บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลงโทษ - อภัยโทษ ทักษิณ


MusicPlaylistView Profile
Create a MySpace Playlist at MixPod.com

จำใจฆ่าน้อง..!

การ เดินหน้ายุทธศาสตร์ "พาทักษิณกลับบ้าน" ของกลไกเครือข่ายอำนาจในมือของ "คนไกลบ้าน" ที่ชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อได้ถูก "จุดพลุ" ขึ้นมาแล้ว
     แน่นอนว่าจากนี้เป็นต้นไป ทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะใครก็ตามที่แสดงตัวว่าเป็น "ฝ่ายหนุน" อาจต้อง "รับผล" ที่กำลังจะเกิดขึ้นกันถ้วนหน้า
     ไม่ว่า "ผลลัพท์" ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ออกมาในทางที่เป็น "บวก" หรือ "ลบ"
     ไม่ว่าผลที่ออกมาจะปรากฎว่า "พ่ายแพ้" หรือ "ชนะเบ็ดเสร็จ" ก็ตาม !!

     แต่เมื่อประเมินจากการเคลื่อนไหวของ "ฝ่ายหนุน" ที่พยายามเปิดช่อง เปิดประตูต้อนรับ "นายใหญ่" ของพวกเขาให้ได้กลับบ้านโดยเร็วแล้ว ดูเหมือนว่าเต็มไปด้วยความมั่นอกมั่นใจอยู่ไม่น้อยว่า "ความสำเร็จ" นั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
     เพราะ ทุกกลไกที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนสำคัญต่อการร่วมผลักดันพ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ ฉบับดังกล่าว ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การบังคับดูแลของรัฐบาล ซึ่งมีพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำแทบทั้งสิ้น
     อย่างไรก็ดีการแสดงออกถึงความมั่นใจต่อปฏิบัติการ "พาทักษิณกลับบ้าน" ในครั้งนี้ ในอีกด้านหนึ่งย่อมต้องไม่ลืมว่า ในความเป็นจริงแล้ว "ภารกิจใหญ่หลวง" เช่นนี้มี "เดิมพัน" ที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อทั้งตัวพ.ต.ท.ทักษิณและนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เอง
    

     ไม่ใช่เพียงเพราะ นายกฯยิ่งลักษณ์ ดำรงสถานะเป็น "น้องสาว" ของพ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น หากแต่ในฐานะ "พี่ชาย" ที่ดูแลเธอมาตั้งแต่เล็ก ย่อมรู้ซึ้งเป็นอย่างดีว่า น้องสาวของเขานั้นจะสามารถ "แบกรับ" และทานทนต่อ "แรงเสียดทาน" ต่อสารพัดสารพันปัญหาที่รุมเร้ารอบด้าน ได้มากน้อยแค่ไหน ?
     ลำพังแค่งานบริหาร รูทีนก็หนักหนาสาหัสอยู่ไม่น้อย ยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเสียงโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดล้มเหลวจาก การแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่
     แถม "เด็กในคาถา" ของพี่ชายทั้งส.ส.ในพรรคและคนเสื้อแดงที่มักเปิดศึกอัดกันเอง สิ่งเหล่านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ เองรู้ว่า เขาไม่ควรปล่อยให้ "ร่างทรง" ต้องรับศึกหนักเช่นนี้ต่อไปอย่างยาวนาน
     เมื่อ "ร่างทรง" ที่ถูกเข็นให้ต้องก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง อย่างนายกฯยิ่งลักษณ์ กำลังอยู่ในสภาพที่อ่อนแรงลงทุกขณะ และดูเหมือนว่ายากที่ใครจะสามารถการันตีได้ว่า ตลอดอายุรัฐบาล ในวาระ 4 ปีนั้นจะไม่มีรายการ "เปลี่ยนม้า" เกิดขึ้น !!

     ถึงกระนั้น "การเปลี่ยนม้า" ย่อมไม่ใช่ปมประเด็นที่เกินไปจากความหมายของทั้งคนในรัฐบาลและฝ่ายตรง ข้ามอย่างแน่นอน ทว่าความสำคัญอยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนม้ากันอย่างไรจึงจะสมเหตุสมผล และ "ลงตัว" อย่างที่สุดนั่นเอง
     ดังนั้นแม้งานนี้ "พี่ชาย" ไม่ต้องการ "บดบังรัศมี" ของ "น้องสาว" ซึ่งกำลังทำหน้าที่ผู้นำรัฐบาลอยู่ในเวลานี้ก็ตาม แต่จะมีหนทางไหนที่จะปลุกกระแส และปลุกเสียงเรียกร้อง ให้คนที่ยังชื่นชมและศรัทธาพ.ต.ท.ทักษิณ พากัน "ร่ำร้อง" ขอให้เขากลับมาทำหน้าที่ "นำประเทศ"
     หากตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เลือกใช้วิธีการเสนอตัวเอง ผลักดันตัวเองขึ้นมาให้เป็น "ทางเลือกใหม่" แทนน้องสาว เพื่อบริหารจัดการกับสารพัดปัญหาที่กำลังทำให้ เรทติ้งรัฐบาลเสื่อมถอยลงทุกวี่วัน !!
     ด้วยเหตุนี้การเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ "พาทักษิณกลับบ้าน" โดยกำหนดเอาวันที่ 5 ธ.ค.นี้ขึ้นมาเป็นหมุดหมาย ในด้านหนึ่งย่อมไม่ต่างไปจากการปลุกเครือข่ายอำนาจในมือของพ.ต.ท.ทักษิณ ให้พากันลุกฮือและยอม "ทุบหม้อข้าวก่อนเข้าสู่สนามรบ"
     เพื่อพา "นายใหญ่" กลับบ้านเสียที หลังจากที่ทุกเกมได้ถูกวางเอาไว้ชัดเจนแล้วว่า ทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นและกำลังดำเนินอยู่นั้น เมื่อกวาดสายตาไปทั่วหล้า ย่อมไม่มีใครกู้สถานการณ์ได้ดีไปกว่า "นายใหญ่" ที่อยู่ไกลบ้าน  เพียงคนเดียว !!
                                                                                                               
ทีมข่าวคิดลึก.สยามรัฐ

เปิดพื้นที่เปียก-ขานชื่อนับคะแนน 84ส.ส.ถูก"น้องน้ำ"กวาดแต้มลง"ทะเล"


11/18/2011 09:53


มหาอุทกภัยแห่งปี 2554 นี้ ไม่เพียงทำให้คนไทยกว่า 3 ล้านคน ต้องเปลี่ยนสถานะเป็น "ผู้ประสบภัย"

หลายแสนคนอาจต้อง "ตกงาน" เพราะบริษัท ห้างร้าน หรือโรงงานถูกปิดเนื่องจากน้ำท่วม 

แต่คนบางอาชีพ ที่แม้บ้านพักจะแห้งสนิท หรือที่ทำงานไม่มีน้ำสักหยด แต่ก็ตกอยู่ในสถานะ "ประสบภัย" จนอาจทำให้ "ตกงาน" ได้ในภายหลัง

เพราะ ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปสามารถยกของมีค่า "ขึ้นที่สูง" เพื่อหนีน้ำได้ แต่สำหรับ "ผู้แทนราษฎร" กลับไม่สามารถแบก "ภาระ-ความรับผิดชอบ" ในการช่วยเหลือประชาชนหนีน้ำได้

"มติ ชน" รวบรวมข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (กิสต์ด้า) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อสำรวจว่ามี ส.ส.สักกี่คนที่ได้รับผลกระทบจากกรณี "น้องน้ำ" หนีมาหา "พี่กรุง" รอบนี้

หาก ไล่ตามเส้นทางไหลของน้ำ โดยนับตั้งแต่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยกเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายใต้ "บางระกำโมเดล" ลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พบพื้นที่น้ำหลากรวม 18 จังหวัด

โดยมี 9 จังหวัด ที่จมบาดาลทั้งเมือง นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

พบว่ามีพื้นที่รับผิดชอบของ ส.ส.ทั้งสิ้น 84 คน จาก 5 พรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (พท.) 45 คน พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 23 คน พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) 10 คน พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 5 คน และพรรคชาติพัฒนา (ชพ.) 1 คน

ในจำนวนนี้เป็นฐานเสียงของ "รัฐมนตรี" 6 คน ได้แก่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร เขต 2 ชทพ. ในฐานะ รมช.พาณิชย์, นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 4 พท. ในฐานะ รมว.สาธารณสุข, นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.ปทุมธานี เขต 2 พท. ในฐานะ รมช.ศึกษาธิการ, นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ ส.ส.ปทุมธานี เขต 6 พท. ในฐานะ รมช.มหาดไทย, นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม เขต 5 พท. ในฐานะ รมว.แรงงาน และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. เขต 13 พท. ในฐานะ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ด้าน ส.ส.คนสำคัญ ไม่ว่าซีกรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ต่างขาแช่น้ำกันถ้วนหน้า

พท. อาทิ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี เขต 3, นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี เขต 2, นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี เขต 6, นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. เขต 12, นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. เขต 17 ฯลฯ

ปชป. อาทิ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก เขต 1, นายนราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร เขต 2, ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ส.ส.กทม. เขต 3, นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. เขต 9 ฯลฯ

ชทพ. อาทิ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี เขต 2, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ฯลฯ

ภท. อาทิ น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ลพบุรี เขต 2, นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก เขต 1 ฯลฯ

ส่วนใครที่หาว่า บรรหาร ศิลปอาชา ผู้มีบารมีเหนือ ชทพ. ทำให้ "สุพรรณบุรี" น้ำแห้ง แต่ก็ยังมี ส.ส.สุพรรณบุรีของ ชทพ. ถึง 3 คน ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ ได้แก่ นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ (เขต 2), นายนพดล มาตรศรี (เขต 3) และ น.ส.พัชรี โพธสุธน (เขต 4)

สำหรับพื้นที่ "ไข่ขาว" หรือปริมณฑล ได้แก่ จ.ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม มี ส.ส.พท.เสียหายไปกับน้ำถึง 22 คน ตามมาด้วย ปชป. 2 คน และ ชทพ. อีก 1 คน

ส่วนพื้นที่ "ไข่แดง" อย่าง กทม. ที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่ต่างช่วงชิงจังหวะ-ยื้อแย่งคะแนนเสียงกันเต็มที่ ผ่านการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่เป็นตัวแทน พท. และ กทม.ที่เป็นตัวแทน ปชป.

แต่ปรากฏว่า 2 พรรคใหญ่ต่างได้รับความเสียหายพอๆ กัน เมื่อสภาพพื้นที่ "เมืองหลวง" กลายเป็นคูคลองหนองบึงถึง 30 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงของ ปชป. 15 เขต ของ พท. 9 เขต

ใน พื้นที่จมบาดาลหลายแห่ง ประชาชนส่งเสียงร้องเรียกหา ส.ส. ที่หายไปกับสายน้ำ ขณะที่บางพื้นที่ผู้ทรงเกียรติก็ลุยไปสกัดกั้น "น้องน้ำ" และนำความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ส่งถึงโหวตเตอร์ที่ติดอยู่ใน "บ้าน" ที่แปลงร่างเป็น "ศาลากลางน้ำ"

ถึงนาทีนี้ไม่ว่าจะพื้นที่ "สีแดง" หรือ "สีไหน" ต่างเปลี่ยนสีเดียวกันหมดคือ "สีน้ำ (เน่า)"

น่าสนใจว่า "วารีภัย" หนนี้จะกวาดคะแนน ส.ส.คนไหน พรรคการเมืองใด ลงไปทิ้งทะเลบ้าง!!(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 พ.ย.2554)

คนกลัวตาย จึงยอมขายชาติ


กรหริศ บัวสรวง



แม้น้ำจะลดระดับลงไปแต่ความเสียหายรุนแรงยังไม่มีการเยียวยาแก้ไข แต่หัวหมู่ทะลวงฟันสำแดงฤทธิ์เดชที่คนด่ายับเยินกันค่อนประเทศ กับการประชุม ครม.ลับ ที่ไม่มีแม่หญิงยั่วเมืองร่วมวีรเวรกรรม วันอังคารที่ผ่านมา ก่อนผมไปทำรายการ Gossip  Thailand โดยเชิญ ดร.ไชยันต์ ไชยพร นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ของชาติที่กำลังล้มเหลว ได้รับโทรศัพท์จากอดีตเหยี่ยวข่าวว่า รองนายกฯ กำลังออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษให้กับคนร่อนเร่พเนจร แล้วมันก็เป็นความจริง แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่ติดใจกับเรื่องนี้ เมื่อมีอำนาจที่จะทำความดีแต่ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ก็ต้องทำความชั่วไปตามระดับภูมิปัญญาและกำพืดดั้งเดิม

ประเด็นนี้มีที่มาเพียงประการเดียวคือ แสดงบทบาทพินอบพิเทาภักดีแทบเท้าเจ้ามูลเมือง (ขอโทษมูล แปลว่า ขี้) เพื่อหวังส้มหล่นได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะทำให้ถูกใจแบบเย้ยฟ้าท้าดิน ด้วยความเก๋าเถือกไถไหลลื่นในเส้นทางการเมือง ย่อมอ่านทะลุทะลวงหยั่งรู้ว่าแม่หญิงยั่วเมืองจะอยู่ได้ไม่นาน ลูกทาสคนนี้อาจได้รับการพิจารณาให้ได้ตำแหน่งนอมินี ฉายา “มิสเตอร์เยส-โน-โอเค” เป็นเกียรติยศอันสูงส่งในชีวิต แต่ลูกทาสคงลืมไปว่า พรรคเพื่อไทยคือพรรคของคนเสื้อแดง การชนะเลือกตั้งมาได้ไม่ใช่ชัยชนะของพรรคการเมือง เสื้อแดงไม่มีวันยอมให้โอกาสได้เป็นนายกฯ

มาพูดถึงความล้มเหลวของชาติกันต่อ เพราะมันมีที่มาจากสายน้ำการเมืองที่พอจะหาจุดสรุปได้ว่า เป็นการจงใจทำลายประเทศ (อีกครั้งหนึ่ง) ด้วยวิธีที่แยบยล คนที่มีหน้าที่เรื่องบริหารจัดการน้ำ รู้ล่วงหน้าว่ามวลน้ำมหาศาลล้นเขื่อน ล้นอ่างเก็บกักน้ำ แต่คนเหล่านั้นมีสายใยเชื่อมโยงกับอำนาจเก่า ได้ดิบได้ดี มีเงินร่ำรวย จึงให้ความร่วมมือตอบแทนบุญคุณ

มันทำได้สำเร็จ จนเศรษฐกิจ การลงทุนพังพินาศ คนตกงานกว่าล้านคน ครอบครัวเดือดร้อนนับสิบล้าน หลังจากที่ทำลายมาแล้วหลายครั้งด้วยตัวเองและโดยคนอื่น แม้แต่ฝรั่งข้างถนนยังถูกว่าจ้างเดินสายขยายความเท็จ ดิสเครดิตแผ่นดินเกิดด้วยความแค้นของคนที่ไม่ใช่มนุษย์ จนต้องใช้สัญชาติอื่นเพื่อความปลอดภัยของชีวิต และแล้วประเทศไทยก็จะไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติตราบใดที่ยังมีรัฐบาลนี้อยู่และยังมีหอกข้างแคร่ตัวร้ายตัวจริงบงการอยู่

ชีวิตคนเรามันพลิกได้หลายด้าน แต่สำหรับคนคนนี้ เป็นการพลิกไปสู่ปากเหวแห่งนรกโลกันต์เพราะความไร้สัจจะ หลอกลวงคนดีๆ ใสซื่อ ให้ใส่เสื้อสีแดง สร้างความหวังว่าจะได้เงินตอบแทน แต่ไม่มีใครได้ มีแต่ต้องเสียเงิน ทิ้งงานมาซ่องสุมกับมหาโจรที่ปลุกระดมยัดเยียดเรื่องเท็จกรอกใส่หู จาบจ้วงเบื้องสูง จนพากันหลงผิดหลงเชื่อ แล้วมันก็ขยายฐานออกไปเรื่อยๆ ด้วยการแทรกซึมตามทฤษฎีของคนเคยเข้าป่า ด้วยเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีใครสนใจแต่ยังมีคนหลงยุคหลุดโลก เช่น ธิดาแดง หมอเหวง ฯลฯ ที่หายไปจากพื้นที่ข่าวอย่างผิดสังเกต

คนที่ไร้คุณความดี ไม่มีแม้แต่สมองที่จะคิดว่าเมื่อหมดลมหายใจ สิ่งที่มีอยู่ก็เอาไปไม่ได้ คนค่อนประเทศยังคิดว่าคนหนีโทษจำคุกนี้คือ คนเก่งหรือฉลาด แต่ขอยืนยันอีกครั้ง อีกล้านครั้งว่า ทุกความคิดที่เอามาหลอกล่อประชาชนนั้น มันมาจากสมองของคนอื่นที่ว่าจ้างมาคิดมาวางแผน เอากันให้เห็นชัดๆ คนดีๆ อย่าง ดร.วิษณุ เครืองาม ยังยอมศิโรราบเป็นเนติบริกร เพื่อพลิกตัวบทกฎหมายให้เป็นประโยชน์กับเจ้าขี้เมือง แต่ก็ถอนตัวออกมาก่อน และเมื่อตรวจสอบด้วยวิชาการโหราศาสตร์ก็พบว่า

นอกจากจะเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้แล้ว ยังขี้ขลาดและอวดเก่งแต่ไม่มีผลงานใดที่สำเร็จนอกจากการโกง และทำให้คนจนอยู่แล้วยิ่งจนลงไปอีก

ไม่ว่าจะออกกฎหมายใดมาเพื่อบีบบังคับเบื้องสูง สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้คือ การถูกต่อต้านจากมหาประชาชน สมทบด้วยคนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาล แม้แต่เงินแค่ ๕,๐๐๐ บาท ยังมีเงื่อนไขมากมายหลายขั้นตอน ผ่านไปเป็นเดือนก็ยังไม่ได้ และถ้าได้ไปแล้วก็ไม่เพียงพอต่อความเสียหายของบ้านเรือน ของใช้ ทุกข์ของผู้เดือดร้อนสะท้อนออกมาเป็นบทกวีโดย “พิบูลย์ชัย พันธุลี” ที่ส่งมาให้ แต่เนื้อที่จำกัดจึงขอนำมาให้อ่านใน ๒ บทสุดท้าย………

นี่คือรัฐ ล้มเหลว เลวหมดจด
อนาคต ของไทย ห้ามใครยุ่ง
เส้นสายเขียว ทางน้ำไหล ไม่ผดุง
แถกถลุง ทุ่งทะเล ด้วยเล่ห์ทุน
รัฐริบหรี่ กลียุค ทุกหย่อมหญ้า
เสนาบดี ก้มหน้า เอื้องหญ้าขุน
ทำเนียบเป็น ป่าช้า ห่าผีบุญ
กรุงเทพฯ เมืองไร้ฝุ่น กรุ่นน้ำตา
 
 
คนเขียนคอลัมน์นี้มั่นใจว่าคนขายชาติ คนขี้ขลาดกลัวตาย ย่อมไม่มีวันกลับมาเหยียบแผ่นดินไทย เพราะเข้ามาวันใดก็ไม่พ้นเงื้อมมือของมัจจุราชไปได้ อยู่เมืองไกลในต่างแดนย่อมปลอดภัยกว่า แถมได้แก้แค้นทำลายบ้านเกิดเมืองนอนได้อย่างสนุกสนานเหมือนเล่นเกมผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะนี่คือหนึ่งในภัยพิบัติห้าประการที่คนไทยต้องพร้อมรับมือ และจัดการด้วยใจที่กล้า รักชาติ รักแผ่นดินอย่างถูกต้องตามสิทธิและหน้าที่ ซึ่งกฎหมายหลายฉบับบัญญัติไว้และใช้ทุกช่องทางของกระบวนการยุติธรรม อย่างผู้ที่เจริญแล้ว…..พบกันใหม่เสาร์หน้า มีปัญหาอะไรเล่ามาครับ จะพลิกชีวิตให้ด้วยความจริงใจ.

 

“มั่นใจว่าคนขายชาติ คนขี้ขลาดกลัวตาย ย่อมไม่มีวันกลับมาเหยียบแผ่นดินไทย เพราะเข้ามาวันใดก็ไม่พ้นเงื้อมมือของมัจจุราชไปได้ อยู่เมืองไกลในต่างแดนย่อมปลอดภัย กว่า แถมได้แก้แค้นทำลายบ้านเกิดเมืองนอนได้อย่างสนุกสนานเหมือนเล่นเกมผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะนี่คือหนึ่งในภัยพิบัติห้าประการที่คนไทยต้องพร้อมรับมือ และจัดการด้วยใจที่กล้า รักชาติ รักแผ่นดินอย่างถูกต้องตามสิทธิและหน้าที่ ซึ่งกฎหมายหลายฉบับบัญญัติไว้และใช้ทุกช่องทางของกระบวนการยุติธรรมอย่างผู้ที่เจริญแล้ว…..”


ขอขอบคุณ นสพ.ไทยโพสต์

ย้อนรอย 15 ปี พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ จุดเหมือน-จุดต่างอย่างไร?

ตามที่ศูนย์ข่าว TCIJ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษไปแล้วในวันที่ 16 พ.ย.นั้น ต่อมาวันที่ 17 พ.ย.ได้มีการนำเสนอบทความของ 'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: นิติเหลิมภิวัตน์ ในเว็บไซต์ประชาไทเสนอในส่วนของตัวอย่างกฎหมายและรายละเอียดได้อย่างน่าสนใจ ทางศูนย์ข่าว TCIJ จึงขอนำมาเสนออีกครั้งเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ มีรายละเอียดดังนี้

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เป็นกฎหมายที่ออกในวโรกาสมหามงคล ตามประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้แก่

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกปีที่ 60 วันที่ 5 พฤษภาคม 2553


            

สำหรับการแบ่งประเภทของการพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา มี 2 ประเภทคือ

1. พระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวแก่นักโทษที่เหลือโทษน้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เจ็บป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ

2.พระราชทานอภัยโทษลดโทษ 1 ใน 2, 1 ใน 3, 1 ใน 4 ฯลฯ แก่นักโทษที่ประพฤติดี โดยจำแนกตามฐานความผิดที่ต้องโทษ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาแต่ละฉบับ มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

อย่างไรก็ตามยังคงสาระสำคัญที่สืบทอดกันมาเกือบทุกฉบับ โดยเฉพาะในมาตรา4 บัญญัติไว้ว่า

 “ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไป จนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อย หรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้”

ส่วนที่แตกต่างก็คือเงื่อนไขการอภัยโทษที่เปลี่ยนไป เช่น พ.ร.ฎ.ปี 2542 มาตรา 6(1) ให้ปล่อยตัว “ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ”

แต่ พ.ร.ฎ.ปี 2547 เปลี่ยนมาตรา 6(1) ให้ปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกที่เหลือโทษไม่เกิน 1 ปี ฉบับหลังๆ มีการคัดลอกกันต่อมา

พ.ร.ฎ.ปี 2542 มาตรา 6(2)จ ให้ปล่อยตัวคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ โดยต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีหรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของโทษตามกำหนดโทษ

แต่ พ.ร.ฎ.ปี 2553 มาตรา 6(2)ง กำหนดให้ปล่อยตัว “คนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ.... และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป”

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึง พ.ร.ฎ. ปี 2554 ไม่มีการบัญญัติความในมาตรา 4 เหมือนหลายฉบับที่ผ่านมา ซึ่งมีการตั้งคำถามว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่นั้นทางผู้เขียนบทความแนะนำให้พิจารณากฎหมายแม่ คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 ว่าด้วยการอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ตั้งแต่มาตรา 259 ถึงมาตรา 261 ทวิ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษออกตามมาตรา 261 ทวิ

“มาตรา 259 ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด ๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้

มาตรา 260 ผู้มีเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นเรื่องราวต่อพัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวนั้นแล้ว ให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

มาตรา 261 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมี หน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่

ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อ พระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้

มาตรา 261ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็ได้

การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

การยกเว้นความผิด

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษทุกฉบับ จะมีข้อยกเว้นผู้ต้องโทษตามความผิดร้ายแรง ไม่ให้ได้รับการปล่อยตัว แต่ได้รับเพียงการลดโทษ ซึ่งลดโทษน้อยกว่าผู้ต้องโทษในคดีอื่นๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในมาตรา 8 ของ พ.ร.ฎ.ทุกฉบับ โดยฉบับแรกๆ จะกำหนดความผิดไว้ในมาตรา 8 นั้น แต่ต่อมามีการเพิ่มฐานความผิดมากขึ้น ก็ทำเป็นลักษณะความผิดท้ายพระราชบัญญัติ

ตัวอย่างเช่น มาตรา 8 พ.ร.ฎ.ปี 2542  ว่า

“ภายใต้บังคับมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษในลักษณะความผิดดังต่อไปนี้

(๑) ความผิดตามมาตรา ๑๙๐ มาตรา ๒๑๘ มาตรา ๒๒๐ วรรคสอง มาตรา ๒๒๒ มาตรา ๒๒๔ มาตรา ๒๗๖ วรรคสอง มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๗ ทวิ มาตรา ๒๗๗ ตรี มาตรา ๒๘๐ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ มาตรา ๒๘๙ มาตรา ๓๑๓ วรรคสอง หรือวรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายอาญา

(๒) ความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ดังต่อไปนี้......”

แต่ พ.ร.ฎ.ปี 2547 มาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า

“ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ ดังต่อไปนี้.....”

แต่กล่าวโดยสรุปว่า ความผิดร้ายแรงนี้กำหนดแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น พ.ร.ฎ.ปี 2530 (เฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา) กำหนดให้ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และภายนอกราชอาณาจักร อยู่ในความผิดร้ายแรง แต่พอปี 2539 กลับไม่มีความผิดต่อความมั่นคงฯ แต่มีความผิดกฎหมายยาเสพติดเข้ามาแทน และปี 2542 มีกฎหมายป่าไม้เข้ามาแทน เนื่องจากสังคมเริ่มตระหนักถึงกระแสรักษ์โลก

ทั้งนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ด้วยว่า ถ้าย้อนไปดู พ.ร.ฎ.เก่าๆ เช่นปี 2514 (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี) ยุคถนอม กิตติขจร หนักกว่าอีก มาตรา 8 เขียนว่า

“ผู้ต้องโทษในลักษณะความผิดดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้

(๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา

.............................

(๓) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์”

อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้ให้ความสนใจกับ พ.ร.ฎ.ปี 2553 ที่ออกโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ระบุ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงต่อราชอาณาจักร มาตรา 107-135 (รวม 112) ขณะที่ พ.ร.ฎ.ปี 2549 รัฐบาลก่อนเกิดรัฐประหาร ได้เพิ่มความผิดฐานก่อการร้าย และมีการระบุเรื่อยมาจนถึงปี 2553

ส่วนความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตนั้น ปี 2542 ไม่มี ซึ่งผู้เขียนระบุว่าขณะนั้นยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยฐานความผิดดังกล่าวมีขึ้นครั้งแรกในปี 2547 เรื่อยมาจนกระทั่งปี 2549,2550,2553

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ประชาไท

 TCIJ


บทวิเคราะห์ : รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับคณะกรรมการแก้ปัญหาน้ำท่วม

บทวิเคราะห์ : รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เลือกใช้รูปแบบคณะกรรมการฯ มาแก้ไข “อุปสรรค” ในการทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่ วมใหญ่ ข้อสรุปจากกลุ่มทัศนคติร่วม ทิศสยาม
โดย ครรชิต ผิวนวล
ก่อนจะเข้าเรื่องนี้ ก็ขอทบทวนประเด็นการพูดคุยเรื่อง”อุปสรรค”ที่นำเสนอทางเว็บ ทิศสยาม ซึ่งสรุปเนื้อความสั้นๆไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้

การทำงานใดๆก็ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในบทความที่คุยกันมาและสรุปไปแล้ว อุปสรรคของการทำงานแก้ไขปัญหา อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ เริ่มจากอุปสรรคที่ค้างคาใจมานานและแก้ไขยากที่สุด ได้แก่ “อุปสรรคระดับองค์กร” หมายถึงลักษณะความรับผิดชอบและการจัดรูปแบบหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดงานวางแผนและงานพัฒนาโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาแบบ บูรณาการ เช่น หน่วยงานวางแผน/พัฒนาเขื่อนก็จะวางแผนและทำแต่เขื่อน ส่วนหน่วยงานดูแลทรัพยากรน้ำก็ดูแต่ทรัพยากรน้ำ หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาสภาพร่องน้ำ ขุดลอกคูคลองก็ถูกแยกออกไปอีกกระทรวงหนึ่ง เช่นนี้เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้ต่างคนต่างวางแผนต่างคนต่างทำโครงการ ซึ่งยากมากที่จะให้งานต่างๆประสานกันได้ หรืออุปสรรคระดับองค์กรอีกลักษระหนึ่ง ได้แก่ การมีหลายองค์กรเกินไปที่ทำงานเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ก็จะมีการเกี่ยงงานกันบ้าง มีโครงการซํ้าซ้อนกันบ้าง ขัดกันบ้าง เสริมงานกันบ้าง นอกจากนี้ลักษณะการจัดองค์กร และลักษณะความรับผิดชอบ ยังมีส่วนทำให้งานวางแผนและจัดทำโครงการไม่ประสานกัน เช่น กรมทางหลวงก็จะวางแผนพัฒนาทางหลวงเป็นหลัก ซึ่งก็มีลักษณะงานที่ซ้ำซ้อนกับกรมทางหลวงชนบท ส่วนการรถไฟก็จะวางแผนพัฒนาโรงการที่เกี่ยวกับเส้นทางรถไฟ หรือการทางพิเศษฯ ก็จะวางแผนเน้นการพัฒนาทางด่วน ทั้งๆที่หน่วยงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่วางแผนและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้งสิ้น ซึ่งเส้นทางต่างๆและการบริการจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ สามารถประสานการเดินทางและขนส่งได้อย่างเหมาะสมและประหยัด เป็นต้น ลำดับต่อไปก็เป็น “อุปสรรคในขบวนการตัดสินใจ” ซึ่งมีงานหลายขั้นตอนตั้งแต่การนำเสนอโครงการใน ระดับกระทรวง ขึ้นไปถึงคณะรัฐมนตรี กลับมาจัดทำงบประมาณเพื่อส่งเข้าสู่สภาฯผู้แทนฯ แต่ละขั้นตอนดังกล่าว ก็อาจจะมีความพยายามในการ”ปรับ”โครงการ (โดยนักการเมือง) ที่ทำให้โครงการต่างๆไม่สามารถตอบสนองเป้าประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาได้ อย่างเหมาะสม หรือก็คือไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสภาพปัญหา (รายละเอียดอยู่ในบทความ) ส่วนอุปสรรคลำดับที่สาม ก็เป็น “อุปสรรคที่เกี่ยวกับนโยบาย” ที่สำคัญๆ ได้แก่ เรื่องของ “ความต่อเนื่องของนโยบาย”, “การจัดสรรบุคลากร” และ “การจัดสรรทรัพยากร” สำหรับการปฏิบัติงานทั้งในระดับงานวางแผนและงานดำเนินโครงการ ลักษณะของอุปสรรคก็คือ การที่นักการเมือง(ไทย)มักจะใช้วิธี แต่งตั้งคนของตนเข้าไปทำงาน โดยมิได้คำนึงความรู้ความสามารถเพียงพอ เช่น มีความเข้าใจลักษณะงานนั้นๆเพียงพอหรือไม่ หรือเพียงคำนึงถึงผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้องเท่านั้น หรือในเรื่องของความต่อเนื่องของนโยบายนั้น ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะข้าราชการจะทำงานก็ต้องมีนโยบายเป็นเครื่องกำกับ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่ นโยบายประกันราคาข้าว (และต่อมาได้ขยายไปถึงพืชผลชนิดอื่นๆ จนท้ายที่สุด ได้ปรับเป็นการประกันรายได้เกษตรกร) ซึ่งต้องถูกยกเลิกไป แล้วไปเริ่มโครงการจำนำข้าวอีกครั้ง ทั้งๆที่นโยบายจำนำ ได้พบเห็นข้อเสียมากมาย และอำนวยประโยชน์เฉพาะเกษตรกรรายใหญ่ๆเท่านั้น (ที่มีข้าวจำนวนมากพอที่จะจำนำ) จนมาถึงอุปสรรคลำดับสุดท้ายได้แก่ “อุปสรรคขณะพัฒนาโครงการ” ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับโครงการใหญ่ๆที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมาก ทั้งนักการเมืองและข้าราชการจะพยายามหาผลประโยชน์ตั้งแต่เริ่มโครงการ ขณะพัฒนาโครงการ ไปจนถึงสิ้นสุดโครงการ จนก่อให้เกิดผลเสียหาย จนต้องระงับโครงการไป …. ครับ …. แล้วเราจะแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ ได้อย่างไร …..

หากท่านได้อ่านบทวิเคราะห์วิจารณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับน้ำท่วมในช่วงนี้ ท่านจะได้อ่านพบอุปสรรคประการใดประการหนึ่งข้างต้น หรือหลายประการรวมกัน แต่อาจจะไม่ชัดเจน ก็ด้วยภาษาที่ใช้จะเน้นสร้างความเร้าใจ และความสะใจ เพื่อดึงดูดความสนใจ จนอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาชัดเจนได้

ท่านทั้งหลายคงได้รับทราบแนวทางการแก้ไขอุปสรรคที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจเลือกใช้ โดยรัฐบาลตัดสินใจตั้งคณะกรรมการสองชุดเพื่อการแก้ไขปัญหา ได้แก่  คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) และ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)  การใช้รูปแบบ “คณะกรรมการ” เป็นความพยายามแก้ไขอุปสรรคทั้งสี่ประการข้างต้นอย่างเบ็ดเสร็จ

เราลองมาพิจารณาดูว่าอุปสรรคใดบ้างที่อาจจะได้รับการแก้ไขโดยใช้รูปแบบ “คระหรรมหาร” เข้ามาทำงาน รัฐบาลจัดตั้ง”คณะกรรมการ”ทั้งสองชุดนี้มาเพื่อมาทำงานวางแผน เสนอแนะยุทธศาสตร์ ตลอดจนโครงการ พร้อมกับจัดทำแผนงานโครงการต่างๆ และเสนอของบประมาณ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติรับไปเร่งรีบดำเนินการต่อไป พูดง่ายๆคือเอาคณะกรรมการมาทำหน้าที่แทนหน่วยวางแผนและศึกษาโครงการของ กระทรวงและกรมกองต่างๆที่ต้องทำงานปกติ ซึ่งแต่เดิมมักมีอุปสรรคในเรื่องของรูปแบบและลักษณะของความรับผิดชอบ ที่แยกส่วนกัน ทำให้ไม่สามารถที่จะบูรณาการแผนงานโครงการต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ หรือจะไม่สามารถรับทราบความคิดเห็นและประสบการณ์ของแต่ละโครงการของหน่วยงาน อื่นได้อย่างเหมาะสม และคณะกรรมการฯยังทำหน้าที่ ส่งต่อผลงานโดยตรงให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติแผนงานโครงการ และสั่งงานโดยตรงไปยังกระทรวงและกรมกงต่างๆที่มีหน้าที่รับไปปฏิบัติต่อไป

พร้อมกันนั้นรูปแบบคณะกรรมการฯก็ยังสามารถจะแก้ไขอุปสรรคหลายๆเรื่องที่ เกี่ยวกับขบวนการตัดสินใจในการพัฒนาแผนงานโครงการไปพร้อมๆกัน เนื่องจากโครงการต่างๆส่วนใหญ่ที่เสนอแนะจากคณะกรรมการฯจะส่งเข้าคณะ รัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งจะลัดผ่านช่องทางปกติที่ต้องได้รับอนุมัติจากเจ้ากระทรวง แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาความเหมาะสมโครงการ รวมไปถึงการออกแบบและการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมยังคงต้องดำเนิน การโดยหน่วยงานปกติ ฉะนั้นจึงยังอาจจะมีอุปสรรคในการเสนอแนะกลับมายังคณะรับมนตรีและ ยังคงต้องเสนอของบประมาณผ่านสภาฯเช่นเดิม

แต่อำนาจของคณะกรรมการทั้งสองชุดนี้มาจากที่ใด มาจากอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่านั้นหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล คณะกรรมการชุดนี้อาจจะหมดอำนาจหน้าที่ไปโดยปริยาย (เพราะคณะรัฐมนตรีผู้แต่งตั้งหมดอำนาจไปแล้ว) ตัวอย่างเช่นนี้มีมาแล้ว เช่น คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติมีนาย นายอานันท์ ปันยารชุน นายประเวศ วะสี เป็นประธานและรองรองประธานกรรมการตามลำดับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อาจจะไม่สนใจที่จะดำเนินการใดๆเลยก็ได้ เพราะไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย เป็นแต่เพียงมติคณะรัฐมนตรีที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้นกรณีของคณะกรรมการทั้งสองชุดที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้แต่งตั้งขึ้น หากไม่มีการออกกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่แท้จริง ก็อาจจะประสบอุปสรรคในการดำเนินโครงการต่อไปได้ หรือหากว่ามีการดำเนินโครงการต่อไป ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงการก็ได้ ฉะนั้นอุปสรรคที่เกี่ยวกับความต่อเนื่องของนโยบายยังมีอยู่ นอกจากจะออกกฎหมายรองรับการทำงานของคณะกรรมการ

แต่หากออกเป็นกฎหมายเพื่อรองรับแผนงานและโครงการ ก็จะต้องระมัดระวังความซ้ำซ้อนของการทำงานกับงานของกระทรวงและกรมกองต่างๆ ที่มีอยู่เดิม

แต่การทำงานในคณะกรรมการ ก็ยังอาจมีอุปสรรคได้ เนื่องจากในการพิจารณาโครงการและแผนงานโครงการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำจริงๆเข้ามาทำงาน (เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการ) เนื่องจากการทำความเข้าใจสภาพปัญหานั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และจะต้องใช้บุคคลที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ทางวิชาการด้วย ฉะนั้นในการแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการเข้ามาทำงานจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องแต่งตั้ง”ผู้รู้”เข้ามาทำงาน โดยไม่คำนึงถึงพรรคพวกจนเกินไป

อุปสรรคลำดับต่อไปจะเริ่มขึ้นที่หน่วยปฏิบัติหรือหลังจากที่มีการอนุมัติ ยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ (อาจรวมถึงแผนงานด้วย) จากคณะกรรมการฯเข้าสู่คณะรัฐมนตรี ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็อาจจะมีการ”ปรับ”โครงการหรือแผนงานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายๆประการ โดยเฉพาะเรื่องการงบประมาณและการเงิน นอกจากนั้นเมื่อโครงการต่างๆเหล่านี้ถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติต่างๆ ยังอาจมีข้อปลีกย่อยหลายๆประการที่จะต้องพิจารณา เช่น การเวณคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและอาจจะต้องเลยไปถึงเรื่องของ สุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการซึ่งจะต้องมีการก่อสร้าง และบำรุงรักษาโครงการก็ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นโครงการต่างๆก็จะยังคงไม่สามารถใช้งานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ ต้องการได้

พร้อมกันนั้น อุปสรรคประการหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ อุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการห้ามก่อสร้างในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตอาจจะมีความพยายามในการ”ปรับ”การใช้ที่ดินอีกก็ได้ หรือมาตรการอื่นๆ เช่น การห้ามรุกล้ำลำคลอง เป็นต้น มาตรการเหล่านี้มักจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนโครงการต่างๆให้สามารถดำเนิน การให้บรรลุวัตถุประสงค์ และหากไม่สามารถที่จะจัดการให้เหมาะสมก็จะกลายเป็นอุปสรรคที่จะทำให้ โครงการๆต่างไม่สามารถที่จะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่พัฒนาขึ้นได้

ฉะนั้นในการทำงานของคณะกรรมการทั้งสองชุดนี้ แม้จะสามารถเอาชนะอุปสรรคสำคัญๆไปได้หลายๆประการ แต่ก็ยังจะยังคงมีอุปสรรคอีกหลายๆประการที่จะต้องทำความเข้าใจ และทำงานอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง มิเช่นนั้นการใช้รูปแบบคณะกรรมการฯก็จะยังคงมีอุปสรรคหลายๆประการ ตั้งแต่ การจัดสรรบุคลากรที่เหมาะสมเข้ามาทำงาน การพัฒนาโครงการต่างๆตามแผนงานที่ได้จัดทำขึ้น ไปจนถึงการบำรุงรักษาและดำเนินโครงการในแต่ละปี ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบการทำงานของระบบราชการในบ้านเรามีอุปสรรคมากมาย และได้รับความใส่ใจในการแก้ไขน้อยมาก และบางครั้งยังได้มีความพยายามที่นักการเมืองจะเป็นผู้สร้างอุปสรรคเหล่านี้ ขึ้นมา ก็ได้ (โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ การจัดสรรบุคลากรและการจัดสรรทรัพยากร เข้ามาร่วมในการทำงาน)
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง