บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทำไมท่่วมแต่ฉัน? ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่?




วีรพัฒน์ ปริยวงศ์






.






































ภาพมวลน้ำล้อมรอบกรุงเทพมหานคร จาก http://drbl.in/cffA วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕

verapat@post.harvard.edu
https://facebook.com/verapat.pariyawong

(ขอบคุณ คมชัดลึก ไทยพับลิกา  ประชาไท  และทุกท่านที่กรุณาเผยแพร่ หรือ share บทความ)
---

บทนำ: “น้ำท่วมแล้วไง ?” 

ปุจฉาที่ ๑: “เธอ” ไม่ท่วม ท่วมแต่ “ฉัน” ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่ ?

ปุจฉาที่ ๒:  ถ้า “คปภ.” แก้น้ำท่วม แล้ว “คอป.” แก้อะไร ?

ปุจฉาที่ ๓: “กฎหมายปันน้ำใจแก้ภัยวิกฤต” เสนอได้ด้วยหรือ ?

บทส่งท้าย: “น้ำขึ้นให้รีบตัก

* *

บทนำ: น้ำท่วมแล้วไง ?


Damir Sagolj Reuters

มวลน้ำใจของคนไทยเอ่อล้นมาพร้อมกับสารพัดวาทะว่าด้วยวิกฤตอุทกภัย บ้างก็ว่าเพราะธรรมชาติส่งมรสุมมาหนักและนานกว่าปกติ บ้างก็ว่าเป็นฝีมือมนุษย์ที่ตัดไม้แล้วเททรายถมคลอง บ้างก็ว่าเพราะคนเห็นแก่ตัวกั้นน้ำไว้จนระบายช้าผิดธรรมชาติ บ้างก็ว่าภาครัฐบริหารน้ำสะเปะสะปะ คนหนึ่งกักไว้ผลิตไฟ อีกคนกักไว้กันแล้ง อีกคนกักไว้กันท่วม เลยไม่รู้จะกักกันอย่างไร บ้างก็ว่าต้องวางผังเมืองและสร้างทางน้ำใหม่ หรือไม่ก็บอกให้จัดพิธีขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ

คำพูดเหล่านี้มีแง่มุมน่าสนใจสามประการ

ประการแรก คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แช่เปื่อยมาจากวิกฤตน้ำท่วมในอดีต เปรียบดั่ง “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ที่ช่วยกันพูด ช่วยกันคิด ช่วยกันเถียง แต่พอน้ำลด น้ำปากก็หมด แน่นอนว่าน้ำใจของผู้มีจิตอาสานั้นน่าชื่นชมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ตะกอนความจริงที่เหลือก็คือ ความคิดเห็นที่จะแก้ไขปัญหาได้ไหลลงท่อออกทะเลไปกับน้ำ ฝ่ายที่บริจาคของเก่าก็เก็บเงินซื้อของใหม่ ฝ่ายที่ได้รับของบริจาคก็เก็บเงินซ่อมบ้านแล้วรอรับบริจาคครั้งต่อไป ส่วนนักคิดนักวิจารณ์นักวิชาการก็รอไต่อ่างมาพายเรือวนกันอีกรอบทุกห้าถึงสิบปี

ประการที่สอง เมื่อน้ำท่วมทุกคนไม่เท่ากัน มุมมอง “ความเป็นธรรมในการจัดการน้ำท่วม” ของตนในสถานการณ์หนึ่ง อาจตรงกันข้ามกับมุมมองตนเองในอีกสถานการณ์หนึ่ง สมมติมีคนไทยแบบ John Rawls วันแรกอยู่ที่กรุงเทพฯ นั่งทำบุญบริจาค “like” ทาง facebook แต่ก็กดดู update เพราะกลัวน้ำมา แต่วันที่สองต้องไปนั่งกดจิตและรอความช่วยเหลืออยู่บนหลังคาที่นครสวรรค์ แม้ชื่อสถานที่จะทำให้เชื่อว่าเป็นแดนเทวดาเหมือนกัน แต่คนคนนี้ก็คงหนักใจที่จะสวมผ้าคลุมไม่รู้ร้อน (veil of ignorance) ข่มให้ตนกลับไปสู่สถานะที่มองไม่เห็นสิ่งที่เกิดที่กรุงเทพฯและนครสวรรค์ เพื่อใคร่ครวญอย่างยุติธรรมว่า หากตนเป็นรัฐบาลตนจะเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ?

ประการที่สาม คงดีไม่น้อยหากประโยคว่า “เราจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” ไหลหลากท่วมท้นมาจากคนไทยทุกคน แต่ก็คงน่ารันทดยิ่งนักหากคำพูดดังกล่าวกลับกลบเสียงคนไทยแบบ John Rawls จนแทบไม่ได้ยิน เพราะพอเริ่มคิดเริ่มพูดทวงหาความเป็นธรรม ก็ถูกก่นด่าว่าสร้างความแตกแยกไปทำไม หากไม่ถูกบังคับให้ไปนั่งบนหลังคา ก็กลับไปนั่งกด “like” ยังจะดูดีมีคุณธรรมเสียยิ่งกว่า

ผู้เขียนเกรงว่าบทความนี้อาจเป็นเรื่องที่คนอยากรู้จะยังไม่ได้อ่าน ส่วนคนที่ได้อ่านก็อาจยังไม่ได้อยากรู้ แต่เมื่อไม่แน่ใจว่าจะได้เขียนอีกนานแค่ไหน และคนที่อยากให้ได้อ่านจะมีเวลาอ่านอีกนานเพียงใด บทความนี้จึงจำต้องละจากเรื่อง “วิกฤตน้ำท่วมในแง่มุมของคนที่ยังไม่ถูกท่วม” (ว่าจะเตรียมรับสถานการณ์อย่างไร ซึ่งก็สำคัญ – ณ วันที่เขียนผู้เขียนก็ยังเป็นหนึ่งในนั้น) แล้วคิดเรื่อง “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ที่เป็นปัญหาของทั้งคนที่ยังไม่ถูกท่วมและที่ถูกท่วมไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนก็อาจกลายเป็นหนึ่งในนั้น)

ผู้เขียนขอชวนให้ช่วยกันคิดว่า นอกจากเราจะมีจิตอาสาส่งแรงส่งเงินส่งกำลังใจให้กัน หรือต่อว่าติติงกัน หรือพร่ำวนกับข้อเสนอสูงส่งในหนังสือพิมพ์และจอโทรทัศน์อันล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้ว จะยังมี “กระบวนการ” อื่นใดหรือไม่ ที่สามารถเอื้อให้คนไทยร่วมกันไล่ “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ออกไป แม้ “วิกฤตน้ำท่วม” อาจอยู่ต่อไปอีกเป็นเดือนและจะกลับมาตามธรรมชาติอีกในอนาคตก็ตาม ?

สำหรับเวลานี้ ผู้เขียนขอร่วมคิดผ่าน “สามปุจฉา” ว่าด้วยกระบวนการทางตุลาการ บริหาร และ นิติบัญญัติ ที่อาจเปลี่ยน “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ให้เป็น “โอกาสทางประชาธิปไตย” ได้ดังนี้

* *

ปุจฉาที่ ๑เธอ” ไม่ท่วม ท่วมแต่ “ฉัน” ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่ ?

Apichat Weerawong AP

ผู้เขียนไม่คิดว่ามีศาลใดในโลกที่มีอำนาจสั่งให้น้ำลดแล้วไหลลงทะเล แต่ก็ไม่คิดว่าวันนี้สังคมไทยมีคำตอบที่ชัดเจนว่า “การระบายน้ำออกทะเลได้เร็วและดีที่สุด” นั้นต้องทำอย่างไร ผู้เขียนเองไม่ได้เชี่ยวชาญการจัดการปัญหาอุทกภัย และไม่ทราบถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักการใดที่จะนำมาตัดสินความเป็นธรรม อีกทั้งบรรดารัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญรายวันก็พูดไม่ตรงกัน หลายคนรวมถึงผู้เขียนก็ไม่รู้จะเชื่อใคร

กระนั้นก็ดี ยังมีประชาชนไทยที่ถูกบังคับให้ต้องเชื่อตัวเอง เมื่อตนเชื่อว่าถูกข่มเหงให้ถูกท่วมและไม่เป็นธรรม แต่เมื่อไม่รู้จะพึ่งใคร ก็จำใจตั้งศาล ณ บัลลังก์คันดิน และไม่ยั้งที่จะลงมือบังคับคดีพิทักษ์ทรัพย์รถแบ็คโฮแล้วปล่อยหรือกักน้ำด้วยตนเอง ภาพเช่นนี้ทั้งน่าเห็นใจและหนักใจไม่น้อยไปกว่าภาพที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหลั่งน้ำตาขอร้องให้ประชาชนบางส่วนยอมเสียสละเพื่อช่วยกันรักษาจังหวัดไว้ แม้จะต้องแลกด้วยตำแหน่งของตนก็ตาม 

สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามว่าใครมีคุณธรรม ใครเห็นแก่ตัว แต่การตั้งคำถามที่ไร้กระบวนการและทิศทางเช่นนี้ กว่าจะหาคำตอบได้สุดท้ายน้ำท่วมก็ลด น้ำปากก็หมด คนก็ลืม เรื่องที่ปะทะกันก็แล้วไป ไว้อีกห้าหกปีค่อยว่ากันใหม่

แต่ลองคิดไกลไปอีกขั้น หากประชาชนที่เชื่อว่าตนตกเป็นเหยื่อน้ำท่วมอย่างสาหัสมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะว่ารัฐได้กั้นน้ำเพื่อปกป้องประชาชนอีกส่วน จะถือว่าประชาชนส่วนแรก “ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” และนำคดีไปฟ้องศาลได้หรือไม่ ? หรือประชาชนต้องจำยอมเชื่อข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่บอกว่าต้องยอมให้ท่วม โดยไม่อาจโต้แย้งหรือตรวจสอบได้ รอได้แต่ค่าช่วยเหลือชดเชย ? หรือประชาชนจำต้องกลับไปตั้งศาล ณ บัลลังก์คันดิน (ซึ่งอาจลามไปถึงบัลลังก์คอนกรีต) แล้วบังคับคดีเรียกหาความยุติธรรมด้วยตนเอง ?  

หากน้ำไม่ท่วมศาลไปเสียก่อน ช่องทางแสวงหาความยุติธรรม ณ บัลลังก์ศาลปกครองก็พอมีอยู่ โดยประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอาจมอบอำนาจยื่นฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน และฟ้องเผื่อไปถึง คปภ. (คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ปัญหาอุทกภัยนโคลนถล่มและภัยแล้ง) กปภ.ช. (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารน้ำ ด้วยเหตุว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหลายได้มีข้อสั่งการ มติ คำสั่ง หรือกระทำทางปกครองอันนำไปสู่หรือมีผลกัก กั้น ปล่อย หรือจัดการน้ำในบางบริเวณจนผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอย่างสาหัสเกินกว่าที่ควรเป็นนั้น ถือเป็นการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ที่ว่า “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น อาจฟ้องว่าเพราะ “มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทำลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อสำคัญ คือ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้ให้อำนาจศาลสามารถบังคับสั่งห้ามการกระทำไปถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขเพื่อความเป็นธรรมเฉพาะกรณีได้อีกด้วย

นอกจากจะฟ้องเรื่อง “การเลือกปฏิบัติ” แล้ว หากจะฟ้องเรื่องการ “ละเลยต่อหน้าที่” หรือ “ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” (เช่น หน้าที่การระบายน้ำเพื่อป้องปัดภัยพิบัติ การให้ข้อมูลหรือสั่งอพยพ การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ) หรือ “การกระทำละเมิดหรือรับผิดอย่างอื่น” (เช่น เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหายในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ฯลฯ) ก็อาจฟ้องไปพร้อมกัน อีกทั้งการฟ้องคดีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะย่อมไม่ติดข้อจำกัดเรื่องอายุความตาม มาตรา ๕๒ แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

แต่ใช่ว่าฟ้องไปแล้วศาลจะต้องรับฟ้อง ศาลปกครองอาจไม่รับฟ้องโดยอธิบายว่า การบริหารจัดการน้ำในยามอุทกภัยไม่ถือเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง แต่เป็นการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินหรือเป็นเรื่องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล หรืออธิบายว่าคดีนี้ไม่สามารถกำหนดคำบังคับคดีได้ หรือหากฟ้องช้า ก็อาจอธิบายว่าการกระทำทางข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นไปแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือศาลอาจพิจารณาว่าการแก้ไขปัญหายังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนและสั่งการไม่แล้วเสร็จ ศาลจึงอาจไม่รับคดีไว้พิจารณา เป็นต้น

มีตัวอย่างคดีที่ประชาชนเคยโต้แย้งมติรัฐมนตรีเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายบริหารกระทำการในฐานะที่เป็นรัฐบาล เป็นเพียงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ศาลปกครองจึงมิอาจตรวจสอบได้โดยสภาพ อย่างไรก็ดี ศาลปกครองสูงสุดกลับเห็นว่า การใช้อำนาจทางปกครองเพื่อปฏิบัติตามนโยบายคณะรัฐมนตรีนั้น ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียย่อมโต้แย้งได้ จึงมีคำสั่งให้รับคดีดังกล่าวไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๗๒/๒๕๕๑)

สุดท้ายแม้ศาลรับฟ้อง ก็ยังมีปัญหาว่า “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” หรือการกระทำที่ไม่ชอบนั้นเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาควบคู่กับหลักกฎหมายปกครองอื่นอย่างไร เช่น หลักความได้สัดส่วนและสมควรแก่เหตุ หลักคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือหลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมายได้จากการกระทำทางปกครอง หลักกฎหมายเหล่านี้ ตลอดจนบทบัญญัติบางมาตราของกฎหมายฉุกเฉิน เช่น มาตรา ๑๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ (หากมีการประกาศใช้) หรือ มาตรา ๔๓ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เปิดช่องให้ศาลชั่งน้ำหนักว่า ฝ่ายปกครองได้แก้ปัญหาตามความจำเป็นและสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น ทำไปเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงและเศรษฐกิจของชาติ การรักษาเมืองหลวงเพื่อเป็นศูนย์ในการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศ ฯลฯ ซึ่งจะฟังขึ้นหรือไม่เช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับดุลพินิจที่ศาลจะไต่สวนฟังความจากทุกฝ่าย ไม่ใช่ให้ใครผูกขาดความเป็นธรรมตามอำเภอใจแต่ผู้เดียว

ผู้เขียนพึงตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้

ข้อสังเกตประการแรก อาจมีผู้ถามว่า “ฟ้องไปแล้วได้อะไรขึ้นมา ?” “ฟ้องเพื่อให้ทุกคนถูกท่วมด้วยกันหรือ ?” ผู้เขียนตอบว่า การฟ้องคดีจะสำเร็จหรือมีผลออกมาเช่นใดนั้น ผู้เขียนไม่ติดใจมากเท่ากับการสนับสนุนให้ประชาชนคนไทยตื่นตัวกับสิทธิเสรีภาพที่ตนมีอยู่ และไม่ขยาดกลัว “กระบวนการประชาธิปไตย” ที่ประกันให้ทุกคนในสังคมมีสิทธิและช่องทางในการเรียกร้องความเป็นธรรมด้วยตนเองอย่างเท่าเทียมกัน การเผชิญหน้าอย่างสันติผ่านกระบวนการกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ตัวเลือกสำรองของการใช้ “กฎหมู่” หรือ “กฎแห่งความอาทรเมตตา” ที่แคบกว้างตามอำเภอใจของแต่ละบุคคล หรือแม้แต่ “กฎแห่งกรรม” ที่อาจอยู่เหนือการควบคุม

แน่นอนว่าในวิกฤตปัจจุบันย่อมไม่มีใครอยากให้ใครถูกน้ำท่วม แต่คงไม่เป็นธรรมหากจะบอกว่าคนถูกท่วมกับคนไม่ถูกท่วมมีสิทธิคิดแทนกันได้ ไม่ว่าสุดท้ายผลแห่งคดีจะออกมาเช่นใด หากศาลรับฟ้อง ทุกฝ่ายย่อมได้ประโยชน์จากการอาศัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและฟังความทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ศาลสามารถเรียกพยานและเอกสารรวมถึงข้อมูลที่ภาครัฐเก็บไว้มาไต่สวน ซึ่งประชาชนผู้ฟ้องก็จะได้ร่วมตรวจสอบ ตลอดจนนำความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์การแก้ปัญหาในต่างประเทศมาสนับสนุนหักล้างให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาได้

สมควรกล่าวเพิ่มว่า การอาศัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อ “แสวงหาข้อเท็จจริง” จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ประชาชนไม่อาจหวังพึ่งภาครัฐ สื่อมวลชน หรือนักวิชาการได้เท่าที่ควร เห็นได้จากข้อถกเถียงบางส่วนที่ยังวกวนและไม่กระจ่าง ณ เวลานี้ อาทิ

- จริงหรือไม่ว่า ความรุนแรงและความยืดเยื้อของวิกฤตที่ประชาชนในบางพื้นที่ต้องถูกน้ำท่วมสูงเป็นเวลานานเป็นเพราะภาครัฐเลือกปฏิบัติช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่บางส่วนโดยการไม่ปล่อยให้น้ำระบายออกตามธรรมชาติโดยสะดวก ? และจริงหรือไม่ว่า การปล่อยให้น้ำท่วมทุกพื้นที่ก็มิได้ทำให้นำท่วมจุดใดลดน้อยลง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มิได้ออกแบบมาให้ระบายน้ำหลากนอกแม่น้ำ อีกทั้งมวลน้ำจากภาคเหนือมีมหาศาล การยอมให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็มิได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ?

- จริงหรือไม่ว่า ภาครัฐได้ละเลยการบริหารจัดการน้ำโดยกักน้ำในเขื่อนไว้มากและนานเกินไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ และต่อมาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีการจัดการปล่อยน้ำให้ทันการณ์ ? และจริงหรือไม่ว่าเป็นเพราะมีเหตุให้เชื่อว่าจำเป็นต้องกักน้ำจำนวนมากไว้กันแล้ง ?

- จริงหรือไม่ว่า รัฐบาลได้เลือกปฏิบัติโดยทุ่มงบประมาณวัสดุก่อสร้างคันหรือเขื่อนกั้นน้ำให้แข็งแรงและทนทานเฉพาะบางพื้นที่ ในขณะที่บางพื้นที่กลับได้รับการสนับสนุนที่ขาดแคลนไม่เท่าเทียมกัน (เทียบคันดินกับคันคอนกรีต) หรือแม้แต่ “กองเรือผลักดันน้ำครั้งใหญ่ที่สุดในโลก” นั้น หากมีประโยชน์ตามที่อ้างจริง ย่อมต้องไม่เลือกปฏิบัติจัดเฉพาะที่ปลายน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ต้องขับน้ำจากภาคกลางตอนบนเพื่อเร่งผลักมวลน้ำลงมาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มวลน้ำที่สมทบจากภาคเหนือจะสูงขึ้น ?

- จริงหรือไม่ว่า เขตอุตสาหกรรมที่จมน้ำไปหลายแห่งนั้น บางแห่งได้รับการเลือกปฏิบัติให้ความคุ้มกันดูแลหนาแน่นเป็นพิเศษยิ่งกว่าที่อื่น (แม้สุดท้ายจะรักษาไว้ไม่ได้ก็ตาม) เพราะเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูงมีส่วนได้เสียกับกำไรของเขตอุตสาหกรรมนั้น ในขณะที่หลายพื้นที่กลับไม่ได้รับการแจ้งเตือนและถูกละเลย ?

- จริงหรือไม่ว่า การบริหารน้ำที่เลือกปฏิบัติและผิดพลาดเป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่บางหน่วยงาน ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่หรือให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ เพราะเกรงกลัวอิทธิพลทางการเมืองที่โยงใยกับผลประโยชน์ของพื้นที่บางบริเวณ และงบประมาณในการเตรียมการรับมือน้ำท่วมกลับถูกย้ายไปใช้เพื่อการอื่น ?

ฯลฯ

ผู้เขียนไม่ปักใจว่าคำตอบของคำถามข้างต้นจะต้องเป็นอย่างไร และไม่อาจทราบได้ว่าเป็นเพียงข้ออ้างข้อสงสัยที่ลึกซึ้งหรือเลื่อนลอย ขณะเดียวกันก็เห็นใจประชาชนที่อัดอั้นและต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมไม่น้อยไปกว่าที่เห็นใจภาครัฐและฝ่ายปกครองตลอดจนกองทัพที่เหน็ดเหนื่อยกับการพยายามแก้ปัญหาให้ดีที่สุด มีหลายคดีในอดีตที่ฝ่ายปกครองพยายามผันระบายน้ำ แต่เมื่อไม่อาจทำให้ถูกใจทุกคนก็ถูกฟ้องหลายคดี เชื่อเหลือเกินว่าหากทำให้ไม่มีใครถูกท่วมได้ ภาครัฐก็คงกระทำไปแล้ว

กระนั้นก็ดี ผู้เขียนจำต้องย้ำว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ระบบการต่อว่าให้ร้ายว่าใครผิดใครถูก แต่เป็นกระบวนการนำความจริงมาเปิดเผย โต้แย้ง และตรวจสอบอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่อาจผิดพลาด ถูกปิดบังหรือถูกละเลย ผู้ที่ชนะคดีในทางกฎหมาย ใช่ว่าจะต้องชนะในทางความเป็นจริงเสมอไป ตรงกันข้าม การที่ศาลไม่รับฟ้องคดีจนประชาชนไร้ที่พึ่งนั้น อาจจุดประกายการต่อสู้ทางประชาธิปไตยเพื่อปฏิรูปสังคมก็เป็นได้

ข้อสังเกตประการที่สอง รัฐธรรมนูญได้ประกัน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” ให้คนไทยทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะในยามแล้งหรือยามน้ำหลาก ไม่ว่าจะรวยจนหรืออยู่ ณ จังหวัดใด
แต่คำว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” นั้น ไม่ได้แปลว่า “ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกันทุกประการ” ตรงกันข้าม ยามใดที่ “ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน” ยามนั้น “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” ย่อมไม่หลงเหลือ

ลองนึกถึงสังคมที่คนทุกคนไม่ว่า เด็กทารก มหาเศรษฐี หรือคนชราที่ตกงาน ต้องจ่ายภาษีเท่ากัน เกณฑ์ทหารพร้อมกัน และได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลเท่ากัน ก็คงจะเห็นภาพปัญหาได้โดยไม่ต้องอธิบาย แต่การที่เด็กทารกกลับนำไปสู่สิทธิการหักภาษี หรือคนชราที่ตกงานได้รับเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลมากกว่ามหาเศรษฐี ก็เป็นภาพการ “การเลือกปฏิบัติ” อย่างเป็นธรรมที่เราชินตา

รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐  ก็ใช้ถ้อยคำที่แสดงให้เห็นว่า “การเลือกปฏิบัติ” ไม่ใช่เป็นสิ่งต้องห้าม ดังที่บัญญัติว่า

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้าม “การเลือกปฎิบัติ” ทั้งปวง แต่เจาะจงห้ามเฉพาะการเลือกปฎิบัติ “ที่ไม่เป็นธรรม” อีกทั้งยังต้องเกิดจาก “เหตุแห่งความแตกต่าง” เฉพาะตามที่กฎหมายระบุไว้ แม้กฎหมายจะใช้ถ้อยคำกินความทั่วไปแต่ก็ไม่ได้เปิดกว้างว่าจะเป็นเหตุอะไรก็ได้ เช่น หากรัฐจะเลือกปฏิบัติลดภาษีให้เฉพาะผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องเพื่อกันการสมองไหลออกนอกประเทศ ก็อาจมีผู้เถียงว่าทำได้แน่นอน

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ บัญญัติต่อไปว่า

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม...

หากสมมติ (arguendo) ว่า ศาลเห็นว่าการจัดการกักกั้นน้ำมีลักษณะ “เลือกปฏิบัติ” ขั้นต่อไปที่จะพิจารณาว่า “เป็นธรรมหรือไม่” นั้น ก็น่าคิดว่าการกักกั้นน้ำเพื่อปกป้องพื้นที่บางส่วนในประเทศจะถือว่าเป็นมาตรการที่ทำไปเพื่อ “ขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น” ตามหลักการใน รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ ได้หรือไม่ ?

แน่นอนว่ามาตรการลดภาษีและดอกเบี้ย ชะลอหนี้สิน ลดค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ แก่ผู้ประสบภัยย่อมชอบด้วยหลักการนี้ แต่การเลือกปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการประกอบธุรกิจและเดินทางไปมาอย่างอิสระของคนส่วนหนึ่ง จะแลกด้วยการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เช่น ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือแม้แต่สิทธิในเคหสถานที่ต้องเสียหายหรือจมน้ำนานมากขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร ? เส้นวัดความสำคัญของสิทธิเสรีภาพแต่ละประเภทของบุคคลในแต่ละสถานการณ์อยู่ที่ใด ? หรือเส้นวัดนี้สามารถขยับเลื่อนได้โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือหรือค่าชดเชย แม้จะไม่มีผู้ใดอยากกลายเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือชดเชยก็ตาม ?

ศาลไทยพร้อมศึกษาประสบการณ์ของศาลต่างประเทศที่ใช้เวลาเป็นร้อยปีในการพัฒนาหลักเกณฑ์เหล่านี้แทนการตีความตัวบทลายลักษณ์อักษรตามอำเภอใจหรือไม่ ? หรือศาลไทยจะถือว่าเป็นคำถามที่กฎหมายควรละคำตอบไว้ให้ประชาชนอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อเรียนรู้และตัดสินใจตามกาลเวลา ?

ประเด็นทางนิติศาสตร์ที่ท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประชาธิปไตยใดที่กำลังพัฒนา แม้คำตอบอาจไม่ชัดเจนทุกข้อ แต่สิ่งที่แน่ชัดในขั้นต้นก็คือ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๖๗ วรรคสาม ประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถยกสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคขึ้นอ้างได้โดยตรงด้วยตนเองเพื่อขอความคุ้มครองจากศาล และศาลก็ย่อมมีดุลพินิจว่าจะคุ้มครองอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย รวมถึงภาครัฐที่ต้องรับหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษา

ผู้เขียนเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ของวิเศษสำเร็จรูปที่ดีพร้อม แต่ต้องผ่านการทดสอบ ปฏิบัติจริง และขัดเกลาพัฒนาตามกาลเวลา คำพูดมักง่ายที่ว่าผู้อยู่ในสถานะต่างกันย่อมได้รับการปฏิบัติที่ต่างกัน และต้องยอมรับสภาพนั้นเสมอไป จึงเป็นกรงความคิดที่คับแคบและตื้นเขินไม่ต่างไปจากปัญหาเรื่องรัฏฐาธิปัตย์รัฐประหารอันล้วนต้องอาศัยการพัฒนาขัดเกลาโดยสถาบันตุลาการที่ลึกซึ้ง หลักแหลมและแยบยล ซึ่งประชาชนอาจจะได้พึ่งพิงและตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปจากยามวิกฤตครั้งนี้

Sukree Sukplang Reuters

โปรดตติดตามอีกสองปุจฉาในตอนต่อไป: 

ปุจฉาที่ ๒:  ถ้า “คปภ.” แก้น้ำท่วม แล้ว “คอป.” แก้อะไร ?

ปุจฉาที่ ๓: “กฎหมายปันน้ำใจแก้ภัยวิกฤต” เสนอได้ด้วยหรือ ?

* *

หมายเหตุ:

- เรื่องนี้เผยแพร่ช่วงก่อนวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ เพื่อร่วมรำลึกถึงพระปิยมหาราชผู้ทรงริเริ่มพัฒนาการชลประทานของไทยให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ 



ทางด้านสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนชี้ฟ้องรัฐบาลเรื่องน้ำท่วมได้

22 ต.ค. 54 - สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนออกแถงการณ์เรื่อง "หากประชาชนที่ถูกน้ำท่วมเห็นว่าได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งและความผิดพลาดในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อผู้สั่งการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้" โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
เรื่อง หากประชาชนที่ถูกน้ำท่วมเห็นว่าได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งและความผิดพลาดในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อผู้สั่งการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้
...........................................
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าวิกฤตการณ์ปัญหา “น้ำท่วม” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ เกิดจากปัญหาที่หลายคนเชื่อว่าเป็นภัยตามธรรมชาติ ที่ไม่อาจป้องกันได้มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 54 ที่ผ่านมา แต่ระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมาน่าจะเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับน้ำหนักของการใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็น “อุบัติภัย” ที่ไม่อาจป้องกันแก้ไขได้ตามกฎหมาย
บัดนี้ระยะเวลาก้าวผ่านเข้าเดือนที่ 4 แล้วรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมีระยะเวลามากพอที่จะเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่ทว่าก็ยังไร้ความสามารถในการจัดการปัญหาให้กับประชาชนได้ ทำให้ประชาชนนับล้านคนได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ซึ่งรัฐบาลก็แสดงให้เห็นถึงการขาดเอกภาพในการบริหารสั่งการ มีการให้ข่าวผ่านสื่อสารมวลชนอย่างสับสน โดยขาดข้อมูล ข้อเท็จจริง สร้างความโกลาหล และหวาดผวาไปทั่วทุกพื้นที่เสี่ยงภัย แทบทุกวัน ในขณะที่บางพื้นที่ยังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ
ทั้งนี้การบริหารข้อมูลของรัฐบาลสับสน การสื่อสารกับประชาชนไม่มีประสิทธิภาพ วันนี้บอกอย่าง วันพรุ่งนี้บอกอีกอย่าง วันนี้บอกประชาชนว่าป้องกันแก้ไขปัญหาได้แล้ว อีกวันกลับออกมาบอกว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พร้อมขอโทษขอโพยประชาชน โดยไม่หันมาพิจารณาตัวเองว่าไร้ประสิทธิภาพในการบริหารหรือไม่
ปัจจุบันแม้รัฐบาลจะอ้างการใช้อำนาจสั่งการตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ในฐานะเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่หากในการปฏิบัติการตามหน้าที่ดังกล่าวได้สั่งการไป โดยขาดข้อมูลที่แท้จริง ก่อให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่ควรจะถูกน้ำท่วมจนสร้างความเดือดร้อนและเสียหายต่อชาวบ้านไปจนเกินสมควรแก่เหตุ ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้สั่งการย่อมมีความผิดและต้องรับผิดชอบต่อคำสั่งนั้น ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาด้วย
ชาวบ้านหรือประชาชนท่านใด ครอบครัวใดที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งของรัฐในการบริหารจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐ หรือผู้ที่คิดว่าตนเองเสียหาย สามารถที่จะรวมตัวกันหรือแยกกันฟ้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อศาลปกครองได้ เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายทางทรัพย์สินต่าง ๆ ได้สูงสุด ตามที่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบัญญัติได้ เพราะการสั่งการใด ๆ จำต้องมีความรับผิดชอบตามมาด้วย มิใช่เป็นการเอาชนะกันทางการเมืองเท่านั้น
ผู้เดือดร้อนและเสียหายคนใดประสงค์จะร่วมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากภาครัฐ โปรดปริ๊นแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจได้ที่ www.thaisgwa.com เพื่อที่สมาคมฯจะได้เป็นผู้แทนดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้กับทุกท่าน ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ประกาศมา ณ วันที่ 22  ตุลาคม พ.ศ.2554
นายศรีสุวรรณ  จรรยา
นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน


ความเห็น
มาช่วงเดียวกันพอดี สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนตั้งฟ้องดีๆ นะครับ ยิ่งถ้าเป็นศาลปกครอง ต้องตั้งคำขออย่างระวัง ส่วนตัวผมเห็นว่าารเรียกค่าทดแทนไม่น่าจะสำคัญเท่ากับการได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมอย่างทันถ่วงทีครับ
จากบทความ "ทำไมท่วมแต่ฉัน ? ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่?"
http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37546
หากประชาชนที่เชื่อว่าตนตกเป็นเหยื่อน้ำท่วมอย่างสาหัสมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะว่ารัฐได้กั้นน้ำเพื่อปกป้องประชาชนอีกส่วน จะถือว่าประชาชนส่วนแรก “ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” และนำคดีไปฟ้องศาลได้หรือไม่ ? หรือประชาชนต้องจำยอมเชื่อข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่บอกว่าต้องยอมให้ท่วม โดยไม่อาจโต้แย้งหรือตรวจสอบได้ รอได้แต่ค่าช่วยเหลือชดเชย ? หรือประชาชนจำต้องกลับไปตั้งศาล ณ บัลลังก์คันดิน (ซึ่งอาจลามไปถึงบัลลังก์คอนกรีต) แล้วบังคับคดีเรียกหาความยุติธรรมด้วยตนเอง ?
หากน้ำไม่ท่วมศาลไปเสียก่อน ช่องทางแสวงหาความยุติธรรม ณ บัลลังก์ศาลปกครองก็พอมีอยู่ โดยประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอาจมอบอำนาจยื่นฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน และฟ้องเผื่อไปถึง คปภ. (คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ปัญหาอุทกภัยนโคลนถล่มและภัยแล้ง) กปภ.ช. (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารน้ำ ด้วยเหตุว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหลายได้มีข้อสั่งการ มติ คำสั่ง หรือกระทำทางปกครองอันนำไปสู่หรือมีผลกัก กั้น ปล่อย หรือจัดการน้ำในบางบริเวณจนผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอย่างสาหัสเกินกว่าที่ควรเป็นนั้น ถือเป็นการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ว่า “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น อาจฟ้องว่าเพราะ “มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทำลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อสำคัญ คือ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้ให้อำนาจศาลสามารถบังคับสั่งห้ามการกระทำไปถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขเพื่อความเป็นธรรมเฉพาะกรณีได้อีกด้วย
...
ผู้เขียนจำต้องย้ำว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ระบบการต่อว่าให้ร้ายว่าใครผิดใครถูก แต่เป็นกระบวนการนำความจริงมาเปิดเผย โต้แย้ง และตรวจสอบอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่อาจผิดพลาด ถูกปิดบังหรือถูกละเลย ผู้ที่ชนะคดีในทางกฎหมาย ใช่ว่าจะต้องชนะในทางความเป็นจริงเสมอไป ตรงกันข้าม การที่ศาลไม่รับฟ้องคดีจนประชาชนไร้ที่พึ่งนั้น อาจจุดประกายการต่อสู้ทางประชาธิปไตยเพื่อปฏิรูปสังคมก็เป็นได้...
อ่านต่อได้ที่ http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37546

ฟ้องได้ครับ ก็ต่อสู้คดีกันไปตามกระบวนการยุติธรรมครับ
แม้แต่คดีที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์รู้เห็นเป็นใจสั่งสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเรือนหมื่นเรือนแสนจนมีคนล้มตาย 91-92 ศพ วันนี้ น่าจะ 93 ศพแล้วครับ
สูญหายเท่าไหร่ ยังไม่มีตัวเลข มีการสงสัยว่า เอาศพไปฝังไปเผา ไปทิ้ง บาดเจ็บ 2 พันกว่า ติดคุกหลาย 100 ฟรีๆ ติดจนถึงวันนี้ ยังไม่ได้รับการประกันตัว ก็หลาย 10
ก็ต้องฟ้องครับ และญาติผู้ตาย ญาติคนเจ็บ ญาติคนติดคุกฟรี ฟ้องได้ครับ แต่ต้องฟ้องระบุชื่อรายตัวบุคคลในรัฐบาลเก่า ไม่ใช่รัฐบาลใหม่นี้นะครับ สวัสดี.

นายกสมาคม ส้นเตี่ยอะไรฟะเนี่ย มีด้วยรึวะครับ อั้ยสมาคนนรกจกเปรตเนี่ย อยากได้อยากเด่นกันจิี๊ง อั้ยตำแหน่งนายก เนี่ย นายกเงาก็มีเเระ นายกฯ ตลกก็มีละ นายกสมาคมไก่ชนก็มีเว้ย นายกสมาคมเมียหลวงอีก ไหนนายกสมาคมอาบอบนวด สมาคมมีเมียน้อย นายกสมาคมตระกูลเหรี้ย นายกสมาคมโลกเย็นเกินกำหนด เองจะเอานายกไหนละ บอกมาถี อ้ายทิด ...อิอิ

ยอมรับสภาพคับ น้ำท่วมคนห้ามไม่ได้ แต่น้ำท่วมใจห้ามได้นะคับ
สู้ๆคับประเทศไทย เสร็จเรื่องค่อยมาดูกันอีกทีก็ไม่สาย

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง