บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ให้พี่ชายคนเดียวเลือกให้ มันก็เป็นจอี้แหละครับ....


ที่มา : ภาพ Reuters และ เรื่อง http://www.thaioctober.com/forum/index.php?PHPSESSID=pru6v056f86gn39jk521eis8g3&topic=1675.msg56040%3Btopicseen#msg56040

ตื่นกับบ้างหรือยัง...??????
ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ของคนกรุงเทพฯคือเรื่องข่าวสารที่เผยแพร่ออกมา โดยเฉพาะจากศปภ.อะไรนั่นแหละ สื่อสารไม่รู้เรื่อง ข้อมูลก็ไม่เพียงพอ คาดการณ์อะไรก็ผิดไปหมด บอกว่าไม่พังก็พัง บอกว่าไม่ท่วมก็ท่วม เอาไม่อยู่ก็บอกว่าเอาอยู่

เพราะตัวเองก็ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของน้ำ ไม่รู้ว่าน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นลงยังไง น้ำในทุ่งมันหลากมายังไง ตรงไหนลุ่ม ตรงไหนดอน คูคลองต่างๆเป็นยังไงก็ไม่รู้ สื่อสารให้คนเข้าใจไม่ได้

ดีแต่บอกว่าปริมาณน้ำ 4 พัน 5 พัน บางทีก็ว่า 16,000 ลูกบาศก์เมตร ตามที่นักวิชาการให้ข้อมูล คนเขาก็นึกภาพไม่ออกมันแค่ไหนกันวะ

ไม่รู้ว่าน้ำมันมาทีเดียวทั้งหมด หรือว่ามาทีละเท่าไหร่ ทยอยมาหรือว่ามาตูมเดียว

ที่ว่าให้เตรียมตัว อพยพ ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า อพยพไปไหนอย่างไร เอะอะอะไรก็ให้เตรียมอพยพขึ้นที่สูง ที่สูงตรงไหน ที่สูงนี่คือชั้นสองหรือชั้นสาม ดังนั้นพอน้ำล้นคลองทีนึงคนก็เลยขึ้นที่สูง คือเอารถไปจอดบนทางด่วน ก็เลยรถติดวินาศสันตะโร ทีนี้จะลำเลียงของไปช่วยคนน้ำท่วมก็ไปไม่ได้ ยุ่งไปหมด ก็เพราะสื่อสารกับเขาไม่ดีนั่นเอง

ว่าที่จริงคนกรุงเทพฯไม่ใช่ว่าไม่เคยเจอน้ำท่วม แต่ละคนเจอมาก็หลายครั้ง ปี 26 ปี 29 ปี38 ปี 49 เจอกันมาแล้วทั้งนั้น

น้ำมาครั้งนี้แม้จะมีปริมาณมากกว่า แต่เพราะเขื่อนปล่อยน้ำมาก อันนี้อย่าพยายามบิดเบือนเลย ลองย้อนกลับไปดูเลยก็ได้ ก่อนที่หางๆพายุจะเข้าน้ำในเขื่อนเพิ่งจะ 60 %ของความจุ แต่เพราะรัฐบาลมัวแต่สนใจจะเอา แต่เรื่อง 15,000 บาท ค่าแรง 300 บาท รถคันแรก บ้านหลังแรก แจกแทปเลท จะแก้รัฐธรรมนูญ จะแก้กฎหมาย จะย้ายข้าราชการ พัลวััลพัลเกอยู่กับเรื่องเอาชนะทางการเมือง ไม่เข้าท่า ใครเขาส่งสัญญาณอะไรก็ไม่ฟัง การบริหารจัดการน้ำฉันไม่สน ฉันสนเรื่องจะเอาพี่ชายกลับ สนเรื่องฐานเสียงท่าเดียว

นี่คือความประมาทและไม่เตรียมตัวรับสถานการณ์ ทั้งๆที่ใครๆเขาก็รู้ว่าย่านตะวันออกไกลปีนี้อยู่ในปรากฎการณ์ลานินญ่า น้ำจะมากหลังจากแล้งมาหลายป

ตรงนี้พูดไปก็ไม่ยอมรับ อ้างแต่น้ำมากๆ ๆ ๆ พูดง่ายๆมืออ่อนกับการบริหารนั่นเอง

น้ำกับชาวกรุงไม่แปลก ท่วมขังเป็นประจำ ปัญหาที่น่าจะทำความเข้าใจก็คือ น้ำถ้าจะข้ามคันมา จะเข้ามาตรงไหนอย่างไร เข้ามาแล้วมันจะไปไหน จะหลากแบบน้ำทุ่ง หรือจะเ่อ่อท้นขึ้นมาตามคลอง ข้อมูลเหล่านี้บอกเขามาสิ คนเขาจะได้เตรียมตัวถูก คาดการณ์กันให้ใกล้เคียงหน่อย

แค่ไหนจะให้อพยพ อพยพไปไหน จะแค่เอาของขึ้นที่สูงก็พอ หรือต้องย้ายบ้านปิดเมืองกันไปอยู่ซะที่อื่นกันเลย

ก็ในเมื่อกทม.มีอุโมงน้ำ ดูดน้ำออกได้ทีละ 4 สระว่ายน้ำมาตรฐาน มีรถนาค มีเครื่องสูบขนาดเท่าปืนใหญ่เรือประจัญบานมิสซูรี่เป็นสิบเป็นร้อย มีคูคลอง มีประตูระบายน้ำ แถมยังมีคันถาวร คันชั่วคราวมากมายที่จะดันน้ำออกเมื่อทะลักเข้า ฝนก็ไม่ค่อยมีแล้ว อย่างนี้ประเมินได้ไม๊ล่ะว่ามันจะเข้ามาท่วมสูงไหนบ้าง ตรงที่ต่ำสุดอยู่ตรงไหน น้ำสูงสุดที่เขตไหน

น้ำไหลจากที่สูงหาที่ต่ำอยู่แล้ว ตรงไหนควรระวังก่อน ตรงไหนต่ำตรงไหนสูงคาดการณ์ไม่ได้เลยหรือว่าจะท่วมตรงไหนกี่นิ้วกี่เซนติเมตร

เท่าที่ประเมินดู น้ำข้ามคันมา ถ้ามาตามคลองก็ไม่เท่าไหร่คงเ่อ่อท้นขึ้นมา ถ้าข้ามคันมาก็คงจะที่ต่ำไหลลงไป น้ำอาจมารวดมาเร็วถ้าคันแตกเพราะถูกบีบ แต่พอไหลได้ที่ก็จะค่อยๆลดระดับความแรงและหาที่ต่ำอยู่จนเต็มขึ้นมา แต่มีจุดแตกต่างจากน้ำทุ่งรังสิตหรืออยุธยา เพราะที่นั่นเป็นทุ่งกว้าง มีระดับลุ่มต่ำมากๆ และไม่มีการจัดการ ไม่มีสูบ ไม่มีอุโมง ไม่มีคลอง

การจัดการน่าจะมีเครื่องมือมากกว่าน้ำท่วมทุ่ง ท่วมนิคมอุตสาหกรรม..

ข้อมูลเหล่านี้ ต้องแจงให้คนกรุงรู้

ต้องบอกคนกรุงด้วยข้อมูล และต้องไม่ให้ตื่นตระหนก

ที่จริงเอาแค่เก็บของก็พอไม่ต้องอพยพกันให้เอิกเริก คนกรุงอยู่กันแออัดจะให้อพยพไปไหน เอาของขึ้นที่สูง ถ้าที่สูงธรรมชาติก็มีอยู่ที่เดียวคือภูเขาทอง
แต่ตึกสูงก็มีเพียบ ถ้าน้ำมาระดับเฉลี่ยครึ่งเมตร ถึง 1 เมตร ไม่ต้องไปไหนก็ได้ ถ้าน้ำในถนนต่ำๆแถวห้าแยกลาดพร้าว 1 เมตร น้ำในซอยที่สูงกว่าก็เหลือแค่ครึ่งเมตร หน้าบ้านก็เหลือ 30 เซ็นติเมตร ยกของขึ้นที่สูงก็อยู่ได้ เร่งสูบออก เดี๋ยวก็ยุบ

พูดกันให้ได้ความ ว่ามันจะเป็นแบบไหน คนกรุงรับได้อยู่แล้วเคยมาซะนักต่อนัก
นี่พี่แกปล่อยให้คนจินตนาการเหมือนน้ำเข้านิคมฯ เหมือนอยุธยาซึ่งไม่มีอะไรป้องกันเลย คนก็นึกภาพแบบนั้น ก็เลยตื่นตระหนกกันมาก

ถ้ามันจะเป็นอย่างอยุธยาก็ต้่องบอกเขาว่ามันจะมาแบบนี้เขาจะได้เผ่น

แต่ผมคิดเอานะว่า มันมาไม่เหมือนกัน และมีเครื่องไม้เครื่องมือจัดการได้ดีกว่า

ดังนั้นน้ำมา occupy กรุงเทพฯก็ไม่น่ากลัว เราเคยกันมาแล้ว ปี 26 รามคำแหงจมมิดหัว ไปไหนไปรถจีเอ็มซีทหาร มีเรือวิ่งบนลาดพร้าว รถเมล์มีท่ารถ เวลาขึ้นรถเหมือนลงเรือ เจอกันมาแล้วทั้งนั้น คราวนั้นผู้ว่าเทียม มกรานนท์ พรรคประชากรไทยของนายสมัคร ผู้ล่วงลับเป็นผู้ว่า ก็ยังล้อกันว่าน้ำท่วมเทียมๆไม่ได้ท่วมจริงๆ

แล้วคราวนี้จะไปกลัวอะไรนักหนา มันผิดพลาดเพราะดันมีผู้นำเป็นนารีขี่จระเข้ เลยไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็ช่วยไม่ได้ ในเมื่อพลเมืองต้องการให้คนนี้ขึ้นมาปกครอง เกิดอะไรขึ้นก็ต้องรับกรรมกันไป จะได้รู้ว่าทีหน้าทีหลังจะเอาใครเป็นายกบริหารประเทศ ต้องเลือกกันให้ดีๆ อย่าให้พี่ชายคนเดียวเลือกให้ มันก็เป็นจอี้แหละครับ....

ประชานิยมสำลักน้ำ

 
   + อันดับข่าวอ่านมากที่สุดนี้

หนุนเปิด “ตลาดน้ำ” กู้วกฤติ ช่วยโชวห่วยระบายสินค้า/ฟื้...
“บ้านจัดสรร-รง.”อลหม่าน หนีน้ำท่วมค่าเช่าโกดังพุ่ง...
กฟผ.ป้อง‘ยันฮี’สุดฤทธิ์! มั่นใจกระแสไฟฟ้าไร้ปัญหา...
Speacial REPORT ประชานิยมสำลักน้ำ...
The Best CEO มุ่งมั่นกับเส้นทาง..เพื่อชีวิตใหม่ ที่ด...
4 นิคมฯฝงตะวันออกระทึก! ผุดเขื่อน 3 เมตรสู้/1,000 โรงงา...
ยืดเสียภาษี-ฟื้นเชื่อมั่น ซับน้ำตานิคมอุตฯ/แบงก์พร้อมรั...

การันตีทั้งที่น้ำท่วมปาก รัฐบาลทุบโต๊ะยืนยัน..อย่างไรเสียโครงการประชานิยมจะยังเดินหน้าต่อไปในวัน ที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้ชะลอการใช้จ่ายเม็ดเงิน เพื่อนำไปกันสำรองในส่วนมูลค่า ความเสียหายจากมหาอุทกภัยท่วมประเทศ

“ที่ประชุมมีมติให้แต่ละหน่วยงานปรับลดงบประมาณปี 2555 จำนวน 10% เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งคาดว่าจะระดมเม็ดเงินได้หลายหมื่น ล้านบาท ยืนยันว่า การปรับลดงบดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนเดิมของรัฐบาลที่ได้วางแผนไว้แล้ว”

ซุ่มเสียงของ “วรวิทย์ จำปีรัตน์” ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่เปิดเผยถึง งบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่คาดว่า จะสามารถหาเม็ดเงินมาได้จำนวน 80,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ครม. ยังได้เห็นชอบให้ขยายกรอบวงเงินขาดดุลงบประมาณปี 55 เพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท จากเดิม 350,000 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบวิกฤติปัญหาน้ำท่วม

ในส่วนการแก้ปัญหาอุทกภัยในระยะ ยาว รัฐบาลก็เตรียมออกกฎหมายกู้เงินมาลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ โดยคาดว่าจะมีวงเงินกู้หลายแสนล้านบาทเลยทีเดียว

สรุปคือ รัฐบาลยืนยันว่าจะเดินหน้าประชานิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคู่ขนานไปกับการ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมภายใต้วงเงินเบื้องต้น 80,000 ล้านบาท บวกกับงบขาดดุลปี 2555 ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 50,000 ล้านบาท โดยไม่กู้ต่างประเทศ แต่ในส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวในเชิงโครงสร้าง รัฐบาลเตรียม ออกกฎหมายเงินกู้เพื่อรองรับวงเงินหลายแสนล้านบาท ซึ่งนั่นมันก็รับกับสิ่งที่ “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะมีการดึงเงินจากประเทศจีนมาจัดการบริหารน้ำทั้งระบบ

อย่างไรก็ดี ด้วยจำนวนเงินเยียว ยาที่รัฐบาลวางกรอบไว้เบื้องต้น หากประเมินจากค่าความเสียหาย ยึดโยงโดยตรง จากการประเมินตัวเลขของ “ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช” ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ที่เคาะค่าความเสียหาย ออกมาเฉพาะในส่วนทรัพย์-สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบ้านเรือนประชาชนก็ปา เข้าไป 500,000 ล้านบาทแล้ว

ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความห่วงใยว่า ด้วยเม็ดเงินที่รัฐบาลขีดเส้นเอาไว้จะไม่เพียงพอกับการเยียวยาและแก้ปัญหา น้ำท่วมของประชาชนและเอกชนผู้ประสบภัย

“การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ทุกหน่วยงานราชการหั่นงบประมาณร้อยละ 10 เพื่อมาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วม รวมประมาณ 80,000 ล้านบาท ไม่เพียงพอในการฟื้นฟูน้ำท่วมอย่างแน่นอน เพราะความเสียหายมีมูลค่าสูงถึง 400,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมดที่ 2.3 ล้านล้านบาท ขณะที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 1.98 ล้านล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลต้องหาเงินเพิ่มอีก 200,000-300,000 ล้านบาท จึงจะเพียงพอ รัฐบาลควรที่จะทบทวนหรือชะลอโครงการประชานิยมที่ยังไม่ได้เริ่ม เพื่อนำเม็ดเงินมาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วมเป็นลำดับแรก”

ข้อเสนอของ “สมเกียรติ อนุราษฎร์” รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดูแลมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ล้วนสะท้อนให้เห็นมิติในการเยียวยาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเฉพาะหน้าที่แตกต่าง กับแนวทางของรัฐบาลอย่างน่าสนใจ

ยิ่งหากสแกนดูในพื้นที่ที่ปัญหาเรื่อง น้ำหลากเริ่มก่อตัวทั้งในภาคอีสาน และมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงว่าจะหนักหนาสากรรจ์ในภาคใต้ คงไม่ต้องอรรถาธิบายให้มากความว่าเม็ดเงินที่รัฐบาลเตรียมเอาไว้ จะเพียง พอต่อการแก้ปัญหาน้ำหลากท่วมประเทศหรือไม่???

เสียงเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้ชะลอโครงการประชานิยมในส่วนที่เป็นเมกะโป รเจกต์ที่ยังไม่ดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่า ต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่ต่างจากทางสองแพร่งแห่งอนาคตรัฐบาลว่า “นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชิน-วัตร” หรือแม้กระทั่ง “นายกฯ ทักษิณ” จะเลือกเดินไปข้างหน้าหรือทบทวนใหม่

อย่างไรก็ดี หากวาดภาพเฉพาะในเรื่องงบประมาณโครงการเมกะโปรเจกต์ ในส่วนของรถไฟฟ้า 12 สาย..

สายสีแดง 147,770 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน 99,550 ล้านบาท สายสีแดง ARL 25,920 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม 129,940 ล้านบาท สายสีเขียวอ่อน 15,140 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 93,090 ล้านบาท สายสีม่วง 149,950 ล้านบาท สายสีส้ม 129,135 ล้านบาท สายสีชมพู 38,230 ล้านบาท สายสีเหลือง 160,560 ล้านบาท สายสีขาว 38,442 ล้านบาท และ สายสีเทา 31,870 ล้านบาท ซึ่งรวมเบ็ดเสร็จเป็นเงินจำนวน 1,059,597 ล้านบาท

หากชะลอการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ได้ หรือในกรณีอาจจะเลื่อนงบประมาณที่จะใช้เบิกจ่ายในโครงการจำนำข้าวที่มี มูลค่า 400,000 ล้านบาทออกไปก่อน มันก็น่าจะสามารถโปะงบประมาณได้เพียงพอ ที่รัฐบาลอาจจะไม่ต้องไปออกกฎหมายเงินกู้มันก็มีทางเป็นไปได้

ทางเลือกทางรอดของรัฐบาลในวันที่ประเทศจมบาดาล ล้วนเป็นสิ่งที่ “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” ต้องพินิจพิเคราะห์ ตรึกตรองและขบให้แตก ยืดเวลาประชานิยมออกไปในวันที่ประชาชนค่อนประเทศได้รับความเดือดร้อน มันจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้แจงต่อสาธารณชนหรือไม่???...ตาสีตาสาประชาชนตา ดำๆ ก็คิดออก!!!

แต่หากรัฐบาลปล่อยให้ปัญหาน้ำท่วมลุกลามบานปลายถึงขั้นซึมลึก เพียงแต่เป็นกังวลในเรื่องคะแนนนิยมอันเกิดขึ้นจากสัญญาประชาคม สุดท้าย อนาคตของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร???.. ตาสีตาสาประชาชนตาดำๆ เขาก็คงคิดออกเช่นกัน!!!

ประชานิยมแค่สำลักน้ำ ไม่ได้ตายเพราะน้ำ เอาไว้วันข้างหน้าคนทั้งประ-เทศลุกขึ้นยืนเองได้ แล้วค่อยเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน..พรุ่งนี้ไม่สายขอรับ!!! 




สยามธุรกิจ

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมให้สัมภาษณ์ ม.ล.ปลื้ม: "เรากำลังตามหาคนที่ออกคำสั่ง"



"เทพไท เสนพงศ์" เผยพรรคประชาธิปัตย์เล็งฟ้อง "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" ฐานหาว่าพรรคเป็น "พรรคทหาร" ถือเป็นการทำให้พรรคเสื่อมเีสีย โดยฝ่ายกฎหมายพรรคจะเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษวันที่ 20 ต.ค.นี้ที่กองปราบ
วันนี้ (19 ต.ค.) นายเทพไท เสนพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯเงา ที่ตั้งโดยพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหลังการประชุม ครม.เงาของพรรคว่า ที่ประชุมครม.เงา มีมติให้คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะที่พรรคเป็นนิติบุคคลให้ ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้พรรคเสื่อมเสียโดยการกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคทหาร
นายเทพไทกล่าวว่า ทั้งที่ข้อเท็จจริงพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข โดยมอบอำนาจให้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค ให้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบในเวลา 10.00 น.ของวันที่ 20 ต.ค. นี้ ในข้อหาหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ประกอบ มาตรา 328 ของประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อนายโรเบิร์ต และพรรคจะใช้ช่องทางยื่นฟ้องในนามพรรคต่อศาลในภายหลังอีกด้านหนึ่งด้วย

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม)

น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม)

ภาวะ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นขณะนี้ หลายคนบอกเป็นภัยธรรมชาติ แต่ทางศูนย์นิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ ขอมองอย่างแตกต่างว่า ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ แต่เป็นภัยจากการจัดการที่ผิดพลาด อย่างไรก็ดีเราไม่ควรมุ่งหาผู้ผิดชอบเพราะไม่มีประโยชน์อันใดและไม่ใช่ หน้าที่ของเรา แต่ควรมุ่งหาสาเหตุเพื่อแก้ไข ด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมนี้จะเกิดอีกแน่นอน

งบประมาณมากมายที่ลง ไปแบบผิดทิศผิดทาง บริหารจัดการแบบคลาสสิก ด้วยความไม่รู้ของนักวิชาการ (อาจจะคิดว่าตนรู้ แต่ความรู้นั้นไม่ทันสมัย ไม่ทันกาละ) กับปี ๒๕๕๔ ที่น้ำท่วมรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา (และไม่ได้พยากรณ์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยนักวิชาการทั้งภาครัฐ และภาคมหาวิทยาลัยที่รับงบประมาณไปดูแลศึกษาเรื่องนี้)

เริ่ม ต้นที่ฤดูร้อน ที่ภาคใต้บริเวณเทือกเขาหลวง กรุงชิง รับปริมาณฝนแบบไม่คาดถึง โดยที่ไม่ได้มีไต้ฝุ่นเข้าประเทศไทย และน้ำท่วมในภาคเหนือ และภาคกลาง ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ (ตุลาคม ๒๕๕๔) นักวิชาการภาครัฐและดูแลเรื่องนี้หาได้ตระหนักและค้นหาถึงสาเหตุอันแปลก ประหลาดไม่ ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์ต่างๆ ที่อุปโลกขึ้นเพื่อดึงงบประมาณจากกระแสเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จนนักวิจัยที่ดำเนินการเรื่องนี้จริงๆ งุนงง

[20111012 มีนักวิชาการของไทย ออกมาบอกสื่อว่ามีนักวิชาการของเนเธอร์แลนด์ มาดูระบบจัดการน้ำของไทย แล้วบอกว่าไทยมีหน่วยจัดการน้ำที่ไม่บูรณาการ นักวิชาการไม่ชำนาญ ต่างจากต่างประเทศที่ให้จัดตั้งหน่วยงานกลางเรื่องนี้ ไม่ต้องบอกว่านักวิชาการท่านนั้นเป็นใคร จริงๆ พอมีเรื่องภัยพิบัติ เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศท่านต้องออกสื่อตลอด ยกเว้น เที่ยวนี้ ท่านนั้นเป็นหนึ่ง (ในเรื่องได้งบประมาณสนับสนุนวิจัย) ที่ตั้งหน่วยงานในลักษณะหน่วยกลางของประเทศ ดูแลเรื่องการจัดการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นตัวแทนประเทศตลอดในเรื่องนี้ แต่ปัญหาเรื่องน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ท่านและหน่วยงานของท่านน่าจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย]

ทางศูนย์ฯ ไม่เห็นด้วยในเรื่องตั้งองค์กรกลางที่จัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง หมดเวลาที่จะทุ่มงบประมาณลงส่วนกลาง หรือหน่วยงานที่ว่าแล้ว งบประมาณน่าจะทุ่มลงไปสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนจัดการเรื่องน้ำของตนเอง ถึงเวลากระจายอำนาจ เรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งในแง่พื้นที่ เวลา และพลังงาน ชุมชนต้องมีองค์ความรู้ ต้องสร้างคน สร้างความเข้มแข็ง เพราะท้ายที่สุดแล้ว ต้องพึ่งตนเอง ดังประสบการณ์ที่คนจำนวนมากประสบอยู่ในเวลานี้

[20111009 ก๊วนข่าว ช่อง 3 รายงานว่าสถานการณ์น้ำท่วมตอนนนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง บอกว่าเอาไม่อยู่แล้ว พื้นที่เศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม จมหาย โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนดา โรจนะ เห็นแต่หลังคารถโผล่ เคลื่อนย้ายไม่ทัน ความเสียหายมหาศาล ด้วยคันดินที่กั้นน้ำไว้พังทลายลง]

สาเหตุ ที่ทำให้การทำนายหรือพยากรณ์ไม่มีทางถูกต้องและทันกาล เนื่องจาก ปัญหาที่เป็น Open Boundary Flow และเป็น Dynamic Flow กล่าวคือ น้ำนั้นไม่ได้ไหลเฉพาะในคูคลอง น้ำสามารถเอื่อบ่าเข้าไปในพื้นที่ชุ่มน้ำได้ น้ำสามารถไหลใต้ดินได้ ระดับน้ำไม่ได้คงที่ ขณะไหลสามารถหนุนกันได้สูงกว่าปกติมาก ในหลายกรณี สามารถไหลบ่ากันสูงกว่าความลึกของคูคลองอีก นอกจากนั้นคันกั้นน้ำเองก็พังทะลาย และถูกสร้างใหม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้การคำนวณปริมาณน้ำและความเร็วในการไหลทำได้ไม่ถูกต้องแน่นอน ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ สำคัญมากในระบบซับซ้อน

แผนที่ น้ำท่วม มีคนสงสัยมาก เพราะเป็นความจำเป็นที่ต้องรู้ แต่พอถึงเวลาก็ไม่สามารถบอกได้ เหตุเพราะ แผนที่น้ำท่วมที่ทำๆ กัน ทำผิด ทำโดยการใช้ระดับความสูงเพียงอย่างเดียว แผนที่น้ำท่วมที่ดี ต้องเป็นแผนที่แบบไดนามิก มีพลวัต ต้องมีการจำลองน้ำที่ไหลบ่า ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะระดับน้ำนั้น ไม่สามารถบอกได้แน่ชัด เพราะเป็นปริมาณที่แปรผันกับเวลาอย่างมาก ความเร็วของการไหลที่เปลี่ยนไป ระดับน้ำก็เปลี่ยนไป บางจุดนั้นน้ำอาจจะท่วม แต่ท่วมนานเท่าใด ท่วมในช่วงเวลาเล็กน้อย เช่น 10 นาที เราจะถือว่าน้ำท่วมหรือไม่ 5 นาทีล่ะ 1 นาทีล่ะ ให้ไปสังเกตแอ่งน้ำต่างๆ ของน้ำตก โดยเฉพาะน้ำตกที่มีระดับการไหลไม่คงที่

นักวิชาการที่ได้รับ มอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ มักคิดแต่เพียงมิติการบูรณาการ คิดว่าเมื่อบูรณาการข้อมูลมาทั้งหมด อย่างทันกาล (Real Time) แล้ว ก็จะสามารถจัดการปัญหานี้ได้ วิธีคิดแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วกับการจราจร โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบัน เรียนรู้ (ด้วยราคาแสนแพง) แล้วว่า ระบบจราจรในเมืองใหญ่เป็นระบบซับซ้อน (Complex System) ซึ่ง ไม่มีทางที่จะพยากรณ์เพื่อจัดการได้แม้ว่าได้ข้อมูลทั้งหมด (Initial Conditions) แล้ว ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้ จะเห็นการปรับตัวในเรื่อง จากการพยากรณ์ ไปเป็นการจัดการ ให้รถวิ่งทางโน้น ทางนี้แทน ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จะจัดการอย่างไรล่ะ จึงจะดีที่สุด แน่นอน คำตอบในเรื่องน่าจะใช้ได้กับการจัดการน้ำ (ท่วม) ที่ความซับซ้อนมีมากกว่า โดยเฉพาะสเกลของพื้นที่

ทิศทางการบริหารจัดการที่ป้องกันเขต เศรษฐกิจ โดยการกั้นเขื่อน คือสาเหตุหลักของการจัดการที่ผิดพลาด แทนที่จะปล่อยให้น้ำไหลไปกระจายตัวบนพื้นที่ แต่กลับปิดกั้นไว้ ไม่ให้ลงกรุงเทพฯ เสมือนกับการอั้นไว้ด้านล่าง บีบทางน้ำไว้ ทำให้พื้นที่นครสวรรค์และอยุธยารับน้ำเต็มๆ หากมีการจัดการที่ดี ให้น้ำท่วมกระจายตัว พูดง่ายๆ คือ ให้น้ำหลากไปยังลุ่มน้ำต่างๆ ก็จะลงพละกำลังของมวลน้ำ (ศัพท์ใหม่) กระจายพลังอำนาจให้เป็นเพียงน้ำหลาก แต่ไม่ใช่น้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจ ก็จะช่วยแบ่งเบาไปได้เยอะ อย่างไรก็ดี การจัดการแบบใหม่นี้ต้องอาศัยพลังกำลังของชุมชมที่เข้มแข็ง และองค์ความรู้ใหม่ในการบริหารลุ่มน้ำ ที่มอง "ฮวงจุ้ย" และ "เห็น" เส้นทางน้ำใหม่ที่ชัดเจนกว่า

ปัญหาที่ตามมาก็คือ น้ำท่วมทำให้น้ำเข้าขังอยู่ที่ลุ่มเฉพาะจุด (Local Minima) น้ำจะนิ่ง ค่อยๆ ซึมเข้าน้ำใต้ดิน และระเหย มักจะเน่าและก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขตามมา

ท้ายๆ แล้ว น้ำก็จะเคลื่อนตัวลงมายังกรุงเทพฯ ซึ่งมาตรการการดันน้ำของกทม. ก็จะส่งผลให้น้ำไหลออกทางตะวันออก และตะวันตก กท. ก็จะถูกน้ำล้อมไว้ทุกด้าน และ แม่น้ำเจ้าพระยาก็ไม่ได้ทำหน้าที่ส่งน้ำละทะเล แต่เป็นแม่น้ำบางปะกง (ฝั่งตะวันออก) และแม่น้ำท่าจีน (ฝั่งตะวันตก) กทม. กังวลกับน้ำจากแหล่ง 3 แหล่ง แหล่งน้ำจากด้านบน (นครสวรรค์ อยุธยา) น้ำฝน และ น้ำทะเลหนุน แต่ มวลน้ำก้อนหนึ่งที่มักถูกละเลยคิอ น้ำใต้ดิน จากอัตราเคลื่อนตัวของพื้นที่น้ำท่วม จะเห็นว่าเป็นระดับสัปดาห์ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของมวลน้ำก้อนนี้

ผลของมวล น้ำก้อนนี้จะส่งแบบประหลาด กล่าวคือ จะส่งผลให้แนวป้องกันต่างๆ อ่อนตัวลง เขื่อนและกำแพงน้ำเปราะบางต่อการพังทะลาย และส่งผลต่อให้น้ำผิวดินเอื่อสูงกว่าควร เมื่อเขื่อนพังทะลายด้วยน้ำใต้ดิน ผสมกับ กระแสน้ำของน้ำที่ไหลบ่า จะซ่อมแซมได้ยากมากๆ มีความพยายามใช้เฮลิคอปเตอร์วางตู้คอนเทนเนอร์เหนือทางน้ำเพื่ออุดรอยรั่ว (นวนคร 17 ต.ค. 2545) ซึ่งไม่มีทางทำได้ เพราะ 1. เฮลิคอปเตอร์ยกของที่มีน้ำหนักมากไม่ได้อยู่แล้ว 2. กระแสน้ำสามารถยกเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่ๆ ได้อย่างสบาย 3. แรงน้ำผลักตู้บวกกับหล่อลื่น ทำให้ตู้สามารถไหลพ้นเขื่อนไปได้อย่างสบาย วิธีการนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงคือ จะทำให้กระสอบทรายพังมากขึ้น

แล้วจะ อุดรูรั่วอย่างไร ทางศูนย์ฯ แนะนำให้ใช้วิธีเดียวกับที่ร่างกายเราหยุดเลือดเมื่อเราเกิดแผล กล่าวคือ ให้ใช้ระบบตาข่ายกางขึ้นเหนือน้ำก่อน จากนั้นค่อยปล่อยถุงทรายให้ไหลไปติดตาข่าย ค่อยๆ ทำเพื่อช่วยกันหยุดยึด จนน้ำไหลน้อยลง

การบริหารจัดการเรื่องนี้ต้องคิดในลักษณะ นิเวศ กรุงเทพฯ อยุธยา อยู่บน Delta หรือดินแดนปากแม่น้ำ ซึ่งปกติจะประกอบด้วยสายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาเพราะ น้ำไม่ได้ไหลตามแรงโน้มถ่วง แต่ไหลบ่าเป็นหลัก เนื่องจากระดับความสูงไม่แตกต่างกันมาก เป็นดินแดนแบนราบ การพัฒนา Landuse หรือการใช้พื้นที่ในกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาได้ทำลายความสามารถในการระบายน้ำของระบบนิเวศนี้ การถมดินอย่างมากมายทำลายทางน้ำ ทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำไปจนเกือบหมด เมื่อมีปริมาณน้ำมากมายที่ตกในปีนี้ (ซึ่งธรรมชาติได้เตือนแล้วด้วยน้ำท่วมในฤดูร้อนของภาคใต้ที่ผ่านมา แต่ผู้รับผิดชอบก็เพิกเฉย) ภัยน้ำนี้จึงมาจากการจัดการที่ผิดพลาดของน้ำมือมนุษย์ตั้งแต่เริ่มต้น จนไปถึงการบริหารจัดการน้ำต่อมา ดังที่เจอกันอยู่ในขณะนี้

[20111018 ในที่สุดก็เริ่มมีนักวิชาการมาบอกแนวทางที่เหมาะสมแล้วคือ ต้องยอมให้ "น้ำ" ผ่าน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทันหรือเปล่า การยอมให้น้ำผ่านนั้นสำคัญอย่างไร ปรัชญานิเวศบอกเราว่า ทุกองค์ประกอบในระบบนิเวศมีฟังก์ชันหรือหน้าที่ของมัน ทางน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหลายมีหน้าที่ให้น้ำเข้า การยอมให้น้ำผ่านเป็นการคืนหน้าที่ของมันให้ทำงาน]


 ได้เวลาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ปรับตัวด้านการดำรงชีวิต
  • เรียน รู้และเข้าใจธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องนิเวศ ให้เข้าใจว่า ปรัชญานิเวศ นั้นเน้นเรื่องฟังก์ชัน การปรับตัวและความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เมื่อทำลายองค์ประกอบใดในระบบนิเวศ จะมีผลตามมาเสมอ
  • ถึงเวลาต้อง พึ่งตนเอง ภาครัฐจะไม่สามารถรับมือสถานการณ์ภัยพิบ้ติ และฟังก์ชันของภาครัฐคือป้องกันทรัพย์สินและผลประโยชน์ของภาครัฐและกลุ่ม อำนาจรัฐก่อนทรัพย์สินของประชาชน
ปรับตัวด้านเศรษฐศาสตร์
  • ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะสูงขึ้น

'รัฐบาลฟังเราบ้าง...' เสียงสุดท้ายก่อน 'สึนามิน้ำจืด' กลืนกรุงเทพ!!


Pic_210531 ถัดจากคลื่นน้ำ “สึนามิใหญ่” ที่คร่าชีวิตพี่น้องภาคใต้ไปมากมายเมื่อหลายปีก่อน !! ก็มีครั้งนี้แหละที่ “น้ำ” สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทยทั้งประเทศ!!! โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ!!! 
ในวันที่ประเทศไทยโดนมวลน้ำสามัคคีกันกระชับพื้นที่ศูนย์ กลางประเทศ ที่ไร้ซึ่งความสามัคคีแห่งนี้ ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำนอกจากถามวิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ ปราการด่านสุดท้าย ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุดยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว

คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร...?

“ผม อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!”
ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

“ข้อ ผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมาณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่ แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว้กี่ เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื่อน ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน้ำก็จะล้นเขื่อน พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อมๆกันหลายเขื่อน เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แน่นอน ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติตั้งแต่ต้นฤดู แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพิ่มเติม ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือนกัน แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”

ดร.สมิ ทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสียหายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่ารู้คนเดียว แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างปล่อย แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมาจากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชสีมา ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหลออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”

ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วมได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบคนที่มาติความคิดของตัวเอง

“ตอนแรกเขา ก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เรือไล่น้ำ ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชดำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่าทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกทำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามันกว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตรมันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”

ซึ่ง หากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่

“มี ทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ปลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทางคลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสูบที่มีประสิทธิภาพมาก อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสูบน้ำไปติด ตั้งที่นั่น “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ” ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลายคลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตลอด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่องสูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่แล้วที่ปากคลองบางปะกงประสิทธิภาพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”

ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุกวัน

“เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะรับฟังเราบ้าง ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแสนๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสียหายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไปช่วย ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลาะกันเลย บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยงานที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤดูฝน ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ให้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”

ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ

“สิ่ง หนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือคานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบายๆ กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูงนึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็ต้องกว้าง และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”

สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเสียหายเพราะ น้ำมากอย่างนี้

“ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษาโครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมาเยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไปเป็นทางกั้นน้ำ ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษาผังเมือง เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเอามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าประสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปราโมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความรู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้


เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด
"เชื่อ ว่าการที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการหามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อย่างเป็นรูปธรรมเสียที ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า  แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน้ำก็คงไม่เป็นผล ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่" นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์

น้ำท่วม...มันมาตามท่อ



น่าแปลกใจ นักข่าวออสเตรเลียเล่นเกมนี้เพื่ออะไร
“นาย สบาย” เพิ่งลอกคำทำนายของ “หมอนิด” ที่ทำนายดวงเมืองประเทศไทย ไว้ตั้งแต่ 10 ต.ค.2554 ว่า “น้ำลง...นองเลือด” มาลงในหน้า 5 “บ้านเมือง” ฉบับ 18 ต.ค.2554 ก็ปรากฏว่าต้องตื่นเต้นมากขึ้น
สายๆ วันอังคาร เว็บไซต์ข่าวในประเทศออสเตรเลีย www.smh.com.au พาดหัวข่าวโครมออกมาว่า
Thaksin warns military to stay out of politics
ทักษิณเตือนกองทัพให้อยู่นอกการเมือง
ข่าวเขียนโดย Lindsay Murdoch บอกไว้ชัดว่าเอาข่าวมาจาก Bangkok Post
บางกอกโพสต์ลงหลายวันแล้ว แต่ทำไมเว็บไซต์ออสเตรเลีย เพิ่งเอามาลงวันที่ 18 ต.ค.2554
ทักษิณ บอกว่า นานาชาติจะไม่ยอมรับการรัฐประหารอีกโดยกองทัพ เหมือนที่ยึดอำนาจรัฐบาลเลือกตั้งของตัวเขาเมื่อปี 2006 ซึ่งแม้นว่าตัวเขาไม่สามารถออกกฎห้ามความเป็นไปได้ ก็เพราะว่าทหารเสพติดอำนาจ
Mr Thaksin said the international community would not accept another coup by the military, which overthrew his democratically elected government in 2006, although he could not rule out the possibility because the military was addicted to power.
“Those who are addicted to ya ba [methamphetamine] will do anything to get the pills,” Mr Thaksin said during an interview with the Bangkok Post at his base in Dubai.
“Similarly those who are addicted to power will do anything to obtain power.”
ทักษิณ บอกด้วยว่า คนที่เสพติดยาบ้า ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้มาซึ่งเม็ดยา เช่นเดียวกับผู้ที่เสพติดอำนาจ ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองคงอยู่ในอำนาจ
ทักษิณ ใช้คำว่า Yaba ทับศัพท์คำว่า ยาบ้า...เลยนะ
ก็เก๋ไปอีกแบบ
ทักษิณบอกด้วยว่า การจะต่อต้านรัฐประหารได้ก็โดย ทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง ถ้าประชาธิปไตยเจริญงอกงาม ทหารก็จะอยู่ในกรมกอง
Mr Thaksin said that to prevent coups “we must strengthen democracy … if democracy flourishes the military will have to stay in its camps”.
ทักษิณว่า ทหารเสพติดยาบ้าแห่งอำนาจอย่างนี้...ยั่วรัฐประหารรึไม่...น้ำลดก็รู้
ขณะ นี้น้ำยังท่วมใหญ่อยู่ คนจนคนรวยเดือดร้อน “ทอม เครือโสภณ” มหาเศรษฐีใหญ่คนหนึ่งของไทย ให้สัมภาษณ์ “ปรเมศวร์ ภู่โต” ในรายการ “พูดกันทั่วบ้านทั่วเมือง” ทางวิทยุ เอฟเอ็ม 101 RR 1 บ่าย 18 ต.ค.2554
เล่า สู่ฟังถึงนาทีที่น้ำท่วมบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน “ชวนชื่นกอล์ฟ อเวนิว” ถนนปทุมธานี-นนทบุรี” ซึ่งเป็นหมู่บ้านหรู ราคาแพงมากๆ หลังละ 70 ล้านบาทขึ้น ของคนระดับมหาเศรษฐีไทย
ทอม เล่าว่า ไม่เคยคิดว่าน้ำจะท่วม เพราะคนอยู่ในหมู่บ้านนี้ใหญ่ๆ โตๆ ทั้งสิ้น ส่วนมากมีเส้นมีสายสามารถที่จะติดต่อได้ถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้ทุกระดับ สามารถขอให้ผู้ใหญ่เอารถแบ็กโฮมาทำคันดินกันน้ำได้สูงถึง 5 เมตร และหมู่บ้านนี้ก็มีสนามกอล์ฟ จึงเชื่อว่ายังไงน้ำก็ไม่ท่วม
ทอม เล่าว่า เดิมคิดว่าน้ำท่วมมันต้องมาจากด้านบน คือล้นคันกั้นน้ำเข้ามา แต่ที่หมู่บ้านนี้ไม่ใช่อย่างนั้น โดยเมื่อตอนราวๆ ตี 5 ครึ่ง 17 ต.ค. น้ำมันลอดเข้ามาทางท่อระบายน้ำ แล้วก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ 30 นาทีก็ถึงคอ ทำให้รถยนต์แพงๆ ของคนในหมู่บ้านสารพัดยี่ห้อ ไม่มีใครย้ายออกได้ทันแม้แต่คนเดียว
ทอม ฝากถึงคนกรุงเทพฯ มาด้วยว่า น้ำท่วมมันมาตามท่อระบายน้ำที่อยู่ใต้พื้นดิน
เห็นคนรวยกำสรวลแล้วก็ใจคอไม่ดี วันนี้ก็เลยขอจบลงที่ความน่ารักของคนรวยอีกคน
“Tamara Ecclestone” นางแบบสาววัย 27 ลูกสาวของ Bernie Ecclestone ซีอีโอบริษัท Formula One คนจัดแข่งรถสูตร 1 เธอรวยมาก และอยากให้คนทั่วโลกรู้ว่ารวยจริง เธอจึงไปเจรจากับนาย Tyler Shields สุดยอดช่างภาพถ่ายแบบ แห่งย่านฮอลลีวูด, ลอสแอนงจลิส จ้างให้มาถ่ายรูปตัวเธอ
เปลือยนอนอยู่บนกองเงินอังกฤษ ที่วางกองอยู่บนเตียงนอน ในคฤหาสน์ราคา 45 ล้านปอนด์ของพ่อเธอ โดยเป็นธนบัตรใบละ 50 ปอนด์
ถ่ายรูปเปลือยตัวเองออกเผยแพร่ให้ชาวโลกชมครั้งนี้ ใน 2 โอกาส หนึ่งละเธออยากให้คนรู้ว่าเธอรวยจริง
สอง เธอเพิ่งได้รับเชิญออกเรียลลิตี้โชว์ ชื่อรายการว่า Billion $$$ Girl ทางทีวีช่อง 5 ปลายสัปดาห์นี้
คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด


นายสบาย

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง