วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2554) มีกฎกระทรวงฉบับใหม่ออกมา ผู้ที่ประสบความเสียหายจากส
าธารณภัย เช่น ภัยจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ให้เก็บหลักฐานความเสียหายไว้นะครับ เมื่อผู้อำนวยการท้องถิ่นของท่าน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล อบจ. กทม. พัทยา) ได้เริ่มสำรวจความเสียหาย ให้แจ้งต่อผู้อำนวยการท้องถิ่นของท่าน และรับค่าเสียหายที่ส่วนท้องถิ่นของท่านนะครับ
ความเสียหายนี้ ท่านต้องเชื่อหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการบำบัดภยันตรายของเจ้าหน้าที่ด้วยครับ ตัวอย่างที่อาจพบได้ เช่น
1. การปิด-เปิดเขื่อน (ตามที่เป็นกระแสข่าว)
2. ปริมาณน้ำที่ปล่อย หรือระบายจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง
3. การผันน้ำ ทำให้น้ำไปท่วมที่หนึ่ง ไม่ท่วมอีกที่หนึ่ง
4. ความพยายามในการป้องกันหรือบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. อื่น ๆ
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่กั้นน้ำทำให้น้ำท่วมอีกฝั่งหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันอีกฝั่งหนึ่งน้ำไม่ท่วม ฝั่งที่ถูกน้ำท่วมจะมีสิทธิขอรับค่าเสียหาย ส่วนฝั่งที่ไม่ถูกน้ำท่วมไม่มีสิทธิขิรับค่าเสียหาย
ท่านอาจจะไม่ได้รับเงินตามที่เสนอทั้งหมด เพราะทางราชการจะมีการใช้ราคากลางที่ราชการกำหนดตามที่เป็นอยู่ในวันที่เกิดความเสียหายและมีการคิดค่าเสื่อมราคา ตลอดจนอื่นๆ ด้วยครับ (เช่น กระทรวงการคลังกำหนดอัตรามาให้ หรือความร่ำรวยของแต่ละท้องถิ่น, ...)
กรุณาอ่านรายละเอียดที่นี่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/080/1.PDF ถ้าท่านไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับนี้ก่อน ท่านอาจจะไม่สามารถฟ้องศาลปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ทันทีนะครับ
__________________
สาระสำคัญของกฎกระทรวง
1. ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครแห่งพื้นที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ รายงานต่อผู้อำนวยการจังหวัดหรือผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรจะรู้ถึงความเสียหาย เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหายจากการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยให้ผู้อำนวยการจังหวัดหรือผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่กำหนด
2. กรณีที่ผู้เสียหายมิได้อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียหายและทรัพย์สินที่เสียหาย ผู้เสียหายนั้นอาจร้องขอชดเชยความเสียหายต่อผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครแห่งพื้นที่ที่ทรัพย์สินของผู้เสียหายตั้งอยู่ โดยให้ ผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครออกใบรับคำขอแก่บุคคลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน แล้วส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าชดเชยความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหายดำเนินการโดยไม่ชักช้า
3. กรณีที่ผู้เสียหายมิได้อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียหายและทรัพย์สินที่เสียหาย ผู้เสียหายนั้นอาจร้องขอชดเชยความเสียหายต่อผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครแห่งพื้นที่ที่ทรัพย์สินของผู้เสียหายตั้งอยู่ โดยให้ ผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครออกใบรับคำขอแก่บุคคลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน แล้วส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าชดเชยความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหายดำเนินการโดยไม่ชักช้า
4. ให้คณะกรรมการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งหากไม่อาจดำเนินการได้ทันภายในกำหนดจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งทราบเพื่อพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาออกไปอีกไม่เกินสามสิบวัน
5. ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าชดเชยความเสียหายโดยคำนึงถึงสภาพของทรัพย์สิน ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด หรือเทียบราคาที่อ้างอิงจากราคากลางที่ทางราชการกำหนดตามที่เป็นอยู่ในวันที่เกิดความเสียหาย การเสื่อมราคาจากการใช้ การที่ทางราชการได้บรรเทาหรือแก้ไขความเสียหายไปแล้ว และปัจจัยอื่นที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม โดยให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่ต้องเรียกชดใช้ตามความรับผิดทางละเมิดตามที่กระทรวงการคลังกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
6. ให้จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย โดยให้ใช้เงินจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ที่มา กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายจากการบำบัดภยันตรายจากสาธารณภัย พ.ศ. 2554 (ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2554)