บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เบื้องลึกแห่งคอร์รัปชั่น..กรณีเครื่องบินโบอิ้ง 737..





เบื้องลึกแห่งคอร์รัปชั่นและความไม่มีประสิทธิภาพของนักการเมือง..กรณีเครื่องบินโบอิ้ง 737..ศาลเยอรมันตัดสินจันทร์นี้
  by feng_shui ,


15 ก.ค. เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่คำสัมภาษณ์ของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรณีบริษัทวอลเตอร์ เบา (Walter Bau) ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย มีรายละเอียดดังนี้
คดีบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
"ส่วน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือนายชไนเดอร์ฟ้องร้องกับศาลยุติธรรมเยอรมนี ได้ตัดสินเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ให้ไปยึดเครื่องบินของไทยที่จอดอยู่ที่นครมิวนิก รัฐบาลทราบเรื่องเช้าวันที่ 13 กรกฎาคม และได้เร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนด้วยความกังวล ในแง่เนื้อหาคือเจ้าทุกข์สามารถดำเนินการกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทยได้ แต่เครื่องบินลำนี้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฉะนั้น ในแง่กฎหมายเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคลซึ่งศาลไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น ถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง" นายกษิตกล่าว
เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่กระทรวงการ ต่างประเทศ เกี่ยวกับคดีบริษัทวาลเทอร์ เบา (Walter Bau) ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ต่างตอบแทน ค.ศ. ๒๐๐๒ ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ ๓๐ ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยและค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ ๒ ล้านยูโร
๒. โดยที่สหรัฐฯ เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโต ตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๕๘ (Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards) บริษัทฯ จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ เพื่อขอให้บังคับคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต่อมาศาลนครนิวยอร์กได้ตัดสินให้ไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโต ตุลาการ รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นิวยอร์ก
๓. ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทยโดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
๔. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจาก ความเข้าใจผิด เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่อง ทางเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีแสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่าย ไทยและขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กระทรวงฯ ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย มารับทราบข้อเท็จจริง และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ติดต่อทนายความเยอรมันเป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
๕. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
๖. สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป
นางคอร์เนเลีย พีเพอร์ รมช.ต่างประเทศเยอรมนี และนายกษิต ภิรมย์
รมช.ตปท.เยอรมนีเสียใจศาลอายัดเครื่องบินไทย
สำหรับเรื่องราวของ เครื่องบินโบอิ้ง 737 พระ ราชพาหนะของมกุฎราชกุมาร วชิราลงกรณ์ ถูกอายัดที่สนามบินมิวนิคโดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหน้าสินของบริษัทสัญชาติ เยอรมัน วอลเตอร์ บาว (Walter Bau AG)
ขอนำเรื่องราวเบื้องหลังที่มาของการอายัคมาลำดับความ เนื่องจากมีหลายท่าน คอมเม้นท์ว่างง กับเรื่องราว
เครื่อง บินลำดังกล่าวถูกยึดเนื่องมาจากข้อเรียกร้องทางการเงินที่มีต่อรัฐไทยโดย เฉพาะต่อกรมทางหลวง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนี้ส่วนตัวของฟ้าชายแต่อย่างใดอย่างก็ตาม เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทเยอรมันที่ว่านี้ ยึดเครื่องบินไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอาจมองได้ว่าเป็นการรุกเพื่อที่จะ เร่งรัดให้ประเทศไทยจ่ายหนี้ที่ติดค้างไว้ เครื่องบินลำดังกล่าวในทางการแล้วเป็นของกองทัพอากาศไทย แต่สงวนเป็นการใช้ส่วนพระองค์สำหรับฟ้าชาย
หนี้ดังกล่าว มีที่มาจากการถือหุ้นของบริษัทวอลเตอร์ บาว จำนวน 10เปอร์เซ็นต์ ในบริษัททางยกระดับดอนเมืองซึ่งสร้างและดำเนินการทางด่วนยกระดับจากตัว เมืองกรุงเทพฯ เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นอดีตสนามบินนานาชาติของกรุงเทพฯ บริษัทวอลเตอร์ บาวได้ล้มละลายในปี 2548 และเจ้า หน้าที่ที่ที่พยายามเร่งรัดหนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ ได้เรียกร้องสินไหมต่อประเทศไทยสืบเนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขของข้อสัญญา ในการสร้างทางด่วนและการปฏิเสธการขึ้นค่าทางด่วนที่ต้องจ่ายโดยพาหนะผู้ใช้ ถนนดังกล่าวซึ่งถูกมองว่าเป็นสาเหตุให้ทำให้โครงการดังกล่าวขาดทุน
ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมทั้ง 1.98 ล้านยูโรเป็นค่าละเมิดสัญญาการตัดสินใจและความเป็นมาที่เป็นปัญหาของโครงการทางยกระดับสนามบินดอนเมืองสามารถดูข้อมูลได้ คลิก ลิ้งค์นี้ (เอกสาร ร้อยกว่าหน้าPDF)
บทเรียนความไม่มีประสิทธิภาพและการคอร์รัปชั่น
คณะอนุญาโตตุลาการได้พบว่าการลดค่าทางด่วนในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิน ชินวัตร ที่ประกาศใช้ในปี 2547 เป็น การละเมิดข้อตกลงกับวอลเตอร์ บาว และเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการประกาศผลตัดสินนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าวและสัญญาว่าจะต่อสู้กลับ
พร้อม ตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อต่อสู้คดี โดยประเด็นที่นำมาต่อสู้ มองว่า บริษัท วอลเตอร์ บาว ฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยเจตนาไม่สุจริต และคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรม
นอก จากนี้บริษัท วอลเตอร์ บาว ไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง แต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัททางยกระดับดอนเมืองเท่านั้น ที่สำคัญ ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เยียวยาค่าชดเชยให้กับดอนเมืองโทลล์เวย์ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขยายสัมปทานออกไปถึงปี 2577, ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม, รวม ถึงการปรับค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55 บาท เป็น 85 บาท มีผลเมื่อเดือนธันวาคม 2552 ส่วนค่าชดเชยรายได้จากการให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย กรมทางหลวงได้จ่ายเงินชดเชยไปแล้ว 30 ล้านบาท
เมื่อ คณะทำงานฝ่ายไทยเสนอคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครองกลางของไทย เพื่อเพิกถอนคำชี้ขาด แต่ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ทำให้กระบวนการต่อสู้หยุดชะงักตั้งแต่นั้นมา และรัฐบาลไทยยังไม่มีการจ่ายค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
ปัจ ุบัน บริษัท วอลเตอร์ บาว อยู่ในสถานะล้มละลายไปแล้ว บรรดาเจ้าหนี้จึงต้องดำเนินการแปรทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่ให้เกิดมูลค่าให้ ได้ รวมถึงการอายัดเครื่องบินสัญชาติไทยครั้งนี้ด้วย
คลิปรายงานพิเศษ ความคืบหน้าและความเป็นมาของการอายัด โบอิ้ง 737 (TNN24)
17 ก.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายกษิต ภิรมย์ รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย เข้าพบรัฐบาลเยอรมันแล้ว เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันคืนเครื่องบินโบอิ้ง 737 โดยนายกษิตได้ เดินทางพร้อมคณะเจ้าหน้าที่ทูตและทนายที่พยายามจะชี้แจงการกระทำที่เขาระบุ ว่า เป็นความผิดพลาดมหันต์ จากบริษัท"วาลเทอร์ เบา "บริษัทเจ้าหนี้เยอรมัน ซึ่งร่วมสร้างทางดอนเมืองโทลล์เวย์ให้แก่ไทย เมื่อ 20 ปีก่อน ที่ยึดเครื่องบินดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกษิตไม่ได้พบกับนายกุยโด เวสต์เตอร์เวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน ซึ่งกำลังติดภารกิจเยือนต่างประเทศ แต่เขาได้พบกับนางคอร์เนเลีย ไปเปอร์ ซึ่งได้แสดงความเสียใจที่สร้างความไม่สะดวกให้แก่สมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิ ราชฯ แต่ระบุว่า กรณีดังกล่าวทางการเยอรมันไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ เนื่องจากคดีนี้กำลังอยู่ในมือศาลแพ่งเยอรมัน
กรณี วอลเตอร์ บาว เกิดขึ้นเป็นปัญหา ตั้งแต่ปลายรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  ต่อเนื่องมายังรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์   รัฐบาลรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช  รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 5 ชุด  ทำให้การตัดสินใจล่าช้าและไม่ชัดเจน   
ที่มา เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
บทความของ แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล นักข่าวอิสระ อดีตนักข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ส
คม ชัด ลึก ,ประชาไท
มติชน และคลิปข่าว TNN24

ข่าวที่ไม่เป็นข่าวในไทย สื่อเยอรมันตีข่าวหึ่ม



นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ จับมือทักทายนางคอร์นีเลีย เพียร์เพอร์ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศเยอรมนี เพื่อเจรจาให้ถอนอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมฯ แต่รัฐบาลเยอรมันยืนกรานว่า ต้องเป็นเรื่องที่ศาลจะพิจารณา(ภาพข่าว:AFP)

หนังสือพิมพ์Süddeutsch Zeitung แฉค่าจอดวันละ650ยูโร

ข่าวใหม่ในหนังสือพิมพ์ ค่าเช่าจอดเครื่องินลำที่ถูกสั่งห้ามเคลื่อนย้ายนั้นวันละ 650 ยูโร ที่ต้องจ่ายสนามินMünchen

ข่าวในหนังสือพิมพ์ Süddeutsche Zeitung ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของเมืองกรุงมิวนิคได้เขียนแฉหลายอย่าง เกี่ยวกัเรื่องนี้ การที่ศาลประเทศเยอรมนีสั่งยึดเครื่องินของกองทัพอากาศไทย ซึ่งเป็นเครื่องินพระ ที่นั่ง ทาง Internationales Schiedsgericht als rechtmässig anerkannt hat.ที่ทางศาลเยอรมนีได้สั่งยึดทรัพย์ ความหมายคือศาลโลกได้เห็นด้วยในกรณีนี้ เนื่องจากรัฐาลไทยิดพลิ้วการจ่ายเงินให้ริษัท Walter Bau AG 30 ล้านยูโร


ข่าวภาคภาษาเยอรมัน

Um im Streit um die Pfändung eines Flugzeugs von Thailands Kronprinz durch ein deutsches Gericht die Wogen zu glätten, hat Außenamts-Staatsministerin Cornelia Pieper (FDP) den thailändischen Außenminister Kasit Piromya empfangen. Im Anschluss an das Treffen erklärte Pieper, sie setze darauf, dass sich in der Angelegenheit "schnell Lösungen finden lassen".

"Ich bedaure die Unannehmlichkeiten, die dem Kronprinzen durch die Pfändung des Flugzeugs entstanden sind", erklärte Pieper. "Der Fall liegt nun in den Händen der unabhängigen deutschen Justiz."

In einer Mitteilung des Ministeriums hieß es, sowohl Pieper als auch Kasit hätten bei dem Gespräch die "besondere Qualität der deutsch-thailändischen Freundschaft" betont; die bilateralen Beziehungen sollten durch den Vorfall nicht belastet werden. Pieper vertrat bei dem Treffen Bundesaußenminister Guido Westerwelle (FDP), der Mexiko besuchte.

Die Boeing 737, die der thailändische Kronprinz Maha Vajiralongkorn häufig selber fliegt, war am Dienstag am Münchner Flughafen auf Antrag des Insolvenzverwalters des Konkurs gegangenen Bauunternehmens Walter Bau gepfändet worden. Hintergrund sind Forderungen des Unternehmens an den thailändischen Staat wegen des Baus einer 26 Kilometer langen Autobahn zum Flughafen Don Muang in Bangkok.

Die Anfänge des Rechtsstreits liegen mehr als 20 Jahre zurück. Nach Angaben von Insolvenzverwalter Werner Schneider gab es "eine Vielzahl von Vertragsverstößen seitens der thailändischen Regierung". 2007 habe die bereits insolvente Walter Bau daher Schadenersatzansprüche geltend gemacht, dabei gehe es um mehr als 30 Millionen Euro. Die thailändische Regierung habe sich aber geweigert, zu zahlen. In einem Interview mit dem ZDF-Fernsehen bekräftigte Thailands Außenminister Kasit am Abend erneut, das Flugzeug gehöre - anders als von Insolvenzverwalter Schneider angegeben - nicht der thailändischen Regierung, sondern "einer Person im Namen des Prinzen".

Seine Regierung sei "nicht glücklich" über das Verhalten der Vertreter der Walter Bau, zumal sie nicht vorhabe, sich aus ihrer Verantwortung bezüglich der Forderungen des Insolvenzverwalters zu stehlen.

Vor seinem Abflug aus Bangkok hatte Kasit am Donnerstag vor negativen Folgen des Vorfalls auf das deutsch-thailändische Verhältnis gewarnt, im Interview mit dem ZDF, das am Freitagabend ausgestrahlt werden sollte, sagte er nun, er hoffe, der Vorfall werde die "sehr gesunden" Beziehungen zwischen beiden Ländern nicht berühren.


เมื่อคืนวันที่ 15 นี้สื่อโทรทัศน์ในประเทศเยอรมนีได้ออกข่าวเกี่ยวกัการยึดเครื่องินของไทยใว้ที่สนามินมิวนิค

ข่าวทางโทรทัศน์ที่ได้ดูนั้นเป็นข่าวช่อง 2 ZDF เวลา19.00.น เป็นข่าวภาคค่ำ ผู้ประกาศข่าวเป็นผู้หญิง เนื้อข่าวพร้อมทั้งภาพที่ฉายให้ดูตัวเครื่องิน และภาพฟ้าชายวชิราลงกรณ์ และภาพนายกษิตและคณะที่กรุงเอร์ลิน

ข่าวที่ดูเนื้อหาอกว่าทางรัฐาลไทยเมื่อสิกว่าปีก่อนได้เซ็นสัญญาว่าจ้างริษัทก่อสร้างทางของเยอรมนีให้ไปสร้างถนนในประเทศไทย ไม่ยอมจ่ายเงินที่ค้างจำนวน 30ล้านยูโรให้ทางริษัท ดังนั้นทางริษัทได้ยื่นฟ้องต่อศาลเยอรมนีังคัให้รัฐาลไทยจ่ายค่าสร้างทางให้แก่ริษัท แ

ต่การทวงถามตลอดสิกว่าปีที่ผ่านมา ทางรัฐาลไทยได้แต่ตอผันผ่อนตลอดมา ดังนั้นทางศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจยึดทรัพย์ที่เป็นของรัฐาลไทย คือเครื่องินพระที่นั่งที่จอดอยู่สนามินกรุงมิวนิค และคิดดอกเี้ยอีก 10ล้านยูโร เป็น 40 ล้านยูโร ที่รัฐาลไทยจะต้องเอาเงินมาไถ่เครื่องินลำที่ถูกยึด หากไม่เอาเงินมาไถ่ก็ต้องยึดเครื่องินลำนี้ใว้ก่อน

เห็นนักข่าวถ่ายกระดาษที่ศาลนำเอาไปแปะข้างตัวเครื่องิน นั่นคือคำสั่งกฏหมายห้ามเคลื่อนย้ายเครื่องินลำนี้เด็ดขาด

ภาพในจอโทรทัศน์ยังถ่ายไปยังกลุ่มที่ินมากัเครื่องินลำที่ถูกยึดจำนวน 40 คน รวมทั้งอดี้การ์ด ที่ไปเก็ลูกสตอเอร์ลี่ที่สวนแห่งหนึ่ง จากนั้นก็ฉายไปที่กรุงเอร์ลินที่คณะของนายกษิตมาถึง เห็นนายกษิตสัมภาษณ์หน้าไมค์ แต่ในข่าวไม่ได้อกว่านายกษิตพูดว่าอย่างไร และผู้ประกาศข่าวได้อกสุดท้ายว่านายกษิตต้องกลัไปมือเปล่าหากไม่มีเงิน 40 ล้านมาไถ่เครื่องินลำนี้

ท้ายสุดของข่าวอกว่า ทางรัฐาลเยอรมนีจะตรวจสออีกครั้งว่าเครื่องินลำนี้ซื้อด้วยรัฐาลไทยหรือเปล่า? เพราะการซื้อเครื่องินลำใหญ่ขนาดนี้การซื้อขายต้องมีหลักฐานว่าใครเป็นคนซื้อ และซื้อจากประเทศใด สัญญาการซื้อขายต้องเด่นชัดว่าเครื่องินลำนี้ ใครเป็นผู้ซื้อ หากในนามรัฐาลไทยซื้อเครื่องินลำนี้ต้องถูกยึดต่อไป หากไม่เอาเงินมาไถ่

ตอนเวลา 21.00น. ได้เปิดช่อง BRซึ่งเป็นช่องของกรุงมิวนิค ออกข่าวเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าสถานีโทรทัศน์ในประเทศเยอรมนีทั้งหมดได้ออกข่าวพร้อมกันเกี่ยวกัเรื่องนี้ และก็คงกระจายไปทั่วยุโรปอีกด้วย

******
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:เยอรมันงดออกความเห็นอายัดโอิ้งพระที่นั่ง

ที่มา ไทยรัฐ

เยอรมันงดออกความเห็นกรณียึดเครื่องิน ขณะที่ โฆษกวอลเตอร์าว ยันยึดเครื่องินถูกต้องเพราะเอกสารลงทะเียนด้านการินระุชัด เป็นทรัพย์สินของรัฐาลไทย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างอิงการแถลงข่าวประจำวันของนายมาร์ติน เชเฟอร์ โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ระุว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เข้าพกันางคอร์นีเลีย เพียร์เพอร์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี เพื่อเจรจาหารือกรณีเจ้าหน้าที่ผู้ังคัคดีล้มละลายของริษัท วอลเตอร์าวริษัทเอกชนของเยอรมนี สั่งยึดเครื่องินโอิ้ง 737 ซึ่งเป็นพระราชพาหนะส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ของไทย แต่นายเชเฟอร์ระุว่า รัฐาลเยอรมนีไม่ขอแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าว เพราะรัฐาลเคารพต่อความเป็นอิสระในการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำกระวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้รัผิดชอการดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้

ขณะที่นายกษิตต้องเจรจากันางคอร์นีเลีย แทนนายกุยโด เวสเทอร์เวลล์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี ซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิัติภารกิจเดินทางเยือนประเทศเม็กซิโก

ด้าน นายอเลกซานเดอร์ เกอร์ิง โฆษกริษัทวอลเตอร์าว เอจี แถลงยืนยันการดำเนินการให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องินโอิ้ง 737 ลำนี้ กระทำตามอำนาจกฎหมาย เพราะเอกสารลงทะเียนด้านการินระุชัด เป็นทรัพย์สินของรัฐาลไทย อีกทั้งศาลเยอรมนีได้ตรวจสอเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว และเห็นว่าเป็นเอกสารถูกต้อง

ขณะที่เมื่อเวลา 19.30 น. นายธานี ทองภักดี รองอธิดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่ไทยได้ยื่นคำร้องคัดค้านให้ถอนอายัดเครื่องินลำดังกล่าวไปยังศาลเยอรมันนั้น ศาลเยอรมันได้พิจารณาเอกสารของฝั่งไทย ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ริษัทริษัทวอลเตอร์าว เอจี ของเยอรมัน ยื่นเอกสารมาโต้แย้งคัดค้าน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไร.
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง