บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

A MONARCHY FIGHTS FOR FREEDOM นิตยสาร Time ยกย่องในหลวงในฐานะมีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations)




โดย แคน ไทเมือง








โซเชียลมีเดียทุกวันนี้ ประชาชนแสดงความจงรักภักดีด้วยการนำเสนอพระราชกรณียกิจมากมายหลากหลาย รวมทั้งเสียงชื่นชมจากทั่วโลก สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้รับการยอมรับมากทีสุดมากกว่าสถาบันพระมหา กษัตริย์ใดๆ ในโลกนี้
ถึงขนาดพาดหัวหน้าปกว่า…”A MONARCHY FIGHTSFOR FREEDOM” ย่อมไม่ธรรมดา
คงไม่ต้องให้ใครมาเพรียกเรียกร้องหาเสรีภาพหรือประชาธิปไตยอื่นใดอีกแล้ว…มิใช่หรือ?
นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ อาจหลงลืมไปแล้ว แต่จริงๆ เรื่องนี้ก็เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วนี่เอง.หนังสือเล่มนี้วางแผงเมื่ปลายปี 2549 ปีที่มีการขับไล่ทักษิณนายกผู้ชั่วร้ายอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ชาติไทย
ในขณะที่ใครต่อใครยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทยว่า…
Hero of Asia
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
แคน ไทเมือง
000000
วีรบุรุษแห่งเอเชีย
นิตยสาร ”ไทมส์” นิตยสารที่ทรงอิทธิของโลก ฉบับพิเศษในโอกาสครบรอบการก ่อตั้งนิตยสารครบ 60 ปี ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2549 ได้รวบรวมจัดอันดับวีรบุรุษ แห่งเอเชีย ในหัวข้อ “60 Years of Asian Heroes” โดยยกย่องบุคคลสำคัญของเอเช ีย 64 คน ใน 5 บทบาท คือ ผู้สร้างชาติ ศิลปินและนักคิด ผู้นำด้านธุรกิจ นักกีฬาและนักผจญภัย และผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ.
สำหรับกลุ่มบุคคลที่ได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) นั้นมีทั้งสิ้น 14 คน อาทิ ดาไลลามะ แห่งทิเบต และแม่ชีเทเรซา ส่วนอองซาน ซูจี นักสู้เพื่อประชาธิปไตยของเมียนมาร์ ได้รับการเชิดชูในบทบาทผู้สร้างชาติ ขณะที่บรูซ ลี ได้รับยกย่องในฐานะนักกีฬาและนักผจญภัย.
เป็นที่น่ายินดีสูงสุดสำหรับคนไทยทั้งประเทศ ที่หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ นิตยสาร “ไทมส์” ได้สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในบทบาทของผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) โดยไทมส์ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ทรงใช้พระบารมีแห่งราชธรรมชี้นำประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตหลายต่อหลายครั้ง.
ตลอดระยะเวลาในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานับแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์จากโครงการพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ที่ล้วนแต่เป็นโครงการที่ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงช่วยเหลือประชาชนในเขตชนบทอันห่างไกล แม้ว่าเขตนั้นจะเป็นเขตของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็ตาม.
กาลเวลาได้เป็นบทพิสูจน์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายครั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ตุลาคม ปี ค.ศ.1973 (พ.ศ. 2516) และพฤษภาทมิฬ ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้วิกฤติการคลี่คลายลง แม้กระทั่งการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ชาวไทยยังเชื่อมั่นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะทรงเป็นที่ยึดมั่นให้คณะปฏิรูปคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนตามที่ได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดเป็นการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยโดยอาศัยพระบารมีของพระองค์ทั้งสิ้น.
หลายครั้งพระองค์ยังทรงแนะนำอย่างเงียบๆ และบางครั้งทรงชี้แนะอย่างเปิดเผย เพื่อเน้นให้รัฐบาลคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและประพฤติปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประชาชนเป็นอันดับแรก บทความของไทมส์ยังระบุด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสถานะอันสูงส่งเป็นที่เคารพรักได้ตลอด 60 ปีที่ทรงครองราชย์ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างล้มเลิกระบอบกษัตริย์ บางประเทศกษัตริย์และเจ้าชายถูกลดทอนพระราชอำนาจลง หรือบางราชวงศ์ถูกขับให้ลี้ภัย หรือถูกประหาร ตรงกันข้ามกับพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงและต่อเนื่องตลอดมา.
นิตยสาร “ไทมส์” ยังสดุดีพระองค์ท่านด้วยว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นยุวกษัตริย์ของไทย ที่มีพระชนมายุเพียง 18 ชันษา ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ ที่สวรรคตอย่างกระทันหัน สื่อหลายสำนักรวมทั้งไทมส์ นิตยสารที่เพิ่งเปิดตัวในเอเชียขณะนั้น ก็ได้ตั้งคำถามว่า พระองค์จะสามารถปกครองบ้านเมืองท่ามกลางมรสุมทางการเมือง และความลี้ลับในเหตุการณ์ที่เกิดได้หรือไม่.
ข้อคำถามของนิตยสารไทมส์ได้รับการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะเสมอเหมือนได้ พระองค์ทรงดำรงความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ได้ เพราะทรงเป็นศูนย์กลางแห่งความรักและศรัทธาของประชาชนอย่างแท้จริง ทรงปกครองประเทศโดยอาศัยหลักคุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำ พระราชกรณียกิจต่างๆ จำนวนมากได้กลายเป็นแบบอย่างของปวงพสกนิกรให้ดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน เพราะทุกคนต่างเชื่อมั่นว่าการประพฤติปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำรัส จะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้อย่างยั่งยืน จึงมิผิดเลยที่นิตยสารไทมส์จะเชิดชูให้พะองค์ทรงเป็นบุคคลที่สมควรได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) ของเอเชียในครั้งนี้.
————————–———————-
Hero of Asia
Magazine “Times” magazine, the richness of the world. Special Issue Celebrating the 60th year after the magazine was released in November 2006 (2549) to compile rankings of Asian heroes in the “60 Years of Asian Heroes” in honor of Asian people is 64 people in five roles. The author, artist and thinker. Business leaders. Athletes and adventurers. And an inspiration.
For people who have been regarded as an inspiration. (Inspirations) that there were 14 people including the Tibetan Dalai Lama and Mother Teresa and Aung San Suu Kyi’s fight for the democratization of Myanmar. Be true in a national role as Bruce Lee was hailed as a sportsman and adventurer.
It is desirable for the Thai people. The one person who has been honored in this magazine, “Times,” a tribute to the King. The role of the inspiration. (Inspirations) by the Times said. He was the king’s reign, the longest in the world. He used the prestige of Rachtrrm guide Thailand through many crisis.
During the past 60 years or more after the Throne. He seemed to be the works of more than 3,000 projects are all projects that help poor people to have better lives. He helps people in remote rural areas. Even if it is a communist or a terrorist.
Time is a testament to that. King is the soul of the Thai people truly Especially when the political crisis in Thailand The only event in October 1973 (2516) and May 1992, Tamil (2535) He has a critical role in resolving the crisis down. Even the most recent coup on September 19, 2006 (2549) Thais believe that the King is committed to the reform, restoring sovereignty to the people that have pledged to the King. All the problems of the country through the glory of Him.
He also suggested several times in silence. And sometimes, he should openly. To highlight the government to take into account the public interest and responsible behavior with regard to the first. The Times article also noted. King held the lofty status as beloved throughout his 60 year reign. While many countries. In Southeast Asia, and the monarchy abolished. Some of the kings and princes is to reduce his power. Some were driven to house refugees. Or were executed. In contrast to the royal status of the King of Thailand and has been highly praised ever since.
Magazine, “Times,” a tribute to him, he said. When His Majesty the King ascended the throne as a young king of Thailand. At age 18 is the age of King Ananda Mahidol. Who died suddenly. Many media agencies, including the Times. Magazine launched in Asia at that time. He asked. He will be ruling the country in the midst of political turmoil. The mystery of the incident or not.
Question of the Times magazine has been proved to be proven that His Majesty the King is not any monarch in the world will be like that. He has served as a king. It is a center of love and faith of the people truly The country is governed by moral principles as a guide. Various royal duties. Many of the entire population to become a model followed by him. We are all confident that the good deeds of the King. The way to true happiness of life is sustainable. The New Times magazine is wrong to glorify God Joe was the person who should be regarded as an inspiration. (Inspirations) of Asia at this time.
00000 เครดิต…



ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ฟันธงปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นเผด็จการนายุนพรรคการเมืองโดยสมบูรณ์


(คำต่อคำ )ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ฟันธงปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นเผด็จการนายุนพรรคการเมืองโดยสมบูรณ์
วันนี้คึกคักตั้งแต่เช้าเตรียมตัวไปฟังการเสวนาครั้งใหญ่ของกลุ่มสยามประ ชาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นกลุ่มอาจารย์จากหลายสถาบันที่มีความเป็นห่วงบ้านเมืองรวมตัวกัน เพื่อให้ความรู้ด้านการเมืองแก่ประชาชน ห้องประชุมที่จัดไว้ไม่เพียงพอต่อการรองรับของประชาชนผู้สนใจ เมื่อไปถึงก็ห้องเกือบเต็มแล้วจึงต้องรีบเข้าไปนั่งฟังบรรยากาศทางวิชาการ ครั้งนี้ มองได้ว่าการเสวนาครั้งนี้ค่อนข้าวใสสะอาด ไม่พาดพิงใครคนใดคนหนึ่งหรือตระกูลใดตะกูลหนึ่ง แต่นำเสนอปัญหาและทางออกในภาพรวม ผู้จัดการออนไลน์ นำเสนอทั้งการถ่ายทอดสดและคลิป โปรดติดตาม

000000
“ดร.อมร”ชำแหละเผด็จการนายทุนพรรคใช้ช่องโหว่ รธน.ยึดอำนาจรัฐเพื่อคอร์รัปชั่น
“ศ.ดร.อมร” ชำแหละการเมืองไทยภายใต้เผด็จการนายทุน หลัง รธน.บังคับ ส.ส.สังกัดพรรค นายทุนใหญ่เห็นช่อง กระโดดเข้าลงทุน ซื้อเสียงเข้าผูกขาดอำนาจรัฐแล้วคอร์รัปชั่น ทำการเมืองไทยตาบอดสนิท เชื่อนักการเมืองไม่ยอมแก้ เพราะได้ประโยชน์ ประชาชนต้องช่วยกันคิดคนไทยควรทำอย่างไร
วันนี้ (6 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.45 น.ที่ห้องประชุมจี๊ด เศรษฐบุตร (LT1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และปรมาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “เผด็จการโดยพรรคการเมืองทุนนิยมผูกขาด” ในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “วิกฤตประเทศไทย ใครคือตัวการ?” จัดโดยกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ได้จัดเสวนา ซึ่ง ศ.ดร.อมร ระบุว่า การเมืองไทยขณะนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเผด็จการผูกขาดโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยเมื่อดูตัวบทรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น มาเรียงจะเห็นว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของเราค่อยๆ เปลี่ยนไป จนกระทั่งกลายเป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนเต็มรูปแบบ
     
        ทั้งนี้ ระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากลนั้น ขึ้นอยู่กับ 1.สิทธิการเลือกตั้ง สิทธิการรับสมัครเลือกตั้ง ซึ่งบุคคลทุกคนต้องมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สังกัดพรรค 2.พรรคการเมือง ใครจะตั้งก็ได้ ไม่ตั้งก็ได้ และประการที่ 3 เมื่อได้รับเลือกตั้งมาแล้ว ผู้ที่เป็นผู้แทนราษฎรมีสิทธิ์ที่จะใช้ดุลพินิจของตนเองในการบริหารประเทศ ตามมโนธรรมของตนเอง ไม่ใช่ว่าได้รับเงินมาแล้วต้องตามคำสั่งของเจ้าของพรรคการเมือง
     
        รัฐธรรมนูญของเรา ตั้งแต่ปี 2475 เริ่มจากฉบับที่ 2 เราเดินตามหลัก Principal of Democracy คือ ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ภายใต้ความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ คำปฏิญาณตนก็จะอยู่ในแนวทางเดียวกัน ฉบับที่ 3 จนถึงฉบับที่ 8 ก็ยังคงเดิม จนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ฉบับที่ 10 เริ่มการบังคับสังกัดพรรค ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย มาถึงฉบับที่ 13 บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรค แต่บอกว่าถ้าจะเปลี่ยนพรรค หรือถูกพรรคไล่ออก สามารถไปหาพรรคการเมืองใหม่สังกัดได้ เป็นบทบัญญัติเริ่มต้นของการบังคับให้สังกัดพรรคแต่ยอมให้เปลี่ยนได้ เริ่มเป็นต้อหิน คือบอดไป 1 ใน 4 รัฐธรรมนูญปี 2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 หลังพฤษภาทมิฬ กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.สังกัดพรรค พรรคการเมืองมีอำนาจไล่ ส.ส.ได้ ทำให้เราตาบอดสนิท หมายความว่า มีอำนาจผูกขาดเผด็จการโดยพรรคการเมือง นายทุนถ้าลงทุนแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีได้
     
        มาถึงรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้เติมบทบัญญัติลงไปว่า ส.ส.เมื่อยุบสภาแล้ว เปลี่ยนพรรคไม่ได้ต้องเป็นสมาชิกพรรคอย่างน้อย 90 วัน หมายความว่า นายทุนต้องมีอำนาจเด็ดขาด และบทบัญญัติเช่นนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็เหมือนกัน ส.ส.ให้อิสระไม่อยู่ภายใต้ผูกมัดใดๆ ทั้งที่ในตัวบทพรรคการเมืองมีอำนาจปลด ส.ส.
     
        ถ้าย้อนไปดูจากปี 35 พรรคการเมืองที่มาต่อสู้ในสภาเป็นพรรคการเมืองนายทุนทั้งสิ้น ระยะแรกจะเป็นพรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น แย่งกันจับขั้วกันเอง และแย่งกันเป็นนายกฯ หลังจากนั้นมา นายทุนระดับชาติมา ร่วมลงทุนด้วยและใหญ่กว่านายทุนท้องถิ่น จึงซื้อทั้งผู้สมัคร ส.ส.ซื้อผู้ที่เป็น ส.ส.แล้ว และซื้อพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นว่า นายทุนท้องถิ่นระดับชาติกระโดดเข้ามาในระบบเผด็จการในพรรคการเมืองนายทุน เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ เพราะระบบรัฐสภาของเราคือใครคุมเสียงข้างมากในสภา คนนั้นเป็นรัฐบาล เพราะฉะนั้นจึงซื้อเสียงเข้ามา และผูกขาดอำนาจพรรค และคอร์รัปชั่น และเอาเงินไปซื้อเสียงกลับเข้ามาอีก
     
        “ผมอยากสรุปว่า ถ้าเราจะแก้ปัญหาประเทศไทย ต้องแก้ที่ระบบสถาบันการเมืองก่อน เพราะว่า ถ้านักการเมืองไม่แก้ ก็คงไม่มีใครแก้เนื่องจากเขาได้ประโยชน์ และไม่มีใครแก้ ดังนั้นขอให้ช่วยกันคิดว่า ถ้านักการเมืองไม่แก้ระบบสถาบันการเมือง คนไทยจะทำอย่างไร” ศ.ดร.อมร กล่าว
     
       คำต่อคำ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ปาฐกถาเรื่อง “เผด็จการโดยพรรคการเมืองทุนนิยมผูกขาด
     
        “ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ที่ให้โอกาสผมมาชี้แจงว่าตาม ความเห็นของผม ขณะนี้ระบอบการปกครองของเราเป็นระบอบอะไร ในเอกสารที่ท่านมีอยู่ในมือจะเห็นว่ามีบทความอยู่ ซึ่งไม่ยาวนัก ของผมอยู่ 2 บทความ ความจริงถ้าท่านมีโอกาสไปอ่านบทความนี้ ท่านก็จะเข้าใจว่าเพราะเหตุใดประเทศไทยจึงได้กลายเป็นระบบเผด็จการโดยพรรค การเมืองนายทุน
     
        ผมเองกำลังนึกว่าจะทำยังไงให้ท่านมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การแตกแยกก็ดี การผูกขาดอำนาจก็ดี มันเกิดขึ้นเพราะเหตุใด จะพยายามอธิบายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ผมจะพยายามอธิบายเหตุผลของการที่ประเทศไทย จากระบอบประชาธิปไตย ทำไมจึงกลายเป็นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนได้ โดยจะใช้เวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะย่อได้ แล้วท่านก็กรุณาไปอ่านบทความเองนะ ที่อยู่ในมือของท่าน
     
        ความจริงแล้วก็จะมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเพาเวอร์พอยท์ ซึ่งจริงๆ เป็นสี แต่ผมเข้าใจว่าท่านผู้ไปจัดพิมพ์ จัดพิมพ์น้อยเกินไป เพราะฉะนั้นก็จะมีบางท่านที่มีเพาเวอร์พอยท์ที่เป็นสีอยู่ในมือ บางท่านก็จะไม่มี
     
        ในบทความอันหลังที่สุดที่ผมได้เขียนไว้ ถ้าหากท่านดูจากหัวข้อในเอกสารที่ท่านมีอยู่ในมือ ท่านจะเห็นว่าบทความบทแรกเราตั้งชื่อไว้ว่า จากระบอบประชาธิปไตย 2475 มาเป็นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาในปัจจุบัน
     
        ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา เราเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ขนาดยังไม่รู้ว่าทำไมในปี พ.ศ.2535 มันเกิดอะไรขึ้น แล้วทำไมจึงกลายเป็นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนไปได้ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ท่านมองเห็นตรงนี้ เราก็จะเอาตัวบทของรัฐธรรมนูญต่างประเทศมาให้ท่านดูว่าหลักเกณฑ์ของความเป็น ประชาธิปไตยนั้นเป็นยังไง แล้วทำไมในปี 2535 เราจึงกลายเป็นระบบเผด็จการไปได้
     
        ในตอนแรกเราจะเห็นว่าขณะนี้เรามีประเด็นเรื่องความปรองดอง ข้างหน้านี่ก็อาจจะมีพระราชบัญญัติความปรองดองแห่งชาติ โผล่ขึ้นมา ผมถึงบอกว่าความปรองดองนั้นมันไม่ใช่เรื่องออกกฎหมาย บังคับให้คนต้องกอดกัน แต่ความปรองดองนั้นมันเกิดขึ้นด้วยการทำถูกให้เป็นถูก ทำผิดให้เป็นผิด
     
        แต่ตรงนี้เราไม่ได้พูดเรื่องความปรองดอง วันนี้เรามาพูดเรื่องว่าเราเป็นเผด็จการ หรือเป็นประชาธิปไตย ผมจะเริ่มต้นว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา ทำไมผมจึงว่าอย่างนั้น ดังนั้นเราจะเอาตัวบทรัฐธรรมนูญมาเรียงให้ท่านดู ว่าทำไมจากประชาธิปไตยดีๆ ปี 2535 เรากลายเป็นเผด็จการไปได้ ดังนั้นตรงนี้ผมก็จะเอาตัวบทรัฐธรรมนูญของเราตั้งแต่ต้น มาเรียงจนกระทั่ง ณ ปัจจุบัน แล้วดูซิว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของเราค่อยๆ เปลี่ยนไป จนกระทั่งกลายเป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนเต็มรูปแบบได้ยังไง
     
        เพื่อที่จะให้ย่อเข้ามา ผมก็จะเอารัฐธรรมนูญต่างประเทศ ที่เราถือว่าเป็นประชาธิปไตย มีตัวบทอะไรบ้างที่สำคัญๆ เอามาให้ท่านดูก่อนว่าระบอบประชาธิปไตยของสากลเขาถือหลักอะไรบ้าง จริงๆ แล้วการเลือกตั้งนั้นจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 1. สิทธิการเลือกตั้ง 2. สิทธิการรับสมัครเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นสิทธิการเลือกตั้งของเรา เป็น Universal Suffrage คือบุคคลทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะเลือกตั้งได้ ยกเว้นแต่เด็กที่ยังไม่มีความรู้สึกผิดชอบ แต่สิ่งที่นักวิชาการ หรืออาจารย์ของเราลืมไปก็คือ สิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง
     
        สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนั้น ที่เป็นประชาธิปไตย บุคคลทุกคนต้องมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สังกัดพรรค
     
        ประการที่ 2 พรรคการเมือง ใครจะตั้งก็ได้ ไม่ตั้งก็ได้ และประการที่ 3 ก็คือ เมื่อได้รับเลือกตั้งมาแล้ว ผู้ที่เป็นผู้แทนราษฎรนั้น มีสิทธิ์ที่จะใช้ดุลพินิจของตนเองในการบริหารประเทศตามมโนธรรมของตนเอง ไม่ใช่ว่าได้รับเงินมาแล้วต้องตามคำสั่งของเจ้าของพรรคการเมือง
     
        ผมอยากจะให้ท่านผู้ฟังนึกดูว่า มีประเทศไหนบ้างที่เวลาจะตั้งรัฐมนตรี คนต้องบินออกไปนอกประเทศ ออกไปปรึกษานายทุนพรรคการเมือง เห็นไหมครับนี่เป็นสิ่งผิดปกติแล้ว
     
        ประการที่ 2 มีที่ไหนบ้างที่ ส.ส.ในสังกัดพรรคการเมือง พอมีตำแหน่งว่าง ให้ภรรยาหัวหน้าพรรคเป็น โดยสมาชิกพรรค ส.ส.บอกว่าข้าพเจ้าไม่เป็น ถามว่าทำไมเขาถึงไม่อยากเป็น นึกดูให้ดีนะครับ เหตุการณ์เหล่านี้ที่มันเกิดขึ้น มันแสดงความผิดปกติของระบบสถาบันการเมืองของเรา ทำไมถึงไม่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ทำไมถึงเกิดขึ้นในประเทศไทยประเทศเดียว ก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญของไทยนั้น ระบบบังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรค ระบบให้พรรคการเมืองมีอำนาจไล่ ส.ส.ได้ แล้วยังเขียนว่า หัวหน้าพรรคเท่านั้นที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้
     
        สามบทบัญญัตินี่ล่ะครับเป็นบทบัญญัตของรัฐธรรมนูญของไทยประเทศเดียวในโลก แต่ท่านอย่าเพิ่งนึกไปไกล ถามว่าทำไมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของเราไม่สอน ถามตรงนี้สิครับ อาจารย์มหาวิทยาลัยทำไมไม่สอน เราเรียนรัฐธรรมนูญมา 80 ปี แต่ไม่มีใครสอน แล้วแถมยังมาบอกว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย นี่ผมบอกให้ท่านคิดนะครับ ทำไมเหตุการณ์อย่างนี้มันเกิดขึ้น แล้วทำไมอาจารย์ของเราไม่สอน เพราะอะไร ก็เพราะว่าการสอนกฎหมายรัฐธรรมนูญในมหาวิทยาลัยของเรานั้นไม่ได้มาตรฐานสากล
     
        คราวนี้เราดูซิว่ามาตรฐานสากลมียังไง เมื่อกี้ผมบอกแล้วว่า การเลือกตั้งมีสิทธิอยู่ 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ สิทธิมาออกเสียงเลือกตั้ง อีกด้านหนึ่งก็คือสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง ต้องมีอิสระในการไม่สังกัดพรรค พรรคการเมืองต้องตั้งได้โดยเสรี และเมื่อได้เป็นผู้แทนมาแล้ว ต้องสามารถใช้มโนธรรมของตนบริหาร ออกเสียงบริหารประเทศได้ นี่คือหลักประชาธิปไตย
     
        ก่อนที่เราจะมาดูวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย ผมอยากจะให้ท่านดูรัฐธรรมนูญต่างประเทศ ว่าหลักนี้พอออกมาเป็นตัวบทแล้วมันเป็นยังไง ซึ่งความจริงอันนี้เราได้พิมพ์อยู่แล้วในเอกสารที่ท่านแจกไป แต่บังเอิญมันไม่เป็นสี ฉะนั้นถ้าท่านดู เราจะเรียงลำดับ จะเห็นสีชัดเจน เราจะเห็นว่าในเฟรมแรกที่อยู่บนจอ จะเป็นรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนี ท่านเห็นไหมครับ 2 ตัวบทนี้ ในมาตราแรก เราจะเห็นว่า ส.ส.นั้นจะต้องปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมโนธรรมของตน
     
        ในวรรค 2 ท่านเห็นไหมครับ ตัวแดง ทุกอย่างจะต้องมี Democratic Principal ถามว่า Democratic Principal อยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ผมบอกนี่ไงครับ เสรีภาพในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ต้องมีความเป็นอิสระในการที่จะใช้มโนธรรมของตนในการใช้สิทธิในการเป็น ส.ส.ในการโหวตรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่โหวตตามคำสั่งของนายทุนพรรคการเมือง
     
        ในช่วงแรกเราจะเห็นว่าจะมีบทบัญญัติ ท่านสังเกตกรอบนะครับ กรอบสีแดงจะเป็นกรอบของกฎหมายต่างประเทศ พอจบกรอบสีแดงแล้วก็จะเป็นรัฐธรรมนูญของไทย เพื่อที่จะดูว่ารัฐธรรมนูญไทยได้บิดเบือนหลักการของความเป็นประชาธิปไตย อย่างไร
     
        ต่อไปเฟรมที่ 2 จะเป็นรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส เห็นไหมครับ สีแดงในตอนท้าย เขาบอกว่า จะต้องเคารพ Principal of Democracy เราไม่มี ข้างบนนั้น มาตรา 27 ส.ส.ต้องไม่อยู่ภายใต้อาณัติใดๆ ใครสั่งมาก็ไม่ได้ แต่ของเรานี่ได้รับซองมา เราสั่งได้
     
        เราจะเห็นว่าบทบัญญัติหลักของประเทศที่สำคัญที่สุดในยุโรปคือ ฝรั่งเศส กับเยอรมัน เขาเขียนอย่างนี้ แล้วลองดูว่าในประเทศอื่นๆ เขียนอย่างไรบ้าง
     
        จากรัฐธรรมนูญของเยอรมัน กับฝรั่งเศส ต่อไปก็เป็นรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ ใกล้ๆ เรานี่เอง เราจะเห็นนะครับ ตัวสีน้ำเงิน ว่า ส.ส.จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมโนธรรมของตนเอง
     
        ต่อไปก็จะเป็นรัฐธรรมนูญของเดนมาร์ก เขาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมโนธรรม แล้วก็ใครจะมาให้ Direction ใดๆ ไม่ได้ รวมทั้งผู้ที่เลือกตั้งมาด้วย
     
        ต่อไปก็เป็นรัฐธรรมนูญของสเปน เราจะเห็นว่า หลักของ Democracy ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญสำคัญๆ ทั้งนั้น อันนี้เฟรมเปลี่ยนสีแล้ว แสดงว่าจบสำหรับต่างประเทศ ขณะนี้ท่านเข้าใจแล้วว่า Democratic Principal หรือ Principal of Democracy คืออะไร
     
        ดูซิว่า รัฐธรรมนูญของเราเคารพต่อหลักการของความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ผมก็บอกว่าต่อไปนี้เราจะดูรัฐธรรมนูญของประเทศไทย เรียงตามลำดับนะครับ ตั้งแต่ปี 75 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ถ้าท่านดูเฟรมสีเขียว ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมรัฐธรรมนูญไทย ผมจึงเริ่มต้นด้วยฉบับที่ 2 ทำไมไม่เริ่มต้นด้วยฉบับที่ 1 แต่ท่านจะรู้ว่าทำไมผมไม่เริ่มต้นด้วยฉบับที่ 1 ก็พลิกไปอ่านสิครับ อยู่ในเอกสารของท่านนะครับ เพราะในฉบับที่ 1 นั้น เราจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของเรา ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ร่าง
     
        รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เมื่อปี 75 เขาเรียกคณะรัฐมนตรีว่า คณะกรรมการราษฎร เขาไม่ได้เรียกว่าคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ใช้อยู่ได้ราว 6 เดือน ก็ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐธรรมนูญที่เรารู้กัน คือที่รัชกาลที่ 7 ได้มาเขียนให้ พระราชทานให้มา
     
        ท่านรู้ไหมครับว่าในสมัยนั้น รัฐธรรมนูญที่เรียกฝ่ายบริหารว่าเป็นคณะกรรมการราษฎรนั้น คือรัฐธรรมนูญของประเทศไหน ท่านอาจจะไม่รู้ เพราะไม่มีการสอน รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ที่เรียกคณะรัฐมนตรีว่าเป็นคณะกรรมการราษฎรนั้น มาจากรัฐธรรมนูญประเทศรัสเซีย รัสเซียนี่รัฐธรรมนูญปี 1918 เรียกคณะมนตรีว่าคณะกรรมการราษฎร คือ People’s Commissar รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของเรามาเปลี่ยนนิดหน่อยก็คือว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของเรานั้นยังมีพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าท่านจะรู้หรือไม่รู้ ขณะนี้ ผมอยากจะพูดว่า สิ่งที่ผมเขียนลงไปในนี้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของเรานั้นเรียกคณะรัฐมนตรี ว่าคณะกรรมการราษฎรนั้นมาจากรัสเซีย ผมเชื่อว่านี่เป็นเอกสารฉบับแรกที่เขียนถึง
     
        เพราะฉะนั้นเราตัดออกไป เราจะดูตั้งแต่รัฐธรรมนูญของไทยฉบับที่ 2 ในรัฐธรรมนูญของไทยฉบับที่ 2 นี้ ถ้าท่านดู ถ้าท่านมีเอกสารที่เป็นสี ท่านจะเห็นว่าเฟรมของรัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนสีไป ในเฟรมรัฐธรรมนูญช่วงแรกนั้นมี 6 ฉบับ ฉบับที่ 2 ท่านดูนะครับ เราจะเห็นว่าเราเดินตามหลัก Principal of Democracy คือ ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ภายใต้ความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ คำปฏิญาณตนก็จะอยู่ในแนวทางเดียวกัน ลองดูสิครับว่าหลักเกณฑ์นี้ Principal of Democracy เปลี่ยนเมื่อไร
     
        ต่อไปครับ ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 เราจะเห็นว่าคงเดิม ฉบับที่ 4 เราก็จะเห็นว่ายังคงอยู่ ไม่อยู่ภายใต้ความผูกพันแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ ต่อไปเราก็จะเห็นว่าฉบับที่ 5 ก็ยังเหมือนเดิมอยู่ ฉบับที่ 6 เราก็จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2495 ก็ยังเหมือนเดิม เพราะว่าเอามาจากปี 75 ต่อไปรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 ปี 11 เราก็จะเห็นว่าสถานภาพกับคำปฏิญาณยังคงเหมือนกัน
     
        ต่อไปท่านจะเห็นว่าเฟรมเปลี่ยนสีแล้ว เราจะเห็นว่าจนกระทั่งถึงฉบับที่ 8 เรายังคงยึดหลัก Principal of Democracy ถ้าคุณดูต่อมา ท่านก็จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ฉบับที่ 10 ท่านรู้ไหมครับรัฐธรรมนูญฉบับ 17 เริ่มการบังคับสังกัดพรรค ความจริงผมยังเขียนบทความไม่จบ เพราะถ้าเขียนบทความจบ ท่านจะเห็นเลยว่า บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการบังคับสังกัดพรรคเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อย่าลืมนะครับ การบังคับสังกัดพรรคนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นตามหลักของความเป็นประชาธิปไตย
     
        เราจะเห็นว่า ในฉบับแรก การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้นถูกตัดออกจากสถานภาพ ไม่มีแล้ว แต่มาเขียนไว้ในคำปฏิญาณ นี่คือ ฉบับแรกนะครับ ฉะนั้นในฉบับแรกกฎหมายของรัฐธรรมนูญของเราบังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรค แต่บอกว่าถ้าจะเปลี่ยนพรรค หรือถูกพรรคไล่ออก สามารถไปหาพรรคการเมืองใหม่เป็นสมาชิกต่อไปได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นบทบัญญัติเริ่มต้นของการบังคับให้สถานะ แต่ยอมให้เปลี่ยนได้ เริ่มเป็นต้อหิน คือบอดไป 1 ใน 4 เป็นฉบับที่ 13
     
        อันที่ 8 ท่านดู ไม่เหลือแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่มีแล้ว เรื่องสถานภาพ และในคำปฏิญาณ เพียงแต่บอกให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแก่คนที่จ่ายเงิน ตัวบทมันฟ้อง รวมทั้งฟ้องอาจารย์ของเราด้วยที่ไปช่วยเขียนรัฐธรรมนูญ
     
        ตรงนี้ถ้าท่านไปดูตัวบท รัฐธรรมนูญบอกว่า พรรคการเมืองมีอำนาจไล่ ส.ส.ออกได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเป็นต้อหินเต็มตาแล้ว
     
        แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 ตรงนี้เราจะเห็นว่า ปี 34 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 สังเกตดูดีๆ ผมไม่ได้บอกว่า รัฐธรรมนูญอันนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าไหร่ของประเทศไทย เพราะว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งๆ ที่เขียนใหม่ เรียงมาตราใหม่ แต่อาจารย์กฎหมายรัฐธรรมนูญของเรานับไม่เป็น คือไม่นับ เหตุที่ไม่นับคือ บังเอิญมีหนังสือ 1 เล่มเขาไม่นับ เราเลยไม่นับไปด้วย แสดงให้เห็นว่า อาจารย์ที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญของเราไม่เคยสังเกต
     
        ในเอกสารเขียนว่า ที่เราถือว่ารัฐธรรมนูญเราขณะนี้มี 18 ฉบับนั้นผิด มี 19 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนใหม่ ชื่อว่า แก้ไขเพิ่มเติมแต่มาตราไม่ตรงกัน อาจารย์ที่สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่รู้ว่ามาตราไม่ตรงกันแล้วจะอ้างได้อย่างไร
     
        ดังนั้น ตรงนี้ ก่อนมาถึงเพิ่มเติมฉบับที่ 5 ผมมีข้อสังเกต เราจะเห็นว่าก่อนตรงนี้ เราจะมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 โดยมีรัฐประหารแล้วยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญปี 34 ปี 34 ท่านจำได้ไหมว่าเราเคยมีคณะรัฐมนตรี 1 คณะอยู่เพียง 6 เดือน ได้เติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 34 หลังพฤษภาทมิฬว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง อะไรเกิดขึ้น ผมชี้ให้เห็นแล้วว่า เราไม่ใช่ประชาธิปไตย เพราะเรา ส.ส.สังกัดพรรค พรรคการเมืองมีอำนาจไล่ ส.ส.ได้ คนที่เติมอันสุดท้ายลงไปว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำให้เราตาบอด หมายความว่า คนที่ผูกขาด เป็นอำนาจผูกขาดเผด็จการโดยพรรคการเมือง นายทุนถ้าลงทุนแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีได้
     
        เราจะเห็นว่า ตลอดเวลาจนถึงรัฐธรรมนูญปี 34 ที่มาเติมว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ยังไม่รู้เลยว่าประเทศไทยเป็นเผด็จการไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราบอดสนิท หายจากการเป็นต้อหิน เราจะเห็นว่า พอเราเป็นต้อหินแล้ว ตาบอดสนิทแล้ว ก็จะมาถึงรัฐธรรมนูญปี 40 นอกจากบอดสนิท ถ้าท่านจำได้เราได้เติมบทบัญญัติลงไปว่า ส.ส.เมื่อเวลายุบสภาแล้ว เปลี่ยนพรรคไม่ได้ต้องเป็นสมาชิกพรรคอย่างน้อย 90 วันก่อนเปลี่ยน หมายความว่า นายทุนต้องมีอำนาจเด็ดขาด และบทบัญญัติเช่นนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก และคิดว่าขณะนี้ท่านเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นปี 50 ก็เหมือนกัน สังเกตดูให้ดีว่า ไม่มีสีน้ำตาล แต่มีสีน้ำเงินเพิ่มมา ไม่อยู่ในความผูกมัด ทำไมถึงมี ทั้งที่ตัวบทไม่ได้แก้เลย หมายความว่า คนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ต้องการหลอกนักวิชาการต่างประเทศว่าเราเป็นประชาธิปไตย โดย ส.ส.ให้อิสระไม่อยู่ภายใต้ผูกมัดใดๆ ทั้งที่ในตัวบทพรรคการเมืองมีอำนาจปลด ส.ส.แสดงให้เห็นถึงถึงความไม่เป็นกลางของความเป็นนักวิชาการที่ไปเขียนรัฐ ธรรมนูญเหล่านี้ขึ้น
     
        ดังนั้น คิดว่า ขณะนี้ท่านมองเห็นวิวัฒนาการจากตัวบทจริงๆ ส่วนข้างหน้าท่านจะคิดว่าเราจะแก้ไขอย่างไร จะมีท่านที่ร่วมอภิปรายต่อถึงระบบเผด็จการในพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา ก่อให้เกิดอะไรขึ้น ถ้าย้อนไปดูจากปี 35 พรรคการเมืองที่มาต่อสู้ในสภาเป็นพรรคการเมืองนายทุนทั้งสิ้น ระยะแรกจะเป็นพรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น แย่งกันจับขั้วกันเอง และแย่งกันเป็นนายกฯ ลองย้อนไป ผมจะไม่เอ่ยชื่อใครทั้งนั้น ลองนึกว่า จากปี 34 – ปี 42 พรรคการเมืองนายทุนท้องถิ่นสลับขั้วกันอย่างไร หลังจากนั้นมา นายทุนระดับชาติมองเห็น ร่วมลงทุนมากหน่อย ใหญ่กว่านายทุนท้องถิ่น จึงซื้อทั้งผู้สมัคร ส.ส.ซื้อผู้ที่เป็น ส.ส.แล้ว และซื้อพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นว่า นายทุนท้องถิ่นระดับชาติกระโดดเข้ามาในระบบเผด็จการในพรรคการเมืองนายทุน เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ เพราะระบบรัฐสภาของเราคือใครคุมเสียงข้างมากในสภา คนนั้นเป็นรัฐบาล เพราะฉะนั้นจึงซื้อเสียงเข้ามา และผูกขาดอำนาจพรรค และคอร์รัปชั่น และเอาเงินไปซื้อเสียงกลับเข้ามาอีก
     
        ท่านมองเห็นปัญหาได้ ทำไมขนาดนี้ไม่มีนักการเมืองใดที่บอกว่า เขาเป็นเผด็จการในพรรคการเมืองนายทุน เพราะเขาได้ประโยชน์ เขาแข่งขันเพื่อมาคอร์รัปชัน แต่การที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ เราต้องสร้างจากพื้นฐานจริงๆ ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ 1.ข้าราชการประจำต้องเป็นกลาง 2.ระบบการกระจายอำนาจต้องดี 3.กระบานการยุติธรรมต้องดี ถ้าถามว่า 3 พื้นฐานของการปกครองประเทศ เราจะพัฒนาได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาจากคณาจารย์ที่สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบคนตาบอดคลำช้าง
     
        อาจารย์ประเภทคนตาบอดคลำช้าง เขาตาบอด เมื่อเขาไปคลำตรงใหนก็สอนตรงนั้น เขาไม่เคยรู้จักเลยว่าช้างตัวใหญ่ รูปร่างเป็นอย่างไร และมันเดินได้อย่างไร พระมหากษัตริย์อยู่ส่วนใหนของช้างยังไม่รู้เลย
     
        ผมอยากสรุปว่า ถ้าเราจะแก้ปัญหาประเทศไทย ต้องแก้ที่ระบบสถาบันการเมืองก่อน เพราะว่า ถ้านักการเมืองไม่แก้ ก็คงไม่มีใครแก้เนื่องจากเขาได้ประโยชน์ และไม่มีใครแก้ ดังนั้น ขอให้ช่วยกันคิดว่า ถ้านักการเมืองไม่แก้ระบบสถาบันการเมืองคนไทยจะทำอย่างไร ผมจึงขอขอบคุณ และจบการบรรยายเพียงเท่านี้ครับ
ผู้จัดการออนไลน์

ธรรมศาสตร์การเมือง

มาตรา 112 โดยการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ในขณะนี้มีสภาพไม่ต่างไฟป่าที่ตีโอบล้อมเข้าสู่ศูนย์กลาง คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พานให้ร้อนไปถึงเก้าอี้ผู้ปกครองสถาบันบ่มเพาะการศึกษาด้านการเมือง การปกครองอันเก่าแก่ อย่าง “อาจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์”

“วันนี้คนไทยพูดเรื่องมาตรา 112 กันมาก แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็บอกว่า กลุ่มนิติราษฎร์มีเจตนาไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคนมาเผาหุ่น อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่คณะนิติศาสตร์ ในการเปิด หอประชุมเล็ก ก็ยังมีคนมาคาดคั้นให้กลุ่มนิติราษฎร์ต้องตอบคำถามให้ได้ ซึ่งเป็น ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น”

เป็นอธิการฯ มธ.ก็ลำบากหน่อย เพราะ 1.แสดงความไม่เห็นด้วยทางวิชาการ กับนิติราษฎร์ก็มีคนออกมาประท้วง ด่าและข่มขู่คุกคาม ให้ปลดจากตำแหน่ง 2.อนุญาต ให้นิติราษฎร์ใช้ที่มหาวิทยาลัยก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งมากดดันคัดค้านต่อว่า 3.เห็นว่าควร พอได้แล้วกับ 112 (หลังจากอนุญาตไปแล้ว 4-5 ครั้ง) คนกลุ่มแรกก็ออกมาอีก 4.เห็น ว่าไม่ควรไล่ล่าแม่มดก้านธูป คนกลุ่มแรกออกมาชม คนกลุ่ม 2 ออกมาว่าอีกสังคมไทยไม่ยอมให้คนยืนบนความถูกต้องและพอดีพองามเลยหรือ ไง..อาจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว

หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้โอกาสนิติราษฎร์ใช้สถานที่ในการจัดงานเสวนามาหลายครั้งแม้ว่าตัว อธิการบดีเองจะไม่เห็นด้วยในเรื่องของการแก้ไข มาตรา 112 แต่ก็มองว่าธรรมศาสตร์เป็นสถานที่เปิดกว้างในด้านของความคิด แลกเปลี่ยน ในเชิงวิชาการแต่เมื่อเรื่องดังกล่าวถูกแปลประเด็นไปในเชิงการเมือง สร้างให้เงื่อนไขจน ธรรมศาสตร์เองแทบลุกเป็นไฟเพราะการเปิดกว้างทางความคิดครั้งนี้

สุดท้าย อ.สมคิด ต้องสั่งระงับการใช้พื้นที่ของกลุ่มนิติราษฎร์ โดยฉับพลันเพื่อไม่ ให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายไปมากกว่านี้เพราะไม่ว่าบรรดาศิษย์เก่าและปัจจุบัน ได้ออกมา ต่อต้านการกระทำของคณะนิติราษฎร์อย่างรุนแรง ที่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัย สร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งที่มีการเรียกร้องให้สอบวินัย และปลดคณาจารย์ที่ร่วมในกลุ่มนิติราษฎร์ด้วย

สำหรับในเรื่องดังกล่าว อาจารย์สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ได้แสดงความเห็นผ่านบันทึกชื่อ “วิพากษ์ผู้วิพากษ์” และนำไปแบ่งปันบนเฟซบุ๊กของนายสมคิด มีเนื้อหาว่า “มีหลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามกลุ่มนิติราษฎร์เคลื่อนไหวเรื่อง ม.112 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกต่อไป โดย มองว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นี่ก็เป็นมุมมองหนึ่งที่เข้าใจได้ครับ แต่ผมอยากให้พวกเรามองอีกมุมมองหนึ่งด้วยว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้องออกมาตรการนี้ คงเป็นกรณีฉุกเฉินเพราะเกรงว่าอาจจะลุกลามจนกลายเป็น ‘6 ตุลาครั้งที่สองได้’ และถ้าจะเกิดก็คงจะเกิดที่ธรรมศาสตร์เหมือนเมื่อปี 2519...เพราะฉะนั้น ผมจึงมองว่ามาตรการนี้ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็น ‘การตัดไฟแต่ต้นลม’ มากกว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพครับ เพราะที่ผ่านมาธรรมศาสตร์ก็เปิดโอกาสให้กลุ่ม นิติราษฎร์ใช้ธรรมศาสตร์เป็นที่เคลื่อนไหวมาหลายครั้งแล้ว...สรุปก็คือผม เห็นด้วยกับการตัดสินใจครั้งนี้ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยครับ”

ในด้านของฝ่ายต่อต้านการตัดสินใจของอธิการบดี ซึ่งเห็นว่าคำสังนี้เป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางความคิด ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในสถาบันแห่งนี้ อย่างองค์การ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้มีการออกหนังสือคัดค้านว่าองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ขอแสดงจุดยืนที่มีต่อ มติดังกล่าว ดังนี้

1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่ง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์เป็นสถานที่หลัก ในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการ ทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป

3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่าง ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย

ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทาง การเมืองใดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง

ซึ่งในเรื่องดังกล่าวจะจบลงในรูปแบบไหนก็ถือว่าไม่มีถูก ไม่มีผิด หากเป็นเพียงเรื่องของวิชาการองค์ความรู้ หากแต่ถูกเชื่อมโยงไปในประเด็นการเมืองก็นับว่าน่าเป็นห่วงเพราะเป็นเรื่อง ที่บอบบางและเกี่ยวเนื่องกับสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนทั้งประเทศ 


 
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง