บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ได้ยินไหม “คนเสื้อแดง” …ได้ยินไหม “ทหารหาญ” คอป.ของ อาจารย์คณิต ณ นคร ระบุ “ทักษิณ” ต้นตอความวิบัติ

                                                                                                      ภาณุมาศ ทักษณา

        หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เสาร์ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ พาดหัวว่า

        คอป.ซัด “แม้ว” ต้นตอวิบัติ

        คอป.ย่อมาจาก คณะกรรมการอิสระตรวจสสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ มี อาจารย์คณิต ณ นคร เป็นประธาน

        “แม้ว” เป็นชื่อเล่นของ ทักษิณ ชินวัตร ที่กำลัง “ดิ้นเฮือกสุดท้าย” เพื่อกลับมามีอำนาจเหนือคนไทยทุกวิถีงทาง

        “ต้นตอ” คือ ผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองที่เคยอยู่กันอย่างสงบสุข

        “วิบัติ” คือ คนไทยแตกแยกแบ่งฝ่าย ทำลายซึ้งกันและกัน ,บ้านเมืองถูกเผาทำลายจนย่อยยับ

        ผมขอบันทึกรายงานข่าวชิ้นนี้ไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดหลังปี ๒๕๕๕

ที่ประเทศไทยอาจต้องเสียเอกราชให้แก่ ทักษิณ ชินวัตร ไปในปี ๒๕๕๕

รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2554-16 กรกฎาคม 2554

ในตอนท้ายของรายงานมีข้อเสนอแนะที่ส่งถึงรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวม 8 ข้อ

แต่ที่น่าสนใจคือ การระบุถึงรากเหง้าของปัญหาว่ามีที่มาจากการผูกขาดอำนาจของรัฐบาลทักษิณ และการแทรกแซงอำนาจทางตุลาการ

รายงานชี้ว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากปัญหาหนึ่งปัญหาใดโดยเฉพาะ แต่เป็นผลของการกระทำและเหตุการณ์หลายๆ ครั้งต่อเนื่องกัน

การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เผชิญข้อกล่าวหาคอรัปชั่น เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงองค์กรอิสระ ส่งผลกระทบต่อหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างยิ่ง

สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งดูเหมือนว่าอำนาจทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมดอยู่ที่บางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น ในขณะที่อำนาจทางตุลาการก็ถูกแทรกแซง

จึงเป็นที่มาของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มทางการเมืองต่างๆ ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญคือ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้น และมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา

การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งที่เริ่มจากต่อต้านการรัฐประหาร และรวมตัวกันเป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.)

และจัดการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ

กลุ่มพันธมิตรฯ ได้รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมต่อเนื่องและขับไล่รัฐบาลอีกครั้ง นำไปสู่การสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 2551 เกิดกรณีบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรคจนมีการเปลี่ยนการจัดตั้งรัฐบาลโดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ จนเกิดการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั่วประเทศ

และเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน 2552  และความรุนแรงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ขึ้น

รายงานระบุว่า จากภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องมาตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถึงการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ.2553

คอป.เห็นว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ที่ทุกๆ อย่างมีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ

จนนำไปสู่กระบวนการใช้อำนาจนอกระบบในการแก้ไขปัญหาโดยการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา แต่ในท้ายที่สุดกลับสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ คอป.ได้พูดถึงศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผมเชื่อว่า ศาลธรรมนูญคงจะออกมาชี้แจงและทำความเข้าใจกับสาธารณชนในภายหลัง

ผมจึงขอจบบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้เพียงเท่านี้.



เปิดรายงาน 'คอป.' ฉบับที่2 ชี้ ละเมิดหลักนิติธรรม ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง


คณิต ณ นคร ประธานคอป. แถลงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ได้เผยแพร่รายงานผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ครั้งที่ 2 ห้วงระหว่างวันที่ 17 ม.ค.2554-16 ก.ค.2554 โดยระบุถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและข้อเสนอแนะที่มีต่อรัฐบาล รวมถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ สาระสำคัญของรายงานอยู่ที่ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวม 8 ข้อ แต่ที่เป็นความก้าวหน้าและสอดรับกับสถานการณ์ความขัดแย้งในปัจจุบันอย่างมากมีอยู่ 5 ข้อ กล่าวคือ

1.การดำเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา 215 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้

- เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจำเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่ามีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควรหรือการดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่

- ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจำกัดเสรีภาพ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่ามีเหตุที่จะหลบหนีเหตุ ที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมหากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ หากไม่มีสาเหตุดังกล่าวให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว

- เนื่องจากผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจำเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต

- เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยผู้กระทำผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีรากเหง้าที่สำคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition) การนำเอาหลักความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้นจึงสมควรนำเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้

นอกจากนั้น ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล

2.คอป.เห็นว่าการชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกฝ่ายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ จึงควรดำเนินการอย่างน้อยตามแนวทาง ดังนี้

- ต้องใช้มาตรการพิเศษที่ไม่ติดยึดอยู่กับสิทธิที่มีอยู่ตามกรอบของกฎหมายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานและองค์กรที่ดำเนินการในกรณีปกติ

- รัฐบาลควรเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายในการเยียวยาไม่ควรจำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในช่วงเดือน เม.ย.ถึง พ.ค.2553 เท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 เป็นต้นมา โดยให้รวมถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ควรขยายขอบเขตการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่ชุมชนและสังคมด้วย โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและเหตุการณ์ความรุนแรง

- รัฐบาลควรกำหนดกรอบในการเยียวยาให้กว้างขวาง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์ และครอบคลุมถึงความสูญเสียในลักษณะต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยให้ครอบคลุมถึงความสูญเสียในทางเศรษฐกิจและโอกาสของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งต้องเหมาะสมกับผู้ได้รับผลกระทบแต่ละราย

- รัฐบาลควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำหน้าที่ในการให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการเยียวยาอย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และต่อเนื่อง

3.ควรดำเนินการเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมเนื่องจากการชุมนุม ดังนี้

- เร่งรัดการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของผู้เข้าร่วมชุมนุมและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศ โดยตรวจสอบว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินสมควร ปรับบัญชีรายชื่อผู้ต้องขังและจำเลยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน จำแนกกลุ่มผู้ต้องขังและจำเลยกลุ่มต่าง ๆ อีกครั้งอย่างเป็นระบบ โดยเร่งดำเนินการเยียวยากลุ่มผู้เสียหายที่ตกสำรวจจากบัญชีรายชื่อดังกล่าว หรือที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาโดยเร็ว

- จ่ายค่าทดแทนแก่จำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลได้มีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

- สำหรับจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษถึงที่สุดแล้ว หรือไม่ให้ประกันตัว ควรให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของจำเลยเหล่านั้นในด้านมนุษยธรรม และหากพ้นโทษแล้ว รัฐบาลควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแนะนำในการประกอบอาชีพ เพื่อลดความคับแค้น และฟื้นฟูให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ตามปกติ

4.คอป.มีความกังวลต่อสถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนส่งผลกระทบในทางการเมือง โดยในปัจจุบันประเด็นเรื่องพัฒนาการทางการเมืองและการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lèse majesté) ของประเทศไทยกลายเป็นประเด็นที่สหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และนานาประเทศให้ความสนใจติดตามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว คอป. เห็นว่าประเด็นเกี่ยวกับการนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้ในช่วงเวลานี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ และการแก้ไขปัญหานี้อย่างเหมาะสมจะส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีส่วนสำคัญในการคลี่คลายความขัดแย้งของประเทศไปสู่ความปรองดอง โดย คอป. เห็นควรให้มีการดำเนินการดังนี้

- ในสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ คอป. เห็นว่ารัฐบาลต้องดำเนินการทุกวิถีทางโดยคำนึงถึงเป้าหมายสุดท้าย คือการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในสถานะที่สามารถดำรงพระเกียรติยศได้อย่างสูงสุดเป็นสำคัญ โดยควรดำเนินการอย่างเด็ดขาดและเคร่งครัดต่อผู้ที่จาบจ้วงล่วงละเมิดที่มีเจตนาร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะและหวงแหนของปวงชนชาวไทย แต่ไม่ควรนำเอามาตรการในทางอาญามาใช้มากจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดีอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ

- ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง และต้องยุติการกล่าวอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและตรงประเด็นสามารถทำได้โดยนักการเมือง พรรคการเมือง และกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องต้องหารือกันอย่างจริงจัง เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการให้เกิดผลอันเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง

- รัฐบาลต้องดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเป็นเอกภาพและดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ มีกลไกที่สามารถกำหนดนโยบายในทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจำแนกลักษณะของคดีโดยพิจารณาจากความหนักเบาของพฤติกรรม เจตนา แรงจูงใจในการกระทำ สถานภาพของบุคคลที่กระทำ และบริบทโดยรวมของสถานการณ์ที่นำไปสู่การกระทำ โดยคำนึงถึงสภาพปัญหาในความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจุบันมีความขัดแย้งในทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงมีความพยายามที่จะนำความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นประเด็นในทางการเมือง ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นจากการถวายพระเกียรติยศสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ

- ในการดำเนินการคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อัยการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการใช้ดุลพินิจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ ควรให้ความสำคัญกับแนวทางการสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิจ (Opportunity Principle) ซึ่งเป็นอำนาจของอัยการอันเป็นสากล แม้ว่าคดีมีหลักฐานเพียงพอในการสั่งฟ้อง แต่อัยการต้องให้ความสำคัญกับการชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบผลดีผลเสียในการดำเนินคดีด้วย โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ในกรณีนี้ ประเด็นที่อัยการต้องพิจารณาคือแนวทางใดระหว่างการสั่งฟ้องคดีหรือการสั่งไม่ฟ้องคดี จะเป็นผลประโยชน์สูงสุดในการปกป้องและถวายพระเกียรติยศที่เหมาะสมแด่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ อันเป็นแนวทางที่ใช้กันอยู่ในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

- รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้รับการปล่อยชั่วคราว เนื่องจากข้อหาที่ร้ายแรงมิได้เป็นเหตุตามกฎหมายที่ทำให้ผู้ต้องหาและจำเลยไม่ได้รับสิทธิ การปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังที่ศาลได้อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งศาลได้อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานอยู่เสมอ

- รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนการดำเนินคดีที่นำเอาประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาขยายผลในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง อาทิเช่น การกล่าวหาและโฆษณารณรงค์เรื่องขบวนการ "ล้มเจ้า" ซึ่งอาจมีการตีความกฎหมายที่กว้างขวางจนเกินไปและอาจส่งผลต่อความปรองดองในชาติ และไม่เป็นผลดีต่อการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ในการดำเนินคดีต่อไปจะต้องมีการพิจารณาโดยมีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเฉพาะบุคคลที่ชัดเจนที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม

5.จากการทำงานของ คอป. ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปประการหนึ่งว่าสาเหตุอันเป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งของประเทศจนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเดือน เม.ย.ถึง พ.ค.2553 ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นผลของการกระทำ และเหตุการณ์หลายๆ ครั้งต่อเนื่องกัน ซึ่ง คอป.ได้เรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญๆ ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นมา

จากภาพเหตุการณ์ดังกล่าว คอป.เห็นว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ทุกๆ อย่างมีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ จนนำไปสู่กระบวนการใช้อำนาจนอกระบบในการแก้ไขปัญหา โดยการรัฐประหารซึ่งเป็นการละเมิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา แต่ในท้ายที่สุดกลับสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น

การละเมิดหลักนิติธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมอันเป็นรากเหง้าของปัญหาเกิดจากกรณีของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2547 ในคดี "ซุกหุ้น" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 2 คนที่เคยลงมติว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ลงไปวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดี ซ้ำศาลรัฐธรรมนูญยังนำเอาคะแนนเสียง 2 เสียงหลังนี้ไปรวมกับคะแนนเสียงจำนวน 6 เสียงที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กระทำผิดในข้อกล่าวหาว่า "ซุกหุ้น" แล้วศาลรัฐธรรมนูญได้สรุปเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดยกฟ้อง ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย

แต่ที่ผ่านมารัฐยังละเลยและไม่ได้เข้าไปตรวจสอบถึงรากเหง้าของความไม่ชอบมาพากลหรือความที่น่ากังขาของเรื่องนี้ ดังนั้น คอป.จึงขอเสนอแนะให้รัฐและสังคมได้ตรวจสอบการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง

79ปีรัฐธรรมนูญไทย



ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้น จนถึงปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญ18ฉบับ

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
หลวง ประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) มีส่วนอย่างสำคัญในการร่างถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกและเป็นฉบับชั่วคราว ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน ระหว่าง 13 ปี 5 เดือนนี้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง คือ

ครั้ง ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก“สยาม” เป็น “ไทย” ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น “รัฐธรรม-นูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ไปด้วย

ครั้ง ที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาลซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลาอยู่ในตำแหน่ง ผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 และยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมี พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน ระหว่าง 1 ปี 4 เดือน 14 วันนี้ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3 ครั้ง คือ

ครั้ง ที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 แก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยกำหนดอายุผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ต่ำกว่า 35 ปี และให้ พระบรมวงศานุวงศ์สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2491 แก้ไขกำหนดเวลาในการประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและร่างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2491 แก้ไขให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีเอกสิทธิ์และคุ้มกัน เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 และยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการ รัฐประหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งมี พล.อ. ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 และยกเลิกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2502 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 และยกเลิกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหารซึ่งจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า

เป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างยาวนานถึง 9 ปี 4 เดือน 20 วัน แต่มีอายุในการประกาศและบังคับใช้เพียง 3 ปี 4 เดือน 27 วัน

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 และยกเลิกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยการรัฐประหารของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งมี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี

11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2519 และยกเลิกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารของ “คณะปฏิวัติ” ซึ่งมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี

12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 และได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้ธรรมนูญ ฉบับใหม่ คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521” อันเป็นธรรมนูญฉบับที่ 13

13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 โดยผลจากข้อกำหนดในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควร หากไม่นับบทบัญญัติเฉพาะกาลที่มีผลใช้บังคับอยู่ในช่วง 4 ปีแรกของการประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งประสบความสำเร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2528

14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ประกาศ ใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 ภายหลังจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยได้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เป็นรัฐ-ธรรมนูญที่ตราขึ้นเพื่อใช้แทนธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 โดยมีการแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง 6 ฉบับ

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 ปี 10 เดือน 3 วัน

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดยเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกตั้ง สำหรับฉบับที่สั้นที่สุดคือฉบับที่1 พระราชบัญญัติการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน ฉบับที่ยาวที่สุดคือฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 15 ปี 6 เดือน

17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
คณะ ปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน นำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศชั่วคราว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีจำนวน39 มาตรา โดยได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่24 สิงหาคม 2550 ทันทีที่รัฐธรรมมนูญฉบับที่ 18 มีผลบังคับใช้

18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีจำนวนมาตรา 309 มาตราช่วงที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 นั้น ได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มี "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" (ส.ส.ร.) กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก จากนั้นได้ทำการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ และจัดให้มีการออกเสียง "ประชามติ"
การลงประชามติมีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 โดยผลที่ออกมาคือ ประชาชนลงคะแนน รับร่างรัฐธรรมนูญ 57.81%ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 42.19% จึงทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน และประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

รายงานพิเศษ เขาต้องการ กลับมาเป็นนายกฯ

"ผมไม่ได้ดูถูกประชาชน แต่ส่วนหนึ่งเขาถูกชี้นำทั้งสิ้น ผมยังไม่ได้พูดถึงการซื้อเสียงนะการซื้อเสียงผมก็ว่าไม่ชอบธรรม "

โดย.....ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม


ความวุ่นวายทางการเมืองตั้งเค้าขึ้นอีกรอบหลังฝ่ายเพื่อไทยเดินหน้าช่วย เหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นผิดกับโทษจำคุก 2 ปีคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ เมื่อถูกจับได้จาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ แต่รัฐบาลก็ไม่ลดละ ประกาศจะออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในปีหน้าแทน ทำให้กลุ่มคัดค้านปรากฏตัวเป็น "ขบวนการสวนลุมฯ"ทุกวันศุกร์ ที่เคยเป็นสถานที่ก่อตัวของม็อบเสื้อเหลืองเมื่อครั้งขับไล่ทักษิณเมื่อปี 2548
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว.สรรหา แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี และหนึ่งในหัวขบวน 32 องค์กรเครือข่ายต้านนิรโทษกรรมทักษิณ ที่ได้ร่วมชุมนุมคัดค้านการอภัยโทษที่สวนลุมพินีทุกวันศุกร์ บอกว่าเราไม่อยากถูกตราหน้าว่าเป็นขาประจำทุกวันศุกร์แต่มันมีมูลเหตุจากที่ รัฐบาลจะออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษเอื้อ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อยกเลิกแล้วก็ยังบอกแค่สับขาหลอก และจะออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแทน จึงต้องจัดกิจกรรมต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างอาจจบในวันที่ 2 ก.พ. 2555 เพราะเราก็ห่วงความปลอดภัย แต่ถ้าในอนาคตรัฐบาลยังเดินหน้าต่อ ก็พร้อมจะออกมาดับทุกข์ของประเทศชาติ แม้จะดับไม่หมดก็ตาม
"ผมเจ็บปวดกับคำพูดสับขาหลอกของ ร.ต.อ.เฉลิม มาก ไม่เข้าใจว่าผู้บริหารประเทศมองเห็นประชาชนเป็นอะไร ที่ต้องใช้วิธีการหลอกอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมไม่ทำในสิ่งที่ตรงไปตรงมา ชอบธรรมและชี้แจงเหตุผล และยังบอกว่าจะเดินหน้า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อไป เป็นการโยนเงื่อนไขความขัดแย้งครั้งที่สอง ความจริง ร.ต.อ.เฉลิม เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ควรจะเอาคุณทักษิณมาลงโทษตามกระบวนการ แต่นี่กลับหาวิธีที่จะช่วยผู้ผิดกฎหมาย แล้วมันถูกต้องหรือ ผิดมาตรา 157 ของกฎหมายอาญาหรือไม่ ที่ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เอาคุณทักษิณมาลงโทษ"
ถ้าทักษิณกลับมารับโทษ 1 วัน แล้วนิรโทษกรรมอย่างที่พูดกัน รับได้หรือไม่?
พล.อ.สมเจตน์ตอบทันที "อ้าว... แล้วคนอื่นล่ะ คุณเรียกร้องไม่ใช่หรือ มาตรฐานเดียวกัน แล้วทำไมทักษิณถึงรับโทษวันเดียว คุณจะใช้กระบวนการฝ่ายบริหารมาเอื้อประโยชน์กับคุณหรือ มันก็ไม่ชอบธรรม ทีคนเสื้อแดงที่เสียชีวิต ถูกขัง บางคนเผาศาลากลางจังหวัดโดนโทษคนละ 20 ปี ทำไมเขาไม่มารับโทษวันเดียวบ้าง ทั้งที่คุณเอามวลชนมาตายกับคุณ ติดคุกกับคุณแล้วทำไมคุณไม่ร่วมทุกข์กับเขา ดังนั้นถ้าอาศัยอำนาจบริหารมาติดคุกวันเดียว ผมว่าไม่ชอบธรรมแต่ผมรับได้ว่าในฐานะคุณเป็นอดีตนายกฯ คุณก็ควรได้รับเกียรติบ้างบางส่วน เช่น ความสะดวกสบาย คุณอาจไม่ต้องไปติดคุกกับตรงนั้นก็ได้"
มองยุทธวิธีของฝั่งทักษิณอย่างไร เมื่อเป้าหมายชัดพากลับบ้านไม่ต้องติดคุกอย่างที่แกนนำเพื่อไทยปักธง พล.อ.สมเจตน์ อ่านว่า สุดท้ายจะจบที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษกรรมคดีทั้งหมดข้อมูลที่ได้มาเขาจะออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษก่อน คณะกรรมการที่กระทรวงยุติธรรม พยายามหาข้อกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ทักษิณ ทั้ง พ.ร.ฎ.ตามด้วยพ.ร.บ.การล้างมลทิน สุดท้ายคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าขณะนี้ร่างกันเสร็จแล้ว เพียงแต่รอกระบวนการสร้างความชอบธรรม เช่น การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ
"ถ้าเริ่มมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราก็ต้องชี้ประเด็น เช่น ถ้าเขาเริ่มต้นแก้มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร. มันก็เหมือนกับให้เราเซ็นเช็คมือเปล่าให้คุณ แล้วคุณก็เอาเงินไปใส่เอง คุณต้องบอกให้ชัดว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มันไม่ดีตรงไหน ประเด็นไหนอยากแก้ ถ้าคุณไปแก้โดยปกปิดอำพราง ให้เราเซ็นเช็คก่อนแล้วจะแก้ ผมก็ไม่เห็นด้วย เราไม่ได้คัดค้านทั้งฉบับนะ และผมไม่ใช่ฝ่ายค้านที่รัฐบาลทำอะไรผมก็คัดค้านทุกเรื่อง อันไหนเห็นด้วยผมก็สนับสนุน แต่ถ้าเริ่มไม่ชอบมาพากล เราก็จะแถลงข่าวชี้แจงก่อน แต่ถ้าคุณยังทำเราก็ต้องเคลื่อนไหวต่อไป"
การเมืองปีหน้าที่ประเมินกันว่าจะเกิดการเผชิญหน้าอีกครั้ง เพราะฝ่ายเพื่อไทยปลุกมวลชนออกมา ฝ่ายเสื้อหลากสีก็คัดค้านการนิรโทษกรรม พล.อ.สมเจตน์ เห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่รักษาความสงบของประเทศชาติ ต้องขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งของสังคม แต่ถ้าโยนเงื่อนไขความขัดแย้งมาอยู่ในสังคมก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง ซึ่งรัฐบาลนี้มีพฤติกรรมส่อให้ไม่ไว้วางใจตลอด งุบงิบทำเร็วฉกฉวยโอกาสโดยไม่คิดว่าโอกาสนั้นเหมาะหรือไม่เหมาะ
"รัฐบาลมีหน้าที่รักษาความสงบ ไม่ควรจุดประเด็นที่ทำให้เกิดการนองเลือดขึ้น ถ้าดูพฤติกรรมกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นออกไปในทางใช้ความรุนแรงคุกคาม ไม่ว่าใครมาเป็นฝ่ายตรงข้ามก็จะโจมตี แต่อีกกลุ่มหนึ่งพฤติกรรมไปในทางความสงบเรียบร้อยฉะนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์ รุนแรงขึ้น มันไม่ใช่มาจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย มันจะเริ่มความรุนแรงจากกลุ่มที่สนับสนุนทั้งสิ้น ซึ่งรัฐบาลต้องมีหน้าที่ปราม มิฉะนั้นรัฐบาลก็จะสนับสนุนให้เกิดการจลาจล ฆ่าฟันกัน เกิดการล้มตายของประชาชน รัฐบาลจะภูมิใจหรือที่ยืนอยู่บนเลือดเนื้อของประชาชน จากมูลเหตุที่รัฐบาลเป็นคนเอาเงื่อนไขความขัดแย้งมาโยนในสังคม"
"รัฐธรรมนูญก็เหมือนกัน ถ้าเป็นไปตามที่พวกเราคาดไว้ คือ  เขียนนิรโทษกรรม ผมว่าก็เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงขึ้นแน่ ความรุนแรงจะไม่เกิดจากทางผมแน่นอน เพราะทางผมไม่เคยมีความคิดเรื่องนี้ เราแค่ชุมนุมยื่นหนังสือคัดค้าน ตามครรลองประชาธิปไตย"
อดีตหัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ผู้นี้ยังบอกว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคเพื่อทักษิณ ทั้งวิธีการกระบวนการต่างๆ "ทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ" มันปฏิเสธไม่ได้ว่า ขบวนการทักษิณ พรรคเพื่อไทยขบวนการเสื้อแดง ไม่ใช่กลุ่มเครือข่ายเดียวกัน
คุณปฏิเสธทุกครั้งแต่คุณก็ทำให้เห็นชัดทุกครั้งว่า ใช่...ปากพูดอย่างหนึ่ง แต่การปฏิบัติเป็นอีกอย่างฉะนั้นรัฐบาลแทนที่จะสร้างสิ่งดีกับประเทศชาติ แต่กลับใช้เวลาส่วนหนึ่งทำเรื่องเอื้อประโยชน์เพื่อทักษิณนับแต่เข้าบริหาร ประเทศ
มองเป้าหมายของทักษิณคืออะไร?
"ผมมองนะ การมองนี่ไม่ได้ด้วยเจตนาร้าย แต่มองจากพฤติกรรมที่เขาเปลี่ยนแปลงไป สุดท้ายเขาต้องการกลับมาเป็นผู้นำอีกครั้ง เพราะเริ่มต้นทักษิณขอกลับประเทศ มาอยู่อย่างสงบเหมือนประชาชนคนไทยคนหนึ่ง แต่ตอนหลังเขาค่อยๆก้าวร้าวขึ้น ต้องการพ้นผิดด้วยประการทั้งปวงและขอพระราชทานล้างมลทินกลับเข้ามาสู่การ เลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเพื่อบริหารประเทศ
กับประเด็นปรองดองที่พูดกันขณะนี้ แกนนำสยามสามัคคี เห็นว่าการปรองดองจะสำเร็จได้ มีกรณีเดียว คือ ทักษิณต้องหยุดเคลื่อนไหว
"หากทักษิณหยุดขบวนการต่างๆ ปล่อยให้รัฐบาลบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ มันก็เหมือนกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณอดีตนายกฯ ที่ถูกล้มอำนาจไปและก็หยุด จึงไม่มีใครตามไปอะไร และยังเกือบได้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง อีกอย่างคนไทยเป็นคนให้อภัยง่าย และช่วงทักษิณเป็นนายกฯ ผมก็ยืนยันว่าเขาก็มีคุณงามความดี ไม่ใช่เลวทั้งหมด แต่ถ้ายังเป็นแบบนี้ ก็ไม่มีใครเอาคุณงามความดีมาพูด ก็ต้องเอาความเลวมาพูดกัน
"สรุป คือ ถ้าตัวต้นเหตุความขัดแย้งหยุดขบวนการปรองดองก็จะเกิดขึ้นทันที ทุกอย่างจะเบาลงแน่นอน ความขัดแย้งไม่เกิด คนไทยก็ไม่แบ่งสี ไม่มีการโจมตีกัน และรัฐบาลก็สบายใจที่จะหันมาบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ"
แต่ถ้าไม่หยุด? พล.อ.สมเจตน์ คาดการณ์จะเกิดความขัดแย้งและเสี่ยงต่อการปะทะไม่จบสิ้น
"รัฐบาลเพื่อไทยก็คือบริษัทหนึ่งของทักษิณต้องทำทุกอย่างเพื่อนโยบายของ เจ้าของบริษัทที่ต้องการนิรโทษกรรม มันก็บีบบังคับให้แก้รัฐธรรมนูญ มันเป็นชนวนความขัดแย้งอีกรัฐบาลแทนที่จะไปบริหารประเทศก็ต้องมาหาวิธีการทำ อย่างไรที่จะเอาทักษิณกลับ ...เราผ่านปฏิวัติมา 5 ปี ถ้าทักษิณหยุด ป่านนี้ได้กลับเข้ามาแล้ว ส่วนขบวนการที่จะทำเรื่องอภัยโทษคงไม่มีใครคัดค้าน"
ฝ่ายเพื่อไทยอาจบอกว่า เพราะกลุ่มคัดค้านปลุกม็อบมาชน ไม่เคารพในการแก้กฎหมายพล.อ.สมเจตน์ แย้ง
"ผมไม่ได้ปลุกม็อบมาชน แต่เพราะพลังในโซเชียลมีเดียมันเห็นด้วยกับพวกเรา เขาคลิกดูงานเสวนาของผมเป็นแสนคน มันไม่น่าเชื่อจากระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน คนที่เข้ามาดูก็มีความเห็นที่รักประเทศชาติ ทุกคนเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่รัฐบาลทำไม่ถูกต้อง คนที่มาร่วมชุมนุม หรือฟังเสวนาที่สวนลุมฯ ก็มีหัวคิด และผมไม่ได้ปลูกฝังให้จงเกลียดจงชัง แต่ให้ฟังด้วยเหตุผล"
ทหารเพื่อไทย ทหารเพื่อใคร?
ประเด็นการหมิ่นสถาบันในโลกออนไลน์ที่ระบาดหนัก เป็นอีกเงื่อนไขของฝ่ายคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลเสื้อแดงเร่งจัดการคนอยู่เบื้องหลังโพสต์ข้อความหมิ่น ตอกย้ำจุดอ่อนของพรรคเพื่อไทยที่ถูกโจมตีมาตลอดว่ามีส่วนรู้เห็นกับ "ขบวนการทอนอำนาจสถาบัน"

พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ยืน ยันว่า ในกลุ่มพ.ต.ท.ทักษิณ มีพวกที่ไม่ต้องการสถาบัน เพราะ2-3 ปีที่ผ่านมา ขบวนการจาบจ้วงสถาบันรุนแรงมาก ซึ่งก็อยู่ในเครือข่ายของเขาทั้งนั้น เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามา เว็บไซต์ที่จาบจ้วงก็เพิ่มสูงขึ้น กระทรวงไอซีทีก็ไม่เร่งจัดการ ทั้งที่สามารถจับแฮกเกอร์ทวิตเตอร์ ยิ่งลักษณ์ ได้อย่างรวดเร็ว
การที่รัฐบาลไม่จัดการ ก็แปลว่าร่วมขบวนการสนับสนุนด้วย นอกจากนี้ยังมีความพยายามเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไปในสิ่งที่เขาต้องการ แน่นอนว่าต้องมีการทำลายสถาบันให้ขาดความเชื่อถือ จนไม่น่าเชื่อว่าจะจาบจ้วงกันขนาดนี้ ทำกับพระองค์ได้เพียงนี้เชียวหรือในฐานะอดีตนายทหารราชองครักษ์มายาวนาน พล.อ.สมเจตน์ เล่าถึงภารกิจตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอดีต เล่นเอาบางช่วงเจ้าตัวซาบซึ้งถึงกับนัยน์ตาแดงก่ำ
"ผมเป็นรองผู้บังคับการกองพันรักษาพระองค์ตั้งแต่ยศพันตรี เมื่อปี 2527 และเป็นมาจนอายุ 54 ปี รวม 27 ปี แต่เป็นราชองครักษ์24 ปี ทุกตำหนักผมเคยไปเข้าเวร มีโอกาสตามเสด็จไปถวายความปลอดภัยให้กับพระองค์ท่านทุกขั้นตอน ได้เห็นพระองค์ท่านตรากตรำทรงงานทุกวัน จนสุดท้ายเมื่อพระองค์ชราภาพมากสิ่งที่ผมคิดว่าพระองค์ทรงใช้พระวรกายมากมาย ที่สุดคือ การพระราชทานปริญญาบัตรมากที่สุดคิดดูสิว่าใครวันหนึ่งมานั่ง 3-4 ชั่วโมง ทำท่านั้นยามหนุ่มแข็งแรงก็ยังไหว แต่อายุมากขึ้นก็ไม่ไหว พระองค์ท่านทรงนั่งในท่าทีสง่างามต้องทำทุกอย่าง เป็นการใช้พระวรกายเข้มข้นมาก และทุกคนก็ต้องการรับจากพระหัตถ์พระองค์ท่านและเดี๋ยวนี้ความรู้สึกตรงนั้น หายไปไหน ที่ชื่นชมท่าน มีความหวังที่อยากรับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน"
"ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่คิดร้ายต่อพระองค์ท่าน ก็รับปริญญาบัตรจากพระองค์ท่าน และทำไมตอนนั้นคุณอยากรับ แต่พวกนี้ผมไม่สงสัยผมสงสัยทหาร ทหารที่ร่วมกับกลุ่มจาบจ้วงพระองค์ท่าน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของทหารมากที่สุดคือ บ่าข้างหนึ่งได้มีตราพระราชองครักษ์ เพราะเป็นเกียรติของวงศ์ตระกูล ได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ท่าน ได้ไปเห็นพระองค์ท่าน ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ทุกคน"
สิ่งที่พล.อ.สมเจตน์ ตั้งข้อสงสัยมากที่สุดคือบิ๊กทหารในพรรคเพื่อไทย เพราะส่วนใหญ่เป็นราชองครักษ์ทุกคน แต่ทำไมถึงเพิกเฉยต่อพฤติกรรมการจาบจ้วง
"ผมไม่เห็นมีทหารที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยคนไหน ออกมาปกป้อง ออกมาโจมตีเว็บไซต์จาบจ้วง ทำไมล่ะ เดี๋ยวนี้คุณลืมแล้วหรือ คุณถวายสัตย์ปฏิญาณที่จะปกปักรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ คำปฏิญาณของคุณในหัวใจหายไปไหนหมด ผมไม่โทษประชาชน นักวิชาการ หรือกระทั่งผู้รับปริญญาบัตร แต่ผมไม่เข้าใจทหารในเพื่อไทย อย่าง รมว.กลาโหม ก็ไม่เห็นออกมาทำหน้าที่ปกป้องสถาบัน ใครตอบผมได้ขอเชิญมาอธิบายให้ผมฟังว่าคุณ (ทหาร) ไปอยู่ตรงนั้นทำไม ไปอยู่กับกลุ่มคนที่จาบจ้วงสถาบันได้อย่างไร และคุณมีวิธีการอย่างไรให้ขบวนการตรงนั้นหายไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันให้ อยู่คู่กับประเทศชาติตลอดไป"
เคยถามทหารในพรรคเพื่อไทยไหม?
ก็รู้จักทั้งนั้น ก็ถามทุกคน แต่ก็มีข้อแก้ตัวว่า เข้าไปเพราะดึงให้เขากลับมารักสถาบัน ดังนั้นให้ผมไปรวมสมาคมกับเขาก็ไม่เอา ถามว่าทำไมผมไม่เข้าก็เพราะผมรังเกียจ ผมไม่ชอบคนเลว แม้กระทั่งพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ที่บอกว่าเป็นราชองครักษ์รักษาพระองค์ แล้วคดีที่จาบจ้วงหมิ่นสถาบันไปถึงไหน เห็นแต่ข่าวว่า ดีเอสไอ ไปเปลี่ยนพนักงานสอบสวนหมด เพื่อเอื้อประโยชน์ใช่หรือไม่ อย่าง สส.คนหนึ่งที่ไปปราศรัยเรื่องพระองค์ท่านจนเป็นคดีหมิ่นฯ แต่ก็พลิกมาเป็นไม่หมิ่นฯ ขนาดคนฟังที่เป็นเด็กก็ยังรู้ว่าหมิ่นฯ แต่คุณใช้การตีความทางกฎหมายไปเข้าข้างว่าไม่หมิ่นฯ มันรับฟังไม่ได้ คุณถวายสัตย์ปฏิญาณไว้ว่าจะทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวมเพื่อชาติ แต่พฤติกรรมจริงๆ คุณกลับทำในสิ่งที่ไม่ชอบธรรม"
กับข้อถกเถียงว่า กลุ่มคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคารพในเสียงส่วนใหญ่ 15 ล้านคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยมาปกครองด้วยเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตย แล้วประชาธิปไตยในทัศนะของ พล.อ.สมเจตน์ เป็นอย่างไร
"ประชาธิปไตยที่เราพูดกันมันก็เสียงส่วนใหญ่ แต่ประชาธิปไตยของเราผิดเพี้ยนไปจากประเทศที่เป็นโลกประชาธิปไตยที่เขามั่น คงแข็งแรง เพราะประเทศที่มีประชาธิปไตยที่ดี เขามีชนชั้นกลาง 70-80% เป็นคนที่ได้รับการศึกษาไม่มีใครมาชี้นำมาชักจูงหรือให้อามิสสินจ้างได้แต่ ของเราชนชั้นกลางมีน้อย 20% ที่เหลือเป็นเกษตรกร ชนชั้นรากหญ้า 70-80%
"ผมไม่ได้ดูถูกประชาชน แต่ส่วนหนึ่งเขาถูกชี้นำทั้งสิ้น ผมยังไม่ได้พูดถึงการซื้อเสียงนะการซื้อเสียงผมก็ว่าไม่ชอบธรรม และสิ่งต่างๆเป็นความไม่ชอบธรรมทั้งสิ้น เมื่อได้คะแนนเสียงมาก ไม่ใช่ว่าสามารถทำทุกอย่างได้ตามที่ต้องการ เขาให้เสียงคุณไปบริหารประเทศ ไม่ใช่ให้คุณไปคดโกงประเทศ ไม่ใช่ให้คุณเอาประเทศนี้ไปให้ทักษิณ หรือรัฐบาลต้องทำอะไรทุกอย่างเพื่อทักษิณ"
แต่คนชั้นล่างเติบโตเป็นคนชั้นกลางมากขึ้นพัฒนาทางประชาธิปไตยเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน พล.อ.สม เจตน์ ตอบ อันนี้ดี แต่ทำไมพฤติกรรมของคุณยังโกงกิน ที่พูดนี่ไม่เฉพาะนักการเมืองแต่รวมถึงข้าราชการด้วย มันมีขบวนการของมันวิธีการคอร์รัปชันได้ปรับรูปแบบ แตกต่างจากอดีตมากขึ้น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยที่พัฒนาการทางประชาธิปไตยกำลังเติบโตน่าจะมี คุณธรรมมากกว่านี้

โครงการพระราชดำริ‘คลองลัดโพธิ์’หนึ่งในพระอัจฉริยภาพ

เป็นที่แจ้งประจักษ์ชัดว่าน้ำพระ ทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง นับจากที่ทรงมีปฐมบรมราชโองการเมื่อคราวเสด็จ เถลิงถวัลยครองสิริราชสมบัติว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” กระทั่งถึงวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 60 ปีที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม หรือธรรมของพระราชาด้วยพระวิริยอุตสาหะสร้างความร่มเย็นผาสุก และความอุดมสมบูรณ์แก่ประเทศชาติ ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ขณะเดียวกันยังมีพระราชกรณียกิจสำคัญๆ อีกน้อย ใหญ่เกิดขึ้นอย่างมากมาย

โดยเฉพาะเรื่องของปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งเรื่องของน้ำท่วม น้ำใช้ในภาคการ เกษตร ไปจนกระทั่งเรื่องของปัญหาน้ำเสีย พระองค์ทรงสนพระทัยในการแก้ปัญหาทุกๆ เรื่อง กระทั่งก่อเกิดเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริหลายๆ โครงการทั้งเรื่องของคันกั้นน้ำ, ทางผันน้ำ, เขื่อนเก็บกักน้ำ ฯลฯ ล่าสุดกรณีโครงการคลองลัดโพธิ์ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าขานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีมหาอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

ย้อนอดีตเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ถือเป็นอีกหน้าในประวัติศาสตร์ไทยเพราะนอกจากจะเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทาง ชลมารคครั้งแรกในรอบ 4 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ยังได้ เสด็จไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และสะพาน ภูมิพล 1 ภูมิพล 2 ที่อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ด้วย ทั้งๆ ที่ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในห้วงเวลาประทับฟื้นฟู พระวรกาย ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่เพราะด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ประกอบกับสายพระเนตรอันยาวไกลที่หวังจะปัดเป่าแก้ไขความทุกข์ร้อนของประชาชน

โดยเฉพาะเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ กรุงเทพฯ และหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางในปี 2538 พระองค์ได้ทรงพระราชทานแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแก่ นายรุ่งเรือง จุลชาต อธิบดีกรมชลประทาน พล.ต.อ.จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และนายจริย์ ตุลยานนท์ อดีตอธิบดีกรม ชลประทาน และกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาในขณะนั้น ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันเร่งศึกษาพิจารณาวางโครงการและดำเนินการ ปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ บริเวณคุ้งน้ำช่วงที่ ไหลผ่านเขตพื้นที่บางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 18 กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 600 เมตร เพื่อย่นระยะทางการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลัดลงสู่ทะเลได้สะดวกและ รวดเร็วขึ้น อันจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลได้อย่างดี

โครงการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้รับสนองพระราชดำริดำเนินการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์จากเดิมที่มีสภาพตื้น เขินมีความกว้างเพียง 12 เมตร ให้สามารถรับปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือขนาด กว้าง 14 เมตร จำนวน 4 บาน ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ำกว้าง 65 เมตร ความยาวรวม 600 เมตร

ด้วยพระอัจฉริยภาพ คลองลัดโพธิ์บริเวณคุ้งน้ำช่วงที่ไหลผ่านพื้นที่ ตำบลบางกระเจ้า จากเดิมที่ตื้นเขิน กว้างเพียง 10-15 เมตร ได้กลายเป็นคลองน้ำลึก ลด ระยะทางการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยา จาก 18 กิโลเมตร เหลือเพียง 600 เมตร อีกทั้งลดเวลาการเดินทางของน้ำจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 นาที นอกจากนี้พลังน้ำที่ระบายผ่านคลองยังสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเพิ่มทาง เลือกในการใช้ไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ได้ด้วย ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้ง แต่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ที่ได้รับ 161.4 ล้านบาท/ปี และประโยชน์ ทางอ้อมอื่นๆ ทั้งช่วยลดภาระการป้องกันน้ำท่วม ลด การสูญเสียทรัพย์สินและเวลาในการเดินทาง ประหยัด ค่ากระแสไฟฟ้าสูบน้ำ ของระบบป้องกันน้ำท่วมเดิม การเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินที่เคยเกิดน้ำท่วม รวมถึงลดภาระการบริหารงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเฉพาะหน้าของภาครัฐได้อีกด้วย

และนี่คืออีกหนึ่งแห่งอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่าง หาที่สุดมิได้ สำหรับโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อีกหน้าในประวัติศาสตร์ไทย

10 ธันวาคม


                                                                     ดร.วิษณุ เครืองาม
         พรุ่งนี้เป็น วันรัฐธรรมนูญ ปฏิทินไทยเขียนว่า Constitution Day เป็นวันหยุดราชการประจำปี และเพราะปีนี้ตรงกับวันเสาร์ ราชการจึงหยุดชดเชยในวันจันทร์ให้อีกวัน กลายเป็นวันหยุดยาว 3 วันติดกัน         การกำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ ไทยก็งง ฝรั่งก็งง คืองงว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้ถึงต้องมารำลึกถึงกัน เคยถามนักศึกษาในชั้นเรียนก็ได้คำตอบว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ช่างมันเถอะครับ เอาว่าหยุดราชการ หยุดเรียนก็แล้วกัน ความจริงอาจงงหนักกว่านี้ถ้าผมจะบอกว่าในบางประเทศเคยมีการเฉลิมฉลองจุดพลุ จุดดอกไม้ไฟด้วยซ้ำ แต่เปล่าหรอก เขาไม่ได้ฉลองวันรัฐธรรมนูญของไทย แต่ฉลองวันสิทธิมนุษยชน เพราะเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2492 สหประชาชาติประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรก
        เราคงจำได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ปีหน้าครบ 80 ปี) ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เพื่อวางระเบียบการปกครองแบบใหม่โดยไม่มีพิธีรีตองในการพระราชทาน        พระราชบัญญัตินี้ถ้าจะว่าไปแล้วก็คือรัฐธรรมนูญฉบับแรกนั่นเองและควรถือว่าวันที่ 27 มิถุนายนเป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่เพราะไม่ได้เรียกชื่อตัวเองว่า รัฐธรรมนูญ” (เพราะ ยังไม่รู้จัก) ทั้งยังเป็นฉบับชั่วคราวใช้ไปพลางก่อน และยังไม่สมบูรณ์นักเนื่องจากไม่ได้ระดมความคิดในเวลาร่าง จึงมีข้อตกลงกันเองในหมู่ผู้ก่อการหรือคณะราษฎร และระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายอำนาจเดิมในขณะนั้นว่าจะต้องมีการยกร่าง ระเบียบการปกครองฉบับใหม่มาใช้แทนโดยเร็ว
        ผล จากการนี้คือ เมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้นแล้วสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นยก ร่างฉบับใหม่ทันที อนุกรรมการส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมายชั้นนำของประเทศโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎรหรือหัวหน้ารัฐบาลเป็นประธาน พระยามานวราชเสวี อนุกรรมการท่านหนึ่งเคยเล่าให้ผมฟังว่าที่มาของกฎหมายใหม่นี้มาจาก 5 ทาง คือหลักการเดิมของคณะราษฎร ความคิดของคณะอนุกรรมการยกร่างเอง แนวทางที่ประธานรับไปกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชดำริ การศึกษาเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ และความเห็นเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร        ระหว่างนั้นก็มีข้อเสนอแนะอื่นเข้ามามากมาย เช่นจากม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณและหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ที่เสนอให้เรียก รัฐธรรมนูญและอีกหลายเรื่องซึ่งคณะอนุกรรมการเห็นชอบด้วยเป็นส่วนใหญ่
        เมื่อการยกร่างสำเร็จลงและสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบได้เสร็จภายในเวลาประมาณ 5 เดือน นับจากวันยึดอำนาจซึ่งนับว่าเร็วมาก รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอให้จัดพิธีพระราชทานเป็นทางการ พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศเป็นโหรสำคัญได้คำนวณพระฤกษ์ว่าควรจัดในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หรือวันอื่น ๆ อีก 2-3 วัน ที่เนิ่นนานไปจนถึงเดือนมกราคมก็มี รัฐบาลพิจารณาแล้วถวายความเห็นว่าควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคมช่วงบ่าย
        วันนั้นจัดเป็นพิธีสำคัญ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม รัชกาลที่ 7 ทรงเครื่องพระบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ แต่ไม่ทรงพระมหาสังวาลย์ของรัชกาลที่ 1 และไม่โปรดฯ ให้ทอดพระแท่นมนังคศิลา รับสั่งว่า เมื่อรักษาอำนาจของท่านไว้ไม่ได้ก็ไม่ควรใช้ของท่าน  พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานเจ้าพระยาพิชัยญาติประธานสภาผู้แทนราษฎร        เสร็จ พิธีได้เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคมมีการเชิญพานรัฐธรรมนูญออกให้ประชาชนที่รออยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าชมท่ามกลางเสียงไชโยกึกก้อง รัฐบาลให้จัดงานเฉลิมฉลองทั่วประเทศ งานอย่างนี้ยังจัดต่อมาอีกหลายปีเรียกว่างานวันรัฐธรรมนูญ และมีการประกวดนางสาวสยาม (นางสาวไทย) ด้วยทุกปี
       ฤกษ์ของเจ้าคุณธรรมฯ แรงเอาการเพราะรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกนี้ใช้มาถึง 14 ปี และได้ย้อนกลับมาใช้อีกหนในปี 2495-2502 อีก 7 ปี (มีแก้ไขบ้าง) นับตามลำดับก็ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของ ไทยและมีอายุยืนยาวที่สุด แต่เพราะใช้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกและเป็นฉบับถาวรรวมทั้งเพื่อความ ปรองดองกับทุกฝ่ายไม่ให้สะเทือนใจจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือน มิถุนายน เราจึงให้วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญ แม้นับมาถึงบัดนี้เรามีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นฉบับที่ 19 ก็ตาม       จนร่ำ ๆ ว่าเริ่มมีคนเรียกร้องจะให้จัดทำฉบับที่ 20 อีกแล้ว ว่าแต่ว่าหาฤกษ์ผานาทีให้เจ๋งเหมือนฤกษ์เจ้าคุณธรรมฯ นะครับ!.

กฎหมายไม่ยุติธรรม กฎหมายไม่จัดการกับคนไม่ดี

โดย รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์



        มีคำกล่าวหรือคำถามที่เรามักได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอเมื่อมีปัญหาเรื่องใด เรื่องหนึ่งเกิดขึ้น และมีประเด็นเกี่ยวข้องกับกฎหมาย คือ “ทำไมกฎหมายถึงไม่ดี ไม่ยุติธรรม?1 ทำไมกฎหมายใช้จัดการคนเลวไม่ได้ ? บางครั้งยิ่งไปกว่านั้น คนดีแต่กฎหมายเล่นงาน ?
         บทความนี้มุ่งประสงค์ที่จะทำความเข้าใจต่อคำถามหรือปัญหาดังกล่าว

กฎหมายคืออะไร : กฎหมายเป็นกติกาที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
           กฎหมายคืออะไรนั้น สามารถให้คำตอบได้หลากหลายแล้วแต่จุดเน้นที่แตกต่างกันไป2 เพื่อความเข้าใจปัญหาหรือคำถามดังกล่าว ในแง่มุมหนึ่งกฎหมายเป็นกติกาที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่น
         กฎหมายอาญาบัญญัติห้ามไม่ให้ทำร้ายร่างกายคนอื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ ไม่ให้ด่าทอกัน3 ไม่ใช้กำลังแก้แค้นกันเอง กฎหมายจราจรทางบกบัญญัติห้ามขับรถฝ่าไฟแดง ให้ขับรถชิดซ้าย4 ไม่ขับรถไปพูดโทรศัพท์ไปโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยฟัง5 ฯลฯ กฎหมายเหล่านี้ช่วยทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข หากปราศจากกฎหมายเหล่านี้ความวุ่นวายโกลาหล ความไม่สงบเรียบร้อยจะเกิดขึ้นและนำไปสู่ความจลาจลในที่สุด


กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศมีความเจริญ มีประสิทธิภาพ
         ในอีกบริบทหนึ่ง กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารประเทศทำให้ประเทศมีความเจริญก้าว หน้า มีประสิทธิภาพ มีระบบต่าง ๆ ที่ดี เช่น
         กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต6 บัญญัติให้มีศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม7 เพื่อจะทำให้ระบบอำนวยความยุติธรรมทางปกครองดีขึ้น บัญญัติให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ขึ้นมาโดยเฉพาะ8 โดยเชื่อว่าจะทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดีและรัฐบาลที่ดี บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและสรรหาผสมกัน9 โดยเชื่อว่าจะทำให้ระบบการควบคุมตรวจสอบและการออกกฎหมายดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือกฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ผู้ใดมีรายได้มากก็ควรต้องเสียภาษีมากกว่าผู้มีรายได้น้อย ในบางกรณีแม้จะมีรายได้แต่ก็ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีเพราะรัฐ ต้องการกระตุ้นให้มีกิจกรรมในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้น อาทิ รัฐกำหนดให้ผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดาได้รับหักค่าลดหย่อนเพื่อสนับสนุนส่ง เสริมผู้ที่กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา10 ฯลฯ

กฎหมายมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความถูกต้องและความยุติธรรม
         ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ที่ว่ากฎหมายเป็นกติกาที่ช่วยทำให้คนในสังคมได้อยู่ ร่วมกันอย่างปกติสุข หรือเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศมีประสิทธิภาพมีความเจริญก้าวหน้า จุดมุ่งหมายในที่สุดก็ต้องอยู่บนหลักของความถูกต้องและความยุติธรรม
          กฎหมายต้องมีขึ้นเพื่ออำนวยความยุติธรรมเสมอ ดังนั้นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจึงต้องยุติธรรม ความยุติธรรมคืออะไร ? ความยุติธรรมคือความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม และความชอบด้วยเหตุผล11 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความยุติธรรมคือสิ่งที่บุคคลซึ่งมีเหตุมีผลและมีความรู้สึกผิดชอบเห็นว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม12
         ความถูกต้องและความยุติธรรมเป็นสภาพนามธรรมที่บางครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายที่ คนทุกคนทุกหมู่เหล่าจะพิจารณาเห็นถูกต้องตรงกันทั้งหมด13 ในแต่ละเรื่องแต่ละบุคคลก็อาจจะเห็นว่าสิ่งที่เป็นความถูกต้องและยุติธรรม แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะบุคคลแต่ละคนมีเหตุมีผลและมีความรู้สึกผิดชอบไม่เสมอกัน
         ดังนั้นความถูกต้องและความยุติธรรมจึงต้องเป็นความถูกต้องและความยุติธรรม ตามกฎหมายที่ได้บัญญัติขึ้น ไม่ใช่ความถูกต้องหรือความยุติธรรมตามความเห็นของคนใดคนหนึ่ง

            โดยเหตุนี้กฎหมายจึงต้องออกโดยรัฐสภาซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของปวงชนโดยชอบ ธรรม แต่ก็ไม่ใช่ว่ารัฐสภาจะออกฎหมายมีเนื้อหาสาระอย่างไรก็ได้ จะออกกฎหมายให้ผู้ชายกลายเป็นผู้หญิงไม่ได้ การปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่ Rule by law แต่เป็น Rule of law กฎหมายที่รัฐสภาออกจึงต้องอยู่ภายใต้หลัก “นิติธรรม” ซึ่งเป็นหลักของกฎหมายที่ให้หลักประกันว่ากฎหมายจะมีความยุติธรรม14 เช่น จะออกกฎหมายที่มุ่งใช้บังคับย้อนหลังเพื่อลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เจาะจงไม่ได้ ออกกฎหมายรองรับการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ กระทำในอดีตและจะกระทำในอนาคตเป็นการทั่วไปว่าไม่เป็นการผิดกฎหมายไม่ได้
         อย่างไรก็ตาม ถ้ากฎหมายที่รัฐสภาตราออกมาแล้วไม่ดี ไม่ช่วยทำให้สังคมสงบสุข ไม่ช่วยทำให้ประเทศชาติมีประสิทธิภาพ มีความเจริญมากขึ้น ไม่ช่วยทำให้เกิดความถูกต้องและความยุติธรรมก็ต้องแก้ไขที่รัฐสภาด้วยการ แก้ไขปรับปรุงหรือบัญญัติกฎหมายให้ดีขึ้น15

กฎหมายใช้บังคับกับทุกคนเสมอหน้ากัน
    กฎหมายที่มีไว้เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด ถ้ามีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นและเมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้วเป็นความผิด นักกฎหมายจักต้องวินิจฉัยว่าเป็นความผิด โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้กระทำผิดเป็นใคร จะร่ำรวยหรือยากจน จะนับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น จะผิวขาวผิวดำหรือผิวเหลือง และไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลว กฎหมายใช้บังคับกับทุกคนโดยเสมอภาค16 ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นและเมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้วไม่ เป็นความผิด นักกฎหมายก็ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดไม่ว่าผู้กระทำจะเป็น คนประเภทใด จะเป็นคนดีหรือคนเลว

กฎหมายไม่ใส่ใจกับความดี ความเลว ?
        กฎหมายมีจุดหมายปลายทางที่ความถูกต้องและความยุติธรรม ความดีย่อมเป็นความถูกต้อง แต่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าเป็นคนดีแล้วจะกระทำผิดไม่ได้ ถ้าเป็นคนเลวแล้วจะไม่มีทางทำถูกต้องเลย
    สมมติว่าเป็นคนดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าบังเอิญทำผิด ถ้าบังเอิญยั้งใจไม่ได้ ใช้กำลังทำร้ายร่างกายคนอื่น (ซึ่งเป็นคนเลว) คนดีถ้าตกอยู่ในสถานการณ์คับขันลักขโมยนมหนึ่งกระป๋องเพื่อไปเลี้ยงบุตรที่ กำลังจะอดตาย คนดีที่บังเอิญไม่รอบคอบ พลั้งเผลอประมาทขับรถชนคนตาย คนดีที่อาจไม่ได้ดูในรายละเอียดได้กระทำผิดกฎหมายเทคนิคต่าง ๆ คนดีในทุกสถานการณ์นี้ได้กระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย นักกฎหมายต้องวินิจฉัยว่าผิด ในทางตรงกันข้ามคนเลวที่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมายเรื่องนั้น ๆ ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นความผิด ก็คือไม่ผิด นักกฎหมายไม่พึงทำลายหลักกฎหมายเพียงเพราะต้องการผลเฉพาะหน้า เพราะการทำลายหลักกฎหมายคือการทำลายความยุติธรรม ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อสังคมในระยะยาว
    ความดี ความเลวของบุคคลนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถเปลี่ยนผิดให้เป็นถูกหรือทำถูกให้ เป็นผิดได้ แต่ความดี ความเลวของบุคคลนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายจะพิจารณาในชั้นถัดไป อาทิศาลสามารถใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษ รอการลงโทษ หรือแม้กระทั่งลงโทษในสถานเบาหรือหนักได้โดยชอบด้วยกฎหมาย17

ความส่งท้าย
         การปกครองโดยกฎหมายเป็นการปกครองที่มุ่งไปสู่ความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม ความเจริญก้าวหน้า ความมีประสิทธิภาพของประเทศชาติโดยมีความถูกต้องและความยุติธรรมเป็นจุดหมาย ปลายทาง
    อย่างไรก็ตามความยุติธรรมตามกฎหมายอาจมีข้อบกพร่องตั้งแต่ชั้นรัฐสภาในขั้น ตอนการออกกฎหมาย เพราะมนุษย์เป็นผู้บัญญัติกฎหมาย ถ้ามนุษย์ผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีความรู้ ขาดประสบการณ์ เร่งรีบ ไม่รอบคอบ หรือแม้กระทั่งเป็นคนไม่ดี กฎหมายก็อาจบิดเบี้ยว บกพร่อง ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรมได้
    ความยุติธรรมตามกฎหมายอาจมีข้อบกพร่องในชั้นกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนของ การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาค เลือกปฏิบัติ ขาดความรู้และมีอคติ กฎหมายก็อาจกลายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ทำลายกัน
    แม้กฎหมายและการอำนวยความยุติธรรมตามกฎหมายอาจมีข้อบกพร่อง แต่การอำนวยความยุติธรรมภายใต้กฎหมายย่อมมีความยุติธรรมมากกว่าการอำนวยความ ยุติธรรมตามอำเภอใจของบุคคลแน่นอน มิฉะนั้นแล้วประเทศที่พัฒนาและสงบสุขทั้งหลายในโลกนี้ก็คงจะล้มระบบกฎหมาย หันไปสู่การอำนวยความยุติธรรมที่ขึ้นกับบุคคลกันทั้งหมดซึ่งก็มิได้เป็นเช่น นั้น
    ทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่คือการหาหนทางป้องกัน แก้ไข ไม่ให้ข้อบกพร่องต่าง ๆ เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดนั่นเอง

          
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง