนให้คนต่างด้าวยังไม่หมดไปและคงยังเกิดขึ้น ต่อเนื่องตามพื้นที่อำเภอใกล้แนวชายแดนของประเทศไทย มีข้อมูลประมาณการว่า รายได้จากขบวนการปลอมบัตรให้คนต่างด้าวนั้นสูงถึงหลักพันล้านบาทต่อปี

เปิดเส้นทางขนต่างด้าวเข้าประเทศ

รายงานจากหน่วยงานด้านความมั่นคงได้สรุปสถานการณ์การลักลอบนำพาแรงงาน ต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในพื้นที่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ใน 3 อำเภอแนวชายแดน คือ อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิและไทรโยค ระบุว่า ในเขต อ.สังขละบุรีมีถึง 7ช่องทาง ประกอบด้วย ช่องทางด้านบ้านต้นยาง บ้านห้วยมาลัย บ้านวังกะ บ้านท่าแพ บ้านไร่อ้อย ด่านเจดีย์สามองค์

เขตอ.ทองผาภูมิใช้เส้นทางหมายเลข 323ทางน้ำโดยการลงเรือ และขึ้นฝั่งที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ และขึ้นบริเวณแหล่งพักที่บ้านท่าแพ ก่อนจะมีนายหน้านำรถยนต์มารับเข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่วน อ.ไทรโยคจะมีการลักลอบเข้าบริเวณช่องทางบ้านเหมืองเต่าดำ ช่องทางบ้านบ้องตี้และช่องทางบ้านห้วยโมง ซึ่งแต่ละช่องทางจะมีการนัดแนะจุดที่เป็นแหล่งพักโดยมีกลุ่มบุคคลทำหน้าที่ รวบรวมแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นนายหน้าชาวไทย ชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ มีหมู่บ้านพักรวมแรงงานต่างด้าว 4 แห่ง บ้านพญาตองซู่ บ้านไร่อ้อย บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮะลอคอนี

แหล่งข่าวด้านความมั่นคง กล่าวว่า การลักลอบนำคนต่างด้าวเข้าประเทศนั้นไทยนั้น จะทำเป็นขบวนการ โดยในฝั่งพม่าจะมีกลุ่มบุคคลจากพม่า ทั้งวินรถจักรยานยนต์จากฝั่งตลาดพญาตองซู่ เป็นผู้รวบรวมมาไว้ที่บ้านไร่อ้อยแล้วนัดแนะให้นายหน้าชาวไทยนำรถไปรับ โดยนายหน้าชายไทยจะเสียค่าผ่านด่านให้ทหารและตำรวจหัวละประมาณ 15,000 บาท และหากส่งต่อแรงงานไปถึงเขต อ.เมือง จ.กาญจนบุรี-อ.มหาชัย จ.สมุทรสาคร จะเสียค่าผ่านด่านอีกรายละ 12,000-15,000 บาท แต่ถ้ามีการส่งต่อไปยังภาคใต้จนถึงประเทศมาเลเซียนายหน้าจะต้องจ่ายเป็น จำนวนเงินถึงรายละ 20,000 บาท หรือมากกว่านั้น

“คนพวกนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะออกหนังสือรับรองการผ่านแดน เป็นหนังสือชั่วคราว โดยนายหน้าจะเป็นผู้จัดการให้ด้วยการนั่งมากับรถยนต์ที่ขนคนไป เมื่อถึงจุดตรวจจะมีตำรวจออกมาตรวจสอบหลักฐานทั้งๆที่ปกติเขาจะไม่ออกมา เขาจะได้ค่าตอบแทนคนละ 200-300 บาทต่อคน เขาจะขนคนครั้งละ10-15 คน เมื่อไปถึงจุดหมายแรงงานต่างด้าวที่ได้รับเอกสารแล้ว จะไม่เดินทางกลับไปพม่าอีก แต่จะส่งหลักฐานทางไปรษณีย์กลับมาให้นายหน้า หรือผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง”แหล่งข่าวด้านความมั่นคงระบุ

และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับรถรับส่งแรงงานต่างด้าวนั้นส่วนใหญ่จะใช้รถยนต์กระบะหรือบางครั้งอาจ จะใช้รถตู้ หากเป็นรถกระบะจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย โดยจะมีรถยนต์นำทางจ่ายเงินให้ก่อนที่รถยนต์ขนแรงงานต่างด้าวจะผ่านจุดตรวจ

“คนพวกนี้ไม่มีบัตรต่างด้าว แต่หลายๆคนยอมที่จะเข้ามาทำงานก่อน จากนั้นจึงจะติดต่อนายหน้าให้ช่วยพาไปทำบัตรประชาชนให้ด้วยการเพิ่มชื่อลงใน บ้านเลขที่ที่ไม่มีอยู่จริง โดยนายหน้าจะรู้กันกับเจ้าหน้าที่ ทำบัตรประชาชนเสร็จแล้วก็รอรับบัตรประชาชนกลับไปได้เลย”แหล่งข่าวระบุ

ขบวนการทำบัตรประชาชนปลอม

“อามาน”เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นช่องทางการกระทำทุจริตที่ เจ้าหน้าที่รัฐร่วมกันกับนายหน้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอชายแดน ซึ่งในวันที่มีการจับกุมเด็กหนุ่มเชื้อสายพม่าชาวเนปาลนั้น ก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงมีแรงงานต่างด้าวได้เข้ามารับบัตรประชาชนออก ไปแล้วมากว่า 20 คน

อำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) กล่าว ถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่อำเภอทองผาภูมิและสังขละบุรีที่ มีส่วนร่วมในขบวนการปลอมบัตรประจำตัวประชาชนให้กับคนต่างด้าว โดยเฉพาะที่ทองผาภูมิ ซึ่งพบว่ามีการออกบัตรประชาชนให้กับคนต่างด้าวมากผิดปกติ โดยเฉพาะชาวพม่า ชาวมอญและชาวเนปาล ซึ่งจากการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บข้อมูลพบว่า มีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด และเมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบไปยัง บ้านเลขที่ดังกล่าวปรากฏว่าไม่มีบ้านเลขที่ตามที่ปรากฏในบัตรจริง

“ขั้นตอนการออกบัตรให้ชาวต่างด้าวจะต้องมีผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ให้การรับรองเอกสารการออกบัตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจออกบัตร ซึ่งขณะนี้ ป.ป.ท.ได้ส่งข้อมูลการกระทำทุจริตของเจ้าหน้าที่ให้กับสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ไปแล้ว และทราบว่าป.ป.ช.มีการตั้งคณะอนุกรรมการฯสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ส่วนการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่อำเภอทองผาภูมิที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้น ก็ได้ส่งข้อมูลไปให้กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยให้ดำเนินการแล้วเช่นกัน”นายอำพล กล่าว

ส่วนกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้านั้น ทาง ป.ป.ท.มีรายชื่อแล้วว่า ขบวนการใหญ่มีใครบ้าง มีกี่กลุ่ม และได้ส่งต่อข้อมูลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ดำเนินการต่อไป และขอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)ตรวจสอบ เส้นทางการเงินด้วย

“จากการตรวจสอบข้อมูลการทำบัตรประชาชนย้อนหลัง 3ปี เราพบข้อมูลว่าช่วง 3ปีที่ผ่านมาอำเภอทองผาภูมิได้ออกบัตรประชาชนให้คนต่างด้าวไปจำนวนมากกว่า 1หมื่นราย และหากคิดเป็นรายได้ที่ผู้ร่วมขบวนการได้รับจะมีมูลค่าถึงหลักพันล้านบาท”นายอำพล กล่าว

มีรายงานจากชุดสืบสวนของป.ป.ท.ระบุว่า จากการขยายผลการตรวจสอบไปอีกหลายพื้นที่ใน เขตจ.กาญจนบุรี พบข้อมูลว่า มีการออกบัตรประชาชนให้ต่างด้าวผิดปกติ เช่นด้านอ.ศรีสวัสดิ์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีและ เขตอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้ง จ.ระนอง สำหรับพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะมีลักษณะเป็นขบวนการ โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหลายระดับ

“การเสียค่าใช้จ่ายในการให้ได้มาซึ่งบัตรประชาชนปลอมจะมีราคาแตกต่าง กันไป ถ้าเป็นคนพม่าเชื้อสายมอญ หรือกะเหรี่ยงราคาอยู่ที่ 20,000 -30,000 บาทต่อหัว แต่ถ้าเป็นชาวเนปาลจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000-150,000 บาท อย่างไรก็ตามพบข้อมูลว่า 2 อำเภอในพื้นที่ทองผาภูมิและสังขละบุรีขณะนี้มีคนสัญชาติไทยอยู่จริงไม่ถึง ร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือเป็นคนต่างด้าว”แหล่งข่าวจากชุดสอบสวน กล่าว

หวั่นต่างด้าวขยายฐานอิทธิพลการเมืองท้องถิ่น

ในขณะที่แหล่งข่าวในพื้นที่ ยืนยันว่า ขบวนการดังกล่าวมีการทำอย่างมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เจ้าหน้าที่ในอำเภอหลายคนสามารถซื้อที่ดินและมีเงินทองมูลค่าหลาย ล้านบาท แม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับความมั่นคง เพราะหลังจากคนกลุ่มนี้ได้รับบัตรประชาชนชาวไทย ก็จะมักตั้งตัวเป็นหัวโจกคุมคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่และกลายเป็น กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลไปในที่สุดและทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งในทุกระดับก็ จะส่งบุคคลเข้ารับสมัครเป็นการแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองขึ้นในท้องถิ่น

 “หากรัฐยังปล่อยให้คนต่างด้าวเข้ามามาก โดยเฉพาช่วงที่มีการประกาศขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท คนจะทะลักเข้ามามาก และน่ากังวลว่าในอนาคตคนต่างด้าวจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ทั้ง 2 อำเภอเพราะขณะนี้มันมีการขยายฐานอำนาจในทางการเมือง ด้วยการส่งคนลงสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบ ต.)แล้ว”แหล่งข่าวในพื้นที่ให้ข้อมูล

เจ้าหน้าที่ อบต.ตำบลแห่งหนึ่งในเขตอ.ศรีสวัสดิ์ ยอมรับว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกระเหรี่ยงและมอญที่ถือบัตรชาว ต่างด้าวสีชมพูและสีฟ้า ที่สามารถเข้ามาทำงานในพื้นที่ได้ โดยคนกลุ่มนี้จะมีญาติพี่น้องที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว และเข้ามารับจ้างทำสวน ทำนา ส่วนการเข้าไปทำงานในเมืองนั้น มีไม่มากนัก ยกเว้นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง และต้องการเดินทางออกไปรับจ้างในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง

“การตั้งเป็นกลุ่มอิทธิพลการเมืองในพื้นที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จะไม่ชัดเจนเท่าทางด้านสังขละบุรีหรือทองผาภูมิ เพราะมีแต่ชาวบ้าน แต่ที่โน่นจะมีคนพม่าเข้ามามากกว่า เพราะทำกันมานานแล้ว บางคนก็ตั้งตัวเป็นนายหน้ามีบัตรสองสัญชาติเข้าออกทั้งฝั่งไทยและพม่าได้ คนกลุ่มนี้ค่อนข้างจะมีอิทธิพลเพราะคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่รัฐ”

“อามาน” เป็นต่างด้าวคนหนึ่งที่ตกเป็นข่าวเพราะเจ้าหน้าที่จับกุมได้ เขาโชคไม่ดีเหมือนเพื่อนๆที่เดินทางมารับบัตรประชาชนแล้วไม่ได้เดินทางกลับ ไปทำงานในพื้นที่ใจกลางย่านธุรกิจของไทยอีกเลย แต่กลับถูกเนรเทศกลับไปยังถิ่นที่อยู่ที่เขาจากมาทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว เขาไม่มีสิทธิจะลักลอบเดินทางเข้ามาเสียด้วยซ้ำ

หากการประพฤติทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐและนายหน้าจะไม่ก่อตัวขึ้น จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ร่วมกันกัดกร่อนทำลายความมั่นคงของประเทศไปอย่างน่า เสียดาย

 ภาพโดย ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ www.tcijthai.com
ปรากฏในหน้าแรกที่: 
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
24 สิงหาคม 2011

ฉะแผนนำโลกล้อมไทย ดึงแม้วเข้าประเทศใหญ่ 'ตบหน้า'ระบบยุติธรรม! บี้ปูต้องจัดการ'ยี้สุรพงษ์'





"เอกยุทธ" สุดทนพฤติกรรม "ยี้สุรพงษ์" ที่ออกตัวช่วย "ทักษิณ" ไปญี่ปุ่นจนออกนอกหน้า เชื่อเป็นแผน "นำโลกล้อมไทย" หวังให้เดินทางไปประเทศใหญ่ๆ เพื่อตบหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย จี้ "ยิ่งลักษณ์" แสดงจุดยืนให้ชัดว่าจะเอาอย่างไร เหน็บแสบ "เมืองไทยนี้แสนดีนักหนา มีป่าไว้ให้บุกรุก-มีคุกไว้ขังคนจน-มีมวลชนไว้ล้มเจ้า"

วันที่ 15 ส.ค. 2554 นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า เมื่อมีรัฐบาลใหม่แล้ว นโยบายต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปตามกระแส ตามพรรคการเมืองที่เข้ามาควบคุมดูแล โดยมีทั้ง "ลด-แลก-แจก-แถม" ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันที่บิดเบือน ที่เมื่อก่อนพรรคหนึ่งผูกขาด แต่พอมาวันนี้พรรคเพื่อไทยเข้ามาดูแล ก็ประกาศชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี เพื่อหวังนำเงินส่วนนี้ไปลดราคาน้ำมันให้กับประชาชน

"เรื่องราคา น้ำมัน เราจะเห็นว่า แต่ละพรรคการเมืองที่เข้ามาควบคุมดูแล จะเน้นการทำธุรกิจหรือหาผลประโยชน์ที่พรรคตัวเองดูแลอยู่ ทั้งที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลงมาถึงระดับ 70-80 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว แต่ราคาหน้าปั๊มก็ยังไม่ลดลงมา ขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกำไรถึง 6 หมื่นกว่าล้านเพียงแค่ 2 ไตรมาสเท่านั้น คือได้กำไรจากความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งๆ ที่ถ้าเป็นการค้าแข่งขันกันจริงๆ ศักยภาพของเอกชนรายอื่นก็มี แต่เพราะมีนักการเมืองเข้าไปหาผลประโยชน์ในปตท. ทำให้ร่ำรวยกันไปถ้วนหน้า แต่คนเดือดร้อนคือประชาชน"นายเอกยุทธกล่าว

นายเอกยุทธ กล่าวต่อวา ความอ่อนแอของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยังมีให้เห็น เรายังไม่เห็นถึงความแข็งแกร่ง หรือความกล้าตัดสินใจ เรื่องสำคัญที่สุดตอนนี้คือ คดีของทักษิณ ชินวัตร ที่ ณ วันนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศคนใหม่ มีการไปพูดคุยกับทูตญี่ปุ่น เพื่อขออนุญาตให้ทักษิณได้วีซ่าเข้าประเทศ นี่คือความพยายามของทักษิณในการนำโลกล้อมประเทศไทย ทักษิณพยายามชี้นำให้เห็นว่า ถ้าเขาประสบความสำเร็จในการเดินทางเข้าประเทศใหญ่ ๆ คือ ญี่ปุ่น-อังกฤษ-เยอรมัน-อเมริกา ก็คือการประกาศให้เห็นว่า ประเทศเหลานี้ไม่ยอมรับต่อกระบวนการตัดสินของศาลไทย เพราะเป็นคดีการเมือง และจะนำมาสู่กระบวนการนิรโทษกรรมในเร็ววันนี้

"ไม่รู้ว่า บรรดาผู้พิพากษา-บรรดาอัยการ จะคิดอย่างไร เพราะถ้ามีการย้อนรอยแบบนี้ แสดงให้เห็นว่า กระบวนการยุติธรรมบ้านเราบกพร่อง และใครมีจำนวนส.ส.ในสภา จะทำอะไรก็ได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อภาพรวมประเทศ"นายเอกยุทธกล่าวและว่า สิ่งที่รมว.ต่างประเทศกระทำนั้น ถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน มาทำเรื่องตัวบุคคล ที่ไม่ได้เกี่ยวกับผลประโยชน์ประเทศ น่าจะเข้าข่ายทำความผิด และนำไปสู่การถอดถอนได้ เพราะกฎหมายชัดเจนว่า ใครช่วยปกปิดที่อยู่หรือให้การช่วยเหลือนักโทษนั้น ผิดกฎหมาย แต่คนค่อนสภาฯยังบินไปหาทักษิณได้ รัฐมนตรีบางคนก็บินไปหา ประธานสภาฯก็ยังบินไปหา แต่กฎหมายเอาผิดไม่ได้ เรื่องแบบนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร หากเห็นว่า รมว.ต่างประเทศกระทำไม่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินการ มิเช่นนั้นก็จะเข้าข่ายสมรู้ร่วมคิด มีความผิดเช่นกัน

นายเอกยุทธ กล่าวด้วยว่า เวลานี้มีการเปรียบเปรยไปแล้วว่า "เมืองไทยนี้แสนดีนักหนา มีป่าไว้ให้บุกรุก-มีคุกไว้ขังคนจน-มีมวลชนไว้ล้มเจ้า" นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และทำให้กระบวนการทางกฎหมาย ไม่สามารถเดินไปอย่างปกติได้ โดยสิ่งที่กลุ่มทักษิณทำคือ กล้าให้อำนาจ-ให้ตำแหน่งกับกลุ่มบุคคลที่ทำงานให้ โดยไม่สนว่าจะเหมาะสมหรือไม่

"ที่นายกฯขอเวลา 6 เดือนในการทำงาน ทั้งที่เป็นคนเสนอตัวมาทำงานการเมืองเอง ดังนั้นควรทำการบ้านก่อนเข้ามาทำงาน การมีตำแหน่งไม่ใช่แค่ "เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล" แต่มีไว้เพื่อรับใช้ประชาชนและรับใช้แผ่นดิน ตำแหน่งมีไว้เพื่อทำงานให้ส่วนรวม เมื่ออาสามาแล้วก็ต้องยอมรับ ไม่ใช่มาขอศึกษางาน ถ้าอยากศึกษางาน ก็ลาออกไป ตำแหน่งนายกฯ-รัฐมนตรี มีไว้ให้ทำงานวันนี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่มัวแต่ดูเรื่องงบประมาณอย่างเดียว แต่ส่วนตัว ก็ยังไม่อยากเชื่อวา น.ส.ยิ่งลักษณ์จะยอมผูกติดไว้กับทักษิณอย่างเดียว เพราะสุดท้ายก็จะกลายเป็นเน่าทั้งคู่"นายเอกยุทธกล่าวทิ้งท้าย

3 รัฐมนตรี ศธ. 'จุดอ่อน' รัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์'


 เขียนโดย จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ 
 ถูกตราหน้าว่าเป็น "จุดอ่อน" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว สำหรับโฉมหน้าของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั้ง 3 ราย
ไม่ว่าจะเป็น "นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" รัฐมนตรีว่าการ ศธ., "นางบุญรื่น ศรีธเรศ" และ "นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล" รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ที่มากันแบบผิดฝาผิดกระทรวงกันเต็มๆ
จนทำให้ "กระทรวงศึกษาธิการ" ตกเป็นเป้า และถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด จากพรรคฝ่ายค้าน รองลงมาจากกระทรวงการต่างประเทศ
เพราะหลังจากปรากฎโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะแล้ว นอกจากจะสร้างความ "ผิดหวัง" ให้กับผู้ที่ "คาดหวัง" ว่ารัฐมนตรีใน ครม.ปู 1 จะมีหน้าตาสวยสดงดงามแล้ว แต่กลับออกมาในทางตรงกันข้าม
ซึ่งพรรคฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจว่า "ขี้ริ้วขี้เหร่"
ความผิดหวังนี้ ลามไปถึงผู้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา เพราะมองว่า "พรรคเพื่อไทย" และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเหมือนที่ป่าวประกาศเอาไว้
โดยเฉพาะนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็เพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งดูแล ส.ส.ในภาคเหนือ
แต่หากพูดในแง่ของบทบาท หรือผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาแล้ว แม้นายวรวัจน์จะเคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ยุคที่ นพ.เดชา สุขารมณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และเคยรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อยู่ในช่วงสั้นๆ แต่บทบาทด้านการศึกษากลับไม่โดดเด่น และไม่เป็นที่รู้จักในแวดวงการศึกษา
ส่วนนางบุณรื่น ศรีธเรศ แม้จะเป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.นายสังข์ทอง ศรีธเรศ และเคยเป็นรองประธานกรรมาธิการการศึกษา แต่ก็ไม่เคยมีผลงานด้านการศึกษาปรากฎให้เห็นเช่นกัน
สำหรับนายสุรพงษ์ อึ้้งอัมพรวิไล ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี (ส.จ.) 2 สมัย และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปทุมธานี แต่ไม่เคยมีบทบาท หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาเลย
ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 3 ราย ดังระงมไปทั่ว..
"ครูหยุย" หรือนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก บอกว่ากระทรวงด้านสังคมที่น่าเป็นห่วงที่สุดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ กระทรวงศึกษาธิการ เพราะนายวรวัจน์ไม่เคยบริหารงานมาก่อน และต้องมาดู ศธ.ซึ่งเป็นกระทรวงใหญ่ ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ราย ก็ไม่มีประสบการณ์ แต่ที่เป็นห่วงมากกว่าคือ กลัวจะมีคนเข้ามาจัดแจงแทน
พร้อมทั้งฟันธงว่า ศธ.เป็น "จุดอ่อน" ที่สุดของรัฐบาลชุดนี้!!
ขณะที่ "นายสมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้ 5 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็ม เพราะไม่โดดเด่น ไม่เคยเห็นผลงาน หรือวิสัยทัศน์ด้านการศึกษามาก่อน โดยเฉพาะนายวรวัจน์เป็นคนมีความคิดแปลกๆ เห็นได้จากช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้เห็นได้ชัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้คัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีความรู้ความสามารถ
แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาล "สีเทา" และ "คงเป็นชะตากรรมของประเทศ"!!
ส่วน "นายนิพนธ์ ชื่นตา " ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ มองว่ารัฐบาลนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลไทยรักไทย คือใช้คนไม่ถูกกับงาน และมักเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยจนไม่เป็นผลดีต่อการผลักดันงานการศึกษา ที่สำคัญ ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และคิดว่าเราคงหวังกับการศึกษาได้น้อย
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถาโถมเข้าใส่รัฐมนตรี ศธ.ทั้ง 3 รายอย่างหนักหน่วง แต่ก็มีบางเสียงที่เห็นว่าต้องให้โอกาสทำงานก่อน พร้อมทั้งเสนอแนะให้นายวรวัจน์หาผู้ที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาเข้ามาเป็น "กุนซือ" เพราะน่าจะช่วยงานได้
แต่ดูเหมือนเสียงสะท้อนจากฝ่ายต่างๆ ด้วยความหวังดี ที่ส่งตรงถึงนายวรวัจน์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะดูเหมือนการบริหารงานของนายวรวัจน์ในช่วงแรกๆ นี้ ยังคงเป็นไปอย่าง "ไร้ทิศทาง"
ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการ "โยก" งบประมาณในการซื้อหนังสือเรียนแจกในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ในการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ของรัฐบาล หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
แต่หลังจากมีกระแสคัดค้าน นายวรวัจน์ก็ยอมถอยออกมาตั้งหลักก่อน โดยยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ต่อไป เพียงแต่จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง และนักเรียนกันใหม่
หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการประเมินผลงาน โดยจะให้ "ผู้ปกครอง" เป็นผู้ประเมินแทน
ซึ่งเรื่องนี้ทำเอาผู้บริหาร ศธ.ที่เกี่ยวข้อง ถึงกับ "มึนตึ๊บ" และเตรียมทำความเข้าใจกับรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อย่างเร่งด่วน เพราะการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน เพราะนอกจากครูที่ผ่านการประเมินจะมีค่าตอบแทนเพิ่มแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทำให้ครูพัฒนาตัวเองด้วย
โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี และเลื่อนวิทยฐานะ หรือ ว.17 ซึ่งจะเป็นการประเมินในด้านต่างๆ รวมถึง การปฏิบัติงานของครู มากกว่าการทำผลงานวิชาการ
ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ก.ค.ศ.ก็เพิ่งจะประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ชกพ.) และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ชช.) เพื่อช่วยให้ข้าราชการครูที่เก่ง มีผลงานเยี่ยม ไม่ต้องทำผลงานวิชาการจำนวนมากๆ
หรือการนำโครงการสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล กลับมา "ปัดฝุ่น" ใหม่ อย่างโครงการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ถึงชั้น ม.6 ที่คาดว่าจะจัดซื้อล็อตแรกถึง 8 แสนเครื่อง แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าจะยิ่งทำให้เด็กไทย อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คำนวณไม่คล่อง แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์ยังคงเดินหน้าเต็มสูบ
"โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน" ที่จะเดินหน้าเป็นรุ่นที่ 3 โดยจะส่งนักเรียนเรียนต่อระดับปริญญาตรีใน และต่างประเทศ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการของพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยกเลิกไปในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยรุ่นที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555
รวมถึง การฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ของพรรคไทยรักไทย และยุบเลิกกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่ากองทุน กยศ.มีปัญหาในการดำเนินการมาก โดยเฉพาะลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ขณะที่กองทุน กรอ.ที่ถูกยกเครื่องใหม่นี้ เมื่อผู้กู้มีเงินเดือน 16,000 บาท ค่อยชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้น โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
ล่าสุด ได้เกิดปัญหาในการ "แบ่งงาน" ระหว่างรัฐมนตรี ศธ.ด้วยกันเอง เมื่อนายวรวัจน์ได้แบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ทั้ง 2 ราย คือ นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ โดยให้ดูแลรับผิดชอบตาม "ภูมิภาค" ที่แต่ละคนเป็น ส.ส.แทนที่จะแบ่งให้รับผิดชอบในลักษณะของ "องค์กรหลัก"
โดยนางบุญรื่นรับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่นายสุรพงษ์รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง ส่วนตัวนายวรวัจน์เอง รับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้
ซึ่งการแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ หรือแม้แต่ในรัฐมนตรีในพรรคเพื่อไทยเองก็ยังงงๆ ว่าจะดูแลรับผิดชอบกันอย่างไร โดยทั้งนางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ได้เตรียมที่หารือกับนายวรวัจน์ เพื่อขอให้ "ทบทวน" การแบ่งงาน
แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์จะยืนยันเจตนารมณ์เดิม โดยอ้างว่าในการปฏิรูปการศึกษา ไม่สามารถแบ่งส่วนงานได้ ต้องทำเป็นองค์รวมทั้งหมด ถือเป็น "มิติใหม่" ของวงการศึกษา เพราะได้พูดคุยกับทุกองค์กรหลักแล้ว ไม่มีปัญหา
การแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่าจะทำให้เกิดการแบ่งแยกภูมิภาคทางการ เมืองชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองในอนาคต
นอกจากนี้ จะเกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะสับสนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเรื่องใดควรจะต้องรายงานรัฐมนตรี ศธ.คนใด
ในที่สุด การรายงาน หรือการนำเสนอเรื่องใดๆ ก็ตาม ก็จะตรงดิ่งไปที่ "รัฐมนตรีว่าการ ศธ." แต่เพียงผู้เดียว เพราะผู้บริหารองค์กรหลักต่างๆ ไม่รู้ว่าถ้ารายงาน หรือนำเสนอเรื่องให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.คนใดคนหนึ่งแล้ว จะเกิดปัญหาในภายหลังหรือไม่ เพราะอาจจะถูกตำหนิในภายหลังได้ว่า "ข้ามหัว" รัฐมนตรีว่าการ ศธ.
ฉะนั้น แทนที่การบริหารงานใน ศธ.จะสะดวก รวดเร็ว โดยอาศัยหลักการ "กระจายอำนาจ" กลับจะกลายเป็นการ "รวบอำนาจ" เอาไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เพียงคนเดียว
การรวบอำนาจการบริหารงานไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นนี้ ถ้ามองในแง่ดี ก็อาจจะทำให้งานการปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็ว และมีเอกภาพ
แต่ถ้าไม่ระวังให้ดีๆ ก็อาจสะดุดขาตัวเอง ล้มหัวทิ่มหัวตำก็เป็นได้!!

ศาล พิพากษายกฟ้อง “คุณหญิงพจมาน” เลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ


                     วันนี้(24ส.ค.2554) ศาล พิพากษายกฟ้อง “คุณหญิงพจมาน” และ “กาญจนาภา” เลขาฯส่วนตัว ส่วน”บรรณพจน์” โทษจำคุก 2 ปี รอลงอาญา อ้างเหตุบรรเทาโทษบริจาคเงินช่วยมูลนิธิไทยคมจำนวนมาก
                     รายงานแจ้งว่า ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก โดยศาลได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จำเลยที่ 1 คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 และ นางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 3 จงใจเลี่ยงภาษีบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) มูลค่า 546 ล้านบาท
                     อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ศาลอาญาขณะนี้เป็นไปด้วยความคึกคัก มีสื่อมวลชนทุกแขนงมารอติดตามฟังผลคำพิพากษาในคดีดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงมาให้กำลังใจคุณหญิงพจมาน แต่มีเพียง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. (พี่ชายคุณหญิงพจมาน) และนพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.มาให้กำลังใจเท่านั้น
                      ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น.ศาลได้อ่านคำพิพากษาว่า ในประเด็นข้อสงสัยของในส่วน คุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 กับนางกาญจนาภา จำเลยที่ 3 ไม่มีข้อสงสัยผิดฐานหลีกเลี่ยงหรือปกปิด การหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยในข้อนี้ แก้โทษให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นายบรรณพจน์ เดิมศาลชั้นต้นให้จำคุก 3 ปี ในส่วนนี้ ศาลเห็นว่าคดีแห่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นพี่ชายบุญธรรมของ จำเลยที่ 2 จริง ซึ่งมีการแต่งงานและได้ร่วมสร้างฐานะโดยมีจำเลยที่ 2 รับรู้จริง จึงมีเหตุฟังได้ว่า การให้จำเลยที่ 2 ให้การในคดีดังกล่าว ไม่เป็นการให้การเท็จ พิพากษาแก้จากศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เพิ่มโทษปรับ 1 แสน แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน อีกทั้งเคยฝากเงินสนับสนุนมูลนิธิไทยคมจำนวนมากมาโดยตลอด จึงเป็นเหตุให้บรรเทาโทษ โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี

คุกตลอดชีวิต4แดงเผาศาลากลางอุบล



ศาลอุบลราชธานีตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 4 เสื้อแดงคดีเผาศาลากลางจังหวัด แต่ลดโทษเหลือ 33 ปี ยกฟ้อง 9 ราย

          เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 24 สิงหาคม ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้พิจารณาคดีกลุ่มคนเสื้อแดงจังหวัดอุบลราชธานีก่อเหตุเผาศาลาจังหวัดอุบลราชธานี  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยผู้ที่ถูกดำเนินคดี ที่ได้นำมาพิจารณาคดีในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ทั้งหมด 21 คน ได้แก่ จำเลยที่ 1 นายพิเซษฐ์  ทาบุดดา  2.นางอรอนงค์  บรรพชาติ  3.นางสุมาลี  ศรีจินดา  4.นายประสิทธิ์  บุญสุข  5.นางสาวปัทมา  มูลมิล  6.นายสีทน  ทองมา  7.นายลิขิต  สุทธิพันธ์  8.นายบุญเหรียญ  ลิลา  9.นายธีรวิฒน์  สัจสุวรรณ  10นายอุบล  แสนทวีสุข  11.นายชัชวาล  ศรีจันดา  12.นายสนอง  เกตุสุวรรณ์  13.นายถาวร  แสนทวีสุข  14.นายธนูศิลป์  ธนูทอง  15.นายสุพจน์  ดวงงาม  16.จ่าสิบเอกสมจิตร  สุทธิพันธ์  17.นายสมศักดิ์  ประสานทรัพย์  18.นายไชยยา  ดีแสง  19.นายพิสิทธิ์  บุตรอำคา  20.นายพงษ์ศักดิ์  อรอินทร์  และ 21. นายคำพลอย  นะมี  โดยศาลได้อ่านคำพิจารณาของผู้ต้องหาทั้ง 21 คน ไปจนถึงเวลา 16.15 น.


           นายสู่บุญ  วุฒิวงศ์  อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 ได้อ่านคำตัดสินคดีดังนี้  โดยจำเลยที่ 1 ศาลได้พิจารณาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวให้ลงโทษตามกฏกหมายกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 มาตราที่ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดในกฎหมายมาตราที่ 90 โดยให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี
 จำเลยที่ 2,10,15 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 215 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 215 พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน 2548 ให้จำคุก 1 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีมีเหตุให้ลดโทษ 1 ใน 3  เหลือโทษ จำคุก 8 เดือน
           จำเลยที่ 4,7,18,19  มีความผิดตามกฎหมาย เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวให้ลงโทษฐานบุกรุกจำคุก จำเลยคนละ 3 ปี การนำสืบพิจารณาคดีของจำเลยที่ 4 ราย เป็นประโยชน์มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้คนละ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมาย ให้จำคุกคนละ 2 ปี
           จำเลยที่ 5,9,12,17  มีความผิดตามกฎหมายอาญา 215 และกฎหมายหลายบท ในลงโทษฐานชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในเขตที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง การกระทำของจำเลยที่ 5,9,12,17  เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม ที่กระทำความผิดไปตามประมวลกฏหมายอาญามาตราที่ 91 ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กับฐานร่วมกันชุมนุมตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไปในเขตที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งมีความผิดร้ายแรงเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท  ให้ลงโทษฐานชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป  ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ อันเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดิน  ทำผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์อันเป็นสมบัติของแผ่นดิน ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายไม่สามารถเยียวยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้  มูลค่าความเสียหาย 92, 261,155.90 บาท  ลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างสั่งจำคุกตลอดชีวิตตามความผิดของจำเลยที่ 5,9,12และ 17 คำให้การของจำเลยมีประโยชน์ต่อการพิจารณามีเหตุให้ลดโทษ 1 ใน 3  เหลือจำคุก 33 ปี 2 เดือน
ส่วนจำเลยที่ 3,6,8,11,13,14,16,20,และ 21 ยกฟ้อง
             รายงานข่าวแจ้งว่า  คดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของสมาชิกกลุ่มเสื้อแดง ศาลจึงติดตั้งทีวีวงจรปิดถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษา โดยตั้งเต้นท์ให้สมาชิกคนเสื้อแดงได้รับชม  โดยศาลใช้เวลาอ่านรายละเอียดการเบิกคำให้การของพยานแวดล้อมที่อยู่ในเหตุการณ์ ก่อนมีคำพิพากษาตัดสินลงโทษและยกคำฟ้องจำเลยทั้ง 21 คน โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
            สำหรับคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิตมี 4 ราย คือ น.ส.ปัทมา มูลมิล นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ นายสนอง เกตุสุวรรณ นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ แต่ทั้งทั้งหมดให้การเป็นประโยชน์กับรูปคดี จึงลดโทษเหลือจำคุก 33 ปีกับ 4 เดือน ส่วนผู้ต้องหาให้จำคุก 3 ปี แต่ลดโทษเหลือ 2 ปี มี 4 รายประกอบด้วย นายประดิษฐ์ บุญสุข นายลิขิต สุทธิพันธ์ นายไชยา ดีแสง นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา
            ส่วนให้ลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ลดเหลือ 8 เดือนมี 3 ราย คือ นายอุบล แสนทวีสุข นายสุพจน์ ดวงงาม และนางอรอนงค์ บรรพชาติ
            สำหรับนายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ซึ่งเป็นแกนนำและถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรืออีเอสไอ ส่งฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลมีคำพิพากษาว่า พฤติกรรมนายพิเชษฐ์ไม่เข้าข่าย แต่กระทำผิดฐานโฆษณาออกอากาศชักชวนให้มีการชุมนุมและการกระทำความผิด แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการเผาทำลายอาคารศาลากลางจังหวัด จึงพิพากษายกฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย และให้ลงโทษฐานฝ่าฝืน พรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา
            ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 9 ราย ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เพราะหลักฐานของโจทก์มีเพียงภาพถ่ายของผู้ต้องหาขณะเข้าร่วมชุมนุม แต่ไม่มีหลักฐานอื่นที่แสดงว่าโจทก์ได้ร่วมกระทำความผิดอื่นตามฟ้อง
            หลังศาลอ่านคำพิพากษา เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดลงจากบัลลังก์ นำตัวกลับเข้าไปควบคุมไว้ที่เรือนจำกลาง โดยผู้ต้องหาที่จะถูกปล่อยตัวในค่ำวันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ราย โดยเป็นผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวจนครบอัตราโทษจำนวน 3 คน และอีกส่วนเป็นผู้ต้องหาที่ศาลยกฟ้อง สำหรับนายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ที่ถูกจำคุก 1 ปีในคำพิพากษาครั้งนี้ พนักงานสอบสวนในคดีเผาเรือที่ราชธานีอโศก ได้ขออายัดตัวไว้ดำเนินคดีต่อไป
            ด้านนายวัฒนา จันทสิงห์ ทนายความสมาชิกเสื้อแเดงกล่าวว่า ในวันที่ 25 สิงหาคม ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะมายื่นประกันตัวผู้ต้องหาที่เหลือในชั้นอุทธรณ์ที่เหลือทั้ง 9 คน ส่วนจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์ต่อไป 
            สำหรับนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งร่วมฟังการอ่านคำพิพากษาด้วยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในภาคอีสาน ตนจะเป็นตัวประสาน เพื่อหาแกนนำที่มีความชัดเจน และไม่ใช่กลุ่มที่เข้ามาหากินกับคนเสื้อแดง เพราะหลังคนเสื้อแดงประสบชัยชนะ มีกลุ่มคนแอบแฝงเข้ามาหาประโยชน์ แนวทางที่ชัดเจนคือ คนเสื้อแดงต้องร่วมกันสร้างกลุ่มให้เหนียวแน่น และนำเสนอความเดือดร้อนต่อ ส.ส. รัฐมนตรี หรือรัฐบาล


คมชัดลึก
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง