บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

“ เรื่องที่ทรงให้และทรงขอ”



         ดร.วิษณุ เครืองาม
ปีหนึ่งๆมีโอกาสสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง ทั้งที่เป็นโอกาสประจำ เช่น วันเฉลิมชนมพรรษา  วัน คล้ายวันราชาภิเษกสมรส วันฉัตรมงคล และโอกาสจร เช่น ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อย่างคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2  เมื่อไม่กี่วันมานี้
          พอ ถึงโอกาสอย่างนั้นเข้าทีหนึ่งก็มีเรื่องให้ต้องพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวผู้ทรงคุณอันประเสริฐทีหนึ่ง ไม่ว่าในเรื่องพระราชจริยวัตรอัธยาศัย พระมหากรุณาธิคุณด้วยน้ำพระราชหฤทัยอันสุดจะหาสิ่งใดเปรียบปาน หรือพระปรีชาสามารถเข้าพระทัยในการประยุกต์สรรพวิทยามาใช้แก้ปัญหาของชาติ บ้านเมืองได้อย่างเหมาะเจาะ
            วันนี้ก็ต้องพูดถึงกันอีกครั้ง  เรื่องอันเป็นมงคลยิ่งพูดถึงบ่อยๆ ยิ่งเป็นมงคลต่อผู้พูดและผู้ได้ยินได้ฟัง
          พระราชบรรพบุรุษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางฝ่ายพระบรมราชชนกนั้นสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลที่ 1  และ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค) พระราชบรรพบุรุษชั้นนี้มีเชื้อสายมอญ
พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1  คือรัชกาลที่ 2  ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าบุญรอด) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอของรัชกาลที่ 1  และเจ้าสัวเงิน จีนแซ่ตันจากปักกิ่ง
พระราชโอรสของรัชกาลที่ 2  คือรัชกาลที่ 4  พระราชบรรพบุรุษชั้นนี้จึงมีเชื้อสายจีน วันตรุษวันสารทจึงยังมีพิธีเซ่นไหว้พระป้ายบรรพบุรุษตามแบบจีนจนบัดนี้
          รัชกาลที่ 4  ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำเพย หลานปู่รัชกาลที่ 3  เป็นพระมเหสี ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ มีพระราชโอรสคือรัชกาลที่ 5  ซึ่งถือเป็นหลานทวดรัชกาลที่ 1  หลานปู่รัชกาลที่ 2  และหลานทวด (ทางแม่) ของรัชกาลที่ 3
          รัชกาลที่ 5  ทรง สถาปนา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 แต่ต่างพระครรภ์กันเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าตามลำดับ
          พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 5  และสมเด็จพระบรมราชเทวีคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย
แต่เพราะทิวงคตเสียตั้งแต่วัยหนุ่ม ลำดับการสืบราชสมบัติจึงเคลื่อนไปยังพระราชโอรสพระองค์อื่นของรัชกาลที่ 5  ที่ประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าองค์อื่น ซึ่งได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6  และ 7
          เมื่อรัชกาลที่ 7  ทรง สละราชสมบัติ ใน พ.ศ. 2477 ด้วยเหตุไม่มีพะราชอนุชาและพระราชโอรส ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น  ลำดับการ สืบราชสมบัติจึงย้อนกลับมาทางสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระราชอนุชาในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
แต่ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลาฯ ทิวงคตแล้ว กฎมณเฑียรบาลยอมให้พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลาฯ เลื่อนขึ้นมามีสิทธิรับราชสมบัติได้คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายอานันทมหิดล ทรงเป็นรัชกาลที่ 8
          เมื่อรัชกาลที่ 8  สวรรคต ใน พ.ศ. 2489 และยังไม่ได้ทรงอภิเษกสมรส ราชสมบัติจึงตกแก่พระราชอนุชา สมเด็จเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ปัจจุบัน
          รัชกาลที่ 9  จึงทรงเป็นหลานปู่รัชกาลที่ 5  หลานทวดรัชกาลที่ 4  เหลนทวดรัชกาลที่ 2  และรัชกาลที่ 1 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
          ส่วน พระราชบรรพบุรุษทางฝ่ายพระบรมราชชนนีเป็นสามัญชน เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้อยู่ในพระอุปการะของสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ และทรงได้ทุนไปศึกษาวิชาพยาบาลในสหรัฐอเมริกาจนได้ทรงพบรักกับสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลฯ บัดนี้สตรีผู้ทรงบุญญาธิการนั้นคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
          พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประสูติที่โรงพยาบาลชานเมืองบอสตันในมลรัฐแมสซาซู เซตส์ สหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลนั้นบัดนี้ย้ายที่ตั้งแล้ว แต่ยังมีแก่ใจทำป้ายติดว่า ณ ที่แห่งนี้ ทารกซึ่งถือกำเนิดคนหนึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวที่ประสูติในประเทศสหรัฐ อเมริกา
          วันนั้นคือวันจันทร์ที่ 5  ธันวาคม  2470  ขณะประสูติ ดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย และยังไม่มีเค้าว่าต่อไปจะได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์  เหตุผลคือ รัชกาลที่ 7  ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระชนกก็ยังอยู่ พระเชษฐาก็ยังอยู่ และรัชกาลที่ 7  จะทรงสมมุติยกเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ใดเป็นรัชทายาทก็ได้
          เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิรา ฯ ทรงทราบข่าวว่าหม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประสูติพระกุมารเป็นชายก็ได้เสด็จไปเฝ้ารัชกาลที่ 7  ขอพระราชทานพระนามแก่พระราชนัดดาซึ่งทรงตั้งให้ว่า ภูมิพลอดุลเดช แปลว่ามีเกียรติยศยิ่งใหญ่และเป็นกำลังของแผ่นดิน พระนามนี้แต่แรกไม่มี แต่ต่อมาเป็นภูมิพลอดุลยเดช
            เมื่อ ครอบครัวมหิดลเสด็จกลับเมืองไทย พระองค์เจ้าภูมิพลอดุยเดชได้ประทับอยู่ที่วังสระปทุมของสมเด็จพระศรีสวรินทิ ราฯ พระอัยยิกา ทรงรับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ขณะที่พระพี่นางทรงเรียนที่โรงเรียนราชินี พระเชษฐาทรงเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
          เมื่อพระชนกสิ้นพระชนม์ ครอบครัวมหิดลได้เสด็จไปประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ ครั้น พ.ศ. 2477  พระโอรสพระองค์ใหญ่ในราชสกุลมหิดลได้เป็นรัชกาลที่ 8  พระโอรสพระองค์เล็กจึงได้เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชอนุชา
แต่แรกทรงเรียนทางวิศวกรรมศาสตร์เพราะโปรดวิชาช่าง ครั้นเมื่อต้องทรงรับราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 9  มิถุนายน  2489 จึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาทางกฎหมายและการปกครอง
เคย รับสั่งเล่าว่าได้ทรงศึกษากฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญ ครั้งหนึ่งเคยทรงโต้แย้งทางวิชาการกับนักกฎหมายใหญ่ในขณะนั้นคือ ดร.  หยุด แสงอุทัย จนต้องเปิดตำราเยอรมันว่ากันข้อนี้มา 
สมกับที่ ดร. หยุด เคยเล่าให้ผมฟังว่า มารู้ที่หลังว่าถูกของพระองค์ท่าน เพราะผมเองใช้ตำราหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  แต่พระองค์ท่านทรงใช้ตำราฉบับแก้ไขใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
แม้จะทรงครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9  ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุยน  2489 แต่เพราะต้องเสด็จกลับไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ และต้องรอให้การถวายพระเพลิงรัชกาลที่ 8 ผ่านพ้นไป จึงทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามโบราณราช ประเพณี เมื่อวันที่ 5  พฤษภาคม  2493 ซึ่งถือเป็นวันฉัตรมงคล แต่การนับอายุรัชกาลต้องนับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 แล้ว
          การ เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่ประเทศไทยเป็นการถาวรในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 เป็นการเริ่มการปฎิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างเต็มพระ กำลัง
เริ่ม ตั้งแต่การเสด็จออกทรงผนวช การเสด็จฯเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด การเสด็จประพาสต่างประเทศ การมีพระราชดำริเริ่มโครงการต่างๆมากมายเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐในการช่วย เหลือประชาชน และการใกล้ชิดกับราษฎรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าตำรวจ ทหาร ข้าราชการ พลเรือน นักศึกษา เกษตรกร ชาวเขา หรือพ่อค้าวาณิช
          แม้ แต่กับรัฐบาล ก็พระราชทานพระมหากรุณาแก่ทุกรัฐบาลโดยเสมอหน้าชนิดที่รัฐบาลใดจะอ้างว่าตน ได้รับละอองแห่งพระมหากรุณามากน้อยต่างกันไม่ได้เลย พระราชสิทธิในฐานะพระมหากษัตริย์ที่จะพระราชทานคำแนะนำ  คำ ตักเตือน พระราชสิทธิที่จะพระราชทานกำลังใจและพระราชสิทธิที่จะรับคำกราบทูลถวาย รายงานข้อราชการบ้านเมืองนั้นทรงใช้แก่ทุกรัฐบาลโดยเสมอหน้ากัน
ในฐานะที่ทำงานอยู่ในทำเนียบรัฐบาลโดยหน้าที่ต่างๆกันถึง 15  ปี ผมขอยืนยันว่าพระองค์ทรงมีมาตรฐานเดียวโดยตลอด จะต่างกันก็ที่โอกาส เช่น คณะรัฐมนตรีบางคณะเข้ามาในช่วงที่ทรงพระประชวร บางคณะมีราชการงานเมืองต้องเข้าเฝ้าฯ ขอ พระราชทานมหากรุณาบ่อยหรือห่างตามเหตุการณ์
          ในการมีพระราชดำริ พระราชดำรัส และการทรงงานใดๆ ไม่มีเลยสักเรื่องที่จะแสดงว่าทรงรับเอาประโยชน์ส่วนพระองค์แม้พสกนิกรจะเต็มใจถวาย
          สมัยจอมพลถนอมเป็นนายกฯ คราวหนึ่งประจวบโอกาสครองราชย์ครอบ 25 ปี (พ.ศ. 2514) รัฐบาลจะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และถาวรวัตถุใหญ่โต ที่สุดในประเทศ ถวาย รับสั่งว่าสิ้นเปลืองและไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สร้างถนนกันรถติดดีกว่า นี่คือที่มาของถนนรัชดาภิเษก
          สมัย คุณบรรหารเป็นนายกฯ เคยกราบบังคมทูลว่า จะสร้างทาวเวอร์หรือหอคอยสูงใหญ่ข้างสะพานพระราม 9 ใช้เป็นหอดูวิว หอโทรคมนาคม และเฉลิมพระเกียรติ รับสั่งว่าเทคโนโลยีสมัยนี้ไม่ต้องสร้างหอโทรคมนาคมและเปลืองเงินเปล่าๆ
          นายกฯคนหนึ่งเคยกราบบังคมทูลถามว่า  ที่พระอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ หน้าทำเนียบรัฐบาลนั้น ตอนพลบค่ำคนมักมาจุดประทัดแก้บน  บางทีก็ยิงปืนสนั่นหวั่นไหว ดังรบกวนมาถึงสวนจิตรฯ หรือไม่ รับ สั่งว่า อยู่ที่หลักการว่าทำอย่างนั้นผิดกฎหมายไหม ถ้าผิดก็ต้องห้าม แต่ถ้าเป็นเสรีภาพก็ต้องปล่อยไป รำคาญหนวกหูก็ต้องทน อย่าใช้มาตรฐานสวนจิตรฯ หรือทำเนียบรัฐบาลมาตัดสิน
          สมัยนายกฯทักษิณ เคยกราบบังคมทูลว่า
เมื่อ ประทับรักษาพระองค์ที่วังไกลกังวลอย่างนี้ รัฐบาลจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักพระราชวังปรับปรุงวังไกลกังวล ให้สะดวกสบายสมกับที่จะใช้เป็นที่ประทับยาวนนาน รวมทั้งจะปรับปรุงโรงพยาบาลหัวหินให้ทันสมัยพร้อมทุกประการ
รับสั่งว่า การปรับปรุงโรงพยาบาลเป็นประโยชน์แก่ทุกคนถ้ามีงบก็ควรทำ แต่การปรับปรุงวังไกลกังวลเป็นเรื่องพระสำราญ แค่นี้ก็พออยู่พอเพียงแล้ว
            รัฐบาลหลายคณะ เคยออกกฎหมายที่มุ่งจะเฉลิมพระเกียรติเช่นมีคำว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช
มีพระราชกระแสให้รัฐบาลนำกลับไปปรับปรุงเพราะ  ไม่อาจทรงสถาปนาพระองค์เองได้ เช่นเดียวกับที่ใน พ.ศ. 2512  ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติยศทหารซึ่งถวายพระยศ ทางทหารเป็น จอมพล จนร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไปเองในที่สุด
          รัชกาล นี้ทรงลงพระปรมาภิไธยตรากฎหมายมาแล้ว ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกานับหมื่นฉบับ ทรงวินิจฉัยฎีกานักโทษ ฎีการ้องทุกข์ขอพระราชทานความเป็นธรรมอีกหลายพันราย บางรายขอพระราชทานยืมเงิน บางรายขอความเป็นธรรมเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย
          ราย หนึ่งพ่อตาย ลูกชายบวชหน้าไฟให้พ่อ อยู่มาก็ไม่ยอมสึก แม่มีลูกชายคนเดียวทำหนังสือถวายฎีกาว่าเดือดร้อนหนัก ขอพระมหากรุณาให้ลูกสึกมาช่วยเลี้ยงแม่เถิด โปรดให้ตรวจสอบแล้วมีพระราชกระแสว่า แท้จริงแม่ไม่ได้อยากให้ลูกสึก แต่ปัญหาคือแม่ลำบากยากจน จึงโปรดให้กรมประชาสงเคราะห์เข้าไปช่วยดูแล สอนอาชีพให้และหาเครืองมือทำมาหากินไปให้แม่ ลงท้ายแม่ก็ทำมาหากินได้ ส่วนลูกก็อยู่ไปจนเป็นสมภาร
          พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสงเคราะห์ทั้งส่วนรวมและพระองค์เองเพื่อจะได้มี พระอนามัยดีทรงงานเพื่อส่วนรวมต่อไป จึงทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ทรงเล่นคอมพิวเตอร์ ทรงฉายภาพ ทรงกีฬา ทรงวาดรูป ปั้นรูป ทรงงานไม้งานช่าง จะทรงจับงานด้านใดก็ทรงทำได้ดี
          ที่คนไม่ใคร่ทราบคือทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในเรื่องภาษาไทย การศึกษา ระบบสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และพุทธศาสนา ส่วนที่ทรงพระปรีชาทางดิน น้ำ ระบบระบายน้ำ และการแก้ปัญหาจราจรนั้นเป็นที่ทราบทั่วไปอยู่แล้ว
          เมื่อครั้งยังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผมเคยได้รับพระมหากรุณาพระราชทานคำแนะนำเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาไทยหลายหน 
ครั้งหนึ่งได้ถวาย รายชื่อ บุคคลให้ทรงแต่งตั้ง รับสั่งถามว่า ตั้งกี่คน ผมกราบบังคมทูลว่าคนเดียว ตรัสว่าคนเดียวเรียกว่า ชื่อ ถ้า รายชื่อ ต้องหลายคน
อีกคราวหนึ่ง มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า  ทูลเกล้าทูลกระหม่อมมาเพื่อทรงพิจารณา ทรงพระสรวลตรัสว่า ถ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมก็อยู่บนกระหม่อมยังไม่ถึงฉัน ถ้าจะให้ถึงฉัน ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายมาเพื่อทรงพิจารณา
          ใน ทางพระพุทธศาสนาก็ปรากฎว่าทรงรอบรู้ทั้งในทางปฎิบัติและปริยัติ ทรงรู้จักพระเป็นอันมาก เมื่อตรัสถึงเหตุการณ์ครั้งใดจะทรงย้อนไปถึงเรื่องราวครั้งเก่าก่อน เช่น  ครั้งสมเด็จพระสังฆราชยังเป็นพระญาณวราภรณ์” “ ครั้นเจ้าคุณประยุทธยังเป็นพระราชวรมุนี 
และ เคยตรัสเล่าเรื่องราวความเป็นอัครศาสนูปถัมภก ว่า ต้องทรงอุปถัมภ์ และคุ้มครองทุกศาสนา โดยไม่เลือกปฎิบัติ ทรงเล่าพระราชทานว่า ครั้งหนึ่งควีนจากประเทศหนึ่งทูลถามว่า พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าแล้วชาวพุทธนับถืออะไรกัน เหตุใดไม่ยกพระพุทธเจ้าเป็น god เสียเลย
ได้ทรงตอบว่า พุทธศาสนานับถือ ธรรม เรานับถือธรรมยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก เพราะธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก และได้ตรัสเล่าต่อไปว่า แม้ศาสนาอื่นก็ยังต้องทรงอุปถัมภ์ ฉะนั้นในฝ่ายพุทธศาสนาขอให้ทุกคนวางใจเถิดว่า จะเป็น เถรวาท มหายาน รามัญนิกาย มหานิกาย ธรรมยุต ก็ต้องทรงคุ้มครองและพระราชทานความเป็นธรรมเสมอกัน
          รัชกาล ที่ 5 นั้น อะไรที่ไม่เคยมีและไม่มีคนไทยคนใดนึกว่าชีวิตนี้จะมี แต่ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีขึ้นเป็นขึ้นทั่วถ้วน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล รถไฟ ไปรษณีย์ เลิกทาส จนคนรุ่นก่อนหน้านั้นต้องคิดว่าเหลือเชื่อ
แต่รัชกาลที่ 9นั้น  อะไร ที่ควรจะมีควรจะคิดออก ควรจะทำเป็นนานแล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ใคร่คิดไม่ใคร่ทำ ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีให้เป็นขึ้น เช่น เขื่อน ฝาย ประตูระบายน้ำ ถนน สะพาน การสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน คนประสบภัยธรรมชาติ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มผลผลิตการเกษตร การแก้ปัญหาความยากจน ปัญหาพลังงาน
          สมัยผมเป็นเลขาธิการ ครม.  ต้อง ทูลเกล้าฯถวายเอกสารใส่ซองขนาดใหญ่สีขาวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รับสั่งต่อไป หน้าซองไม่ต้องเขียนเลขที่หนังสือ จะได้หมุนเวียนกลับลงมาใช้หลายหน ไม่ต้องทิ้ง แม้แต่เรืองเล็กๆก็ควรประหยัด เวลาร่างกฎหมายโปรดให้ถวายปะหน้า 2 แผ่น เผื่อว่าทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหมึกซึมเลอะ จะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องรอถวายใหม่ เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้า เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฎิญาณ จะตรัสว่าให้รีบมาจะได้รีบไปทำงานไม่ต้องห่วงว่าติดเสาร์อาทิตย์ ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ
            พระมหากรุณาธิคุณปานนี้จะหาได้จากที่ไหนอีกเจ้าประคุณเอ๋ย!
          ปี 2538   สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีสวรรคต ลองคิดดูว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงวิปโยคขนาดไหน เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมที่พระที่นั่งดุสิตฯ ทุกราตรี แต่ทราบกันบ้างหรือไม่ว่าพอพระสวดจบ เสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งราชกรัณยสภาใกล้ๆกัน พระราชทานคำแนะนำการแก้ปัญหาจราจรแทบทุกคืน
ปี 2553 อยู่ระหว่างประชวรประทับในโรงพยาบาล พระราชกรณียกิจอื่นภายนอกโรงพยาบาลทรงงดเสียเกือบสิ้น แต่การเสด็จไปเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ทอดพระเนตรโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมและเปิดสะพานระบายการจราจรเพื่อพสกนิกรของ พระองค์ เป็นเรื่องที่ทรงถือเป็นกิจสำคัญ
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นยอดแห่งผู้อดทน  อด กลั้น ในการประกอบพระราชกรณียกิจนั้นย่อมมีทั้งร้อนทั้งหนาวยาวนานและน่าเหนื่อย หนัก ดูเอาจากการพระราชทานปริญญาบัตรเถิด แม้แต่ที่ต้องทรงอดกลั้นด้วยขันติบารมีในคำจ้วงจาบหรือระคายเคืองเบื้องพระ ยุคลบาทอีกไม่รู้เท่าไร อย่าลืมว่า พระชนมพรรษา  83  แล้ว ทรงงานมา 64 ปีแล้ว
          ดะไลลามะเคยพูดว่าใครอย่ามาชมตัวท่านเลยว่าเป็นยอดคน ไปดูที่พระเจ้าแผ่นดินเมืองไทยเถิด 
ผมเคยไปเฝ้าฯเจ้าชายจิกมี กษัตริย์หนุ่มแห่งภูฎาน ตรัสว่ากษัตริย์ของท่านเป็นแบบอย่างของข้าพเจ้าในการจะครองราชย์ให้คนรัก
สุลต่านบรูไนที่เป็นผู้แทนกษัตริย์  25  ประเทศ ถวายพระพรในคราวฉลองการครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2549  เคยทูลว่า การครองราชย์นานถึง 60 ปีเป็นเพียงตัวเลข สำคัญอยู่ที่ว่า 60 ปีนั้นได้ทำอะไร
          เป็น ที่ประจักแล้วว่า ฝ่าพระบาททรงทำทุกอย่างตลอด 60 ปี ให้เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ชาวเอเซีย และชาวโลก วาระนี้จึงทรงเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาพระราชามหากษัตริย์ทั้งปวงโดยทั่ว กัน
          เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2552 มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า  ความสุขความสวัสดีของพระองค์จะมีได้ก็ด้วยการที่บ้านเมืองมีความเรียบร้อย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้มีแต่ทรงให้พวกเรามาตลอด แต่พระราชดำรัสนี้มีนัยเป็นทั้งสิ่งที่ ทรงหวัง ทรงบอกให้รู้ และทรงขอ  ซึ่งน่าจะทรงประสงค์ยิ่งกว่าคำถวายพระพร  ทรงพระเจริญ
          ไหนว่า ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย
แล้วเรื่องอย่างนี้เราคนไทยจะพร้อมใจกันจัดถวายได้ไหมครับ
            0          0          0

คอป. ตั้งที่ปรึกษาภายนอก 6 คน ‘สุรเกียรติ์-ชัยวัฒน์’ ร่วมทีม


นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แถลงข่าวเปิดตัวทีมที่ปรึกษา คอป. จำนวน 6 ราย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชาวไทย 2 ราย และชาวต่างชาติ 4 ราย
  • นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นางพริสซิลล่า เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
  • นายฮันซัน วิราจูดา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
  • นายเดวิด เคเนดี้ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • นายเดนิส เดวิด อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ แอฟริกาใต้
นายสุรเกียรติ์กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษาจะเข้ามาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ ตามโอกาสที่เหมาะสม แต่จะไม่เข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจ และมีแผนจะเชิญบุคคลสำคัญในระดับนานาชาติเข้ามาให้คำปรึกษาด้วย
คณิต ณ นคร (ภาพจาก Facebook ของ คอป.)
นายคณิต ระบุว่า การมีที่ปรึกษาชาวต่างชาติเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาจะช่วยให้การทำงานของ คอป. ดำเนินไปในทิศทางที่ดี  ยืนยันว่า คอป. ยังเป็นอิสระ จะพยายามทำทุกวิธีทางให้เกิดสันติปรองดอง ซึ่งการตัดสินใจทุกอย่างที่จะมีขึ้นในอนาคต เป็นการตัดสินใจของ คอป.
ข้อมูลจาก มติชนMCOT,

คอป. บอกอาจอยู่เกิน 2 ปี, ระบุรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ให้ความร่วมมือ

นายคณิต ให้สัมภาษณ์ว่า การทำงานของ  คอป. ไม่ได้มุ่งมั่นว่าสิ่งที่ดำเนินการจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในเร็ววัน เราจะเผยแพร่ความรู้ว่าการดำเนินการต่อไป  ทหารต้องจัดการกับปัญหาอย่างไรจึงจะถูกต้อง เพื่อช่วยยับยั้งการใช้กำลังแก้ปัญหาในอนาคต
ส่วนที่มองว่า คอป.มีคนทำงานน้อยเกินไป นายคณิต กล่าวว่า ยอมรับว่า คอป.เป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่ใช้วิชาการในการทำงานเพื่อความเข้าใจ เชื่อว่าทำให้เกิดการเชื่อถือศรัทธาต่อสาธารณะ และความจริงแล้วอายุการทำงานของ คอป. จะไม่ให้เกินของคณะกรรมการชุดที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เพราะทราบดีว่าที่สุดแล้วระหว่างทำงานมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในอนาคตถ้าคิดว่างานของ คอป. เป็นประโยชน์ อาจทำงานยาวกว่า 2 ปีก็ได้ หากเรื่องยังไม่จบ แต่ต้องขึ้นอยู่กับสังคมต้องการหรือไม่ ถ้าให้ทำก็ยินดีทำงานต่อ นอกจากนี้บทบาทของอัยการถือว่าสำคัญเช่นกัน เพราะหากมีการแยกแยะดีๆ ในการดำเนินคดีต่าง ๆ จะช่วยทำให้เกิดความปรองดองได้มาก
นายคณิต ระบุว่า คอป.กำลังเร่งทำวิจัยโดยเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญประเทศเยอรมัน เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างทหารกับรัฐบาลควร เป็นอย่างไร เพื่อระงับยับยั้งการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ระบุว่า รัฐบาลที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือน้อย แต่รัฐบาลชุดนี้เชื่อว่าจะให้ความร่วมมือดีขึ้น การมีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจะทำให้ คอป.ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง กล่าวว่า สิ่งแรกที่ทำได้เร็วที่สุด คือ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย มีทั้งผิดและถูก แต่เพื่อให้เงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรงน้อยลง จำเป็นต้องมีการเยียวยาให้เร็วที่สุด และจากการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ เชื่อว่า คอป.ได้เดินหน้ามาถูกทางแล้ว
ข้อมูลจาก MCOT, Voice TV

คอป. เตรียมเสนอให้ยกเลิกกฎหมายก่อการร้าย เพราะไม่ถูกหลักประชาธิปไตย

นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ยังกล่าวถึง กรณีการเสนอแก้กฎหมายก่อการร้าย ว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงและกฎหมายดังกล่าว ยังมีความไม่ถูกต้องตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจาก มีการออกมาเป็นพระราชกำหนด ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ซึ่ง คอป. กำลังพิจารณาว่า ควรจะยกเลิก หรือ ควรจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอย่างไร
นายคณิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้าย ฝ่ายบริหารออกเป็นพระราชกำหนด จนกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นเรื่องใหญ่ในบ้านเรา ตนจึงมีแนวคิดที่จะเสนอรัฐบาลให้แก้ไขกฎหมายก่อการร้าย โดยเทียบเคียงกับอั้งยี่ตามที่สากลกำหนด เนื่องจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องระดับสากล แต่อั้งยี่จะเบาลงมา ซึ่งกฎหมายมีบทลงโทษเพื่อไม่ให้ไปทำผิดอีก โดยที่ต่างประเทศจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ของไทยอั้งยี่คือโทษประหารชีวิต ซึ่งรุนแรงมากเพราะกฎหมายไทยใช้ผิดหลักเกณฑ์ไปหมด
ข้อมูลจาก INN, กรุงเทพธุรกิจ

ยงยุทธ ประกาศรีบตั้งคณะกรรมการติดตามข้อเสนอของ คอป.

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่า กรอบการทำงานก็จะเป็นไปตามที่ คอป.มีมติมา จะมาว่าซูเอี๋ยกับตน หรือไม่เป็นธรรมก็ไม่ได้ เพราะ คอป.ตั้งโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่รัฐบาลตนก็จะนำข้อเสนอ คอป.มาปฏิบัติ เพราะเป็นข้อเสนอที่เป็นธรรม เป็นกลาง ชัดเจน ถูกต้อง ทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งงานนี้ต้องเร่งทำเพราะผ่านเวลามานาน คนเดือดร้อนก็มีมาก คนเจ็บก็มี คนตายก็ตายมานาน คนที่อยู่ในเรือนจำก็มี ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนองค์ประกอบคณะกรรมการนั้น ตนก็จะรีบดำเนินการแต่งตั้ง และงานไม่ทับซ้อนกับคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน เพราะคณะกรรมการชุดนั้นดูภาพรวม แต่ของตนจะดูเฉพาะปัญหา
ข้อมูลจาก มติชน


คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยมี คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ถูกแต่งตั้งโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

คณะกรรมการ

นายคณิต ณ นคร ได้เปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553
ภายหลังเปิดเผยชื่อ นายไพโรจน์ พลเพชร ได้ถอนตัวออกจากคณะกรรมการชุดนี้ โดยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นการเข้าใจผิดกันระหว่างการแต่งตั้งกรรมการ และต้องการทำงานเป็นอิสระจาก คอป. โดยจะตรวจสอบ คอป. แทน


Siam Intelligence

“นโยบายรัฐบาลกับทิศทางประเทศไทย”

“นโยบายรัฐบาลกับทิศทางประเทศไทย” โดยศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีผู้ร่วมเสวนาสามท่านคือ รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ

ดร.นิพนธ์ฯ วิพากษ์จากจำนำข้าวถึงค่าแรง

ช่วงแรกของการเสวนาดร.นิพนธ์ได้เปิดฉากวิพากษ์นโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ว่ามีจุดประสงค์ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจหรือเพื่ออะไรกันแน่ โดย ดร.นิพนธ์ได้ให้ความเห็นว่านโยบายในปัจจุบันเน้นไปที่การส่งผลกระทบทาง เศรษฐกิจ เช่นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อรถ ซื้อบ้าน ซึ่งเป็นประชานิยมของชนชั้นกลาง
นโยบายแรกที่ ดร.นิพนธ์นำมาวิพากษ์คือการจำนำข้าวเปลือก ซึ่งได้มีการย้ำว่าเป็นการใช้คำที่ผิด และควรใช้คำว่าการประกันราคาข้าวเปลือกแทนเพราะรัฐรับซื้อข้าวเปลือกในราคา ที่สูงกว่าตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับรายได้ให้กับชาวนา เพิ่มราคาข้าว และเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศ
แต่ อ.นิพนธ์ได้โต้แย้งวัตถุประสงค์ดังกล่าวของรัฐบาล โดยยกข้อมูลเชิงสถิติที่ว่า ในประเทศไทยมีชาวนาเพียง 21% หรือราว 1 ล้านครัวเรือน ที่มีผลผลิตเหลือขาย ซึ่งชาวนาในส่วนนี้เป็นชาวนาที่มีฐานะดีและอยู่ในเขตชลประทาน ส่วนชาวนาที่ยังยากจนและไม่มีข้าวเหลือขาย ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายจำนำราคาข้าว อีกทั้งผลสำรวจทางสถิติจากนโยบายจำนำราคาข้าวครั้งก่อนได้แสดงให้เห็นว่า มีผลประโยชน์เพียง 38% ที่ตกอยู่กับชาวนา และชาวนาที่เข้าโครงการก็มีเพียง 6.24 แสนครัวเรือน จากทั้งหมด 4 ล้านครัวเรือน ส่วนผลประโยชน์ที่เหลือก็จะตกอยู่กับโรงสีและผู้ส่งออก ซึ่งมีผู้ส่งออกสองรายใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการจำนำข้าวสูงถึง 18% จากทั้งหมด
นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังทำให้ราคาข้าวเปลือกแพงขึ้นจนรัฐต้องทำการอุดหนุนข้ามมวล ชนเพื่อขายในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดคิวซื้อข้าว หากสังเกตดีๆจะพบว่า นโยบายจำนำข้าวเปลือกนี้ ไม่ต่างจากการนำเงินภาษีไปเพิ่มระดับราคาข้าวให้สูงขึ้นในตอนแรก และใช้เงินภาษีเพื่อลดราคาให้ต่ำลงเพื่อขายให้คนยากจน
ส่วนในด้านการส่งออกข้าว หากรัฐบาลไทยยัง Stock ข้าวก็จะทำให้คู่แข่งฉวยโอกาสที่ข้าวไทยไม่ออกสู่ตลาด เทขายข้าวในราคาที่สูง ส่วนเรื่องความเชื่อที่ว่ารัฐบาลจะเดินสายขายข้าวในราคา Cost Plus นั้นเป็นเพียงความคิดที่เคยพยายามและไม่เคยประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้การ Stock ราคาข้าวยังทำให้เกิดภาระขาดทุนที่แฝงอยู่ในบัญชีหนี้สินของรัฐบาล
อีกนโยบายหนึ่งที่ ดร.นิพนธ์เลือกมาวิจารณ์คือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งในส่วนนี้ ดร.นิพนธ์เห็นด้วยในการขึ้นค่าแรง แต่ไม่ใช่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั้งประเทศ เนื่องจากประเทศไทยใช้กลยุทธ์ต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อตีตลาดส่งออกตลอดมา และหากย้อนกลับไปมองในอดีตจะพบว่า Real GDP ของไทยมีการเติบโตอย่างมาก แต่ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันกลับลดลงหากเทียบกับในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่
ดร.นิพนธ์ยังเสริมอีกว่า กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ จะบังคับใช้ในตลาดแรงงานใหม่หรือแรงงานไร้ฝีมือที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน หากมีการบังคับใช้กฎหมายนี้จริงนายจ้างย่อมเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารเป็น การจ้างงานในตลาดแรงงานมีฝีมือและใช้เครื่องจักรทดแทน หรือไม่ก็เลือกใช้ตลาดแรงงานนอกประเทศ ส่งผลให้แรงงานไร้ฝีมือเหล่านั้นตกงานและต้องหางานจาก Informal Sector ซึ่งจะยิ่งทำให้ถูกกดค่าแรงลงไปอีก สุดท้ายแล้วก็ไม่ต่างจากการถ่างกว้างช่องว่างความเหลื่อมล้ำของสังคมในทาง อ้อม อย่างไรก็ตาม ดร.นิพนธ์เสนอทางออกว่ารัฐควรมีการยกระดับฝีมือแรงงานโดยร่วมมือกับภาคเอกชน มากกว่าการแก้ปัญหาโดยเบียดขับแรงงานไร้ฝีมือออกจากภาคธุรกิจ
หลังจากการบรรยายของ ดร.นิพนธ์ ทางด้านคุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้ให้ความเห็นไปในทิศทางที่ว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับกิจการ SME ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญของประเทศไทย รวมทั้งควรมีการส่งเสริมนโยบายทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา น้ำมันปาล์ม และอาหารทะเล สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเน้นย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 11

ดร.พิภพฯ เสนอหาจุดเด่นของประเทศไทย

ทาง รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้แสดงความห่วงใยต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพราะนโยบายของรัฐบาลนั้นเน้นหนักไปทางประชานิยม ที่ ดร.พิภพได้ให้นิยามง่ายๆว่า เกทับ บลั๊ฟแหลก แยกส่วน มองไม่ทะลุ ต้องมุบูรณาการ โดยยกนโยบายของรัฐบาลเรื่องการแจก Tablet ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ดร.พิภพกล่าวว่า การเรียนรู้ผ่าน IT เป็นทิศทางของโลกที่เราปฏิเสธไม่ได้ แต่รัฐบาลยังคิดไม่ทะลุ โดยมุ่งไปที่การดำเนินการแจกเครื่อง โดยลืมมองไปว่าใน Tablet นั้นขาดเนื้อหาที่จะใช้ในการพัฒนาความรู้ โดย ดร.พิภพได้นำเสนอแนวทางที่เด็กจะได้ประโยชน์จาก Tablet จริงๆ โดยการใส่ Application สอนภาษาต่างๆ หรือการให้ความรู้พื้นฐานของ ASEAN ที่ปัจจุบันเราแทบจะไม่รู้จักประเทศเพื่อนบ้านของเราเลย
ดร.พิภพ ยังกล่าวอีกว่า นโยบายรัฐบาลนี้เปรียบเสมือนห่วงผูกคอ 3 ชั้น ซึ่งชั้นแรกคือสิ่งที่รัฐบาลแถลงการณ์ออกมา เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ นั่นหมายความว่าประชาชน สื่อมวลชน และพรรคฝ่ายค้านย่อมสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งการทำงานของรัฐบาลยังมีลักษณะทำไป แก้ไป แต่บางครั้งอาจไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่เป็นการแก้ตัวและทิ้งปัญหาตกค้างไว้ที่ประชาชน จนเกิดเป็นห่วงผูกคอชั้นที่ 2
การทิ้งปัญหาไว้ที่ประชาชนโดยไม่ทำการแก้ไขนั้น ถือเป็นการฆ่าตัวตายทางอ้อมของรัฐบาล เพราะจะทำให้ในที่สุดแล้ว ประชาชนจะขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล จนเหตุการณ์ดังกล่าวเติบโตเป็นห่วงผูกคอชั้นที่ 3 ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆคือโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย หรือไม่ก็มีปัญหาเรียกร้องจากผู้ที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาค้างคาที่หากไม่ได้รับการแก้ไข ย่อมส่งผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรครัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ดร.พิภพได้เสนอแนวทางออกไว้คร่าวๆ คือ
  1. รัฐบาลควรหาผู้ช่วยดีๆ หรือคณะที่ปรึกษามาเพื่อลดแรงเสียดทานในการดำเนินการตามนโยบาย
  2. ควรหักห้ามใจ ไม่ให้นักการเมืองฉวยผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ
  3. สร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ
  4. หาข้อสรุปร่วมกับประชาชนในพื้นที่และ NGO
  5. หาทางป้องกันการตรวจสอบจากฝ่ายค้าน และแรงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ
นอกจากนี้ ดร.พิภพยังมีข้อเสนอแนะที่ว่า รัฐบาลไม่ควรอยากเป็นทุกสิ่ง ทำทุกอย่าง Serve ทุกตลาด แต่ควรค้นหาจุดเด่นของประเทศไทยบนพื้นฐานทรัพยาการที่มีอยู่ และมุ่งมั่นในการทำสิ่งนั้นเป็นจุดขายให้กับประเทศ หรือการทำ Thailand Global Positioning โดยตั้งคำถามว่า ต้องการให้ประเทศไทยนั้นยืนอยู่ในฐานะใดบนเวทีโลก โดย ดร.พิภพเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่สุดในขณะนี้คือการมุ่งไปที่นโยบายเรื่องอาหาร ตั้งสินค้าเกษตรมีแบรนด์และผลผลิตทางการเกษตรแปรรูป พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม Home Stay ร่วมกันออกแบบของฝากหรือสิ่งทอและหัตถกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องช่วยกันทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ โดยไม่ควรแยกปัญหาออกจากกัน
ที่สำคัญคือการยกเลิกนโยบาย TQF (กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา) ที่จะทำให้การศึกษาภายในประเทศเป็นแบบเหมาโหล โดย ดร.พิภพเห็นว่าการศึกษาในแต่ละรั้วมหาวิทยาลัย ควรมีความแตกต่างกันออกไปตามหลักสูตร ซึ่งถือเป็นความสวยงามของการศึกษา แต่วิธีคิดที่จะทำให้ทุกอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่ต่างจากการทำลายระบบการศึกษาทางอ้อม

siu_thailand

คำตอบของคำถามทำไม?‘ธาริต’ไม่โดนเด้ง


หลายอาจสงสัยว่าทำไมนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยังเหนียวแน่นอยู่ในเก้าอี้ ทั้งที่น่าจะเป็นเป้าหมายแรกๆที่ต้องถูกเด้งหลังเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นพรรคเพื่อไทย

ดูตามหน้าเสื่อแล้วนายธาริตน่าจะเป็นศัตรูอันดับต้นๆของคนเสื้อแดงรองจากผู้นำทหารในกองทัพ เพราะว่าจัดหนักใส่คนเสื้อแดงในหลายกรณี โดยเฉพาะเรื่องของคดีความ

แกนนำคนเสื้อแดงหลายคนก็ขู่คำรามเอาไว้ฮึ่มๆว่าหากเปลี่ยนรัฐบาลเมื่อไรต้องเด้งออกจากเก้าอี้แน่

วันนี้รัฐบาลทำงานมา 1 เดือน โยกย้ายข้าราชการไปแล้วกว่า 150 คน แต่เก้าอี้อธิบดีดีเอสไอของนายธาริตยังอยู่รอดปลอดภัย แถมมีทีท่าว่าจะมั่นคงเสียด้วย

คิดว่าหลายคนคงสงสัยเหมือนกันว่าทำไมและทำไม

ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่สงสัย แต่มาถึง “บางอ้อ” ก็ตอนที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของนายธาริตที่เพื่อนสื่ออย่าง “ข่าวสด” เอามาลงตีพิมพ์เอาไว้

นี่คือบางช่วงบางตอนของบทสัมภาษณ์ที่ทำให้ถึง “บางอ้อ”

“โดยกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติ เข้าใจกันตลอดว่าฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนดนโยบาย ข้าราชการประจำเป็นฝ่ายปฏิบัติเพื่อให้นโยบายสัมฤทธิผล การที่ฝ่ายบริหารจะคัดเลือกฝ่ายประจำว่าใครที่เหมาะสมและจะทำงานตำแหน่งไหนจึงเป็นความชอบธรรมตามกฎหมายและระบบ และธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านาน เชื่อว่าข้าราชการในระดับ 11 และ 10 โดยส่วนใหญ่จะเข้าใจและยอมรับระบบนี้ดี ผมเป็นผู้หนึ่งที่เข้าใจ ยอมรับในระบบและกติกานี้

เว้นแต่ว่าจะโยกย้ายให้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม อันนี้ไม่ถูกกฎหมาย ข้าราชการประจำสามารถใช้สิทธิดำเนินการตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็น ครม. ย้ายใครต่ำกว่าเดิม

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาผมถูกวิพากษ์และจับจ้องว่าเป็นผู้หนึ่งที่จะถูกโยกย้าย เข้าใจได้เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบช่วงที่ผ่านมามีการแบ่งขั้วความคิดออกเป็น 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างเป็นคนกลุ่มใหญ่

ผมไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง คดีของคนเสื้อแดงเราร่วมกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุด ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนเสื้อแดงร้อยละ 95 ไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ร้อยละ 5 ที่ก้าวล้ำเข้าไปในเรดโซนและมีความผิดตามกฎหมาย หน่วยบังคับใช้กฎหมายอย่างดีเอสไอก็ต้องเดินหน้าดำเนินคดี...

ดูจากคำสัมภาษณ์ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่จะให้ผมทำงานต่อไป ผมก็มีหน้าที่ตอบสนองนโยบายรัฐ

หลังจากมีข่าวผมไม่ถูกย้าย มีคนโทร.มาหาผมหลายประเภท แต่ประเภทที่ทำให้ผมกระอักกระอ่วนใจคือคนที่ไม่ชอบเสื้อแดง บอกว่าคุณธาริตเปลี่ยนจุดยืนหรือ คุณมาเข้าข้างรัฐบาล ทำไมไม่ทำเหมือนคุณถวิล (เปลี่ยนศรี) คุณต้องประกาศจุดยืนท้าทายให้มีการโยกย้ายจะได้ฟ้องเขา

ผมกระอักกระอ่วนใจ ทำไมผมถึงต้องถูกจับมาเป็นสัญลักษณ์ของความเกลียดชัง ให้ผมออกไปรบ ยืนแถวหน้าเพื่อสู้กับรัฐบาล ทั้งๆที่ผมเป็นคนของรัฐที่มีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐบาล แต่กลับมาคาดหวังให้ผมต่อสู้กับรัฐบาลแบบคุณถวิล ผมรู้สึกไม่เป็นธรรมกับผม

ถึงแม้ผมต้องเสียพันธมิตรหรือคนที่รักผม ดีกับผม ผมก็ต้องยอม ผมรู้สึกไม่แฟร์ที่ข้าราชการตัวเล็กๆอย่างผมจะให้เป็นตัวแทนของคนเกลียดเสื้อแดง หรือไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ และให้ผมทะเลาะกับรัฐบาล มันถูกต้องหรือ ผมว่าไม่ใช่

ผมไม่ได้เปลี่ยนสีเพราะผมไม่มีสี มีเพียงสีของข้าราชการประจำ เมื่อรัฐบาลเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยน ฝ่ายข้าราชการประจำก็ต้องเปลี่ยนไปตามนโยบาย ข้าราชการประจำมีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐ ดังนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยน การที่ข้าราชการประจำเปลี่ยนวิธีปฏิบัติตามรัฐบาลที่เปลี่ยนไปจึงไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ ในเมื่อทิศทางนโยบายของรัฐบาลเปลี่ยน ผมก็ต้องปรับตัวเปลี่ยนตามนโยบาย...หากถามว่าธาริตเปลี่ยนไปหรือไม่ ตอบได้เลยว่าธาริตเปลี่ยนไป เหมือนกับคนอื่นๆที่ต้องทำงานกับรัฐบาลที่เปลี่ยนไปและเปลี่ยนนโยบาย ผมไม่พิสดารไปกว่าคนอื่น”

เป็นไง...ถึง “บางอ้อ” กันหรือยังล่ะทีนี้ว่าทำไม?

**********************************************************************

โลกวันนี้รายวัน”

• พิสูจน์แดงล้มเจ้ามีจริง?? พิสูจน์ปชต.แบบ"ธิดา"??

      ทีนิวส์    

  “ สีแดงเป็นเพียงสัญลักษณ์ต้านรัฐธรรมนูญ 50 แต่มีคนหาเรื่องเอาสีแดงไปโยงลัทธิล้มเจ้า เรื่องบ้าเรื่องบอ   ถ้าอย่างนั้นก็ต้องลบสีแดงออกจากธงชาติหรืออย่างไร  ถ้าคิดว่าสีแดงมันน่ากลัวขนาดนั้น    สีแดงมันจะเกี่ยวกับลัทธิได้อย่างไร   ในขณะที่นิยามของคนเสื้อแดงคือคนที่รักประชาธิปไตย  แต่ก็มีความพยายามนำสีแดงไปโยงลัทธิล้มเจ้า ไปโยงกองกำลังติดอาวุธ  ทั้ง ๆ ที่เรามีแต่ตีนตบ ...” (ธิดา ถาวรเศรษฐ์  21 กันยายน 2554)


                           นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่   นางธิดา   ถาวรเศรษฐ์     รักษาการประธานนปช.   ออกมาตอบโต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง  การสุมความคิดเรื่องล้มเจ้า  และ  การสะสมกองกำลังติดอาวุธในหมู่คนเสื้อแดง   ผ่านการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ (  21 กันยายน 2554 )    ???  



                            โดยเฉพาะกองกำลังติดอาวุธ  ที่  นางธิดา   ท้าทายให้มีการตรวจสอบครั้งแล้วครั้งเล่า   ในขณะที่ภาพคนชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงเข้าใส่ทหาร   บริเวณแยกคอกวัว   เมื่อวันที่  10  เมษายน  2552   ยังคงอยู่ในความทรงจำอันเจ็บปวดของคนไทยส่วนใหญ่ ที่ไม่คิดว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยแยกผ่านฟ้า  จะถูกยกระดับกลายเป็นเหตุมิคสัญญี  



                           ไม่นับรวมหลักฐานจากคำพูดของ  นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง   ที่ย้ำแล้วย้ำอีกถึงสภาพความพร้อมของกองกำลังติดอาวุธ     ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบเดือนเมษายน  ต่อเนื่อง  พฤษภาคม 2552    เพียงแต่   นางธิดา  มักเลือกบางมุมของเหตุการณ์มานำเสนอ  เพื่อประโยชน์ของแดงนปช.ฝ่ายเดียว


                            สำคัญยิ่ง  นางธิดา  คงจะลืมไปว่าก่อนหน้านั้นใช่หรือไม่  ที่เป็นคนเขียนข้อความผ่านเฟสบุ๊ค  ว่า    ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเสียหายแต่อย่างใด   ที่มีขบวนการคนเสื้อแดงแยกตัว  แยกกลุ่มเป็นแดงสยาม หรือ  กลุ่มอิสระอื่น ๆ ...


                             ทั้ง ๆ ที่  นางธิดา  ก็รู้จัก  แดงสยาม   หรือ  แดงกลุ่มอื่น ๆ เป็นอย่างดี   ว่า  มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อสถาบันเบื้องสูงในระดับใด   โดยเฉพาะหัวขบวนแดงสยาม อย่าง  จักรภพ เพ็ญแข   ที่ประกาศตัวเป็นคนล้มเจ้าอย่างเปิดเผย  ???


                            มิหนำซ้ำกับ   นางธิดา   ในฐานะรักษาการประธานแดงนปช.   ก็แสดงตัวตนมาโดยตลอดในเรื่องการโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย   ที่ยังไม่เคยมีการนิยามความหมายอย่างชัดเจนว่า  คืออะไรกันแน่    หลังจากพรรคเพื่อไทยคว้าชัยชนะเลือกตั้ง   เป็นรัฐบาลด้วยคะแนนเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด   ??? 


                             และขณะที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า     แม้   นางธิดา  จะไม่ได้แสดงตัวตนหรือวางกรอบความคิดในทางเปิดเผยว่าอยู่ฝ่ายเดียวกับพวกล้ม เจ้า   แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมา      นางธิดา   ก็ไม่เคยแสดงท่าทีเป็นฝ่ายตรงข้าม  กับพวกล้มเจ้าอย่างชัดเจนแต่อย่างใด


                            ยกตัวอย่างจากบทความเรื่อง “ตีหญ้า ล่องูออกจากรู”   ของ  นางธิดา  เมื่อวันที่   9  กันยายน 2554     ซึ่งแสดงออกถึงท่าทีความประนีประนอมยิ่งกับหมู่คนเสื้อแดงที่มีความเห็นต่าง กัน   ในเรื่องแนวทางการต่อสู้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ


                         “เป้าหมายเรา   คือ   ระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง  จำเป็นต้องสร้างแนวคิดที่ “ไม่ใช่จารีตนิยม , ไม่ใช่อนุรักษ์นิยม , หรือไม่ใช่อภิชนนิยม  แต่เป็นเสรีนิยม ที่อนุญาตให้ความเห็นแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในสังคมได้” 


                           ไม่เท่านั้น  นางธิดา  ยังปรารภไปถึงกลุ่มขบวนการล้มเจ้า  ด้วยการเตือนสติด้วยว่า  ความหุนหันใช้อารมณ์เป็นใหญ่      อาจกลายเป็นปัญหาต่อขบวนการสร้างปริมาณมวลชน    ภายใต้มูลฐานความคิดในเชิงแตกแยก   ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย  ๆ   ถ้าเทียบเคียงกับสภาวะผู้คนในสังคมไทยที่ยังมั่นคงอยู่กับความจงรักภักดี  


                          “พวก ใจร้อน   ใจเร็ว   หรือ   พวกต้องการแสดงว่า   ฉันนั้นก้าวหน้ากว่าใคร   เป็นผู้กล้ายิ่งกว่าใคร   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันฯ    จะฟาดหัว   ฟาดหาง    ผู้อื่น      ที่พูด    หรือ  ปฏิบัติไม่เหมือนกับตน   ก็ต้องหันกลับไปดู  กลุ่มจารีตนิยมที่ด่าทอกันเป็นตัวอย่าง …”


                           “ การเอาอัตวิสัยมากำหนดการกระทำ   โดยไม่สอดคล้องกับภววิสัยทั้งในขบวนประชาชนเองและนอกขบวนประชาชน   นอกจากทำไม่ได้ผลแล้วก็ยังขัดแย้งกับประชาชนเอง   และเกิดผลเสียกับขบวนประชาชนด้วย      และนี่คือบทที่หนึ่งของการต่อสู้ของประชาชน  นั่นคือ  ต้องแยกมิตร  แยกศัตรูให้ถูกต้อง  และ มีท่าทีต่อมิตร  และท่าทีต่อศัตรูอย่างถูกต้อง… ”


                            จากแนวคิดของ  นางธิดา   สะท้อนถึงความเป็นห่วงในระดับสำคัญ   ถึงการเคลื่อนไหวของแนวร่วมแดงอีกบางส่วน   ที่มุ่งตรงเป้าหมายไปยังสถาบันเบื้องสูง   ท่ามกลางข้อพิจารณาประกอบว่า  นี่เป็นอีกครั้งที่    นางธิดา    ไม่ได้แสดงความชัดเจนถึงระดับจะแยกปลา  แยกน้ำกับหมู่เหล่าคนล้มเจ้า   ???


                              และจุดสำคัญ  ใช่หรือไม่  ที่นางธิดา  ก็ยอมรับว่า   มีมวลชนคนเสื้อแดง  ประเภทใจร้อน   ใจเร็ว  ที่เลือกแนวทางการต่อสู้โดยสถาบันเบื้องสูงเป็นเป้าหมาย  จากข้อเขียนที่ปรากฏข้างต้น ...


                            ขณะเดียวกันกับแนวคิดของ   นางธิดา   ดังต่อไปนี้       ก็อาจเป็นสิ่งที่ปุถุชนสามารถใช้วิจารณญาณมองลึกไปถึงตัวของแกนนำแดง นปช.    ในฐานะคนที่มีจุดยืนต้านอำมาตย์อย่างแน่วแน่ได้ไม่มากก็น้อย  สำหรับมุมมองเรื่องการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  ... 


                            “ เรื่อง ฎีกาประชาชนห้าล้านฉบับในหนึ่งเดือน  เป็นตัวอย่างของ กรณีการเคลื่อนไหวของประชาชนใน ลักษณะแนวร่วม ตั้งแต่ปี 2552  …  (เพราะ)  มีแกนนำบางท่านไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง  จนถึงกับแยกตัวออกไป   และ  ก็มีแกนนำที่แม้จะไม่เห็นด้วย  แต่ไม่เห็นว่า จะทำให้เกิดความเสียหายอะไร  ตรงข้ามกลับเป็นการตรวจสอบประชาชนได้ และก็มีแกนนำที่สนับสนุนเห็นด้วยเต็มที่… ”


                               นี่  คือสิ่งที่เรียกว่า  “แนวร่วม”  ที่มีทั้งความเหมือน  และความแตกต่างกัน  ฝ่ายประชาชนต้องเข้าใจว่า ภาวะ  “แนวร่วม”  ยังดำรงอยู่ในขบวนเราจนถึงปัจจุบัน   แน่นอนว่า ภาวะเช่นนี้มีทั้งจุดแข็ง  และจุดอ่อน   จุดแข็งคือมีผู้เข้าร่วม ขบวน กว้างใหญ่ไพศาล  จุดอ่อนคือ ขาดเอกภาพในองค์กรนำทางความคิด และวิธีการทำงานที่ยังต้องแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่างอยู่”


                             นอกเหนือจากการยอมรับใน ระดับสำคัญ (อีกครั้ง)  ของ  นางธิดา  ที่ยอมรับว่ามีแกนนำบางส่วนที่ไปไกลถึงสถาบันเบื้องสูง      กรณีของฎีกาแดงก็เป็นแนวทางการเคลื่อนไหว  ที่ทำให้เกิดความต่างทางความคิดในลักษณะของความเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย  ผสมปนเปอยู่ในความคิดของบรรดาแกนนำ   แต่การคบค้าสมาคมระหว่างแดงแนวร่วมต่าง ๆ    ก็ยังดำเนินไปตามปกติ  ตามทฤษฎีความคิดแสวงหาจุดร่วม  สงวนจุดต่าง     
 

                          แต่อะไรที่เป็นจุดขัดแย้งของ ความคิดเรื่องฎีกาแดง   ก็มีความน่าเชื่อถือว่าประโยคข้อความต่อไปนี้ของ   นางธิดา    น่าจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องอยู่ไม่น้อย      ตามมุมมองที่เป็นไปได้ว่าบางฝ่ายในหมู่คนเสื้อแดง   อาจไม่เห็นด้วยกับการก่อเหตุของการสร้างแรงกดดันต่อสถาบันฯ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การโต้กลับอย่างรุนแรงจากมวลชนผู้จงรัก ภักดี  ???   
 

                          เรื่องฎีกาเป็นการแสดงกำลัง เชิงสันติวิธีที่รวดเร็ว  และเป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนจำนวนมากนับล้านถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดิน  ไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนก็ตาม ไม่ว่าจะอ้างรัฐธรรมนูญหรือกฏหมายใด ๆ ก็ตาม ... 



                        ถ้าเรื่องนี้ไม่สร้างความสั่นสะเทือนต่อระบอบ อำมาตยาธิปไตย  ไฉนพวกอำมาตย์   และ  สมุนบริวาร  จะดาหน้าออกมาเต้นแร้งเต้นกา ขัดขวาง และใช้วิธีสุดท้ายคือ เอา(ฎีกา)ไปขังคุก แช่เย็น  จนสิ้นสุดรัฐบาลชุดก่อน”



                     โดยเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่าประโยคดังกล่าว  มีน้ำหนักเพียงพอจะเป็นคำตอบของคำถามกับที่มาของความขัดแย้งข้างต้น   ก็ควรได้มีการพิจารณาจากสิ่งที่  นางธิดา   ใช้คำว่า  ถ้าเรื่องนี้ (ฎีกาแดง) ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบอบอำมาตยาธิปไตย   ไฉนพวกอำมาตย์และสมุนบริวารจะ.....ขัดขวาง?? ”


                     แปลความกันตรงไปตรงมาก็ทำให้ต้องมีคำถามกลับไปถึง  นางธิดา  อีกครั้งว่า  ฎีกาแดงสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบอบอำมาตยาธิปไตย   จริง ๆ แล้วคำว่า  อำมาตยาธิปไตย  นางธิดา  หมายถึงใคร  หรือ   หรือ   สถาบัน  หรือ  องค์กรอะไร    ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข    


                     ในขณะที่ประโยคต่อมามีคำว่า  (ไฉน)  พวกอำมาตย์   และสมุนบริวาร ดาหน้าออกมาเต้นแร้งเต้นหา  ขัดขวาง ...??     ซึ่งกับคำว่า อำมาตย์  ในประโยคหลัง  ถ้าเรียงตามข้อเท็จจริงของกระแสข่าวที่ผ่านมา  นางธิดา   คงหมายถึงการเคลื่อนไหวของรัฐบาลอภิสิทธิ์   หรือ  องค์กรหลักใด ๆ ก็ตาม   ที่คัดค้านการยื่นถวายฎีกา  


                    หรือ อำมาตย์  ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสถาบันองคมนตรี    ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ  คนเสื้อแดง  ก็เคยนิยามว่าเป็นพวกอำมาตย์     ขณะที่สมุนบริวาร ในความหมายของ   นางธิดา   คงหนีไม่พ้น     นักวิชาการ   และ สื่อมวลชน อย่าง  “สนข.ทีนิวส์”    ฯลฯ


                        และถ้าย้อนความแปลกลับอีกครั้ง   ใช่หรือไม่ที่  นางธิดา  ต้องการสื่อให้เห็นว่า  ฎีกาแดงได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสถาบันเบื้องสูง  และส่งผลให้รัฐบาลอภิสิทธิ์   หรือ  หน่วยงานใด ๆ หรือ ใคร  ๆ  ก็ตาม   ต้องออกมาแสดงการคัดค้าน  และ   จะแปลความได้หรือไม่ว่าระบอบอำมาตยาธิปไตย  ก็คือ ระบอบพระมหากษัตริย์นั่นเอง  ???  



                       ไม่เท่านั้นกับอีกหนึ่งประโยคที่     นางธิดา     เขียนว่า     “    นี่มันยุค  พ.ศ. 2554    แล้ว   หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  2475   มาร่วม 80  ปีแล้ว    ภายใต้การครอบงำของระบอบอำมาตยาธิปไตย    ประชาชนไทยยังต้องมาถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดินแบบนี้อีก ฟังดูแล้วน่าขำ ... ” 




                    ก็ยิ่งน่าสนใจในระดับสำคัญว่า  แท้ จริงแล้วสถาบันพระมหากษัตริย์  มีความหมายสูงค่าเพียงไร  สำหรับกระบวนการการยื่นถวายฎีกาอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ  ที่ผ่านมา  และ การโหยหาประชาธิปไตยของ   นางธิดา  ในฐานะรักษาการประธานนปช.  เป็นรูปแบบการปกครองในลักษณะใดกันแน่ ????


รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง