บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทวิเคราะห์ โครงการ New Thailand

Written by ทิศสยาม
61010_18991230145816 บทวิเคราะห์ – โครงการ New Thailand โดย ครรชิต ผิวนวล 
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้เชิญรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาประชุม โดยได้หยิบยกโครงการนิวไทยแลนด์ เพื่อการฟื้นฟูประเทศ หลังเกิดปัญหาอุทกภัย มาพิจารณา และยังสรุปว่าในระยะสั้นจะใช้งบประมาณในการฟื้นฟูประมาณ 1 แสนล้านบาท ส่วนระยะยาวจะใช้งบประมาณ 6-8 แสนล้านบาท โดยเน้นว่าแผนนี้จะใช้ข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนข้อเสนอของต่างประเทศมาหารือกันว่าจะฟื้นฟู ประเทศอย่างไร
ประเด็นของเรื่องนี้ที่ก่อให้เกิดการพูดจากันอย่างกว้างขวาง เริ่มที่ “ความไม่ชัดเจนของโครงการ” เนื่องจากผู้ที่ให้สัมภาษณ์คนแรกได้แก่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงในทำนองว่า กระทรวงพลังงานจะรับงานนี้ โดยเริ่มจากการนำนักศึกษาอาชีวะ มาช่วยในการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆที่ถูกน้ำ ท่วม รวมถึงรถยนต์ที่จมน้ำ รวมไปถึงกระทรวงฯจะลดราคาน้ำมันเครื่องลงร้อยละ 50 รวมถึงอาจจะพิจารณาลดค่าไฟฟ้าในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และจะมีโครงการว่าจ้างแรงงานขนานใหญ่ เข้าไปฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยอ้างว่าโครงการลักษณะนี้จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมๆกับการจ้างแรงงานด้วย พร้อมกันนั้น ก็ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เงินทุนในการฟื้นฟู ไม่ใช่ปัญหา เพราะประเทศมีเงินทุนสำรองค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันต่างประเทศก็เสนอตัวพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือในเรื่องของเงินลง ทุนด้วย (www.matichon.co.th วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการสอบถามความชัดเจนของโครงการกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ก็กลับได้รับคำตอบว่า “น่าจะเป็นการเรียกเล่นๆ แต่โดยรวมคือการแก้ปัญหาน้ำอย่างถาวร ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการอยู่แล้ว โดยจะลงไปศึกษารายละเอียด และจะได้ประกาศออกมา ส่วนเรื่องงบประมาณ ในส่วนงบ 8 หมื่นล้านบาทจะเป็นเรื่องการเยียวยาเร่งด่วน ภาคเอ็สเอ็มอี ธุรกิจรายย่อย รวมถึงเกษตรกร เป็นการดูแลประชาชนทั้งหมดเบื้องต้น ไม่รวมงบที่จะนำมาบูรณาการ 25ลุ่มน้ำ หรือโครงการถาวร” (www.posttoday.com วันที่ 31 ตุลาคม 2554)
การให้สัมภาษณ์โดยบุคคลระดับนายกฯและรัฐมนตรี ทำให้เกิดความสับสน ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น จะมีโครงการเหล่านี้หรือไม่ ใช้งบประมาณเท่าใด เพราะขนาดมีการพูดจากันถึงขั้นมีตัวเงินคร่าวๆออกมาแล้ว และมีโครงการออกมาแล้ว ยังมีเรื่องกลับไปกลับมาเช่นนี้  สื่อหลายๆแหล่งถึงกับกล่าวว่า การทำงานแบบนี้เป็นพฤติกรรมประจำของรัฐบาลนี้ไปแล้ว
อย่างไรก็ตามหลายๆฝ่ายยังคงให้ความสำคัญกับโครงการนี้อย่างจริงจัง ด้วยเข้าใจว่า รัฐบาลมักจะใช้วิธีพูดทีเล่นทีจริงเช่นนี้เสมอๆ เพื่อลดแรงกดดันในเรื่องนั้นๆ หรืออาจจะเป็นเพราะ นายกฯยังไม่พร้อมจะตอบเกี่ยวกับโครงการนี้ เพราะยังไม่เข้าใจก็เป็นได้
ประเด็นถัดไปที่ได้มีการกล่าวถึงมาก ได้แก่ ชื่อโครงการ ซึ่งถึงแม้จะใช้ชื่อว่า New Thailand เป็นภาษาอังกฤษ เขียนไทย นิวไทยแลนด์ แต่เมื่อแปลเป็นไทย ก็คือ “รัฐไทยใหม่” นั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีประเด็นทางการเมืองที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยการจัดตั้งกลุ่มเสื้อแดงใหม่ๆ (ซึ่งปัจจุบันพรรคเพื่อไทยก็ยอมรับตรงๆว่า นปช.เป็นส่วนหนึ่งและจัดเป็นส่วนสำคัญของพรรคฯ ดังจะเห็นได้ว่า แกนนำอันธพาลของกลุ่มฯหลายๆคน ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญๆของรัฐบาล) รัฐไทยใหม่เป็นแนวคิดทางการเมือง ของแกนนำเสื้อแดงที่ใช้เพื่อกระตุ้นประชาชนคนไทยธรรมดาๆในต่างจังหวัด ให้เข้าใจว่า รัฐไทยปัจจุบัน มีการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยพยายามสรรหาประเด็นต่างๆ เช่น ไพร่-อำมาตย์ ความยุติธรรม-สองมาตรฐาน ฯลฯ (ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็มีอยู่มากมาย และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ก็มีในทุกๆประเทศ แม้แต่ประเทศที่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นผู้นำทางด้านประชาธิปไตย) แนวคิดนี้ แกนนำคนเสื้อแดงได้นำเสนอ “ประชาธิปไตย” ตามแนวคิดของเขา เพื่อเป็นสื่อกระตุ้นประชาชนทั่วไปที่มีความรู้สึกว่าด้อยโอกาส เพื่อให้คิดว่า ประชาธิปไตยเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง หากประชาชนเดินตามแนวคิดนี้ ก็จะมี “โอกาส” ต่างๆมากขึ้น แล้วรัฐจะจัดให้ผู้คนเหล่านั้นมีทุกสิ่งทุกอย่างเสมอภาคกัน แม้ว่าโอกาสทางการศึกษาจะได้มาแล้ว จากรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ยังไม่สะใจ ยังไม่เข้าใจ คิดว่ารัฐบาลต้องยื่นทุกสิ่งทุกอย่างให้ แต่ความจริง..ไม่ใช่….แม้จะมีโอกาส แต่ประชาชนต้องทำเอาเอง ต้องทำงานหนัก เด็กๆต้องเรียนหนังสือให้เก่ง วัยรุ่นต้องมุมานะ วัยหนุ่มสาวต้องฟังให้มาก คิดมากๆ คบกับบัณฑิต แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันให้มาก ฯลฯ โอกาสทางการศึกษาจึงจะเกิดประโยชน์จริงจัง หรือกับโอกาสทางด้านอื่นๆก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีโอกาสก็จะต้องทำงานหนัก เช่นเดียวกับเรื่องของ สิทธิและหน้าที่ ซึ่งจะต้องมาพร้อมๆกัน ดังนั้นแนวคิดทางการเมืองเหล่านี้ เป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาใช้กระตุ้นจิตสำนึกของผู้คนให้เข้าใจไปในทางผิดๆ เท่านั้นเอง เพราะแม้เมื่อพรรคเพื่อไทยจะได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล บริหารประเทศ สิ่งที่รัฐบาลทำหรือพยายามทำก็เป็นไปเพื่อคนๆเดียวและเพื่อการรวบอำนาจ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
หลายๆท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นใน Facebook ทิศสยามเกี่ยวกับโครงการนิวไทยแลนด์ เชื่อว่า รัฐบาลตั้งใจใช้ชื่อนี้เพื่อสะท้อนแนวคิด “รัฐไทยใหม่” และส่วนใหญ่ต่างมีความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันว่า แนวคิดทางการเมืองในลักษณะนี้นำมาใช้เพื่อการชี้นำประชาชนในชนบทไปในทางผิดๆ และเมื่อมีผู้คนเชื่อถือ ก็จะพยายามใช้โอกาสนี้ชักชวนประชาชนไปในทางที่ผิดๆได้ ตัวอย่าง เช่น การนำกลุ่มประชาชนประท้วงและบุกทำลายการประชุม สุดยอดอาเซียน จัดขึ้นที่พัทยาในช่วงปีพศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ต้องเสียโอกาส และเสียหน้าอย่างมากในการที่ไม่สามารถควบคุมให้การประชุมสามารถดำเนินไปได้ จนเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียทั้งชื่อเสียงและเกียรติยศของประเทศ
ประเด็นที่สามที่น่าสนใจคือ โครงการนิวไทยแลนด์ ที่รัฐบาลพยายามนำเสนอในที่นี้ เน้นประเด็นทางเศรษฐกิจเท่านั้น (โดยไม่พูดถึงประเด็นทางการเมืองเลย) เช่น การพูดถึงเรื่อง การจ้างงานจำนวนมาก การได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากโครงการต่างๆ และเสริมด้วยมาตรการประชานิยม เช่น การลดค่าน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัย เป็นต้น ทั้งยังได้เกริ่นไปถึงเรื่องเงินลงทุนในโครงการ ซึ่งอาจจะดึงมาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ มีเงินทุนสำรองของประเทศ และเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งประเด็นเหล่านี้หลายท่านใน Facebook ต่างๆเกือบทุกเพจ แสดงความเห็นว่า นอกจากไม่ถูกกาลเทศะ (เนื่องจากขณะนี้ปัญหาหลักอยู่ที่ เวลานี้น้ำยังคงท่วม และกำลังขยายวงท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้น) แล้ว การนำเสนอแนวทางความช่วยเหลือต่างๆ โดยเฉพาะกับ นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานต่างๆ ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังขาดข้อมูลอีกมาก ตัวเลขความเสียหายในปัจจุบันเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ควรที่จะพูดถึงเรื่องงบประมาณที่จะนำมาช่วยเหลือด้านต่างๆมากเกินไป ทั้งนิคมและโรงงานส่วนใหญ่ก็มีประกันภัยทั้งสิ้น การให้ความช่วยเหลือในภาครัฐสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจากภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้เรื่องความเสียหายของประชาชน น่าจะได้รับการพูดถึงมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ไม่มีประกันภัย
ข้อเสนอความช่วยเหลือของภาครัฐที่เร่งรีบจัดทำเกินไป ทำให้ หลายฝ่าย เกิดความสงสัยเกี่ยวกับ ความโปร่งใสในการพิจารณาโครงการ และการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการต่างๆ เนื่องจากในอดีตรัฐบาลต่างๆล้วนมีชื่อเสียเกี่ยวกับการเรียกรับเปอร์เซ็นต์ ของเงินงบประมาณมาแล้วทั้งสิ้น
นอกจากนี้งบประมาณที่จะนำมาใช้ในการช่วยเหลือเหล่านี้ล้วนแล้วต้องมาจาก ภาษีจากประชาชนทั้งสิ้น แม้จะอ้างว่ามีเงินสำรองเป็นจำนวนมาก หรือหลายประเทศอยากให้กู้ แต่เงินทุนสำรองและเงินกู้เหล่านี้ก็ต้องชดใช้ด้วยเงินจากภาษีอากรจาก ประชาชนคนไทยทั้งประเทศทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่เงินทุนสำรอง ก็จะต้องชดใช้กลับให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การกู้เงินจำนวนมหาศาลเช่นนี้จะส่งผลให้เงินกู้ของประเทศเกินขอบเขตที่เหมาะ สม ที่ไม่เกินร้อยละ 50-60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ การกู้หนี้จำนวนมหาศาลและยังมีโครงการประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยให้สัญญากับ ประชาชนไว้ จะทำให้ประเทศชาติประสบปัญหาไม่มีเงินจากภาษีอากรเพียงพอที่จะมาใช้หนี้ (คล้ายคลึงกับสภาพของประเทศกรีซในปัจจุบัน – กรุณาศึกษาบทความปัญหาหนี้สินของประเทศกรีซ ในเว็บทิศสยามนี้) ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีฐานะยากจน มีการใช้จ่ายเกินรายได้จึงมีหนี้สินมาก ประกอบกับฐานภาษีของประเทศยังแคบมาก ประชาชนกว่า 80%ของประเทศยังไม่เสียภาษี ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะจากบทเรียนในอดีตที่ประเทศไทยประสบปัญหาด้านการเงิน ทำให้รัฐและภาคเอกชนต้องขายกิจการต่างๆในราต่ำกว่าทุนมาก
นอกจากนี้ การพูดถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ ก็ควรจะต้องมีรายละเอียดของโครงการมากกว่านี้ เพื่อให้สามารถประเมินสภาพการเปลี่ยนแปลงและปรังปรุงทางเศรษฐกิจ เช่น การประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆของประเทศได้อย่างเหมาะสม
จากประเด็นต่างๆดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้สื่อต่างๆคาดการณ์เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลในทางที่ไม่น่าเชื่อ ถือหลายๆประการ และยังคาดว่า การดำเนินโครงการ “นิวไทยแลนด์” อาจจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นการดำเนินโครงการที่ส่งผลทางเศรษฐกิจหลายๆลักษณะ ทั้งโครงการระบายนํ้า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสื่อสาร ซึ่งหากเกิดความขัดแย้งขึ้น ก็จะนำประเด็นทางการเมืองมาเป็นเครื่องมือสนับสนุน โดยจะนำแนวคิด “รัฐไทยใหม่” กลับมาใช้อีกครั้ง ระดมพลพรรคมาสนับสนุน ใช้แนวคิดนี้เป็นข้ออ้างบีบให้ฝ่ายค้านหรือนักวิชาการที่เห็นต่างไม่สามารถ พิจารณารายละเอียดโครงการอย่างรอบคอบ ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง และหากเป็นเช่นนั้น ความเสียหายครั้งนี้จะส่งผลให้ประเทศไทยดำดิ่งเข้าสู่ปัญหาทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจที่อาจจะไม่สามารถหาทางฟื้นฟูประเทศได้ง่ายๆอย่างที่ผ่านมา พร้อมกันนั้น ก็จะใช้แนวคิดนี้ หาทางทำลายความเชื่อเดิมๆของประชาชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสถาบันต่างๆ โดยอ้าง “ประชาธิปไตย” ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่โลกเข้าใจแต่อย่างใด แต่จะอาศัยการครอบงำทางความคิด โดยใช้หลัก “ความจริงเพียงบางส่วน” และ “ความจริงผสมเท็จ” ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ยากจะจับผิด
ประเด็นหนึ่งที่ได้มีการนำเสนอขึ้นมาในการวิเคราะห์โครงการนี้ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Developmentization ซึ่งหมายถึงแนวคิดที่พยายามยกเรื่องการพัฒนาขึ้นเหนือระดับการเมือง หลักการของ Developmentization เป็นหลักการที่ดี ที่นักวิชาการที่ต้องการทำงานพัฒนาจริงๆ พยายามเสนอแนะ จนในที่สุดได้แนวทางดำเนินการที่ชัดเจน แต่ความหมายในที่นี้กลับเป็นตรงกันข้าม ท่านอาจารย์ผู้นำเสนอประเด็นนี้ คาดว่า รัฐบาลอาจจะใช้แนวคิดนี้เพื่อเป็นเหตุผลและความชอบธรรมในการดำเนินโครงการ มาตรการ ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบต่างๆ เกี่ยวกับที่มาของเงินทุน และการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่ผ่านการตรวจสอบที่ชัดเจนและเหมาะสม ซึ่งในอดีตก็มีรัฐบาลหลายๆชุดใช้แนวคิดนี้ หักล้างข้อเสนอแนะที่ดีและการตรวจสอบโครงการของนักวิชาการโดยมักจะอ้างว่า นำการเมืองมาเล่นในการพิจารณาและดำเนินโครงการ ทั้งๆที่การตรวจสอบต่างๆก็เน้นด้านวิชาการ แต่รัฐบาลเองกลับนำประเด็นทางการเมืองมาแอบแฝงในการดำเนินโครงการ
ฉะนั้นในการดำเนินโครงการ “นิวไทยแลนด์” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้อกังวลต่างๆข้างต้น ซึ่งถึงแม้ว่านายกฯจะไม่ดำเนินการเอง หรือไม่สั่งการโดยตรง แต่ก็มีโอกาสที่แกนนำกลุ่มต่างๆในพรรคฯจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ไม่ว่าจะโดยมีการสั่งการจากต่างประเทศโดยตรงหรือไม่ก็ตาม หรืออาจเป็นเพียงการประสานงานระหว่างกัน (ที่มีผลตอบแทนทางการเงินและอำนาจ) ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินงานต่างๆที่ผ่านมา ก็มีลักษณะเช่นว่านี้ ส่วนนายกฯก็อาจทำหน้าที่เพียงการ “รับลูก” เท่านั้น




วิธีคิดของชาวไทยบางกลุ่ม

Written by on 04/11/2011 in เกาะกระแส -
people โดย เปโตร ธนัชชนม์ ธนาธิป-ปริพัฒน์ 
มีการสร้างคำพูดและชุดคำพูดขึ้นมาอย่างมากมายในสังคมไทยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปฏิกิริยาบางอย่างที่ชาวไทยมีต่อสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ ดูผิวเผินแล้วอาจเป็นเพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งปรากฏอย่างเป็นปรกติในประเทศที่มีแนวโน้มไปในทางประชา ธิปไตยมากกว่าเผด็จการ อย่างไรก็ดี ชนิดย่อยของระบอบการปกครองแบบต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทั่วโลกว่า ระบอบใดจะสร้างสันติสุขอย่างแท้จริงให้กับสังคม ก็เป็นกระบวนการที่ยังดำเนินการอยู่บนซากศพของชาวบ้านรากหญ้าที่ไร้การศึกษา ตามอุดมคติรัฐและได้รับผลกระทบโดยตรงจากทุกๆ เภทภัยซึ่งเป็นผลพวงมาจากการอภิปรายและเคลื่อนไหวอย่างเผ็ดร้อนระหว่างผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันก็เท่านั้นแต่ปัญหาลักษณะนี้กลับถูกทำให้เข้มข้นขึ้นในประเทศไทยอาศัยวิธีคิดแบบ “ข้ามาฅนเดียว” ซึ่งที่จริงขยายไปได้อีกว่า “กลุ่มข้ามาฅนเดียว”
เมื่อรากฐานแห่งความคิดเช่นนี้ถูกปลูกฝังอย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ในประเทศไทย การแบ่งพรรคแบ่งพวกจึงปรากฏขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยอ้างทฤษฎี บางอย่างเกี่ยวกับคุณลักษณะของการรวมกลุ่มของมนุษย์ สำนวนไทยประเภท “นายว่าขี้ข้าพลอย” จึงพบเห็นได้ไม่ยาก ไม่ว่า นายจะเป็นผู้ดีเก่าของสังคม หรือจะเป็นไพร่ซึ่งถูกทำให้เป็นเจ้านายแบบใหม่ อันความไม่รู้จักแยกแยะและเขลาต่อการเผชิญการอภิปรายด้วยจิตใจสงบดูจะเป็น สิ่งที่ขาดแคลนอย่างมากในประเทศไทย เราจึงพบว่า นักคิดบางส่วนในประเทศไทยซึ่งพยายามเลียนแบบสิ่งที่เรียกว่า “ไม่งี่เง่าและล้าหลัง” ในวัฒนธรรมตะวันตกกลับเป็นฝ่ายสร้างความยุ่งยากอันไม่อาจควบคุมและรับผิดชอบ คำพูดของตนเองได้เพราะเหตุผลวิบัติของตนเองนั่นเอง
“กลุ่มของข้า” เป็นผลที่ควบคุมไม่ได้จากวิธีคิดแบบข้ามาฅนเดียว ปรากฎการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือ ถ้านายไก่ซึ่งสังกัดกลุ่มที่มีนายเป็ดเป็นแกนนำและกลุ่มนี้ก็เป็นที่ทราบกัน โดยทั่วไปว่า ไม่ค่อยจะลงรอยทางความคิดนักกับกลุ่มที่มีนายห่านเป็นผู้นำ โดยมีหลักฐานจากการที่ทั้งสองกลุ่มกระตือรือร้นที่จะผลิตถ้อยคำย้อมสีตลอด เวลา วันหนึ่ง เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในประเทศซึ่งเรียกร้องให้ทุกกลุ่มเหล่านั้น (รวมกลุ่มห่านกับเป็ดด้วย) จำเป็นต้องร่วมมือกันแม้จะจับมือทำงานกันอย่างไม่จริงใจนักก็ตาม ปัญหาจริงก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอย่างเงียบเชียบหรือที่นิยมเรียกกันว่า สงครามเย็นหรือสงครามประสาทอะไรก็ตามแต่ ซึ่งหลักฐานหนึ่งก็คือ การที่นายห่านปัดทิ้งหรือเพิกเฉยต่อความคิดเห็นอันมีประโยชน์ของนายไก่ ทำนองเดียวกัน เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นอีก เมื่อไก่เองก็ปัดทิ้งหรือเพิกเฉยต่อความคิดเห็นอันมีประโยชน์ของกลุ่มนาย ห่าน สุดท้ายพี่น้องของทั้งสองกลุ่มก็จะผลิตถ้อยคำย้อมสีสาดใส่กันและกันต่อไป และนั่นกระบวนการที่ยังดำเนินการอยู่บนซากศพของชาวบ้านรากหญ้าที่ไร้การ ศึกษาตามอุดมคติรัฐก็จะดำเนินอยู่ต่อเนื่องไป และจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายจะมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากสงครามความคิดเห็นแย้งหรือการถูกล่อลวงให้เข้าสงครามแห่งการ ย้อมสีคำพูดก็ตามที ดังนี้ ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดล้มตายไปได้หมดเสียก่อน มิติของ “กลุ่มข้า” และ “(ผู้นำ)ข้ามาฅนเดียว” จะยิ่งเด่นชัดขึ้น
ไม่ใช่ว่าห้ามคิดหรือแสดงความคิดเห็นแย้ง แต่สังคมควรเรียกร้องความละเอียดรอบคอบในการแสดงความคิดเห็น กล่าวคือ คำพูดหรือประโยคไม่ควรมีการย้อมสีเกินจริง ยกตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่แสดงให้เห็นถึงความเกลียดชังและโกรธเกลียดซึ่งถูกนำมาเป็นเหตุผลใน การล้มล้างอะไรบางอย่าง แต่สิ่งที่ควรกระทำคือ การใช้เหตุผลพิสูจน์ให้ได้ว่าเหตุใดสิ่งที่ต้องการล้มล้างนั้นมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องล้มล้างหรือปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอาศัยการเสวนาและ อภิปรายกัน และวิธีแบบนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ชาวไทยพัฒนาการใช้เหตุผลและตรรกะ จนหลุดพ้นจากการใช้เหตุผลวิบัติทางจิตวิทยาดังที่ดาษดื่นอยู่นี้ ซึ่งนั่นจะทำให้เป้าหมายในอันที่จะสร้างสันติสุขอย่างแท้จริงให้กับสังคม คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดใครที่เสแสร้งก็ให้ลดความหยาบกระด้างของจิตใจใครที่รุนแรงเกินไปก็ให้ลดความหยาบกระด้างของจิตใจเช่นกัน:)
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง