อธิปัตย์
นับแต่อดีตกาลเป็นต้นมา
“อำนาจ” ทั้งหลายทั้งปวงที่พึงจะมีได้ล้วนถูกเสกสรรค์ปั้นแต่งตามแต่
“สถานะ” ของบุคคลนั้น หากบุคคลใดมี
“สถานะ” ที่สูงส่งก็ย่อมมี
“อำนาจ” สูงส่งตาม สถานะจึงกลายเป็นเครื่องมือกำหนด
“ขอบเขต” ของการใช้อำนาจ แม้ว่าจะมีสถานะสูงส่งเพียงใดหากใช้อำนาจในทางที่มิชอบ อำนาจอื่นๆที่มีในสังคมก็สามารถโค่นล้มอำนาจที่มิชอบได้
การตีความเรื่อง
“อำนาจ” นั้นมีปัญหามาอย่างยาวนาน
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากอำนาจที่มากกว่าย่อมพึงพอใจในกฎเกณฑ์และขอบเขตแห่ง
อำนาจนั้น แต่หากผู้ใดเสียผลประโยชน์จากอำนาจที่เหนือกว่า
ก็ย่อมมีการต่อต้านเป็นธรรมดา เหตุบ้านการเมืองจึงไม่สงบสุขมาแต่อดีตกาล
ถ้าเป็นบุคคลธรรดาเราเรียก
“อำนาจ” ว่า
“อำนาจ” แต่หากเป็นกษัติรย์เราเรียกว่า
“พระราชอำนาจ” ในบทความชิ้นนี้เป็นการพูดถึงกษัตริย์ดังนั้นเราจะเรียกอำนาจว่า
“พระราชอำนาจ”
แท้จริงแล้วคำว่า
“พระราชอำนาจ” ก็เสมือนเป็น
“หน้าที่” เป็นสิ่งที่ระบุว่าหน้าที่ของกษัตริย์นั้นมีอะไร มีขอบเขตเพียงใด หากเรามองดูกับหน่วยงานภาครัฐ
“อำนาจนายกรัฐมนตรี” ย่อมมีมากกว่า
“อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด” ดังนั้นหากมองในอีกมุมหนึ่ง
“อำนาจ” เป็นเครื่องหมายแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้ทำ ยิ่งอำนาจมากเท่าใด การรับผิดชอบต่องานก็ยิ่งมากเท่านั้น
พระราชอำนาจอันมีแต่เดิมของพระมหากษัตริย์ไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมีเป็นล้นพ้น แต่ก็ถูกกรอบของ
“กฎหมาย”
อย่างเช่น กฎมณเฑียรบาล ทศพิธราชธรรม
และนอกจากตัวกฎหมายที่เป็นกรอบแลวก็ยังมีตัวบุคคลเช่น อภิรัฐมนตรี
รัฐมนตรีสภา เชื่อพระวงศ์ ขุนนาง เป็นต้น
ดังนั้นหากจะกล่าวว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเป็นล้นพ้นก็เห็นว่าจะ
ต้องกลับไปมองดูประวัติศาสตร์กันเสียใหม่
เพราะนับแต่การกฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา
อำนาจของพระมหากษัตริย์ที่แต่เดิมมีกรอบของกฎหมายบังคับ
ก็เริ่มมีตัวบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ในสมัยประชาธิปไตย
“พระราชสถานะ” ของพระมหากษัตริย์เป็น
“ประมุขแห่งรัฐ” และจะต้องใช้
“พระราชอำนาจ”
ผ่านอำนาจทั้งสามคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
โดยทั้งสามส่วนมีประมุขที่รับผิดชอบคือ ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี
และประธานศาลฎีกา แม้ว่าทั้งสามจะมี
“สถานะ” เท่าเทียมกันเพราะต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในพระราชอำนาจแต่เดิมของพระมหากษัตริย์ แต่ทั้งสามก็มี
“หน้าที่” ที่ต่างกัน และความสำคัญที่ต่างกัน
โดยอำนาจท้ังสามนั้นเป็น
“ตัวแทนใช้พระราชอำนาจ”
ซึ่งในอดีตพระมหากษัตริย์จะคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดี
ผบ.เหล่าทัพ
แต่ในปัจจุบันการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆนั้นมาจากคัดเลือก
โดยประชาชน โดยองค์กร โดยรัฐบาล
แลัวจึงจัดการทูลเกล้าฯเพื่อให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าแต่งตั้งลงมาดังนั้น
ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็เป็นเสมือน
“ตัวแทน” จากองค์พระมหากษัตริย์ที่ได้รับอำนาจไปปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับ
และเพราะมิใช้พระมหากษัตริย์เป็นผู้
“คัดเลือก” ด้วย
พระองค์เอง
หรือหากจะพูดในอีกแง่มุมคือทรงไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบทางการเมือง
ดังนั้นในพระบรมราชโองการแต่งตั้งใดๆก็ตามก็จะมี
“ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” รับผิดชอบในการแต่งตั้งนั้นๆไป หากเกิดความผิดพลาดใด ผู้รับสนองฯจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ในแง่มุมเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยมีการเสวนาและอภิปรายกัน
กว้างขวางมากในช่วงเวลานี้
มีการเสนอให้แก้ไขเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับพระมหากษัติรย์
หรือกระทั่งมิให้มีพระราชดำรัสโดยตรงกับประชาชนอย่างเช่นกษัตริย์ในต่าง
ประเทศ ดังนั้นก่อนที่เราจะคล้อยตาม หรือไม่เห็นต่างในประเด็นเหล่านี้
เราควรทราบที่มาและที่ไปโดยเฉพาะขนบธรรมเนียม
ประเพณีปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในประเทศแม่แบบเสียก่อนครับ
ตอนนี้ในโลกเรามีประเทศที่มีกษัตริย์ ๒๘ ประเทศ โดยมี ๖
ประเทศเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ส่วนที่เหลือเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์เป็นประมุข
โดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ
ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้น่าสนใจว่า…”ในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข กลุ่มแรกคือ กลุ่มต้นแบบ มีอังกฤษเป็นตัวหลัก
อังกฤษ
นี่เป็นแม่แบบของประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งจะมีหลักตั้งแต่ประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ใน ค.ศ. ๑๘๖๗
ว่าพระมหากษัตริย์ หรือพระราชินีนาถ จะไม่ทรงมีพระราชดำริทางการเมืองใด ๆ
ทั้งสิ้น แต่จะทรงทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
ที่รับผิดชอบต่อสภาสามัญซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร
และสภาก็รับผิดชอบต่อประชาชน ดังนั้น จึงถือว่าพระมหากษัตริย์อังกฤษ
ไม่ทรงกระทำผิด ที่เรียกว่า the king can do no wrong ที่ไม่ทรงกระทำผิด
เพราะทรงทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
ในฐานะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและผู้ถวายคำแนะนำ
เกิดความผิดทางการเมืองทางกฎหมายขึ้น คนถวายคำแนะนำต้องรับผิดชอบ
และถือเป็นธรรมเนียมว่า ทรงมีพระราชอำนาจสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑.
พระราชอำนาจที่จะให้คำแนะนำ ๒. พระราชอำนาจที่จะสนับสนุนและให้กำลังใจ ๓.
พระราชอำนาจที่จะทรงเตือน วันนี้ก็ยังถืออยู่ รัฐธรรมนูญอังกฤษทุกเล่ม
พูดถึงเรื่องนี้
ในอังกฤษพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถ
ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงจะพูดกับประชาชนได้ มีข้อยกเว้นอยู่ 2
พระราชดำรัสที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี คือ ๑.
พระราชดำรัสเนื่องในวันคริสต์มาสสำหรับเครือจักรภพทั้งหมด ๑๖ ประเทศ และ ๒.
พระราชดำรัสให้เครือจักรภพในวันสถาปนาเครือจักรภพ
จะเห็นได้ว่าเมืองไทยไม่มีธรรมเนียมนี้
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องของพระองค์ท่านโดยแท้
หลายประเทศเอาธรรมเนียมอังกฤษไปปฏิบัติ
รวมทั้งไทยก็ถือคติว่าพระมหากษัตริย์ไทยจะไม่มีพระราชดำริทางการเมือง
เพราะทรงทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญ ม.๑๙๕
มันเป็นหลักเดียวกับของอังกฤษ และผมให้ข้อสังเกตว่าอังกฤษนั้น
พระราชินีนาถจะไม่ค่อยปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะ และเป็นสถาบันที่ลึกลับ
สูงส่ง เพราะสืบทอดอารยธรรมมาเป็นพันปี
ถ้าเป็นกลุ่มที่สองคือกษัตริย์ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เช่น เนเธอร์ แลนด์
สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ก็ใช้ธรรมเนียมเดียวกับของอังกฤษ
แต่วางพระองค์ต่างจากอังกฤษ คือ กลุ่มที่สอง
เป็นสถาบันที่ทำตัวเหมือนประชาชน”
ศ.ดร.บวรศักดิ์ ยังกล่าวว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นเสมือนเป็น
“กลุ่มที่สาม” คือการรวมเอากลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเข้าด้วยกัน
“….ประเทศ
ไทย ผมให้เป็นกลุ่มที่สาม เพราะของไทยเราจะมีลักษณะที่อยู่ระหว่างกลุ่มที่ ๑
และกลุ่มที่ ๒ ว่าเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์มายาวนาน สืบทอดอารยธรรม
วัฒนธรรม เอกราช และความเป็นเอกภาพของคนไทย
แต่พระองค์ท่านใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์
ในกลุ่มสแกนดิเนเวียด้วยซ้ำ คุณเคยเห็นไหม ที่
พระองค์เสด็จฯไปในทุกพื้นที่ที่เราไม่อยากไป เคยเห็นภาพหรือไม่
ที่ประทับนั่งบนพื้นดิน และทรงแผนที่ รับสั่งกับประชาชนด้วยคำสามัญ
จากพระราชกรณียกิจในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ๖๕
ปีที่ทรงเสวยราชสมบัติ มีโครงการพระราชดำริ ๔๐๐๐ กว่าโครงการ และผมคิดว่า
ถ้าควีนทำอย่างนี้ในอังกฤษ ก็ไม่แน่ว่าจะได้รับการยอมรับ
เพราะเขาเน้นปฏิบัติตามจารีต…”
ผมจะขอสรุปถึงที่ไปที่มา
และชุดความคิดตะวันตกที่ครอบงำรูปแบบการปกครองของไทยที่ทำให้คนไทยเริ่มไขว้
เขวและถกเถียงกัน ทั้งๆที่ไม่ได้รับรู้ที่และที่ไปอย่างแท้จริงดังนี้ครับ
๑.คนสยามหรือกระทั้งหลายๆอาณาจักรในเอเชียตะวันออก
ล้วนมีคติความเชื่อโบราณ ความคิดเป็นเหตุเป็นผลจากศาสนาพุทธ ลัทธิเทวราชา
การเวียนว่ายตายเกิด
ผลบุญที่สั่งสมในอดีตชาติทำให้ในปัจจุบันชาติมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
จนเกิดเป็น
“วรรณะ” หรือการแบ่งชนชั้น
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ยากที่จะอธิบายให้คนต่างชาติเข้าใจ
หรือกระทั่งในปัจจุบันหลายคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ก็ไม่มองจุดๆนี้
กลับเอาความคิดของตะวันตกมาตัดสินอดีตของคนตะวันออกอย่างไม่ใยดี
๒.สถานะของกษัตริย์หรือจักรพรรดิของคนตะวันตก(ยุโรป)
จากเดิมมีความเชื่อเรื่องเทวดาเรื่องเทพเจ้า(ซึ่งเป็นเรื่องปกติของยุค
โบราณ)ต่อมาเมื่อคริสต์ศาสนาเข้ามาในยุโรป
สถานะของกษัตริย์จากเทพเจ้าก็กลับสู่สามัญเป็นคนธรรมดาในสายตาของราษฎรและ
ขุนนาง เพียงแต่สถานะของกษัตริย์ถูกทำให้สูงขึ้นด้วยศาสนา
คือเป็นกลุ่มคนที่
“เคร่งศาสนา” มากกว่าราษฎรทั่วๆไป และด้วยเหตุฉะนี้นักคิดของยุโรปเริ่มมองเห็น
“ความเท่าเทียม” ในทุกระบบ ทุกคนล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิในการประกอบอาชีพ ทุกคนมีสิทธิในการใช้ทรัพยากรในประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้
“ขัดแย้ง” กับ
“คตินิยม” ของคนตะวันออกเรียกได้ว่า
“โดยสิ้นเชิง”
และเมื่อชนชาติยุโรปสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็วและเรียกขานตนเองว่า
“อารยะชน”
เป็นชนชาติที่เจริญแล้วได้เริ่มออกขยายดินแดนอารักขา(ล่าอาณานิคม)หาพื้นที่
เพิ่มพูนทรัพยากรเพื่อป้อนโรงงานในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม
ชาติตะวันออกที่คนตะวันตกมองเห็นเป็น
“คนป่า” (ตามบันทึกของคนตะวันตก) ไร้อารยะ และมีการกีดกัน กดขี่เสรีภาพอย่างมาก ในมุมมองของคนเหล่านั้นจึงกลายเป็น
“เค้ก” ชิ้น
ใหญ่ให้คนเหล่านั้นมาตัดแบ่งแสดงความเป็นเจ้าเขาเจ้าของ
โดยอาศัยหลุมพรางทางการเมืองที่คนตะวันออกไม่เท่าทัน
เพราะทั้งขาดผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและนักการทูตที่เก่งกาจ
ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดที่ทำให้
“นักวิชาการไทย” มองว่าเพราะความเชื่อบุร่ำบุราณของชาติเรานั้นเองได้ปิดกั้น
“ความสามารถ” ของ
ราษฎร
และจำกัดความสามารถเหล่านั้นให้กับเชื้อสายอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์
การส่งเสริมการเรียนล้วนมีแต่เจ้านายชั้นสูงเท่านั้นที่มีโอกาส
การปิดกั้นการศึกษาให้กับราษฎรเพียงเพื่อ
“อุบาย” ทางการ
เมืองเพื่อไม่ให้ราษฎรฉลาดเท่าทันผู้ปกครอง
ซึ่งอาจจะก่อปัญหาให้ชนชั้นผู้ปกครองได้
ซึ่งความคิดชุดนี้ของนักประวัติศาสตร์ที่มักจะกล่าวในยุคปัจจุบันก็เห็นได้
ว่า
“มีอิทธิพล” ค่อนข้างมากในสังคม
ดังนั้นหากไม่ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ให้ดี ชุดความคิด
“เจ้า-ขุนนาง-ไพร่”
ก็จะออกมาวนเวียนซ้ำไปมาในสังคม
ทั้งๆที่สิ่งเหล้านี้เป็นประวัติศาสตร์ที่แก้ไขไม่ได้แล้ว
ความพยายามปลุกประวัติศาสตร์ทางชนชั้นมาพูดกันเพื่อ
“หวังผล” บางอย่างในยุคสมัยประชาธิปไตยมันดูจะเป็นการ
“จงใจ” ทำลายรากฐานของบ้านเมืองตนเองเสียมากกว่า
ประวัติศาสตร์มันก็เหมือน “ดาบโบราณ”
นักประวัติศาสตร์บางคนอาจจะเห็นดาบโบราณนั่นเป็นเพียง “โบราณวัตถุ”
ที่ต้องรักษาเก็บไว้ในตู้โชว์
นักประวัติศาสตร์บางคนอาจจะเห็นดาบโบราณนั่นแล้วตั้คำถามว่า
“เคยเป็นดาบของใคร”
แต่อย่างไรก็ไม่น่ากลัวเท่ากับนักประวัติศาสตร์ที่มองเห็นดาบโบราณนั่นเป็น
ดัง “อาวุธ” ที่จะใช้ทิ่งแทงศัตรูที่ไม่มีดาบ
ใช้ประวัติศาสตร์เพื่อทำลายอนาคตแบบนักวิชาการหลายๆคนผมว่าแบบนี้มันไม่
เหมาะสมครับ