บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

"ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" เปิดใจผ่าน FB "กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ" แฉ ธปท. ทำเจ๊ง 4 แสนล้านปี 53


รมว.คลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เขียนชี้แจงผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว กรณีเหตุผลของกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ
โดยขออนุญาตคัดลอกต้นฉบับจาก Facebook ของธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล โดยไม่ตัดทอนใดๆทั้งสิ้นดังนี้
1 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติจะมีความเสี่ยงหรือไม่
ต้อง ยอมรับว่าการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงทั้งนั้น เช่นสมมุติให้กู้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย ลักษณะความเสี่ยงก็อาจเกิดจากจำนวนผู้โดยสารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ก็น่าจะเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เนื่องจากเอเชียเป็นประเทศกำลังพัฒนา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้น โครงการใดที่สนองความจำเป็นพื้นฐานถึงแม้หากจะบังเอิญมีปัญหาระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็จะมีโอกาสฟื้นได้แน่นอน
แต่ อย่าเข้าใจผิดว่าการที่ ธปท. นำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและยุโรปดังที่ปฏิบัติอยู่ขณะ นี้ไม่มีความเสี่ยงนะครับ เพราะที่แท้จริงมีความเสี่ยงทั้งในด้านราคาที่ขึ้นๆลงๆ และในด้านค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนตัวเพราะมีการพิมพ์เงินออกมามากเกินไป
ทั้งนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปี 2553 ธปท. มีผลขาดทุนจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 117,473 ล้านบาท และยังมีขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์อีก 260,211 ล้านบาท จำนวนเงินที่สูงมหาศาลเช่นนี้คือปัญหาที่ควรจะต้องแก้ไขครับ
2 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติเป็นการแทรกแซง ธปท. หรือไม่
ไม่เป็นการแทรกแซง ธปท. ครับ แต่เป็นการช่วยกันคิดเพื่อแก้ปัญหา เพราะ ณ สิ้นปี 2553 ธปท. มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาล สูงถึง ติดลบ 431,829 ล้านบาท ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็จะต้องปิดกิจการไปแล้ว นี่ไม่ใช่สี่แสนบาทนะครับ แต่เป็นสี่แสนล้านบาท
ถึง แม้ ธปท. ไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยตั้งงบประมาณมาช่วยแก้ไขขาดทุนของ ธปท. แต่ทรัพย์สินของ ธปท. ก็เป็นทรัพย์สินของชาติ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการให้ดีที่สุด นอกจากนี้ การที่ ธปท. ขาดทุนจำนวนมหาศาลเช่นนี้ ก็ทำให้ ธปท. ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูซึ่งมีอยู่กว่าหนึ่งล้านล้านบาท ได้ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อกองทุนฟื้นฟูแต่ละปี 50-60,000 ล้านบาท และขณะนี้ ธปท. ก็ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ในระดับสูง ทำให้ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องจ่ายให้แก่กองทุนฟื้นฟูต้องสูงขึ้นไปด้วยทุก วัน จึงเป็นภาระต่อนโยบายทางการคลังอย่างมากครับ
3 จำนวนที่จะกันไปเป็นกองทุนมั่งคั่งของชาติควรจะมาจากบัญชีใดใน ธปท.
ผมได้ให้ ธปท. ไปศึกษา โดยในหลักการ จะไม่แตะต้องทองคำและเงินบริจาคของหลวงตา และจะไม่แตะต้องจำนวนที่ต้องใช้หนุนหลังการออกธนบัตร
4 ธปท. จำเป็นต้องกันทุนสำรองสภาพคล่องเอาไว้เท่ากับเงินที่ต่างชาติได้นำมาซื้อ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรหรือไม่ เพื่อรองรับในกรณีที่ต่างชาติอาจจะขายและนำเงินกลับออกไป
ไม่ จำเป็นครับ ต่างชาติที่หากจะรุมกันขายหุ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะทำให้ต่างชาติชะลอการขายกันเอง ส่วนคนไทยก็ไม่ต้องไปตื่นเต้นกับเขาและคอยรอรับซื้อเมื่อราคาลงต่ำก็พอ
นอก จากนี้ หากต่างชาติรุมกันนำเงินกลับออกไป เงินบาทก็จะอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ธปท. ก็ไม่ควรจะไปฝืนสภาพตลาด ธปท. ควรจะปล่อยให้ค่าเงินปรับลดลงตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินทุนสำรองเข้าไปรองรับเอาไว้ดังเช่นในปี 2540

'กองทัพ'ครอบงำกสทช.! สุภิญญายอมรับมีมูลจริง จี้'5นายทหาร'วางบทบาท สะท้อนกลุ่มอำนาจสังคม

สุภิญญา
"สุภิญญา" ยอมรับเสียงวิจารณ์สังคม "ทหาร"ครอบงำกสทช.มีมูล ชี้สะท้อนภาพกลุ่มอำนาจในสังคม เตือน 11 กสทช.ต้องพิสูจน์ตัวเอง จับตาเสียง 5 นายทหารกสทช.มีเอกภาพในการทำงานหรือไม่

วันที่ 7 ก.ย.2554 น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ว่าที่คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวกับ "ไทยอินไซเดอร์" ถึงกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์รายชื่อกสทช. 11 คน ที่วุฒิสภา (สว.) โหวตเลือกว่าอาจถูกกองทัพครอบงำการทำงาน เนื่องจากมีคนของกองทัพ 5 คน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 คน ได้รับการคัดเลือกว่า ถ้าดูจากสัดส่วน เราจะเห็นว่าทหารมีอยู่ครึ่งหนึ่งจริงๆด้วย เพราะฉะนั้นคำวิพากษ์วิจารณ์ก็มีเหตุมีผล แต่มุมุหนึ่งมันจะเป็นความกดดัน ภาระที่คนที่เป็นสายทหารที่นั่งในกสทช.จะต้องตอบคำถาม และต้องถูกผลักภาระให้เป็นตัวกลางระหว่าง "สาธารณชนกับกองทัพ" คือถ้ามองมุมหนึ่ง มันก็สะท้อนข้อเท็จจริงของสังคมไทย ว่าสภาพของสังคมไทยเป็นยังไง เรื่องสื่อเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เพราะฉะนั้นในที่สุด การที่กสทช.เกิดขึ้นได้ ภาพของคนที่นั่งใน 11 คน ก็สะท้อนภาคส่วนต่างๆ เสียงส่วนมากส่วนน้อย จำนวนนายทหารเยอะ มันเป็นภาพสะท้อนย่อยๆของกลุ่มอำนาจต่างๆในสังคม

"ทีนี้ก็ดีแล้ว ที่สังคมวิจารณ์และตั้งคำถาม แล้วก็ควรตั้งไปเรื่อยๆเพื่อให้กดดันการทำงานของกสทช.ให้โปร่งใส ถ้าเรามองว่าเป็นวิกฤต เราก็ควรแปลมาเป็นโอกาสในการทำงาน"น.ส.สุภิญญากล่าว

เมื่อถามว่า ส่วนตัวจะต้องตรวจสอบกันเองระหว่างคณะกรรมการกสทช.หรือไม่ เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์ให้กองทัพ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า "แน่นอน...กรรมการ 11 ท่าน ทุกคนก็ต่างมีความเป็นอิสระของตัวเอง ใครบางคนอาจเป็นเสียงส่วนมาก บางคนอาจเป็นเสียงส่วนน้อย แต่ทั้งนี้ผลในภาพรวมเมื่อผลงานออกมาแล้ว ทุกคนก็ต้องแบกรับร่วมกันหมด เพราะถือเป็นชะตากรรมร่วมกันแล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนคงพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการที่จะพิสูจน์ข้อครหาของสังคมและความคาดหวังของสังคม ยิ่งถ้าตัวแทนฝ่ายทหารถูกมอง ท่านเองคงอยู่ในจุดที่เป็นสปอร์ตไลท์มากกว่าคนอื่นๆ ทั้งนี้อยู่ที่สื่อมวลชน ประชาชนที่ต้องติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ กัดไม่ปล่อย มอนิเตอร์อย่างต่อเนื่อง"

"การทำงานต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เห็น ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงจะถูกวิจารณ์ว่าเข้าไปรักษาสภาพแบบเดิมๆ ตัวดิฉันแม้เป็นสายเอ็นจีโอ ซึ่งอาจเป็นเสียงส่วนน้อย เราเองต้องแบกรับคำวิจารณ์นั้นด้วย เพราะถือเป็นองค์คณะร่วมกัน เพราะฉะนั้นต้องพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถปฏิรูปเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ได้ ผลของงานจะถูกตัดสินโดยสังคม ประชาชนต่อจากนี้ไป"น.ส.สุภิญญากล่าว

เมื่อถามว่า ส่วนตัวกังวลอะไรหรือไม่ เพราะถือเป็นคณะกรรมการชุดแรกและสังคมตั้งความหวังในการทำงานไว้พอสมควร น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า "ก็กังวลมาก องค์คณะก็เหมือนหลายท่านที่เซอร์ไพร์ส เหนือความคาดหมาย เราเห้นหลายท่านที่ว่าจะได้ก็ไม่ได้ หลายท่านที่ไม่นึกว่าจะได้ก็ได้ เป็นความท้าทายส่วนตัวที่อยากจะรู้ว่าทำงานได้หรือไม่ เพราะเป็นผู้หญิงคนเดียว และมาจากภาคเอ็นจีโอ และถือว่าอายุยังน้อยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ ต้องแบกภาระสังคม เพราะภาคเอ็นจีโอพูดเรื่องนี้มาเยอะ สังคมก็คาดหวังมากที่สุด คือกลายเป็นว่าสุดท้ายสปอร์ตไลท์อาจมาที่ตัวเองมากที่สุด ถ้าทำอะไรผิดไปนิดเดียวก็จะเสียเลย แต่ส่วนตัวก้พร้อมที่จะทำงาน แม้รู้ว่าจะมีอุปสรรค"

เมื่อถามว่า คะแนนเสียงที่ออกมาสะท้อนถึงภาพของวุฒิสภาที่มีทหารอยู่ด้วยหรือไม่ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ต้องไปดูคะแนนละเอียดๆ เพราะบางคะแนนไม่เหมือนกัน บางคนก็์คะแนนเกินครึ่งเป็นร้อย บางคนก็คะแนน 60-70 บางท่านที่ไม่ใช่ทหารคะแนนเกินครึ่งทั้ง 2 กลุ่ม เพราะฉะนั้นต้องไปดูรายละเอียดในการให้คะแนน ในวุฒิสภาเป็นภาพสะท้อนส.ว.สายสรรหากับสายเลือกตั้ง ผลการลงคะแนนจึงไม่เป็นเอกภาพ มันไขว้กัน บางคนได้ทั้งสองสาย หรือแม้แต่ทหารเองทั้ง 5 ท่าน ก็อยากให้ดูต่อไปว่าท่านเป็นเอกภาพหรือไม่

"ผบ.ทบ." แจง "กสทช." ที่ส่วนใหญ่เป็นนายทหาร ไม่เกี่ยวกับผลปย.ของกองทัพ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ส่วนใหญ่ที่เป็นชื่อของนายทหารว่า ตนมองว่า ทหารส่วนใหญ่เกษียณอายุราชการแล้ว เมื่ออยากเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็ถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่อยากเข้าไปช่วยบ้านเมือง

"อย่าคิดว่าการเข้ามาทำหน้าที่ เพื่อต้องการปกป้องผลประโยชน์ของกองทัพ แต่อยากให้มองว่าเป็นการป้องกันประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่า เพราะทุกอย่างมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้ว"ผบ.ทบ.กล่าว

ผลนับคะแนนเลือก 11 อรหันต์'กสทช.'

สำหรับการลงคะแนนเลือกกสทช. โดยใช้วิธีลับในที่ประชุมส.ว. เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ได้ 73 คะแนน เป็นนายทหารรุ่น ตท.6 รุ่นเดียวกับพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี และพล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ส.ว.สรรหา ในอดีตเคยเป็น เสธ.ทอ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สังกัดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน)

ด้านกิจการโทรคมนาคม 2 คน คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ได้ 112 คะแนน อดีตกทช. ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช. อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และพ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ได้ 118 คะแนน นายทหารฝ่ายกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กระทรวงกลาโหม

ด้านกฎหมาย 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ 109 คะแนน และพ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีตผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ได้ 67 คะแนน

ด้านกิจการโทรทัศน์ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ 62 คะแนน

ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(เศรษศาสตร์ ประจำกทช.) ได้ 110 คะแนน และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 58 คะแนน

สำหรับกลุ่มตัวแทนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในส่วนของด้านกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ได้ 95 คะแนน

ส่วนด้านกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คือ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ 78 คะแนน

กลุ่มผู้มีผลงาน มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม คือ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ 72  คะแนน

สว.รสนา วิเคราะห์นโยบายลดราคาน้ำมัน




ประกาศิตเสื้อแดงตัวพ่อ 'ไม่เป็นอำมาตย์ในแดง' เราชนะ-ถูกปล้นทุกครั้ง ต้องขับเคลื่อนคุ้มกันรบ


กลายเป็นเรื่องวิจารณ์กันยกใหญ่ว่า “เหมาะสมแล้วหรือ” เมื่อ “ครม.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” แต่งตั้ง “แกนนำ-แนวร่วม” ของคนเสื้อแดง เข้ามามีบทบาท-มีตำแหน่งเป็น “ข้าราชการการเมือง” ทั้งเลขานุการรัฐมนตรี-ที่ปรึกษา-ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
บางฝ่ายก็ว่า นี่คือการตอบแทน ที่คนเสื้อแดงต่อสู้ให้ขั้วอำนาจทักษิณ ได้กลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง
บางฝ่ายก็ว่า นี่คือการดึงคนเสื้อแดง ให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อจะได้ไม่ต้องออกไปเคลื่อนไหวข้างถนน และกลายเป็นหอกข้างแคร่สำหรับรัฐบาล
ทั้งหลายทั้งปวง หากต้องการ “ความจริง” ต้องไปสนทนากับ “จตุพร พรหมพันธุ์” ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. ซึ่งถูกขนานนามว่า “แดงตัวพ่อ” ที่เวลานี้ ถูกวิพากษ์ยกใหญ่ว่า เป็น “อำมาตย์ในแดง”
ความจริงจากปากของชายผู้นี้ คือคำตอบที่ “คนเสื้อแดง” ต้องรับฟัง
Q : การแต่งตั้งคนเสื้อแดงเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง เป็นจุดเริ่มต้นของความปรองดองได้จริงอย่างที่คนในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย พยายามอธิบายหรือไม่
A : การแต่งตั้งกับการปรองดองเป็นคนละเรื่องกัน ความปรองดองเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนแม้ว่าจะไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการ ที่ปรึกษารัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นใด  แต่ว่าเหตุที่การปรองดองยังเดินหน้าไปไม่ได้ เพราะแต่ละฝ่ายไม่มีความเสมอภาคในเรื่องความยุติธรรม เมื่อความยุติธรรมไม่เท่ากัน ความรู้สึกจึงไม่เท่ากัน การเดินหน้าความปรองดองจึงไม่สามารถที่จะเคลื่อนกันไปอย่างที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างว่า ถ้ามีความเท่ากันในเรื่องกระบวนการยุติธรรม แต่ละฝ่ายถูกดำเนินคดีอย่างเท่าเทียม ถ้าเริ่มต้นกันไปในลักษณะอย่างนี้ ก็ว่ากันตามกระบวนการยุติธรรม ก็มาคุยกันต่อว่าจะปรองดองอย่างไร เดินหน้าแบบไหนดี แต่เมื่อมันไม่เท่ากัน ความรู้สึกก็แตกต่างกันระหว่างคนที่ถูกกระทำและคนที่เป็นฝ่ายกระทำ อารมณ์ก็จะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงแตกต่างกัน การมีตำแหน่งหน้าที่ของคนเสื้อแดงในรัฐบาลนี้ ความจริงแล้วบุคคลที่มีตำแหน่ง ล้วนแต่เป็นอดีตผู้สมัครส.ส. ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนกระทั่งถึงพรรคเพื่อไทยเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าเขามาร่วมต่อสู้กับพี่น้องเสื้อแดงและเป็นคนที่พรรคได้เห็น ศักยภาพสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆได้ เพราะฉะนั้นกระบวนการพิจารณาจึงเป็นเรื่องของพรรคๆ ตัดสินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่ได้ไปต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น
Q : เสื้อแดงเข้าสู่ตำแหน่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ 2 ขา 5 แขนของกลุ่มนปช.ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวทั้งในฝ่ายมวลชนและฝ่ายการเมือง
A : เรื่อง 2 ขา คือ 2 องค์กร “พรรคเพื่อไทย” และ “กลุ่ม นปช.” มีอุดมการณ์ที่เหมือนกัน แต่เป้าหมายไม่เหมือนกัน พรรคการเมืองเป้าหมายสูงสุดคือการได้รับเลือกตั้งเพื่อบริหารประเทศ เป้าหมายของนปช.คือบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมมีมาตรฐาน เดียว ฉะนั้นจุดที่เหมือนกันคือเรื่องประชาธิปไตยและความยุติธรรม แต่พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป้าหมายสูงสุดคือการระดมความศรัทธาที่จะได้รับการเลือกตั้งแล้วเข้ามาบริ หารประเทศ เพราะฉะนั้นเมื่อเดินคู่ขนานบางคนก็อยู่ใน 2 สถานะ แต่สามารถก้าวเดินร่วมกันได้ เพราะยังรักษาจุดยืนในระบอบประชาธิปไตยที่เหมือนกัน เราจึงบอกเสมอว่า “พรรคเพื่อไทย” และ “คนเสื้อแดง” เป็นคนละองค์กรกัน ถ้าเรื่องในการตัดสินผู้สมัครส.ส. การแต่งตั้งในหน้าที่ต่างๆ เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทย แต่เรื่องของการขับเคลื่อนภาคประชาชนเป็นเรื่องของการตัดสินของ นปช.แม้ว่าบางครั้งคนๆ เดียวก็มี 2 สถานะ
Q : เสื้อแดงเข้าสู่ตำแหน่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การเข้าสู่เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมหรือไม่
A : พวกเราที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในพรรคการเมืองทั้งที่ถูกยุบก่อนหน้านี้และ พรรคเพื่อไทย และก่อนที่จะมีเสื้อแดง เป้าหมายเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับรัฐมนตรีและรัฐบาล วันนี้พวกเราซึมซับปัญหาความเดือดร้อน ความเหลื่อมล้ำของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาสไปนั่งอยู่กระทรวงต่างๆ ก็จะได้ถ่ายทอดความทุกข์ไปยังรัฐมนตรีต่อไปยังรัฐบาล เมื่อลดความเหลื่อมล้ำและรอความเป็นประชาธิปไตยให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้นก็ เชื่อว่าจะบรรลุเป้าหมาย ภายใต้คำจำกัดนิยามว่า “เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เราเองก็เห็นว่าเมื่อคนเหล่านี้ลงไปสัมผัสกับประชาชนตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล เขาย่อมรับรู้ปัญหามากมายฉะนั้นการที่จะถ่ายทอดไปยังรัฐมนตรีในฐานะผู้จะ แก้ไขปัญหา เมื่อรัฐบาลได้รับการร้องขอจากพี่น้องประชาชนท้ายที่สุดความเหลื่อมล้ำก็จะ ลดลงไปเรื่อยๆ
Q : ตอนนี้แกนนำถูกเรียกว่าเป็น “อำมาตย์ในแดง”
A : ไม่ได้เป็นอำมาตย์ในแดง ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2550  จะเห็นว่าผมก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติแล้วก็บอกเสมอว่า ตำแหน่งหน้าที่เป็นเรื่องของการสมมุติ เป็นเรื่องของหัวโขน มายาภาพ แล้วก็บอกบรรดาหมู่มวลมิตรเสมอว่า ถ้าตัวเองถูกจำกัดให้เลือกได้อย่างเดียว ระหว่างการเป็นรัฐมนตรี เป็นส.ส. กับการเป็นคนเสื้อแดง ก็จะเลือกเป็นคนเสื้อแดง เพราะการเป็นคนเสื้อแดงเป็นการต่อสู้เพื่อให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและ นี่เป็นเป้าหมายที่เรายังเดินและยังไม่ถึงใน ปัจจุบันนี้
Q : จากจำนวนที่ได้รับตำแหน่ง มากเกินไปไหมหรือเหมาะสมแล้ว
A : การตัดสินทั้งหมดเป็นเรื่องของทางพรรค แต่ถามว่ามาก-น้อยไปไหม ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา พี่น้องคนเสื้อแดงได้ร่วมการต่อสู้ทุกหน แห่ง และคนที่เป็นนักการเมืองย่อมรู้ดีว่า พื้นที่ใดมีคนเสื้อแดงแข็งแรงจะได้รับชัยชนะในทุกๆที่ บางแห่งคะแนนก็จะดีกว่าเดิม ฉะนั้นการต่อสู้ไม่ได้เป็นคำตอบว่าจะได้รับตำแหน่งอะไร เหมือนผม เหมือนนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เหมือนพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ก็มีคำตอบให้แล้วว่าถึงที่สุดแล้วพวกเราก็พร้อมรับฟัง ให้รัฐบาลเดินหน้าโดย ที่ไม่ได้แสดงความรู้สึกใดๆ เพราะเราบอกว่าเรื่องตำแหน่งเป็นเรื่องของการสมมุติ เป็นคำถามกลับกันว่าในคณะรัฐมนตรีก็ไม่มีพวกเราอยู่เลย เมื่อมีการจัดตำแหน่งเลขาฯ ที่ปรึกษาก็มีพวกเราก็บอกว่ามากไปหรือเปล่า เราก็ถามว่าแล้วที่ไม่มีพวกเราเลย เราก็ผ่านตรงนั้นมาแล้ว ฉะนั้นการมีหรือไม่มี ไม่ใช่ประเด็น ไม่มีก็ไม่เป็นปัญหา มีก็ไม่ได้เป็นปัญหา เขาก็ปฏิบัติตามหน้าที่
Q : โดยตำแหน่งต้องปฏิบัติกับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม จะทำงานมวลชนต่อไปอย่างไรให้เท่าเทียมกันหมดทุกกลุ่ม
A : ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นเฉพาะจากคนเสื้อแดง ความเป็นประชาธิปไตยและความยุติธรรมมันเกิดขึ้นกับคนไทยทุกคน 64  ล้านคนได้อย่างไร คนเสื้อแดงก็ได้อย่างนั้น ไม่ใช่ความยุติธรรมต้องเกิดกับเฉพาะคนเสื้อแดง แล้วผมก็บอกกับพี่ น้องเราที่ไปอยู่กระทรวงต่างๆ แม้ว่าตัวเองจะเป็นคนเสื้อแดง ก็ต้องทำหน้าที่เพื่อคนทุกกลุ่ม ซึ่งคนทุกคนในที่นี้ไม่ว่าเขาจะมีสถานะอย่างไรจะไปแบ่งแยกในการดูแลไม่ได้ เพราะหน้าที่เป็นเรื่องของการดูแลทุกคน
Q : หลังจากนี้การเคลื่อนไหวงานมวลชน อาจถูกมองว่าไม่ใช่พลังบริสุทธิ์ เพราะท้ายที่สุดเมื่อสู้มาแล้วแกนนำก็เข้าสู่ตำแหน่งสู่อำนาจทางการเมือง
A : พี่น้องประชาชนคนเสื้อแดงเขารู้มาตั้งแต่เริ่มต้นว่า แต่ละคนมีสถานะความเป็นมาอย่างไร อย่างพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ก็เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผมก็เป็นส.ส. แต่ละคนก็เป็นอดีตผู้สมัครส.ส. ส่วนใหญ่ก็มีที่มาที่ไป ไม่ได้ปกปิดอะไรเลย ไม่ได้มีอะไรว่าที่จะไปปกปิดพี่น้องประชาชน ทุกคนรู้อยู่แล้วเหมือนเราว่า ถึงเวลาเลือกตั้งเราก็ต้องไปลงเลือกตั้ง สิ่งที่เขาสนใจคือเมื่อคุณ มีตำแหน่งหน้าที่แล้ว คุณยังมีจุดยืนเหมือนเดิมหรือเปล่า มีอุดมการณ์ แนวทางประชาธิปไตยเหมือนเดิมหรือไม่ นี่คือหัวใจหลัก เขาไม่ได้สนใจว่าไปมีหน้าที่อะไร สนใจเพียงว่าไปแล้วทำอะไร ทรยศต่ออุดมการณ์หรือเปล่า นี่เป็นหัวใจของเรื่องนี้
Q : เป็นจุดอ่อนของรัฐบาล ให้ถูกใช้เป็นเงื่อนไขให้เกิดการโจมตีหรือไม่
A : ไม่ใช่...ความจริงเป็นจุดแข็งด้วยซ้ำ เราบอกเสมอว่า ขบวนการต่อสู้ของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยแข็งแรง รัฐบาลประชาธิปไตยย่อมแข็งแรง เราเคยผ่านบทเรียนรัฐบาล 377 เสียง มีคะแนนผู้เลือกตั้งให้ 19 ล้านเสียง แต่เมื่อถูกทหารยึดอำนาจไม่มีคนออกมาต่อสู้เลย วันนี้เรา 265 เสียง น้อยกว่าเดิมเป็นร้อย แต่ว่าวันนี้จะมีความแตกต่างคือมีประชาชนผู้รักประชาธิปไตยที่พร้อมจะต่อสู้ กับอำนาจนอกระบบ การเคลื่อนไหวจะต้องดำรงอยู่ แต่ไม่เป็นอุปสรรคกับรัฐบาลประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นการที่ยังมีคน เสื้อแดงขับเคลื่อนอยู่นั่น หมายถึงว่ารัฐบาลจะมีภูมิคุ้มกันจากอำนาจนอกระบบ ผมจึงบอกว่า นปช.แข็งแรง รัฐบาลก็แข็งแรง และการขับเคลื่อนของ นปช.จะไม่เป็นอุปสรรคกับรัฐบาล ในทางตรงกันข้ามจะเป็นหนังทองแดง กำแพงเหล็กให้กับรัฐบาลด้วย
Q : ที่ออกมาเปิดเผยว่าเดือน ธ.ค.ขบวนการล้มรัฐบาลจะเริ่มเคลื่อนไหว รายละเอียดเป็นอย่างไร
A : ผมอยู่กับ 3 พรรคการเมืองมา ชีวิตนี้ไม่ได้ย้ายไปไหนเลย แต่ถูกเขายุบพรรค ในสมัยนี้ตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นผู้แทนฯได้อีกกี่วันด้วยซ้ำ เรามีบทเรียน 19 ก.ย.2549  ในวันที่เรามีความแข็งแรง รอบข้างเต็มไปด้วยเทคโนแครต นักการเมืองที่เชี่ยวกราก แต่สุดท้ายสนิมรอบตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่โบราณบอกสนิมเกิดจากเนื้อในตน แวดล้อมของพ.ต.ท.ทักษิณ เต็มไปด้วยคนทรยศ หักหลัง แม้กระทั่งว่าการเตรียมการยึดอำนาจเขาได้ยินกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่คนที่อยู่ในรัฐบาลยืนยันว่า “ไม่มี” สุดท้ายการรับมือก็ไม่ทัน และที่สำคัญคือตัวนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้อยู่ในประเทศในขณะนั้น มันมีบทเรียนมากมาย ในทางการข่าว ในทางการจัดบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ต่อพรรค นี่เป็นเรื่องใหญ่ และการซื่อสัตย์ต่อพรรคคือการซื่อสัตย์ต่อประชาชน เพราะในรัฐบาลทรยศแล้วการยึดอำนาจเป็นไปด้วยความง่ายดาย เพราะจะประเมินสถานการณ์ไม่ได้ นี่คือสิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณโดน มาถึงสมัยพรรคพลังประชาชนนายกฯ “สมัคร สุนทรเวช” ก็โดนกลไกจากการยึดอำนาจ เรียกว่า “ผลผลิตจากซากเดนเผด็จการอำมาตย์”  ก็มาจัดการนายกฯสมัคร นายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ วันนี้ผมเองก็ไม่ได้เห็นความประหลาดใจของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งแพ้การเลือก ตั้ง เขาไม่อินังขังขอบ เพราะเขารู้ว่าถึงที่สุดจะต้องมีคนช่วยเขาให้ได้เป็นรัฐบาลเหมือนที่ผ่านมา
Q : รูปแบบเป็นการจับมือระหว่างเครือข่ายเดิมทั้งกองทัพ กับระบบยุติธรรม
A : วันนี้...ทุกขบวนการที่เคยโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี “ยังอยู่ครบเหมือนเดิม” เราชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง แต่เราก็ถูกปล้นทุกครั้งเช่นเดียวกัน วันนี้ในทางการข่าวเราก็รู้กันว่า มีคนปรามาสว่า 3 เดือน 4 เดือนให้อยู่กันเท่านี้ แล้วเดือนธ.ค.จะมีความชัดเจน ผมเชื่อว่าตัวละครเดิมๆ จะเริ่มออกมา กลไกทุกอย่างต้องยอมรับ อย่าง ส.ว.สรรหาชุดนี้ร้ายแรง เป้าหมายชัดเจน ความเป็นปฏิปักษ์ก็ชัดเจน ส.ว.สรรหาปี 2549 เราว่าแย่แล้ว ส.ว.สรรหาชุดนี้น่ากลัวยิ่งกว่า แล้วอยู่ 6 ปีด้วย บางคนอยู่มาตั้งแต่ สนช. คนพวกนี้เป็นปฏิปักษ์ถาวร องค์กรอื่นๆ ก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้เลย ฉะนั้นจึงอยู่ในอุ้งมือมาร เพียงแต่ประชาชนยังง้างมืออยู่ เลยยังบีบไม่ได้
Q : ทำไมต้องหลัง 5 ธ.ค.
A : ทุกอย่างคือให้การเฉลิมฉลอง 84 พระชนมพรรษาโดยการหล่อหลอมหัวใจคนทั้งชาติ เพราะว่าใครไปทำอะไรก่อนหรือในห้วงเวลาดังกล่าว เป็นเรื่องที่มิบังควร เพราะฉะนั้นแนวความคิดอันนี้ ก็บอกว่าจะต้องดำเนินการ
Q : วิธีการคือล้มด้วยการใช้กำลังหรือล้มด้วยกระบวนการยุติธรรม
A : ความเคลื่อนไหวมันเป็นการจับมือระหว่างนักการเมืองกับนักการเมือง นักการเมืองกับอำนาจเก่าที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา เวลานี้เป็นการประสานกันหาวิธีการ ปฏิวัติ รัฐประหารอย่างเดิม ประชาชนเขาต่อต้าน หรือว่าใช้องค์กรอิสระหรืออย่างอื่น สรุปได้ว่าวันนี้รัฐบาล คนเสื้อแดงจะประมาทไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งสิ้นเพราะอย่างที่บอกว่าวันนี้ทุกฝ่ายอยู่ครบใน ตำแหน่งหน้าที่และอยู่ในจุดเดิม เราประเมินสถานการณ์บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ใช่สมมติฐาน ครั้งนี้จะเป็นการบูรณาการระหว่างการโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้วนายกรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก็จะเจอขบวนการที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น เราก็ประเมินกันว่าในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาล นโยบายทำให้แข็งแรงมากที่สุด นำนโยบายที่เราสัญญาไว้กับพี่น้องประชาชนไว้มาทำได้ครบ แล้ววันที่รัฐบาลมีความแข็งแรงมากที่สุด ก็ตัดสินใจแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นกลไก เป็นซากเดนที่ทำลายกระบวนการประชาธิปไตย แต่ไม่ควรจะเริ่มทันที ประชาชนเขาจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
Q : อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ หรือมือที่มองไม่เห็นรวมอยู่ด้วยหรือไม่
A : วันนี้ไม่อยากจะบอกว่า “ใครเป็นใคร” ความจริงเราอยากให้แต่ละภาคส่วนเคารพประชาชน เพราะเมื่อประชาชนเขาตัดสินใจมาแล้วก็ควรให้รัฐบาลของประชาชนบริหารประเทศ ครบวาระ ฝ่ายที่ตัวเองสนับสนุนก็หมั่นทำความดี ถ้าประชาชนเห็นว่าควรได้รับความไว้วางใจ เมื่อครบวาระกระบวนการก็สามารถจะเดินหน้ากันต่อไปได้ แต่วันนี้เมื่อแพ้แล้วปล้นเหมือนกับการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา มันเป็นการทำร้ายหัวใจของประชาชน
Q : ในมุมกลับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เท่ากับเปิดช่องให้ตัวเองถูกโค่นล้มก็ได้
A : การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นเรื่องของรัฐบาลต้องการอะไร ถึงจะไม่มีคำตอบว่าแก้เพื่อใคร แต่คำตอบทุกอย่างไปยังการเลือก “ส.ส.ร.” การไปฟังประชาชนว่าแก้ไขอย่างไร การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้เป็นเรื่องของคนๆเดียว เป็นเรื่องของพรรคการเมืองพรรคเดียว แต่จะเป็นเรื่องของคนทุกคนในชาตินี้เขาจะกำหนดว่าจะเอารัฐธรรมนูญซึ่งเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศหน้าตาเป็นอย่างไร ประชาชนจะเป็นคนตัดสินโดยการลงประชามติ โดยการเลือก “ส.ส.ร.” แล้วก็ไปฟังประชาชน สุดท้ายก็ไปจบที่การลงประชามติ ดัง นั้นทุกขั้นตอนของการลงประชามติ ประชาชนจะมีส่วนกำหนดทุกขั้นตอน มันจึงไม่ได้เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทย เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นเรื่องของประชาชนเป็นผู้ลงมือ เพราะเรารู้ว่าเราจะยืนแข็งแรงได้ก็ด้วยประชาชนจะเป็นผู้กำหนด เรารู้ว่าหากกลไกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังอยู่ ถึงเราเลือกตั้งมาเหมือนขึ้นเหวมา ชนะอีกก็หล่นอีก ถ้าเราไม่มีการแก้ไขก็รอวันหล่นเหวอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่แก้ตายสถานเดียว แต่แก้ มีโอกาสรอด เหตุที่ยังไม่แก้ทันทีเพราะต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้อง ประชาชนให้ครบถ้วนเสียก่อน เมื่อมีความพร้อมการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะเริ่มต้นโดยประชาชน
Q : เป็นการแก้เพื่อให้รัฐบาลแข็งแรง
A : ไม่ใช่แก้เพื่อให้รัฐบาลแข็งแรง แก้เพื่อให้ประชาชนแข็งแรง ไม่ใช่อำมาตย์แข็งแรงขึ้นเหมือนรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เมื่อประชาชนแข็งแรง รัฐบาลก็แข็งแรง ตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 ประชาชนน่าจะรู้แล้วว่าอะไรเป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย อะไรเป็นอุปสรรคต่ออำนาจอธิปไตยของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นอำนาจ ภาระหน้าที่ของประชาชนจะเป็นผู้กำหนด ชะตากรรมของประเทศนี้ด้วยน้ำมือตัวเอง ตั้งแต่ร่วมเลือก ส.ส.ร. ร่วมกันคิดประเด็นและร่วมลงมติในขั้นตอนสุดท้าย ส่วนพรรคการเมืองไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วม ผมเชื่อว่าขณะนี้ประชาชนรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งไม่ถูก อะไรจำเป็นต้องแก้ไข
Q : เสื้อแดงต้องเตรียมพร้อมอย่างไร กิจกรรมต้องเข้มข้นขึ้นหรือไม่
A : เสื้อแดงเตรียมพร้อมเป็นปกติ หมู่บ้านเสื้อแดงก็ขยายโดยประชาชนทุกวันอยู่แล้ว เสื้อแดงก็มีการจัดกิจกรรมตามภูมิภาคต่างๆ ทุกวันอยู่แล้ว เป็นข่าวบ้าง ไม่เป็นข่าวบ้าง เราไม่ใช่ว่าพอชนะเลือกตั้งแล้วหยุด เมื่อจะถูกยึดอำนาจก็เรียกเสื้อแดงมาหน่อย นั่นไม่ใช่องค์กรภาคประชาชน และองค์กรภาคประชาชนไม่ได้ฟังคำสั่งพรรคการเมือง แต่องค์กรประชาธิปไตยกำหนดทิศทางประชาธิปไตยของประเทศ แต่ว่าคนเสื้อแดงเขาเห็นว่าถ้าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ดี กระบวนการยุติธรรมยังไม่มีความเท่าเทียมดี ชัยชนะก็เป็นเพียงการเริ่มต้น ดังนั้นเราต้องรักษาชัยชนะของพรรคเพื่ออันนี้เอาไว้ให้ยาวนาน เพื่อไปแก้ไขสิ่งที่เป็นอุปสรรค เพื่อไปแก้ไขความเหลื่อมล้ำของสังคม
Q : เป็นแค่การขู่ พูดเพื่อตีปลาหน้าไซ เท่านั้นหรือไม่
A : เราไม่เคยตีปลาหน้าไซ ข้อมูลแต่ละเรื่องที่เคยเปิดออกมาท้ายสุดเป็นจริงหรือเปล่า ข้อมูลแต่ละเรื่องเรามีการกลั่นกรอง ถามว่าทำไมข้อมูลผมจึงมีมาเรื่อยๆ ก็เพราะว่าเราไม่เคยทรยศต่อแหล่งข่าว เราซื่อสัตย์ต่อแหล่งข่าวว่าเมื่อได้ข้อมูลมาจะต้องนำมาเปิดเผยเพื่อเป็น ประโยชน์ต่อประชาชน บางเรื่องถูกฟ้องร้องเราก็พร้อมสู้คดี ข้อมูลที่เราเคยเปิดเผยในการชุมนุมที่ผ่านมาเมื่อตรวจสอบย้อนหลังก็พบว่า เป็นความจริงทุกอย่าง ฉะนั้นในฐานการข่าวจึงเป็นข้อมูลที่ผิดน้อยมาก และเราก็จับชีพจรแต่ละฝ่าย ในแวดวงการข่าวดูกันไม่ยากและในแวดวงนั้นเราก็รู้ว่ารัฐบาลนี้จะเจอมรสุมใน เดือนธ.ค.นี้
Q : นายกรัฐมนตรีเรียกเข้าไปถามข้อมูลหรือยัง
A : ยังไม่ได้คุยกัน แต่ในส่วนอื่นก็ได้คุยกันมาพอสมควรและเป็นข้อมูลที่กลั่นกรอง  เพียงแต่ว่าเมื่อเรามีข้อมูลอันนี้ก็ควรเตือนพี่น้องประชาชน เตือนไปยังรัฐบาลว่าไม่ควรยืนอยู่บนพื้นฐานของความประมาท เพราะเรามีบทเรียนมาแล้ว และผมเชื่อว่าทางการข่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  คงจะประเมินเรื่องนี้เป็นระยะๆ ถามว่าขณะนี้เราอยากให้บ้านเมืองสงบ ปรองดองหรือไม่ เราอยากมาก เพียงแต่ว่าสิ่งที่จะเกิดทุกอย่างได้ต้องเป็นประชาธิปไตยและมีความยุติธรรม เสียก่อน คนเสื้อแดงก็ยังต้องเดินหน้าต่อ

ช่วยกันผลาญพลังงานชาติ ให้รวยกันจนพุงปลิ้น!?

 
    หลัง จากที่รัฐบาลดำเนินนโยบาย ชะลอการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน 1 ปี เป็นผลทำให้น้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งราคาอยู่ที่ลิตรละ 34.77 บาท นั้นต่ำกว่าทั้งแก๊สโซฮอล์ 95 ซึ่งอยู่ที่ลิตรละ 37.04 บาท และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 34.54 บาท ทำให้ ผู้ใช้รถส่วนใหญ่หันไปเติมน้ำมันเบนซิน 91 กันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนชนิดที่ปั้มน้ำมันต้องแขวนป้าย เบนซิน 91 หมดจากท้องตลาดอย่างรวดเร็วหลังจากเริ่มประกาศราคาดังกล่าว
      
       โรงงานเอทานอลจำนวนมากซึ่งใช้วัตถุดิบผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ต้องผวาไปตามๆ กันเพราะถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปอีก 6 เดือนหรือ 1 ปี มีหวังต้องปิดโรงงานเอทานอลกันทั่วหน้า และราคาพืชผลทางการเกษตรที่ใช้ในการผลิตเอทานอลจะตกต่ำไปตามๆ กัน
      
       ราคาที่เป็นอยู่นี้ทำให้แก๊สโซฮอล์ 95 ถูกกว่าเบนซิน 95 เพียง 6.75% แต่แก๊สโซฮอล์ 91 กลับแพงกว่าน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ประมาณ 23 สตางค์หรือประมาณ 0.66%
      
       ปตท. และ บางจาก จึงต้องรีบนำร่องลดราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ลงอีก 60 สตางค์ ทำให้ แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 36.44 บาท และแก๊สโซฮอล์ 91 เหลือ 33.94 บาท โดยหวังผลในทางจิตวิทยาว่า อย่างน้อยแก๊สโซฮอล์ 91 ก็ยังจะถูกกว่าเบนซิน 91 ประมาณ 2.39%
      
       แม้ว่าผู้ใช้น้ำมันส่วนใหญ่อาจจะมองเรื่องราคาต่ำกว่าเป็น หลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วด้วยประสิทธิภาพของน้ำมันเบนซินที่สูงกว่าแก๊สโซฮอล์ นั้นจะต้องมีส่วนต่างห่างกัน 20-30% จึงจะเกิดแรงจูงใจในการใช้พลังงานทดแทน
      
       เมื่อจะเลือกวิธีชะลอการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน จึงต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีส่วนต่างระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ อย่างเร่งด่วน ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่น 1. เพิ่มภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันเบนซินให้สูงขึ้น 2. ลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ให้ลดลง 3. เพิ่มทั้งภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันเบนซินและลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ ให้ลดลง 4. ลดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์หรือเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินขึ้นไปอีก เพื่อทำให้ส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์กับเบนซินห่างกัน 20-30%
      
       สิ่งเหล่านี้ก็คือวิธีและเทคนิคการลดรายจ่ายให้กับประชาชน ด้วยการลดราคาน้ำมัน ด้วยวิธี “ชะลอการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน 1 ปี ใช้เงิน 74,000 ล้านบาท โดยเตรียมกู้เงินอีก 20,000 ล้านบาทในต้นปีหน้า” เพื่อให้ราคาน้ำมันลดลงตามที่สัญญากับประชาชน และ “เตรียมลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์และ/หรือเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน” เพื่อแก้ไขปัญหาส่วนต่างระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์
      
       แต่ที่น่าสังเกตก็คือ วิธีการชะลอการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน และลดหรือเพิ่มภาษีสรรพสามิต เป็นวิธีการลดราคาน้ำมันโดยไม่กระทบต่อกระเป๋าผู้ถือหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เลยแม้แต่น้อย ซ้ำร้ายยังจะเป็นการส่งเสริมให้คนได้ใช้น้ำมันช่วยกันผลาญพลังงานชาติอย่าง สนุกสนานด้วย
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามนโยบายรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังระบุเอาไว้ในข้อ 1.8.4 ที่จะให้มีมาตรการทางภาษีให้กับ “ภาษีรถยนต์คันแรก” ก็ย่อมเชื่อได้ว่าคนไทยจะเร่งใช้น้ำมันกันมากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
      
       ผลก็คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นโดยเอกชน (ซึ่งมีญาติพี่น้องนักการเมืองถือหุ้นอยู่) ร้อยละ 49 รวยขึ้น และบริษัทผลิตรถยนต์ก็จะรวยขึ้นด้วย!?
      
       และคงต้องตั้งคำถามอีกด้วยว่า นักการเมืองในฝ่ายรัฐบาลชุดนี้มีใคร ลูกหลานญาติพี่น้องใครถือหุ้นอยู่ใน ปตท. และบริษัทผลิตรถยนต์ กันมากขนาดไหน?
      
       ผลก็คือทำให้คนไทยเร่งใช้พลังงานกันมากขึ้น เมื่อเร่งใช้พลังงานกันมากขึ้นก็จะได้ใช้เป็นข้ออ้างอีกชั้นหนึ่งว่าประเทศ ไทยมีทรัพยากรจำกัด จำเป็นต้องเร่งเจรจาผลประโยชน์ในอ่าวไทยกัมพูชาให้เร็วขึ้นเพื่อเร่งเอา พลังงานมาใช้ให้เร็วที่สุด จริงหรือไม่?
      
       เมื่อทุกคนเร่งใช้พลังงานกันให้มากขึ้น ก็จะได้มีข้ออ้างในการที่จะล้วงเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนแหล่ง พลังงานใหม่นอกประเทศไทย ใช่หรือไม่?
      
       จึงควรต้องหันมาทบทวนกันสักหน่อยว่า ที่ผ่านมา ปตท.แปรรูป ต้องปันผลให้กับเอกชน โดยอ้างว่าเราจำเป็นต้องหาแหล่งทุนโดยไม่ต้องมีการกู้ ผลการแปรรูปไป 49% ให้กับเอกชนรวมเหล่าญาติโกโหติกาของนักการเมืองจำนวนมากนั้น ปรากฏว่า ปตท.ได้เงินเพียง 28,000 ล้านบาท แต่ตลอดนับตั้งแต่ ปตท.แปรรูปในปี 2544 มาจนถึงสิ้นปีนี้ ปตท.จะมีกำไรสุทธิสะสมตลอด 10 ปีที่ผ่านมาถึง 741,383 ล้านบาท หากเฉลี่ย 10 ปี ก็ปีละ 74,138 ล้านบาท
      
       หมายความว่าการแปรรูป ปตท. ปตท.ได้เงินมาลงทุน 28,000 ล้านบาท แต่ต้องปันผลให้กับเอกชน 49% ไปแล้วตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 350,000 ล้านบาท และรัฐบาลไทยจะสูญเสียรายได้ต่อไปอีกไม่มีวันจบสิ้น
      
       โดยดูจากตัวเลขปี 2554 นี้ ปตท.น่าจะมีกำไรสุทธิก้าวกระโดดขึ้นเป็นปีละ 120,000 ล้านบาท!!!
      
       ในขณะที่ประเทศไทยได้ค่าภาคหลวงต่ำเพียงแค่ 12.5% ต่ำกว่าพม่า, กัมพูชา อินโดนีเซีย จึงน่าสงสัยว่าคนที่ได้ประโยชน์จากการเร่งขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าว ไทยนั้น ใครเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์กันแน่?
      
       1. พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชามากเกินความเป็นจริง โดย ฝ่ายไทยลากเส้นเขตไหล่ทวีปแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แล้วจึงลากเส้นตามแบ่งกึ่งกลางระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2516 ในขณะที่กัมพูชาลากเส้นเขตไหล่ทวีปมั่วๆ ตามอำเภอใจประชิดและอ้อมเกาะกูดทั้งๆ ที่เป็นการลากเส้นที่รุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดของไทย
      
       การแบ่งน้ำมันโดยนับจากเส้นละติจูด 11 องศาเหนือลงมาเพื่อแบ่งผลประโยชน์ทางพลังงาน โดยไม่สนใจการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชา แล้วไปยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนั้นจึงเป็น เรื่องที่ฟังไม่ขึ้น หากจะมีความพยายามแบ่งผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทยยังพยายามทำกันอยู่ คือ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนใกล้ฝั่งไทยให้ไทยได้ 90% กัมพูชาได้ 10% พื้นที่ตรงกลางแบ่งกันระหว่างไทย-กัมพูชา 50% ต่อ 50% และพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนใกล้ฝั่งกัมพูชาให้กัมพูชาได้ 90% และไทยได้ 10% (ตามภาพที่ 1) นั้นสมควรหรือไม่ ถ้าพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนมันกินเข้าในฝั่งไทยมากเกินความจำเป็น ย่อมเท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชา ใช่หรือไม่?
      
       หรือแท้ที่จริงแล้วประเทศไทยควรจะต้องตั้งหลัก สร้างพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนบนพื้นฐานความเป็นธรรมที่สามารถอธิบายด้วย หลักวิชาและมีแนวคิดสนับสนุนอย่างมีเหตุผลเสียก่อน (ตามภาพที่ 2 หรือ 3) แล้วจึงค่อยมาแบ่งพลังงานในอ่าวไทยทีหลัง
ภาพ 1 : แสดงการเตรียมแบ่งผลประโยชน์ในอ่าวไทยตามพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาเกินความเป็นจริง (พื้นที่สีเขียว) ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่ยกเลิก MOU 2544 ให้เสร็จในระยะเวลา 2 ปี 7 เดือนที่ผ่านมา และรัฐบาลเพื่อไทยกำลังจะสานต่อ
      
ภาพที่ 2 : แสดงภาพพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนโดยเริ่มจากการแบ่งครึ่งมุมเกาะกูดและเกาะ กง และใช้เส้นมัธยะของไทยแล้วจึงนับพื้นที่ที่มีโอกาสทับซ้อนอันเกิดจากผลของเกาะนอกฝั่งกัมพูชาเพียง 50% ซึ่งจะทำให้พื้นที่ที่จะแบ่งผลประโยชน์ทางพลังงานระหว่างไทย-กัมพูชา (พื้นที่สีเขียว) ลดลงจากพื้นที่ตาม MOU 2544
      
ภาพที่ 3 : แสดงภาพพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนโดยเริ่มจากการแบ่งครึ่งมุมเกาะกูดและเกาะ กง และใช้เส้นมัธยะของไทยแล้วจึงนับพื้นที่ที่มีโอกาสทับซ้อนอันเกิดจากผลของเกาะนอกฝั่งกัมพูชาเพียง 33.33% ซึ่งจะทำให้พื้นที่ที่จะแบ่งผลประโยชน์ทางพลังงานระหว่างไทย-กัมพูชา (พื้นที่สีเขียว) ลดลงอย่างมาก
       2. น้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกหากยากขึ้นทั่วโลก นับวันก็จะมีคุณค่าและมีมูลค่าแพงขึ้นทุกวัน (เสมือนทองคำผ้าป่าช่วยชาติของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนที่อยู่ในคลังหลวง) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจที่พยายามขุดเจาะสำรวจและสูบพลังงานจากทั่ว โลกถึงขั้นเข้าทำสงคราม แต่ในอีกด้านกลับสำรองและชะลอการใช้พลังงานในประเทศตัวเองให้มากที่สุดและ รักษาให้นานที่สุดเพื่อที่จะเป็นมหาอำนาจและสร้างอำนาจต่อรองในอนาคต ในขณะที่ประเทศไทยจะเร่งสัมปทานให้ขุดเจาะสูบพลังงานในอ่าวไทยทั้งๆ ที่ชาติได้ผลตอบแทนต่ำมาก ทั้งในแง่ภาคหลวงที่ต่ำติดดิน และกลายเป็นประเทศที่ส่งออกพลังงานซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติไปให้ต่างชาติใช้ สอย จนไม่รู้ว่าสัมปทานไปแล้วใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์?
      
       3. ที่ผ่านมาประเทศไทยเร่งแบ่งสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยให้กับสหรัฐ อเมริกาเป็นจำนวนมาก ทั้งยูโนแคล และเชฟรอน ในแง่ยุทธศาสตร์การเมืองและผลประโยชน์ระหว่างประเทศจึงขาดสมดุลในการคานอำนาจระหว่างมิตรประเทศ จึงทำให้พวกน้อยลง ความน่าสนใจในเชิงผลประโยชน์ก็น้อยลง ตรงกันข้ามกับกัมพูชาซึ่งให้ขุดเจาะสำรวจน้ำมันและก๊าซช้ากว่ากลับมีแรงจูง ใจและสร้างพวกได้มากกว่าในเวทีนานาชาติ นักการเมืองไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จึงมองสั้นกับเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวในยุครัฐบาลตัวเอง มากกว่าการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระยะยาว
      
       4. ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาผู้บริโภคและประชาชน และประเทศชาติเสียประโยชน์อย่างยิ่งจากการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ค่าภาคหลวงที่ต่ำ ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐกลายเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทในเครือของ ปตท.กลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนเอื้อประโยชน์ให้กับ ปตท.และบริษัทในเครือรวยขึ้นพร้อมๆ กับผู้ถือหุ้นที่รวยขึ้นอย่างมหาศาล บนความเดือดร้อนของประชาชนไปทุกหย่อมหญ้า การเร่งสูบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนโครงสร้างเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมกับประเทศชาติและประชาชน
      
       ดังนั้นการเร่งสูบพลังงานในอ่าวไทยมาใช้ให้เร็วที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่เป็นอยู่ ที่ เห็นได้ประโยชน์กันเต็มๆ ก็คือ นักการเมือง ผู้ถือหุ้น ผู้บริหารของ ปตท. และบริษัทในเครือ ตลอดจนประเทศกัมพูชา อีกทั้งบริษัทต่างชาติที่กำลังสวาปามสูบทรัพยากรของชาติกันให้รวยจนพุงปลิ้น





ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง