บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สำเนียงส่อภาษา : ส.ส. หญิงกับการอภิปรายในสภาไทย

โดย:อติภพ ภัทรเดชไพศาล

มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลำดับชั้นในทางโครงสร้าง โดยหลักฐานที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือกรณีของคำแทนตัวหรือคำสรรพนามที่เรามีใช้อย่างหลากหลาย ทั้งผม คุณ กู มึง ข้าพเจ้า ท่าน ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นต้น

ลำดับชั้นของคำสรรพนามเหล่านี้ทำให้การสนทนานั้นมีลักษณะของการจำแนกลำดับสูง-ต่ำ ของผู้พูด-ผู้ฟังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเพียง I กับ You เท่านั้น จึงนับว่าเป็นภาษาที่มีคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากกว่าภาษาไทย ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างมาก

แต่ยังนอกจากเรื่องของคำสรรพนามแล้ว ที่จริงในการใช้ภาษายังมีอีกประเด็นหนึ่งที่สมควรพูดถึง นั่นคือเรื่องของสำเนียง (intonation) หรือท่วงทำนองและจังหวะในการพูดจา ซึ่งเป็นตัวกำหนดอารมณ์และบทบาทหน้าที่ของข้อความต่างๆ ที่มนุษย์ใช้สื่อสารในลักษณะที่แตกต่างกัน

ข้อความว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” เป็นข้อความที่ชนชั้นสูงใช้แยกแยะกลุ่มบุคคลที่แตกต่างออกไปจากตน (ซึ่งมักแปลว่าอยู่ “ต่ำ” กว่า) สำเนียงในการพูดหมายถึงท่วงทำนองในการพูด หมายถึงลักษณะการทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ การเน้นคำ และรวมไปถึงการเว้นจังหวะจะโคนในการพูดด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังสามารถรู้ได้ว่า กำพืดของผู้พูดนั้นเป็นอย่างไรและมาจากท้องถิ่นไหน

เพราะภาษาไม่ได้หมายถึงเพียง “ภาษา” อย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความเป็นกลุ่มชน และ “เกี่ยวพันกับ ‘วัฒนธรรม’ และ ‘อำนาจ’ หรือ ‘ชนชั้น’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” (ดูบทความ ภาษาดี ภาษาสวย ภาษาราชการ? ของ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับประจำวันที่ 5-11 ส.ค. 54)

สำเนียงและวิธีการพูดจา จึงมีส่วนกำหนดท่าทีของการสื่อสารหรือภาพลักษณ์ของผู้พูดได้ไม่น้อยไปกว่าสารที่ผู้พูดนำเสนอ

การที่นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขานุการนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสื่อเครือเนชั่นเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาถึงการที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มักพูดผิดๆ ถูกๆ ว่าเป็นเพราะความที่ท่านเป็น “คนบ้านนอก” นั้น (ดู http://www.suthichaiyoon.com/detail/16432) ส่วนหนึ่งอาจเป็นการขอความเห็นใจจากคนบ้านนอกจำนวนมากที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยก็จริงอยู่ แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการตั้งข้อสังเกตที่ตรงประเด็นอย่างที่สุด

เพราะในสังคมที่ควบคุมด้วยรัฐราชการแบบในประเทศไทย เมืองหลวงย่อมถือว่าเป็นสุดยอดของความศิวิไลซ์ และคนที่พูดภาษาด้วยสำเนียงคนกรุงเทพฯ ได้ชัดเจนเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นผู้มีการศึกษา ดังนั้นเราจึงดูถูกดูแคลนสำเนียงบ้านนอกมาแต่ไหนแต่ไร เราดูถูกสำเนียงสุพรรณ ดูถูกสำเนียงทองแดง และดูถูกชาวเขาที่พูดไทยไม่ชัด

เรามักดูถูกคนที่เขียนภาษาไทยไม่ได้ พูดไทยไม่ชัด และใช้ภาษาราชการไม่เป็น โดยไม่เคยตั้งข้อสังเกตเลยว่าแท้จริงแล้ว “ภาษาราชการ” นั้นมีรากเหง้าเดียวกันกับภาษาในราชสำนัก (เพราะเป็นภาษาของ “ข้า” ราชการ) และในความเป็นจริงแล้ว ภาษาแบบราชสำนักนั้นไม่เคยมีที่ทางอย่างกว้างขวางในสังคมไทยมาก่อนเลย โดยเฉพาะในสังคมชนบท

เช่นภาษาราชการแบบในกฏหมายตราสามดวงนั้นก็เห็นชัดๆ ว่าไม่ได้เขียนไว้ให้คนทั่วๆ ไปอ่านอยู่แล้ว

กรณีสำเนียงการพูดจาและลักษณะการใช้ภาษาของนักการเมืองไทยนั้น เท่าที่ผมลองสืบค้นและฟังดูจากการประชุมสภาในหลายๆ ครั้ง (ผมจะจำกัดเฉพาะตัวอย่างการพูดของ ส.ส. หญิงเท่านั้นในที่นี้) พบว่าเราอาจจัดกลุ่มสำเนียงและลักษณะการพูดจาของ ส.ส. หญิงออกได้คร่าวๆ เป็นสามกลุ่ม

(การแบ่งกลุ่มในที่นี้ไม่มีนัยยะเชิงเปรียบเทียบว่ากลุ่มไหนดีกว่ากลุ่มไหน)

1) กลุ่มที่พูดจาฉาดฉาน ชัดเจน มีความเป็นสำเนียงเมืองหลวงเต็มที่ พูดจาด้วยภาษาที่รัดกุมและเป็นแบบ “ราชการ” และที่สำคัญคือ จะไม่เน้นการเน้นเสียงเบาเสียงดังหรือใช้สำเนียงสูงๆ ต่ำๆ มากนัก ซึ่งแสดงให้เห็น “วุฒิภาวะทางอารมณ์” ที่มั่นคง (คือมีความเป็นผู้ดีตามนิยามของระบบการศึกษาไทยสูง) แต่มีการแบ่งวรรคตอนในการพูดที่เหมาะสมและเป็นจังหวะจะโคน ส.ส. ในกลุ่มนี้มีตัวอย่างที่ชัดเจนคือคุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แลคุณฐิติมา ฉายแสง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะทั้งสองคนนี้เป็นนักการเมืองอาชีพและผ่านเวทีปราศรัยมาแล้วอย่างมากประสบการณ์

2) กลุ่มนี้ตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกอย่างสิ้นเชิง นั่นคือมักจะพูดจาไม่ราบรื่นนักเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก (ขอเน้นทำความเข้าใจตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่านี่ไม่ใช่ข้อตำหนิ แต่เป็นข้อสังเกต) มักมีปัญหากับการเรียงประโยคตามหลักไวยากรณ์ อีกทั้งยัง “ใส่อารมณ์” ในการพูดค่อนข้างมาก มีการเน้นเสียงสูงต่ำอย่างเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับที่ชาวบ้านร้านตลาดทั่วๆ ไปพูดคุยกัน แล้วเผลอๆ ยังแอบหลุดสำเนียงท้องถิ่นมาให้ผู้ฟังได้ยินอีกด้วย กรณีแบบนี้มีตัวอย่างเช่นคุณรังสิมา รอดรัศมี เป็นต้น

3) กลุ่มสุดท้ายมีจำนวนมากที่สุด และจัดอยู่ในประเภทกลางๆ คือไม่ถึงกับพูดฉาดฉานสมบูรณ์แบบเช่นในกลุ่มแรกนัก แต่ก็ควบคุมสำเนียงและลีลาการพูดให้มีความเป็นทางการได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างในกลุ่มนี้มีคุณวิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ที่ยังติดถ้อยคำแบบที่ไม่ใช่ภาษาราชการ เช่นการลากเสียงคำว่า “เนี่ย” แบบที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปพูดกัน หรือบางครั้งอาจไม่สามารถจัดวรรคตอนและการหายใจได้เหมาะสม และยังไม่ใส่ใจกับการควบกล้ำหรือ ร เรือ ล ลิงมากนัก เช่นเดียวกับคุณนาถยา เบญจศิริวรรณ ที่ยังคงมีอาการตะกุกตะกักบ้าง และบางครั้งก็เรียงประโยคผิดไวยากรณ์ ที่น่าสนใจคือ ส.ส. ทั้งสองคนนี้ จัดอยู่ในกลุ่มกลางๆ ในซีกที่ค่อนไปในทางที่ใช้ท่วงทำนองการพูดแบบมีสำเนียงสูง-ต่ำ และความหนัก-เบาที่บ่งบอกถึง “อารมณ์ความรู้สึก” ในการอภิปรายด้วยอยู่มาก

ขณะที่กลุ่มกลางๆ อีกซีกหนึ่งนั้นค่อนข้างจะมีความจงใจควบคุมสำเนียงการพูดให้เป็นไปอย่างเรียบๆ มากกว่า ซึ่งมีตัวอย่างเช่นคุณรสนา โตสิตระกูล (ส.ว.) คุณอนุสรา ยังตรง และคุณอรุณี ชำนาญยา เป็นต้น การอภิปรายของ ส.ส. ซีกนี้มีความเป็นราชการค่อนข้างสูงขึ้นมาอีก (จึงทำให้คนส่วนมากรู้สึกว่าออกจะน่าเบื่อ) แต่ก็ยังมีการพูดผิด พูดซ้ำๆ เว้นวรรคผิด เรียงประโยคกลับกันบ้าง แต่ประเด็นสำคัญคือ - ลักษณะการพูดจาอภิปรายจะเป็นไปด้วยน้ำเสียงที่เรียบๆ ไม่เน้นการใช้เสียงหนัก-เบา สูง-ต่ำ เพื่อแสดง “อารมณ์ความรู้สึก” นัก ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เอง

(แต่ถ้าสังเกตการตอบคำถามหรือการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ดูดีๆ โดยเฉพาะในรายการของคุณจอม เพชรประดับ หรือคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ในช่วงก่อนเลือกตั้ง จะพบว่า ว่าที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ (ในขณะนั้น) สามารถตอบคำถามต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติมากทีเดียว ซึ่งสื่อให้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีน่าจะคุ้นเคยกับการแสดงความคิดในลักษณะที่ไม่เป็นทางการนักมากกว่า)

เป็นที่รู้ๆ กันว่าการอภิปรายหรือการปราศรัยนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักเลือกตั้ง แต่ก็เป็นที่รู้ๆ กันอีกว่าคุณสมบัติข้อนี้ไม่เกี่ยวกับสติปัญญาในการบริหารบ้านเมืองแต่อย่างใด เพราะที่จริงแล้วเราอาจเห็นคนมีความสามารถอีกหลายๆ คนที่พูดไม่เก่งหรือพูดไม่เป็นเลย - ซึ่งก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก

จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์อาจเป็นคนที่พูดไม่เก่ง พูดผิดๆ ถูกๆ บ้างในบางครั้ง แต่โดยรวมๆ แล้วย่อมไม่ถึงกับจัดเป็นคนที่พูดไม่รู้เรื่อง และว่าที่จริงถ้ากล่าวถึงการคุมประเด็นและรักษาเนื้อความที่ต้องการนำเสนอแล้วยังควรจัดว่าอยู่ในขั้นค่อนข้างดีด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าการฝึกฝนให้สามารถพูดจาแบบคนภาคกลางและด้วยภาษาราชการสวยๆ หรูๆ นั้นย่อมเรียนรู้และฝึกฝนกันได้ เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาบ้างเท่านั้น แต่แน่ใจหรือ - ว่าการสื่อสารด้วยสำเนียงและภาษาแบบราชการนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดเพียงหนึ่งเดียว

ลองถามตัวเองดูก่อนว่าทุกวันนี้ เราอยากอ่านหนังสือราชการหรืออยากจะอ่านหนังสือที่เขียนขึ้นด้วยภาษาชาวบ้านธรรมดาที่เข้าใจกันได้ง่ายๆ มากกว่ากัน

ที่มา:ประชาไท
//////////////////////////////////////////////////////////////

แฉหลักฐานอัปยศป้องบรรหารบุรีปล่อยท่วมประเทศ


บรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ กับธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีเกษตรฯ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลใหม่ต้องรับผิดชอบ เพราะนายธีระร่างเงาของนายบรรหารเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบต่อเนื่องมาจาก รัฐบาลเก่าถึงรัฐบาลใหม่ และกล่าวยอมรับผิดแล้ว ต้องตามติดกันว่า ความรับผิดชอบทั้งทางการเมือง ทางอาญา ทางแพ่ง และทางเวรกรรมจะต้องชดใช้อย่างไร



จากรายงานข่าวชิ้นนี้จะตอบคำถามที่คาใจคนเรื่องที่ว่า ทำไมน้ำไม่ท่วมสุพรรณบุรี หรือที่เรียกขานกันว่า"บรรหารบุรี"แล้วให้ไปท่วมจังหวัดอื่นแทน นั่นก็เพราะกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ใต้สังกัดกระทรวงการเกษตรฯที่มีนายธีระ วงศ์สมุทร คนของพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นเจ้ากระทรวงอยู่ อาจจะ"รายงานเท็จ"ต่อหน่วยงานและสถาบัีนต่างๆ ว่ามีการระบายน้ำไปที่สุพรรณบุรีแล้ว ความจริงคือไม่

แต่จากหลักฐานคลิปข่าว และรายงานตัวเลขจากกรมชลประทานเองพบว่า ไม่มีการระบายน้ำไปทางบรรหารบุรีแต่อย่างใด จนคนของนายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องมาบอกว่า นายบรรหารให้ระบายไปสุพรรณได้แล้วเพื่อคลี่คลายปัญหา แต่ตามตัวเลขในรายงานข่าวนี้พบว่า ไม่มีการระบายไปแต่อย่างใด

การที่แม่น้ำท่าจีน สุพรรณบุรี หรือบรรหารบุรี ไม่ได้ช่วยระบายน้ำนั้น ส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาต้องระบายน้ำเพียงสายเดียว จึงเกิดการอั้นของน้ำ ทำให้ จังหวัดอื่นคือ อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ท่วมและน้ำกักขัง และเมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาระบายเพ­ียงสายเดียว ทำให้ต้องรับภาระมาก และส่งผลให้น้ำท่วมจังหวัด สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระ­ยา รวมทั้งกรุงเทพ ฯ ด้วย

ที่เว็บบอร์ดของกรมชลประทาน ได้มีประชาชนไปตั้งกระทู้ถามหาความรับผิดชอบในหัวข้อเรื่อง สาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมมาจากไหน และใครควรมีสำนึกรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ได้มีผู้ใช้นาม"สาวกรมชล"มาตอบว่า ถ้าบอกความจริงไปแล้ว จะไม่เชื่อตัวเองว่าเป็นไปได้ "เพราะมันเป็นความผิดมหันต์ ที่เกิดมาอีก สิบชาติ ก็ยังชดใช้ความเสียหายของประเทศนี้ไม่หมด" เป็นเพราะประมาท เหิมเกริม ดูถูกข้าราชการด้วยกัน ว่า ไม่มีใครกล้าคิด กล้าพูด ลองดูที่ youtube นี้ก่อนเถอะ แต่ขอให้ดูสัก 2 เที่ยว แล้วจดไว้ว่า ผอ.ชลประทานได้รับว่า ปิดประตูน้ำพลเทพไปกี่วัน และ ชาวบ้านผู้เลี้ยงปลากระชัง บอกว่า ประตูพลเทพ ปิดน้ำจนปลากระชังตาย ปิดกี่วัน

ปลากระชังน้ำนิ่งจนปลาตายนั้น น้ำต้องนิ่งอย่างน้อย 3 วัน คือปิดประตู น้ำไม่ไหล 3 วัน



ในคลิปนี้ผอ.ชลประทาน บอกว่า เหตุที่ไม่ได้ปล่อยน้ำไปทางแม่น้ำท่าจีนไปสุพรรณบุรีมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม จนถึงกันยายน เพราะว่า ทุ่งสุพรรณบุรียังไม่ได้เกี่ยวข้าว ต้องรอให้ทางสุพรรณบุรีเกี่ยวข้าวก่อนจึงจะระบายไป และยอมรับว่าไม่ได้เปิดประตูระบายน้ำไปหลายวัน จนปลาตาย /เพราะน้ำขัง ขณะที่ชาวชัยนาทบอกว่าไำม่จริง คนสุพรรณฯเกี่ยวข้าวหมดแล้ว ขอว่าให้ปล่อยไปทางสุพรรณฯบ้่าง ไม่ใช่ปล่อยจังหวัดอื่น 12 จังหวัดจม แต่ผอ.ชลประทานก็บ่ายเบี่ยงว่าต้องรอชาวนาสุพรรณเก็บเกี่ยวข้าวก่อน

แต่แล้วนายประภัตร โพธสุธน คนสนิทของนายบรรหาร ก็โผล่มาพูดตอนท้ายคลิปข่าวที่ 2 ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา สั่งมาให้ปล่อยระบายน้ำไปได้ ให้ปล่อยวันนี้เลย ปลาอยมากกว่าที่ชาวบ้านขอ ฯพณฯบรรหารสั่งมาแล้ว คนสุพรรณฯพร้อมเสียสละ

คลิปนี้ตอนท้ายๆคือคำตอบว่าใครมีอำนาจสั่งการเปิดปิดประตูน้ำให้ขังท่วม หรือระบายไปทางไหนชัดเจนที่สุด



จดกันไว้ได้ กี่วัน กี่ครั้ง ที่เขาปิดประตูระบาย พลเทพ.. ดิฉันจดได้ 6-8 วัน

แต่จากรายงานปริมาณน้ำไหลผ่าน ประตูระบายพลเทพ(ท่าจีน) ในเดือนกันยายน 2554 จาก เว็บไซต์แล้ว คลิ้กดู 6.สถานการณ์น้ำ/รายงาน คลิ้กต่อที่ สถานการณ์น้ำ ลุ่มเจ้าพระยา (สชป.12) และคลิ้กดูที่ แม่น้ำท่าจีน (ปตร.พลเทพ) - Thajeen River เดือนกันยายน 2554

ข้อมูลสถานการณ์น้ำ แม่น้ำท่าจีน (ปตร.พลเทพ)
ประจำเดือน กันยายน 2554


วันที่ ระดับน้ำเหนือ (ม.รทก.) ระดับน้ำท้าย (ม.รทก.) ปริมาณน้ำ(ม.3/วิ)
1 16.77 14.58 120.17
2 16.81 14.65 120.52
3 16.77 14.80 180.77
4 16.87 15.19 200.76
5 17.17 15.40 200.15
6 17.47 15.51 200.16
7 17.51 16.05 250.66
8 17.53 16.47 280.52
9 17.53 16.71 280.00
10 16.75 16.80 280.94
11 17.61 16.89 280.08
12 17.73 16.95 280.24
13 17.91 16.45 280.32
14 18.19 16.60 280.47
15 18.53 16.65 280.76
16 18.79 15.69 150.31
17 19.06 15.59 100.15
18 19.26 15.08 100.67
19 19.31 15.79 150.47
20 19.49 16.03 170.50
21 19.56 16.18 170.11
22 19.56 16.13 170.82
23 19.58 16.15 170.85
24 19.62 16.15 170.18
25 19.59 16.34 197.49
26 19.56 16.34 210.28
27 19.51 16.22 210.57
28 19.46 16.37 225.73
29 19.44 16.36 225.64
30 19.41 16.33 225.94

ดูกันซิว่า มีวันไหนในเดือนกันยายน 2554 ที่เขาปิดประตูระบายน้ำมั่ง คำตอบคือ ไม่ได้ปิดประตูเลย

แต่เขารายงานกรมชลฯ รายงานจังหวัด องค์การต่างๆ สถาบันหลักที่สำคัญต่างๆ และ ครม.ว่าเปิดประตูตลอด แต่ ผอ.ชป.บอก ว่าปิดประตูน้ำหลายๆครั้ง

ใครรับผิดชอบ.การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ


"ไม่มีวันใดปิดประตูระบาย ประตูน้ำพลเทพ"
แสดงว่า รายงานการระบายน้ำที่รายงานว่า ระบายไปจังหวัดสุพรรณบุรีทุกวันนี้ เป็นรายงานที่ไม่เป็นความจริง(เป็นเท็จ)

นี่หรือเปล่า ที่เป็นต้นเหตุให้แผนป้องกันน้ำท่วมประเทศขณะนี้ล้มเหลว เกิดความเสียหายหลายแสนล้าน
"เป็น เพราะว่า รายงานการระบายน้ำไปทางตะวันตก เป็นรายงานที่เป็นเท็จ รายงานไม่จริงไปให้คณะรัฐมนตรี ไปให้หน่วยงานต่างๆ ไปให้สถาบันสำคัญๆ หลักของชาตินั้นเป็นรายงานที่เป็นเท็จ"

ความเสียหายที่รายงานที่ไม่เป็นความจริงนี้ ก่อความเสียหายมหาศาล เนื่องจาก ช่วงปิดประตูระบาย ก็ยังรายงานว่าเป็นระบายไปทางแม่น้ำท่าจีน

แล้วประตูระบายตัวอื่นรายงานไม่จริงด้วยหรือไม่ ??

ผู้ใช้ชื่อ"คนกรมนี้"แสดงความเห็นว่า ตัวเลขเปิดปิดประตูจะต้องออนไลน์ ไปที่หน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงทรัพยฯ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรฯ ครม.ฯลฯ ส่วนราชการอื่นๆ ถ้าตัวเลขเป็นเท็จ หน่วยงานอื่นก็จะได้ตัวเลขเท็จไป สำหรับเจ้าหน้าที่ อาจมีความผิด ข้อหากรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ แถมอาจโดนฟ้องแพ่งด้วยนะ

ขณะที่มีผู้ใช้ชื่อว่า "ชาวบ้านเฝ้ามอง"ตอบว่า อยากรู้จริงๆใช่ไหมครับ ว่าเป็นเพราะอะไร และกรมชลประทานต้องรับผิดชอบด้วยไหม??
ก็ลองไล่ดูดังนี้ครับ

ปลายเดือนมิถุนายน 2554 พายุไหหม่า ก่อตัวเป็นดีเปรสชั่นทำให้ฝนตกทั่วไปทางภาคเหนือ น้ำเริ่มท่วมจังหวัดน่าน อุดรดิตถ์

ปลายเดือนมิถุนายน 2554 เป็นช่วงฉลองวันเกิดกรมชลประทาน

ต้นเดือนกรกฎาคม 2554 ชาวบ้านนครสวรรค์และชุมแสงพยุหคีรี เดินขบวนปิดเขื่อนเจ้าพระยา เรียกร้องใหเขื่อนเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนเพื่อเร่งระบายน้ำที่ขังบริเวณ จังหวัดนครสวรรค์

กลางเดือนกรกฎาคม 2554 กรมชลประทานได้ประชุมการบริหารน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา โดยให้เร่งรัดระบายนำออกทางด้านตะวันตกและตกวันออก

30 กรกฎาคม 2554 พายุนกเต็นเข้าไทย ทำให้น้ำท่วมไปทั่วภาคเหนือและลามและสะสมมาที่จังหวัดนครสวรรค์ พยุหคีรีและชัยนาท ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554-กรกฎาคม 2554 ไม่มีการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์

สิงหาคม 2554 ข้าราชการระดับปฏิบัติงานควบคุมการส่งน้ำในพื้นที่ เดือนท่างไปท่องเที่ยวยุโรปและอเมริกา หลายชุดหลายระลอก กรมชลประทานอนุมัติให้ ผอ.สำนัก ผอ.โครงการไปเที่ยวเมืองนอกยกสำนักฯ

กันยายน 2554 น้ำเริ่มท่วมชัยนาท สรรพยา สิงห์บุรี อ่างทอง ราษฎรวัดสิงห์ขอให้เปิดน้ำไปทางตะวันตกมากขึ้น แต่ได้รับการปฏิเสธ

13-14 กันยายน 2554 ประตูระบายบางโฉมศรีพังเสียหาย

13-15 กันยายน 2554 ข้าราชการกรมชลประทานเลี้ยงส่งเกษียณอายุ

ชูวิทย์อภิปรายสับ"คนตัวสั้นๆ"ทำน้ำท่วมเว้นวรรค บอกอย่าเพิ่งตาย


นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.พรรครักประเทศไทย กล่าวอภิปรายในสภาว่า อุทกภัยไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ เกิดจาก"มนุษย์คนๆหนึ่ง ต้องโทษคนสั้นๆ เพราะความเห็นแก่ตัว เพราะความโหดเหี้ยมหรือเปล่า น้ำทำไมมันท่วมเว้นวรรคบางจังหวัดได้ คนสั้นๆนี้อย่าเพิ่งตาย เพราะน้ำท่วมคราวนี้มีคนตาย500คน"

รัฐมนตรีเกษตรฯยอมรับกลางสภากักน้ำให้ชาวนาเกี่ยวข้าว

สุดท้ายความจริงก็ปรากฏออกมาเมื่อ "ธีระ วงศ์สมุทร " รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ยอมรับกลางสภาหลังจากถูกไล่บี้จากฝ่ายค้านว่า

"ผมยอมรับว่าพูดจริงที่สั่งชะลอน้ำเพื่อให้พี่น้องชาวนาได้เกี่ยวข้าว ก่อนปล่อยน้ำเข้าทุ่ง"

นายธีระกล่าว ส่วนที่ฝ่ายค้านบอกว่า ผมให้สัมภาษณ์สั่งให้ชะลอการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลนั้นจริง เพราะตอนนั้นเราชะลอการโหลดน้ำลงเจ้าพระยา เพราะไม่ว่าที่ไหนหรือทุ่งไหนจะเกี่ยวข้าว เราก็ต้องทำแบบนี้ อยู่รัฐบาลที่แล้วผมก็ทำ เพราะประชาชนกำลังจะเกี่ยวข้าว(ที่มา:มติชนออนไลน์)

บรรหาร ตอบโจทย์น้ำก็ท่วมสุพรรณฯ

เพื่อความเป็นธรรมและรอบด้าน ลองฟังนายบรรหารตอบโจทย์เรื่องนี้ด้วย



*********

ไทยอีนิวส์

วอนกองทัพทำรัฐประหาร สกัดออกพรฏ.อภัยโทษแม้ว


เกิดความเคลื่อนไหวในหมู่นักวิชาการอย่างคึกคักในการต่อต้านการที่รัฐบาลออกพรฎ.อภัยโทษ เช่น คณาจารย์ 7 มหาวิทยาลัย (อ่านรายละเอียด) และนักวิชาการนำโดยแก้วสรร อติโพธิ ที่ร่วมกับกลุ่มสยามสามัคคี ขาประจำไล่รัฐบาลในวันที่ 18 นี้( อ่านรายละเอียด )

นัก วิชาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยได้ตำแหน่งหรือผลประโยชน์จากรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แต่ยังคงมาดดีเคลื่อนไหวในมาดนักวิชาการ แต่บางรายเกิดอาการเก็บหางไม่มิดก็เลยโพล่งออกมาแบบโฉ่งฉ่าง ดังภาพข้างต้น
นาย ธีรวัฒน์ วีระวิทยานันต์ อาจารย์ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศาสตร์สากล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้ชื่อในเฟซบุ๊คว่า Thirawat Weravittayanan ได้โพสต์ภาพและข้อความข้างต้นลงในหน้าเพจ ขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค โดยเขียนว่า

ขอ เรียกร้องให้กองทัำพไทย รัฐประหาร เราไม่ต้องการ"รัฐบาลโจร"ช่วยโจร" ก่อนที่ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ"พรฎ.อภัยโทษ"จะลุกขึ้นมาฆ่าฟัน กันเอง โปรดรีบลงมือก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ทั้งนี้ การกระทำการของนายธีรวัฒน์อาจขัดต่อ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี



รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง