บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?"


รายการคมชัดลึกจัดถก "สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?" ประธานวิปรัฐบาลยันไม่มีใครแตะหมวดพระมหากษัตริย์แน่ เตรียมหาช่อง"ทักษิณ"แสดงความเห็น "ธิดา" ยัน นปช.ทำหน้าที่กระตุ้นพรรคการเมืองที่ค้านแก้เตรียมจัดม็อบกระทุ้ง พันธมิตรห่วงล้างความผิด
27ก.พ.2555 รายการคมชัดลึกทางเนชั่นทีวี จัดรายการเรื่อง สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ? โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย นายเดโช สวนานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีต สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ


นายอุดมเดช กล่าวว่า กระบวนการเลือก สสร.เป็นเรื่องของประชาชนที่จะเลือกในแต่ละจังหวัด แต่ขณะนี้กรรมาธิการยังไม่มีการถกเถียงว่าใครเป็นประธาน ใครเป็นโฆษก ที่หลายคนกังวลว่าจะมีการซื้อเสียงเป็นสสร.นั้น ตนเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ เพราะที่ได้ร่างไว้คือ ทำงานแค่ 160 วัน แล้วใครจะใช้เงิน 6 แสนเพื่อย้อนไปซื้อเสียง ซึ่งทั้ง 3 ร่างมีเวลาใกล้เคียงกันคือ 130 วัน ซึ่งก็มีผู้แสดงความเป็นว่าน้อยเกินไป ควรเป็น 180 วัน ซึ่งกมธ.ก็คงฟังโดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก และไปทำประชามติ ส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาที่บอกว่าเมื่อร่างเสร็จแล้วให้นำเข้าสภาให้ความเห็นชอบ หากไม่เห็นชอบจึงทำประชามติ ซึ่งในร่างของพรรคเพื่อไทยใน ม.291/11 ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ให้ตกไป แต่หากกังวลก็ให้กมธ.ไปร่างเลยว่าห้ามแตะในส่วนนี้ แต่ถ้าไปเขียนป้องกันไว้หมดก็ไม่ต้องแก้กันแล้ว ส่วนกฎหมายจะผ่านสภาเมื่อใดนั้น หาก กมธ.ใช้เวลา 1 เดือนหากเสร็จก็ส่งกลับเข้ามาในวาระ 2 หลังจากนั้นทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงลงมติในวาระ 3 โดยใช้เวลาเกือบ 2 เดือน แต่กมธ.ใช้เวลาเกิน 1 เดือนแน่นอน เพราะให้มีการแปรญัตติ ดังนั้นสิ่งที่กังวลยังมีเวลาพิจารณาอีกเยอะ

"ความเห็นอะไรที่สังคมรับได้ กมธ.ก็พร้อมจะทำ เพราะต้องการให้กระบวนการแก้รธน.เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ที่อ้างว่า รธน.50 มีการทำประชามตินั้น เราจึงกำหนดว่าเมื่อรธน.ที่ร่างมาแล้วต้องทำประชามติด้วย ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็มาว่ากัน ไม่ใช่บีบบังคับว่าต้องเป็นไปตามที่ สสร.ร่างมา สำหรับในหมวดพระมหากษัตริย์นั้น ไม่มีใครไปแตะต้องอยู่แล้ว แต่หยิบยกมาพูดเพื่อให้เกิดกระแสต่อต้าน ให้เกิดแนวร่วม ซึ่งสสร.ที่จะเกิดขึ้น จะร่างอย่างไรให้สังคมยอมรับ เพราะยังมีการทำประชามติอยู่ ส่วนจะแก้มาตราไหนก็ว่ากันไป" อุดมเดช กล่าวและว่า
ตนคิดว่ามีหลายมาตราที่จะผ่าน โดยหลังจากมีการเลือกตั้ง สสร. ในการทำประชาพิจารณ์ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นได้หรือไม่นั้น ตนยังไม่ได้คุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ

นายเดโช กล่าวว่า เป็นภารกิจของสสร. ซึ่งปี 2540 ก็มีการกล่าวหาว่า ส.ส.ร.เป็นคนของพรรคการเมืองนั้นพรรคการเมืองนี้ โดยมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งต่างจากสสร.ครั้งนี้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และก็ไม่พ้นข้อครหาว่าเป็นคนของพรรคการเมือง จึงอยู่ที่กกต.ว่าจะตรวจสอบอย่างไร ซึ่งคนที่เคยเลือกตั้งแล้วจะรู้ดีว่าไม่มีใครที่จะสุ่มเสี่ยง หากไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้าน ก็คงไม่ลง จึงอย่าไปคิดว่าประชาชนเลือกไม่เป็น เช่น ในการเลือก ส.ว. ที่ห้ามให้หาเสียงให้ใช้วิธีแนะนำตัว จึงอยู่ที่กกต.จะกำหนด คนที่ไม่เป็นที่รู้จัก แล้วโดดสมัครหวังฟลุคก็คงยาก เพราะไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร ตัวรธน.ไม่ใช่วิชาชีพ แต่นี่คือกติกาของประชาชน เป็นอำนาจของประชาชน คนจะลงหรือไม่ลงต้องประเมินสถานะตัวเอง หากแพ้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ลงแน่นอน ต้องรู้ตัวเอง
นายเสรี กล่าวว่า การเลือกตั้ง สสร.ในครั้งนั้นไม่มีความขัดแย้งเหมือนปัจจุบัน เพราะทุกคนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้มีการแก้ไขการเมือง เพราะการบริหารไม่นิ่ง ตำแหน่งนายกฯอยู่ในภาวะแวดล้อมของหลายพรรคการเมือง ทำให้ไม่มีเสถียรภาพ มีการทุจริตคอรัปชั่นเยอะ ทำให้หลายองค์กรต่างๆ เกิดขึ้นจากปัญหาหลายสภาวะในขณะนั้น ส่วนจะประชาธิปไตยหรือไม่อยู่ที่การเลือกตั้ง ส่วนวิธีการเลือกตั้งอยู่ที่เหตุผลว่าทำไมต้องการอย่างนี้ แต่การเลือกตั้งโดยตรงก็ถือว่าน่าลอง เพราะต้องยอมรับว่าเวลาเลือกตั้งฐานเสียงมาจากพรรค แต่เมื่อดูตัวบุคคลที่ถูกเลือกเข้ามาหลายคนก็ไม่ได้มาจากพรรค แม้แต่ในกทม.มี 18 คน ประชาชนเลือกโดยตรงคนละ 1 คะแนนก็ไม่ใช่คนของพรรคการเมือง แต่ก็ยอมรับว่าในต่างจังหวัด คนที่ถูกเลือกเข้ามาก็ผูกพันกับพรรคการเมือง ดังนั้นต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดน้อยที่สุด เช่น ทำอย่างไรใช้เงินให้น้อยที่สุด หากเลือกตั้งในจังหวัด คนที่เคยอยู่ในสายตาประชาชน ทำคุณความดีมา ก็เป็นปกติที่คนจะเลือก ใครที่ประชาชนเลือกแสดงว่ามีต้นทุน

"สิ่งที่ห่วงกังวลคือ หากเข้ามาแล้วไปเป็นตัวแทนใคร ไปรักษาผลประโยชน์ในการออกกฎหมาย เช่น ออกสัมปทาน การแทรกแซงการดำรงตำแหน่งส.ส.ที่เป็นผู้ช่วยรมต. เลขา ที่ปรึกษา ซึ่งครั้งที่แล้ว ส.ว. ส.ส. ก็ถูกวินิจฉัยเรื่องสัมปทาน ดังนั้นต้องสร้างระบบให้แข็งแรง หากเอาข้อยกเว้นมาเป็นหลักจะเสียหายหมด ประเทศไทยที่มีความสับสนแตกแยกเพราะมีการต่อสู้ ดิ้นรนให้พ้นจากคดีความ และเวลาต่อสู้ก็ดึงเสียงสนับสนุนจากประชาชนเข้ามา ทำให้เกิดการแยกกลุ่มออกเป็นฝ่าย ดังนั้นการแก้รธน.ควรจะดูว่าจะแก้ความแตกแยกได้อย่างไร นักการเมืองบ้านเราคือต้นตอทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้" เสรี กล่าว

นางธิดา กล่าวว่า นปช.ไม่ได้ยอมใคร เราทำหน้าที่ของเราดีที่สุด แม้ต้องการจะแก้รธน. แต่กติกาในการแก้รธน.ต้องใช้เวลานาน การทำงานของเราเป็นการกระตุ้นพรรคการเมืองที่ไม่ต้องการแก้ทั้งหลาย จึงถือว่าเราทำงานของเราดีที่สุด ตอนแรกเราจะเขียนเองก็ได้ หรือจะเอาม็อบไปกระทุ้งก็ได้ ทั้งนี้กระบวนได้มาของสสร. ของเรายังไม่จบ หวังว่ากมธ.จะนำข้อเสนอของเราไปพิจารณา ส่วนเนื้อหาหากจะให้สสร.เป็นผู้ร่างก็ไม่ควรไปกำหนดอะไร เพราะเท่ากับเป็นการตั้งธง ถามว่าอาจจะมีความเห็นว่าไม่ควรมีตำแหน่งทางการเมือง 4 ปี แต่หากบอกว่าห้ามเกี่ยวข้องการเมืองถือว่าไม่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรกลัว หรือขี้ขลาดทางการเมืองเกินไป ที่เราแสดงออกคือ ต่อต้านรัฐประหาร และต้องการให้มี รธน.ใหม่ที่เป็นของประชาชน ให้มีเหตุมีผล หากจะรักษา รธน.50 ก็ควรบอกว่าประเด็นไหน และดีตรงไหน
"ดิฉันไม่ต้องการเป็น สสร. ขอทำงาน นปช.เพราะยังมีภาระมากมาย ยังมีคนที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร และต้องระวังว่าใครคิดที่จะรัฐประหาร และระหว่างเวลาที่มีสสร.ไปแล้ว เราก็จะส่งสัญญาณว่าประชาชนอยากให้แก้ไขประเด็นใดบ้าง" ประธานนปช. กล่าว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า วันที่ 10 ก.พ. เป็นการประชุมแกนนำเพื่อพูดคุยกันระหว่างแกนนำ และนำมาเป็นมติว่าเราจะดำเนินมาตรการอย่างไรต่อการแก้ไขรธน. สิ่งที่พันธมิตรเป็นห่วงคือ การล้างความผิด และการกระชับฝ่ายทุนที่ใกล้ชิดการเมืองให้มีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะ สสร. 92 คนที่บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่ที่จริงมีที่มาจากพรรคการเมือง การคัดเลือกสสร.จึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง จะสังเกตได้ว่า ส.ส. มาจากส.ส. โดยมีนามสกุลเด่ยวกัน โดยส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาล และการแก้รธน. ครั้งนี้ถือเป็นการล้มรธน.ทั้งฉบับ เจตนารมย์ของรธน.ให้แก้ไขบางมาตรา แต่ครั้งนี้เป็นการล้มทั้งฉบับ เพราะไม่ได้นำหัวข้อของรธน.แต่ละประเด็นมาว่าจะแก้ไขเพื่ออะไร ดังนั้นกระบวนการจึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางเท่านั้น

คมชัดลึก

เปิดเบื้องหลังเปลี่ยนตัวบิ๊กชลประทานกลเกม“บรรหาร”ตีกันเพื่อไทยฮุบ ก.เกษตรฯ?



โดย isranewsalt
เปิดเบื้องหลังเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน พรรคชาติไทยพัฒนายอมเสีย “โคน”รักษา “ขุน” หมากเกม “บรรหาร ศิลปอาชา” ตีกัน พรรคเพื่อไทย ยึด กระทรวงเกษตรฯ คืน!!
สร้างความตกตะลึงให้กับสังคมเป็นอย่างมาก สำหรับมติการโยกย้าย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสับเปลี่ยนให้ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ มานั่งบริหารงานในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานคนใหม่แทน ของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555
   
แม้นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะยืนยันชัดเจนว่า การเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน ครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อหาแพะ รับบาปปัญหาน้ำท่วม เมื่อปีที่แล้ว แต่การโยกย้ายครั้งนี้ มาจากความต้องการของนายชลิตเอง
   
“เจ้าตัวบ่นว่าเหนื่อยอยากขอพัก เพราะที่ผ่านมาก็ต่ออายุในตำแหน่งไว้ 1 ปี หากสิ้นเดือนกันยายน ก็ต้องปรับใหม่ เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมจะได้คนใหม่มาเตรียมรู้งานเพื่อ รับมือป้องกันอุทกภัยร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหาร ทรัพยากรน้ำ(กยน.) เหมือนนักกีฬา เขาวิ่งมาเหนื่อย ก็ให้เขาพัก”
   
แต่ ก็มีเสียงเล็ดลอดมาจากในกระทรวงเกษตรฯ ว่า การโยกย้ายนายชลิตครั้งนี้ เป็นข้อตกลงร่วมกันของผู้ใหญ่ ในพรรคชาติไทยพัฒนา ที่กำกับดูแลกระทรวงเกษตรฯ กับผู้ใหญ่ ในพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ถึงการแสดงความรับผิดชอบ ต่อปัญหาน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมา
    
โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อกระชับพื้นที่ ความมั่นใจ ของประชาชน ต่อความจริงใจของรัฐบาล ในการหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หลังจากที่เสียคะแนนความนิยม ไปจำนวนมาก กับวลีเด็ด คำว่า “เอาอยู่”
   
ว่ากันว่า ในช่วงที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ใหม่ๆ กรมชลประทาน เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ที่ถูกสังคมตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยน้ำในเขื่อน ที่ดูเหมือนจะมีความผิดพลาดหลายประการ ขณะที่กระแสข่าวการดึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลของพรรค เพื่อไทย พร้อมแลกข้อเสนอให้ดูแลกระทรวงอื่นแทน ก็ดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ใหญ่ในพรรคชาติไทยพัฒนา เริ่มออกอาการหงุดหงิด
    
นาย ชลิต ดำรงศักดิ์ เคยยืนยันต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า “ถ้าต้องการให้ผมลาออก เพื่อแสดง สปีริต ก็พร้อมที่จะทำ” แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ บอกปัดไป พร้อมกับขอให้อยู่ช่วยทำงานไปก่อน
   
ขณะ ที่ ผู้ใหญ่ ในพรรคชาติไทยพัฒนา ก็ออกมายืนยันเสียงแข็งว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของพรรคชาติไทยพัฒนาต่อไป เพราะถ้ายอมรับข้อเสนอดังกล่าว กระแสความผิดพลาด จะตกมาอยู่ที่กระทรวงเกษตรฯ และพรรคชาติไทยพัฒนาทันทีทั้งที่ความผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ มีองค์ประกอบจาก คน และหน่วยงานอื่น ด้วยจำนวนมาก
   
และที่สำคัญ ที่สุด พรรคชาติไทยพัฒนา บริหารงานกระทรวงเกษตรฯ มานาน วางฐานงานการเมืองไว้ ที่กระทรวงแห่งนี้ อย่างมั่นคงหมดแล้ว จึงไม่มีทางที่จะปล่อยมือจากกระทรวงแห่งนี้ไปอย่างเด็ดขาด
   
หลัง เหตุการณ์น้ำท่วมผ่านพ้นไป แม้ความกดดัน ของกระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทาน ร่วมถึงตัวของนายชลิต ในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานจะลดลง เนื่องจากงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ ถูกโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกรู เป็นประธาน หมดแล้ว
   
แต่เนื่องแผนงาน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เตรียมไว้ ทั้งในส่วนของแผนระยะสั้น และ ระยะยาว เข้าไปเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินในการลงทุนโครงการจำนวนหลายแสนล้านบาท แถมบุคลิกของนายชลิต ดูเหมือนจะไม่ค่อยยอมรับคำสั่งใคร นอกจากผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรฯ เท่านั้น กระแสความต้องการที่จะดึงกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารงานของพรรคเพื่อไทย กำลังจะดังขึ้นมาอีกครั้ง
   
พร้อม กับเสนอข้อใหม่เหมือนเคยๆ คือ ให้เปลี่ยนตัวรับผิดชอบปัญหาเรื่องน้ำอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตัวอธิบดีกรมชลประทาน ด้วยข้อหาการทำงานล่าช้า หรือ ข้อเสนอเรื่องการแลกเปลี่ยนกระทรวงให้ดูแล
   
ภายหลังนั่งคิดคำนวณ อยู่นานผู้ใหญ่ ในกระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ข้อยุติเกี่ยวในการหาทางออกเรื่องนี้ โดยการต่อสายไปถึงนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ให้เตรียมความพร้อมเข้ามานั่งในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน แทน นายชลิต ในช่วงประมาณ1-2 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีการ เสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
   
ส่วน นายชลิต แม้จะเจ็บปวดกับเหตุการณ์นี้ไปบ้าง แต่ก็ไม่ถือว่า เสียหายมากนัก เพราะการโยกย้ายครั้งนี้ ไม่ใช่ “การลงโทษ” แต่เป็นการ “ตบรางวัล” ในการเสียสละ ด้วยการเตรียมตัวขึ้น ในตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต่อจาก น.ส.สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบันที่กำลังจะเกษียณอายุในปีนี้
    
การเดินเกมทางการเมือง ของ พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งนี้ โดยการเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน ตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ต่างอะไรกับการ ยอมเสียโคน เพื่อรักษา ขุน บนกระดานหมากรุก
     
อย่างไรก็ตาม แม้พรรคชาติไทยพัฒนา จะยอมเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทานไปแล้ว แต่ความพยายามของพรรคเพื่อไทย ในการดึงงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำไปบริหารงานเอง ยังคงไม่ยุติลง ต้องไม่ลืมว่า นโยบายหลักในการบริหารงานรัฐบาลของรัฐบาลชุดนี้ ในช่วงที่เหลือ การลงทุนทำโครงการเรื่องน้ำ ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากงานโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และงานการเมือง
    
เพราะในช่วงเวลาต่อจากนี้ หากเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากขึ้นมาอีก มีหวัง รัฐบาลชุดนี้ คงอยู่ต่อไปไม่ได้แน่
     
แนว คิดเรื่องการจัดตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาบริหารจัดการเรื่องน้ำทั้งระบบ พร้อมดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารงานเรื่องน้ำในอยู่ในความ ดูแลของทุกกระทรวงไปดูแล รวมถึงกรมชลประทาน จึงเป็นสิ่งที่แกนนำพรรคเพื่อไทยกำลังหารือกันอยู่ในขณะนี้ โดยอาจจะใช้วิธีการต่อยอด การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีการทำงานแบบ ซิงเกิ้ล คอมมานด์ ออธอริตี้ (Single Command Authority) ที่ ครม.เพิ่งมีมติเห็นชอบ ให้จัดตั้งไปก่อนหน้านี้ไม่นานนัก
     
โดยมีเป้าหมายสำคัญ ในการล้วงลูกการบริหารงานกรมชลประทาน ที่พรรคชาติไทยพัฒนา ดูแลอยู่ทางอ้อมแทน งานนี้ จึงไม่แน่ใจว่า บนบรรทัดสุดท้าย ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายได้เปรียบระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนาหรือพรรคเพื่อไทย
    
เมื่อ รูปเกมของพรรคเพื่อไทยออกมาแบบนี้ ก็ต้องคอยจับตาดูกันว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา จะแก้หมากการเมืองครั้งใหม่อย่างไร ???

แล้ว “ทักษิณ” ก็เผยตัวตน


แล้ว “ทักษิณ” ก็เผยตัวตน
TS106004001
                                                                                               สำเริง คำพะอุ    
          ทักษิณ   ชินวัตร   นักโทษที่หนีคุก   ๒   ปี   แต่ยังระเหระหนอยู่ต่างประเทศ   วิดีโอลิงค์   มายังกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมกันที่เขาใหญ่  เมื่อคืนวันเสาร์ที่   ๒๕     กุมภาพันธ์   ว่า  
           มี บางคนอาจสงสัยว่า   นายจตุพรที่เป็นน้องที่ตนรักมากคนหนึ่ง   และทุ่มเทให้พี่น้องเสื้อแดงมากทำไมกลับไม่ได้เป็นรัฐมนตรี    จึงขอตอบพี่น้องว่า   คนเสื้อแดงที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรีมากที่สุด   คือนายจตุพร    แต่มีวิธีที่จะตอบแทนและใช้หนี้ให้นายจตุพรแน่นอน    เห็นการต่อสู้และน้ำใจของคนเสื้อแดง รู้สึกว่าอยากกลับไปช่วยให้พี่น้องมีความสุขทุกคน   
          ซึ่งคิดว่าไม่นาน   คุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่า   ขอให้เร่งเยียวยาพี่น้อง   เพราะนานเกินไปแล้ว   ขอให้แกนนำเสื้อแดงทั้งหลายทั้งที่มีตำแหน่งหรือไม่   ขอให้รวบรวมคนเสื้อแดงที่มีญาติพี่น้องที่บาดเจ็บและเสียชีวิต   ให้ส่งเอกสารมาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   เพื่อให้มีการเยียวยาให้หมดรวมทั้งคนที่ติดคุกด้วย
          คำพูดดังกล่าวของทักษิณ    ชินวัตร     เท่ากับบอกกล่าวให้ประชาชนทั้งหลายทั้งปวงในประเทศไทย    และทั่วโลกทราบว่า    น้องสาวของเขาคือ   นางสาวยิ่งลักษณ์    ชินวัตร    นายกรัฐมนตรี  นั้นเป็นเพียง    หุ่น    เท่านั้นเอง    และที่นางสาวยิ่งลักษณ์บอกกล่าวกับประชาชนว่า    การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีก็ดี     นโยบายสำคัญต่างๆก็ดี    นางสาวยิ่งลักษณ์พูดไม่จริง      หรือพูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ  “โกหก    ตอแหล”   ทั้งสิ้น
          ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่ทักษิณ
          ผู้ที่สมัครใจโง่ยอมรับความรู้   ความสามารถของนางสาวยิ่งลักษณ์    ปกป้องนางสาวยิ่งลักษณ์ในทุกกรณี    แม้กระทั่งการเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่น     โดยที่เจ้าตัวคือนางสาวยิ่งลักษณ์เอง   ก็ยังตอบสังคมไม่ได้       นอกจากอ้อมๆ  แอ้มๆว่า    ไม่มีเรื่องเสียหาย    ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน    เป็นนายกรัฐมนตรีจะไปพบใครก็ได้    รับรู้เอาไว้ด้วยครับ     
          ทั้งที่คำถามคือ    ไปพบกับใคร    ทำไม   เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องของประเทศชาติ   เรื่องของนโยบาย    ถ้าหากเป็นเรื่องส่วนตัวทำไมหนีการประชุมสภาไป     ถ้าหากเป็นเรื่องของชาติบ้านเมืองบอกได้ไหม   อธิบายได้ไหมคุยเรื่องอะไรบ้าง
          นางสาวยิ่งลักษณ์ก็ไม่กล้าตอบ   หรือตอบไม่ได้
          แต่ก็ยังเชิดหน้าอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
          เป็นนายกรัฐมนตรีที่มี   ทักษิณ    บงการอยู่เบื้องหลังทุกชอต
          แต่ก็ยังเชิดหน้าบอกประชาชนบอกสังคมอย่างไม่อายว่า       “ดิฉันตัดสินใจเองค่ะ      ดิฉันจะทำเพื่อประชาชนค่ะ    ธรรมาภิบาลค่ะ     ไม่ทำเพื่อคนๆเดียวค่ะ”
          แต่คำพูดเพียงขึ้นต้นของทักษิณ    ชินวัตร  ที่บอกกล่าวกับคนเสื้อแดงเท่านั้นก็เผยให้เห็นความจริงอย่างล่อนจ้อนว่า     การเยียวยาคนเสื้อแดงทั้งคนเจ็บ   คนตาย     หรือแม้กระทั่งที่ติดคุกอยู่นั้น      บงการมาจากทักษิณทั้งสิ้น
          เป็น การใช้หนี้     เช่นเดียวกับที่ยัง  ติดหนี้จตุพรอยู่ในตำแหน่ง    รัฐมนตรี   ที่    จตุพรสมควรหรือเหมาะสมที่สุดในสายตาของ  ทักษิณ    ชินวัตร
          และวันหนึ่งเขาก็จะต้องเอาตำแหน่ง     รัฐมนตรี    ไปใช้หนี้ จตุพร  ที่ขายชีวิต ขายวิญญาณให้    จตุพร
          ไม่แน่ใจว่า    เฉลิม   อยู่บำรุง   ยงยุทธ   วิชัยดิษฐ์   ปลอดประสพ   สุรัสวดี      สุกำพล    สุวรรณทัต   ฯลฯ  ได้ตำแหน่งเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านในเมืองทุกวันนี้ถือเป็นการ   ใช้หนี้   ของทักษิณหรือไม่   ?    ยังสงสัยอยู่
          มิ น่าเล่า    ประเทศชาติและประชาชนไทยจึงต้องเผชิญปัญหาอยู่อย่างทุกวันนี้     ประเทศจนกรอบต้องกู้หนี้ยืมสินเขามาใช้ในการบริหารประเทศ     แต่รัฐบาลกลับใช้เงินอย่างมือเติบในโครงการต่างๆ    รวมทั้ง   เอาเงินที่จะต้อง    กู้  เขามานี่แหละมาใช้หนี้พวกเดียวกันที่อ้างว่าต่อสู้เพื่อความเป็น ประชาธิปไตย    เพื่อความเท่าเทียมกัน   เพื่อความเสมอภาคกัน
          แต่แท้ที่จริงสู้เพื่อ   ทักษิณ    
          จนทักษิณต้องออกมายอมรับว่าจะต้องใช้หนี้ให้    จะต้องเยียวยาให้
         ไม่ยุติธรรมกับประชาชน   และประเทศชาติเลย
          แต่จะทำอย่างไรเล่าครับ   พี่น้องทั้งหลาย      รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสำคัญ    เป็นขื่อแปหลักของบ้านเมืองพวกเขาก็ใช้เสียงข้างมากลากไป    บอกว่าจะแก้ไข     ทั้งที่ความเป็นจริงก็คือ     เขากำลังจะยกร่างขึ้นมาใหม่แล้วฉีกรัฐธรรมนูญนี้ทั้งฉบับทิ้งเสีย    ซึ่งเท่ากับใช้เสียงข้างมากของรัฐสภา     ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
         โดย ที่พวกเขาตอบคำถามไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอุปสรรคตรงไหนในการบริ หาร     เป็นอุปสรรคตรงไหนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ      ปัญหาข้าวของแพง     พวกเขาก็ตอบไม่ได้
         บอกได้อย่างเดียวว่า    รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหาร   ๑๙   กันยายน   ๒๕๔๙    
         ต้องร่างขึ้นมาใหม่    จะต้องมี สสร.มาทำหน้าที่    ร่างมาแล้วจะต้องให้ประชาชนลงประชามติ     แต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องใช้งบประมาณเกือบหมื่นล้านบาท    (ทั้งเงินเดือน  สสร     เบี้ยประชุม    การทำประชาพิจารณ์     การลงประชามติ)    
         แทนที่จะพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า     มีเนื้อหาในมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อบกพร่องก็แก้ไขมาตรานั้น     เป็นต้น   อยากจะยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ยุบพรรค    ให้ลงโทษกรรมการบริหารพรรค   ก็แก้ไขเสีย     ไม่พอใจองค์กรอิสระก็แก้ไขหมวดที่ว่านี้เสีย    เป็นต้น  อยากยกเลิก   ศาลรัฐธรรมนูญ      กกต.     หรือ    ศาลยุติธรรม     อยากจะเข้าไปแทรกแซงตรงไหน    เอาศาลยุติธรรมกลับมาอยู่กระทรวงยุติธรรม   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งตุลาการศาล     ก็ทำไปโดยสมาชิกรัฐสภา
         แต่เขาก็ไม่เอา   เขาก็ไม่กล้าทำ
         เอา   สสร.มาทำ   เพื่อให้ดูว่า   เป็นประชาธิปไตยจริงๆ    ร่างโดย   สสร.จริงๆ
         เหมือนกับที่เอานางสาวยิ่งลักษณ์     ชินวัตร   มาเป็นนายกรัฐมนตรี    โดยที่มี   ทักษิณ    คอยชี้นิ้วอยู่ข้างหลังนี่แหละครับ
         ไม่เชื่อก็คอยดู.
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง