บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ย้อนข่าวในอดีต ฟลัดเวย์หายไปไหน

      พลิกทำเลทอง'สุวรรณภูมิ'เปิดโครงการจัดสรรที่ดิน   ( 25 ธันวาคม 2547 )   หลังจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบาย ยกระดับสนามบินสุวรรณภูมิ ให้เป็นศูนย์กลางการบินที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชีย ด้วยการกำหนดให้ เป็นมหานครสุวรรณภูมิหรือเมืองแฝดของกทม.ที่จะเป็นเขตปกครองพิเศษ พร้อมยกร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งเมืองดังกล่าว โดยครอบคลุมพื้นที่บริเวณ 200,000 ไร่ ในแถบพื้นที่รอยต่อจังหวัดสมุทรปราการและกทม.โดยใช้เม็ดเงินลงทุน 1.3แสนล้าน เพื่อจูงใจให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างมากในพื้นที่โดยรอบทั้งภาครัฐและเอกชนเจ้าของที่ดินกคช.-ธปท.ส้มหล่น! เรื่องดังกล่าวนายบัญชา รังคะรัตน รองผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กคช.มีที่ดินบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 3 แปลง ได้แก่ บริเวณบางพลีอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรภูมิ 7-8 กิโลเมตร จำนวน 1,500 ไร่ พื้นที่บริเวณถนนร่มเกล้า เกือบ 1,000 ไร่ และบริเวณห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ 5 กิโลเมตร 700 ไร่ มองว่าที่ดินบางส่วนจะเฉือนขายให้กับเอกชนที่สนใจ โดยเฉพาะกรณีที่จะเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นโครงการเมืองใหม่ นอกจากนี้แล้ว ที่ดินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) 300 ไร่ที่ได้ซื้อต่อจากกคช. เมื่อ10 ปีที่ผ่านมาในราคาไร่ละ 1ล้านบาท เพื่อทำโรงพิมพ์พันธ์บัตร แต่ไม่ได้ทำโดยปล่อยที่ดินทิ้งร้างไว้ ซึ่งกคช.จะซื้อกลับและนำมาขายต่อให้เอกชนต่อไปได้อีก ผู้ว่ากคช.สบช่องเทขายที่ดินแปลงงาม   นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ (กคช. )กล่าวว่า ในปีหน้านี้กคช.จะขายที่ดินจำนวน 3 แปลง คือ ที่บางพลี ร่มเกล้า และย่านธนบุรี (ถนนพระราม 2) โดยที่บางพลีมีจำนวน 1,000 ไร่ ที่ร่มเกล้า 1,500 ไร่ ทั้งสองแปลงนี้จะตัดขายเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่ย่านธนบุรี มีจำนวน 40 ไร่ จะขายหมดทั้งแปลง ทั้งนี้เพื่อนำเป็นรายได้กลับเข้ามาสู่กคช. ลดการขาดทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินราคา คาดว่าจะรู้ผลในวันที่ 15 มกราคมนี้ โดยคาดการณ์รายได้น่าจะอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาทถึงบางอ้อ! สาเหตุรื้อผัง"เขียวลาย"จากแนวนโยบายดังกล่าวจึงเป็นช่องทางให้กลุ่มนักการเมืองและภาคเอกชนที่มีที่ดินตุนอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบและเกษตรกรรม(พื้นที่สีขาวทะแยงเขียว) ซึ่งกำหนดให้เป็นแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับน้ำโซนตะวันออกเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ตามพระราชดำริในหลวงให้สามารถพัฒนานาเป็นที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ได้ โดยมี นายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครเขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในการเรียกร้องให้รัฐบาลและกทม.รื้อร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ โดยได้ให้ความเห็นว่า สำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินบิรเวณพื้นที่เขียวทะแยงขาวหรือพื้นที่รับน้ำดังกล่าวให้เกิดความเหมาะสมสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นในเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับสนามบินสุวรรณภูมิและเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต    นอกจากนี้แล้วในการกำหนดให้พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเขตปกครองพิเศษดังนั้นทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ขาวทะแยงเขียวจะต้องสามารถทำประโยชน์ให้เกิดรายได้เข้ารัฐด้วย ที่สำคัญประชาชนและเอกชนเจ้าของพื้นที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวค่อนข้างมาก แนวรับน้ำ "ฟลัดเวย์"สะเทือน    ทางด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาเมืองโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิตามที่สภาพัฒน์ศึกษาก็สามารถทำได้ แต่กรณีที่ต้องใช้ที่ดินมากถึง 200,000 ไร่นั้น กินพื้นที่เขตกทม.มากน้อยแค่ไหนนั้นต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมองว่า จะต้องกระทบกับร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ที่จะเสนอเข้าครม.ของรัฐบาล"ทักษิณ"สมัยหน้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี กทม.จะต้องหารือว่าจะต้องมีการปรับแก้ร่างผังเมืองบริเวณดังกล่าวที่ส่วนใหญ่กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว หรือการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่สีขาวทะแยงเขียวให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในการสร้างเมืองใหม่ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เชื่อไม่กล้าแตะ"ฟลัดเวย์"   อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่กล้าแตะพื้นที่แนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับน้ำตามตามพระราชดำริแต่อย่างใด เพราะกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงด้วย หากจะต้องปรับจริงก็ต้องปรับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้แล้วแม้ว่าจะกำหนดให้เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่แนวฟลัดเวย์ก็ตามแต่เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะเว้นช่วงไว้ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่รับน้ำเหมือนเดิม เพราะหากนำไปใช้ประโยชน์เกรงว่าในอนาคตจะเกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ สอดคล้องกับนายอิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่า เชื่อว่ารัฐบาลไม่กว้าแตะต้องพื้นที่ดังกล่าวอย่างแน่นอน แม้ว่าจะกำหนดเป็นผังการใช้ประโยชน์ของเมืองใหม่ทั้งหมดก็ตามแต่จะต้องเว้นพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่ออนุรักษ์อย่างแน่นอน ราคาที่ดินพุ่งรับกว่า4-5เท่าตัว นอกจากนี้แล้วนายอิสระ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาที่ดินบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิในพื้นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ หากรัฐบาลใช้วิธีจัดรูปที่ดินและมีสาธารณูปโภค อาทิ ถนน รถไฟฟ้า ฯลฯ เข้าไปถึงพื้นที่ น่าจะขยับตัวสูงขึ้นประมาณ กว่า 4-5 เท่าตัว โดยบริเวณที่มีโครงการบ้านจัดสรร ราคาเฉลี่ยสูงสุดขณะนี้ประมาณ ตารางวาละ 40,000-50,000 บาท นอกจากนี้แล้วที่ดินในพื้นที่ตาบอดก็จะสามารถพัฒนาได้และมีการปรับราคาขึ้นอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับนายประสงค์ เอาฬาร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวเสริมว่า ราคาที่ดินจะขยับสูงขึ้นหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน แต่จะปรับสูงขึ้นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับทำเลที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะที่ดินที่มีถนนตัดผ่านราคาจะสูงขึ้นเป็นพิเศษ เพราะขณะนี้ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นอยู่แล้วช่วงที่มีข่าวว่าสนามบินฯจะเปิดให้บริการ โดยจะสังเกตุได้ว่า ปีนี้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจพื้นที่รอบสนามบินเป็นพิเศษและเข้ามาลงทุนพื้นที่โดยรอบมากขึ้นโดยเฉพาะบ้านเดี่ยว ขนาด50-100 ตารางวาเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในรัศมี 10 กิโลเมตรห่างจากตัวสนามบินสุวรรณภูมิ มีเกิดขึ้นใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ และแน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีกลุ่มนักลงทุนเข้ามาซื้อที่ดินหรือที่มีแลนด์แบงก์ในมืออยู่แล้วก็จะเร่งพัฒนาโครงการดักหน้าเพื่อรองรับทั้งโครงการเมืองใหม่และสนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนพื้นที่แนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่ขาวทะแยงเขียวก็น่าจะมีผลกระทบบ้าง แต่ก็จะต้องดูต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไร แห่กว้านซื้อที่ดิน ในขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า ขณะนี้มีโครงการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้นจำนวมาก ไม่ต่ำกว่า 100 โครงการรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และเชือ่ว่าหากโครงการเมืองใหม่เกิดขึ้นจะมีกลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาพัฒนาโครงการมากขึ้น และขณะนี้ราคาที่ดินได้ขยับขึ้นไปแล้วเฉลี่ย 20 % อาทิ บางพลี ราคาที่ดินสูงสุดตกไร่ละ 10ล้านบาท ส่วนพื้นที่รอบๆออกไปราคาเฉลี่ย 4-5ล้านบาทต่อไร่ และในอนาคตหากมีโครงการนี้เกิดขึ้นจริงราคาที่ดินจะขยับตัวสูงขึ้นไปอีก นอกจากนี้แล้วเชื่อว่าจะมีกลุ่มนายทุน ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ ตลอดจนเอกชนจะเข้าไปกว้านซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวกันมากขึ้น เพื่อรองรับโครงการนี้   “ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ”      
Real Estate News

    เด็กทรท.รุมฉีกฟลัดเวย์ 10บิ๊กอสังหารอส้มหล่น   ( December 19, 2004 )


กลุ่ม
ทุนอสังหาฯ-นักการเมือง ดิ้นอีกรอบ !ขอปรับสีผังที่ดินแนว"ฟลัดเวย์ "
กว่าแสนไร่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ วิ่งฝุ่นตลบ
ล็อบบี้รัฐบาลทักษิณขอปรับสีผัง ระบุหัวโจกใหญ่ เป็นกลุ่มส.ส.
พรรคไทยรักไทยเขตมีนบุรี "วิชาญ มีนชัยนันท์" ครอบครองที่ดิน กว่า1,000 ไร่
เผย10 บิ๊กนักพัฒนที่ดิน ตุนที่ดินในเขตเขียวลายเพียบ ไล่ตั้งแต่ "ประสงค์
เอาฬาร-หมอบุญ
ศุภาลัย-พฤกษา แลนด์แอนด์เฮาส์-เค.ซี บี
แลนด์-ประภาวรรณกรุ๊ป รวมถึงตระกูลดัง"อัศวเหม" และอดีตเจ้าแม่อาวุธ "ราศี
บัวเลิศ" พ้องเสียงผลักดันอยากปรับสีผังเป็นสีเหลือง ขณะที่ "วิษณุ"
สั่งกทม.รื้อร่างผังเมืองใหม่ข้อ 38 อ้างให้อำนาจกทม.เกินขอบเขต
พร้อมฟันธงเลื่อนประกาศใช้หลังเลือกตั้ง
"อภิรักษ์"ผู้ว่ากทม.เสียงอ่อยแก้ไม่แก้สีผังแล้วแต่ครม.


สืบ
เนื่องจากหนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ"
ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประกอบการ
และกลุ่มนักการเมืองที่ได้ออกมาเคลื่อนไหว
ขอแก้ไขผ่อนปรนร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(กทม.)ฉบับใหม่
ที่จะประกาศใช้แทนผังเมืองรวมกทม.ฉบับที่ 414ที่หมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 4
กรกฎาคม 2547 และกทม.กำหนดที่จะประกาศใช้ในช่วงสิ้นปี
2547ไม่เกินเดือนมกราคม2548นั้น

ล่า
สุดนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)
เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่
อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบตั้งแต่ช่วงปลายปี
2547 ที่ผ่านมา และ คาดว่าจะสามารถประกาศได้ในราวต้นปี 2548
แต่ยังไม่สามารถระบุว่าจะเป็นช่วงไหนขึ้นอยู่กับครม.จะพิจารณาแก้ไขหรือจะมี
การเลื่อนการประกาศผังเมืองกทม.ใหม่ออกออกไป

ต่อ
ข้อถามที่ว่าจะต้องมีการแก้ไขเนื้อหาสาระเพิ่มเติมหรือไม่
หากเอกชนเห็นว่าร่างผังดังกล่าวมีความเข้มงวดเกินไป นายอภิรักษ์กล่าวว่า
ยอมรับว่าร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับที่จะออกมาบังคับใช้แทนผังเมืองฉบับเก่า
ที่หมดอายุลง เนื้อหาสาระน่าจะเหมาะสมแล้ว
เพียงต้องการให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมทำความเข้าใจและวางแผนพัฒนาที่ดินตาม
ผังเมืองในอนาคตมากกว่า
อย่างไรก็ดีกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระของร่างผังเมืองรวม
กทม.ตามที่มีการร้องเรียนให้แก้ไขหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับครม.ว่าจะเห็นสมควรอย่างไร

ใน
ขณะที่ แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวเพิ่มเติมว่า
ขณะนี้ทางสำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
กำหนดจะนำร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่เข้าครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบภายหลัง
จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในการจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า
ที่เชื่อว่ารัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมีเสียงข้างมาก
และเข้ามาบริหารประเทศต่ออีกสมัย

ทั้ง
นี้ทางสำนักนายกรฐมนตรี ได้ท้วงติงว่ากทม.ไปพิจารณาร่างผังเมืองข้อ 38 ใหม่
ที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินรองหรือพื้นที่โควต้า10 %
ของการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก อาทิ การอนุญาตให้พัฒนาเชิงพาณิชย์10 %
ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหลักฯลฯ
โดยตั้งข้อสังเกตุว่า ไม่จำเป็นต้องสอบถามจาก กทม.
อีกว่าใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ได้
เพราะจะเกิดความล่าช้าและมอบหมายให้กทม.ไปหารือกับกฤษฎีกาว่าสามารถดำเนิน
การได้อย่างไร

อย่าง
ไรก็ดีตามข้อเท็จจริงแล้วกรณีที่มีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวมกทม.ฉบับ
ใหม่ล่าช้าออกไปแหล่งข่าวกล่าวยืนยันว่า เพราะ
มีกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มในพื้นที่ อย่างกรณีของนายวิชาญ มีนชัยนันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย และพวกพ้อง
เป็นแกนนำในการวิ่งล็อบบี้รัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เพื่อขอปรับสีผังบริเวณแนว "ฟลัดเวย์" หรือพื้นที่สีขาวทะแยงเขียวทั้งหมด
ที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โซนตะวันออก
บริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน กว่าแสนไร่
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตมีนบุรี เขตหนองจอกบางส่วน เขตลาดกระบัง
เขตคลองสามวา
ที่ร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่กำหนดให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้นหาก
ต้องการจัดสรรที่ดินเชิงพาณิชย์จะต้องมีขนาดแปลงที่ดินขนาด 1,000 ตารางวา
หรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป จากผังเดิมกำหนดให้พัฒนาตั้งแต่ 100 ตารางวาขึ้นไปได้
โดยเสนอให้ปรับจากสีขาวทะแยงเขียวหรือเขียวลายเป็นเป็นพื้นที่สีเหลือง
หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อสามารถพัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์

ทั้งๆ
ที่บริเวณดังกล่าวเป็นแนวพระราชดำริ
กำหนดให้เป็นแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับน้ำมาตั้งแต่ปี 2535
ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากทางตอนเหนือของกทม.เพื่อระบายลงสู่อ่าวไทยเพื่อแก้
ปัญหาน้ำท่วม
ดังนั้นกทม.จึงไม่สามารถที่จะปรับตามที่เอกชนและนักการเมืองกลุ่มดังกล่าว
ต้องการได้

แหล่ง
ข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้แล้วช่วงที่ผ่านมา มีนักลงทุน
นักการเมืองได้พยายามยืมมือประชาชนเจ้าของพื้นที่
โดยร่วมกับกลุ่มพัฒนาที่ดิน
ส่งเรื่องร้องเรียนมายังกทม.และสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อให้เกิดเสียงร้องเรียนจำนวนมากๆ
เพื่อต้องการผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้องเพราะมีที่ดินอยู่ในแถบนั้นไม่
ต่ำากว่า1,000 ไร่

ทั้ง
นี้จากปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องการปรับสีผังแนวฟลัดเวย์ ดังกล่าว
ทางกทม.จะร่วมกันหาทางออกกับกรมชลประทาน ด้วยการขุดคลองระบายน้ำใหม่
ขึ้นมาแทนที่แนวฟลัดเวย์ที่กำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งหมด
ซึ่งจะสามารถปรับพพื้นที่แนวฟลัดเวย์ที่เหลือเป็นพื้นที่สีเหลืองในอนาคต
ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ ราว 2 ปีนับจากนี้เป็นต้นไป
แต่ขณะนี้กทม.ขอยืนยันว่าจะขณะนี้ไม่ปรับเปลี่ยนสีผังแต่อย่างเด็ดขาด"

จาก
การสำรวจของ
"ฐานเศรษฐกิจ"พบว่ามีกลุ่มนักการเมืองและบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่มีที่ดิน
อยู่ในพื้นที่ขาวทะแยงเขียวจำนวนมาก อาทิกลุ่มของวิชาญ มีนชัยนันท์
ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย
และพี่น้องที่เป็นทั้งสมาชิกสภากทม.(ส.ก.)และสมาชิกสภาเขต กทม.(ส.ข.)
โดยมีที่ดินรวมกันประมาณ กว่า1,000ไร่ กลุ่มนายแพทย์บุญ วนาสิน
ประธานกรรมการบริษัทเวชธานีกรุ๊ป มีที่ดิน ประมาณ 500 ไร่
,นางราศรี บัวเลิศ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแชลเลนจ์ กรุ๊ป มีที่ดินบริเวณย่ายสุวินทวงค์ จำนวน 600 ไร่ ,นาย
ประสงค์ เอาฬาร กรรมการบริษัท ฟอร์ร่าวิล์
จำกัดและในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรมีที่ดินบริเวณสุวินทวงค์ จำนวน
300 ไร่ บริษัทศุภลัย จำกัด(มหาชน) ของนายประทีบ ตั้งมติธรรม
มีที่ดินอยู่ย่านสุวินทวงค์ 50 ไร่

นอก
จากนี้บริษัทพฤกษา จำกัด มีที่ดินประมาณ 300 ไร่ ของนายเจ้าพ่อบ่านราคาถูก
นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ บริษัทเค.ซีกรุ๊ป ของนายอภิสิทธิ งามอัจฉริยะกุล
มีที่ดินประมาณ 2,000 ไร่บริเวณคลองสามวา บริษัทแลนด์แอนเฮ้าส์จำกัด(มหาชน)
ของนายอนันต์ อัศวโภคินมีทีดินจำนวน 50 ไร่ นาง เพียงใจ อัศวโภคคิน
ซึ่งเป็นมารดาของนายอนันต์
มีที่ดินอยู่บริเวณเขตลาดกระบังใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 2 แปลงรวม
1,000 กว่าไร่ นายวันชัย ชูประภาวรรณ
เจ้าของบริษัทประภาวรรณกรุ๊ปมีที่ดินย่านสุวินทวงค์ประมาณ 100-200 ไร่
บางกอกแลนด์ มีที่ดินหลายร้อยไร่
และยังพบว่าตระกูลดังเมืองปากน้ำ"อัศวเหม"เองก็มีที่ดินในย่านดังกล่าวหลาย
ร้อยไร่เช่นเดียวกันกัน

ทาง
ด้านนายวันชัย ชูประภาวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัทประภาวรรณ กรุ๊ป กล่าวว่า
มีที่ดินบริเวณพื้นที่ขาวทะแยงเขียวย่านสุวินทวงค์ จำนวน 100 ไร่
แต่ที่ผ่านมาได้ทะยอยพัฒนาไปบ้างแล้วเพราะซื้อเก็บไว้นานแล้ว
โดยได้ขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทิ้งไว้
ก่อนหน้าที่ผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันที่หมดอายุลง จะบังคับใช้
ดังนั้นจึงสามารถพัฒนาขนาดพื้นที่ 50-100 ตารางวาได้

อย่าง
ไรก็ดีหากมีการชะลอใช้ผังเมืองฉบับใหม่ออกไป ก็จะเป็นผลดี
เพราะพื้นที่ดังกล่าวกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
หากจะทำจัดสรรต้องมีขนาดแปลง 1,000ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป
แต่ขณะนี้มีปัญหาว่าบ้าหรูในบริเวณรอบหนองงูเห่าเริ่มขายไม่ออกแล้ว
ที่ผ่านมาตนพยายามอุทธรณ์ให้มีการปรับเปลี่ยนสีผังมาโดยตลอด
และเห็นว่าส.ส.วิชาญ
มีความตั้งใจจริงในการทำงานในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนมากกว่า

ใน
ขณะที่นายแพทย์ บุญวนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท เวชธานีกรุ๊ป
กล่าวเช่นกันว่า มีที่ดินอยู่ในพื้นที่ขาวทะแยงเขียว เขตมีนบุรี ประมาณ
400-500 ไร่ ซื้อมาเมื่อ 15 ปีก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถพัฒนาอะไรได้
คงจะต้องรอกทม.ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อน
ที่ผ่านมาเอกชนก็เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณ
นี้แต่ก็ขึ้นอยู่กับกทม.ว่าจะดำเนินการอย่างไร

นอก
จากนี้แล้ว นายประสงค์ เฮาฬาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ร่าวิลล์ จำกัด
และในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
กล่าวว่าบริษัทมีที่ดินอยู่ย่านสุวินทวงศ์ 300 ไร่
ซึ่งเดิมทีได้พัฒนาโครงการมาแล้วส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว 100 ตารางวา
ตามผังเมืองฉบับเก่า

ทาง
ด้านนาย อภิสิทธิ์ งามอัจฉริยะกุล ประธานกรรมการ บริษัท เค.ซี.กรุ๊ป
ให้ความเห็นว่า มีที่ดินอยู่ประมาณ 1,000 ไร่ ขณะนี้เหลือ 200-300 ไร่
บริเวณ เขตคลองสามวา โดยที่ผ่านมาได้ยื่นขออนุญาตจัดสรรไว้ก่อนเมื่อปี 2542
ช่วงผังเมืองฉบับเก่า ส่วนพื้นที่ที่เหลือก็ต้องรอต่อไป
อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้วของปรับสีผังเป็นสีเหลือง
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวควรยกเลิกแนวเฟลัดเวย์เพราะไม่เคยปรากฎว่ามีน้ำท่วม

นอก
จากนี้แล้วในหลวงท่านให้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ ที่จังหวัดสระบุรี
และแก้มลิง ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบเกี่ยวกับน้ำท่วมอีกต่อไป
ที่สำคัญทำเลดังกล่าวอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิกำลังจะเปิดใช้ในอีกไม่
นานนี้ควรจะเปิดใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
โดยเฉพาะบ้านทาวน์เฮ้าส์อาคารชุดเพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานย่านนี้ได้แล้ว
อย่างไรก็ดีได้มีเอกชนและประชาชนได้ร้องเรียนผ่านนายวิชาญ
ซึ่งเป็นส.ส.ในพื้นที่จำนวนมาก
ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่จะเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ไขในเรื่องดังกล่าว

ทาง
ด้านนายอิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
กล่าวว่าเป็นเกมการเมืองที่จะยื้อประกาศใช้ผังเมือง รวมกทม.ฉบับใหม่ออกไป
แม้ว่าที่ผ่านมา3 สมาคมบ้านฯ ได้แก่ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุดไทย
ได้เรียกร้องให้มีการผ่อนปรนการใช้ประโยชน์ที่ดินมาหลายครั้งแล้วก็ตามไม่
ว่าจะ เป็นที่สภาผู้แทนราษฎร
, กทม.
ฯลฯ แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคทั่วไป
เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูกในเขตกทม.ได้
แต่ขณะนี้ได้มีกลุ่มนักการเมืองที่มากกว่า 1-2 ราย ในพื้นที่
ต้องการวิ่งเต้นของแก้ไขผังบริเวณแนวฟลัดเวย์เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวก
พ้อง ซึ่งมองว่าไม่น่าจะทำเช่นนั้น หากจะช่วยประชาชนจริงๆ
ควรผลักดันเพื่อขอแก้ไข ทั้งหมดจะดีกว่า
นอกจากนี้แล้วทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสภาฯเพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากผล
กระทบของร่างผังเมืองกทม.ฉบับดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงอีกด้วย

นาย
โชคชัย บรรลุทางธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยกล่าวว่า
เชื่อว่าสาเหตุที่รัฐบาลได้เลื่อนการพิจารณาร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ออก
ไป พิจารณาหลังการเลือกตั้งเนื่องจาก
เล็งเห็นถึงความไม่พร้อมของร่างผังเมืองฉบับดังกล่าวมากกว่า
โดยเฉพาะความเข้มงวดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะเป็นปัญหาอุปสรรคของเอชนและ
ประชาชนเจ้าของที่ดิน
อย่างไรก็ดีสมาคมฯอาจจะจะอาศัยจังหวะนี้เข้าร้องเรียนต่อสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อช่วยผลักดันในการแก้ไขผังต่อไป

ที่มา  ฐานเศรษฐกิจ

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง