บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

เปิดคำแปรญัตติแก้ไข รัฐธรรมนูญ ม.291 ..



ประชุมร่วมรัฐสภาเคาะสเป็ก ส.ส.ร. ปชป.-ส.ว. เสนอเพิ่มจำนวน ห้ามยุ่งการเมือง ไม่เเตะหมวดสถาบัน

การประชุมร่วมกันของสมาชิสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในวาระ 2 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการ(ปธ.กมธ.)พิจารณาเสร็จแล้ว

โดยในการพิจารณาของกมธ.เรียงลำดับ ตามมาตราทั้ง 5 มาตรา และที่ประชุมออกเสียงลงคะแนนให้ยึดเสียงข้างมาก ซึ่งกมธ.เสียงข้างน้อยได้สงวนความเห็น โดยมีผู้แปรญัตติสงวนคำแปรญัตติจำนวน 178 คน มานำเสนอในที่ประชุมร่วม วาระ 2 ในวันที่ 10-11 เมษายน 2555 ซึ่งผู้แปรญัตติส่วนใหญ่เป็นกรรมธิการเสียงข้างน้อยของพรรคประชาธิปัตย์และส.ว. ส่วนเนื้อหาในมาตรา 291/1 ที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ตามร่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ คณะกมธ.เห็นชอบ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละหนึ่งคน
2. สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองตามมาตรา 291/6จำนวนยี่สิบสองคน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน(ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน(ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินเศรษฐกิจ สังคมกฎหมายหรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนดจำนวน10คน

สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภาผู้แปรญัตติอภิปรายโดยมีสาระสำคัญดังนี้

นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาในฐานะประธานวิปวุฒิสภามาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 200 คน ในกรณีตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆให้สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

ส่วน ส.ว.สรรหา อาทิ นายวันชัย สอนศิริ, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย,รศ.นรีวรรณ จินตกานต์,นางกีระณา สุมาวงศ์, รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา เสนอให้ มาตรา 291/1 มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง การคำนวณจำนวนสมาชิกของแต่ละจังหวัดให้คำนวณตามสัดส่วนของจำนวนประชาชนทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิก200คนจำนวนสมาชิกที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีให้นำจำนวนประชาชนในจังหวัดนั้นมาคำนวณเฉลี่ยตามวรรคสองจังหวัดใดมีประชาชนไม่ถึงเกณฑ์ต่อสมาชิก1คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกได้1คนจังหวัดใดมีประชาชนเกินเกณฑ์สมาชิก1คนให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนประชาชนที่ถึงเกณฑ์จำนวนประชาชนต่อสมาชิก1คน

นายกรณ์จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้ 1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในเขตจังหวัดนั้นๆได้1คนให้แต่ละจังหวัดมีจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนราษฎร 300,000 คนต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ1คน เมื่อได้ที่จำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่พึงมีในแต่ละจังหวัดตามวรรคสามแล้วหากจังหวัดใดมีเศษของจำนวนราษฎรที่เหลือจากการคำนวณมากกว่า 150,000 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง 2.สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภาจำนวน 22 คน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน (ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน(ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนด จำนวน 10 คน

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละ 1 คน 2.สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองตามมาตรา 291/6 จำนวน 22 คน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 6 คน (ข)ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 6 คน (ค)ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจสังคมกฎหมายหรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนดจำนวน 10 คน

โดยส่วนใหญ่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แก้ไขจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายโดยให้ใช้เกณฑ์ประชากรจำนวน 300,000 คน ต่อจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 1 คน จังหวัดใดมีประชากรไม่ถึงจำนวนดังกล่าวให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ 1 คน จังหวัดใดที่มีเศษเหลือจากการคำนวณดังกล่าวหากมีจำนวนประชากรเกิน 100,000 คน ขึ้นไปก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อีก 1 คน (2)สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตาม (1)จำนวน 25 คน ดังต่อไปนี้(ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน (ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน (ข/1) ผู้เชี่ยวชาญสาขาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพและการศึกษาจำนวน 3 คน (ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด จำนวน 10 คน

สำหรับมาตรา 291/2 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ตามมาตรา 291/1(1) ผู้ขอแปรญัตติในมาตรานี้ส่วนใหญ่เป็นกรรมาธิการและส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์จะเสนอให้เพิ่มเติมข้อความ โดยนายเทพไท เสนพงศ์ เสนอเพิ่มข้อความว่า ไม่เป็นส.ส. ส.ว.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง, ไม่เป็นสมาชิกพรรคมาแล้ว 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง และไม่เป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ขณะที่ ส.ว. อาทิ นายเจริญ ภักดีวานิช นายประเสริฐ ชิตพงษ์ นายนิคม ไวยรัชพานิช นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ นายวันชัย สอนศิริ นางทัศนา บุญทอง ขอแปรญัตติให้เพิ่มเติมในส่วนวุฒิการศึกษาว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

มาตรา 291/3 บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร.นั้น ส่วนใหญ่จะขอแปรญัตติให้เพิ่มเติมข้อความ อาทิ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ (กมธ.) เสนอให้เพิ่มข้อความคุณสมบัติต้องห้ามคือ เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งส.ส. ส.ว.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคและพ้นจากตำแหน่งใดๆ ในพรรคมาแล้วยังไม่เกิน 3 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายธนา ชีรวินิจ นายนิพนธ์ บุญญามณี และนายวิรัช ร่มเย็น (กมธ.) เสนอให้ระบุเป็นสมาชิกพรรคหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคแล้วยังไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งเป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้องและบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ส่วนนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ขอแปรญัตติโดยให้ตัดบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ส.ตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (9) (12) (13) หรือ (14) มาเป็นเรื่องติดยาเสพติดให้โทษ, บุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต, ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล, เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง, เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริต, เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา 263 และเคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง มาตรา 291/5 ให้กกต.จัดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ให้เสร็จภายใน 75 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่น รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม การวินิจฉัยขาดเกี่ยวกับการตัดสิทธิการเลือกตั้ง การเพิกถอนผลเลือกตั้งทั้งก่อนและหลังการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ร.ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้รับคำร้อง

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เสนอให้กกต.จัดการเลือกตั้งส.ส.ร.เสร็จภายใน 90 วัน และเมื่อเลือกตั้งเสร็จให้กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นส.ส.ร.จังหวัดนั้น ส่วนมาตรา 291/11 สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก

ขณะเดียวกัน กมธ.จากพรรคปชป. ส่วนใหญ่จะเสนอให้ขยายเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จ ภายใน 300 วัน และให้ส.ส.ร.นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นต้นแบบในการยกร่างและให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกจังหวัดโดยทั่วถึงก่อน นายวิรัช ร่มเย็น เสนอให้เสร็จภายใน 360 วัน เช่นเดียวกับนายวิรัตน์ กัลยาศิริ เสนอให้เพิ่มข้อความด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ยกเลิก ยุบ ปรับ เปลี่ยน องค์กรอิสระ ศาลทั้งหลายจะกระทำไม่ได้ ร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นการแก้ไขจัดทำร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะนิรโทษกรรมบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งมีความผิดหรือต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลใดๆ และจะต้องไม่จัดทำในลักษณะให้มีผลย้อนหลังลบล้างความผิดใดๆ ซึ่งองค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 วินิจฉัยหรือลงมติว่าบุคคลนั้นมีความผิด ด้านนายอภิสิทธิ์ขอแปรญัตติว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่ต้องให้อิสระกับองค์กรตุลาการและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และต้องไม่มีผลให้ลบล้างอำนาจตุลาการที่ผ่านมา

มาตรา 291/13 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา และให้กกต.กำหนดวันออกเสียงประชามติไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยกว่า 45 วัน กมธ.เสียงข้างน้อย และส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้สงวนคำแปรญัตติ โดยเสนอว่ากรณีส.ส.หรือส.ว.จำนวน 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิก เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/11 วรรคห้า ให้เสนอร่างนั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใน 7 วัน และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน หากร่างดังกล่าวมิได้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/11 วรรคห้า ก่อนส่งร่างให้กกต.จัดทำประชามติ ต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนทำประชามติ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอแปรญัตติว่า การวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่ ควรให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประธานรัฐสภา

มาตรา 291/14 เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กมธ. อาทิ นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ขอสงวนคำแปรญัตติโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอแปรญัตติ 60 คน ให้ตัดประธานรัฐสภาเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยระบุว่าการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของส.ส.ร. ต้องไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของหมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

มาตรา 291/16 ระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตกไป ให้ ครม. โดย ส.ส. มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภามีมติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ นายอภิสิทธิ์และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอสงวนคำแปรญัตติโดยเสนอให้ตัดมาตรานี้ทิ้ง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่ใช่หลักที่ถูกต้องที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่บ่อยครั้ง

ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมพิจารณาได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย โดยทางวิป 3 ฝ่ายได้หารือกัน ให้ปิดการประชุมเพื่อให้ส.ส. ลงพื้นที่ดูแลประชาชน และจะมีการประชุมพิจารณาต่อในวันที่ 18-19 เม.ย.

โดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า จะมีการลงมติวาระ 3 ใน วันที่ 8 พ.ค.นี้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง