มติชนออนไลน์
ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านหลังแรกในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถยนต์คันแรกลดภาษี 100,000 บาท ภายใน 1 ปี
ยังอยู่ในกรอบแห่ง "เคนเนเซี่ยน" ของ จอห์น เมย์นาร์ด เคย์นส์
แม้ว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน พร้อมกับเงินที่ทุ่มลงไป 4.3 แสนล้านบาท เป้าหมายจะอยู่ที่ชาวนา
สะท้อนกลิ่นอายกระดูกสันหลังแห่งชาติ ซึ่งถูกทอดทิ้งมาอย่างยาวนาน
แต่ก็ยังอยู่ในหลักการแห่งการเข้าไปแสดงบทบาทของรัฐในจุดอันเหมาะสม ตามแนว ทางของ เคย์นส์
นั่นก็คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจโดย "รัฐ" เป็นกองหน้า
คล้ายกับโครงการบ้านหลังแรกและโครงการรถยนต์คันแรกจะกำหนดเป้าหมายอยู่ที่คนชั้นกลางในเมือง ขณะที่โครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะกำหนดเป้าหมายไปยังชาวนาในชนบท แต่ทั้งหมดนี้ดำเนินไปภายในกรอบแห่งการสร้างกลไกให้เกิดการหมุนเวียนของทุน
เมื่อเป็นบ้านหลังแรกย่อมอยู่ในกรอบแห่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเป็นรถยนต์คันแรกย่อมอยู่ในกรอบแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่เรื่องของชาวนาอยู่ในกรอบแห่งการ เกษตร
นี่คือ ดู-อัล แทร็ก กระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในเมืองและในชนบท
ถึงแม้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีคนเสื้อแดงเป็นรากฐานทางการเมือง แต่กรอบแห่งการกำหนดนโยบายก็ยังเป็นนโยบายประชานิยมภายใต้กระแสทุน
ยังมิได้เป็น "ลัทธิแดง" อย่างที่มีบางคนป่าวร้องเพื่อสร้างความหวาดกลัว
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคเหนือ ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคกลาง
ล้วนเสพติดกับนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย
เป็นนโยบายประชานิยมอย่างที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำไปขยายให้ อลังการใหญ่โตมากยิ่งขึ้น จาก 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นรักษาฟรี เป็นนโยบายประชานิยมอย่างที่พรรคภูมิใจนำไปประกาศเป็นของตนเอง
เพียงแต่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำ ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เพียงแต่เมื่อประกาศจากพรรคภูมิใจไทย ชาวบ้านเขาไม่ศรัทธา
อย่าได้แปลกใจหากคำขวัญที่นำเสนอใหม่คือ "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"
คำขวัญนี้ทำให้พรรคเพื่อไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ได้รับเลือกมากถึง 265 ส.ส. กำชัยเหนือทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และสามารถต่อยอดนโยบายจากพรรคไทยรักไทยมาถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทุกอย่างอยู่ในกรอบของประชานิยม ทุกอย่างดำเนินไปตามแนว จอห์น เมย์นาร์ด เคย์นส์
กระแสคัดค้านต่อต้าน ไม่ว่าจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะมาจาก ทีดีอาร์ไอ ไม่ว่าจะมาจากปัญญาชน นักวิชาการ ยังเป็นเหมือนเดิม
นั่นก็คือ เสมอเป็นเพียงการคัดค้านในเรื่องวิธีการ ในเรื่องกระบวนการ
มิได้เป็นการคัดค้านในเรื่องหลักการอันเป็นแก่นแท้ นั่นก็คือ มิได้เป็นการเอาแนวคิดตรงกันข้ามกับหลักการทุนเสรีไปคัดค้าน
ทีดีอาร์ไอก็คิดในกรอบของทุนนิยม พรรคประชาธิปัตย์ก็คิดในกรอบของทุนนิยม
ที่มีการหยิบยกเอาคำว่า "ลัทธิแดง" มาเป็นอุทานเสริมบทก็เสมอเป็นเพียงถนิมพิมพาภรณ์ สร้างอลังการแห่งวาทกรรมเท่านั้น
พรรคเพื่อไทย หรือแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังอยู่ในกรอบแห่งทุนเช่นเดียวกัน
เพียงแต่ความเก่งของพรรคเพื่อไทยก็คือ การสร้างสีสันให้กับทุนโดยการกระตุ้นทั้งระดับชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง
ทั้งในเมือง ทั้งในชนบท
แท้จริงแล้ว โครงการจำนำข้าวเปลือกก็เท่ากับเป็นการแจกเงินให้ชาวนา เพียงแต่มีข้าวเปลือกมาเป็นสินทรัพย์เพื่อต่อยอด อันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปกับโครงการแจกเงินเฉยๆ ของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นี่คือความวิลิศมาหราอันเหนือกว่าของพรรคเพื่อไทยเมื่อเทียบกับของพรรคประชาธิปัตย์
มีความพยายามในการใส่สีตีไข่ วาดหัวต่อหาง นโยบายพรรคเพื่อไทยอย่างเจตนามากมาย
แต่เมื่อกล่าวในเชิงเปรียบเทียบแล้ว นโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยกับนโยบายประชานิยมของพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในกรอบใกล้เคียงและเหมือนๆ กัน
เพียงแต่ "โนว์ฮาว" ของพรรคเพื่อไทย อลังการและน่าเชื่อถือมากกว่าเท่านั้น
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554
เปิดพจนานุกรมฉบับปูกิ๊ เยาวชนจ๋าอย่าลอกเลียน 'จอมงก'เริงระบำ-ปัน'ขุมทรัพย์'ลงตัว!!
จู่ๆ ก็นึกถึงคำว่า "พจนานุกรม" ขึ้นมา...ซึ่งตามความหมายของ "วิกิพีเดีย" ระบุไว้ว่า เป็นการคิดคำขึ้นจาก "พจน" (คำพูด) และ "อนุกรม" (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส จึงออกมาเป็น "พจนานุกรม" หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ เพราะอะไรน่ะหรือ...ก็เพราะได้ยิน-ได้ฟัง-ได้อ่าน...คำให้สัมภาษณ์ของ “โคลนนิ่งปูกิ๊” มาตลอดหลายเดือน...ตั้งแต่ตกกระไดพลอยโจน ต้องเข้ามาสู่แวดวงการเมือง ตามคำบังคับของ “พี่ชายเหลี่ยมจัด” ที่หวังใช้ “ความสวย...สยบความเคลื่อนไหว”
แรกๆ ก็ไม่คิดอะไรมาก...เพราะรู้ดีว่า “กึ๋น...มีน้อยนิดเพียงใด” ก็พยายามทำใจ...ไม่อยากคาดหวังอะไรมาก แต่ ระยะหลังดูเหมือนว่า อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ “ภาพลักษณ์” ของ “คนเป็นผู้นำประเทศ” เสียหาย...และจะมีผลกระทบไปสู่ “ผู้นำคนอื่นๆ” ที่จะเข้ามาในอนาคต
เพราะแทนที่ “ผู้นำประเทศ” จะโชว์วิสัยทัศน์ให้ “ประชาชน” ได้สัมผัสและฝากความหวังไว้ กลับกลายเป็นแค่ “ตัวตลก” ที่เปรียบเหมือนหุ่นยนต์ ที่ต้องมี “ชิป” (chip) ไว้เพื่อประมวลผลและไว้ใช้ทำงาน...เพราะถูก “กระจิบข่าว” ซักถามในสิ่งที่ “ประชาชน” อยากรู้...แต่ She ก็พยายามตี๊ดชิ่ง...หนีตลอด
บางครั้ง...เมื่อจนแต้ม...เราก็จะได้เห็นคำซ้ำๆ-คำเดิมๆ-คำเก่าๆ ที่หลุดออกมาจาก “สมองกลวงๆ” ซึ่งได้มีการฝัง Chip จัดระเบียบคำพูดเอาไว้แล้ว...ถ้าเป็นทางการหน่อย ก็มักได้ยินคำว่า “บูรณาการ” และ “กรอบโครงสร้าง”
แต่ถ้าเอาแบบคนไร้กึ๋น ก็จะได้ยินแต่คำว่า “ยัง” จนเป็นคำติดหูของ She คนนี้ อาทิ “ยังไม่รู้ค่ะ...ยังไม่ทราบค่ะ...ยัง ไม่ได้คุยกันเลย...ยังไม่ได้หารือกับท่านในเรื่องนี้เลย...ยังไม่ได้พูดอะไร เลย...ยังไม่ได้บอกว่าใครทำงานดีหรือไม่ดีอย่างไร...ยังไม่ได้มีอะไร เลย...ยังไม่เห็นเรื่องเลยค่ะ” เฮ้อ...เอวัง
หรือถ้าจนแต้มด้วยคำถามจนชิ่งไม่ได้...โดยเฉพาะเรื่อง “พี่ชายจอมจุ้น” ที่แย่งซีน จนถูกมองว่า เป็นแค่ “ผู้นำตัวปลอม” ก็จะหยิบคาถาคนสวย ออกมาอ้อนว่า “ขอโอกาสดิฉันทำงานก่อนค่ะ” หรือ “ดิฉันก็ทำงานของดิฉัน และเป็นตัวเองค่ะ”
เรียกได้ว่า เรื่องแบบนี้ “ห้ามลอกเลียนแบบ” เพราะเป็น “พจนานุกรมฉบับปูกิ๊”...ที่โดนฝัง Chip ให้ต้องตอบแบบนี้-พูดแบบนี้...ก็ให้ระวังละกัน อย่าพลั้งเผลอปล่อยให้ Chip-หาย (เน้นเสียงพูด) ไปล่ะ...เพราะเดี๋ยวจะทำให้ “เยาวชนของชาติ” ต้องหันมาอ่าน “พจนานุกรมฉบับปูกิ๊” จนทำให้ “ภาษาเสื่อม-ความจำหด”...555
ถ้าจะให้ดี...ก็หมั่นชิ่งหนีนักข่าว หลบเข้าบ้านพิษฯ ไปฝึกปรือ “คำพูดที่ออกจากใจจริงๆ” กับ “บรรดาซากศพ” จอมวางแผน...ก็น่าจะดีนะ เพราะระยะหลังเห็น “รถท่านผู้นำ” แว่บเข้าไปบ่อยๆ จะเข้าไปเอาข้อมูลมาฝัง Chip เพิ่ม หรือจะไป “สกั๊ง-สไกป์” หา “พี่ชายจอมจุ้น” เพื่อเพิ่มเติมความรู้...ก็รีบๆ ทำเถอะ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว เผื่อสมองจะได้หายกลวง...อิๆๆๆ
พูดถึงเรื่องกึ๋น...ก็ต้องโยงไปถึง “เสนาบดีอีกหลายคน” ด้วย...เพราะกระสันอยากมีตำแหน่ง เป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูล แต่ไม่ได้เป็นความหวังให้กับ “ประชาชน” ได้เลย...ตัวอย่างล่าสุด ก็คือ วันแถลงข่าวของ “เสนาบดีตัวช่วย” ในเรื่อง “รถคันแรก” หรือ “บ้านหลังแรก” อะไรนี่อ่ะ...ขี้เกียจจำ...ปรากฏว่า เจอ “กระจิบข่าวสายเศรษฐกิจ” ยิงคำถาม...เพื่อจะได้เคลียร์ให้กระจ่าง เพราะเรื่องแบบนี้ “ชาวบ้าน...อยากรู้กันมาก”
พอเจอคำถาม...ที่ไม่ได้เตรียมคำตอบมา...ก็เอ๋อเหรอ...ไปไม่เป็น “คุณพี่” เลยลุกหนีหน้าด้านๆ แบบไปดื้อๆ ปล่อยให้ “กระจิบข่าว” เป็น “งง” ไปตามๆ กัน
แต่ที่ “ไม่งง” และ “มึนตึ๋บ” เพราะเรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้...เพราะหลังจากนั้น ไม่กี่นาที...กลับกลายเป็นว่า มี “สื่อแดง” เที่ยวมาถ่ายหน้าโคลสอัพของ “กระจิบข่าว” ที่ถามจน “เสนาบดีคนนี้” ไปไม่เป็น เพื่อกะจะเอาไปเล่นงานทีหลัง
อ้าวถ้าอยากรู้ว่าอยู่ค่ายไหน ก็ไปเลียบๆ เคียงๆ แถวประชาชื่นเอา เพราะเห็นว่า “ค่ายนี้” ก็อยู่ในขั้ว “พลังแดงเดือด” มิอยู่แล้วใช่หรือ???...คงจัดการกันได้ง่าย-สะดวกโยธิน ว่า “ทีหลัง...อย่าเสือกถามมาก”…555
พูดถึงเรื่อง “ตอบคำถาม” ที่ต้องสื่อสารไปถึง “ชาวบ้าน” แล้ว ก็ต้องฝากเหน็บไปถึง “ทีมกระบอกเสียง-ทีมโทรโข่ง” ด้วยว่า “ห่วยแตก...ม๊ากมากอ่ะ” เมื่อเห็นรายชื่อตอนแรกๆ เป็น “พวกมือใหม่หัดขับ” ก็ยังให้โอกาส...แต่พอถึงเวลาทำงานจริง กลับไร้กึ๋น-หมดราคา-เสียของ โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ที่ถามอะไรไป ดันตอบคนละเรื่อง-ตอบไม่รู้เรื่อง
อย่างวันก่อน...หลังเสร็จการประชุมครม.ปูกิ๊...“ลูกสาวอดีตบิ๊กสีกากีขาใหญ่” ก็เปิดโต๊ะแถลงข่าวเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านไปจนจบ แต่ทำเอา “กระจิบข่าว” มึนกันไปตามๆ กัน “หลายคน” ทนไม่ได้ หลังแถลงข่าวจบ...ต้องโทรไปขอ “ความจริง” จาก “ท่านเลขาฯกบ” ที่อธิบายได้หมด-ครบ-ถูกต้อง งานนี้ที่ “กระจิบข่าวหลายสำนัก” วิจารณ์กันว่า “ทีมโทรโข่งชุดนี้”...“แข็ง-แห้ง-ไม่สด” และ “ติดโปรโมตเจ๊ปูกิ๊” มากเกินไป...เห็นท่าจะเป็นจริงอ่ะ...วันก่อนจึงได้เห็นการจัดเลี้ยงสื่อ...แบบหวังเอาใจและอ้อนขอโอกาสแก้ตัว...อีกครั้ง...555
เอ่ยถึงเรื่อง “อ้อนขอโอกาสทำงาน” และ “อ้อนขอโอกาสแก้ตัว” ก็ต้องโยงไปถึงอีก “อ้อน” หนึ่ง...เพราะเวลานี้เห็น “คนในพรรคโคลนนิ่ง” เป็นพวกชีพจรลงเท้า...ต้องเผ่นไปอยู่ใกล้ๆ “นักโทษเหลี่ยมจัด” ในต่างแดน...ที่เวลานี้แวะเวียนมาอยู่ใกล้ๆ แดนสยาม
ไม่ใช่เพราะ “คิดถึง” อะไรหรอก...แต่ “หลายคน” วิ่งไปขอเก้าอี้-ขอตำแหน่งกันเพียบ พวกไร้ตำแหน่งทางการเมือง ก็จะวิ่งขอไปนั่งใน “บอร์ดต่างๆ” ที่ต้องปรับจูนเครื่องกันใหม่หมด ส่วนพวกที่มีตำแหน่งทางการเมือง แต่แห้วไม่ได้เป็น “เสนาบดี” ก็จะวิ่งขอไปนั่งใน “กรรมาธิการชุดต่างๆ” แต่ถ้าเป็น “ขาใหญ่” ก็จะขอนั่ง “ประธานกมธ.” เรียกได้ว่า “หัวกระไดเหลี่ยม...ไม่มีวันแห้ง”
แฮ็ปปี้ แบ่ง
ที่ขำๆ โดนอำกันเละก็เห็นจะเป็น “เขยเกษตร” เจ้าของฉายา “โปรโมเตอร์ปรองดอง” ที่พยายาม “อ้อนขอ” ให้ญาติพี่น้องของ “กิ๊กน้อย” ที่อยู่เมืองโอ่ง ได้มีเก้าอี้เชิดหน้าชูตากะเค้าบ้าง ถ้าหากไม่ผิดโผ...เห็นว่ามีรายการจองเก้าอี้ “บอร์ดทีโอที” กันไว้ให้ “พี่ของกิ๊กน้อย” แล้ว และ “นักโทษเหลี่ยมจัด” ก็ยินดีประเคนให้ เพราะทำเรื่อง “ลับๆ ล่อๆ” หลายเรื่องมาให้ตลอด
แต่เรื่องนี้สิ “ไม่ลับแล้ว” เพราะวันก่อน มีคนที่เพิ่งกลับจากเขมร แล้วเจอะเจอ “นักโทษเหลี่ยมจัด” เม้าท์กันยกใหญ่ว่า “นายใหญ่” ตอนนี้ “เริงระบำ-อารมณ์ดี”...แฮ็ปปี้ม๊ากมาก เพราะผลการเจรจาเรื่อง “สารพัดขุมทรัพย์” ซึ่งจะทำร่วมธุรกิจร่วมกับ “ผู้นำเพชฌฆาต” ที่กล้าฆ่าแม้แต่คนชาติเดียวกัน...ได้บทสรุปที่ลงตัว โดยแบ่งปันกัน 70/30 ส่วนใครจะได้ 70% และใครจะได้ 30% เค้าให้มาเดากันเอง...เพราะเชื่อว่า “จอมงก-จอมขี้โกง” คงไม่มีทางให้ใครมาเอาเปรียบได้ง่ายๆ...จริงมั๊ยๆ
..........................................
คอลัมน์ “ซุบซิบไทยอินไซเดอร์”
โดย “ไต่กอ”
คิวมท.ล้างเครือข่าย"เนวิน"
คอลัมน์ รายงานพิเศษ ข่าวสด
"ต้องขยับหัวเพื่อให้ขบวนขยับได้"
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ส่งสัญญาณภายหลังนายกฯ มีคำสั่งย้าย นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี
จากนั้นก็ลงนามแต่งตั้งนายพระนาย สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวงมหาด ไทย ขึ้นรักษาราชการแทน โดยให้มีผลทันที
เป็นการขยับหัวขบวนเพื่อเปิดทางสู่การแต่งตั้งโยกย้าย ระดับ 10 อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ที่นายยงยุทธ ระบุล่าช้ากว่ากำหนด
เพื่อไม่ให้ล่าช้าไปกว่านี้ คาดว่าจะมีการเสนอบัญชีโยกย้ายเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 27 ก.ย.นี้
ในจำนวนนี้ เป็นการโยกย้ายมาทดแทนตำแหน่งเกษียณ ซึ่งวันที่ 30 ก.ย. นี้ มีข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง เกษียณอายุราชการรวม 19 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
ระดับอธิบดี จำนวน 1 ตำแหน่ง ได้แก่ นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง
ระดับผู้ตรวจราชการกระทรวง จำนวน 6 ตำแหน่ง ได้แก่ นายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง นายธวัชชัย ฟักอังกูร, นายปรีชา บุตรศรี, น.ส.เรืองวรรณ บัวนุช, นายศุภกิจ บุญญฤทธิ์พงษ์ และ นายสุเมธ แสงนิ่มนวล
และระดับผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 12 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
นายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายพิสิษฐ บุญช่วง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และ นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
เมื่อจำนวนคนเกษียณมากก็เปิดทางให้การสับเปลี่ยนตำแหน่ง การจัดวางตัวบุคคล ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
ที่หลายฝ่ายจับตาคือการสลับสับเปลี่ยนตัวบุคคลจะมีรายการ "ย้ายล้างบาง" อย่างที่คาดการณ์กันมากน้อยแค่ไหน
โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดี รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในสายของเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่คุมมหาดไทยมาก่อนหน้านี้
ไฮไลต์อยู่ที่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
การขยับในตำแหน่งสำคัญทั้งหมดนี้เพื่อเปิดทางให้คนในสายของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกเด้งไปนั่งผู้ตรวจราชการกระทรวงในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาผงาดอีกครั้ง
เก้าอี้ใหญ่อย่างกรมการปกครอง คาดการณ์กันล่วงหน้า นายสุกิจ เจริญรัตนกุล ซึ่งรัฐบาลที่แล้วมีคำสั่งย้ายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้ไปนั่งตบยุงในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
ด้วยบารมีของน้องชาย น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรองนายกฯ คนสนิทของ"นายหญิง" คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์
เที่ยวนี้จะได้ออกจากกรุ ขึ้นแท่นอธิบดีกรมการปกครอง
เก้าอี้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร นั่งประจำการอยู่ อาจถูกโยกไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือเข้ากรุผู้ตรวจราชการกระทรวง
เพื่อเปิดทางให้กับ นายวีระยุทธ เอี่ยม อำภา ผู้ตรวจราชการกระทรวง ที่เป็น สิงห์ดำเช่นเดียวกับนายยงยุทธ
ไม่ต่างกันคือ นายสุรชัย ขันอาสา คงต้องลุกจากเก้าอี้อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ถ้าไม่กลับไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ก็อาจต้องเข้ากรุผู้ตรวจฯ เปิดทางให้ "สิงห์ดำ" ในโควตาคุณหญิงพจมาน เข้ามาเสียบแทน
ส่วน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สิงห์ดำที่อยู่รอดปลอดภัยมาจากรัฐบาลที่แล้ว เพราะนายเนวิน ต้องการลดแรงกดดัน จึงโยกจากรองปลัดมานั่งอธิบดีปภ.
เที่ยวนี้ อดีตผู้ว่าฯเชียงใหม่ คนนี้ อาจต้องกลับไปนั่งรองปลัด เพื่อรอคิวขึ้นนั่งปลัด หลังนายพระนาย เกษียณ
ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเกษียณแค่ 12 จังหวัด แต่ครั้งนี้จะมีการย้ายสลับสับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ไม่น้อยกว่า 40 ตำแหน่ง
เหตุจากส.ส.เพื่อไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน วิ่งขอโควตาดึงคนของตัวเองเข้ามาในพื้นที่
แต่เพื่อป้องกันเสียงครหาโยกย้ายล้างบาง บัญชีโยกย้ายผู้ว่าฯ อาจทำเป็น 2 ล็อต จังหวัดที่อยู่ในโซนเป้าหมายต้องส่งคนของตัวเองลงไปดูแล อาจเป็นรอบหลัง
ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในข่ายถูกโยกย้ายต่างรู้ชะตากรรมตัวเองดี สำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดในสายของนายเนวิน ไล่เรียงตั้งแต่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ เชียงราย ปทุมธานี สงขลา สุราษฎร์ธานี
ไม่ถูกสลับไปนั่งจังหวัดเล็ก ก็น่าจะถูกเด้งเข้ามานั่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยคงปล่อยให้ทำงานในพื้นที่ต่อไป
เพราะประเมินแล้วคุ้มกว่าการย้ายสลับไปอยู่ในพื้นที่อื่น ที่อาจสร้างปัญหาภายหลังได้
ผงะ! 68 หน่วยงานรัฐควักเงินจ้าง“ยาม”องค์การทหารผ่านศึกแห่งเดียว1,000 ล้านไม่เว้นกองทัพ
เปิดข้อมูล 68
หน่วยงานราชการถูกมัดมือจ้างยามรักษาความปลอดภัยจากองค์การสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึกอื้อไม่เว้นแม้กระทั่งกองทัพ ปกครองท้องถิ่น องค์กรอิสระ
กทม.รวมเม็ดเงินนับพันล้านต่อปี
ชาวบ้านโวยหย่อนประสิทธิภาพ-จ่ายเงินแลกที่จอดรถ
เมื่อเทียบปี 2552 วงเงินที่หน่วยงานรัฐในการว่าจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในการทำ หน้าที่รักษาความปลอดภัยลดลงประมาณ 160 ล้านบาท โดยปี 2552 หน่วยงาน 57 แห่งว่าจ้าง รปภ. 923.7 ล้านบาท ไม่รวมว่าจ้างทำภารกิจอื่น อาทิ จัดหาพัสดุ ประมาณ 400 ล้านบาท รวม 1,323.7 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2551 หน่วยงานของรัฐจำนวน 48 แห่งจ้าง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ดูแลรักษาความปลอดอาคารสถานที่706.7 ล้านบาทจากดทั้งหมด 1,447.8 ล้านบาท
ปี 2551 | ปี 2552 | ปี 2553 | |
จำนวนสัญญาว่าจ้างทั้งหมด | 172 | 296 | 267 |
วงเงิน (ล้านบาท) | 1,447.8 | 2,560.4 | 1,597.5 |
หน่วยงานราชการที่จ้างรปภ. องค์การทหารผ่านศึก(แห่ง) | 48 | 57 | 68 |
มูลค่า (บาท) | 706,765,200 | 1,322,347,528 | 762,926,097 |
สำหรับปีงบฯ 2554 จนถึงเดือน ก.พ. 2554 องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกทำสัญญากับหน่วยงานไปแล้ว 123 สัญญา วงเงิน 711.7 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสัญญารักษาความปลอดภัย 93 สัญญา วงเงิน 428.3ล้านบาท (ดูรายละเอียดในฐานข้อมูล)
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานที่ว่าจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยมากที่สุด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553-เมษายน 2554 ว่าจ้างให้ดูแลอาคาร สถานที่ อาทิโรงเรียน สถานที่ราชการ ฯลฯ จำนวน 50 แห่ง วงเงิน 123.8 ล้านบาท (ดูตาราง)
กล่าวสำหรับหน่วยงานที่จ้างในปี 2553 อาทิ
กรมประชาสัมพันธ์ว่าจ้างรักษาความปลอดภัย 3,166,680 บาท (9 ธ.ค. 2552)
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 1,306,920 บาท (12 ต.ค. 2552)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1,163,040 บาท (18 พ.ย. 2552)
ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่อาคาร สถานที่ และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ที่อยู่ภายในอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) และบริเวณลานจอดรถยนต์ภายนอกอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(แจ้งวัฒนะ) 2,166,440 บาท (21 ธ.ค. 2552)
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด จ้างบริการรักษาความปลอดภัยให้กับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ1,459,200 บาท (26 พ.ย. 2552)
กรมช่างอากาศกองทัพอากาศ จ้างเหมารักษาความปลอดภัยบริเวณกรมช่างอากาศ1,058,760 บาท (27 ต.ค. 2552)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย(คปภ.)กระทรวงการคลังจ้างเหมาบริการดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณอาคาร สำนักงาน คปภ. 3,297,360 บาท (30 ธ.ค. 2552)
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังกระทรวงการคลังจ้างบริการรักษาความปลอดภัย จำนวน 96 คน14,351,136 บาท (11 ส.ค. 2553)
ด่านศุลกากรหนองคายกระทรวงการคลัง จ้างรักษาความปลอดภัยแก่ด่านศุลกากรหนองคาย ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย และสถานที่กำหนด กำหนด12 เดือน1,038,288 บาท (30 ส.ค. 2553)
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการว่าเดินทางไปติดต่อหน่วยงานราชการที่จ้าง รปภ.แห่งนี้เป็นประจำ บางครั้งไม่ได้รับความสะดวก ต้องเสียเงินให้เจ้าหน้าที่ รปภ.เพื่อแลกกับที่จอดรถยนต์
.........................
การว่าจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการของกรุงเทพมหานคร
รายละเอียด
|
วงเงิน (บาท)
|
วันทำสัญญาจ้าง
|
1.ดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณบึงรับน้ำหนองบอน |
2,278,200
|
1 ต.ค. 53
|
2.จ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณสถานีสูบน้ำพระโขนง |
1,788,996
|
1 ต.ค. 53
|
3.ดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณอาคารสำนักงานฝ่ายปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมฝั่งธนบุรี |
1,478,160
|
1 ต.ค. 53
|
4.จ้างเจ้าหน้าที่ดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารสำนักงาน ของสำนักพัฒนาโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพ(ดินแดง1-2)และวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพฯ |
1,478,160
|
14 ต.ค. 53
|
5.จ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลทรัพย์สินและรักษาวามปลอดภัย ภายในบริเวณโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตจอมทอง จำนวน 11 โรงเรียน |
3,087,427
|
15 ต.ค. 53
|
6.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยบริเวณสำนักงานเขตหนองแขม |
1,076,112
|
18 ต.ค. 53
|
7.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สิน รักษาความปลอดภัยอาคารและภายในบริเวณพื้นที่สำนักงานเขตบางขุนเทียน |
1,034,112
|
22 ต.ค. 53
|
8.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณอาคารสำนักงานของสำนักผังเมืองและสำนักการจราจรและขนส่ง |
1,034,112
|
26 ต.ค. 53
|
9.จ้างยามดูแลทรัพย์สินสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ |
1,034,112
|
26 ต.ค. 53
|
10.จ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยและทรัพย์สินบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตามสิน |
1,220,928
|
28 ต.ค. 53
|
11.จ้างเหมายามดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร |
2,141,568
|
29 ต.ค. 53
|
12.จ้างเหมายามดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่ ร.ร.ในสังกัด กทม. จำนวน 11 ร.ร. |
2,944,656
|
29 ต.ค. 53
|
13.จ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้ ร.ร.ในสังกัด สำนักงานเขตบางซื่อ 7 ร.ร. |
1,873,872
|
29 ต.ค. 53
|
14.จ้างเหมายามดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร |
1,606,176
|
1 พ.ย. 53
|
15.จ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณสำนักงานเขตจอมทอง |
1,034,112
|
4 พ.ย. 53
|
16.จ้างเหมายามดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม จำนวน 6 โรงเรียน |
1,533,168
|
15 พ.ย. 53
|
17.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตคลองเตย |
1,022,112
|
15 พ.ย. 53
|
18.จ้างเหมายามดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพระโขนง |
1,022,112
|
16 พ.ย. 53
|
19.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนสันติภาพ |
1,225,728
|
19 พ.ย. 53
|
20.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนนวมินทร์ภิรมย์ |
2,353,440
|
22 พ.ย. 53
|
21.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนสันติปราการ |
1,219,728
|
22 พ.ย. 53
|
22.จ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย |
1,168,128
|
23 พ.ย. 53
|
23.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณกทม.2 |
7,828,848
|
26 พ.ย. 53
|
24.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนรมณีรนาถ |
1,424,544
|
26 พ.ย. 53
|
25.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยศูนย์กีฬาบึงหนองบอน |
1,472,160
|
29 พ.ย. 53
|
26.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยอาคารกีฬาเวสน์3 |
1,180,128
|
29 พ.ย. 53
|
27.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา |
2,360,256
|
29 พ.ย. 53
|
28.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ |
2,944,320
|
29 พ.ย. 53
|
29.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชนดินแดง |
1,180,128
|
29 พ.ย. 53
|
30.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยศูนย์กีฬารามอินทรา |
1,180,128
|
29 พ.ย. 53
|
31.รักษาความปลอดภัยในสวนวนธรรม |
1,392,144
|
30 พ.ย. 53
|
32.รักษาความปลอดภัยในสวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
2,187,024
|
30 พ.ย. 53
|
33.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยบริเวณลานคนเมือง ลานจอดรถชั้นใต้ดินฯ อาคารศาลาว่าการกรุงเทพ |
10,287,120
|
3 ธ.ค. 53
|
34.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยสำนักงานกองวิชาการและแผนงาน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
1,034,112
|
3 ธ.ค. 53
|
35.จ้างรักษาความปลอดภัยและดูแลทรัพย์สินของส่วนราชการต่างๆ ภายในสำนักการโยธาจำนวน16จุด |
13,124,976
|
9 ธ.ค. 53
|
36.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย |
1,418,544
|
24 ธ.ค. 53
|
37.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนเสรีไทย |
1,892,592
|
24 ธ.ค. 53
|
38.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนลุมพินี |
7,552,800
|
24 ธ.ค. 53
|
39.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนหลวง ร.9 |
9,078,960
|
24 ธ.ค. 53
|
40.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในบริเวณใต้ทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ ตัดกับถนนพระราม9 |
1,858,992
|
24 ธ.ค. 53
|
41.จ้างยามรักษาความปลอดภัยในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ6 รอบ พระชนมพรรษา(ฝั่งพระนคร) |
1,734,576
|
24 ธ.ค. 53
|
42.รักษาความปลอดภัยสวนธนบุรีรมย์ |
1,424,544
|
24 ธ.ค. 53
|
43.รักษาความปลอดภัยสวนหนองจอก |
1,255,728
|
28 ธ.ค. 53
|
44.รักษาความปลอดภัยสวนวัชรเบญจทัศ |
3,842,400
|
29 ธ.ค. 53
|
45.จ้างดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารหอประชุมสภากรุงเทพมหานคร และอาคารจอดรถยนต์ใต้ดินศาลาว่าการกรุงเทพฯ2 ดินแดง |
3,286,548
|
30 ธ.ค. 53
|
46.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) |
3,685,200
|
10 ม.ค. 54
|
47.จ้างเหมาดูแลทรัพย์สิน และรักษาความปลอดภัยพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่1 และแหงที่ 2 |
1,218,528
|
9 มี.ค. 54
|
48.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยศูนย์เยาวชนสะพานสูง |
1,074,912
|
9 เม.ย. 54
|
49.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยศูนย์เยาวชนคลองเตย |
1,201,728
|
9 เม.ย. 54
|
50.จ้างเหมารักษาความปลอดภัยศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน |
1,067,712
|
20 เม.ย. 54
|
รวม
|
123,844,771
|
รายชื่อหน่วยงานรัฐที่ว่าจ้าง รปภ.จากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในปีงบฯ2554
หน่วยราชการที่ว่าจ้าง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกรักษาความปลอดภัย (ปีงบฯ2554) ตัวเลขถึงเดือนเมษายน
หน่วยงาน
|
วงเงิน (บาท)
|
วันทำสัญญา
|
กรมประชาสัมพันธ์ |
3,400,368
3,211,536
|
28 ต.ค. 53
3 พ.ย. 53
|
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี |
2,062,224
1,326,144
|
29 ต.ค. 53
14 ต.ค. 53
|
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน |
5,160,960
|
22 ต.ค. 53
|
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
1,180,128
|
23 พ.ย. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม |
2,225,304
|
17 ธ.ค. 53
|
กองบัญชาการทหารสูงสุด |
1,480,560
1,133,120
|
13 ต.ค. 53
29 ต.ค. 53
|
กองทัพอากาศ |
1,073,712
|
29 พ.ย. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง |
3,528,384
|
19 พ.ย. 53
|
กรมศุลกากร |
9,098,112
|
21 ธ.ค. 53
|
กรมสรรพากร |
2,944,320
|
1 ต.ค. 53
|
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
1,028,112
|
22 ต.ค. 53
|
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
3,388,368
|
15 พ.ย. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
5,694,288
|
13 ธ.ค. 53
|
กรมชลประทาน |
2,203,097
1,188,096
1,643,796
1,269,758
|
3 พ.ย. 53
1 ธ.ค. 53
21 ธ.ค. 53
28 ก.พ. 54
|
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ |
1,326,144
|
29 ต.ค. 53
|
กรมปศุสัตว์ |
2,739,816
1,490,160
|
16 พ.ย. 53
15 ธ.ค. 53
|
กรมวิชาการเกษตร |
11,003,184
|
4 พ.ย. 53
|
กรมส่งเสริมสหกรณ์ |
3,108,336
|
14 ม.ค. 54
|
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
2,506,272
|
28 ต.ค. 53
|
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร |
2,648,688
|
23 ธ.ค. 53
|
กระทรวงคมนาคม |
1,271,520
|
4 ต.ค. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม |
13,226,144
|
18 ต.ค. 53
|
กรมเจ้าท่า |
882,096
1,077,324
|
22 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
|
กรมการบินพลเรือน |
1,493,760
|
16 พ.ย. 53
|
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
2,118,960
1,320,144
|
13 ต.ค. 53
11 พ.ย. 53
|
กรมควบคุมมลพิษ |
1,918,608
|
11 ต.ค. 53
|
กรมทรัพยากรน้ำ |
1,764,192
|
18 พ.ย. 53
|
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
2,064,624
|
29 ต.ค. 53
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
1,480,560
|
17 พ.ย. 53
|
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
20,725,980
|
1 ก.พ. 54
|
กรมไปรษณีย์โทรเลข |
5,757,024
11,671,488
|
21 ก.พ. 54
13 มิ.ย. 54
|
กรมอุตุนิยมวิทยา |
1,180,128
|
13 ธ.ค. 53
|
กระทรวงพลังงาน |
23,161,732
19,836,876
|
15 ก.พ. 54
6 ก.ค. 54
|
กระทรวงมหาดไทย |
202,088
|
8 ต.ค. 53
|
กรมการปกครอง |
1,770,192
1,030,512
|
13 ม.ค. 54
13 ม.ค. 54
|
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น |
1,618,176
1,983,408
|
1 ต.ค. 53
1 พ.ย. 53
|
กรุงเทพมหานคร |
2,278,200
1,788,996
1,478,160
1,478,160
3,087,427
1,076,112
1,034,112
1,034,112
1,034,112
1,220,928
2,141,568
2,944,656
1,873,872
1,606,176
1,034,112
1,533,168
1,022,112
1,022,112
1,225,728
2,353,440
1,219,728
1,168,128
7,828,848
1,424,544
1,472,160
1,180,128
2,360,256
2,944,320
1,180,128
1,180,128
1,392,144
2,187,024
10,287,120
1,034,112
13,124,976
1,418,544
1,892,592
7,552,800
9,078,960
1,858,992
1,734,576
1,424,544
1,255,728
3,842,400
3,286,548
3,685,200
1,218,528
1,074,912
1,201,728
1,067,712
|
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
14 ต.ค. 53
15 ต.ค. 53
18 ต.ค. 53
22 ต.ค. 53
26 ต.ค. 53
26 ต.ค. 53
28 ต.ค. 53
29 ต.ค. 53
29 ต.ค. 53
29 ต.ค. 53
1 พ.ย. 53
4 พ.ย. 53
15 พ.ย. 53
15 พ.ย. 53
16 พ.ย. 53
19 พ.ย. 53
22 พ.ย. 53
22 พ.ย. 53
23 พ.ย. 53
26 พ.ย. 53
26 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
29 พ.ย. 53
30 พ.ย. 53
30 พ.ย. 53
3 ธ.ค. 53
3 ธ.ค. 53
9 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
28 ธ.ค. 53
29 ธ.ค. 53
30 ธ.ค. 53
10 ม.ค. 54
9 มี.ค. 54
9 เม.ย. 54
9 เม.ย. 54
20 เม.ย. 54
|
กระทรวงยุติธรรม |
14,008,164
1,764,192
|
1 พ.ย. 53
30 พ.ย. 53
|
กรมบังคับคดี |
3,674,400
|
19 พ.ย. 53
|
กรมราชทัณฑ์ |
1,618,176
1,764,192
|
18 ต.ค. 53
29 พ.ย. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน |
5,590,608
|
24 พ.ย. 53
|
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน |
752,880
|
18 ต.ค. 53
|
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
1,904,208
|
23 ธ.ค. 53
|
สำนักงานประกันสังคม |
4,490,280
4,646,892
|
7 ต.ค. 53
30 ธ.ค. 53
|
กรมศิลปากร |
1,766,592
1,218,528
|
1 ธ.ค. 53
2 ธ.ค. 53
|
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ |
4,980,696
|
14 ต.ค. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
1,101,312
|
15 ต.ค. 53
|
กรมวิทยาศาสตร์บริการ |
2,652,288
|
21 ต.ค. 53
|
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
1,260,000
9,929,856
3,291,600
438,048
2,595,360
2,332,680
6,088,656
4,051,592
5,006,544
|
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
1 ต.ค. 53
18 ต.ค. 53
30 พ.ย. 53
16 ธ.ค. 53
2 ก.พ. 54
|
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
2,236,344
1,063,215
|
1 ต.ค. 53
7 ธ.ค. 53
|
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
15,600,000
|
22 ต.ค. 53
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
3,856,416
|
1 ต.ค. 53
|
กระทรวงสาธารณสุข |
1,034,112
|
2 พ.ย. 53
|
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
1,786,656
|
1 ก.พ. 54
|
กรมการแพทย์ |
3,680,400
127,808
|
30 พ.ย. 53
17 ธ.ค. 53
|
กรมควบคุมโรค |
3,680,400
3,245,352
|
1 ต.ค. 53
17 พ.ย. 53
|
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
3,663,984
|
18 พ.ย. 53
|
กรมสุขภาพจิต |
1,985,808
1,985,808
2,500,272
|
4 พ.ย. 53
4 พ.ย. 53
4 ม.ค. 54
|
กรมอนามัย |
2,445,456
|
18 พ.ย. 53
|
กระทรวงอุตสาหกรรม |
1,176,864
1,180,128
1,180,128
6,314,640
1,034,112
2,798,304
1,326,144
|
5 ต.ค. 53
18 ต.ค. 53
20 ต.ค. 53
29 ต.ค. 53
22 ธ.ค. 53
24 ธ.ค. 53
2 ธ.ค. 53
|
สำนักงานอัยการสูงสุด |
2,064,624
|
16 ธ.ค. 53
|
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา |
6,338,688
|
7 ต.ค. 53
|
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
1,174,128
|
11 ต.ค. 53
|
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ |
6,911,520 |
4 พ.ย. 53
|
สำนักงานศาลปกครอง |
9,140,978
|
12 ต.ค. 53
|
สำนักงานศาลยุติธรรม |
438,048
163,419,744
|
8 ธ.ค. 53
18 ม.ค. 54
|
รวม |
660,781,029
|
ตีแสกหน้าใส่'นิติราษฎร์' ฉะอ้าปากก็เห็นริดสีดวง
ตีแสกหน้าใส่'นิติราษฎร์' ฉะอ้าปากก็เห็นริดสีดวง แนวคิดเฉดแดงที่สุดขั้ว! จะทำ'สังคมวุ่น-ยุ่งเหยิง'
แถลงการณ์ของ “คณะนิติราษฎร์” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการก่อตั้งนิติราษฎร์และครบรอบ 5 ปีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นอกจากจะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องทั้งในแง่สนับสนุน และคัดค้าน ยังเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งทางความคิดระลอกใหม่ เพราะในแถลงการณ์สรุปว่า การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลในทางกฎหมาย รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหารโดยเฉพาะที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการ กระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
เมื่อหันมาดูตัวบุคคลใน "คณะนิติราษฎร์" ก็ประกอบด้วยอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร น.ส.สาวตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ก็ทำให้หลายคนพอจะคาดเดาได้ว่า "ทำไมแนวคิด" ถึงออกมาสุดโต่งเช่นนี้
และแน่นอน หากจะหาคนมาวิพากษ์วิจารณ์ได้แบบ “รู้ทันเล่ห์กล” กัน ก็ต้องเป็นบุคคลที่คิดคนละขั้ว อย่าง “คำนูณ สิทธิสมาน” ส.ว.สรรหา ที่รับรู้กันดีว่า “เขา” คือ “คนสนิท” ของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต้มที่ซ่อนสำหรับ “แถลงการณ์ของนิติราษฎร์” ถูกตีแสกหน้าแบบ “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” ถือเป็นคำเปรียบเปรยที่ “เห็นภาพ” ได้เลย...โปรดติดตาม
Q : มีการตั้งข้อสังเกตถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกแถลงการณ์ล้มล้างรัฐประหาร เป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการที่มีการวางไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายบางอย่าง
A : ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมองได้ ต้องยอมรับว่าแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ถ้าลำพังเป็นเพียงความเห็นของนักกฎหมายกลุ่มหนึ่ง-คณะหนึ่ง ท่านก็มีสิทธิ์มีความเห็นได้ แล้วคนในสังคมมีสิทธิ์ที่จะเห็นต่างกับท่านได้ แต่ว่าคนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นส.ส.ของพรรคเพื่อไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความเห็นด้วย แสดงความชื่นชมว่า “ถูกต้องด้วยหลักกฎหมาย” ก็มีสิทธิ์ที่ผู้เฝ้าติดตามสถานการณ์เขาจะมีสิทธิ์คิดไปได้ว่า “อ๋อ...นี่เป็นเรื่องที่รู้กัน” หรือว่า “นี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้” เพราะว่าเป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในขณะนี้กระบวนการที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) พ้นจากโทษ พ้นจากความผิด ก็มีการดำเนินการกันหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษส่วนบุคคลที่อยู่ระหว่างกระทรวง ยุติธรรม กำลังทำความเห็นไปยังสำนักราชเลขาธิการอยู่ อีกทางหนึ่งก็กรณีที่จะมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษหมู่ เป็นการทั่วไปตามประเพณีในวันที่ 5 ธ.ค. เนื่องในวโรกาสครบ 84 พรรษา นี่ก็เป็นทางหนึ่งที่ผู้คนจับตากันอยู่ หรือรวมถึงกฎหมายนิรโทษกรรม เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกมาตรา 309 อันนี้เป็นเรื่องที่ทางพรรคเพื่อไทยพูดมาโดยตลอด ถือว่าเป็นจุดยืนของท่าน...ไม่ว่ากัน
“แต่แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ เขาไปไกลมาก คือว่าใน 3-4 ข้อแรก ให้ทุกอย่างที่เกิดจากการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ทั้งหมด “ให้เสียเปล่า” และ “ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น” และ “ไม่เคยมีผลทางกฎหมาย” คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ของศาลรัฐธรรมนูญ ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งหมดที่เกิดสืบเนื่องมาจาก 19 ก.ย.2549 ให้ถือว่าเสียเปล่าและไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ ในชั้นศาลที่เริ่มต้นมาจากคตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ให้เป็นอันยุติลงทั้งหมดเลย คืออัน นี้มันไปไกลกว่าเรื่องนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษเสียอีก คือเขาบอกว่าให้ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่มีผลทางกฎหมายเลย ซึ่งอันนี้ถ้าวิพากษ์วิจารณ์กันในเชิงวิชาการ ก็ต้องถามว่ามันไม่มีหลักกฎหมายในโลกนี้ ที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้ แล้วถ้ายึดถือตามหลักนี้ ต่อไปประเทศไทยก็คงไม่ต้องคบหาสมาคมกับชาติใดในโลก นักลงทุนต่างชาติเขาจะมาลงทุน เขาก็ไม่รู้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าเกิดรัฐบาลใดมา ประกาศให้การกระทำบางอย่างถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไม่มีผลทางกฎหมายเลย แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร”
Q : ความเป็นไปของการที่จะทำให้ทุกอย่างให้เป็นไปอย่างที่คณะนิติราษฎร์ต้องการ มีหนทางใดตามกฎหมายที่สามารถรองรับได้หรือไม่
A : จริงๆ ถ้าออกเป็นรัฐธรรมนูญ มันก็ทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่ที่สุด แล้วทีนี้ในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ที่จะต้องขีดเส้นใต้ไว้ก็คือ ในประเด็นที่ 1 ข้อ 6 ของเขา เขาเขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย” คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม แล้วนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ อันนี้ก็ชัดเจนว่าที่ผมไล่มา 4-5 ประการแรก มันอยู่ในข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 5 แล้วข้อ 6 เขาย้ำเลยว่า “ให้เอาไปอยู่ในรัฐธรรมนูญที่จะจัดทำขึ้น ใหม่” โดยส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 77 คน บวกกับนักวิชาการอีก 22 คน ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าในนักวิชาการ 22 คนจะมีคณะนิติราษฎร์สักกี่คน หรือว่าในคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีอาจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน จะมีนักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์สักกี่คน
เพราะฉะนั้นไอ้แถลงการณ์อย่างนี้ การจัดตั้ง คอ.นธ. ของอาจารย์อุกฤษ และการประกาศจะทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ที่ติดตามการเมือง หรือมีประสบการณ์ เขาก็จะคาดการณ์ว่า “อ๋อ....นี่คุณเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันไว้แล้วใช่มั๊ย” จะเหมือนในอดีตที่ประเทศไทยเคยมี เขาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” หรือเปล่า อันนี้คุณแอบทำ “รัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์” ขึ้นไว้หรือเปล่า แล้ว ก็ใช้รูปแบบของส.ส.ร.เป็นเพียงแบบพิธี เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น แต่ความจริงก็คือเตรียมเอาไว้แล้ว มันก็มีความเป็นไปได้ที่จะชวนให้ผู้คนเขาคิด
Q : เท่าที่วิเคราะห์มา การใช้ส.ส.ร.บังหน้าเพื่อให้ดูเหมือนว่ากระบวนการในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้มันถูกต้อง แปลว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มีการจัดทำไว้หมดแล้ว
A : ผมคงไม่ยืนยันข้อเท็จจริงตรงนั้น แต่บอกว่ามันชวนให้คิดได้ มันมีที่มา-ที่ไป ว่ากันเฉพาะนโยบายรัฐบาลที่บอกว่าจะให้มีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ โดยตัวอักษรมันไม่มีใครคัดค้านได้หรอก แล้วมิหนำซ้ำยังบอกว่าเมื่อจัดทำเสร็จแล้วให้ไปผ่านการประชามติ อันนี้มันก็ปิดปากคนที่อยากจะคัดค้าน เพราะว่าทุกคนก็ถือว่าเมื่อเป็นประชามติ ก็น่าจะเป็นประชาธิปไตย ถ้ามีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ เขาก็บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัดๆ ละคน จะเอาหลักการอะไรไปค้านเขาละ คือบ้านเรามันอยู่ภายใต้มายาคติว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง
แต่ทีนี้ถ้าเราดูตามความเป็นจริงๆ แล้วเราก็คาดการณ์ได้ว่า 77 คนเนี่ย ผมว่า 80% ก็จะมาจากฐานเสียงของพรรคการเมือง ของนักการเมือง อาจจะมีสัก 10% หรืออย่างสูง 20% ที่อาจจะเป็นผู้ที่มีความคิดอิสระจริงๆ และที่สำคัญก็คือถ้าเผื่อเอาคน 77 คน มาเลือกนักวิชาการ 22 คน แล้วเมื่อใน 80% มีความเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง กับนักการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งนาทีนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นพรรคการเมือง เป็นนักการเมืองที่น่าจะเป็นของพรรคที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ มันก็จะทำให้นักวิชาการที่จะเข้ามา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านักวิชาการก็มีความคิดแตกต่างหลากหลาย เราอาจจะได้นักวิชาการระดับนิติราษฎร์เข้ามา แล้วถามว่าคนอย่างอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการมั๊ย คนอย่างอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรโณ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการในส่วนที่จะเป็นส.ส.ร.มั๊ย เพราะฉะนั้นก็คือเสียงข้างมากในส.ส.ร.ที่จะมี 99 คน ใน 100 คน มัน ก็พอจะคาดหมายได้ว่า น่าจะเป็นเสียงข้างมากที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความประสงค์ของนักการ เมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ แต่พอพูดว่าทำโดยส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ นักการเมืองไม่เข้าไปยุ่ง รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งแล้ว ฟังมันดูดี แต่เมื่อคุณไปผูกโยงกับฐานการเลือกตั้งอย่างนี้แล้ว ความเป็นจริงในสังคมที่ใครๆก็ตอบได้ มันจะออกมายังไงก็พอเห็นอยู่ แต่สังคมก็คงคัดค้านได้ไม่เต็มปากเต็มคำ เพราะสังคมก็ไปรับเอาซะแล้วว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ยอมรับผลเลือกตั้ง แล้วเขาจะใช้ฐานนี้มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การคัดค้านจึงไม่เต็มปากเต็มคำนัก
“เพราะว่าเราก็ติดในมายาคตินี้ คือประชาธิปไตยแน่นอนมันต้องมีการเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด แต่มันไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่จะเป็นองค์ประกอบเดียวของความเป็น ประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยมีคนเลือกมา 15 ล้านเสียง เยอะครับ แต่ก็มีคนไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอย่างน้อยก็ 10 ล้านเสียง เมื่อคุณได้มาเป็นรัฐบาลแล้ว คุณไม่ได้เป็นรัฐบาลของคนแค่ 15 ล้านคน คุณเป็นรัฐบาลของคน 10 ล้านคนที่ไม่เลือกคุณด้วย แล้วคุณยังเป็นรัฐบาลของคนอีกจำนวนมากที่เขายังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เขาก็เป็นเจ้าของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่ามีเสียงข้างมากแล้วอยากจะทำอะไรก็ได้ ผมว่าจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคต”
Q : ถ้าการร่างรัฐธรรมนูญมีการซ่อนเรื่องการนิรโทษกรรม การปลดล็อกทางคดีให้คุณทักษิณไว้ รัฐบาลจะใช้ข้ออ้างอย่างไรเพื่อลดกระแสสังคมได้
A : รัฐบาล...เขาก็บอกว่าเขาไม่เกี่ยวไง เป็นเรื่องของส.ส.ร. ส.ส.ร.ไม่ใช่พรรคเพื่อไทย ส.ส.ร.มาจากประชาชนทุกจังหวัดเลือกมาจังหวัดละคน แล้วก็มาจากนักวิชาการที่อิสระ เขาบอกเขาไม่เกี่ยว แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการลงประชามติจากประชาชนอีก พอเราไปผูกไว้กับฐานการเลือกตั้ง มันก็จะเป็นอย่างนี้
Q : ภาคประชาชนสามารถท้วงติงในเนื้อหารัฐธรรมนูญได้หรือไม่ หากเอื้อประโยชน์ให้คนๆหนึ่ง
A : ผมกำลังเฝ้าจับตาดูว่า สมมตินะเขาเอาเนื้อหาอย่างนิติราษฎร์เข้าไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วสังคมไทยจะว่ายังไง ถ้าสังคมไทยทั้งหมดยอมให้เป็นไปอย่างนี้ โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ต้องทำใจยอมรับ แต่ผมมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่า “มันเกินไป-มันเกินไป” คือสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอมามันไม่มีหลักอะไรรองรับ สำหรับคนที่รู้ ติดตามศึกษามา รู้อยู่ว่าคุณคิดอะไรอยู่ อย่าว่า “อ้าปากเห็นลิ้นไก่” เลย เรียกว่า “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” เพราะว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์มันไม่ใช่แค่เรื่องทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดจากการรัฐประหารถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมายเลยเท่านั้น ประเด็นที่สองที่เขาพูดถึงก็คือ การแก้ไขหรือการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วประเด็นที่สำคัญที่ผมเห็นว่ายังมีการพูดกันน้อยก็คือ ก่อนหน้านี้ทางพรรคเพื่อไทย เวลาเขาพูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขาจะบอกว่าเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเกณฑ์ แต่ว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์ ในประเด็นที่ 4 ข้อ 2 เขาบอกว่า “คณะนิติราษฎร์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สมควรเป็น”...ตรงนี้คุณดูให้ดีนะ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ขีดเส้นใต้สีแดงหลายเส้นตรงนี้ แล้วต่อไปคือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง”
คุณเห็นมั๊ยครับว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกลดความสำคัญลงไปเพียง “และอาจนำ” แล้วก็เอาเฉพาะส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ และความทันสมัย แต่ว่าฉบับแรกที่เขาบอกว่า จะให้เป็นต้นแบบก็คือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งประกาศใช้ 3 วัน หลังการปฏิวัติ 2475 คือวันที่ 27 มิ.ย.2475 แล้วก็ใช้อยู่เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น พอถึง 10 ธ.ค.2475 ก็เปลี่ยนเป็นอีกฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้สาระสำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สู้จะทรงเห็นด้วยนัก เมื่อคณะราษฎร์นำมาให้ท่านทอดพระเนตร ท่านก็ลงพระราชหัตถเลขาไปตรงหัวพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ว่า “ฉบับชั่วคราว” เป็นพระองค์ท่านทรงพระราชหัตถเลขาไว้ แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้คำว่า “พระมหากษัตริย์” ใช้คำว่า “กษัตริย์” หมด แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่มีหลักการเหมือนรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บรรจุไว้ใน มาตรา 8 ที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้” (หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้) รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงในมาตรา 6 ที่ระบุว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย” อันนี้เป็นหลักที่แตกต่างออกไป แล้วก็ยังมีเรื่องตามการสืบราชสมบัติอีก ในมาตรา 4
มันก็คงจะ...คือท่านคิดอะไรอยู่ละ ท่านถึงจะให้“พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ท่านพูด พรรคเพื่อไทยพูดมาตลอดว่าจะต้องเป็นหลัก นิติราษฎร์กลับเขียนเพียงว่า “อาจนำเอาเฉพาะบางส่วนมา” อันนี้มันก็เป็นเรื่องชวนคิด
Q : การเสนอ“พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ เพื่อพุ่งเป้าไปแก้ไขเรื่องเกี่ยวกับสถาบันใช่หรือไม่
A : ผมว่าทางนิติราษฎร์คงไปไกลเกินกว่าที่พรรคเพื่อไทยคิด ถ้าพูดกันจริงๆผมว่าคนสีแดงมันก็มีแดงหลายเฉด เฉดของนิติราษฎร์เป็นเฉดที่สุดๆ เลย ท่านตั้งชื่อ “คณะนิติราษฎร์” ท่านก็จงใจชวนให้คิดว่า จงใจจะให้คล้ายกับ “คณะราษฎร์” ทำ นำปฏิวัติเมื่อปี 2475 อันนี้ก็ไม่ว่ากัน ม.ธรรมศาสตร์ก็...ท่านผู้ประศาสน์การ ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อการของคณะราษฎร์ ก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าแต่ละยุคแต่ละสมัย มันก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างกัน ท่านมาพูดถึงเรื่องยกเลิกมาตรา 112 ท่านมาพูดถึงเอารัฐธรรมนูญ 2475 ที่ไม่มีบทบัญญัติมาตรา 8 เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา เอามาพูดถึง ผมเชื่อว่าในที่สุดทางส.ส.ร.ก็ดี ทางพรรคเพื่อไทยก็ดี เขาก็คงไม่อาจที่จะเห็นด้วยหรือเอาตามอย่างนี้ทั้งหมดหรอก แต่ แน่นอนอาจจะมีคนจำนวนหนึ่งที่มีความคิด มีความเชื่ออย่างนี้ แต่ว่าเราดูจากแถลงการณ์ของเขา ดูจากข้อมูลต่างๆรอบด้านแล้ว ถามว่าพวกเรามีสิทธิ์ที่จะคิดได้มั๊ยว่าเขาคิดอะไรกันอยู่...ก็มีสิทธิ์คิด ได้ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเอาอย่างนี้มาทั้งดุ้น คนไทยคงรับไม่ได้
Q : แถลงการณ์นิติราษฎร์ การตั้งคอ.นธ. รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง กรมกองสำคัญอย่างกรมราชทัณฑ์ มีส่วนเชื่อมโยงกันเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
A : อันนี้น่าจะมีส่วนเกี่ยวพันกันบ้าง ผมว่าเพื่อไทย รวมทั้งคุณทักษิณก็ดี เขาก็คงต้องมีหลายแผน มีหลายด้าน มีหลายมุมที่สุดแท้จะเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ทางนี้เป็นทางที่ถ้าเผื่อสามารถจะลบล้างโทษ ลบล้างความผิดได้โดยรัฐธรรมนูญมันถือว่ามันเป็นทางที่เบ็ดเสร็จที่สุด ใหญ่ที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ก่อนหน้านี้เวลามีการพูดกันถึงว่าถ้าเผื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วไม่ มีมาตรา 309 มันจะเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรม อันนั้นจริงๆมันยังมีปัญหาทางข้อกฎหมายอยู่เยอะนะ คือมาตรา 309 มันมีผลไปแล้ว ต่อให้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วไม่มีเนื้อความแบบมาตรา 309 มันก็ไม่ได้แปลว่าจะไปลบล้างผลที่เกิดขึ้นได้ แต่คราวนี้แนวโน้มที่เราเห็นในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์เขาคิดไปไกล ก็คือจะถึงขนาดจะทำให้...คือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเลย 4-5 ข้อให้ผลอะไรที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 การสอบสวนใดๆของคตส. องค์อะไรที่เกิดขึ้นจากคมช.ถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ทางกฎหมายไม่เคยเกิดขึ้นเลย องค์อื่นก็มี ป.ป.ช. กกต. ตุลาการรัฐธรรมนูญ คือแสดงว่ามีความคิดที่จะเอากันแบบนี้เลย แต่ว่าเวลาทำจริงจะสามารถทำความคิดนี้ไปแปลเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ หรือไม่ ผมว่าก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับเขาว่า มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขณะนั้น ว่าประชาชนชาวไทยทั้งหมด ทั้งที่เลือกเขาและไม่เลือกเขา เมื่อถึงเวลานั้นจะแสดงความรู้สึก จะแสดงความเห็นของตัวเองออกมาอย่างไร ถ้าเผื่อแหย่ออกมาแล้วไม่มีใครพูด ไม่มีใครทัดทาน โอกาสที่จะเป็นอย่างนั้นมันก็มีความเป็นไปได้
Q : ถ้ามีการดำเนินการได้จริง จะมีผลเอาผิดย้อนหลังกับคนที่ทำปฏิวัติรัฐประหารได้หรือไม่
A : มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาว่า เขาจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมายังไงมากกว่า แต่แนวคิดนี้ที่ออกมาอย่างนี้ คือแปลว่าทำได้ทุกอย่าง ทีนี้สังคมมันจะวุ่น คือมันจะยุ่งเหยิงกันไปหมด คือ ถ้าเอาหลักคิดนี้มาใช้นะ ถือว่ากกต.ไม่เคยเกิดขึ้นใช่มั๊ย เพราะกกต.มาจากคมช.แต่งตั้ง แล้วบรรดาส.ส. ส.ว.ที่กกต.จัดการเข้ามา มันจะถือว่าเคยเกิดขึ้นมั๊ย มันจะยุ่งกันไปหมด คดีความต่างๆที่ศาลรัฐธรรมนูญ มันไม่ได้มีแต่คดีคุณทักษิณนะ มันมีหลายคดีจะทำยังไง จะถือว่าไม่มีผลไปหมดเลยเหรอ แล้วทำไมคุณมาเลือกแต่การรัฐประหารครั้งนี้ รัฐประหารก่อนหน้านี้ 11-12 ครั้งทำไมไม่ประกาศให้มันไม่มีผลทางกฎหมาย หรือแม้แต่การปฏิวัติ 2475 มันก็เป็นการรัฐประหาร ทำไมมาเลือกปฏิบัติแต่รัฐประหาร 2549
Q : จุดประสงค์การนำรัฐธรรมนูญ 2475 มาเป็นต้นแบบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อหวังช่วยคุณทักษิณเพื่อพ่วงไปสู่การแก้ไขเกี่ยวกับสถาบัน หรือมุ่งไปแก้ที่สถาบันแล้วใช้เรื่องคุณทักษิณบังหน้า
A : ผม ว่า “นิติราษฎร์” เป็นแนวความคิดที่เป็นเฉดของแดงที่ไปสุดขั้วเลย คือเขามองว่าการปกครองในปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้อง....ต้องอย่างนั้น-อย่างนี้ ไม่มีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีกลิ่นไอ มีเชื้อ มีหลักตามที่จัดทำไว้ใน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” อันนี้ผมมีสิทธิ์จะคิด เพราะเขาบอกให้เอาพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับ นั้นมาใช้เป็นหลัก ทำไมคุณไม่พูดแค่รัฐธรรมนูญ 2540 ล่ะ เพราะคุณก็พูดมาโดยตลอด เพื่อไทย คนเสื้อแดงทั้งหลายแหล่ก็พูดมาโดยตลอด ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ใกล้กับยุคสมัยปัจจุบันมากที่สุด และประชาชนก็มีส่วนร่วมมาก แต่ทำไมคราวนี้คุณบอกว่า “และ อาจนำ” รัฐ ธรรมนูญ 2540 เฉพาะส่วนที่มันทันสมัยมาใช้ คุณทำไมต้องย้อนไปพูดถึงฉบับ 2475 คุณประทับใจหรือคุณอยากให้สังคมไทยที่คุณวาดฝันไว้ไปมีหลักการรัฐธรรมนูญ ฉบับนั้น ฉบับ 2475 ข้อใด มาตราใด คุณประกาศมาให้ชัดดีกว่า เราก็ได้รู้ว่าคุณคิดยังไง Q : เท่าที่มีการประเมินผลตอนนี้ การเคลื่อนขบวนการสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
A : ก็ยังอีกพอสมควร เพราะว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามที่เขาพูดออกมาก็คงจะอย่างเร็วก็ปลายปีนี้ เห็นบอกว่าจะเป็นสมัยประชุมนิติบัญญัติ ก็น่าจะเปิดเดือนมกราคม แต่เห็นหลายท่านบอกว่าจะยื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม ก็อาจจะเป็นไปได้ว่ายื่นธันวาคม พิจารณาคือเดือนมกราคม แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ให้เกิดหมวดใหม่ หมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในรัฐสภา หลังจากนั้นก็จะมีกระบวนการเลือกตั้งส.ส.ร. แล้วก็ใช้เวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านกระบวนการต่างๆ ผมว่าอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะปลายปีหน้า ถ้าได้ตัวรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันคงยังเร็วเกินไปกว่าที่เราจะวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดการณ์ไปได้ เพราะกว่าจะถึงวันนั้น เหตุการณ์ต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้มาก
Q : อย่างอายุรัฐบาลชุดนี้ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะอยู่แค่ 6 เดือนหรือ 1 ปี โอกาสที่จะดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้สำเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน
A : กระบวนการตรงนี้ ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แล้ว ก่อให้เกิดส.ส.ร.แล้ว กระบวนการนี้มันจะแยกออกจากรัฐบาล ถึงรัฐบาลเปลี่ยน ต่อให้มีการยุบสภา กระบวนการนี้มันยังคงอยู่ต่อไป แล้วผมเชื่อว่าภายใต้บริบททางการเมืองปัจจุบัน ถึงเปลี่ยนรัฐบาลมันก็ยังเป็นรัฐบาลเพื่อไทยอยู่ ถึงปรับครม.มันก็ยังเป็นเพื่อไทยอยู่ หรือถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจริงๆ ต่อให้มีการยุบสภา การเลือกตั้งใหม่เข้ามาก็...จนถึงวันนี้ยังมองไม่เห็นสัญญาณใหม่ๆว่าจะไม่ ใช่พรรคเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก แต่อย่างที่บอกการที่พัฒนาไปแต่ละวันมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่ไม่แน่มันอาจจะแน่ขึ้นมาก็ได้ เพราะว่า...คือพรรคเพื่อไทยเข้ามาครั้งนี้สัญญาไว้เยอะ แล้วเป็นการสัญญาในเรื่องที่ประชาชนคิดโดยผิวเผินแล้วพอใจ-ถูกใจ แต่ว่าจนถึงวันนี้มันยังเป็นเพียงช่วงต้นเท่านั้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เริ่มออกมา มันก็ยังมีปัญหาอยู่ เขาอาจจะโชคไม่ดีนิดนึงที่เข้ามาหลังน้ำท่วม แล้วสถานะของเศรษฐกิจก็ใช่ว่าดี ฐานะของเศรษฐกิจโลกก็มีโอกาสที่มีปัญหาได้ตลอดเวลา นโยบายต่างๆของรัฐบาลใช้เงินเพิ่มขึ้น เก็บภาษีได้น้อยลง จะไปเอาเงินจากตรงไหน จะไปเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมา ทางแบงก์ชาติก็ไม่เห็นด้วย ทางกลุ่มหลวงตาบัวก็ไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่เห็นด้วย พอสังคมเริ่มลุกขึ้นมาเขาก็ถอย เขาก็บอกไม่เอาแล้ว ก็ยังเป็นปัญหาอยู่พอสมควร
และที่สำคัญคือความรู้สึกลึกๆที่อยู่ในใจของคนไทยจำนวนมาก คนไทยจำนวนมากที่อาจจะไม่ใช่ 15 ล้านเสียงที่เลือกเพื่อไทย แต่คนไทยจำนวนนี้ ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อเหลือง ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อหลากสี หรือจะเป็นเฉพาะคนที่เคยมีการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณในอดีตเท่า นั้น แต่เป็นความรู้สึกของคนทั่วๆไปที่เขาเห็นหลายอย่างที่ออกมาจากรัฐบาลชุดนี้ แล้ว เขาอาจมีความรู้สึกไม่สบาย อาจรู้สึกอึดอัด เพราะดูเหมือนว่า 60-70% ที่เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มันกลายเป็นเรื่องของคุณทักษิณมากกว่า ผมกลับคิดว่าถ้าเพื่อไทยเขาพยายามทำตามนโยบายให้เกิดดอกออกผลจริงๆ ให้ประสบความสำเร็จจริงๆหลังจาก 1 ปี 2 ปีไปแล้วเนี่ย แล้วค่อยมาพูดเรื่องคุณทักษิณ ผลที่ได้มาอาจจะต่างออกไป แต่ทีนี้พอมาเริ่มต้นด้วยแบบนี้ เป็นประเด็นทางสังคมอยู่ที่นี่ทุกวัน ขณะที่การทำงานมันยังไม่เห็นผลที่ชัดเจน งบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ยังไม่เสร็จ แล้วก็ต้องล่าช้าออกไป มันก็ทำให้สถานการณ์ที่ถึงแม้เขาได้เสียงเข้ามาข้างมาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นมันก็จะกระทบต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
Q : เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลอาจจะไม่คำนึงว่าจะอยู่ได้นาน-ไม่นาน แต่ขอประคองสถานการณ์เพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดส.ส.ร.ให้ได้
A : อันนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน ก็คือก่อให้เกิดส.ส.ร. เกิดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันจะเป็นองค์กรที่แยกต่างหากออกไป แล้วเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง ในส่วนของการเมืองอาจจะปรับครม. อาจจะเปลี่ยนรัฐบาล อาจจะมีการยุบสภา แต่กระบวนการตัวนั้นจะเดินหน้าต่อไป แล้วจะกลับมาสู่ประชาชนอีกทีตอนลงประชามติ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงปลายๆปีหน้า ก็เป็นไปได้ครับ
Q : ความอยู่รอดของรัฐบาลตอนนี้ เริ่มมีการพูดถึงรัฐประหาร เงื่อนไขความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมีแค่ไหนอย่างไร
A : ผมว่าไม่มีใครยากทำรัฐประหาร ไม่มีใครอยากทำหรอก แต่ว่าประเทศไทยมันก็มีมาตลอด คงไม่มีใครรับประกันอะไรได้ แต่ ว่าอย่างหนึ่งอย่างคำว่า “รัฐประหาร” มันก็ผุดขึ้นมาจากคนของรัฐบาลเองที่ออก มาพูดว่าเดือนธันวาคม แล้วก็พูดว่าให้เตรียมการอะไรต่ออะไร คือผมว่า สิ่งหนึ่ง ที่เครือข่ายของรัฐบาลเขาต้องพูดสิ่งเหล่านี้ไว้ กึ่งๆการปลุกผีรัฐประหาร ก็เพื่อดำรงการหล่อเลี้ยงมวลชน หล่อเลี้ยงกระแสมวลชน หล่อเลี้ยงการจัดตั้งมวลชน หล่อเลี้ยงการเตรียมการมวลชนของเขา เพราะว่าเขาจะเป็นคณะที่ไม่ได้ต่อสู้การเมืองในระบบอย่างเดียว แต่ว่ามีการเมืองนอกระบบ การเมืองภาคประชาชน การจัดตั้งมวลชน ดำเนินการคู่ขนาน แล้วตอนนี้ก็เข้ามาหล่อรวมเป็นเนื้อเดียวกัน มีผู้นำมวลชนเข้ามาสู่ตำแหน่งในภาครัฐ มีผู้นำมวลชนก้าวเข้าสู่การเมืองท้องถิ่น แล้วไปอยู่ทุกจุด ภายใต้ข้ออ้างว่า “เตรียมการต่อต้านการรัฐประหาร” ภายใต้ข้ออ้างว่า “ต้องเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้กับรัฐบาล” หรือภายใต้ข้ออ้างที่คนเสื้อแดงเขาก็พูดชัดเจนว่า “ชัยชนะในการเลือกตั้งมั เป็นเพียงชัยชนะขั้นต้นเท่านั้น มันยังมีขั้นต่อไป” เพราะว่า รากฐานของอำมาตย์ยังอยู่ เขาก็ต้องชูการต่อต้านรัฐประหารไว้เพื่อหล่อเลี้ยงมวลชนไว้ตลอดไป
Q : เมื่อพูดถึงเสื้อแดง มีบางฝ่ายมองจุดประสงค์เสื้อแดงว่า ถึงขั้นล้มล้างสถาบัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ปลายทางในขั้นสุดท้ายของคณะนิติราษฎร์จะมาบรรจบกับคน เสื้อแดง
A : เป็นไปได้แต่คงไม่ง่าย เพราะว่าผมเชื่อว่าเสื้อแดงเขาก็มีหลากหลาย คือเป้าหมายรวมๆอาจจะเหมือนกัน...ประชาธิปไตยสมบูรณ์ แต่สมบูรณ์ของแต่ละคน แต่ละความคิดมันต่างกัน อย่างที่บอกสีแดงมีหลายเฉดสี มันก็เป็นดาบสองคมสำหรับเบอร์ของเขา คือคุณทักษิณเหมือนกัน เพราะว่าในการที่จะหล่อเลี้ยงหลายเฉดสีเข้าไว้ด้วยกัน หล่อเลี้ยงเป้าหมายความต้องการของแต่ละส่วนแต่ละกลุ่มที่อาจจะมีต่างระดับ กันไป ให้เป็นพลังอยู่ด้วยกัน มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมาเขาก็ทำได้ดีพอสมควร แต่ว่าไอ้เฉดสีแรงๆ เฉดสีจัดๆของเสื้อแดงที่แสดงออกมามัน...บางทีมันเกินไป แล้วมันจะทำให้คนไทยที่อาจจะไม่ได้ใส่เสื้อสีอะไรเลย หรืออาจจะเป็นเสื้อแดงอีกเฉดหนึ่ง หรือเป็นคนที่ไม่อยากยุ่งกับการเมืองมาก่อนเลย พอเขาเห็นมากขึ้น เห็นภาพต่างๆเหล่านี้แล้วเขาอาจจะรับไม่ได้ ทนไม่ได้ เขาก็ต้องแสดงออกบางสิ่งบางอย่างถึงความไม่เห็นด้วยอะไรออกมา มันก็อาจจะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนจะราบรื่นของทางเพื่อไทย ในที่สุดก็อาจจะไม่ราบรื่นก็ได้
…………………….
แถลงการณ์ของ “คณะนิติราษฎร์” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการก่อตั้งนิติราษฎร์และครบรอบ 5 ปีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นอกจากจะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องทั้งในแง่สนับสนุน และคัดค้าน ยังเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งทางความคิดระลอกใหม่ เพราะในแถลงการณ์สรุปว่า การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลในทางกฎหมาย รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหารโดยเฉพาะที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการ กระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
เมื่อหันมาดูตัวบุคคลใน "คณะนิติราษฎร์" ก็ประกอบด้วยอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร น.ส.สาวตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ก็ทำให้หลายคนพอจะคาดเดาได้ว่า "ทำไมแนวคิด" ถึงออกมาสุดโต่งเช่นนี้
และแน่นอน หากจะหาคนมาวิพากษ์วิจารณ์ได้แบบ “รู้ทันเล่ห์กล” กัน ก็ต้องเป็นบุคคลที่คิดคนละขั้ว อย่าง “คำนูณ สิทธิสมาน” ส.ว.สรรหา ที่รับรู้กันดีว่า “เขา” คือ “คนสนิท” ของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต้มที่ซ่อนสำหรับ “แถลงการณ์ของนิติราษฎร์” ถูกตีแสกหน้าแบบ “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” ถือเป็นคำเปรียบเปรยที่ “เห็นภาพ” ได้เลย...โปรดติดตาม
Q : มีการตั้งข้อสังเกตถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกแถลงการณ์ล้มล้างรัฐประหาร เป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการที่มีการวางไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายบางอย่าง
A : ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมองได้ ต้องยอมรับว่าแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ถ้าลำพังเป็นเพียงความเห็นของนักกฎหมายกลุ่มหนึ่ง-คณะหนึ่ง ท่านก็มีสิทธิ์มีความเห็นได้ แล้วคนในสังคมมีสิทธิ์ที่จะเห็นต่างกับท่านได้ แต่ว่าคนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นส.ส.ของพรรคเพื่อไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความเห็นด้วย แสดงความชื่นชมว่า “ถูกต้องด้วยหลักกฎหมาย” ก็มีสิทธิ์ที่ผู้เฝ้าติดตามสถานการณ์เขาจะมีสิทธิ์คิดไปได้ว่า “อ๋อ...นี่เป็นเรื่องที่รู้กัน” หรือว่า “นี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้” เพราะว่าเป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในขณะนี้กระบวนการที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) พ้นจากโทษ พ้นจากความผิด ก็มีการดำเนินการกันหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษส่วนบุคคลที่อยู่ระหว่างกระทรวง ยุติธรรม กำลังทำความเห็นไปยังสำนักราชเลขาธิการอยู่ อีกทางหนึ่งก็กรณีที่จะมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษหมู่ เป็นการทั่วไปตามประเพณีในวันที่ 5 ธ.ค. เนื่องในวโรกาสครบ 84 พรรษา นี่ก็เป็นทางหนึ่งที่ผู้คนจับตากันอยู่ หรือรวมถึงกฎหมายนิรโทษกรรม เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกมาตรา 309 อันนี้เป็นเรื่องที่ทางพรรคเพื่อไทยพูดมาโดยตลอด ถือว่าเป็นจุดยืนของท่าน...ไม่ว่ากัน
“แต่แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ เขาไปไกลมาก คือว่าใน 3-4 ข้อแรก ให้ทุกอย่างที่เกิดจากการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ทั้งหมด “ให้เสียเปล่า” และ “ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น” และ “ไม่เคยมีผลทางกฎหมาย” คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ของศาลรัฐธรรมนูญ ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งหมดที่เกิดสืบเนื่องมาจาก 19 ก.ย.2549 ให้ถือว่าเสียเปล่าและไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ ในชั้นศาลที่เริ่มต้นมาจากคตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ให้เป็นอันยุติลงทั้งหมดเลย คืออัน นี้มันไปไกลกว่าเรื่องนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษเสียอีก คือเขาบอกว่าให้ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่มีผลทางกฎหมายเลย ซึ่งอันนี้ถ้าวิพากษ์วิจารณ์กันในเชิงวิชาการ ก็ต้องถามว่ามันไม่มีหลักกฎหมายในโลกนี้ ที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้ แล้วถ้ายึดถือตามหลักนี้ ต่อไปประเทศไทยก็คงไม่ต้องคบหาสมาคมกับชาติใดในโลก นักลงทุนต่างชาติเขาจะมาลงทุน เขาก็ไม่รู้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าเกิดรัฐบาลใดมา ประกาศให้การกระทำบางอย่างถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไม่มีผลทางกฎหมายเลย แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร”
Q : ความเป็นไปของการที่จะทำให้ทุกอย่างให้เป็นไปอย่างที่คณะนิติราษฎร์ต้องการ มีหนทางใดตามกฎหมายที่สามารถรองรับได้หรือไม่
A : จริงๆ ถ้าออกเป็นรัฐธรรมนูญ มันก็ทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่ที่สุด แล้วทีนี้ในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ที่จะต้องขีดเส้นใต้ไว้ก็คือ ในประเด็นที่ 1 ข้อ 6 ของเขา เขาเขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย” คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม แล้วนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ อันนี้ก็ชัดเจนว่าที่ผมไล่มา 4-5 ประการแรก มันอยู่ในข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 5 แล้วข้อ 6 เขาย้ำเลยว่า “ให้เอาไปอยู่ในรัฐธรรมนูญที่จะจัดทำขึ้น ใหม่” โดยส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 77 คน บวกกับนักวิชาการอีก 22 คน ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าในนักวิชาการ 22 คนจะมีคณะนิติราษฎร์สักกี่คน หรือว่าในคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีอาจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน จะมีนักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์สักกี่คน
เพราะฉะนั้นไอ้แถลงการณ์อย่างนี้ การจัดตั้ง คอ.นธ. ของอาจารย์อุกฤษ และการประกาศจะทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ที่ติดตามการเมือง หรือมีประสบการณ์ เขาก็จะคาดการณ์ว่า “อ๋อ....นี่คุณเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันไว้แล้วใช่มั๊ย” จะเหมือนในอดีตที่ประเทศไทยเคยมี เขาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” หรือเปล่า อันนี้คุณแอบทำ “รัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์” ขึ้นไว้หรือเปล่า แล้ว ก็ใช้รูปแบบของส.ส.ร.เป็นเพียงแบบพิธี เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น แต่ความจริงก็คือเตรียมเอาไว้แล้ว มันก็มีความเป็นไปได้ที่จะชวนให้ผู้คนเขาคิด
Q : เท่าที่วิเคราะห์มา การใช้ส.ส.ร.บังหน้าเพื่อให้ดูเหมือนว่ากระบวนการในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้มันถูกต้อง แปลว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มีการจัดทำไว้หมดแล้ว
A : ผมคงไม่ยืนยันข้อเท็จจริงตรงนั้น แต่บอกว่ามันชวนให้คิดได้ มันมีที่มา-ที่ไป ว่ากันเฉพาะนโยบายรัฐบาลที่บอกว่าจะให้มีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ โดยตัวอักษรมันไม่มีใครคัดค้านได้หรอก แล้วมิหนำซ้ำยังบอกว่าเมื่อจัดทำเสร็จแล้วให้ไปผ่านการประชามติ อันนี้มันก็ปิดปากคนที่อยากจะคัดค้าน เพราะว่าทุกคนก็ถือว่าเมื่อเป็นประชามติ ก็น่าจะเป็นประชาธิปไตย ถ้ามีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ เขาก็บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัดๆ ละคน จะเอาหลักการอะไรไปค้านเขาละ คือบ้านเรามันอยู่ภายใต้มายาคติว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง
แต่ทีนี้ถ้าเราดูตามความเป็นจริงๆ แล้วเราก็คาดการณ์ได้ว่า 77 คนเนี่ย ผมว่า 80% ก็จะมาจากฐานเสียงของพรรคการเมือง ของนักการเมือง อาจจะมีสัก 10% หรืออย่างสูง 20% ที่อาจจะเป็นผู้ที่มีความคิดอิสระจริงๆ และที่สำคัญก็คือถ้าเผื่อเอาคน 77 คน มาเลือกนักวิชาการ 22 คน แล้วเมื่อใน 80% มีความเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง กับนักการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งนาทีนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นพรรคการเมือง เป็นนักการเมืองที่น่าจะเป็นของพรรคที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ มันก็จะทำให้นักวิชาการที่จะเข้ามา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านักวิชาการก็มีความคิดแตกต่างหลากหลาย เราอาจจะได้นักวิชาการระดับนิติราษฎร์เข้ามา แล้วถามว่าคนอย่างอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการมั๊ย คนอย่างอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรโณ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการในส่วนที่จะเป็นส.ส.ร.มั๊ย เพราะฉะนั้นก็คือเสียงข้างมากในส.ส.ร.ที่จะมี 99 คน ใน 100 คน มัน ก็พอจะคาดหมายได้ว่า น่าจะเป็นเสียงข้างมากที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความประสงค์ของนักการ เมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ แต่พอพูดว่าทำโดยส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ นักการเมืองไม่เข้าไปยุ่ง รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งแล้ว ฟังมันดูดี แต่เมื่อคุณไปผูกโยงกับฐานการเลือกตั้งอย่างนี้แล้ว ความเป็นจริงในสังคมที่ใครๆก็ตอบได้ มันจะออกมายังไงก็พอเห็นอยู่ แต่สังคมก็คงคัดค้านได้ไม่เต็มปากเต็มคำ เพราะสังคมก็ไปรับเอาซะแล้วว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ยอมรับผลเลือกตั้ง แล้วเขาจะใช้ฐานนี้มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การคัดค้านจึงไม่เต็มปากเต็มคำนัก
“เพราะว่าเราก็ติดในมายาคตินี้ คือประชาธิปไตยแน่นอนมันต้องมีการเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด แต่มันไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่จะเป็นองค์ประกอบเดียวของความเป็น ประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยมีคนเลือกมา 15 ล้านเสียง เยอะครับ แต่ก็มีคนไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอย่างน้อยก็ 10 ล้านเสียง เมื่อคุณได้มาเป็นรัฐบาลแล้ว คุณไม่ได้เป็นรัฐบาลของคนแค่ 15 ล้านคน คุณเป็นรัฐบาลของคน 10 ล้านคนที่ไม่เลือกคุณด้วย แล้วคุณยังเป็นรัฐบาลของคนอีกจำนวนมากที่เขายังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เขาก็เป็นเจ้าของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่ามีเสียงข้างมากแล้วอยากจะทำอะไรก็ได้ ผมว่าจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคต”
Q : ถ้าการร่างรัฐธรรมนูญมีการซ่อนเรื่องการนิรโทษกรรม การปลดล็อกทางคดีให้คุณทักษิณไว้ รัฐบาลจะใช้ข้ออ้างอย่างไรเพื่อลดกระแสสังคมได้
A : รัฐบาล...เขาก็บอกว่าเขาไม่เกี่ยวไง เป็นเรื่องของส.ส.ร. ส.ส.ร.ไม่ใช่พรรคเพื่อไทย ส.ส.ร.มาจากประชาชนทุกจังหวัดเลือกมาจังหวัดละคน แล้วก็มาจากนักวิชาการที่อิสระ เขาบอกเขาไม่เกี่ยว แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการลงประชามติจากประชาชนอีก พอเราไปผูกไว้กับฐานการเลือกตั้ง มันก็จะเป็นอย่างนี้
Q : ภาคประชาชนสามารถท้วงติงในเนื้อหารัฐธรรมนูญได้หรือไม่ หากเอื้อประโยชน์ให้คนๆหนึ่ง
A : ผมกำลังเฝ้าจับตาดูว่า สมมตินะเขาเอาเนื้อหาอย่างนิติราษฎร์เข้าไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วสังคมไทยจะว่ายังไง ถ้าสังคมไทยทั้งหมดยอมให้เป็นไปอย่างนี้ โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ต้องทำใจยอมรับ แต่ผมมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่า “มันเกินไป-มันเกินไป” คือสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอมามันไม่มีหลักอะไรรองรับ สำหรับคนที่รู้ ติดตามศึกษามา รู้อยู่ว่าคุณคิดอะไรอยู่ อย่าว่า “อ้าปากเห็นลิ้นไก่” เลย เรียกว่า “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” เพราะว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์มันไม่ใช่แค่เรื่องทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดจากการรัฐประหารถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมายเลยเท่านั้น ประเด็นที่สองที่เขาพูดถึงก็คือ การแก้ไขหรือการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วประเด็นที่สำคัญที่ผมเห็นว่ายังมีการพูดกันน้อยก็คือ ก่อนหน้านี้ทางพรรคเพื่อไทย เวลาเขาพูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขาจะบอกว่าเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเกณฑ์ แต่ว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์ ในประเด็นที่ 4 ข้อ 2 เขาบอกว่า “คณะนิติราษฎร์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สมควรเป็น”...ตรงนี้คุณดูให้ดีนะ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ขีดเส้นใต้สีแดงหลายเส้นตรงนี้ แล้วต่อไปคือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง”
คุณเห็นมั๊ยครับว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกลดความสำคัญลงไปเพียง “และอาจนำ” แล้วก็เอาเฉพาะส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ และความทันสมัย แต่ว่าฉบับแรกที่เขาบอกว่า จะให้เป็นต้นแบบก็คือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งประกาศใช้ 3 วัน หลังการปฏิวัติ 2475 คือวันที่ 27 มิ.ย.2475 แล้วก็ใช้อยู่เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น พอถึง 10 ธ.ค.2475 ก็เปลี่ยนเป็นอีกฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้สาระสำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สู้จะทรงเห็นด้วยนัก เมื่อคณะราษฎร์นำมาให้ท่านทอดพระเนตร ท่านก็ลงพระราชหัตถเลขาไปตรงหัวพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ว่า “ฉบับชั่วคราว” เป็นพระองค์ท่านทรงพระราชหัตถเลขาไว้ แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้คำว่า “พระมหากษัตริย์” ใช้คำว่า “กษัตริย์” หมด แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่มีหลักการเหมือนรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บรรจุไว้ใน มาตรา 8 ที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้” (หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้) รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงในมาตรา 6 ที่ระบุว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย” อันนี้เป็นหลักที่แตกต่างออกไป แล้วก็ยังมีเรื่องตามการสืบราชสมบัติอีก ในมาตรา 4
มันก็คงจะ...คือท่านคิดอะไรอยู่ละ ท่านถึงจะให้“พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ท่านพูด พรรคเพื่อไทยพูดมาตลอดว่าจะต้องเป็นหลัก นิติราษฎร์กลับเขียนเพียงว่า “อาจนำเอาเฉพาะบางส่วนมา” อันนี้มันก็เป็นเรื่องชวนคิด
Q : การเสนอ“พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ เพื่อพุ่งเป้าไปแก้ไขเรื่องเกี่ยวกับสถาบันใช่หรือไม่
A : ผมว่าทางนิติราษฎร์คงไปไกลเกินกว่าที่พรรคเพื่อไทยคิด ถ้าพูดกันจริงๆผมว่าคนสีแดงมันก็มีแดงหลายเฉด เฉดของนิติราษฎร์เป็นเฉดที่สุดๆ เลย ท่านตั้งชื่อ “คณะนิติราษฎร์” ท่านก็จงใจชวนให้คิดว่า จงใจจะให้คล้ายกับ “คณะราษฎร์” ทำ นำปฏิวัติเมื่อปี 2475 อันนี้ก็ไม่ว่ากัน ม.ธรรมศาสตร์ก็...ท่านผู้ประศาสน์การ ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อการของคณะราษฎร์ ก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าแต่ละยุคแต่ละสมัย มันก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างกัน ท่านมาพูดถึงเรื่องยกเลิกมาตรา 112 ท่านมาพูดถึงเอารัฐธรรมนูญ 2475 ที่ไม่มีบทบัญญัติมาตรา 8 เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา เอามาพูดถึง ผมเชื่อว่าในที่สุดทางส.ส.ร.ก็ดี ทางพรรคเพื่อไทยก็ดี เขาก็คงไม่อาจที่จะเห็นด้วยหรือเอาตามอย่างนี้ทั้งหมดหรอก แต่ แน่นอนอาจจะมีคนจำนวนหนึ่งที่มีความคิด มีความเชื่ออย่างนี้ แต่ว่าเราดูจากแถลงการณ์ของเขา ดูจากข้อมูลต่างๆรอบด้านแล้ว ถามว่าพวกเรามีสิทธิ์ที่จะคิดได้มั๊ยว่าเขาคิดอะไรกันอยู่...ก็มีสิทธิ์คิด ได้ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเอาอย่างนี้มาทั้งดุ้น คนไทยคงรับไม่ได้
Q : แถลงการณ์นิติราษฎร์ การตั้งคอ.นธ. รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง กรมกองสำคัญอย่างกรมราชทัณฑ์ มีส่วนเชื่อมโยงกันเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
A : อันนี้น่าจะมีส่วนเกี่ยวพันกันบ้าง ผมว่าเพื่อไทย รวมทั้งคุณทักษิณก็ดี เขาก็คงต้องมีหลายแผน มีหลายด้าน มีหลายมุมที่สุดแท้จะเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ทางนี้เป็นทางที่ถ้าเผื่อสามารถจะลบล้างโทษ ลบล้างความผิดได้โดยรัฐธรรมนูญมันถือว่ามันเป็นทางที่เบ็ดเสร็จที่สุด ใหญ่ที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ก่อนหน้านี้เวลามีการพูดกันถึงว่าถ้าเผื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วไม่ มีมาตรา 309 มันจะเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรม อันนั้นจริงๆมันยังมีปัญหาทางข้อกฎหมายอยู่เยอะนะ คือมาตรา 309 มันมีผลไปแล้ว ต่อให้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วไม่มีเนื้อความแบบมาตรา 309 มันก็ไม่ได้แปลว่าจะไปลบล้างผลที่เกิดขึ้นได้ แต่คราวนี้แนวโน้มที่เราเห็นในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์เขาคิดไปไกล ก็คือจะถึงขนาดจะทำให้...คือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเลย 4-5 ข้อให้ผลอะไรที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 การสอบสวนใดๆของคตส. องค์อะไรที่เกิดขึ้นจากคมช.ถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ทางกฎหมายไม่เคยเกิดขึ้นเลย องค์อื่นก็มี ป.ป.ช. กกต. ตุลาการรัฐธรรมนูญ คือแสดงว่ามีความคิดที่จะเอากันแบบนี้เลย แต่ว่าเวลาทำจริงจะสามารถทำความคิดนี้ไปแปลเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ หรือไม่ ผมว่าก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับเขาว่า มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขณะนั้น ว่าประชาชนชาวไทยทั้งหมด ทั้งที่เลือกเขาและไม่เลือกเขา เมื่อถึงเวลานั้นจะแสดงความรู้สึก จะแสดงความเห็นของตัวเองออกมาอย่างไร ถ้าเผื่อแหย่ออกมาแล้วไม่มีใครพูด ไม่มีใครทัดทาน โอกาสที่จะเป็นอย่างนั้นมันก็มีความเป็นไปได้
Q : ถ้ามีการดำเนินการได้จริง จะมีผลเอาผิดย้อนหลังกับคนที่ทำปฏิวัติรัฐประหารได้หรือไม่
A : มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาว่า เขาจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมายังไงมากกว่า แต่แนวคิดนี้ที่ออกมาอย่างนี้ คือแปลว่าทำได้ทุกอย่าง ทีนี้สังคมมันจะวุ่น คือมันจะยุ่งเหยิงกันไปหมด คือ ถ้าเอาหลักคิดนี้มาใช้นะ ถือว่ากกต.ไม่เคยเกิดขึ้นใช่มั๊ย เพราะกกต.มาจากคมช.แต่งตั้ง แล้วบรรดาส.ส. ส.ว.ที่กกต.จัดการเข้ามา มันจะถือว่าเคยเกิดขึ้นมั๊ย มันจะยุ่งกันไปหมด คดีความต่างๆที่ศาลรัฐธรรมนูญ มันไม่ได้มีแต่คดีคุณทักษิณนะ มันมีหลายคดีจะทำยังไง จะถือว่าไม่มีผลไปหมดเลยเหรอ แล้วทำไมคุณมาเลือกแต่การรัฐประหารครั้งนี้ รัฐประหารก่อนหน้านี้ 11-12 ครั้งทำไมไม่ประกาศให้มันไม่มีผลทางกฎหมาย หรือแม้แต่การปฏิวัติ 2475 มันก็เป็นการรัฐประหาร ทำไมมาเลือกปฏิบัติแต่รัฐประหาร 2549
Q : จุดประสงค์การนำรัฐธรรมนูญ 2475 มาเป็นต้นแบบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อหวังช่วยคุณทักษิณเพื่อพ่วงไปสู่การแก้ไขเกี่ยวกับสถาบัน หรือมุ่งไปแก้ที่สถาบันแล้วใช้เรื่องคุณทักษิณบังหน้า
A : ผม ว่า “นิติราษฎร์” เป็นแนวความคิดที่เป็นเฉดของแดงที่ไปสุดขั้วเลย คือเขามองว่าการปกครองในปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้อง....ต้องอย่างนั้น-อย่างนี้ ไม่มีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีกลิ่นไอ มีเชื้อ มีหลักตามที่จัดทำไว้ใน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” อันนี้ผมมีสิทธิ์จะคิด เพราะเขาบอกให้เอาพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับ นั้นมาใช้เป็นหลัก ทำไมคุณไม่พูดแค่รัฐธรรมนูญ 2540 ล่ะ เพราะคุณก็พูดมาโดยตลอด เพื่อไทย คนเสื้อแดงทั้งหลายแหล่ก็พูดมาโดยตลอด ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ใกล้กับยุคสมัยปัจจุบันมากที่สุด และประชาชนก็มีส่วนร่วมมาก แต่ทำไมคราวนี้คุณบอกว่า “และ อาจนำ” รัฐ ธรรมนูญ 2540 เฉพาะส่วนที่มันทันสมัยมาใช้ คุณทำไมต้องย้อนไปพูดถึงฉบับ 2475 คุณประทับใจหรือคุณอยากให้สังคมไทยที่คุณวาดฝันไว้ไปมีหลักการรัฐธรรมนูญ ฉบับนั้น ฉบับ 2475 ข้อใด มาตราใด คุณประกาศมาให้ชัดดีกว่า เราก็ได้รู้ว่าคุณคิดยังไง Q : เท่าที่มีการประเมินผลตอนนี้ การเคลื่อนขบวนการสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
A : ก็ยังอีกพอสมควร เพราะว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามที่เขาพูดออกมาก็คงจะอย่างเร็วก็ปลายปีนี้ เห็นบอกว่าจะเป็นสมัยประชุมนิติบัญญัติ ก็น่าจะเปิดเดือนมกราคม แต่เห็นหลายท่านบอกว่าจะยื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม ก็อาจจะเป็นไปได้ว่ายื่นธันวาคม พิจารณาคือเดือนมกราคม แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ให้เกิดหมวดใหม่ หมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในรัฐสภา หลังจากนั้นก็จะมีกระบวนการเลือกตั้งส.ส.ร. แล้วก็ใช้เวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านกระบวนการต่างๆ ผมว่าอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะปลายปีหน้า ถ้าได้ตัวรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันคงยังเร็วเกินไปกว่าที่เราจะวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดการณ์ไปได้ เพราะกว่าจะถึงวันนั้น เหตุการณ์ต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้มาก
Q : อย่างอายุรัฐบาลชุดนี้ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะอยู่แค่ 6 เดือนหรือ 1 ปี โอกาสที่จะดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้สำเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน
A : กระบวนการตรงนี้ ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แล้ว ก่อให้เกิดส.ส.ร.แล้ว กระบวนการนี้มันจะแยกออกจากรัฐบาล ถึงรัฐบาลเปลี่ยน ต่อให้มีการยุบสภา กระบวนการนี้มันยังคงอยู่ต่อไป แล้วผมเชื่อว่าภายใต้บริบททางการเมืองปัจจุบัน ถึงเปลี่ยนรัฐบาลมันก็ยังเป็นรัฐบาลเพื่อไทยอยู่ ถึงปรับครม.มันก็ยังเป็นเพื่อไทยอยู่ หรือถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจริงๆ ต่อให้มีการยุบสภา การเลือกตั้งใหม่เข้ามาก็...จนถึงวันนี้ยังมองไม่เห็นสัญญาณใหม่ๆว่าจะไม่ ใช่พรรคเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก แต่อย่างที่บอกการที่พัฒนาไปแต่ละวันมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่ไม่แน่มันอาจจะแน่ขึ้นมาก็ได้ เพราะว่า...คือพรรคเพื่อไทยเข้ามาครั้งนี้สัญญาไว้เยอะ แล้วเป็นการสัญญาในเรื่องที่ประชาชนคิดโดยผิวเผินแล้วพอใจ-ถูกใจ แต่ว่าจนถึงวันนี้มันยังเป็นเพียงช่วงต้นเท่านั้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เริ่มออกมา มันก็ยังมีปัญหาอยู่ เขาอาจจะโชคไม่ดีนิดนึงที่เข้ามาหลังน้ำท่วม แล้วสถานะของเศรษฐกิจก็ใช่ว่าดี ฐานะของเศรษฐกิจโลกก็มีโอกาสที่มีปัญหาได้ตลอดเวลา นโยบายต่างๆของรัฐบาลใช้เงินเพิ่มขึ้น เก็บภาษีได้น้อยลง จะไปเอาเงินจากตรงไหน จะไปเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมา ทางแบงก์ชาติก็ไม่เห็นด้วย ทางกลุ่มหลวงตาบัวก็ไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่เห็นด้วย พอสังคมเริ่มลุกขึ้นมาเขาก็ถอย เขาก็บอกไม่เอาแล้ว ก็ยังเป็นปัญหาอยู่พอสมควร
และที่สำคัญคือความรู้สึกลึกๆที่อยู่ในใจของคนไทยจำนวนมาก คนไทยจำนวนมากที่อาจจะไม่ใช่ 15 ล้านเสียงที่เลือกเพื่อไทย แต่คนไทยจำนวนนี้ ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อเหลือง ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อหลากสี หรือจะเป็นเฉพาะคนที่เคยมีการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณในอดีตเท่า นั้น แต่เป็นความรู้สึกของคนทั่วๆไปที่เขาเห็นหลายอย่างที่ออกมาจากรัฐบาลชุดนี้ แล้ว เขาอาจมีความรู้สึกไม่สบาย อาจรู้สึกอึดอัด เพราะดูเหมือนว่า 60-70% ที่เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มันกลายเป็นเรื่องของคุณทักษิณมากกว่า ผมกลับคิดว่าถ้าเพื่อไทยเขาพยายามทำตามนโยบายให้เกิดดอกออกผลจริงๆ ให้ประสบความสำเร็จจริงๆหลังจาก 1 ปี 2 ปีไปแล้วเนี่ย แล้วค่อยมาพูดเรื่องคุณทักษิณ ผลที่ได้มาอาจจะต่างออกไป แต่ทีนี้พอมาเริ่มต้นด้วยแบบนี้ เป็นประเด็นทางสังคมอยู่ที่นี่ทุกวัน ขณะที่การทำงานมันยังไม่เห็นผลที่ชัดเจน งบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ยังไม่เสร็จ แล้วก็ต้องล่าช้าออกไป มันก็ทำให้สถานการณ์ที่ถึงแม้เขาได้เสียงเข้ามาข้างมาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นมันก็จะกระทบต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
Q : เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลอาจจะไม่คำนึงว่าจะอยู่ได้นาน-ไม่นาน แต่ขอประคองสถานการณ์เพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดส.ส.ร.ให้ได้
A : อันนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน ก็คือก่อให้เกิดส.ส.ร. เกิดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันจะเป็นองค์กรที่แยกต่างหากออกไป แล้วเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง ในส่วนของการเมืองอาจจะปรับครม. อาจจะเปลี่ยนรัฐบาล อาจจะมีการยุบสภา แต่กระบวนการตัวนั้นจะเดินหน้าต่อไป แล้วจะกลับมาสู่ประชาชนอีกทีตอนลงประชามติ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงปลายๆปีหน้า ก็เป็นไปได้ครับ
Q : ความอยู่รอดของรัฐบาลตอนนี้ เริ่มมีการพูดถึงรัฐประหาร เงื่อนไขความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมีแค่ไหนอย่างไร
A : ผมว่าไม่มีใครยากทำรัฐประหาร ไม่มีใครอยากทำหรอก แต่ว่าประเทศไทยมันก็มีมาตลอด คงไม่มีใครรับประกันอะไรได้ แต่ ว่าอย่างหนึ่งอย่างคำว่า “รัฐประหาร” มันก็ผุดขึ้นมาจากคนของรัฐบาลเองที่ออก มาพูดว่าเดือนธันวาคม แล้วก็พูดว่าให้เตรียมการอะไรต่ออะไร คือผมว่า สิ่งหนึ่ง ที่เครือข่ายของรัฐบาลเขาต้องพูดสิ่งเหล่านี้ไว้ กึ่งๆการปลุกผีรัฐประหาร ก็เพื่อดำรงการหล่อเลี้ยงมวลชน หล่อเลี้ยงกระแสมวลชน หล่อเลี้ยงการจัดตั้งมวลชน หล่อเลี้ยงการเตรียมการมวลชนของเขา เพราะว่าเขาจะเป็นคณะที่ไม่ได้ต่อสู้การเมืองในระบบอย่างเดียว แต่ว่ามีการเมืองนอกระบบ การเมืองภาคประชาชน การจัดตั้งมวลชน ดำเนินการคู่ขนาน แล้วตอนนี้ก็เข้ามาหล่อรวมเป็นเนื้อเดียวกัน มีผู้นำมวลชนเข้ามาสู่ตำแหน่งในภาครัฐ มีผู้นำมวลชนก้าวเข้าสู่การเมืองท้องถิ่น แล้วไปอยู่ทุกจุด ภายใต้ข้ออ้างว่า “เตรียมการต่อต้านการรัฐประหาร” ภายใต้ข้ออ้างว่า “ต้องเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้กับรัฐบาล” หรือภายใต้ข้ออ้างที่คนเสื้อแดงเขาก็พูดชัดเจนว่า “ชัยชนะในการเลือกตั้งมั เป็นเพียงชัยชนะขั้นต้นเท่านั้น มันยังมีขั้นต่อไป” เพราะว่า รากฐานของอำมาตย์ยังอยู่ เขาก็ต้องชูการต่อต้านรัฐประหารไว้เพื่อหล่อเลี้ยงมวลชนไว้ตลอดไป
Q : เมื่อพูดถึงเสื้อแดง มีบางฝ่ายมองจุดประสงค์เสื้อแดงว่า ถึงขั้นล้มล้างสถาบัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ปลายทางในขั้นสุดท้ายของคณะนิติราษฎร์จะมาบรรจบกับคน เสื้อแดง
A : เป็นไปได้แต่คงไม่ง่าย เพราะว่าผมเชื่อว่าเสื้อแดงเขาก็มีหลากหลาย คือเป้าหมายรวมๆอาจจะเหมือนกัน...ประชาธิปไตยสมบูรณ์ แต่สมบูรณ์ของแต่ละคน แต่ละความคิดมันต่างกัน อย่างที่บอกสีแดงมีหลายเฉดสี มันก็เป็นดาบสองคมสำหรับเบอร์ของเขา คือคุณทักษิณเหมือนกัน เพราะว่าในการที่จะหล่อเลี้ยงหลายเฉดสีเข้าไว้ด้วยกัน หล่อเลี้ยงเป้าหมายความต้องการของแต่ละส่วนแต่ละกลุ่มที่อาจจะมีต่างระดับ กันไป ให้เป็นพลังอยู่ด้วยกัน มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมาเขาก็ทำได้ดีพอสมควร แต่ว่าไอ้เฉดสีแรงๆ เฉดสีจัดๆของเสื้อแดงที่แสดงออกมามัน...บางทีมันเกินไป แล้วมันจะทำให้คนไทยที่อาจจะไม่ได้ใส่เสื้อสีอะไรเลย หรืออาจจะเป็นเสื้อแดงอีกเฉดหนึ่ง หรือเป็นคนที่ไม่อยากยุ่งกับการเมืองมาก่อนเลย พอเขาเห็นมากขึ้น เห็นภาพต่างๆเหล่านี้แล้วเขาอาจจะรับไม่ได้ ทนไม่ได้ เขาก็ต้องแสดงออกบางสิ่งบางอย่างถึงความไม่เห็นด้วยอะไรออกมา มันก็อาจจะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนจะราบรื่นของทางเพื่อไทย ในที่สุดก็อาจจะไม่ราบรื่นก็ได้
…………………….
วอนแกนนำ นปช.“จตุพร-ณัฐวุฒิ” หันมาเหลียวแลคนเสื้อแดงที่ลำบากบ้าง
|
|
ข้อตกลงลับ3ฝ่าย-A deal has been done?
เว็บเสื้อแดง
สุรเกียรติ์ได้เข้ามามีบทบาทในคอป.เรียบร้อยแล้วตาม"ข่าวข้อตกลงลับ3ฝ่าย"ก่อนการเลือกตั้ง 3 กรกฎา ส่วนข้อตกลับอื่นๆเช่น ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง ให้นิรโทษกรรมแก่ทักษิณ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ รวมไปถึงการรอมชอมเพื่อแบ่งสรรอำนาจของฝ่ายทัีกษิณกับชนชั้นนำจะกลายเป็นจริงหรือไม่? สาธารณชนพึงจับตามองต่อไป
สุ รเกียรติ์ได้เข้ามามีบทบาทในคอป.เรียบร้อยแล้วตาม"ข่าวข้อตกลงลับ3ฝ่าย"ก่อน การเลือกตั้ง 3 กรกฎา ส่วนข้อตกลับอื่นๆเช่น ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง ให้นิรโทษกรรมแก่ทักษิณ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ รวมไปถึงการรอมชอมเพื่อแบ่งสรรอำนาจของฝ่ายทัีกษิณกับชนชั้นนำจะกลายเป็น จริงหรือไม่? สาธารณชนพึงจับตามองต่อไป
เมื่อวานนี้( 23 กันยายน) ที่โรงแรมสยามซิตี นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พร้อมด้วยนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการ คอป. แถลงข่าวเปิดตัวทีมที่ปรึกษา คอป. ซึ่งมีทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและในประเทศจำนวน 6 คน
ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในประเทศมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มีนางพริสซิลล่า เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน นายฮันซัน วิราจูดา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย นายเดวิด เคเนดี้ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนายเดนิส เดวิด อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ แอฟริกาใต้
นายสุรเกียรติ์กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษาจะเข้ามาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ ตามโอกาสที่เหมาะสม แต่จะไม่เข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจ เพราะเป็นหน้าที่หลักของ คอป. โดยมีแผนที่จะเชิญบุคคลสำคัญระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากประเทศต่างๆ เช่น นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นายริคาร์โด ลากอส อดีตประธานาธิบดีชิลี และนายมาร์ทติ อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์
ด้านนายคณิตกล่าวว่า การมีที่ปรึกษาชาวต่างชาติเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาจะช่วยให้การทำงานของ คอป. ดำเนินไปในทิศทางที่ดี
ก่อนหน้านี้ก็เคยเสนอมาแล้ว เรื่อง
ปูดข้อตกลงลับ3ฝ่าย พลังพิเศษยอมเพื่อไทยตั้งรัฐบาล แลกนิรโทษกรรมมาร์ค+ฆาตกร91ศพ-หยุดหมิ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
24 ก.ย.
(7)
- แนวประชานิยม เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ต่างที่ "โนว์ฮาว"
- เปิดพจนานุกรมฉบับปูกิ๊ เยาวชนจ๋าอย่าลอกเลียน 'จอมง...
- คิวมท.ล้างเครือข่าย"เนวิน"
- ผงะ! 68 หน่วยงานรัฐควักเงินจ้าง“ยาม”องค์การทหารผ่า...
- ตีแสกหน้าใส่'นิติราษฎร์' ฉะอ้าปากก็เห็นริดสีดวง
- วอนแกนนำ นปช.“จตุพร-ณัฐวุฒิ” หันมาเหลียวแลคนเสื้อแ...
- ข้อตกลงลับ3ฝ่าย-A deal has been done?
-
▼
24 ก.ย.
(7)
-
▼
กันยายน
(189)