บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศไทย โดย : ปรีดา กุลชล


เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 02:00
โลกจำเป็นต้อง ปฏิรูปการบริหารอันมีสาเหตุมาจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง พบว่า ต้นเหตุการบริหารที่ไม่มีคุณภาพของทุกประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ 85%

เกิด จากการขาดระบบหรือมีระบบไม่ดี (Deming 85/15 rule) ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสูงสุด เช่น นายกรัฐมนตรีเนื่องจากละเว้นไม่สร้างระบบ...ประเด็นการปฏิรูปประเทศจึงอยู่ ที่ปฏิรูปการบริหารให้มีระบบเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นซึ่งนานาชาติทั่วโลก ปฏิรูปกันในประเด็นนี้ ...รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่เป็นรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมืองบัญญัติให้จัดระบบงานราชการไว้ในมาตรา 75 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้จัดระบบการบริหารราชการในมาตรา 78 (2) ...สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศไทยอย่างซ้ำซากกว่า 10 ปีเป็นเพราะรัฐบาลชุดต่างๆ ไม่ใฝ่รู้เรื่องการบริหารที่มีคุณภาพ TQM (Total Quality Management)จนทำให้การปฏิรูปหลงทางออกนอกประเด็นเพราะขาดระบบ เช่น ปฏิรูปเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำของ คปร.ที่ขาดระบบ...การปฏิรูป 9 เรื่องของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปที่ไม่มีระบบรองรับ...รวมทั้งการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญที่ขาดระบบทำให้รัฐธรรมนูญไม่มีคุณภาพ  สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศเป็นเพราะคณะกรรมการชุดต่างๆขาด คุณสมบัติความรู้การบริหารที่มีคุณภาพ TQM. และไม่ใช่ภาคการเมือง

หลักฐานยืนยันความล้มเหลวข้างต้นได้จากคำพูดของนายบัญฑร อ่อนดำ กรรมการสมัชชาปฏิรูปที่ให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวัน ที่ 26 ธันวาคม 2553 ที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ 
“เรา ไม่ใช่ภาคการเมือง มันแก้ยาก หมอประเวศทำเรื่องปฏิรูปมา 10 ปี ก็ปฏิรูปการเมืองปฏิรูปราชการไม่สำเร็จ ผมเอา พ.ศ. 2475 เป็นหลัก พยายามปฏิรูปก็ไม่สำเร็จ” นายบัญฑร อ่อนดำนอกจากเป็นกรรมการสมัชชาปฏิรูปแล้ว ยังมีอดีตเป็นพระมหาเปรียญ 7 ประโยคที่เชื่อถือได้

ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศทำได้ไม่ยาก ถ้าเกาให้ถูกที่คันคือมุ่งไปที่ระบบโดยศึกษาการจัดระบบหรือการบริหารระบบจาก สถาบันที่นานาชาติให้การรับรองและนำวิธีการบริหารระบบมาประยุกต์ใช้ในการ ปฏิรูปประเทศไทย  สถาบันที่นานาชาติรับรองมี 2 สถาบันคือ

1. องค์กรมาตรฐานสากล ISO: สถาบันแห่งนี้กำหนดให้นานาชาติใช้การบริหารระบบ(Quality Management System)มาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 และได้ปรับปรุงให้เป็นการบริหารคุณภาพ TQM.(Total Quality Management)เมื่อ ปี ค.ศ. 2000 ที่เรียกว่า ISO 9000:2000  การบริหารระบบหรือการบริหารคุณภาพฉบับที่ใช้ปัจจุบันคือ ISO 9000:2008 องค์กรมาตรฐานสากลเองก็มีปัญหาเรื่องระบบ...สังเกตได้ที่นำระบบของรัฐบาล สหรัฐมาใช้เป็นแบบอย่างของ ISO 9000 เมื่อ ปี 1987 คือ MIL-Q-9858 A. ซึ่งเป็นระบบจัดซื้อมิใช่ระบบบริหาร...ความเชื่อถือเรื่องการจัดระบบและการ บริหารระบบของ ISO จึงถดถอยโดยนานาชาติเลี่ยงไปศึกษาที่ระบบบริหารของประเทศต้นแบบ คือ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา

2. มาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria ของรัฐบาลสหรัฐ: เป็นมาตรฐานที่สหรัฐอเมริกาใช้ในการปฏิรูปประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยออกเป็นกฏหมายมหาชน Public Law 100-107  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฏหมายการปรับปรุงคุณภาพแห่งชาติ (Malcolm Baldrige National Quality Improvement Act of 1987) ซึ่งเป็นการบริหารคุณภาพ TQM ที่ดีที่สุด โดยเน้นการบริหารที่ระบบงาน(Work Systems)และกระบวนการทำงาน(Work Processes)ชาติต่างๆมากกว่า 70 ประเทศรวมทั้งประเทศในยุโรปใช้มาตรฐานบอลริจเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปการ บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้การบริหารมีคุณภาพ

ประเทศไทยกับมาตรฐานบอลริจ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติใช้มาตรฐานบอลริจในรูปรางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQA.(Thailand Quality Award)  คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)ใช้มาตรฐานบอลริจปฏิรูประบบราชการที่เรียก ว่า  PMQA.(Public Sector Management Quality Award) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ใช้ปฏิรูปการศึกษาเรียกว่า ECPE.(Education Criteria for Performance Excellence). แต่ทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเพราะติดขัดที่การออกแบบระบบ(System design) ทำให้ไม่สามารถใช้การบริหารระบบ(Management System)และการปรับปรุงระบบ(Quality Improvement)ที่เป็นเป้าหมายของมาตรฐานบอลริจ  ความไม่เป็นเอกภาพในการบริหารทำให้ กพร. และ สกอ. สร้าง 2 มาตรฐานโดยไม่รู้ตัวที่บั่นทอนมาตรฐานการบริหารที่ดีเลิศของมาตรฐานบอลริ จเสียเอง

ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศไทย:

ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศที่ช่วยให้การบริหารของรัฐบาลมีคุณภาพที่ดี ที่สุดได้แก่มาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria นี่แหละ...มาตรฐานบอลริจเป็นหลักประกันคุณภาพการบริหารของรัฐบาลที่ช่วย ป้องกันมิให้รัฐบาลผิดบกพร่อง 85% จนเป็นเหตุให้มีการโกงการเลือกตั้งอุ้มนายทุนให้เป็นรัฐบาลผูกขาดการปกครอง ประเทศด้วยระบอบเผด็จการอย่างยั่งยืน...มาตรฐานบอลริจเป็นหลักประกันช่วยให้ การกระจายอำนาจของชาติมีคุณภาพเพราะมีระบบป้องกันมิให้ผู้รับเหมาเข้าไปยึด อำนาจการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นทุกวันนี้  คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป(คปร.)มิได้ปฏิรูปที่ระบบให้การบริหารมีคุณภาพ

สรุป: การบริหารคุณภาพ TQM หรือ มาตรฐานบอลริจเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดที่สหรัฐและประเทศต่างๆในยุโรปรวมทั้ง ประเทศในเอเชียและออสเตรเลียใช้ป็นเครื่องมือในการปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูป การบริหารของทุกกระทรวงรวมทั้งปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจ...โดยออกแบบระบบงาน Work Systems และออกแบบกระบวนการทำงานWork Processes ที่เป็นหัวใจของการปฏิรูปที่ชี้ทางให้เห็นความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศไทย

การประกาศปฏิรูปประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีซึ่งจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2554 เรื่องปฏิรูปความเหลื่อมล้ำของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ....การปฏิรูปตามข้อเสนอ 9 ข้อของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป...รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เป็นการประกาศความล้มเหลวตามคำพูดของนายบัณฑร อ่อนดำ กรรมการสมัชชาปฏิรูป เพราะไม่ปฏิรูปเพื่อให้มีการบริหารระบบตามมาตรฐานสากล  เป็นเหตุทำให้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้ไม่มีคุณภาพต่อไปอีกหลังปีใหม่ สร้างความผิดหวังให้ประชาชนที่รู้เท่าทันเนื่องจากเห็นว่า การที่รัฐบาลละเว้นไม่สร้างระบบก็เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง...เพราะระบบ ป้องกันการซื้อเสียงได้

นับ1.การปฏิรูปประเทศไทย โดยภาคประชาชน โดยดร.ไก่ Tanond

นับ1.การปฏิรูปประเทศไทย โดยภาคประชาชน

โดยดร.ไก่ Tanond เมื่อ 11 พฤษภาคม 2011 เวลา 11:23 น.

ขอส่งสัญญาณผ่านไปถึงเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เพื่อ เป็นการเสริมเติมยุทธวิธีในการรณรงค์ โหวตโน ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองนี้ ผมใคร่ขอนำเสนอกระบวนการสำคัญๆ ที่สมควรจัดให้มีการเริ่มต้นขึ้น เพื่อทั้งแสดงจุดยืนอันมั่นคง ที่ควรมีคู่ขนานไปกับรองรับการดำเนินการขั้นต่อๆไป เมื่อผลลัพธ์จากโหวตโน สามารถบรรลุสู่เป้าหมายได้ ดังนี้ –
1.นำเสนอแผนปฏิบัติการณ์ เพื่อปฏิวัติการเมือง และปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการร่วมด้วยช่วยกันมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคส่วนต่างๆทั่วประเทศ โดย
1.1เปิด เวทีพันธมิตรให้กว้างที่สุด สำหรับการแสดงตนของภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อยื่นเจตจำนงค์ขอเข้าร่วมนำเสนอองค์กร พร้อมทั้งรายละเอียดในการดำเนินงานขององค์กรตน
1.2เปิดโอกาสให้องค์กร ต่างๆข้างต้น ได้เข้าร่วมนำเสนอปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน หรือ ผลักดันภารกิจสำคัญๆที่เป็นสาธารณะประโยชน์โดยชัดเจนของตน โดยแบ่งแยกประเภทของอุปสรรคปัญหา รวมทั้งองค์กรผู้ดูแล ออกเป็น 3 สาย 1.สังคม 2. เศรษฐกิจ 3. การเมือง

2. องค์กรต่างๆ ที่ได้รับการพิจารณานำเสนอประเด็นอุปสรรคปัญหาไปแล้ว ก็สมควรให้ทำ “พิมพ์เขียว” แสดงถึงเรื่องราวนั้น พร้อมทั้งทางแก้ทางออกที่ตนเห็นควรให้แก้ไข รวมถึงกฏหมาย กฏกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้นควบคู่กันมาด้วย

3. ในอีก 50 กว่าข้างหน้านี้ หากดำเนินการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเท่ากับเป็นการตีแพร่ความโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตร กับองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชนต่างๆที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้บังเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีพันธมิตรเป็นผู้ขับเคลื่อน เป็นผู้เดินเกมเปิดทางให้แก่ภาคส่วนอื่นๆ ที่ล้วนต่างเป็นองค์กรภาคประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น  และ

4. ข้อมูลและพิมพ์เขียวต่างๆที่ได้นี้ จะเป็นข้อมูลชั้นเลิศ ที่มาจากผู้มีประสบการณ์ตรงต่อปัญหาต่างๆ ที่เป็นภาคประชาชนด้วยกันเอง จึงควรได้จัดเก็บรวบรวมเข้าฐานข้อมูล ที่เมื่อถึงเวลาใช้งานจริง ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นไกด์ไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีมาอย่างยาวนาน หรือ ที่อาจถูกสกัดกั้นจากภาครัฐมาแต่เก่าก่อน จนไม่สามารถนำพาไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้าได้

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาในขั้นต้นนี้
ด้วยความปรารถนาดี
การเมืองภาคประชาชนบนFACEBOOK / (ว่าที่)ดร.ฐนน จุลเวช / ดร.ไก่Tanond


WORK FLOW : พันธมิตร < เปิดตัว < องค์ภาคเอกชน / ภาคประชาชนต่างๆ
ปัญหา / อุปสรรค > สิ่งที่ขาดหายไป > ทางออก/ทางแก้ > กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพรัฐธรรมนูญ โดย : ปรีดา กุลชล

การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีคุณภาพมีผลดี นอกจากสร้างระบบป้องกันวิกฤติของชาติแล้ว ยังสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปประเทศได้ทุกเรื่อง



วันที่ 17 มิถุนายน 2553 02:00

การ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทาบทาม ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ให้ตั้งคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อตัดประเด็นการตั้งคณะกรรมการเพื่อซื้อเวลาของรัฐบาลออกไปแล้ว จะเห็นความเฉียบแหลมของนายกรัฐมนตรีที่มองเห็น ความไม่มีคุณภาพของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เมื่อใช้มาตรฐานสากลเป็นบรรทัดฐาน สาเหตุที่ทำให้รัฐธรรมนูญไม่มีคุณภาพ เพราะขาด ระบบ อันเป็นหลักประกันคุณภาพรัฐธรรมนูญ (Quality Assurance) ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล...รัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญของการบริหาร หรือการปกครองประเทศ ดังนั้น เมื่อสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีคุณภาพได้โดยการออกแบบระบบรองรับรัฐธรรมนูญ ที่สามารถทำได้โดยทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้เป็นระบบ (Documented Procedures) ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีนำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศได้พร้อมๆ กันทุกเรื่อง เช่น การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม การปฏิรูปสื่อ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (และตำรวจ) โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน (Criteria) เกณฑ์เดียวเท่านั้น เช่น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถปฏิรูปการบริหารประเภทต่างๆ ทั้งการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการสาธารณสุข ฯลฯ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน (Baldrige Criteria) เพียงเกณฑ์เดียว  

สาเหตุโลกปฏิรูปการบริหาร : การวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง (Edwards Deming) เมื่อทศวรรษ 1970s พบว่า การทำงานของคนมีประสิทธิภาพหรือถูกต้องไม่เกิน 15% เท่านั้น อีก 85% ขึ้นอยู่กับระบบ (ดู Deming 85/15 rule ใน google) การออกแบบระบบ (System Design) อยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ออกแบบระบบให้ประเทศ ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้องค์กรมาตรฐานสากล ISO ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2530 ให้ประเทศสมาชิกกว่า 150 ประเทศทั่วโลกต้องใช้การบริหารที่มีระบบ เรียกว่า Quality Management System

รัฐธรรมนูญไม่มีคุณภาพสร้างวิกฤติ : สภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขาดความ รู้เรื่องการบริหารระบบดังกล่าวตามข้อกำหนดของ ISO...การทำประชามติไม่ช่วยให้รัฐธรรมนูญมีคุณภาพได้ รัฐธรรมนูญไทยจึงไม่มีคุณภาพ เพราะไม่สามารถสร้างระบบที่เป็นหลักประกันคุณภาพรัฐธรรมนูญตามมาตรฐานสากล ได้ ความล้าสมัยของรัฐธรรมนูญเห็นได้ที่การให้ความสำคัญของ คน ในรูปคณะกรรมการองค์กรอิสระมากกว่า "ระบบ" ตัวอย่างความล้มเหลวของ คน ในรัฐธรรมนูญ คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่สามารถป้องกันปัญหาการซื้อเสียงได้ ทำให้ได้รัฐบาลที่ไม่โปร่งใส และประชาชนมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาในรูปวิกฤติการเมืองอย่างซ้ำซาก และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลที่เสียประโยชน์ฉวยโอกาสเข้ามาผสม โรงจนถึงขั้นเผาบ้านเผาเมือง...รัฐธรรมนูญที่มีคุณภาพเท่านั้นที่มีระบบ ป้องกันวิกฤติได้

คณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ : คุณสมบัติของคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคุณภาพอย่างน้อยต้อง มีความรู้พื้นฐานขั้นต่ำของการบริหารคุณภาพ คือ ต้องรู้ว่าระบบ (Quality System) ที่รองรับการบริหารคืออะไร

ระบบ Quality System : หมายถึง ระบบเอกสารที่แสดงขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน (Documented Procedures) ซึ่งเป็นหัวใจของการบริหารคุณภาพ มีโครงสร้างเป็นระบบ (Organization as a system) หรือเป็นทีม และมีทรัพยากร (Resources) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร เช่น ผู้นำ (Leadership) เงิน เทคโนโลยี เป็นต้น

ประโยชน์ของรัฐธรรมนูญที่มีคุณภาพ : รัฐธรรมนูญที่มีคุณภาพสร้างคุโณปการให้ประเทศไทยได้มากเกินกว่าที่ประชาชน คาดหวัง นอกจากมีระบบป้องกันวิกฤติของชาติแล้ว รัฐยังช่วยสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปประเทศ ได้แก่ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม การปฏิรูปสื่อ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจ โดยใช้เกณฑ์อันเดียวกันเพียงเกณฑ์เดียวเท่านั้น โดยเน้นเพียง 2 ข้อ คือ 1. ผู้นำ (Leadership) หรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ขับเคลื่อน 2. "ระบบ" ตามเกณฑ์ (Criteria) รวม 7  หมวด ซึ่งทั่วโลกยกย่องเกณฑ์นี้ว่าเป็น "เกณฑ์การปฏิบัติงานที่ดีเลิศ" Criteria for Performance Excellence  ที่รัฐบาลสหรัฐ (US. Federal Government) ใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการสาธารณสุขและปฏิรูปการบริหารธุรกิจภาคเอกชนทุกมลรัฐทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชาติตามบทบัญญัติของกฎหมาย Public Law 100-107, 1987 (ค้น google) เกณฑ์การปฏิบัติงานดีเลิศมีดังนี้

1. ผู้นำ (Leadership) เช่น ผู้บริหารสูงสุดหรือนายกรัฐมนตรี

2. การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)

3. การมุ่งเน้นที่ลูกค้า (Customer Focus)

4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management)

5. การมุ่งเน้นบุคลากร (Workforce Focus)

6. การจัดการกระบวนการ (Process Management)

7. ผล (Results)

สรุป การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีคุณภาพมีผลดี นอกจากสร้างระบบป้องกันวิกฤติของชาติแล้ว   ยังสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปประเทศได้ทุกเรื่อง มีผลทำให้การบริหารของชาติมีระบบมีคุณภาพได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยให้ความสำคัญที่ "ระบบ" ซึ่งออกแบบได้ค่อนข้างยาก การออกแบบระบบที่ดี (System Design) คือ การสร้างระบบให้มีประโยชน์ 3 ประการพร้อมกัน คือ 1. เป็นมาตรฐานแสดงวิธีปฏิบัติงาน (Documented Procedures) ที่ง่ายต่อการปฏิบัติและถูกต้อง  2. เป็นมาตรฐานในการประเมิน (Measurement) เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และ 3. เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงระบบ (Process Improvement) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน.

ความสำคัญของการเลือกตั้ง สส


ความสำคัญของการเลือกตั้ง สส

การเลือกตั้ง ส.ส. มี ความสำคัญต่อคนไทยทุกคนที่ต้องไปทำหน้าที่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของเราโดยการ เลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้งบริหารงบประมาณของประเทศชาติถึงปีละหนึ่งล้านล้านบาท
ดังนั้น การเลือกผู้แทนที่เป็น “คนดี” มีความซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนให้เข้าไปทำงานทางการเมืองเราจะทำให้ สามารถใช้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากเงินภาษีของประชาชนไปพัฒนาประเทศ ชาติได้อย่างเต็มที่
 
ที่มาของ สส

ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่

   สส แบบแบ่งเขต ส.ส. แบบแบ่งเขต
มีจำนวน 375 คน คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 375 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.
   สส แบบสัดส่วน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
มีจำนวน 125 คน คือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือก ตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
 

หน้าที่ของ สส

     ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
     เป็นผู้เลือก ส.ส. ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
     ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
     จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
     นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอรัฐบาล

คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส

     มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
     อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
     มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

     เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
     อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
     ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยตคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
     วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ
 
การลงคะแนนล่วงหน้า (ประกาศ 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง)
 
ลงคะแนนนอกจังหวัด
ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านปัจจุบันไม่ถึง 90 วัน สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยืนคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน จึงจะมีสิทธิ

กรณีเขตเลือกตั้งใดมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งใหม่ บุคคลผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวก็สามารถเดินทางกลับไปใช้สิทธิลงคะแนน เลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้
ลงคะแนนในจังหวัด
ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านตามทะเบียนบ้าน แต่ในวันเลือกตั้งต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ต้องยื่นคำขอลงทะเบียนแต่ต้องแจ้งขอใช้สิทธิดังกล่าวต่อ กกต.เขต

เตรียมตัวก่อนไปเลือกตั้ง


       การตรวจสอบรายชื่อ

        
20 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขต ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชน
         15 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ะที่เลือกตั้งจาก หนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส.12)
       การเพิ่มชื่อ - ถอนชื่อ

        
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หากเห็นว่าไม่มีชื่อตนเองหรือมีชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏอยู่ในบัญชี รายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้แจ้งนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใด ที่ทางราชการออกให้มาแสดงด้วย
       การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้

        
ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ ส.ส. 28 หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ และให้ระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
         ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
                ด้วยตนเอง
                มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
       ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้

        
ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
         ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
         ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
         ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
         ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
         ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
       หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง

        
บัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
         บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น
                บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                ใบขับขี่
                หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)


การอำนวยความสะดวกผู้พิการที่มีสิทธิเลือกตั้ง
คณะกรรมการเลือกตั้ง ได้จัดให้มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการใช้สิทธิเลือกตั้งได้สะดวกขึ้น โดยคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นต้องให้ผู้พิการได้ลงคะแนนด้วยตัวเองด้วย เช่น จัดให้มีบัตรทาบในการลงคะแนนสำหรับผู้พิการทางสายตา อำนวยความสะดวกในกานหย่อนบัตรในหีบบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ
    
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง

     ตรวจสอบรายชื่อ ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้สิทธิเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง
     ยื่นบัตรประชาชน ยื่นบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
     รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมรับบัตร 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ถ้าเป็นการเลือกตั้งซ่อมจะมีเฉพาะบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตใบเดียว)
     ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมาย
                บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต เลือกผู้สมัครเพียงหมายเลขเดียว
                บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว
                หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ลงคะแนน
                หย่อนบัตรด้วยตนเอง เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อยและหย่อนบัตรลงในหีบ บัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

 
คนดีที่ควรเลือกเป็น สส ควรมีลักษณะ เช่น


        
มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีและเป็นที่ยอมรับ
         มีคุณธรรมและรู้จักเสียสละ
         เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
         เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมาย เลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ
  
พรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น


        
มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้เป็นจริงได้
         ระบบบริหารของพรรคยึดหลักการประชาธิปไตย
         มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
         ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
         เป็นพรรคที่รวมคนทุกกลุ่มในสังคมเป็นสมาชิกไม่ใช่ยึดติดเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

การนับคะแนน

เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 15.00 น. ของวันเลือกตั้งแล้ว จะนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียว เพื่อ

ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งที่อาจเกิดจากการขนย้ายหีบบัตร
ให้การนับคะแนนเสร็จสิ้น และสามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้รวดเร็ว หลังจากนั้น กกต.เขต จะรวบรวมผลการนับคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขต และประกาศผลรวมคะแนนของเขตและปิดประกาศไว้ในสถานที่ที่กำหนด พร้อมรายงานต่อ กกต.ประจำจังหวัด และรายงานต่อ กกต. เพื่อประกาศและรับรองผลการเลือกตั้ง



การคัดค้านการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งยื่นคัด ค้านต่อ กกต. โดย

         ก่อนวันการประกาศผลการเลือกตั้ง หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
         ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเกินจำนวนที่ กกต. กำหนด หรือผู้สมัครไม่ยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่าย ภายใน 90 วันหลังวันเลือกตั้ง
การเสียสิทธิ 3 ประการ
ผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุอันสมควรจะเสียสิทธิ ดังนี้

         สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
         สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
         สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน

สิทธิทั้ง 3 ประการ จะได้กลับคืนมาก็ต่อเมื่อไปใช้สิทธิการเลือกตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งในการเบือ กตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือท้องถิ่น

ข้อห้าม

        
ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมซื้อเสียง
         ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
         ห้ามส่งเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
         ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
         ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
         ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไปต้องเสียค่าโดยสาร
         ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
         ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ
         ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
         ห้ามเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพลล์) ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสาระแห่งชาติ
รัฐบาลประกาศให้ การแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการทุจริตเลือกตั้งส่งผลเสียหายโดยรวมต่อประเทศชาติของเรา เช่น

         ต้องสูญเสียงบประมาณ ซึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชนในการจัดการเลือกตั้งใหม่
         ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปจากการทุจริตเลือกตั้งอาจเข้าไปโกงเงินภาษีของประชาชนเพื่อถอนทุนคืน
การมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุ
เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน สิ่งของ หรือมีการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแส หรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจในพื้นที่หรือรายงานให้ กกต. ทราบ

         ด้วยตัวเอง
         ทางโทรศัพท์ หมายเลข 0-2143-8668 , 0-2141-8888
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง