บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อากงปลงไม่ตก (2)







นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ได้เขียนบทความ "อากงปลงไม่ตก (2)" วอนเลิกวิจารณ์คดีนอกศาลขณะที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษา

บทความเรื่อง “อากงปลง ไม่ตก” ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ มีผู้ที่เห็นพ้องและเห็นแย้งในตรรกะและเนื้อหาของผู้เขียน สุดแต่มุมมองความเชื่อ ความเข้าใจและต้นทุนองค์ความรู้ของแต่ละคน ซึ่งผู้เขียนพร้อมน้อมรับด้วยความเคารพในความเห็นที่มองต่างมุม อันเป็นผลธรรมดาของนักนิติศาสตร์และสังคมประชาธิปไตยที่ทุกคนไม่จำต้องเห็น ตรงกันในเรื่องเดียวกันเสมอไป 

อย่างไรก็ตามความเห็นแตกต่างที่อาจ ทำให้สังคมฉงนสนเท่ห์ ลังเล สับสนในทฤษฎีวิชาการทางกฎหมายหรือข้อเท็จจริงแห่งคดีที่ศาลพิพากษา ผู้เขียนย่อมจำต้องขออนุญาตอรรถาธิบายขยายความให้กระจ่างชัดขึ้น ซึ่งความเคลือบคลุมดังกล่าวคงเป็นข้อจำกัดหลายประการของผู้เขียนเอง บทความนี้จึงขอนำเอาความเห็นแย้งของท่านผู้อ่านมาเป็นประเด็นคลายปมให้ตก ผลึก ดังนี้

ข้อสงสัยประการแรก เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกอากงแล้วเหตุใดอากงยังได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามหลัก Presumption of Innocence มิเป็นการขัดแย้งกันเองหรือ

คำตอบ ตราบใดที่อากงหรือ จำเลยยังคงติดใจโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยวิธีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว ถือว่าคดีนั้นยังไม่จบสิ้นกระแสความหรือถึงที่สุด เนื่องจากศาลสูงอาจพิพากษายืน ยก กลับ แก้คำพิพากษาศาลล่างได้ ฉะนั้นผลของคดีจึงอาจจะตรงกันข้ามกับที่ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ตัดสินก็ได้ เพราะในการพิจารณาพิพากษาคดี  ศาลสูงยังคงใช้หลักข้อสันนิษฐานเดียวกันว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็น คุณแก่จำเลยอันมีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา 

เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานดังกล่าวคือแม้อากง จะต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว แต่อากง ก็ยังคงมีสิทธิยื่นคำร้องของปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้เพราะคดียังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง

ส่วนการที่อากงหรือจำเลยจะได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่นั้นเป็นคนละเรื่องคนละขั้นตอนกับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอากงมี ความผิด เพราะการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นเรื่องที่ศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานจนแน่ใจ ปราศจากข้อสงสัยว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ศาลจึงพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคแรก

ขั้น ตอนการขอปล่อยชั่วคราวในแต่ละชั้นศาล เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ามาอยู่ในอำนาจศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยตัว ชั่วคราว  ศาลจะพิจารณาเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 และ 108/1 ซึ่งบางครั้งการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวของศาลก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ระบบยุติธรรมและสังคมได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเช่น ในคดีสำคัญหลายเรื่องที่จำเลยเป็นที่รู้จักและไม่รู้จักของสังคมได้รับการ ประกันตัวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น หรือในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่จำเลยได้รับการประกันตัว ไปในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมาได้หลบหนีไป ย่อมทำความเสียหายแก่กระบวนการยุติธรรมเพราะไม่สามารถนำตัวจำเลยมาพิจารณา คดีหรือรับโทษได้

จึงสรุปได้ว่า การที่จำเลยมีสิทธิได้รับการประกันตัวในศาลสูงจึงเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลย ได้รับการสันนิษฐานว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมายนั่นเอง

ข้อสงสัยประการต่อมา มีผู้โต้แย้งว่า ในคดีอากงเมื่อ ผู้เขียนบอกว่า สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชนสันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคม สถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความเข้าใจหลงผิด ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงควรต้องถูกลงโทษอันขัดแย้งกันเองกับที่ ผู้เขียนบอกว่า อากงยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น

ใน ข้อนี้  ฟังผิวเผินอาจเป็นปรปักษ์กันเอง แต่สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายหรือนักนิติศาสตร์ย่อมสามารถเข้าใจได้ไม่ ยาก หรืออาจเป็นความเลินเล่อที่ผู้เขียนมิได้อธิบายขยายความให้แจ่มแจ้งแทงทะลุ ความจริงคือข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นหลักการสากลของกฎหมายตามที่ได้อธิบายในข้อแรก ส่วนเนื้อหาข้อเท็จจริงแห่งคดีนั้นศาลจะพิพากษาอย่างไรเป็นเหตุผลเฉพาะคดี ตามพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายโต้แย้งต่อสู้คดีกัน ถ้าจะพิพากษาลงโทษ จำเลย โจทก์ก็ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเชื่อโดยสนิทใจว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่หากพยานหลักฐานไม่พอฟังลงโทษหรือมีข้อสงสัยตาม สมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่ จำเลยและศาลต้องพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยไป

หรือถ้าคดีใดอัยการโจทก์ สามารถนำสืบพิสูจน์จนให้ศาลเห็นและเชื่อได้ว่าจำเลยมีเจตนาชั่วร้าย ดังวลีที่ผู้เขียนบัญญัติขึ้น จำเลยในคดีนั้นก็สมควรที่จะได้รับโทษานุโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่ง คดี ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองปัจเจกชนซึ่งเป็นผู้เสียหายคุ้มครองความสงบเรียบ ร้อยของสังคม ประเทศชาติ ประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นเสาหลักความ มั่นคงของประเทศให้มีความปลอดภัย แต่ถ้าคำตอบสุดท้ายศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างว่าจำเลยไม่มีความผิด แล้ว ข้อกล่าวหาทั้งปวงและผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมถูกลบล้างไป  จำเลยย่อมพ้นมลทินเป็นผู้บริสุทธิ์

อนึ่ง ที่มักจะมีการกล่าวอ้างว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ ในการพูดหรือแสดงความคิดเห็นมีเกียรติยศศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ควร ถูกใครทำร้ายย่ำยีบีฑาทั้งชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณ ข้อนี้ผู้เขียนเห็นด้วยแต่ว่าสิทธิ ดังกล่าวคงมิได้หมายความรวมไปถึงการมีสิทธิทำลายแผ่นดินเกิดของตนเองหรือเสา หลักของชาติบ้านเมืองหรือกระทำการใดอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่ทุกคนเคารพและยึด ถือร่วมกัน อันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเกินกรอบที่วิญญูชนจะยอมรับได้

การ กระทำการใดตามอำเภอใจโดยไม่เคารพสิทธิผู้อื่นก็ไม่ต่างอะไรกับคนป่าได้ปืน หรือคนเสียสติบ้าคลั่งไม่รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี  บริภาษด่าทอ ทำลาย ทำร้าย ผู้อื่นด้วยความคะนองใจ โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ บุคคล สังคม และประเทศชาติรวมถึงตนเองและครอบครัว ดังนั้น เหตุผลของผู้เขียนที่หยิบยกมาเป็นข้อเขียนในบทความแรก จึงเป็นหลักการตามที่กฎหมายบัญญัติและเป็นกระบวนการที่ศาลใช้บรรทัดฐานในการ พิจารณาพิพากษาคดี  มิได้มีความขัดแย้งกันแต่ประการใด

ข้อสงสัยประการสุดท้าย คือหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอากงแล้ว มี บุคคลหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ข้อเท็จจริงคดีนี้ตามสื่อโทรทัศน์บางช่องหรือสื่อ สารสนเทศ โดยผู้วิจารณ์ไม่ได้อ่านหรือเห็นคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นตัดสิน แต่นำเอาข้อเท็จจริงนอกสำนวนหรือเฉพาะข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นข้ออ้างสนับสนุน ความเชื่อของตนเองและกล่าวหาทำนองว่า ศาลชั้นต้นตัดสินผิดพลาด 

ข้อนี้ ผู้เขียนขอฝากว่าคดีนี้อากงหรือ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความคดีย่อมรู้ความจริงแก่ใจดีที่สุดว่าข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์และฝ่ายตนเป็นอย่างไร และปัจจุบันคดีนี้อยู่ในระหว่างคู่ความทั้งสองกำลังใช้สิทธิอุทธรณ์คำ พิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความในคดีไม่บังควรโน้มน้าวจูงใจทำให้สังคมเกิดอคติ ต่อข้อเท็จจริงที่ตนเองยังรู้ไม่แจ้งเห็นจริง เพื่อให้ผู้คนเชื่อว่าจำเลยบริสุทธิ์และศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ถูกต้อง อันมิใช่เป็นการวิพากษ์ในเชิงวิชาการหรือติชมด้วยความเป็นธรรมและสุ่มเสี่ยง ต่อความผิดตามกฎหมาย

หนทางที่ถูกต้อง ควรปล่อยให้ศาลสูงเป็นผู้ทบทวนคำพิพากษาศาลล่างตามกระบวนการและช่องทางที่ กฎหมายกำหนดจะเหมาะสม ชอบธรรม ถูกต้อง และสง่างามกว่าการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกสำนวนนอกศาลซึ่งมีแต่ทำให้ สังคมผิดหลง สับสน และมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อศาลและกระบวนการยุติธรรม

วันนี้ สังคมไทยยังอ่อนไหว คลื่นใต้น้ำยังไม่สงบ ประเทศชาติต้องการความเป็นเอกภาพ สันติภาพและสันติธรรม ต้องการความเข้มแข็งและความสามัคคี เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นแก่ชาวโลก อันมีผลต่อระบบเศรษฐกิจการค้า การลงทุน  และการท่องเที่ยวรวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ผู้เขียนมั่นใจว่าคนไทยทุกคนรักแผ่นดินเกิด ต้องการเห็นประเทศชาติก้าวหน้ามั่นคง พัฒนาในทุกมิติให้เท่าทันอารยะประเทศ ปรารถนาให้บรรยากาศบ้านเมืองอบอุ่น เป็นมิตรต่อกัน ความสุขมวลรวมและรายได้ของประชากรในชาติสูง ถ้าทุกคนมีเป้าหมายตรงกันเช่นนี้ ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเอาคำกล่าวในอดีตที่เคยพูดกันมาเพื่อใช้เป็นแนวทางใน การสร้างชาติให้มีสันติสุขอย่างถาวรยั่งยืนคือ “อย่าดึงฟ้าต่ำ  อย่าทำหินแตกและอย่าแยกแผ่นดิน"



ย้อนอ่าน  อากง ปลงไม่ตก

พท.พบ'แม้ว'ชี้ไม่เอาแก้ม.112


พท.พบ'แม้ว'ชี้ไม่เอาแก้ม.112

พท. บินพบ 'แม้ว' สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เผย 'นายใหญ่' ไม่เห็นด้วย แก้ ม.112 หนุนตั้งสสร.แก้รธน. ระบุ ตั้ง 20-30 ส.ส. อภิปรายหนุนพรก.กู้เงิน 4 ฉบับ ด้าน 'ปู' เล็งโหนบรรทัดฐานศาลรธน. เคยตีความพรก.4แสนล. สมัย 'มาร์ค' ไม่ขัดรธน.

          นายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เขาและเพื่อน ส.ส.เพื่อไทย ประมาณ 12 คน ซึ่งได้รับรางวัลส.ส.ดีเด่นของพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ดูไบ และได้ร่วมรับประทานอาหาร รวมทั้งพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณด้วย โดยใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง

          ทั้งนี้ เนื้อหาในการพูดคุยกัน ส่วนใหญ่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะพูดถึงเรื่องของนโยบายที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการให้แล้วสำเร็จ อาทิ การพักชำระหนี้ให้เกษตรกร และโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร
          "พ.ต.ท.ทักษิณ มี ความเป็นห่วงในเรื่องของตัวบุคคลที่ทำหน้าที่บริหาร จึงได้กำชับให้ส.ส.เน้น การลงพื้นที่ เพื่อพบปะกับประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และให้คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ ให้มากขึ้น อย่าทอดทิ้งประชาชน เพราะประชาชนเลือกเรามา ดังนั้น เราต้องรับผิดชอบต่อประชาชน"

หนุน ใช้ สสร. แก้ รธน.

          สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เห็น ว่า จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้คือ ให้มีการตั้งสสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จังหวัดละ 1 คนรวม 77 คน จากนั้น จึงให้ สสร.ทั้ง 77 คน คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่าง ๆ อาทิ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคม การเมือง และเศรษฐกิจมาเป็นสสร.อีก 22 คนจนครบ 99 คน เพื่อให้มาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ

'แม้ว' ชิ่ง ไม่เอาแก้ ม.112 อ้าง หวังดี-เจตนาร้ายเยอะ

          ส่วนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า ท่านเองไม่เห็นด้วย เพราะที่ผ่านมา คนไทยก็อยู่กันได้โดยที่ไม่มีปัญหาอะไร แต่อยู่ดี ๆ กลับจะมีคนเอาปัญหามาให้ ท่านจึงไม่เห็นด้วย
          "ท่านแสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้มาก เพราะวันนี้มีคนที่หวังดี แต่เจตนาร้ายกับเราอยู่เยอะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตั้งหลักให้ดี"
           ด้าน นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อ วันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า มีส.ส.ที่ได้รับรางวัลจากพรรคไปด้วย รวมทั้งหมด 12 คน และได้รับประทานอาหารร่วมกันนานพอสมควร โดยท่านอยากเห็นประเทศเดินหน้า ประชาชนมีความสุข เกิดความปรองดอง อยากเห็นคนไทยยึดหลักการ อย่าทะเลาะกันในเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งหรือทะเลาะกันในเรื่องเล็กๆ
          นอกจากนี้ ยังฝากบอกส.ส.ในพรรค ให้ยึดหลักประชาธิปไตย ยึดผลประโยชน์ของประชาชน เพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น
          ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ท่านต้องการให้ สสร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากเห็นประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทยเท่านั้น

ตั้ง 20-30 ส.ส. อภิปรายหนุนพรก.กู้เงิน 4 ฉบับของรัฐบาล

          ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า การประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทยได้มีการหารือถึงกรณีที่สภาฯ จะมีการพิจารณาพรก.เงินกู้ และแก้ไขปัญหาหนี้ 4 ฉบับของรัฐบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง และรองนายกรัฐมนตรี ได้ส่งทีมงานจากกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ มาชี้แจงเพื่อให้ข้อมูลแก่ส.ส.ในการนำไปอภิปรายชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ ในวันที่ 1 ก.พ.นี้
          ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้เตรียมทีมส.ส.ประมาณ20-30 ไว้ เพื่อเป็นทีมอภิปราย โดยมีนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เป็นผู้ดูแลควบคุมภาพรวมของการอภิปราย

"ปู" เล็งโหนบรรทัดฐานศาลรธน.เคยตีความพรก.4แสนล.สมัยมาร์คไม่ขัดรธน.

          แหล่งข่าว จากที่ประชุมครม. เปิดเผยว่า ในประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความพรก.กู้เงิน 2 ฉบับ ที่ยื่นผ่านประธานสภาฯนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นในที่ประชุมด้วย และเห็นว่า การประชุมสภาไม่ใช่แค่ชี้แจงพรก. 2 ฉบับ ที่ฝ่ายค้านไม่ได้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ แต่ควรชี้แจง พรก.ทั้ง 4 ฉบับเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน
          “นายกฯได้สอบถาม ครม.ถึงกระบวนการที่ฝ่ายค้าน ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ไปถึงไหนแล้ว เพราะหากมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ไม่สามารถอภิปรายพรก. 2 ฉบับ ที่ยื่นไปได้ ซึ่งมีการแจ้งให้นายกฯเข้าใจว่า เรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องยังอยู่ที่ประธานสภา ยังไม่ไปถึงมือศาลรัฐธรรมนูญ” แหล่งข่าว ระบุ
          นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการหารือกันกว้างขวาง โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง กล่าวมั่นใจว่า ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญ มีแค่ประเด็นเดียวคือ จำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ เขามั่นใจว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
          ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าว มีเสียงสนับสนุนจากครม. แสดงความมั่นใจว่า พรก.ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาแน่นอน จึงไม่จำเป็นที่ครม.ต้องยกมือโหวต
          ขณะที่นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬาจากพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ฝ่ายค้าน โดยนายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หาก พรก. 2 ฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายกิตติรัตน์ ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก เขาเห็นว่า ไม่ต้องลาออก เพราะเป็นเรื่องของการขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น
          ส่วนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว. ต่างประเทศ ซึ่งเป็นอดีตประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎรกล่าวเสริมว่า สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ ออกพรก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ตอนนั้น พรรคเพื่อไทยโดยนายประเกียรติ นาสิมมา ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความเช่นกัน
          “อภิปรายเช้า ยื่นบ่าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจฝ่ายบริหารทำได้ ซึ่งถือว่า เป็นบรรทัดฐานที่วางไว้แล้ว ดังนั้น ในกรณี พรก. 2 ฉบับนี้ คำวินิจฉัยคงจะออกมาเป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกัน ซึ่งจะไม่ทำให้การบริหารของรัฐบาลหยุดชะงักลง"
          อย่าง ไรก็ตาม ในที่ประชุมก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะนั้น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นนายชัช ชลวร แต่ขณะนี้ เป็นนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

คมชัดลึก
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง