วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ไม่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ระบบงานยุติธรรมจะกลายเป็น "ไส้ติ่ง- กาฝาก"
“จรัญ ภักดีธนากุล” เชื่อทำโพลสำรวจความเชื่อมั่นคนไทยต่อระบบงานยุติธรรม ผลจะออกมาต่ำกว่า 50% แน่ แนะ'ศาล อัยการ ตร. ทนาย' เร่งปฏิรูปตนเอง ระบุสื่อ-ปชช. วิจารณ์ศาลได้ แต่ต้องติเพื่อก่อ-สร้างสรรค์
วันที่ 21 พฤษภาคม สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง รุ่นที่ 3 (บสส. 3) โดย ศ.จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ บรรยาย ในหัวข้อ "หลักกฎหมายและปัญหาการบังคับใช้" ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ศ.จรัญ กล่าวถึงการทำหน้าที่ผู้พิพากษา หรือคนที่ทำงานด้านกฎหมายทั้งหมด ควรจะยึดแนวทาง 4 ประเด็นของโสเครติสไว้เป็นหลักคิด ได้แก่ ฟังอย่างตั้งใจ ไตร่ตรองด้วยปัญญา เจรจาอย่างบัณฑิต และวินิจฉัยด้วยความเป็นธรรม รวมทั้ง “สื่อ” ด้วยที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลอย่างดีก่อน เพราะหากเอียงไปด้านใด สังคมก็จะมีปัญหา
“ที่ผ่านมาสื่อมักจะลงข่าวตัดสินคดีไปก่อนศาล ขณะที่คนส่วนใหญ่ของสังคมก็เชื่อว่า สื่อลงข่าวถูกต้อง นั่นหมายวามว่า หากศาลตัดสินตรงข้ามกับสื่อ สังคมก็จะประณาม"
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ระบบงานยุติธรรมตั้งอยู่บนความเชื่อของสังคม ดังนั้น เมื่อข้อมูลต่างกัน ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก ระบบงานยุติธรรมก็จะเสื่อมอยู่ดี ซึ่งความเสื่อมนั้นไม่สามารถวัดเป็นปริมาณ หรือวัดเป็นดีกรีได้ว่า มากน้อยแค่ไหน ยิ่งเมื่อไม่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ระบบงานยุติธรรมก็จะกลายเป็น "ไส้ติ่ง" ของสังคม เป็น "กาฝาก" ที่สังคมต้องเลี้ยงไว้ด้วยราคาแพงมาก
สำหรับการทำโพลสำรวจความเชื่อมั่นของคนไทยทั่วประเทศต่อความเชื่อถือและพอใจในระบบงานยุติธรรมนั้น ศ.จรัญ กล่าวว่า หากมีการสำรวจออกมาก็เชื่อว่า ผลจะออกมาต่ำกว่า 50% ซึ่งไม่ว่าระบบงานยุติธรรมพิจารณาอะไร หากไม่กระทบใครก็รับได้ แต่หากกระทบกระเทือนก็ต้องโดนวิจารณ์
ส่วนจะทำอย่างไรให้ประชาชนกลับมาเลื่อมใสศรัทธามากขึ้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จะต้องเริ่มต้นที่คนในระบบงานยุติธรรมก่อน เพราะไม่มีใครสามารถปรับปรุงหรือปฏิรูปศาล ไม่ว่าศาลไหน ระบบสถาบันอัยการที่ยิ่งใหญ่ สถาบันตำรวจที่คุมอำนาจไม่ทั่วประเทศ และระบบทนายความ 4-5 หมื่นคนที่ไม่อยู่ในระบบราชการได้ มีการดูแลกันเอง
"หากใครทะเล่อทะล่าไปปรับปรุงศาล อาจจะพลาดพลั้งเสียทีศาลได้ มีทางเดียวที่ปรับปรุงระบบงานยุติธรรม ระบบกฎหมาย รวมไปถึงการออกกฎหมายต่างๆ ได้ คือ ความรู้ความเข้าใจร่วมกันของประชาชนว่าถึงเวลาที่เราจะปฏิรูปกฎหมายและระบบ งานยุติธรรม"ศ.จรัญ กล่าว และว่า แต่หากศาลไม่ปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ในที่สุดประชาชนก็จะล้มล้าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่อันตรายที่สุดในประเทศไทย เพราะจะเปลี่ยนไปสู่ขั้วอีกด้านหนึ่ง ฉะนั้น กลุ่มที่ต้องเร่งเปลี่ยนแปลง คือ นักกฎหมาย เพราะไม่ได้ผลิตอะไรให้สังคมเลย
ศ.จรัญ กล่าวถึงจุดอ่อนของศาลและข้อจำกัดของกฎหมาย คือ การตัดสินที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามสำนวนความ ไม่สามารถพิพากษาได้นอกเหนือจากข้อเรียกร้องของโจทก์ แต่ตามกฎหมายไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องเชื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องทั้งหมด ศาลสามารถสืบพยานและเรียกผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาต่อได้ อันเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อให้ความจริงปรากฏและให้สังคมเชื่อได้ว่าศาลไม่ เชื่อตามสำนวนจนเกินไป
ศ.จรัญ กล่าวอีกว่า อยากเห็นสื่อสาธารณะบ้านเรามีส่วนช่วยสอบทานหลายๆ ระบบในสังคม เช่น ในระบบงานยุติธรรม สื่อต้องมีศักยภาพพอที่จะดูออกว่า อะไรจริง เท็จ เพื่อจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด แต่ปัจจุบันยังพบว่า มีการนำข้อมูลที่เป็นเท็จมานำเสนอเพื่อเล่นงานกัน ทั้งนี้ ควรจะถือเป็นจุดร่วมกันระหว่างการทำงานของสื่อกับกฎหมายในการเชื่อมโยง ข้อมูลหรือสอบทาน ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ในแต่ละสาขาวิชาชีพต้องคิดเองว่าอะไรจะต่อเนื่องไปจากแค่ตรวจสอบความจริง ความเท็จ
“แม้ในการทำงานจำเป็นต้องมีเครือข่าย แต่ไม่ควรเป็นการทำงานในลักษณะช่วยเหลือกันเพื่อเอื้อประโยชน์ หรือปกปิดความผิดพลาดของกัน เพราะการร่วมกันทำงานที่ดีให้สังคม ยิ่งใหญ่กว่าสถาบันที่เราทำงานอยู่”
ทั้งนี้ ในช่วงท้ายการบรรยายมีการตอบข้อซักถาม ในประเด็นการวิจารณ์คำพิพากษาของศาล ศ.จรัญ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ กฎหมายไม่ได้ห้าม แต่การจะทำเช่นนั้น ต้องมีการตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าข้อ วิจารณ์นั้นมีความถูกต้อง และมีเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการติเพื่อก่อ ในทางสร้างสรรค์ ถูกต้องและเป็นธรรมต่อสังคม ไม่ใช่เพื่อสร้างความเสื่อมศรัทธาระบบงานยุติธรรมในใจคน ทั้งนี้ สื่อสาธารณะควรมีพื้นที่เฉพาะที่จะใช้วิพากษ์วิจารณ์ศาลทุกระดับ โดยมีผู้เชี่ยวชาญและวิจารณ์ไปในทางสร้างสรรค์
สำหรับประเด็นการรณรงค์โหวตโนของกลุ่มการเมืองนั้น ศ.จรัญ กล่าวว่า แม้จะมีเจตนาดี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพมาตรฐานในสังคมให้ดีขึ้น และเป็นการสั่งสอนนักเลือกตั้งที่ไม่เห็นประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก แต่กลับไม่เห็นประโยชน์ และไม่เห็นด้วยกับวิธีการ เหมือนเป็นการ “หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว”
“แม้ว่า ตรวจดูกฎหมายไม่ผิดก็ตาม แต่ทุกคนมีสิทธิ์เสนอแนวทางแม้จะเป็นการสร้างมูลเหตุจูงใจ สิ่งที่ต้องคำนึง คือ แนวทางเหล่านั้นต้องไม่ขึ้นกับคนใด ตระกูลใดหรือพรรคใด เพราะจะขัดกับแนวทางที่เอาประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง ปัจจุบันนี้การจูงใจด้วยวาทะอารมณ์ง่ายกว่าการจูงใจด้วยสติปัญญา อยากให้สังคมไทยกลับมาสู่สังคมสติปัญญา พยายามละทิ้งความรู้สึกเอียงในแต่ละด้านลงไปให้มาก”
บันทึกเมืองไทย
Create a playlist at MixPod.com
ตั้งแต่ได้ประชาธปไตยมา มีรัฐบาลไหนอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงบ้าง? แล้วเราจะให้ในหลวง เหนื่อยกับเรื่องนี้อีกนานแค่ไหน? ถึงเวลารักษาประชาธิปไตยที่แท้จริงเพื่อพวกเรา โหวตโน ล้างระบบเก่า เพื่อสร้่างระบบใหม่ เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
แหล่งพลังงานในอ่าวไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์
มีการวิเคราะห์ว่า แหล่งพลังงานหลักของโลก โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันตะวันออก กลางจะหมดไปในระยะเวลา 30-50 ปีเท่านั้น นับว่าเวลาสั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวน การธรรมชาติที่ก่อร่างสร้างตัวให้เกิดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเกิดจากการ ใช้พลังงานอย่าง
มากมายในปัจจุบันข้อมูลนี้เป็นที่ทราบดีกันทั่วไปเหมือนกับกรณีภาวะโลกร้อนที่เป็นผลกระ
ทบอีกด้านหนึ่งของการเผาผลาญทำลายทรัพยากรพลังงานธรรมชาตินี้
ประเทศตะวันออกกลางดำเนิน การปรับราคาและกระบวนการผลิตน้ำมัน ให้เกิด กำไรสูงสุดก่อนที่รายได้ของพวกเขาจะหมดไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ ยุโรปสะสมน้ำมันสำรองเต็มพิกัดเพื่อป้องกันสภาวะขาดแคลนพลังงานในอนาคต กลยุทธ์ทาง การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้นจากการแสวงหาแหล่งพลังงานของโลกเปรียบ เสมือนยุค การล่าอาณานิคมใหม่โดยมีพลังงานเป็นเดิมพัน
ในอดีตเคยมีการสำรวจแหล่ง ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีมหาศาล จนอดีตท่าน นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องกล่าวออกมาว่า “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” แต่ในปัจจุบันประ
เทศชาติและประชาชนชาวไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากราคาก๊าซถูกกว่าเพื่อนบ้านลิตร
ละ 2-3 บาทเท่านั้น ผลประโยชน์มหาศาลกลับไปอยู่ที่บริษัทน้ำมันต่างชาติ หรือหน่วยงานพลัง
งานบางแห่งที่มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการแม้จะมีชื่อเป็นไทยก็ตาม
มีข่าวทรัพยากรในทะเลซึ่งไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนข่าวหนึ่งกล่าว ว่า กระทรวงพลังงาน ได้อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมให้กับบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ ๑๗
กรกฎาคม ๒๕๔๖ ตามสัมปทานเลขที่ ๗/๒๕๔๖/๖๔ ในช่วงเวลาสัมปทาน ๑๕ ปี บริษัทนิว
คอสตอล ซึ่งได้รับสัมปทานในการขุดเจาะและผลิตน้ำมันในแหล่งบัวบาน ๑ - ๔ ซึ่งจะส่งผล กระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งในพื้นที่ ๔ อำเภอ ( www.coastalenergy.com) แหล่งบัว
บานคือแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลห่างฝั่งจังหวัดสงขลาไม่เกิน ๓๐ กิโลเมตร ในช่วงขุดเจาะ
เวลา ๓ ปี ห้ามทำการประมง อีก ๑๒ ปี ช่วงผลิตระยะห่างจากแท่นเจาะ ๕๐๐ เมตรรัศมี ๔
แท่นเจาะกับ ๑ แท่นฐาน มีการห้ามทำการประมง ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นกระแสน้ำที่พัดเข้า ฝั่งตั้งแต่อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร และอำเภอเมืองสงขลาจะเป็นตัวส่งมล ภาวะต่างๆ หากเกิดอุบัติเหตุจากการขุดเจาะท่อน้ำมันรั่วหรือเรือบรรทุกน้ำมันรั่วหรือ จมจะ เกิดผลกระทบมหาศาล ในขณะที่บริษัทแจ้งว่ามีทุนจดทะเบียนแค่ ๑๐๐ ล้านบาทเพียงพอต่อ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่และไม่มีการระบุความรับผิดชอบไว้ใน สัญญา (บรรจง นะแส , ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๑)
ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและด้านความมั่นคงเมื่อ
เดือนที่ผ่านมาจึงทำให้ทราบข้อมูลด้านพลังงานเหล่านั้นด้วย และเมื่อได้สอบถามว่ามีการคาด การณ์หรือไม่ว่าปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีมากน้อยเพียงใด คำ ตอบคือ
ปริมาณมหาศาล ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ชาติ มิใช่ปกปิดเหมือนกรณี “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” ที่เราคิดว่าก๊าซธรรมชาติมีเพียงเล็กน้อย และ แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทยของต่างชาติตั้งขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้น
เมื่อนำมารวบรวมข้อมูลทาง ด้านการวิเคราะห์วิจัยแล้วก็สามารถเข้าใจถึงคำตอบ ของคำถามกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้ว่าทำไมบริษัทขนส่งน้ำมัน ของประ เทศตะวันออกกลางเข้ามาให้ทุนวิจัยแบบให้เปล่าแก่หน่วยงานประเทศไทย (๒๐ - ๓๐ ล้าน บาท) และจะให้เงินกู้อีกแสนล้านบาทโดยไม่มีเงื่อนไข (แต่มีดอกเบี้ย) หากรัฐบาลไทยสร้าง ท่าเรือน้ำลึกแห่งอันดามันขึ้นที่ท่าเรือปากบารา เชื่อมสองทะเลที่จังหวัดสตูลและจังหวัดสงขลา ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของเขา
ความเจริญและการพัฒนาทางเทคโนโลยี่นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ใน อนาคต ที่จะทำให้ประเทศของเรารุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ แต่การที่ประเทศชาติมิได้ผล ประโยชน์ใดๆ แต่กลับต้องกู้เงินเสียงบประมาณมากมายเพื่อสร้างอภิมหาโครงการตรงตาม เป้าหมายวัตถุประสงค์ของต่างชาติ และให้ต่างชาติกอบโกยทรัพยากรอันมีค่าจากท้องทะเล ไทยกลับไป โดยทิ้งเศษเงินให้บุคคลบางกลุ่มและทิ้งมลภาวะให้กับผืนแผ่นดินของเรานั้น เป็น สิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งธรรมชาติที่งดงามประชาชนและลูกหลานที่บริสุทธิ์ ในพื้นที่จังหวัดชาย ฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งสองทะเลจะได้รับผลกระทบเหล่านี้
หากจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันราย ใหม่การ ควบคุมมลภาวะจะต้องอยู่ในระดับมาตรฐานโลกอย่างเข้มงวดมิใช่มาตรฐานจังหวัด ระยองทุก วันนี้ประเทศชาติและประชาชนไทยจะต้องได้รับผลประโยชน์โดยตรงเหมือนประชาชน ประเทศ น้ำมันหรือประเทศเจริญแล้วอื่นๆ การควบคุมกิจกรรมขุดเจาะและขนถ่ายหรือผลิตน้ำมันแปร รูปจะต้องกระทำหรือควบคุมโดยบุคลากรไทย และยังผลประโยชน์สู่องค์กรของชาติทั้งหมด
มากมายในปัจจุบันข้อมูลนี้เป็นที่ทราบดีกันทั่วไปเหมือนกับกรณีภาวะโลกร้อนที่เป็นผลกระ
ทบอีกด้านหนึ่งของการเผาผลาญทำลายทรัพยากรพลังงานธรรมชาตินี้
ประเทศตะวันออกกลางดำเนิน การปรับราคาและกระบวนการผลิตน้ำมัน ให้เกิด กำไรสูงสุดก่อนที่รายได้ของพวกเขาจะหมดไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ ยุโรปสะสมน้ำมันสำรองเต็มพิกัดเพื่อป้องกันสภาวะขาดแคลนพลังงานในอนาคต กลยุทธ์ทาง การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้นจากการแสวงหาแหล่งพลังงานของโลกเปรียบ เสมือนยุค การล่าอาณานิคมใหม่โดยมีพลังงานเป็นเดิมพัน
ในอดีตเคยมีการสำรวจแหล่ง ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีมหาศาล จนอดีตท่าน นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องกล่าวออกมาว่า “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” แต่ในปัจจุบันประ
เทศชาติและประชาชนชาวไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากราคาก๊าซถูกกว่าเพื่อนบ้านลิตร
ละ 2-3 บาทเท่านั้น ผลประโยชน์มหาศาลกลับไปอยู่ที่บริษัทน้ำมันต่างชาติ หรือหน่วยงานพลัง
งานบางแห่งที่มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการแม้จะมีชื่อเป็นไทยก็ตาม
มีข่าวทรัพยากรในทะเลซึ่งไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนข่าวหนึ่งกล่าว ว่า กระทรวงพลังงาน ได้อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมให้กับบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ ๑๗
กรกฎาคม ๒๕๔๖ ตามสัมปทานเลขที่ ๗/๒๕๔๖/๖๔ ในช่วงเวลาสัมปทาน ๑๕ ปี บริษัทนิว
คอสตอล ซึ่งได้รับสัมปทานในการขุดเจาะและผลิตน้ำมันในแหล่งบัวบาน ๑ - ๔ ซึ่งจะส่งผล กระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งในพื้นที่ ๔ อำเภอ ( www.coastalenergy.com) แหล่งบัว
บานคือแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลห่างฝั่งจังหวัดสงขลาไม่เกิน ๓๐ กิโลเมตร ในช่วงขุดเจาะ
เวลา ๓ ปี ห้ามทำการประมง อีก ๑๒ ปี ช่วงผลิตระยะห่างจากแท่นเจาะ ๕๐๐ เมตรรัศมี ๔
แท่นเจาะกับ ๑ แท่นฐาน มีการห้ามทำการประมง ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นกระแสน้ำที่พัดเข้า ฝั่งตั้งแต่อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร และอำเภอเมืองสงขลาจะเป็นตัวส่งมล ภาวะต่างๆ หากเกิดอุบัติเหตุจากการขุดเจาะท่อน้ำมันรั่วหรือเรือบรรทุกน้ำมันรั่วหรือ จมจะ เกิดผลกระทบมหาศาล ในขณะที่บริษัทแจ้งว่ามีทุนจดทะเบียนแค่ ๑๐๐ ล้านบาทเพียงพอต่อ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่และไม่มีการระบุความรับผิดชอบไว้ใน สัญญา (บรรจง นะแส , ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๑)
ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและด้านความมั่นคงเมื่อ
เดือนที่ผ่านมาจึงทำให้ทราบข้อมูลด้านพลังงานเหล่านั้นด้วย และเมื่อได้สอบถามว่ามีการคาด การณ์หรือไม่ว่าปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีมากน้อยเพียงใด คำ ตอบคือ
ปริมาณมหาศาล ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ชาติ มิใช่ปกปิดเหมือนกรณี “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” ที่เราคิดว่าก๊าซธรรมชาติมีเพียงเล็กน้อย และ แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทยของต่างชาติตั้งขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้น
ผู้บริหารบริษัทแห่งนี้ได้ทำการบรรยายประสบการณ์ของประเทศตนที่ ร่ำรวยจาก การขุดเจาะน้ำมันมีคุณภาพชีวิตระดับโลก และทำให้เราจินตนาการไปเองว่าการพัฒนาเมือง ระดับโลกจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วเมืองท่าอุตสาหกรรม และน้ำมันที่มีรายได้มหาศาลก็เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ที่ท่าเรือบางสะพานจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ และท่าเรือมาบตาพุดจังหวัดระยองที่สภาพแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับจินตนาการ นั้น โดย ไม่ทราบว่าผลประโยชน์มหาศาลนั้นรัฐบาลและประชาชนไทยได้รับเท่าใด แต่สิ่งที่ได้รับอย่าง เต็มที่คือมลภาวะสภาพแวดล้อมระดับวิกฤติสู่ประชาชนในพื้นที่ทำให้เกิดการ ปะทะกันอย่างรุน แรงกลางเมืองบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ระหว่างประชาชนและคนของผู้ ประกอบการ และที่จังหวัดระยองก็ได้รับการประเมินว่าเป็นจังหวัดที่มีมลพิษมลภาวะสภาพ แวดล้อมมากที่ สุดในประเทศไทยในปัจจุบันนี้
ความเจริญและการพัฒนาทางเทคโนโลยี่นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ใน อนาคต ที่จะทำให้ประเทศของเรารุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ แต่การที่ประเทศชาติมิได้ผล ประโยชน์ใดๆ แต่กลับต้องกู้เงินเสียงบประมาณมากมายเพื่อสร้างอภิมหาโครงการตรงตาม เป้าหมายวัตถุประสงค์ของต่างชาติ และให้ต่างชาติกอบโกยทรัพยากรอันมีค่าจากท้องทะเล ไทยกลับไป โดยทิ้งเศษเงินให้บุคคลบางกลุ่มและทิ้งมลภาวะให้กับผืนแผ่นดินของเรานั้น เป็น สิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งธรรมชาติที่งดงามประชาชนและลูกหลานที่บริสุทธิ์ ในพื้นที่จังหวัดชาย ฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งสองทะเลจะได้รับผลกระทบเหล่านี้
หากจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันราย ใหม่การ ควบคุมมลภาวะจะต้องอยู่ในระดับมาตรฐานโลกอย่างเข้มงวดมิใช่มาตรฐานจังหวัด ระยองทุก วันนี้ประเทศชาติและประชาชนไทยจะต้องได้รับผลประโยชน์โดยตรงเหมือนประชาชน ประเทศ น้ำมันหรือประเทศเจริญแล้วอื่นๆ การควบคุมกิจกรรมขุดเจาะและขนถ่ายหรือผลิตน้ำมันแปร รูปจะต้องกระทำหรือควบคุมโดยบุคลากรไทย และยังผลประโยชน์สู่องค์กรของชาติทั้งหมด
ปฏิรูปประเทศหลงทาง โดย อ. ปรีดา กุลชล
ปฏิรูปประเทศหลงทาง
ปรีดา กุลชล ผู้เชี่ยวชาญระบบบริหารโครงการวิจัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศได้อย่างถูกทิศทางต้องมองโลกในภาพกว้าง ให้รู้ถึงต้นเหตุที่โลกจำเป็นต้องปฏิรูปการบริหาร ต้องศึกษาต่างประเทศที่ปฏิรูปได้ถูกทิศทาง และต้องรู้ความหมายของการปฏิรูปประเทศตามมาตรฐานสากล มิฉะนั้นนักปฏิรูปจะหลงทางและล้มเหลวจนต้องมีการปฏิรูปกันใหม่ (rework) เนื่องจากจะพากันปฏิรูปกันตามอำเภอใจที่ไม่ได้มาตรฐานสากล สาเหตุของความล้มเหลวมาจากการแต่งตั้งนักปฏิรูปที่ขาดคุณสมบัติความรู้ เรื่องการบริหารระบบยุคใหม่และขาดความรู้เรื่องการออกแบบระบบ (System design) ที่สามารถใช้ระบบเป็นมาตรฐานในการวัด (Measures) เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้เจริญเติบโตได้
ดังนั้น โครงการปฏิรูปใดๆ ที่ขาดระบบ เช่น โมเดลแก้ความเหลื่อมล้ำ หรือ ชูจัดสวัสดิการแทนประชานิยม เป็นโครงการปฏิรูปที่ไม่มีคุณภาพเพราะขาดระบบที่เป็นหลักประกันคุณภาพตาม มาตรฐานสากล แตกต่างจากการปฏิรูปของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐและประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เน้นปฏิรูปประเทศให้มีการบริหารคุณภาพ TQM. (Total Quality Management) โดยมีเป้าหมายที่การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) โดยใช้ระบบเป็นมาตรฐานการวัด (Measurements) เพื่อปรับปรุงคุณภาพ “การวัดเป็นกุญแจของการบริหาร...ถ้าท่านไม่สามารถวัด...ท่านก็ไม่สามารถควบ คุม...เมื่อท่านควบคุมไม่ได้...ท่านก็บริหารไม่ได้และท่านไม่สามารถปรับปรุง ได้” (H. James Harrington)
สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศนอกจากบรรดานักปฏิรูปทั้งหลายขาดความรู้เรื่องการบริหารระบบหรือการบริหารคุณภาพ TQM. แล้ว ประเทศไทยยังมีโครงสร้างที่ล้าสมัยตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 6 ฉบับที่มีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่จุดยอดสูงสุด (Hierarchy) เช่นเดียวกับจตุสดมภ์ในรัฐสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อกว่า 500 ปีในอดีตที่ขัดกับโครงสร้าง TQM. จุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือภาวะผู้นำ (Leadership) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีปัญหาเพราะขาดความรู้เรื่องผู้นำบริหารระบบ (Management System)
1. ทำไมโลกต้องปฏิรูปการบริหาร : สาเหตุเกิดจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง (Edwards W. Deming) เมื่อต้นทศวรรษที่ 1970s พบว่า การทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น 85% ขึ้นอยู่กับ “ระบบ” ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เพียง 15% เท่านั้นที่เป็นฝีมือของผู้ปฏิบัติงาน (ดู Deming 85/15 rule ใน google) ดังนั้น องค์กรมาตรฐานสากลที่เจนีวาจึงได้ประกาศเมื่อ พ.ศ.2530 ให้ประเทศสมาชิกรวมทั้งไทยต้องใช้การบริหารระบบ Quality Management System หรือ การบริหารคุณภาพ TQM หัวใจของการบริหารประเภทนี้อยู่ที่ระบบวิธีปฏิบัติงาน (Set of management practices) การประกาศขององค์กรมาตรฐานสากลดังกล่าวชี้ให้เห็นทิศทางของการปฏิรูปประเทศที่ถูกต้องให้แล้ว
2. ชาติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปประเทศ : ก. สหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มต้นด้วยการออกกฎหมายมหาชน Public Law 100-107, 1987 (Malcolm Baldrige National Quality Improvement Act of 1987) ปฏิรูปประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government) มีเกณฑ์เรียกว่ามาตรฐานบอลริจ (Baldrige Criteria) ประกอบด้วยหมวดต่างๆ 7 หมวดโดยเน้นที่ภาวะผู้นำบริหารระบบ โดยมีการวัดหรือประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) ที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน การบริหารตามกฎหมายดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ
ประการแรก การบริหารระบบ เริ่มต้นด้วยการออกแบบระบบ (System design) ให้ได้ระบบที่ดี ระบบที่ดีทำหน้าที่ได้ 3 อย่างพร้อมกันคือ ชี้ให้เห็นเป้าหมาย แสดงวิธีปฏิบัติงาน และเป็นตัววัด/ประเมิน นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ
ประการที่สอง การปรับปรุงระบบ วิธีปรับปรุงระบบที่ดีที่สุดให้เริ่มที่การประเมินระบบใน 2 ประเด็นคือ 1. ประเมินเพื่อดูว่าการออกแบบระบบทำได้ดีแค่ไหน และ 2. ประเมินเพื่อดูว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไรบ้าง การบริหารระบบตามมาตรฐานบอลริจ นักปราชญ์การบริหารคุณภาพชื่อ ดร.จูรัน (Joseph Juran) กล่าวว่า มาตรฐานบอลริจเป็นการบริหาร TQM. (Total Quality Management) ที่ดีที่สุด
ข. การปฏิรูปของประเทศต่างๆ ในยุโรป ใช้ EQA : European Quality Award ที่คัดลอกหลักเกณฑ์และวิธีการมาจากมาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria ของสหรัฐข้างต้นทุกประการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาตินำมาตรฐานบอลริจของสหรัฐมาเป็นมาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQA. (Thailand Quality Award) แต่ล้มเหลวเพราะติดอยู่ที่การออกแบบระบบ (System design) TQA. จึงไม่สมประกอบเนื่องจากขาดระบบที่เป็นเครื่องวัดเพราะระบบเป็นมาตรฐานการประเมินเพื่อให้รางวัล TQA. เชื่อถือได้ PMQA. (Public Sector Management Quality Award) ของ ก.พ.ร. และ ECPE. (Education Criteria for Performance Excellence) ของ ส.ก.อ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ซึ่งศึกษามาตรฐานบอลริจมาจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจึงไม่สามารถออกแบบระบบได้เช่นเดียวกัน ข้อดีของ TQA. คือ ชี้ให้เห็นทิศทางปฏิรูปประเทศที่ถูกต้องซึ่งได้แก่การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม การปฏิรูปการศึกษาฯ ที่สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน เช่น เกณฑ์มาตรฐานบอลริจ
ค. การปฏิรูปประเทศของมาเลเซีย มาเลเซียปฏิรูปประเทศไม่หลงทางเหมือนไทยเพราะปฏิรูปไปในทิศทางการชี้นำของมาตรฐานสากลโดยจัดโครงการปฏิรูป 5 ปี (พ.ศ.2539-2544) ให้สำนักงาน ก.พ. มาเลเซียจัดการฝึกอบรมความรู้ ISO:9000 ต่อมาเปลี่ยนเป็น TQM. ให้ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น มาเลเซียใช้วิสัยทัศน์อาเชี่ยน (Vision 2020) มาเป็นวิสัยทัศน์ของประเทศโดยใช้ TQM. ปรับปรุงมาเลเซียให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วเช่นยุโรปในปี ค.ศ.2020 ในขณะที่บรรดาอรหันต์นักปฏิรูปของไทยยังไม่รู้จัก TQM.
3. ความหมายของการปฏิรูปประเทศตามมาตรฐานสากล : หมายถึงการปฏิรูปประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. อบจ. เทศบาล อบต.ให้มีการบริหารระบบ Quality Management System หรือ การบริหารคุณภาพ TQM. ระบบและคุณภาพมีความหมายทำนองเดียวกันเพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หัวใจของการเป็นรัฐบาลอยู่ที่การบริหาร เมื่อมาตรฐานสากลชี้ให้เห็นว่า การบริหารของรัฐบาลไม่มีคุณภาพ การปฏิรูปประเทศให้ถูกทิศทางทำได้โดยการปฏิรูปให้รัฐบาลมีการบริหารคุณภาพ TQM.
ต้นเหตุวิกฤติของชาติ การคอร์รัปชันและการแตกแยกความสามัคคีเกิดจากการบริหารของรัฐบาลไม่มีคุณภาพ ที่สะสมกันมานานตั้งแต่ พ.ศ.2475... การบริหารที่มีคุณภาพของรัฐบาลจะมีการออกแบบระบบโดยนำข้อมูลมาจากต้นเหตุของ วิกฤติเพื่อรวบรวมเป็นแหล่งข้อมูลและร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อ นำไปสร้างเป็นระบบมาตรฐาน (อริยสัจสี่) ระบบดังกล่าวเป็นเครื่องป้องกันสารพัดวิกฤติและสร้างความปรองดองของคนทุก ภาครวมทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ได้ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขของคนในชาติทั้งแผ่นดิน ระบบยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการปรับปรุงระบบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่ง ขัน ดังนั้น การออกแบบระบบ (System design) ที่ดี นอกจากช่วยให้การปฏิรูปประเทศได้ถูกทางแล้ว ยังช่วยให้การบริหารของรัฐบาลมีคุณภาพด้วย
ปรีดา กุลชล ผู้เชี่ยวชาญระบบบริหารโครงการวิจัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศได้อย่างถูกทิศทางต้องมองโลกในภาพกว้าง ให้รู้ถึงต้นเหตุที่โลกจำเป็นต้องปฏิรูปการบริหาร ต้องศึกษาต่างประเทศที่ปฏิรูปได้ถูกทิศทาง และต้องรู้ความหมายของการปฏิรูปประเทศตามมาตรฐานสากล มิฉะนั้นนักปฏิรูปจะหลงทางและล้มเหลวจนต้องมีการปฏิรูปกันใหม่ (rework) เนื่องจากจะพากันปฏิรูปกันตามอำเภอใจที่ไม่ได้มาตรฐานสากล สาเหตุของความล้มเหลวมาจากการแต่งตั้งนักปฏิรูปที่ขาดคุณสมบัติความรู้ เรื่องการบริหารระบบยุคใหม่และขาดความรู้เรื่องการออกแบบระบบ (System design) ที่สามารถใช้ระบบเป็นมาตรฐานในการวัด (Measures) เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้เจริญเติบโตได้
ดังนั้น โครงการปฏิรูปใดๆ ที่ขาดระบบ เช่น โมเดลแก้ความเหลื่อมล้ำ หรือ ชูจัดสวัสดิการแทนประชานิยม เป็นโครงการปฏิรูปที่ไม่มีคุณภาพเพราะขาดระบบที่เป็นหลักประกันคุณภาพตาม มาตรฐานสากล แตกต่างจากการปฏิรูปของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐและประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เน้นปฏิรูปประเทศให้มีการบริหารคุณภาพ TQM. (Total Quality Management) โดยมีเป้าหมายที่การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) โดยใช้ระบบเป็นมาตรฐานการวัด (Measurements) เพื่อปรับปรุงคุณภาพ “การวัดเป็นกุญแจของการบริหาร...ถ้าท่านไม่สามารถวัด...ท่านก็ไม่สามารถควบ คุม...เมื่อท่านควบคุมไม่ได้...ท่านก็บริหารไม่ได้และท่านไม่สามารถปรับปรุง ได้” (H. James Harrington)
สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศนอกจากบรรดานักปฏิรูปทั้งหลายขาดความรู้เรื่องการบริหารระบบหรือการบริหารคุณภาพ TQM. แล้ว ประเทศไทยยังมีโครงสร้างที่ล้าสมัยตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 6 ฉบับที่มีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่จุดยอดสูงสุด (Hierarchy) เช่นเดียวกับจตุสดมภ์ในรัฐสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อกว่า 500 ปีในอดีตที่ขัดกับโครงสร้าง TQM. จุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือภาวะผู้นำ (Leadership) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีปัญหาเพราะขาดความรู้เรื่องผู้นำบริหารระบบ (Management System)
1. ทำไมโลกต้องปฏิรูปการบริหาร : สาเหตุเกิดจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง (Edwards W. Deming) เมื่อต้นทศวรรษที่ 1970s พบว่า การทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น 85% ขึ้นอยู่กับ “ระบบ” ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เพียง 15% เท่านั้นที่เป็นฝีมือของผู้ปฏิบัติงาน (ดู Deming 85/15 rule ใน google) ดังนั้น องค์กรมาตรฐานสากลที่เจนีวาจึงได้ประกาศเมื่อ พ.ศ.2530 ให้ประเทศสมาชิกรวมทั้งไทยต้องใช้การบริหารระบบ Quality Management System หรือ การบริหารคุณภาพ TQM หัวใจของการบริหารประเภทนี้อยู่ที่ระบบวิธีปฏิบัติงาน (Set of management practices) การประกาศขององค์กรมาตรฐานสากลดังกล่าวชี้ให้เห็นทิศทางของการปฏิรูปประเทศที่ถูกต้องให้แล้ว
2. ชาติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปประเทศ : ก. สหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มต้นด้วยการออกกฎหมายมหาชน Public Law 100-107, 1987 (Malcolm Baldrige National Quality Improvement Act of 1987) ปฏิรูปประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government) มีเกณฑ์เรียกว่ามาตรฐานบอลริจ (Baldrige Criteria) ประกอบด้วยหมวดต่างๆ 7 หมวดโดยเน้นที่ภาวะผู้นำบริหารระบบ โดยมีการวัดหรือประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) ที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน การบริหารตามกฎหมายดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ
ประการแรก การบริหารระบบ เริ่มต้นด้วยการออกแบบระบบ (System design) ให้ได้ระบบที่ดี ระบบที่ดีทำหน้าที่ได้ 3 อย่างพร้อมกันคือ ชี้ให้เห็นเป้าหมาย แสดงวิธีปฏิบัติงาน และเป็นตัววัด/ประเมิน นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ
ประการที่สอง การปรับปรุงระบบ วิธีปรับปรุงระบบที่ดีที่สุดให้เริ่มที่การประเมินระบบใน 2 ประเด็นคือ 1. ประเมินเพื่อดูว่าการออกแบบระบบทำได้ดีแค่ไหน และ 2. ประเมินเพื่อดูว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไรบ้าง การบริหารระบบตามมาตรฐานบอลริจ นักปราชญ์การบริหารคุณภาพชื่อ ดร.จูรัน (Joseph Juran) กล่าวว่า มาตรฐานบอลริจเป็นการบริหาร TQM. (Total Quality Management) ที่ดีที่สุด
ข. การปฏิรูปของประเทศต่างๆ ในยุโรป ใช้ EQA : European Quality Award ที่คัดลอกหลักเกณฑ์และวิธีการมาจากมาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria ของสหรัฐข้างต้นทุกประการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาตินำมาตรฐานบอลริจของสหรัฐมาเป็นมาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQA. (Thailand Quality Award) แต่ล้มเหลวเพราะติดอยู่ที่การออกแบบระบบ (System design) TQA. จึงไม่สมประกอบเนื่องจากขาดระบบที่เป็นเครื่องวัดเพราะระบบเป็นมาตรฐานการประเมินเพื่อให้รางวัล TQA. เชื่อถือได้ PMQA. (Public Sector Management Quality Award) ของ ก.พ.ร. และ ECPE. (Education Criteria for Performance Excellence) ของ ส.ก.อ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ซึ่งศึกษามาตรฐานบอลริจมาจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจึงไม่สามารถออกแบบระบบได้เช่นเดียวกัน ข้อดีของ TQA. คือ ชี้ให้เห็นทิศทางปฏิรูปประเทศที่ถูกต้องซึ่งได้แก่การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม การปฏิรูปการศึกษาฯ ที่สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน เช่น เกณฑ์มาตรฐานบอลริจ
ค. การปฏิรูปประเทศของมาเลเซีย มาเลเซียปฏิรูปประเทศไม่หลงทางเหมือนไทยเพราะปฏิรูปไปในทิศทางการชี้นำของมาตรฐานสากลโดยจัดโครงการปฏิรูป 5 ปี (พ.ศ.2539-2544) ให้สำนักงาน ก.พ. มาเลเซียจัดการฝึกอบรมความรู้ ISO:9000 ต่อมาเปลี่ยนเป็น TQM. ให้ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น มาเลเซียใช้วิสัยทัศน์อาเชี่ยน (Vision 2020) มาเป็นวิสัยทัศน์ของประเทศโดยใช้ TQM. ปรับปรุงมาเลเซียให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วเช่นยุโรปในปี ค.ศ.2020 ในขณะที่บรรดาอรหันต์นักปฏิรูปของไทยยังไม่รู้จัก TQM.
3. ความหมายของการปฏิรูปประเทศตามมาตรฐานสากล : หมายถึงการปฏิรูปประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. อบจ. เทศบาล อบต.ให้มีการบริหารระบบ Quality Management System หรือ การบริหารคุณภาพ TQM. ระบบและคุณภาพมีความหมายทำนองเดียวกันเพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หัวใจของการเป็นรัฐบาลอยู่ที่การบริหาร เมื่อมาตรฐานสากลชี้ให้เห็นว่า การบริหารของรัฐบาลไม่มีคุณภาพ การปฏิรูปประเทศให้ถูกทิศทางทำได้โดยการปฏิรูปให้รัฐบาลมีการบริหารคุณภาพ TQM.
ต้นเหตุวิกฤติของชาติ การคอร์รัปชันและการแตกแยกความสามัคคีเกิดจากการบริหารของรัฐบาลไม่มีคุณภาพ ที่สะสมกันมานานตั้งแต่ พ.ศ.2475... การบริหารที่มีคุณภาพของรัฐบาลจะมีการออกแบบระบบโดยนำข้อมูลมาจากต้นเหตุของ วิกฤติเพื่อรวบรวมเป็นแหล่งข้อมูลและร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อ นำไปสร้างเป็นระบบมาตรฐาน (อริยสัจสี่) ระบบดังกล่าวเป็นเครื่องป้องกันสารพัดวิกฤติและสร้างความปรองดองของคนทุก ภาครวมทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ได้ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขของคนในชาติทั้งแผ่นดิน ระบบยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการปรับปรุงระบบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่ง ขัน ดังนั้น การออกแบบระบบ (System design) ที่ดี นอกจากช่วยให้การปฏิรูปประเทศได้ถูกทางแล้ว ยังช่วยให้การบริหารของรัฐบาลมีคุณภาพด้วย
ในหลวงฯในสายตาของชาวต่างชาติ โดยBison Man
ในหลวงฯในสายตาของชาวต่างชา
ไหน จะเขมร พม่า น้ำท่วม พายุ คลิป เสธหนั่น การประท้วง.. ที่สำคัญการโพสต์ข้อความหมิ
แถบๆ ถ้าไม่ให้ตกเทรนคงต้องคุยกั
เมื่อวันก่อน พอดีมีโอกาสต้อนรับนักธุรกิ
"ก็เพราะประเทศคุณมี king of king...(แปลไม่ถูกเพราะหัวใ
...จบตอนนี้ผมอึ้ง ทึ่ง สมองสั่งการให้เห็นแสงสว่าง
ในตอนที่เอาเงินส่งให้พนักง
"คน ไทยนี่โชคดีจริงๆนะ จะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร มีในหลวงฯคอยติดตามเฝ้าดูอย
ส่งแขกเสร็จกลับบ้านกับพ่อ สอง คน..ตลอดทางไม่พูดกันซักคำ ต่างคนต่างเงียบ ผมก็ได้แต่นั่งคิดถึงคำพูดไ
เรื่อง ทั้งหมดที่เล่าคงอธิบายความ
เพิ่งรู้ และสัมผัสกับคำว่า หัวใจพองโต...มันคับฟ้าคับแ
ความชอบธรรมทางการเมือง โดยดร.ไก่ Tanond
ความชอบธรรมทางการเมือง
สรุปย่อให้เข้าใจได้ง่ายสุดก็คือ ความพึงพอใจของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมืองการปกครอง ที่ตนต่างยอมรับและต้องการให้ดำรงอยู่ต่อไป
เช่น นี้แล้ว ระบบการเมืองของไทยเรา ที่ได้ถูกขนานนามว่า "เป็นการเมืองน้ำเน่า" จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนคนหมู่มาก สามารถรับรู้ รู้สึกได้ถึงความผิดหวัง หมดหวัง และสิ้นหวังกับความชอบธรรมทางการเมืองนี้ไปแล้ว
ทำไม?ก็ เพราะระบบการเมืองของไทย ดำรงอยู่ด้วยวัฒนธรรมทางการเมือง ที่เลวร้ายต่อชาติบ้านเมืองและประชาชนโดยรวม ที่เกิดขึ้น จากความเลวร้ายทางการเมืองด้วยหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น -
1.จากการลุแก่อำนาจ : ละเมิดกฎหมายโดยไม่เกรงกลัวต่อความเสียหายที่จะตามมา
2.จากการขาดความชอบธรรม : ได้อำนาจทางการเมืองมาจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
3.จากการฉ้อราษฎร์บังหลวง : ที่กระทำกันอย่างโจ่งแจ้ง ไม่ต่างกับการปล้นกันกลางแดด เฉกเช่นในปัจจุบัน
4.จากการเอื้อประโยชน์ต่อญาติโกโหติกา : ทั้งในการเข้าสู่อำนาจ และในการหาประโยชน์จากทางการเมือง
5.จากการขาดคุณธรรม จริยธรรมอย่างสูง : นักการเมืองมีพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม จนเกินกว่าที่จะรับได้ และ
6.จาก วัฒนธรรมทางการเมืองน้ำเน่า : ที่เปรียบเสมือนหม้อหุงข้าว ที่มีเชื้อบูดเชื้อรา ที่ไม่ว่าจะใส่ข้าวสารประเภทไหนพันธุ์ไหนลงไป ก็จะได้ข้าวสวยที่เน่าบูดไปเสียทุกครั้ง เหม็นเน่าจนไม่สามารถรับทานได้
แล้วจะทำอย่างไร? ประชาชนมีเครื่องมือ มีกฎหมายข้อใด ที่ตนเองจะสามารถปฏิเสธ การเมืองและวัฒนธรรมการเมืองน้ำเน่านี้ได้ -
1.ใช้เครื่องมือ ใช้กลไก ที่เป็นสันติวิธีตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๙ และในช่วงแห่งการเลือกตั้งนี้ก็คือ การโหวตโน Vote No
2.เรียก หาความชอบธรรมทางการเมืองนี้ ผ่านการใช้สิทธิ์ของตนในการไม่เลือกพรรคหรือนักการเม ืองใดๆ ที่เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมตามระบอบอประชาธิปไตย ในอันที่จะ "เลือก หรือ ไม่เลือก" ได้โดยอิสระ
แล้วจะเห็นผลกันได้อย่างไร?
1.หาก ความเลวร้ายทางการเมืองนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อประชาชนคนหมู่มากแล้วไซร้ จำนวนของประชาชนที่ต้องการโหวตโนนี้ ย่อมต้องมีจำนวนมาก มากพอที่จะแสดงให้เห็นถึงปฏิเสธ ระบบการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองที่น้ำเน่านี้ได้อย่างเป็นกอบ เป็นกำ
2.ตามความ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓ ก็ได้บัญญัติหัวใจสำคัญในส่วนของการส่งผ่านอำนาจที่ฝ ่าย การเมือง มอบคืนให้กับประชาชน ประชาชนก็ต่างเป็นผู้ที่อำนาจนั้นๆ ให้แก่พระเจ้าอยู่หัวในฐานะประมุขแห่งรัฐ เพื่อใช้ต่อไปเพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบอำนาจ 3 ฝ่าย
3.ระบบอำนาจ 3 ฝ่ายนี้ หาได้มาจากฝ่ายการเมืองผ่านการเลือกตั้งแต่อย่างเดีย ว นับจากอดีตที่ผ่านมา พระองคืท่านได้มีการรักษาระบบอำนาจ 3 ฝ่ายนี้ ในอีก 2-3 รูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมือง เกิดความสับสนวุ่นวายทางการเมือง อย่างที่ผ่านๆมา ซึ่งในบางครั้งบางเหตุการณ์นั้น รัฐธรรมนูญมาตรา๗ พระองค์ท่านก็ได้ทรงนำใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ทว่า หากจำนวนโหวตโน ของพี่น้องประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นจากการตื่นรู้ทางการเมือง จากความปรารถนาอันแรงกล้า ในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองที่พวกตนหมดแล้วซึ่งศร ัทธา มีจำนวนมหาศาลจนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้ว พวกเราประชาชนผู้ทำและรับหน้าที่ตามความในมาตรา๓นี้ คงไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกเหนือไปจาก การส่งผลของการโหวตโนนี้ ให้ตกเป็นพระราชอำนาจ เพื่อเป็นพระราชวินิจฉัย.. ที่สุดแล้วแต่พระองค์ท่านจะทรงตัดสินพระทัยให้เป็นไป
สรุปย่อให้เข้าใจได้ง่ายสุดก็คือ ความพึงพอใจของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมืองการปกครอง ที่ตนต่างยอมรับและต้องการให้ดำรงอยู่ต่อไป
เช่น นี้แล้ว ระบบการเมืองของไทยเรา ที่ได้ถูกขนานนามว่า "เป็นการเมืองน้ำเน่า" จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนคนหมู่มาก สามารถรับรู้ รู้สึกได้ถึงความผิดหวัง หมดหวัง และสิ้นหวังกับความชอบธรรมทางการเมืองนี้ไปแล้ว
ทำไม?ก็ เพราะระบบการเมืองของไทย ดำรงอยู่ด้วยวัฒนธรรมทางการเมือง ที่เลวร้ายต่อชาติบ้านเมืองและประชาชนโดยรวม ที่เกิดขึ้น จากความเลวร้ายทางการเมืองด้วยหลากหลายปัจจัยด้วยกัน
1.จากการลุแก่อำนาจ : ละเมิดกฎหมายโดยไม่เกรงกลัวต่อความเสียหายที่จะตามมา
2.จากการขาดความชอบธรรม : ได้อำนาจทางการเมืองมาจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
3.จากการฉ้อราษฎร์บังหลวง : ที่กระทำกันอย่างโจ่งแจ้ง ไม่ต่างกับการปล้นกันกลางแดด เฉกเช่นในปัจจุบัน
4.จากการเอื้อประโยชน์ต่อญาติโกโหติกา : ทั้งในการเข้าสู่อำนาจ และในการหาประโยชน์จากทางการเมือง
5.จากการขาดคุณธรรม จริยธรรมอย่างสูง : นักการเมืองมีพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
6.จาก วัฒนธรรมทางการเมืองน้ำเน่า : ที่เปรียบเสมือนหม้อหุงข้าว ที่มีเชื้อบูดเชื้อรา ที่ไม่ว่าจะใส่ข้าวสารประเภทไหนพันธุ์ไหนลงไป ก็จะได้ข้าวสวยที่เน่าบูดไปเสียทุกครั้ง เหม็นเน่าจนไม่สามารถรับทานได้
แล้วจะทำอย่างไร? ประชาชนมีเครื่องมือ มีกฎหมายข้อใด ที่ตนเองจะสามารถปฏิเสธ การเมืองและวัฒนธรรมการเมืองน้ำเน่านี้ได้ -
1.ใช้เครื่องมือ ใช้กลไก ที่เป็นสันติวิธีตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๙ และในช่วงแห่งการเลือกตั้งนี้ก็คือ การโหวตโน Vote No
2.เรียก หาความชอบธรรมทางการเมืองนี้ ผ่านการใช้สิทธิ์ของตนในการไม่เลือกพรรคหรือนักการเม
แล้วจะเห็นผลกันได้อย่างไร?
1.หาก ความเลวร้ายทางการเมืองนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อประชาชนคนหมู่มากแล้วไซร้ จำนวนของประชาชนที่ต้องการโหวตโนนี้ ย่อมต้องมีจำนวนมาก มากพอที่จะแสดงให้เห็นถึงปฏิเสธ ระบบการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองที่น้ำเน่านี้ได้อย่างเป็นกอบ
2.ตามความ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓ ก็ได้บัญญัติหัวใจสำคัญในส่วนของการส่งผ่านอำนาจที่ฝ
3.ระบบอำนาจ 3 ฝ่ายนี้ หาได้มาจากฝ่ายการเมืองผ่านการเลือกตั้งแต่อย่างเดีย
ทว่า หากจำนวนโหวตโน ของพี่น้องประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นจากการตื่นรู้ทางการเมือง จากความปรารถนาอันแรงกล้า ในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองที่พวกตนหมดแล้วซึ่งศร
ปกป้องประมุขของรัฐไทยถูกต้องชอบธรรม ตามหลักสากลอยู่แล้ว
ประเด็น ความเคลื่อนไหวขอแก้กฏหมายอาญา มาตรา 112 <3>
เท่า ที่ทราบ นักกฏหมายบางท่าน บอกว่า ทุกประเทศจะมีกฏหมายในลักษณะปกป้อง การถูกลบหลู่ดูหมิ่น ประมุขของประเทศ เช่น กฏหมายเยอรมัน ก็มีกฏหมายปกป้องการดูถูกประธานาธิบดี <1> เพราะในเยอรมัน ประมุขแห่งรัฐ คือตำแหน่งประธานาธิบดี <2> ดังนั้น กฏหมายไทยในการปกป้องประมุขของรัฐไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ตามหลักสากลอยู่แล้ว
เนื่อง จาก เจตนารมณ์กฏหมายประเภทนี้ ทกประเทศมีบัญญัติไว้เพื่อปกป้องความมั่นคงของสถาบันของรัฐ ถ้าหากสถาบันหลักของชาติไม่มั่นคง แล้วทุกประเทศเขาจะตรากฏหมาย ปกป้องประมุขแห่งรัฐไปทำไม ??
ประเด็นคือการบังคับใช้ กฏหมายอย่างถูกต้องและเป็นธรรม (หลักนิติธรรม เพื่อรักษาความเป็นนิติรัฐ) น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า เพราะประเทศไทยอ่อนด้อยในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
อ้างอิง
<1>
ความเห็น อ.ศาสตรา โตอ่อน นักกฏหมาย
"Sattra To § 90 StGB ( ป.อาญา เยอรมัน) บุคคลใดกล่าวร้ายประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐต่อหน้าธารกำนัลไม่ว่าโดยการ ประชุมหรือการเผยแพร่ข้อเขียน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 5 ปี"
<2> ประมุขแห่งรัฐ (Head of state) หมายถึง ศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นผู้ปกครองรัฐ โดยเป็นผู้มีสิทธิในอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ประการสูงสุด ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทั้งนี้ประมุขของรัฐจะมีอำนาจอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ โดยตำแหน่งประมุขของรัฐส่วนใหญ่จะเป็น พระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี http://bit.ly/jC2z6X
<3>
ประมวลกฏหมายอาญา
ลักษณะ ๑
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
หมวด ๑
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ตราแผ่นดินของไทย
เท่า ที่ทราบ นักกฏหมายบางท่าน บอกว่า ทุกประเทศจะมีกฏหมายในลักษณะปกป้อง การถูกลบหลู่ดูหมิ่น ประมุขของประเทศ เช่น กฏหมายเยอรมัน ก็มีกฏหมายปกป้องการดูถูกประธานาธิบดี <1> เพราะในเยอรมัน ประมุขแห่งรัฐ คือตำแหน่งประธานาธิบดี <2> ดังนั้น กฏหมายไทยในการปกป้องประมุขของรัฐไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ตามหลักสากลอยู่แล้ว
เนื่อง จาก เจตนารมณ์กฏหมายประเภทนี้ ทกประเทศมีบัญญัติไว้เพื่อปกป้องความมั่นคงของสถาบันของรัฐ ถ้าหากสถาบันหลักของชาติไม่มั่นคง แล้วทุกประเทศเขาจะตรากฏหมาย ปกป้องประมุขแห่งรัฐไปทำไม ??
ประเด็นคือการบังคับใช้ กฏหมายอย่างถูกต้องและเป็นธรรม (หลักนิติธรรม เพื่อรักษาความเป็นนิติรัฐ) น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า เพราะประเทศไทยอ่อนด้อยในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
อ้างอิง
<1>
ความเห็น อ.ศาสตรา โตอ่อน นักกฏหมาย
"Sattra To § 90 StGB ( ป.อาญา เยอรมัน) บุคคลใดกล่าวร้ายประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐต่อหน้าธารกำนัลไม่ว่าโดยการ ประชุมหรือการเผยแพร่ข้อเขียน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 5 ปี"
<2> ประมุขแห่งรัฐ (Head of state) หมายถึง ศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นผู้ปกครองรัฐ โดยเป็นผู้มีสิทธิในอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ประการสูงสุด ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทั้งนี้ประมุขของรัฐจะมีอำนาจอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ โดยตำแหน่งประมุขของรัฐส่วนใหญ่จะเป็น พระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี http://bit.ly/jC2z6X
<3>
ประมวลกฏหมายอาญา
ลักษณะ ๑
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
หมวด ๑
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ตราแผ่นดินของไทย
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร “ปฏิรูปเป็นสิ่งสวยงาม ผมได้เจอคนลงหน้างานจริงๆ”
".....คณะกรรมการปฏิรูป ประกอบด้วยคณะบุคคลที่มีวิชาความรู้ มีประสบการณ์ ปฏิปักษ์ทางด้านความคิด มีบุคคลที่อยู่ในระบบราชการเก่า และคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในระบบใหม่ มีทั้งนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ มีทั้งพระสงฆ์ มีสุภาพสตรี 5 คนจาก 20 คน
แต่ละคน...มีความเชี่ยวชาญทั้ง เรื่องการศึกษา การปกครอง การคลัง งบประมาณ มีหลายคนมีความเข้าใจดีถึงความยากลำบากของเกษตรกรรายย่อย ความยากลำบากของแรงงาน ทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งแรงงานต่างด้าว หลายคนคลุกคลีอยู่ในพื้นที่ มาจากพื้นที่โดยตรง
กรรมการหลายคนไม่ได้นั่งทำงานอยู่ แต่หองาช้าง แต่เป็นอาจารย์ที่คลุกคลีกับชาวไร่ชาวนา รู้จักพื้นที่ค่อนข้างดีมาก หลายอยู่ในระบบการศึกษาทั้งระบบปัจจุบัน และระบบทางเลือก มีความรู้ด้านวิชาการ มีประสบการณ์เห็นผิดเห็นถูกในอดีต
ฉะนั้น องค์ประกอบที่ผมตั้งขึ้นมา แม้จะไม่ใช่องค์ประกอบพระอรหันต์ที่จะตรัสรู้ได้ทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยก็เป็นบุคคลที่มีความจริงใจกับการทำงาน เอาใจใส่กับเรื่องนี้ มองถึงอนาคตของประเทศไทย มองถึงอนาคตของลูกหลานของเรามากกว่า...."
ข้างต้นคือคำอธิบายส่งท้าย...ของนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป ที่วันนี้ได้ต้องใช้คำว่า "อดีต" แล้ว หลังจากประกาศยุติบทบาท ยุติการปฏิบัติหน้าที่ทั้งคณะ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา
โอกาสนี้...ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย ขอพาไปเปิดใจ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตกรรมการปฏิรูป กับการทำงานปฏิรูป ความสวยงามของการปฏิรูปในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา...
@ ขอโฟกัสเรื่องการศึกษาในมุมการทำงานของคปร.
การศึกษา ไม่ใช่เรื่องของการไปโรงเรียนเท่านั้น แต่การศึกษาคือการเรียนรู้ของคนตลอดชีวิต หลักๆที่มีการพูดเรื่องการศึกษาในคณะกรรมการปฏิรูป เป็นเรื่องของแนวคิด 1. พยายามสร้างเงื่อนไขสำหรับระบบใหม่ 2.ทำระบบปัจจุบันให้ดีขึ้น
สร้างระบบใหม่ที่ดีขึ้น คือการไปลดขนาด (Downsizing) รัฐบาลตรงกลาง ซึ่งก็เป็นข้อเสนอเดียวกับการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ โดยกระทรวงศึกษาธิการต้องลดบทบาทลง ไม่เป็นผู้จัดการศึกษาอีกต่อไป กระทรวงศึกษาธิการต้องเปิดเวทีให้คนอื่นเขาเข้ามาจัด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางเลือก ให้เอกชนเข้ามาจัด หรือองค์กรพัฒนาเอกชน
คำว่า เปิดเวที จึงต้องมีการอ่อนตัวเรื่องการประเมิน การเทียบโอน และเรื่องมาตรฐาน โดยกระทรวงศึกษาธิการต้องลดบทบาทจากคนจัดการศึกษา เป็น "จัดให้มี" ไม่ใช่ "จัดทำ"
ระบบการศึกษาไทย ดูในสัดส่วนของนักเรียน มีเด็กอยู่ในระบบของรัฐประมาณ 90% ซึ่งอันนี้รัฐต้องเปลี่ยนบทบาท กระจายการศึกษาลงไป ลดจากรัฐบาลกลางให้เป็นของท้องถิ่น เอกชน วัด กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจ เปิดพื้นที่ลดตัวเองลง
อีกทั้ง ให้เงินไปกับคนเรียน เพื่อให้คนเรียนเลือกได้ว่า ไปที่ไหนทำให้ค่าใช้จ่ายมีประสิทธิภาพที่สุด (cost effective) ซึ่งระบบนี้จะทำให้ 'Customer is King' ส่วนการพัฒนาคนในวัยทำงาน ก็ต้องใช้แบบนี้
เชื่อว่า หากรัฐ Downsize เปลี่ยนบทบาท กับการให้เงินไปตามผู้เรียน จะกลายเป็นคานงัดที่สำคัญ
การทำระบบปัจจุบันให้ดี คปร.พูดกันมาก คือ โรงเรียนที่มีอยู่จะทำอย่างไร กับ 3 หมื่นโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนที่ดีก็เสนอให้เป็นนิติบุคคล ให้ดูแลตัวเอง มีการควบคุมขนาดของชั้นเรียน ขนาดของโรงเรียนไม่ควรจะใหญ่ และการกระจายอำนาจลงไปให้มีการบริหารจัดการในระดับโรงเรียนมากขึ้น
อันนี้คิดมาคู่ขนาดกับการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ซึ่งปฏิรูปอำนาจที่ออกมาแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันกับการปฏิรูปการศึกษานั่นเอง
การศึกษาสำหรับวัยทำงาน ภาคเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเราคิดทะลุเฉพาะภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ทางกลุ่มการศึกษาได้ประสานกับกลุ่ม แรงงาน ของดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ พยายามทำโครงการนำร่องร่วมกัน ปฏิรูปกำลังแรงงาน โดยไม่ใช้กลไกปฏิรูปแล้วหลังจากนี้
@ การศึกษาสำหรับเกษตรกร
ก็....ได้มีการพูดคุยกับดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ว่า จะทำอย่างไรเรื่องเกษตร เรื่องการพัฒนาเกษตร ที่ไม่ใช่พัฒนาเหมือนกระทรวงทำ แต่ทำให้เห็น value chain ตั้งแต่ต้น เห็นการตลาด การไหลของสินค้า การเข้าถึงแหล่งเงิน ทำความเข้าใจเรื่อง เกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming)
@ อยากให้ช่วยประเมินผลงานการทำงาน-สิ่งที่รัฐบาลหยิบไปใช้บ้าง
เราคงไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่รัฐบาลหยิบไปใช้เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปเท่านั้น เพราะบางเรื่องก็มีคนทำงานก่อนหน้านี้แล้วซึ่งพรรคการเมืองน่าจะมีการนำข้อ เสนอของคปร. ที่เสนอไปในช่วงที่ผ่านมา หยิบไปใช้บ้าง
เราไม่คิดว่า ข้อเสนอเป็นของคณะกรรมการปฏิรูป นะ โดยนายอานันท์ ได้พูดไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า ข้อเสนอเป็นของสาธารณะ หากประชาชนเป็นเจ้าของ นักการเมืองก็จะลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของด้วย ท่านถึงบอกว่า หลักสำคัญคือประชาชนต้องเข้าใจ แล้วนำไปพูด จะเห็นตรงหรือเห็นค้านกับข้อเสนอ ก็แสดงว่า ประชาชนเห็นความสำคัญ
ตั้งแต่เดือนมกราคม เราตามดูข่าว ดีใจมีคนพูดเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แสดงว่า คนให้ความสำคัญ หยิบไปวิจารณ์ต่อ ส่วยจะออกมาเป็นอย่างไร หลังจากตั้งตุ๊กตาไปในสิ่งที่เห็น ไม่ใช่หน้าที่คณะนี้แล้ว
@ คิดอย่างไรกับข้อเสนอที่ออกมาหลายเรื่อง ยังไม่มีคำตอบ
ท่านอดีตนายกฯ อานันท์ บอกว่า จริงๆ แล้วหลายๆอย่าง มันไม่จำเป็นต้องมีคำตอบ สิ่งสำคัญ คือ เราได้ตั้งคำถามได้ถูกหรือเปล่า บางอย่างเหมือนคำตอบ ในเวลา 3-5 ปี บางอย่างก็คงไม่ใช่ และไม่สามารถประกันได้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่หากพรรคการเมืองหยิบไปขับเคลื่อนต่อ เชื่อว่า มีโอกาสประสบความสำเร็จ
@ เสียดายไหมที่คปร.ต้องสลายตัวไปก่อนเวลา
สิ่งที่เราคุย มันก็ยังอยู่นะ มีการคุยกับครูรัชนี (ธงไชย) คุณหญิงกษมา (วรวรรณ ณ อยุธยา) และอนุกรรมการการศึกษา อยู่เรื่อยๆ
แม้ตัวองค์กรอาจจะหมดสภาพไปในช่วงนี้ แต่ความคิดก็จะมีการแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา หมาย ความว่า คนหนึ่งอยู่หลายวง อย่างผมอยู่ในวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก็ดึงคนในวงวิทยาศาสตร์ฯ มาดูเรื่องการศึกษามาตอบโจทย์ปฏิรูป จากนั้นก็นำแนวคิดไปสู่เครือข่ายอื่นๆ เช่น นโยบายทางวิทยาศาสตร์ กับเรื่องการศึกษา และการพัฒนากำลังคนในวัยทำงาน เป็นต้น
นี่คือ...ความสวยงามของการปฏิรูป ถ้าผมไม่มาทำงานปฏิรูป ผมก็จะไม่รู้ อาจารย์ณรงค์ ทำงานการพัฒนากำลังคนในวันแรงงานด้านการผลิต อาจารย์ณรงค์ก็ไม่รู้ ผมก็สนใจเรื่องนี้ ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ก็สนใจเรื่องนี้
ผมได้ข้อมูลในรายละเอียดมากขึ้น ยกตัวอย่างเรื่องที่ดิน ทำกันมานาน มีเครือข่ายทั่วประเทศ ได้ฟังคนลงหน้างานมา 20-30 ปี อย่าง ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ฟังคนอย่างนางสมปอง เวียงจันทร์ เล่าถึงความทุกข์ยากที่ต่อสู้เรื่องเขื่อนปากมูลมา 20 ปี ซึ่งคนอย่างแม่สมปอง ผมเคยอ่านในข่าว อ่านในสารคดี อ่านในหนังสือพิมพ์
ขณะเดียวกันเรื่องการศึกษาเองได้ฟังอะไรที่ เป็นรูปธรรมมากขึ้นจาก คุณหญิงกษมาวรวรรณ ที่อยู่ในแวดวงการศึกษามา 40 ปี หรือครูรัชนี ที่ผลักดันการศึกษาอีกทิศหนึ่งที่เป็นทางเลือกที่ไม่เหมือนการศึกษาในระบบ ท่านพระไพศาล วิสาโล ก็ได้ให้มุมมองอย่างปราชญ์ ในมุมมองการศึกษาอีกมิติหนึ่ง
ภาพใหญ่ของประเทศในเรื่องระบบการเงินการ คลัง การปกครอง ผมว่า อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช อาจารย์สมชัย ฤชุพันธุ์ ดร.ปราณี ทินกร ได้ชี้ให้เห็นว่า จุดอ่อนของระบบอยู่ตรงไหน ต้องปรับอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่ คปร.ยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด คือการยกเครื่องระบบภาษี หากจะลดความเหลื่อมล้ำจะใช้ระบบภาษีแบบไหน มีการคุยกันไว้แล้ว หากเราได้กลับมา หรือเมื่อเรากลับมา
@ ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน คปร.จะได้กลับมาทำงานอีก
(หัวเราะ) ....ไม่รู้ซิ อันนี้ต้องแล้วแต่รัฐบาลใหม่เขาจะตั้งหรือเปล่า
@ การทำงาน เห็นบอกมี 6 – 7 เรื่องที่อยู่ใน "ท่อ" แต่สำเร็จออกมาเป็นข้อเสนอ 2 เรื่อง คือเรื่องที่ดินและการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ
ท่านอานันท์ท่านเก่งมากนะ ใช้เวลาเริ่มทำงานสิงหาคม 2553 (แล้วก็ เออ...) ถึงธันวาคม 2553 เป็นการจูนความคิดด้วยประสบการณ์ รู้สึกว่าไปด้วยกันได้ อะไรที่ออกมาถือว่าเป็นความเห็นร่วม ที่ขับออกมา
@ สุดท้ายก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ ส่วนตัวท่านอยากให้พรรคการเมืองนำข้อเสนอใดไปใช้หาเสียง
(นิ่งคิด..) มีพรรคการเมืองใด "กล้าจับ" เรื่องปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร..ม่ะ
เอาแค่ขึ้นทะเบียน และประกาศว่า ใครถือครองที่ดินกี่ไร่เท่าไหร่ ทำสำเร็จ (X) ปี ก็เก่งแหละ ซึ่งก็คือเรื่องการเปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน เอาแค่นี้ก่อน ยังไม่ต้องกำหนดการถือครองที่ดินก็ได้
เวลานี้คนไม่มีสิทธิในที่ดินค่อนข้างเยอะ สมมุติผมเป็นประชาชน ผมไม่มีที่ ผมก็อยากรู้ที่ดินใครถือครองเท่าไหร่บ้าง
"สิ่งที่เราอยากจะเห็น มีการนำที่ดินออกมาใช้เพื่อส่วนกลางมากขึ้น ทำอย่างไรในเมือง หน่วยงานราชการนั่งทับที่ดินไว้จำนวนมาก ขณะเดียวกันชาวบ้านไม่มีที่ทำมาหากิน ไม่มีที่อยู่ ผมคิดว่า นโยบายแบบนี้น่าจะขายออก"
@ มีพรรคการเมืองใดจับประเด็นเรื่องโครงสร้างบ้างหรือไม่
(ตอบทันควัน) ยังไม่เห็น
“กองทัพเข้ามามีบทบาทสูง ดีหรือไม่”
นักวิชาการโยนคำถาม “กองทัพเข้ามามีบทบาทสูง ดีหรือไม่” ย้ำชัดไม่มีประชาธิปไตยที่ใด ตำแหน่งสำคัญในกองทัพ รัฐบาลแทบไม่มีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้อง เชื่อปรับบทบาทได้การเจรจา-แก้ปัญหาทางการเมืองจะสร้างสรรค์ขึ้น
วันที่ 19 พฤษภาคม ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนาแบบเปิดเรื่อง “สัญญาทางสังคมใหม่ ทางออกของวิกฤตการเปลี่ยนแปลง” ในงาน First International Conference on International Relations,Human Rights and Development ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีความผันผวนจากหน้ามือเป็นหลังมือ การเปลี่ยนแปลงเป็นในแบบม้วนตัวเองและกลับตัวมาใหม่ ภายในระยะเวลา 1 ช่วงอายุคนที่ผ่านมา ทำให้เกิดภาวะที่มีความยุ่งยากมากขึ้นที่จะหาทางออกได้ในวันนี้หรือพรุ่งนี้
ศ.ดร.ผาสุก กล่าวว่า แม้แต่คนที่อยู่ในภาวการณ์ดังกล่าวก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รวมทั้งสถาบันต่างๆ ที่อยู่ในสังคมมากว่า 100 ปี แต่สถานการณ์ของโลกในเวลาต่อมา ทำให้สถาบันดังกล่าวมีความแน่นหนามากในสังคมไทย กระทั่งกลายเป็นสถาบันที่ปิดกั้นไม่ให้นำไปสู่การเจรจา ซึ่งสถาบันที่ดังกล่าวข้างต้นคือ ‘กองทัพ’ นอกจากนี้ยังมี สถาบันตุลาการที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะตราบใดที่สังคมยังไม่สามารถมีกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนเชื่อถือได้ มีความซื่อตรง มีความเป็นอิสระ รวมทั้งมีหลักการในการปกป้องประโยชน์ของมวลชน ซึ่งหากไม่มีสถาบันที่เป็นเช่นนี้แล้ว สังคมก็ไม่สามารถเดินหน้าสู่การเจรจาได้เช่นกัน
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยที่ยุ่งยากมาก เพราะมีปฏิกิริยา 2 ฝ่ายที่ คือฝ่ายที่ต้องการรักษาระเบียบเก่า กับ กับฝ่ายที่ต้องการระเบียบใหม่ ถึงจุดต้องข้ามพ้นสะพานนี้ คลองนี้ หรือแม่น้ำนี้แล้ว รอไม่ได้แล้ว กำลังงัดข้อกัน ดังนั้นจึงต้องมีการเสวนา ตกลงกัน เพื่อหากรอบกติกาใหม่
“สำหรับความยุ่งยากที่เกิดขึ้น ปฏิกิริยาของฝ่ายที่ต้องการรักษาระเบียบเก่า สามารถที่จะอิงสัญลักษณ์อำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีอำนาจด้านกายภาพจากฝ่ายกองทัพ บวกกับแรงสนับสนุนบางส่วนจากสังคมและชนชั้นกลางเป็นตัวหนุนช่วย” ศ.ดร.ผาสุก กล่าว และว่า ยุทธศาสตร์หนึ่งของฝ่ายที่ต้องการรักษาระเบียบเก่านั้น มีการใช้กระบวนการทางการเมือง ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องการสร้างระเบียบใหม่ให้ดูเหมือนว่า ไร้ความชอบธรรม เช่น สร้างวาทกรรมว่าไร้การศึกษา ถูกชักจูง คิดเองไม่เป็น พร้อมกันนี้ยังได้ยกงานวิจัยเชิงประจักษ์ ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนต่างจังหวัดมีการตื่นรู้ทางการเมืองอย่างเป็นระบบ สามารถคิดเองได้ ทำเองได้ และหาทางเข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้หลายรูปแบบ
สำหรับการที่จะให้ประเทศไทยก้าวต่อไปข้างหน้า ศ.ดร.ผาสุก กล่าวว่า ต้องมีการยอมรับกันว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว จากทั้ง 2 ฝ่ายและทั้ง 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกันต้อมาเสวนา พูดคุยกัน และอาจต้องมีการเจรจาแบบแลกหมูแลกแมว ซึ่งก็ต้องใช้เวลา
ปี 50-52 งบฯ กลาโหมได้เพิ่มขึ้นถึง 50%
ศ.ดร.ผาสุก กล่าวถึงบทบาทของสถาบันกองทัพไทย การมีการปรับเปลี่ยนจะทำให้กระบวนการเจรจาเป็นไปได้ ในแนวทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น เพราะตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 กองทัพไทยได้แสดงบทบาทในสังคมอย่างกว้างขวาง กระทั่งมีการพูดกันว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพก็อยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ก็ยังไม่มีใครตั้งคำถาม ว่า การที่กองทัพเข้ามามีบทบาทสูงขึ้นในสังคมไทยเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี มีผลพวงต่อพัฒนาการของสังคม และแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร
“แต่สิ่งที่เห็นชัดเจน เป็นรูปธรรม คือ งบประมาณของกลาโหมได้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 50 ระหว่างปี 2550-2552 ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างประเทศ เราจะพบว่า งบฯ กลาโหมในสหรัฐฯสูง ซึ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของ GDP ของไทยประเทศเล็กว่าอยู่ที่ งบฯ กลาโหมอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของ GDP มากกว่า เยอรมนี ที่ มีงบฯ ทหารอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของ GDP ส่วนอินโดนีเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 1 ของ GDP ญี่ปุ่น ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของ GDP ส่วนจีนอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของ GDP”
เมื่อดูสัดส่วนของจำนวนทหารต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ศ.ดร.ผาสุก กล่าวว่า สหรัฐฯ มีทหารจำนวน 7.9 คนต่อประชากร 1,000 คน , อินโดนีเซียมีทหารจำนวน 4.1 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ญี่ปุ่น 2.2 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ขณะที่ไทยมีทหารจำนวนถึง 10 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
“มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลังปี 2549 เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายกองทัพ ก่อนปี 2549 โผทหารจะถูกพิจารณาโดยนายกรัฐมนตรีก่อนเสนอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นับตั้งแต่ปี 2551 มีการผ่านพระราชบัญญัติกระทรวงกลาโหมใหม่ มีการแก้ไข ทำให้โผทหารประจำปีอยู่ในกำกับของกองทัพแทบจะสิ้นเชิง โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หมายความว่า หากรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไม่ได้มาจากฝ่ายพลเรือนก็เรียกได้ว่า เป็นคนของกองทัพทั้งสิ้น ซึ่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นแต่เพียงผู้สนองพระบรมราชโองการเท่านั้น”
ชี้ระบอบปชต. บทบาทของผู้นำทหารมีจำกัด
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ไม่มีประชาธิปไตยที่ไหน ในโลก ที่ตำแหน่งสำคัญในกองทัพ รัฐบาลแทบจะไม่มีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้อง และในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป บทบาทของผู้นำฝ่ายทหารมีจำกัด แต่ของไทย บทบาทของผู้นำกองทัพมีบทบาทหลายสถาน มีการใส่หมวกหลายใบ ที่ผ่านมา นายทหารชั้นผู้ใหญ่จะออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อบ่อยมากขึ้น เช่น ผู้บัญชาการทหารบกเสนอความเห็นว่า ให้รัฐบาลมีนโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับการแก้ปัญหากัมพูชาอย่างไร หรือชักชวนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตย ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นไปอย่างมีนัยยะ เป็นต้น
“นอกจากนี้ยังมีการสั่งปิดเว็บไซต์ที่หมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังก็มีการเสนอให้ยกระดับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)ให้เป็นกระทรวง หรือกรมที่ดูแลด้านความมั่นคงเช่นเดียวกันในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ‘กองทัพ’ เป็นองค์ประกอบสำคัญของผู้รักษาระเบียบเก่า อีก ทั้งยังเป็นองค์ประกอบของความยุ่งยากในการแสวงหาทางออกอย่างสันติวิธี ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องพูดถึงการขยายบทบาทของกองทัพในสังคมไทยว่าดี หรือไม่ดี ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร”
ปฏิรูปความหวังอยู่ที่ประชาชน
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยที่ประธานคปร.ระบุว่าเป็น “พิมพ์เขียว” นั้น ก็จะยังคงเป็นความรู้อันมีคุณค่าที่ทุกฝ่ายจะสามารถนำไปปฏิบัติหรือต่อยอด เพื่อการปฏิรูปที่เป็นจริงต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า กว่าพิมพ์เขียวเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่สุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตที่ดี กว่า กำจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความปรองดองสมานฉันท์และป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์บ้านเมืองที่ไม่ พึงปรารถนาจะออกสู่สายตาสาธารณชน กระทั่ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี ตอกย้ำว่า “เป็นความรู้ที่ไม่มีวันสูญหายไปจากโลก” นั้น มันได้ผ่านกระบวนการขบคิด ถกเถียง อภิปราย ศึกษา เรียนรู้ กลั่นกรอง มาอย่างรอบด้านจากการระดมสมอง และสรรพกำลังของทรัพยากรบุคคลในแต่ละหน่วยงาน องค์กร สถาบัน ทั้งราชการและเอกชน ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น กลุ่มบุคคล ต่างๆมาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็ม สำหรับผม..ที่ติดตามการทำงานของคปร.และสมัชชาปฏิรูปประเทศของอาจารย์หมอ ประเวศด้วยความสนใจ และแอบเชียร์อย่างลึกๆมาโดยตลอด… เห็นด้วยครับว่า พิมพ์เขียวเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยที่คปร.อยากเห็นพรรคการเมืองนำไปบรรจุไว้ ในนโยบายเพื่อการพัฒนาและบริหารประเทศต่อไปในอนาคตนั้น เป็นชุดความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศและสังคมไทย ไปสู่ฝั่งฝันได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะคปร.ก่อนลงมือทำงานนั้น ได้มีการถกกันอย่างตรงไปตรงมาถึงปัญหาของประเทศ วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองที่จะต้องแก้ไข แล้วก็รวบรวมทุกฝ่ายมาจัดทำความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไข มีทั้งการพบปะประชาชนทุกระดับจากข้างบนไปข้างล่าง จากข้างล่างขยายไปส่วนอื่นๆ อีกทั้งพบปะองค์กรต่างๆที่เกี่ยวเนื่องไม่ปิดกั้นทั้งเอกชน ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาต่างๆ
“นี่เป็นชุดความรู้ที่เป็นตัวปัญญา สามารถนำไปศึกษา และจะเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน”
เป็นคำจำกัดความในความเห็นของประธานสมัชชาปฏิรูปต่อพิมพ์เขียวปฏิรูป ประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับการบอกกล่าวความในใจของคปร.ผ่านพิมพ์เขียวเพื่อเสนอต่อพรรค การเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือประชาชนคนไทยทั้งชาติ เพราะได้ระบุว่า
“การปฏิรูปไม่อาจทำได้สำเร็จด้วยอำนาจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่สำเร็จได้ด้วยความใฝ่ฝันร่วมกันที่จะทำใหสังคมของเราเป็นสังคมที่เปิด โอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม และมีสมรรถนะที่จะทำให้ศักยภาพของบุคคลและสังคมได้พัฒนาไปได้สูงสุด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คปร.เพียงเสนอแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทย ส่วนการขับเคลื่อนการปฏิรูปให้ปรากฏเป็นจริงเป็นภารกิจร่วมของคนทั้งสังคม”
ฉะนั้น..การที่พรรคการเมืองจะได้ชูธงปฏิรูปเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะ ถึง ผมค่อนข้างมั่นใจว่า คุณจะได้คะแนนเสียงจากกลุ่มคนที่ ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศไทยเป็นจริงไม่มากก็น้อย เพราะต้องไม่ลืมว่า แนวคิดอยากเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ได้เป็นไอเดียบรรเจิดของปัจเจกชนคนใดคนหนึ่ง แต่มันตกผลึกทางความคิดมาตั้งแต่บ้านเมืองร้อนเป็นไฟ
แล้วทำไม ..นักการเมืองจะไม่หยิบพิมพ์เขียวนี้ไปต่อยอด
ผมว่าจะลอกเลียนแบบไปทั้งดุ้น หรือเลือกประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่ตัวเองสนใจ หรือถนัดชำนาญไปดำเนินการให้เห็นจริงเห็นจัง ก็คงไม่มีใครแอบค่อนขอดนินทาลับหลังหรอกครับ เพราะการลงมือทำย่อมดีกว่าคนดีแต่พูดแน่นอน
อย่างน้อยที่สุด คปร.ก็ได้นำเสนอประเด็นความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปใหญ่ๆ 3 เรื่อง ตั้งแต่การปรับโครงสร้างอำนาจ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ก็ถือเป็นคุณภาพชีวิตที่เรียกว่า “จำปรารถนา” ของชาวบ้านทุกชุมชน รวมถึงการปฏิรูปสังคมที่ต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาที่เท่าเทียม
การนำเสนอของคปร.ไม่เพียงบอกถึงที่มาของปัญหา และเหตุผลเท่านั้น แต่มีรายละเอียดของทางออกและการแก้ไขปัญหา...พรรคการเมืองสามารถหยิบไปใช้ ทันทีแบบไม่ต้องเหนื่อยไปจ้างที่ปรึกษาใดๆมาขียนนโยบายด้วยซ้ำ
“การชูธงปฏิรูป จะทำให้การเลือกตั้งมีสีสัน สาระ เนื้อหา และสะท้อนภาวะของสังคมไทย” นายอานันท์ที่เป็นอดีตประธานคปร.ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ระบุ และผมก็ยกมือเห็นด้วยคร้าบ...
เพราะสังคมไทยเบื่อหน่ายอย่างมากกับภาพของนักการเมือง พรรคการเมืองที่เอาแต่ใส่ใจตัวเลขที่นั่งในสภา แล้วพยายามแย่งชิงความได้เปรียบทุกวิถีทางด้วยพลังดูด พลังอัดฉีด หรือแม้แต่วิชามาร หากมีการชูธงปฏิรูป ย่อมหมายถึงการขยับตัวเองออกจากวังวนน้ำเน่าทางการเมือง ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในส่วนที่ได้ติดอาวุธทางปัญญามาตลอด 10เดือนของการรณรงค์เปลี่ยนแปลงประเทศไทยด้วยการปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำ ก็พร้อมที่จะใช้อำนาจในมือขับเคลื่อนการปฏิรูปให้เป็นจริงด้วยการทำให้การ เลือกตั้งมีการปฏิรูปเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
ประเภทเลือกคนนี้ได้คนนั้น เลือกพรรคโน้นแถมญาติพี่น้องมาเป็นพรวนนั้น ไม่ใช่แนวทางการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่สุขภาวะ ฝ่าพ้นวิกฤตอยู่แล้ว เพราะเราสังคมไทยตระหนักแก่สายตามาแล้วนี่นาว่า ประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจอยากได้ใคร่ให้เป็นจริงๆ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นดาบสองคมทำให้ภาคประชาชนอ่อนแอ เหมือนเป็ดง่อย ต้องรอให้เขามาให้มาแจกอยู่ร่ำไป
ฮะแอ้ม ...โอกาสทองของการเลือกตั้ง คือ อำนาจในมือประชาชนกำหนดชะตาบ้านเมือง ดังนั้น หากต้องการให้มีการปฏิรูปในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราก็ต้องเลือกพรรคที่มีนโยบายขับเคลื่อนปฏิรูปสิ...แต่ถ้าไม่มีพรรคไหนใส่ใจ เรา็ โหวตโน เป็นคำตอบสุดท้าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
พฤษภาคม
(133)
-
▼
21 พ.ค.
(15)
- ไม่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ระบบงานยุติธรรมจะกลายเป็น...
- บันทึกเมืองไทย
- หลุมก๊าซอ่าวไทย
- แหล่งพลังงานในอ่าวไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระ...
- ปฏิรูปประเทศหลงทาง โดย อ. ปรีดา กุลชล
- ภาคผนวกของคณะกรรมการปฏิรูป
- ในหลวงฯในสายตาของชาวต่างชาติ โดยBison Man
- ความชอบธรรมทางการเมือง โดยดร.ไก่ Tanond
- ปกป้องประมุขของรัฐไทยถูกต้องชอบธรรม ตามหลักสากลอยู...
- ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร “ปฏิรูปเป็นสิ่งสวยงาม ผมได้เจอ...
- “กองทัพเข้ามามีบทบาทสูง ดีหรือไม่”
- ปฏิรูปความหวังอยู่ที่ประชาชน
- ต่อต้านคอร์รัปชั่น จุดเปลี่ยนประเทศไทย"
- 'เพชรวรรต'โวย ลำดับที่86 แดงเชียงใหม่ฮึ่ม
- จับตาดูและห้ามกระพริบตา
-
▼
21 พ.ค.
(15)
-
▼
พฤษภาคม
(133)