บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เปิดเบื้องหลัง วิ่งโผ ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 วัด “ด-ว-ง”

by นายตะเกียง
การจัดโผ ครม.ยิ่งลักษณ์ ครั้งนี้มี ศูนย์อำนาจหลายจุด ที่ทำให้ลูกพรรค และแกนนำพรรค  ต่างวิ่งเข้าหาคนใกล้ชิด ทักษิณ  ชิน วัตร เพื่อล็อบบี้ขอเป็นรัฐมนตรีกันคึกคัก เพราะตามสไตน์ของคนชื่อ ทักษิณ จะรู้ความชัดเจนจนถึงนาทีสุดท้ายก่อนนำโผรายชื่อขึ้นโปรดเกล้าฯ
แต่ความน่าสนใจเมื่อสส.อีสาน ออกมาระบายความอัดอั้น ตันใจหลังถูกหั่นโควตาครม.ว่าจัดการโผครม.ยิ่งลักษณ์ ต้องพึ่ง “ด-ว-ง”   แถมยังมีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่า  “ด” หมายถึงเด็กของใคร “ว” หมายถึงการ   วิ่ง  และ “ง” หมายถึง เงิน 
จึง เป็นการฉายภาพความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองภายในเพื่อไทยให้เห็นเด่นชัด ขึ้นมาทันที บวกกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่าศูนย์อำนาจในเพื่อไทย นอกจาก ทักษิณ  ชินวัตร  แล้ว ยังมีกลุ่มเครือญาติ  กลุ่มกุนซือ และกลุ่มทุน ซึ่งทุกกลุ่มต่างมุ่งหน้าตีตั๋วบินไปยังดูไบ
สายตรงโควตาของ ทักษิณ ส่วนใหญ่เป็น คนนอก  ที่ ทักษิณ ลงทุนทาบทามด้วยตัวเอง ไม่ว่า  วิกรม คุ้มไพโรจน์ ที่คาดว่าจะมานั่งเก้ากระทรวงต่างประเทศ  กิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีพาณิชย์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ทีมีชื่อติดในโผรัฐมนตรีกลาโหม  ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตเลขา กลต. ที่ลาออกมาเพื่อดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง
ล่า สุดวางตัว บัณฑูรย์ สุภัควณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีต ผอ.สำนักงบประมาณ รู้จักกับทักษิณมานานกว่า 36 ปี โดยให้มานั่งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  ชิง กับนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ อดีตผู้บริหาร ไอทีวี มือขวา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  
สาย บ้านจันทร์ส่องหล้า ของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ในฐานะคนคู่ใจ ทักษิณ จนในพรรคเปรียบเปรยว่า นี่แหละนายกฯ หญิงตัวจริง จึงไม่ต้องแปลกใจที่ ปรากฏชื่อตัวเต็งวิ่งไปสายนี้   และหลายคนเมื่อหลุดโผจากมือทักษิณก็วิ่งไปที่  หญิงอ้อ  จนเกิดการหักกับทักษิณหลายครั้ง เล่นเอาโผสุดท้ายพลิกไปมาหลายรอบ จนถึงนาทีสุดท้าย
สาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  มีโควตาที่ต้องขอแบ่งกับ ทักษิณ ที่ชัดสุดเห็นจะเป็น นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มือขวาของ ยิ่งลักษณ์ รวมไปถึงสายตรงอย่าง  ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่จะได้เก้าอี้มหาดไทย  ปลอดประสพ สุรัสวดี ก.ทรัพย์   และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
สาย เจ๊แดงเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และสมชาย วงศ์สวัสดิ์   มีขุมกำลังหลักคุม สส.ภาคเหนือ ผลักดันมือขวามือซ้ายอย่าง  วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สส.แพร่  บุญทรง เตริยาภิรมย์ สส.เชียงใหม่ ขึ้นเป็นรัฐมนตรี
สาย พายัพ ชินวัตร ที่คุมภาคอีสาน บางส่วนจากทั้งหมด  104 คน แม้จะมีตัวเลขเยอะ  แต่ สส.สายอีสานทั้งหมดก็ไม่ให้การยอมรับ แต่พายับ ก็พยายามเด็กในคาถาให้พี่ชายพิจารณา อย่าง  นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ สส.ชัยภูมิ  ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย สส.หนองคาย
ขณะที่กลุ่มอีสานบางส่วน แตกกระจายไปขึ้นตรงกับหัวหน้ามุ้งที่ใจถึงพึ่งได้ อย่าง เฮียเพ้ง  พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล มือขวาทักษิณ
สาย เฮียเพ้ง มี สส.ในมือร่วม 40 คน และประเดิมได้ตำแหน่งประธานภาของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับ รองประธานสภา  วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ไปแล้ว โดยเป้าหมายเก้าอี้สำคัญที่ต้องการครองคือ  คือ รมว.คมนาคม และอยู่ระหว่างไล่บี้กบ  สันติ พร้อมพัฒน์ อดีต รมว.คมนาคม อดีตลูกน้องเก่า โดยล่าสุด สันติ ได้วิ่งเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า
สายกุนซือเก่า  “ยุทธตู้เย็น”  ยง ยุทธ ติยะไพรัช ถึงแม้จะทำให้พรรคพลังประชาชนถูกยุบเพราะเจ้าตัวทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ ทักษิณ ก็ยังใช้ ยงยุทธ ทำงานเฉพาะกิจอยู่ และมีบทบาทร่วมในชัยชนะครั้งนี้ กลุ่มยงยุทธ  จะเน้นใน จ.เชียงราย เป็นหลัก เพื่อผลักดันให้พี่สาว บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ และ อิทธิเดช แก้วหลวง สส.เชียงราย เป็นรัฐมนตรี
และที่พลาดไม่ได้คือสาย เจ๊หน่อยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าทีมภาค กทม.คนข้างกายคุณทักษิณสมัยนายใหญ่เล่นการเมืองใหม่ๆ ตั้งแต่พรรคพลังธรรม  โดยเสนอชื่อ อุดมเดช รัตนเสถียร  วิชาญ มีนชัยนันท์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรี
มาที่สายกลุ่มคนเสื้อแดง  แบ่งเป็นแดง  อุดรธานี  เมืองหลวงเสื้อแดงในภาคอีสาน ก็มีแกนนำอย่าง ขวัญชัย ไพรพนา ขึ้นตรงนายใหญ่ก็ลุ้นให้  พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่หากพลาดคงได้เก้าอี้รองนายกเป็นรางวัลปลอบใจ ล่าสุดมีชื่อนั่งเก้าอี้ยุติธรรม
กลุ่มแกนนำคนเสื่อแดงที่เป็นสส.  ซึ่ง ถือปีกที่ใหญ่สุดของกลุ่มเสื้อแดง และมีส่วนสำคัญกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทย แม้ ทักษิณ จะตบรางวัลให้เป็นสส.แล้ว เพื่อเอกสิทธิ์คุมครองต่อสู้คดีก่อการร้าย และมีความพยายามเสนอชื่อแกนนำเป็นรัฐมนตรีหลายคน งานนี้จึงเป็นการวัดใจนายใหญ่ ว่าจะสามารถทิ้งแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงได้ลงคอหรือไม่  โดยเฉพาะ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่แกนนำนปช.ส่งเข้าประกวด รวมถึง พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย  
เตรียม ทหารรุ่น 10 นำโดย พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็ขอแบ่งเก้าอี้ด้วย คาดว่าน่าจะได้ 2 ตำแหน่ง โดยเสนอให้ พล.อ.อ สุกำพล สุวรรณทัต หรือ บิ๊กโอ๋  เข้ามาคุม กระทรวงคมนาคม เพื่อสะสางการบริหารงานในยุคพรรคภูมิใจไทย ดูแล ที่มีนายทหารใกล้ชิดคมช.เข้ามาเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ ด้านคมนาคมหลายที่นั่ง
ขณะ ที่เตรียม 10 ยังมีความเคลื่อนไหว เสนอให้ พล.อ.สมทัด อัตตะนันท์ หรือ บิ๊กเกาะ เข้าชิงเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหม แต่ติดเงื่อนไข ว่าเติบโตมาจากสายวงศ์เทวัณ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ อาจจะเป็นการหักหน้า สายบูรพาพยัฆค์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแผนปรองดอง ล่าสุดมีชื่อของ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ อดีต ผบ.ตร.เบียดแทรกเข้ามานั่ง รมว.กลาโหม
นับจากนี้ไป ประชาชนทั้งประเทศ ต้องจับตาว่าภาพการเคลื่อนไหวแย่งชิงเก้าอี้ที่ออกมาในเวลานี้ จะทำให้รัฐ บาลยิ่งลักษณ์ 1 ที่ประกาศว่าจะ ไม่มียี้  ต้องหน้าดี  เพื่อ นำไปสู่การปรองดอง ไม่แก้แค้น มีแต่จะแก้ไขเพื่อ ชูภาพลักษณ์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศได้หรือไม่ ซึ่งหลังจากเห็นหน้าตาของ ครม.ทั้งหมดแล้ว จะเห็นเจตนาที่แท้จริงของคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร.

คลิป พระบรมราขโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

นิรโทษกรรม ทางออกหรือทางตัน

who lies to the king?

พลังงานเอกสารข้อเสนออนาคตพลังงานไทย ( ไฟฟ้า )

กฎหมาย 11 ฉบับ ขายชาติ

“ขายชาติ อย่างไร"


โดย Boon Wattanna
หลัง จากกลุ่ม "พันธมิตรกู้ชาติ" (45 องค์กร) ได้รวมพลังจัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันที่ 20 กันยายน และ 25 ตุลาคม 2545 กระแสความตื่นตัวของประชาชนเรื่อง "กฎหมายขายชาติ" ก็เริ่มขึ้นใหม่ หลังจากได้ซบเซามานาน แล้วรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างก็ "โยนกลอง" กันว่า ใคร "ขายชาติ" มากกว่ากัน
อันที่จริง "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่ได้บานปลายกลายเป็น "วิกฤตชาติ" นั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการเปิดระบบเงินเสรี(BIBF) อย่าง โง่เขลา ใน พ.ศ.2536 ทำให้เอกชนหลงกลกู้เงินจำนวนมากจากต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายกันอย่าง ฟุ่มเฟือย(ปั่นหุ้น ปั่นที่ดิน ปั่นคอนโดฯ) หรือกินส่วนต่างดอกเบี้ย(ดอกเบี้ยนอกถูก ดอกเบี้ยในแพง) อยู่หลายปี
ใน ปี พ.ศ.2540 "เจ้าหนี้ต่างชาติ" และ "หมาป่าการเงิน" เช่น นายจอร์จ โซรอส ก็ได้มีโอกาสเรียกหนี้คืน และ "ทุบ" ค่าเงินบาท จนหนี้สินทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในเวลาข้ามคืน เมื่อรัฐบาลพลเอกชวลิต "ลอยตัว" ค่าเงินบาทหลังจากธนาคารชาติผิดพลาดเอาเงินทุนสำรองไป "สู้ศึก" ค่าเงินบาทแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะต่างชาติมี "ไส้ศึก"(ที่ปรึกษา) อยู่ในธนาคารชาติและกระทรวงการคลังไม่น้อย
เมื่อ ประเทศกำลังจะเข้าสู่ภาวะล้มละลายจาก "หนี้สินของภาคเอกชน" รัฐบาลพลเอกชวลิตจึงสั่งปิดสถาบันการเงิน(ไฟแนนซ์) 58 แห่ง (ที่ไปกู้เงินนอกมากินส่วนต่างของดอกเบี้ยแล้วไม่มีปัญญาใช้คืน) และกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อ พยุงสภาวะการเงินการคลัง ของประเทศไว้ โดยต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (แสดงความจำนน) ฉบับที่ 1 ยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟแบบกว้างๆ (ไม่ผูกมัดตนเองในรายละเอียด และไม่ยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ")
แต่ เมื่อรัฐบาลพลเอกชวลิตลาออกเพราะ "เกมการเมือง" ของพรรคชาติพัฒนาในปลายปี 2540 รัฐบาลชวนสองก็เข้ามาบริหารแผ่นดิน และได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ(letters of intent) ฉบับที่ 3-6 ร่วมกับ side letters แสดง ความจำนนอย่างสิ้นเชิงต่อเงื่อนไขของต่างชาติ โดยยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ" ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ต้องมี "หนี้" ติดตัวทันทีคนละหลายหมื่นบาท
นอกจากนั้น เพื่อเอาใจต่างชาติ และเพื่อผลักดันรองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก(WTO) รัฐบาล ได้ใช้ภาษีอากรของประชาชนไปหลายสิบล้านบาท ในการสนับสนุนและหาเสียงให้นายศุภชัย ได้เปิดการค้าเสรีแบบเสียเปรียบต่างชาติ และได้ออก "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" ทำลายเอกราชอธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ ด้านบริหาร ด้านนิติบัญญัติ และด้านตุลาการไปพร้อมๆ กัน
"กฎหมายขายชาติ" ที่รัฐบาลชวนสองเรียกว่า "กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ" สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้
กลุ่ม 1 มี 5 ฉบับ คือ กฎหมายล้มละลาย กฎหมายจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีมโนสาเร่ กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีขาดนัด และกฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในการบังคับคดี
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ต้องการให้เจ้าหนี้(นายทุนต่างชาติในขณะนั้น) สามารถฟ้องล้มละลายลูกหนี้(ไทย) ได้อย่างง่ายดาย และให้โอกาสเจ้าหนี้ มากกว่าลูกหนี้ในการต่อสู้คดี ร่วมกับการบังคับยึดทรัพย์ และขายทอดตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ เป็นคนกำหนด
ด้วย กฎหมายกลุ่มนี้ ทำให้ "คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน"(ปรส.) นำทรัพย์สินของประชาชน ที่รัฐบาลยึดมาจากสถาบันการเงินต่างๆ ไป "ล็อกสเป๊ก" ขายให้ต่างชาติในราคาถูกๆ(เพียง 1 ใน 5 ของราคาทุน) โดยไม่ยอมให้คนไทยซื้อ จนขาดทุนไปประมาณ 6 แสนล้านบาท แล้วต่างชาติที่ "จับเสือมือเปล่า" เหล่านั้นก็ขายคืนให้คนไทยทันที และได้กำไรไปหลายแสนล้านบาท จนยอมจ่าย "เศษเนื้อ" เป็นโบนัสให้พนักงานของตน(รวมทั้งคนไทยที่ขายตัวเป็นทาสรับใช้ฝรั่ง) 100 เท่าของเงินเดือน และเบี้ยบ้ายรายทางแก่คนร่วมขายชาติอื่นๆ
ด้วย กฎหมายกลุ่มนี้ ประชาชนที่ผ่อนบ้านผ่อนรถผ่อนเครื่องมือหากินและอื่นๆ กับสถาบันการเงินต่างๆ จึงถูกยึดทรัพย์สิน ทั้งที่ตนไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส
ธุรกิจ และอุตสาหกรรมไทยที่กู้เงินมาขยายกิจการกันมากมายในยุค "ฟองสบู่" ก็ต้องล้มละลาย กลายเป็นของต่างชาติ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งด้วย
กลุ่มที่ 2 มี 3 ฉบับ คือ กฎหมายที่ดิน กฎหมายการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดให้เป็นทรัพย์สิทธิ์ และกฎหมายอาคารชุด
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ต้องการให้ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ เช่าที่ดินเป็น 100 ปีได้ เป็นเจ้าของอาคารชุดได้ทั้งหมด(100%) และสามารถใช้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ตนเช่ามา เป็น "ทรัพย์สิทธิ์" ได้ นั่นคือ นำไปจำนองได้ นำไปค้ำประกันได้ ยกให้ผู้อื่นได้ เป็นต้น
กลุ่ม 3 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยได้เท่าเทียมกับคนไทยหรือ มากกว่าคนไทย(ส่งเสริมพิเศษ) ให้ต่างชาติแอบแฝงเข้ามาเปิดบริษัทที่เป็นสัญชาติไทยประกอบธุรกิจได้ ทุกอย่าง โดยต่างชาติควบคุมการบริหารอยู่ข้างหลัง แล้วยังเปิดช่องให้ "ทุนยักษ์ข้ามชาติ" ใช้วิธีการทุ่มตลาดและกลเม็ดพลิกแพลงต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้ผลิตไทยและผู้ซื้อไทยด้วย (ดู "ค้าปลีกไทยหายนะ = ไทยหายนะ" ในมติชน 4 ก.ย. 45)
กลุ่ม 4 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ให้ขายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติ(ของประชาชน) เพราะเกิดจากภาษีอากร และความเดือดร้อนของประชาชน (จากการถูกเวนคืนที่ ถูกน้ำท่วมจากเขื่อน ฯลฯ) โดยแปลงเป็นหุ้นเพื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแน่นอนว่าต่างชาติ จะรี่เข้ามาซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร (โดยรวมแล้วกำไรประมาณหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี) แล้วโกยกำไรนั้นออกไป ปล่อยให้คนไทยถูก "ขูดรีด" จากค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ และอื่นๆ ที่จะแพงขึ้นๆ ตามลักษณะของธุรกิจที่ต้องการค้ากำไรสูงสุด
แล้ว ผู้ที่ดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจ ก็จะได้ "คอมมิสชั่น" ไม่ว่าในรูปของเงิน ค่าการตลาด ค่าพิจารณาวิธีจำหน่าย หุ้นลม หุ้นต่ำกว่าราคาจริง กำไรจากการปั่นหุ้นในระยะแรก และอื่นๆ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ประเทศนิการากัว ในครั้งที่มาร่วมเสวนากับแกนนำแรงงานไทยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2545 จึงกล่าวว่า "Privatization is Iegalized corruption"(การ ขายรัฐวิสาหกิจ คือ การทุจริตคอร์รัปชั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) จนประเทศนิการากัว ต้องล้มละลายในปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศเม็กซิโก อาร์เจนตินา และบราซิล (ดู "ขายรัฐวิสาหกิจ = ทุจริตนโยบาย" ในมติชน 7 ส.ค. 45)
กลุ่ม 5 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกันสังคม
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ไอเอ็มเอฟรู้ว่า กฎหมาย 10 ฉบับจะทำให้ธุรกิจและโรงงานต้องล้มละลายเป็นจำนวนมาก คนจะตกงานมหาศาล และจะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อนายทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย จึงจำเป็นต้องหาทางให้รัฐต้องอุ้มชูคนงานเหล่านั้น ไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมที่จะทำให้นายทุนต่างชาติต้องขาดทุนได้
จาก เนื้อหาโดยสรุปของ "กฎหมาย 11 ฉบับ" คงพอจะทำให้เห็นว่าเขา "ขายชาติ" กันอย่างไร แต่ในวันนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีกลับแก้ตัวว่า "ที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะรัฐบาลพลเอกชวลิตทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯฉบับที่ 1 ผูกพันไว้ รัฐบาลได้ต่อรองจนลดเงื่อนไขลงได้มากแล้ว"
แต่ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตยและเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ในขณะนั้น ได้ต่อว่านายฮิวเบิร์ต ไนซ์ (Hubert Neiss) ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟภาคพื้นเอเชีย และนายรีซา โมกาดัม (Reza Moghadam) ผู้ แทนไอเอ็มเอฟประจำไทย เมื่อพบกันที่ธนาคารชาติใน พ.ศ.2541 ว่า "ทำไมไอเอ็มเอฟจึงโหดร้ายกับไทยนัก" ซึ่งเขาตอบว่า "รัฐบาลของคุณเป็นผู้เสนอให้เรามากกว่าที่เราต้องการเสียอีก"
ถ้า สิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง ทำไมรัฐบาลประชาธิปัตย์จึงทำเช่นนั้น แล้วจะแก้ตัวไปทำไม เมื่อหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ฉบับที่ 3-6 ที่เกิดขึ้นในสมัยตน มีเนื้อหาผูกมัดประเทศไทยและประชาชนไทยร้ายแรงกว่าหนังสือแสดงเจตจำนงฯฉบับ ที่ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพอเอกชวลิต แล้วรัฐบาลยังออก "กฎหมาย 11 ฉบับ" ด้วยมือของตนเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนอีกด้วย
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายไม่ขายรัฐวิสาหกิจ และจะยกเลิกหรือแก้ไข "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" และเมื่อถูกทวงถามหลังจัดตั้งรัฐบาลเสร็จใหม่ๆ ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
ผ่าน ไปเกือบ 2 ปี "ไม่มีอะไรในกอไผ่" แถมยังดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง และเมื่อถูกรุกเร้าหนักเข้า ในปลายเดือนตุลาคม 2545 กลับแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ" ในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร(วิปรัฐบาล) ขึ้นมา "พิจารณาศึกษา"
แสดง ว่า ที่หาเสียงไว้ ไม่ได้ "พิจารณาศึกษา" ไว้ก่อนเลย (หาเสียงแบบมั่วๆ ไปก่อนหรืออย่างไร) และเมื่อได้เป็นรัฐบาลมาเกือบ 2 ปี ก็ไม่ได้ "พิจารณาศึกษา" เลยใช่ไหม?
ถ้าเช่นนั้นการตั้งคณะกรรมการที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็เป็นเพียงการหลอกลวงประชาชนให้ตายใจเท่านั้นหรือ?
ถ้า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณจริงใจที่จะไม่ "ขายชาติ" รัฐบาลต้องรีบหยุดยั้งการดำเนินการต่างๆ ตาม "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" เช่น การขายรัฐวิสาหกิจ การให้ต่างชาติซื้อ/เช่าที่ดิน และแย่งการทำมาหากินของคนไทย(ให้ร้านค้าปลีกยักษ์ต่างชาติขยายสาขาในต่าง จังหวัด และใช้กลเม็ดพลิกแพลงต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้ผลิต และผู้บริโภคไทย ส่งเสริมการลงทุนแก่ทุนยักษ์ต่างชาติ เช่น กรณีปลูกและส่งออกกล้วยไม้ ฯลฯ) การให้ต่างชาติเข้า "ฮุบ" ธุรกิจและอุตสาหกรรมของคนไทยอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น
ถ้า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่หยุดยั้งการ "ขายชาติ" ไว้ก่อนจนกว่าจะ "พิจารณาศึกษา" เสร็จ ย่อมแสดงว่าการตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการต่างๆ  เป็นเพียงการถ่วงเวลา จะได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยชั่วนิรันดรว่าเป็น  "รัฐบาล....." สืบต่อจากรัฐบาลก่อน...
ประชาชนจะยอมให้เขา "ขายชาติ" กันอย่างนี้หรือ?

กฎหมาย 11 ฉบับ ขายชาติ ใครเป็นคนก่อ



     เห็นพวกคุณพูดถึงกฎหมายขายชาติทั้งหมด 11 ฉบับที่เกี่ยวกับ การขายหน่วยงานของรัฐให้ต่างชาตินั้น เกิดมาตั้งแต่สมัย 2538 โดยมีนายกรัฐมนตรี ชวลิต ยงใจยุทธ หรือว่า จิ๋วโซ่ข้อกลางนั้นเอง มี รองนายกรัฐมนตรีชื่อ ทักษิณ ชินวัตร หรือว่า แม้ว ซินาตร้า รมว.การคลัง คือ นายเริงชัย  และ นายทนง พิทยะ จำไม่ได้ว่ามีตำแหน่งอะไร แต่ละคนในรัฐบาลนั้นล้วนได้ดีในสมัย ทรท.เหลิงอำนาจหลายคนเลย ในสมัยนั้นมีการโจมตีค่าเงินบาท โดยนายจอร์จ โซลอส และมีรัฐบาลหน้าโง่ในสมัยนั้น ไม่ยอมลดค่าเงินบาทจนโดนโจมตีเอาเงินดอล์ลาร์ในคลังไปใช้จนหมด เป็นแสนล้านดอลลาร์ แต่ไม่รู้นะว่ามีใครร่ำรวยบ้างในขณะนั้น แต่ตอนนี้ไปอยู่ลอนดอน เป็นผีไม่มีศาลและ บางทีไปอยู่ ฮ่องกง ลอนดอนบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง แต่อนาคตคงไปอยู่ห้องกรง เหมือนกัน ทำให้มีบริษัทปิดตัวหลาย 1000 บริษัท เพราะว่าค่าเงินบาทจาก 25 บาท ไปเป็น 50 กว่าบาท ซึ่งทำให้มีบุคคลล้มละลายไปเป็นจำนวนมาก แต่มีคนมีความสุขบนกองทุกข์ของคนอื่นที่รู้ล่วงหน้าก่อนการประกาศลอยตัวค่า เงินบาท 3 วัน  น่าจะกอบโกยไปได้เยอะอยู่ ทั้งในธนาคารสวิตซ์บ้าง สิงค์โปร์บ้าง
     หลังจากที่เกิดวิกฤต นั้น ทำไมไทยต้องเซ็นกฎหมายขายชาติ11 ฉบับ หลังจากเกิดวิกฤต ทำให้เงินคงคลังหมดไป แล้วไทยไหนจะเอาเงิน ไปใช้จ่ายคืนให้กับต่างประเทศได้ เพราะว่าบางคน ซื้อของนำเข้ามา แล้วต้องจ่ายเงินเป็นเงินดอลลาร์ ถ้าเราไม่มีเงินดอลลาร์ เราก็อาจจะต้องเอาทองไปแลกเปลี่ยนแทน ซึ่งแสดงว่าเงินบาทไม่มีค่าเลยใช่หรือไม่จนต้อง เอาทองคำไปแลกเปลี่ยนสินค้า ทำให้เราต้องกู้ เงิน จาก IMF โดยความจำยอม และต้องมีเงื่อนไขของ IMF พ่วงมาด้วย แล้วใครหละ ที่ทำให้พวกเราต้องได้รับกฎหมายขายชาติอันนี้ด้วยที่ไม่ใช่รัฐบาล ชวลิต และ มีแม้วร่วมด้วย ในสมัยนั้นรัฐบาลชวลิตได้ถูกกดดันให้ลาออกไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เซ็นสัญญา กับ IMF พอทรท ลงเลือกตั้งครั้งแรกก็ใช้เงื่อนไขนี่โดยปริยายว่าประชาธิปัตย์ขายชาติ ไอ้คนที่พูดนี่ไม่ละอายใจบ้างเลย ไม่ใช่เพราะมึงเหรอที่ประเทศไทยต้องเป็นเช่นนี้ หลักจากที่ไทยทำสัญญาแล้ว ทำให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องแปรรูปหน่วยงานของรัฐไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสาธารนูปโภคขั้น พื้นฐาน เช่นน้ำมัน การไฟฟ้า ประปา สำหรับย่อหน้าต่อไปจะเป็นบทสรุปของการใช้หนี้ IMF ที่คุณควรจะรู้ ไว้ไม่เสียเหลี่ยม ให้ไอ้หน้าเหลี่ยม
     รัฐบาล ทุยรักทุย ได้บริหารประเทศอย่างแรก คือนโยบายที่ตัวเองฝอยไปต้องทำก่อน เช่น พักหนี้เกษตรกร เอาเงินเด็กมาโปะ กธส ซะงั้น โดยเอาเงินจากธนาคารออมสินมาไว้ฝั่ง กธส บ้าง ต่อมาให้คนที่จะกู้ได้สามารถกูได้ โดยมีดอกร้อยละ 1  แหมมาโฆษณาซะอย่างดีนึกว่า ร้อยละ 1 ต่อ ปี มันร้อยละ 1 ต่อเดือน กำจริงๆโดนเหลี่ยมหลอก นี่ก็เงินเด็กอีกและ โดย ธนาคารออมสิน ต่อมาเรื่องที่ hot ที่สุดในที่นี้คือ การใช้หนี้ IMF ทุกคนออกจะดีใจ หารู้ไหมว่าเป็นเงินจากกระเป๋าซ้ายมาใส่กระเป๋าขวา โดยกู้จาก ญี่ปุ่นมาใช้ หนี้ IMF ซึ่งดอกเบี้ย ของ ญี่ปุ่นอาจจะมากว่าของ IMF ซะอีก อันนี้ก็เรียกว่าเอาหน้า แต่โง่ซะไม่มี หลังจากใช้หนี้เสร็จปุ๊บ ก็ขาย ปตท เข้าตลาดหุ้น โดยมีพวกอีแอบหน้าด้านอยู่ใน รัฐบาลนี่แหละ ไปคลอดเมียน้อยนอกสมรสไว้ในสิงค์โปร์ให้ซื้อหุ้นแทน โดยเป็นหุ้นผู้มีอุปการะคุณนั้นเอง จากราคาน้ำมันไม่กี่บาท ตอนนี้ล่อไป 30 กว่าบาทแล้วจาก เบนซินลิตรละ 15 บาท ส่วน ดีเซลลิตรละ 12 บาท ตอนนี้ 28 และ ใครได้ประโยชน์ เมื่อก่อนปตทเป็นผู้น้ำเข้าน้ำมันมากที่สุด และเป็นผู้กำหนดกลไกการตลาดเอาไว้ แต่พอเอาไปขายในตลาดหุ้นปุ๊บ ราคาขึ้นเอาขึ้นเอา เงินเดือนผู้บริหารเดือนละ เป็นแสน กำไรของปตท อีกเป็นแสน ค่าเบี้ยประชุมอีกเป็นแสน กินเข้าไปน้ำมันตายไปจะได้ไปเป็นเชื้อขยะ สำหรับอนาคตที่ก่อเกิดน้ำมันต่อไป ต่อมารัฐบาลนี่จะขายกฟผ.อีก สงสัยจะแดกน้ำมันไม่พอ ขอไฟฟ้าอีกหน่อย แต่ยังดีที่บุญของประเทศไทยยังมี ไม่ให้คนชั่วทำลายประเทศไทยได้ เลยไม่ได้ขาย สุดท้ายนี้ เลือกคนดี ไม่มีกลิ่น แต่คนรอบข้างมีกลิ่นบ้าง แต่เลือกคนชั่วช้ามีกลิ่นทั้งตะเข่ง มีหวังได้ขายประเทศไทย


ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง กฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ

โดย Boon Wattanna เมื่อ 15 เมษายน 2011 เวลา 16:37 น.
>>

http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_5686.html

เป็นกฏหมายที่ออกในสมัยรัฐบาลชวน 2 ช่วงอยู่ใน IMF
ที่ถูกโจมตีอย่างกว้างขวางว่าเป็นกฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ
ซึ่งประกอบด้วยกฏหมายดังต่อไปนี้

1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาล้มละลาย พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_27.html

2. พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_1720.html

3. พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3502.html
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_5919.html

4. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_9985.html

5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_8223.html

6. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_6380.html

7. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_9007.html

8. พระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3464.html

9. พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3103.html

10. พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_1035.html

11. พระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_24.html

ต่อมาในสมัยทักษิณได้ตั้งคณะกรรมการ
ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
ได้ข้อสรุปคล้ายๆ กับทางพรรค ทรท.
ที่จะไม่ล้มกฏหมายทั้ง 11 ฉบับ
แค่มีข้อเสนอให้ปรับปรุงบางส่วนเท่านั้น

---------------------------------------------

เปิดจ.ม.'มีชัย'ถึง'ทักษิณ' ชี้ช่องโหว่'กม.11ฉบับ'

รายงาน มติชนรายวัน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545

หมาย เหตุ - สาระของจดหมายที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ จัดทำเสนอแนะ เรื่องการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ยื่นเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

โดย ที่ปัจจุบันได้มีการเรียกร้อง ให้ยกเลิกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 11 ฉบับ เนื่องจากเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้แก่ กลุ่มทุนต่างชาติ โดยมิได้เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนและส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ดังความทราบอยู่แล้วนั้น

คณะ กรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศได้พิจารณากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิกในภาพรวมแล้ว ขอกราบเรียนเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1 การตรากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณี (Letter of Intent) ที่ประเทศไทยทำไว้ ต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ในการขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โดยกฎหมายดังกล่าวจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มกฎหมายล้มละลาย การพิจารณาคดี และการบังคับคดี จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย

ก.พระ ราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาล้มละลาย พ.ศ.2542 (เพื่อจัดตั้งศาลล้มละลาย เป็นศาลชำนัญพิเศษ เพื่อพิจารณาคดีล้มละลายขึ้นโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษ)

ข.กฎหมายล้มละลาย ประกอบด้วย

(1) พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541 (เพิ่มหมวด 6/1 กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้ อันจะช่วยให้เจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรา 94(2) ที่บัญญัติว่าเจ้าหนี้ที่ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งทำให้ไม่มีเจ้าหน้าที่รายใด ยอมให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ทำให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายทั้งที่กิจการของลูกหนี้อยู่ในสภาพที่สามารถ ดำเนินกิจการต่อหรือฟื้นฟูได้)

(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 (เพื่อ (2.1) ปรับปรุงเรื่องจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ รวมทั้งจำนวนเงินประกันค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ และราคาของทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาแบ่งแก่เจ้าหน้าที่ (2.2) ปรับปรุงทรัพย์สินที่ไม่ต้องนำมาแบ่งให้เจ้าหนี้และมาตรการในการรวบรวมและ จำหน่ายทรัพย์สินให้ครอบคลุมถึงสามีของลูกหนี้ (2.3) ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการลง มติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ การใช้ดุลพินิจของศาล ในการเห็นชอบด้วยกับแผน อำนาจของผู้บริหารแผน ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การเพิกถอนนิติกรรมที่กระทำไปแล้ว ในกระบวนการล้มละลายและกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และ (2.4) ปรับปรุงลำดับบุริมสิทธิในคดีล้มละลาย โดยกำหนดให้เงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เพื่อการงานที่ได้ทำให้ลูกหนี้ ซึ่งเป็นนายจ้าง อยู่ในลำดับเดียวกับเงินค่าภาษีอากร) ค.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 (ปรับปรุงวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เพื่อให้รวดเร็วขึ้น และให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนเริ่มสืบพยานเช่นเดียวกับ การพิจารณาคดี Small Claim ของต่างประเทศ)

ง.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 (ปรับปรุงกระบวนการบังคับคดีให้รวดเร็วยิ่งขึ้น)

จ.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543 (ปรับปรุงพิจารณาคดีโดยขาดนัด เพื่อให้ศาลสามารถพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีได้ ทันทีเพื่อมิให้คู่ความประวิงคดี)

กลุ่มที่สอง กลุ่มกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย

ก.พระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 (เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขัน ในการประกอบธุรกิจ และเพื่อให้สอดคล้อง กับพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการเปิดตลาด)

ข.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542 (เพื่อเพิ่มเติมคนต่างด้าวสามารถได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ และกำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายที่ดิน ของคนต่างด้าวดังกล่าวเมื่อผิดเงื่อนไขที่กำหนด และให้อำนาจอธิบดีกรมที่ดิน ที่จะจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว ในกรณีที่คนต่างด้าวนั้น ไม่ได้ใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในระยะเวลาที่กำหนด)

ค.พระ ราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (เพื่อเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวที่นำเงินตราเข้าประเทศสามารถถือกรรมสิทธิ์ใน ห้องชุดได้ โดยทั่วไปให้ถือกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุด แต่ถ้าอาคารชุดตั้งอยู่ในเขตเมืองและมีที่ดินไม่เกิน 5 ไร่ ให้ถือกรรมสิทธิ์ได้ไม่จำกัดอัตราส่วน)

ง.พระ ราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 (เพื่อให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมมีระยะยาว เพื่อความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ทั้งให้สามารถตกทอดทางมรดกและนำไปจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ได้)

กลุ่ม ที่สาม กลุ่มกฎหมายเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ฉบับ คือพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 (เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรทาง ธุรกิจ)

กลุ่ม ที่สี่ กลุ่มกฎหมายสังคม จำนวน 1 ฉบับ คือพระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (เพื่อขยายระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนภายหลังลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ปรับปรุงสิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชรา และกรณีว่างงาน และปรับปรุงการออกเงินสมทบทุนประกันสังคมของรัฐบาลนายจ้างและลูกจ้างให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น)

2 คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ พิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

กฎหมายกลุ่มที่หนึ่ง

ก.สำหรับ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษเพื่อพิจารณาคดีล้มละลายขึ้นโดยเฉพาะ นั้นเมื่อได้มีการจัดตั้งขึ้นแล้ว การจะยกเลิกย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีล้มละลายติดตามมาและไม่ปรากฏ ว่า การดำเนินกระบวนพิจารณา ในศาลล้มละลายมีปัญหาใดอันจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงอีก ส่วนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 อีก ส่วนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543 นั้นเป็นการแก้ไขให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทั้งไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ผู้สุจริตได้รับความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการพิจารณา ดังกล่าว จึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

ข.สำหรับ พระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น คณะกรรมการเห็นว่า จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติหลายมาตรา เพื่อให้สอดคล้อง กับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติล้มละลายฯ เสร็จ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว และต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกับร่างของกระทรวงยุติธรรม ในการนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แยกการพิจารณาออกเป็นสองส่วน และได้พิจารณา ส่วนที่เกี่ยวกับการปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยืนยัน ร่างพระราชบัญญัติก่อนนำส่ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับ กระบวนการล้มละลาย และการฟื้นฟูกิจการนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)

กฎหมายกลุ่มที่สอง

ก.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542 ซึ่งให้สิทธิแก่คนต่างด้าว ที่นำเงินมาลงทุนในประเทศ สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นการขยายอัตราส่วน ของการถือครองอาคารชุด ของคนต่างด้าวนั้น การจะปรับปรุงหลักการหรือหลักเกณฑ์อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ในส่วนที่เกี่ยวกับ การลงทุนของคนต่างด้าว และผลกระทบที่จะมีต่อผู้ลงทุนของไทย

ข.พระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 นั้นอาจต้องปรับปรุง ให้มีความสอดคล้อง กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และคุ้มครองธุรกิจของคนไทยมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย กลุ่มที่สาม ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 คณะกรรมการมีความเห็นว่า อาจมีความจำเป็น ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองกิจการสาธารณูปโภคของรัฐ ให้อยู่ในมือของคนไทยเป็นส่วนใหญ่

กฎหมาย กลุ่มที่สี่ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 นั้นคณะกรรมการเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อลูกจ้าง และเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ของประเทศจึงไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

3 สำหรับแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนั้น คณะกรรมการเห็นว่า ต้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และพันธกรณีที่ประเทศไทยทำไว้ ต่อองค์การระหว่างประเทศ คณะกรรมการไม่มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะพิจารณาแทน กระทรวงผู้รักษาการได้ จึงสมควรมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแต่ละฉบับเป็นผู้กำหนด มาตรการ หรือแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแต่ละฉบับ โดยรับฟังความเห็นของผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตามแนวทางดังกล่าว และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

จึง กราบเรียนเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเป็นการชอบด้วยดำริ ขอได้โปรดมีบัญชาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการในข้อ 3 โดยเร่งด่วนต่อไป

------------------------------------------

ทรท.สรุปกฏหมายฟื้นฟู ไม่ล้ม 11 ฉบับ ยันไม่ขายชาติแค่มีจุดอ่อน

หอการค้าหนุนใช้กม.เดิม คุม'ยักษ์ค้าปลีก'ครบวงจร

มติชนรายวัน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2545

ที่ ประชุมหอการค้าทั่วประเทศรุกต่อ ให้รัฐกำหนดวัน-เวลาเปิด-ปิดค้าปลีกขนาดใหญ่ ให้ชะลอการขยายตัว 'พรหมมินทร์' หนุนแนวคิด 'แม้ว' ใช้กฎหมายมหาดไทยดีกว่า อนุกรรมการ ทรท.ศึกษาเสร็จแล้วกม.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับไม่จำเป็นต้องยกเลิก แม้แต่ฉบับเดียว ยันไม่ใช่ กม.ขายชาติ

การ ประกาศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องออกกฎหมาย ควบคุมธุรกิจค้าปลีก เพราะจะทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น ได้สร้างความงงงวย ให้กับสมาชิกหอการค้า ที่ผลักดันให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายควบคุมค้าปลีกอย่างมาก โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมธุรกิจค้าปลีก อยู่ระหว่างการพิจารณา ของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วยของไทยได้ผลักดัน ให้ออกกฎหมายดังกล่าว เพื่อคุ้มครองโชห่วยที่ใกล้สูญพันธุ์ อันเนื่องจากถูกค้าปลีกต่างชาติที่เงินทุนหนากว่าเช่น คาร์ฟูร์ โลตัส แย่งตลาดอย่างหนัก

หอค้ารุกต่อคุมค้าปลีกใหญ่

เมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน ที่โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี นายวัชระ พรรณเชษฐ์ กรรมการและเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวสรุปการประชุมกลุ่มย่อย ในการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 20 โดยเฉพาะเรื่องค้าปลีกว่า ที่ผ่านมามีปัญหาการขยายตัว ของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย และเพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถอยู่ร่วมกันได้ หอการค้าฯเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อภาครัฐ คือ 1.ถ้าการออกพระราชบัญญัติค้าปลีกต้องผ่านขั้นตอน และมีผลกระทบที่ต้องคำนึงถึง รัฐควรใช้กฎหมาย หรือวิธีการหาแนวทางที่สมควร ในการทำธุรกรรมของค้าปลีกรายใหญ่ เช่น มีเกณฑ์ในการตั้ง ของสถานประกอบการขนาดใหญ่ ให้ท้องถิ่นมีบทบาท ในการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม 2.ให้อำนาจการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับท้องถิ่น เพื่อดูแลและจัดการแก้ไขปัญหา ภาคธุรกิจค้าปลีกในท้องถิ่น โดยการออกเทศบัญญัติ หรือนำกฎหมายท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ เพื่อลดกระแสการต่อต้าน และสร้างความร่วมมือกันเองภายในท้องถิ่น

แนะกำหนดวันเวลาเปิด-ปิด

3.ควร พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลรับผิดชอบ และศึกษาผลกระทบในเชิงลึก รวมทั้งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตัวเลขสถิติด้านต่างๆ ในภาคธุรกิจค้าปลีก เพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นที่สุด 4.จัดแบ่งวัน เวลา ในการเปิด-ปิด การให้บริการ 5.ขอให้ชะลอการขยายตัวลงบ้าง ในช่วงที่ยังมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน 6.ค้าปลีกรายใหญ่/รายย่อย และผู้ผลิต ควรยอมรับพฤติบัญญัติทางการค้าในเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม เช่น ส่วนลด และการเรียกเก็บรายได้อื่นๆ รวมทั้งการเสียภาษี รายได้ในท้องถิ่นที่สาขาตั้งอยู่

7.ภาค รัฐร่วมกับหอการค้าเร่งพัฒนาผู้ประกอบการรายเล็ก/รายย่อย ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ กำหนดให้ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ต้องมีส่วนร่วมในโครงการของรัฐ ที่จะปรับปรุงช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก ถ่ายทอดความรู้ด้านการค้าปลีก และจัดหาแหล่งทุนที่มีอัตรา ดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อใช้ในการปรับปรุงกิจการ

ดันตั้งกก.นโยบายค้าชายแดน

นาย วัชระกล่าวว่า ส่วนเรื่องการค้าชายแดน มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ขาดการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ขาดเอกภาพในการตัดสินใจในระดับจังหวัด การคมนาคมของประเทศเพื่อนบ้าน ขาดการพัฒนา ทำให้การขนส่งไม่สะดวก ขาดงบประมาณในการส่งเสริมการค้าชายแดน กฎระเบียบไม่สอดคล้องกับสภาพการค้าชายแดน ด่านการค้าไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนให้มีคณะกรรมการระดับนโยบาย ให้จังหวัดชายแดนบริหารงานแบบซีอีโอ พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อุดหนุนทางการเงินแก่หอการค้าจังหวัดชายแดน ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสภาพการค้า เพิ่มและยกระดับช่องทางการค้าชายแดน จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น

นาย วัชระกล่าวด้วยว่า ข้อเสนออื่นๆ ที่หอการค้าต่างจังหวัดขอให้หอการค้าไทยเป็นผู้กลั่นกรองและนำเสนอหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาลู่ทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นปรับตัวหรือกำลังถูกฟ้องร้อง ซึ่งควรมีการติดตามและมีมาตรการที่จะบรรเทาความเดือดร้อนลงบ้าง

มือขวา'แม้ว'หนุนใช้กฎ มท.

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปิดการสัมมนา ว่า หากสามารถใช้กฎหมายเดิม ออกกฎระเบียบเพื่อดูแลเรื่องค้าปลีกได้เร็วกว่า การออกกฎหมายใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องการค้าชายแดนซึ่งขณะนี้มีความสำคัญมาก ตนจะรับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนโครงการนิคมอุตสาหกรรม อุดรธานี ที่ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบว่าจะสร้างได้หรือไม่นั้น ก็จะส่งเรื่องให้กับรัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมไปติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

น.พ.พรหมินทร์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอให้มีการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนนั้น จะต้องดูข้อจำกัดด้านความมั่นคง ทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของรัฐควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศมาก หากมีการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะมีการลงทุนทำอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใช้แรงงานที่จะอพยพเข้ามา จะเป็นการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างกันมากขึ้น

"หน้าที่ ของรัฐบาลคือการสร้างพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับเอกชน โดยผู้ที่จะเป็นตัวหลักในการดำเนินการคือเอกชน ดังนั้นหากเอกชนมีปัญหาในการดำเนินงานก็ขอให้เสนอมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเข้ามาหาผมโดยตรงได้ทันที ซึ่งจะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้" น.พ.พรหมินทร์กล่าว

ทรท.ศึกษาเสร็จแล้วกม.11 ฉบับ

ทาง ด้านความคืบหน้าการพิจารณาแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ซึ่งออกในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ต่อมาทางกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ ได้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกโดยอ้างว่าเป็นกฎหมายขายชาตินั้น วันเดียวกันนี้ นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร(วิปรัฐบาล) พิจารณาศึกษาพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศรวม 11 ฉบับ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการได้ประชุมพิจารณากฎหมายทั้ง 11 ฉบับ โดยศึกษาจากความเห็นและผลการศึกษาของบุคคลคณะต่างๆ รวมทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 11 ฉบับเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือแต่การประชุมเพื่อสรุปประเด็นสำคัญๆ ที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมนำข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่อวิปรัฐบาล หากเห็นชอบก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลดำเนินการ ซึ่งการประชุมสรุปของคณะอนุกรรมการ จะมีขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล

สรุปไม่ยกเลิกแม้แต่ฉบับเดียว

นาย วิชิตกล่าวต่อว่า ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการจะสรุปความเห็นเสนอต่อที่ประชุมวิปรัฐบาลว่า กฎหมายทั้ง 11 ฉบับ ไม่จำเป็นต้องยกเลิกตามที่มีการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง แม้บางฉบับจะมีจุดอ่อนบ้าง แต่ก็ไม่มีผลเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ ถึงขนาดเป็นกฎหมายขายชาติ ขายแผ่นดิน ดังที่มีคนวิตกกังวลแต่อย่างใด

นาย วิชิตกล่าวถึงข้อสรุปของคณะอนุกรรมการถึงผลการศึกษากฎหมายทั้ง 11 ฉบับว่า ฉบับที่ 1 พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 คณะอนุกรรมการมีความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข แต่มีข้อสังเกตว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าแม้แต่รายเดียว อาจเป็นเพราะรัฐออกกฎเกณฑ์วิธีการที่เข้มงวดเกินไป อีกทั้งสัญญาเช่า 50 ปี ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ทำให้นำสัญญาไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ไม่ได้

ไม่แก้-ไม่เลิกกม.อาคารชุด

ฉบับ ที่ 2 พ.ร.บ.อาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข โดยมีข้อสังเกตว่า อาคารชุดที่คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์มีเพียง 13,046 ห้องชุด จากจำนวน 568,924 ห้องชุด คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และกฎเกณฑ์ฉบับนี้เปิดโอกาสให้คนต่างด้าวซื้อกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ ภายในเดือนเมษายน 2547(5 ปี นับจากกฎหมายบังคับใช้)เท่านั้น

ฉบับ ที่ 3 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่....)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข ส่วนข้อสังเกต จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคนต่างด้าวซื้อที่ดินตามกฎหมายฉบับนี้ อาจเป็นเพราะกฎเกณฑ์ที่ต้องให้นำเงินมาลงทุนในประเทศสูงถึง 40 ล้านบาท คนต่างด้าวจึงหันไปซื้อห้องชุดเป็นที่พักอาศัยแทนการซื้อที่ดิน เพราะไม่ต้องลงทุนสูง

ฉบับที่ 4 พ.ร.บ.ให้จัดตั้งศาลล้มละลาย และวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะนับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ ศาลล้มละลายทำหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมอยู่แล้ว

แก้ไขกม.ล้มละลายบางจุด

ฉบับ ที่ 5 พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5 )พ.ศ.2542 เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ลูกหนี้ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่ยังไม่ถึงขนาดมีหนี้สินล้นพ้นตัว สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ แต่มีข้อสังเกตว่า ลูกหนี้และผู้ค้าควรมีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมในการจัดแผนฟื้นฟูและบริหารแผน ด้วยหรือไม่ อย่างไร

ฉบับ ที่ 6 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายฉบับนี้เพียง 967 ราย และนิติบุคคลที่คนต่างด้าวถือหุ้นไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ แต่คนต่างด้าวเข้าเป็นกรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลนั้นมากกว่าคนไทย

ฉบับ ที่ 7 พ.ร.บ.ประกันสังคม(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตนมากขึ้น แต่กรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างและว่างงาน ควรเพิ่มมาตรการช่วยเหลือ ว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ว่างงานได้มากน้อยเพียงใด

ฉบับ ที่ 8 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะกระบวนการพิจารณาคดีในมโนสาเร่ เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่และลูกหนี้ได้สะดวกและรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย ศาลมักจะไกล่เกลี่ยให้คดียุติได้โดยเร็ว

ฉบับ ที่ 9 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นมาตรการในการบังคับคดีให้เร็วขึ้น และศาลให้ความยุติธรรมดีอยู่แล้ว

ฉบับ ที่ 10 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะแก้ไขประวิงคดีของคู่ความ ทำให้คดีเสร็จโดยเร็ว

เดินหน้าแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ

ฉบับ ที่ 11 พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นกฎหมายที่ช่วยให้การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน เกิดความโปร่งใส มีกรรมการรับผิดชอบงานแต่ละด้าน มีคณะรัฐมนตรี(ครม.)กำกับดูแล และให้ความเห็นชอบ รวมทั้งมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่วนการขายหุ้นเป็นอีกส่วนหนึ่งตามนโยบาย ครม.ไม่อยู่ในข้อบังคับของกฎหมายนี้

"อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการได้รับทราบจากผู้ปฏิบัติงานที่มาชี้แจง ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย 11 ฉบับ อยู่บางประการ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งศึกษาถึงจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงแก้ไข โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนให้มากที่สุด" นายวิชิตกล่าว

บิ๊กหอค้าเสียงอ่อยยอม'แม้ว'

นาย วัชระ พรรณเชษฐ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้นำเสนอผลสรุปจากการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศต่อ น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ในประเด็นเรื่องการค้าปลีก โดยยอมรับว่าการออกกฎหมายค้าปลีกยังต้องผ่านขั้นตอนและอาจมีผลกระทบบางอย่าง จึงขอให้รัฐใช้กฎหมายที่มีอยู่ หรือออกแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ เช่น เกณฑ์ที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า เวลาเปิด-ปิดบริการ การชะลอการขยายสาขา และพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม

นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเตรียมการทำหน้าที่คนกลางให้ร้านโชห่วยติดต่อสั่งซื้อสินค้า ทางอินเตอร์เน็ตกับบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือเออาร์ทีได้แล้ว แต่ยังติดขัดที่ เออาร์ทียังจัดหาสินค้ามาได้เพียง 30 กว่ารายการเท่านั้น ที่สำคัญ ยังไม่สามารถตกลงกับธนาคารพาณิชย์ที่จะมาช่วยปล่อยสินเชื่อให้ร้านค้าได้ ที่ผ่านมามีการเจรจากับธนาคารกรุงไทย แต่ก็คิดค่าธรรมเนียมสูงถึง 3.75%

บ่อน้ำมันในประเทศไทย อยากทราบว่า ประเทศไทยพบบ่อน้ำมันที่ไหนบ้าง?


โดย Boon Wattanna เมื่อ 3 พฤษภาคม 2011 เวลา 16:10 น.
บ่อน้ำมันในประเทศไทย
อยากทราบว่า ประเทศไทยพบบ่อน้ำมันที่ไหนบ้าง?



(ก) พื้นที่ภาคเห...นือ ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบในบริเวณแหล่งแม่สูน หนองยาวสามแจ่ง และแหล่งสันทราย ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ยวันละประมาณ ๑,๔๐๐ บาเรลต่อวัน

(ข) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๔ หลุมเจาะ โดยผลิตเฉลี่ย ๗๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งดง มูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๑ หลุมเจาะ มีอัตราการไหลของแก๊สธรรมชาติ ๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะนี้ยังไม่มีการพัฒนา
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งภู ฮ่อม กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๑ หลุมเจาะ มีอัตราการไหลของแก๊สธรรมชาติ ๔ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

(ค) พื้นที่ภาคกลาง
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ และแก๊ส ธรรมชาติ ในบริเวณแหล่งสิริกิติ์ แหล่งสิริกิติ์ตะวันตก อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และแหล่งปรือกระเทียม แหล่งวัดแตน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณวันละ ๑๙,๐๐๐ บาเรลต่อวัน แก๊สธรรมชาติ ๔๕ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สหุงต้ม (LNG) ๒๙๒ ตันต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งบึงหญ้า และแหล่งบึงม่วง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยผลิตน้ำมันดิบ เฉลี่ยประมาณ ๔๕๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งอู่ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และแหล่งกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยรวมประมาณ ๙๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ บาเรลต่อวัน

(ง) พื้นที่อ่าวไทย
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณกลุ่มของแหล่งเอราวัณ ซึ่งได้แก่ แหล่งเอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง กะพง ปลาแดง จักรวาล ฟูนาน ตราด ปะการัง ไพลิน และสุราษฎร์ โดยมีอัตราการผลิตแก๊สธรรมชาติ ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สธรรมชาติเหลวประมาณ ๓๔,๐๐๐ บาเรลต่อวัน และมีการค้นพบน้ำมันดิบที่แหล่งสุราษฎร์ด้
วย
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติและน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งทานตะวัน โดยผลิตแก๊สธรรมชาติได้ ๕๗ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ ๓,๕๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งนางนวล โดยผลิตน้ำมันดิบในอัตรา ๒,๙๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณแหล่งบงกช โดยผลิตแก๊สธรรมชาติ ๓๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สธรรมชาติเหลว ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย โดยมีปริมาณสำรองและอัตราการไหลที่สามารถพัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์สูงมากดู

เพิ่มเติมโดย: ลอลิง รักชาติ

เปลี่ยนรับอำนาจใหม่ทันที! สรรพากรคืนภาษีโอ๊ค-เอม




โอ๊ค - เอม


เปลี่ยนรับอำนาจใหม่!ทันทีสรรพากรคืนภาษีโอ๊ค-เอม (ไทยโพสต์)

          อำนาจ เปลี่ยนมือ "สรรพากร" เปลี่ยนสีทันควัน หลังยื้อเรื่องคืนเงินโอ๊ค-เอมหมื่นล้านยาวกว่า 7 เดือน "อาปู" นั่งนายกฯ หญิงปั๊บ คืนเงิน 1.1 หมื่นล้านทันควัน พร้อมสร้างปรากฏการณ์ไม่อุทธรณ์คดี กั๊กไล่เบี้ย "แม้ว-อ้อ"

          นางจิตรมณี สุวรรณพูล รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเห็นชอบตามที่กรมสรรพากรเสนอเรื่องไม่อุทธรณ์เก็บภาษีนายพาน ทองแท้ ชินวัตร และน.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกฯ คนละ 5,675 ล้านบาท หรือรวม 1.1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากศาลภาษีกลางพิพากษาว่า ทั้งสองคนไม่ใช่เจ้าของหุ้นตัวจริง โดยคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ขณะนั้น) เป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง ดังนั้นการที่กรมไปเก็บภาษีหุ้นจากนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา จึงไม่ถูกต้อง
          "กรมสรรพากรจึงได้คืนเงินสด ประมาณ 200 ล้านบาท และทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและหลักทรัพย์อีก 1,000 ล้านบาท ที่เคยอายัดไว้คืนให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว" นางจิตรมณีกล่าว และว่า ส่วนการเก็บภาษีจาก พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานนั้น กรมอยู่ระหว่างดูรายละเอียดว่าจะเก็บภาษีจากทั้งสองคนได้หรือไม่

          แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า ปกติการฟ้องร้องกรมสรรพากรจะดำเนินการอุทธรณ์ทุกเรื่องเพื่อให้เรื่องถึงที่ สิ้นสุด และไม่มีปัญหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้เสียภาษี และหากจะไม่ยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องส่งเรื่องมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบก่อน ซึ่งกรณีนี้เห็นว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาพิพากษาไว้ชัดเจน การอุทธรณ์จึงไม่มีประโยชน์ แต่กระทรวงเห็นว่ากรมสรรพากรต้องไปเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของหุ้นตัวจริงต่อไป ก่อนที่จะหมดอายุความ เพราะทำให้รัฐเสียหาย

          สำหรับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางนั้น ศาลได้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2553 ซึ่งเป็นคดีที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา มอบอำนาจให้นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ผู้แทนคดี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องกรมสรรพากร, นายสุทธิชัย สังขมณี, นายศิริศักดิ์ พันธ์พยัคฆ์ และนายณัฎฐภพ อนันตรสุชาติ ซึ่งเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีของกรมสรรพากร เป็นจำเลยที่ 1-4 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินภาษี

          โดยศาลพิพากษาว่า นาย พานทองแท้และ น.ส.พินทองทามิใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 164,600,000 หุ้น เงินได้ที่เกิดขึ้นจากการขายหุ้น จึงเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงินอันเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 150,000 บาท

หากคุณชอบทักษิณ คุณเคยรู้บ้างมั้ยว่า.......


โดย Boon Wattanna
หากคุณชอบทักษิณ คุณเคยรู้บ้างมั้ยว่า


1.คนรักทักษิณรู้มั้ยว่าทักษิณ ทำธุรกิจอะไร ทำไมถึงใช้เวลาไม่ถึง10ปี ก็กลายเป็นมหาเศรษฐีแสนล้าน ?


ตอบ ก็ทำธุกิจสัมปทานมือถือแบบผูกขาดในประเทศน่ะสิ(โดยการเอื้อเฟื้อจากรสช.) ซึ่งในตอนแรกมือถือมีแค่aisกับdtacเท่านั้น ร่วมกันขูดรีดกำไรจากคนไทยแสนโหด ถึงได้รวยเร็วไงครับ (สมัยก่อนโน้นซีพีกว่าจะรวยต้องขายไข่ไก่กำไรฟองละไม่กี่สต. แต่ทักษิณขายมือถือกำไรเครื่องละเป็นแสน)


2. คนรักทักษิณรู้มั้ยว่าทักษิณเป็นคนแปรรูป ปตท. ทรัพย์สินของรัฐ ให้กลายเป็นบริษัทเอกชนที่ทำเพื่อหวังขูดกำไรจากคนไทย จนกลายเป็นบริษัทที่กำไรปีละสองแสนล้าน เป็นบริษัทอันดับหนึ่งของไทยที่กำไรมากที่สุด เป็นบริษัทใหญ่อันดับที่127ของโลก คนรักทักษิณภูมิใจมั้ย


3. คนรักทักษิณรู้มั้ยว่า ถ้าทักษิณยังเป็นนายกอยู่ ก็กำลังจะออกกฏหมายให้ต่างชาติซื้อหรือเช่าระยะยาวและถือครองที่ดินในไทยได้100% คุณรู้มั้ย(ซึ่งขณะนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการร่างของสภา)


4. คนรักทักษิณเคยรู้มั้ยว่า ใครๆที่เขาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เขาก็ไม่รู้จักผู้ซื้อกันทั้งนั้น เพราะต้องขายผ่านตัวแทนที่เรียกว่า "โบรคเกอร์" ส่วนราคาที่ซื้อขายก็ขึ้นอยู่กับราคาตลาดในขณะนั้น เขาถึงได้รับการยกเว้นภาษี แต่ ทักษิณจะขายหุ้นชินฯ ก็ไปตกลงราคากับผู้ซื้อคือเทมาเส็ก กันนอกตลาด  โดยไปตกลงกันที่สิงคโปร์ ตกลงกันได้ในราคาสูงกว่าตลาด แต่เสือกเข้ามาซื้อขายกันในตลาดเพื่อหวังการยกเว้นภาษี ถ้าสิ่งที่ทำ นั้นถูกต้องจริง ทำไมceoใหญ่ของชินคอร์ปในขณะนั้นคือ บุญคลี ปลั่งสริ มือขวาทักษิณถึงไม่ขายหุ้นชินฯในตลาดตามเจ้านายล่ะ (บุญคลีขายนอกตลาดและจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง)ก็เพราะเขามีจิตสำนึกและมี จริยธรรมน่ะสิ ไม่เหมือนทักษิณเงินสักบาทก็ไม่ยอมให้กระเด็น
(นี่ยังไม่รวมกรณีปกปิดทรัพย์สิน การซุกหุ้นภาค2 ที่เอาไปซุกกับบริษัทนอมินีต่างชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีรายได้ประจำปีนะครับ)


5. เป็นนักการเมืองทุกคนต้องรายงานทรัพย์สินต่อสาธารณะ แล้วคนรักทักษิณรู้มั้ย ทำไมไม่เคยมีใครรู้เลยว่าทำไมตอนทักษิณซื้อสโมสรฟุตบอลไปเอาเงินที่ซ่อนจาก ที่ไหนมาซื้อ (เพราะไม่มีที่มาที่ไปของทรัพย์สินส่วนนี้ภายหลังจึงถูกอังกฤษ อายัดทรัพย์เช่นกัน)ใน เมื่อทรัพย์สินในไทยก็ถูกอายัดไว้หมดแล้ว แสดงว่าตอนทักษิณรายงานทรัพย์สินตัวเองต้องไม่บอกหมดแน่ๆว่ามีซ่อนอยู่ต่าง ประเทศ การปกปิดทรัพย์สินถือว่าผิดจริยธรรมและกฏหมายนักการเมืองของไทยอย่างมหันต์


6. คนรักทักษิณเคยรู้มั้ยว่า ประเทศเจริญแล้วไหนๆ กิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเขาห้ามต่างชาติถือครองหุ้นเกิน10-25%กัน โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคม ที่จริงไทยเราก็เคยมีกฏหมายห้ามไว้เหมือนต่างประเทศ แต่ทักษิณอยากขายหุ้นชินฯ ก็อาศัยเสียงข้างมากในสภาแก้ไขกฏหมายเพื่อจะได้ขายธุรกิจของตัวเองได้ โดยไม่สนเรื่องความมั่นคงของประเทศ คุณเคยรู้ไหม


7. คนรักทักษิณเคยรู้มั้ยว่า ทักษิณแก้กฏหมายเกี่ยวกัยสัมปทานต่างๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตัวเอง ทั้งไอทีวี และais ทำให้ทั้งสองบริษัทของตัวเอง จ่ายค่าสัมปทานแก่รัฐน้อยลง โดยเฉพาะais จ่ายค่าสัมปทานแก่tot น้อยกว่าทรูและดีแทค จนทั้งสองบริษัทนี้ต้องไปฟ้องศาลขอความเป็นธรรมจนชนะ


ผม เองก็เคยเลือกพรรคไทยรักไทยทั้ง2ครั้ง เคยชอบทักษิณ และเคยคิดว่าทักษิณน่าจะเป็นนายกที่ดีที่สุดเท่าที่ไทยเคยมี แต่เมื่อทักษิณขายหุ้นชินฯแล้ว ผมไม่สามารถยอมรับการกระทำเช่นนี้ๆได้ แม้ที่เขาขายหุ้นจะถูกต้องตามกฏหมายก็ตาม(เพราะแก้กฏหมาย) แต่ก็ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมของการเป็นคนไทย


ทำไมประชาชนคนรากหญ้าถึงรักทักษิณ
ตอบได้ว่า เพราะทักษิณมีนโยบายช่วยเหลือคนจนน่ะสิ
แต่ ถามหน่อยว่า จะมีรากหญ้าสักกี่คน ที่รู้ว่าทักษิณผิดยังไง พวกเขาไม่รู้ เพราะมันยากเกินกว่าเขาจะต้องมารู้ มันเป็นเรื่องของกฎหมายธุรกิจ ที่ชาวรากหญ้าส่วนใหญ่ไม่สนใจอยู่แล้ว

Credit K. Kamolporn Banlue

หยุดจักรวรรดินิยมยุคใหม่ได้อย่างไร?

 โดย บรรจง นะแส    

       ความอ่อนแอของสังคมเกษตรกรรมในอดีต ที่เน้นการพัฒนาทางจารีตประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหลัก ทำให้ชาติตะวันตกที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัตถุได้ใช้เครื่องมือที่เกิดจาก การพัฒนาที่เหนือกว่า ไม่ว่าเรือกลไฟ ปืนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือในการตระเวนเข้ายึดครอง ตีเป็นเมืองขึ้น บุกเข้าแย่งชิงทรัพยากรจากประเทศหรือชุมชนท้องถิ่นที่ด้อยกว่า เราเรียกยุคนั้นว่าเป็นยุคของการล่าอาณานิคม เราเรียกพวกที่มากระทำดังกล่าวว่าพวกจักรวรรดินิยมลัทธิจักรวรรดินิยมที่ มุ่งเข้ายึดครองประเทศ ยึดกุมพื้นที่และปกครองแต่จักรวรรดินิยมแบบใหม่ที่เราเรียกว่า Neocolonialism ที่ไม่เน้นการควบคุมแต่ใช้อิทธิพลโดยวิธีอื่นๆ นอกเหนือไปจากวิธีครอบครองอาณานิคมโดยตรง และวันนี้ประเทศของเราก็ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว โจทย์ของเราในวันนี้ก็คือเราจะหยุดหรือออกจากจักรวรรดินิยมยุคใหม่นี้ได้ อย่างไร???
     
        ในปี พ.ศ. 2540 ความเจริญเติบโตและการขยายตัวจักรวรรดินิยมแบบใหม่มีพลังถึงขีดสุดผนวกกับ การขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก ได้ส่งผลให้ธุรกิจและกลไกธุรกิจของชาติต้องตกไปอยู่ในเงื้อมมือการควบคุมและ เอาผลประโยชน์ไปจากคนในชาติแทบหมดสิ้นไม่ว่าธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ บริษัทเงินทุน ฯลฯ เป็นโจทย์ที่ยากยิ่งว่าเราจะเอาสิ่งเหล่านั้นกลับคืนมาได้อย่างไร
     
        วันนี้สังคมข้อมูลข่าวสารขยายตัวอย่างกว้างขวาง ทำให้ข้อมูลของความถูกต้องชอบธรรมแพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ถึงกลไกในการเอารัดเอาเปรียบของต่างชาติของระบบทุน ข้ามชาติรวมไปถึงความเลวร้าย ความเห็นแก่ตัวของคนในชาติที่ร่วมมือกับทุนต่างชาติทุนข้ามชาติกอบโกยเอาผล ประโยชน์โดยรวมของชาติไปเป็นของส่วนตัวและพวกพ้อง รูปธรรมของการแปรรูปบริษัทปตท. คือ ประเด็นที่แหลมคมและชัดเจนของปรากฏการณ์ที่กล่าวมา
     
        กรณีการเข้ามายึดครองแหล่งพลังงานของประเทศในรูปแบบการสัมปทาน ไม่ว่าแหล่งก๊าซหรือน้ำมันน่าจะเป็นจุดสำคัญที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปลด ปล่อยตัวเองจากจักรวรรดินิยมของสังคมไทยได้ เพราะว่าเรามีข้อมูลเปรียบเทียบปฏิบัติการดังกล่าว ไม่ว่าค่าภาคหลวงที่เป็นธรรมต่อเจ้าของประเทศ การส่งต่อเทคโนโลยีหลังระยะการให้สัมปทาน กลไกในการควบคุมการขุดเจาะและผลผลิตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ว่ามีความชอบธรรมมีความเป็นธรรมของระบบดังกล่าวนั้นๆ เป็นอยู่อย่างไร
     
        ปัจจัยสำคัญคือนโยบายของรัฐบาลต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร และสิ่งที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาได้อยู่ที่ภาคประชาชนไม่ใช่ฝ่าย นโยบายของพรรคการเมืองแน่นอน เพราะเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์จากกลไกของจักร นิยม และระบบทุนข้ามชาติกันเป็นส่วนใหญ่ทั้งนั้น
     
        ในปี 2546 นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมต.พลังงานในรัฐบาลของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เซ็นสัญญาให้สัมปทานการขุดเจาะและผลิตน้ำมันให้กับบริษัท นิวคอสตอล (ซึ่งจดทะเบียนบริษัทแม่อยู่ที่เกาะเคแมน) ในแปลง G5/43 ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งของจังหวัดสงขลาไม่เกิน 30 กิโลเมตรเป็นระยะเวลา 16 ปี และแปลง G5/50 ในบริเวณหมู่เกาะของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังคมไทยปล่อยให้พี่น้องชาวสงขลาและพี่น้องชาวเกาะสมุยต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ทักท้วงแ ละตรวจสอบปกป้องสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ของชาติโดยรวมอย่างโดดเดี่ยว จนบริษัทสามารถเดินหน้าสำรวจขุดเจาะเอาแหล่งน้ำมันอันเป็นผลประโยชน์โดยรวม ได้อย่างง่ายดาย ปราศจากการต่อรองให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ชาติโดยรวมเหมือนอารยประเทศพึง ได้รับจากแหล่งพลังงานของตัวเอง
     
        ประเทศอเมริกา ตัวแม่ของระบบจักรวรรดินิยมยุคใหม่ วางมาตรการเรื่องพลังงานของประเทศตัวเองไว้ในสถานะ “ความมั่นคงของชาติ” หาได้เคารพกติกาที่ตัวเองป่าวประกาศว่าระบบเศรษฐกิจของสังคมประชาธิปไตยจะ ต้องเป็นทุนนิยมเสรีแต่อย่างใด ตอนที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างยูโนแคลประกาศขายทอดตลาด ประเทศจีนสนใจจะเข้าไปทำการซื้อแต่รัฐสภาของอเมริกันก็ไม่อนุญาตโดยอ้างกรอบ ความมั่นคงด้านพลังงาน ทำให้เชฟรอนบริษัทสัญชาติอเมริกันเท่านั้นมีสิทธิ และวันนี้ยูโนแคลก็ตกอยู่ในสถานะบริษัทของอเมริกาดังเดิม
     
        ถึงวันนี้ วันที่พรรคเพื่อไทยได้กลับเข้ามาบริหารประเทศ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานที่ต่อเนื่องมาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อย่างปตท. แล้วนำเอาผลประโยชน์ของชาติมาแบ่งปันกันในหมู่พวก การอนุมัติให้สัมปทานแหล่งก๊าซและน้ำมันให้กับต่างชาติอย่างกรณีการให้ สัมปทานแก่บริษัทนิวคอสตอลเข้ามาเอาผลประโยชน์ของชาติไปประเคนให้กับทุนต่าง ชาติในยุคสมัยที่ผ่านมา จะเดินหน้าต่อไปอย่างไรขอให้ติดตามกันอย่างใกล้ชิด ที่แน่ๆ วันนี้สังคมไทยยังไม่เชื่อว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่นำโดยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไม่ได้อยู่ในอุ้งมือของระบบจักรวรรดินิยมและระบบทุนข้ามชาติอย่างแน่นอน.

จริยธรรม 3 ตุลาการคดีเปลี่ยนองค์คณะศาล ปค.สูงสุดภูมิคุ้มกันกระบวนการยุติธรรม

 


โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554  มอบหมายให้ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.ไปดำเนินการสอบปากคำตุลาการศาลปกครองสูงสุด 3 คนประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์ กรณีที่มีการร้องเรียนว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดและพวกปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ใน 2 กรณีคือ
หนึ่ง กรณีถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการ พิจารณาคดีมิให้นำมติ ครม.นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ
สอง กรณีถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่
(คลิกดู ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม)
อย่างไรก็ตาม  นายวิชัย วิวิตเสวี ให้สัมภาษณ์ในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุมมีมติให้สอบสวนข้อเท็จจริงด้านข้อกฎหมายเพิ่มเติมในหลายประเด็น แต่ยังไม่ต้องตั้งกรรมการขึ้นสอบสวน หรือออกหนังสือเชิญตุลาการศาลปกครองสุดสุดเข้าให้ข้อมูลกับ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
จากคำสัมภาษณ์ของนายวิชัยดังกล่าวทำให้เกิดความงุนงงว่า ถ้าไม่ออกหนังสือเชิญตุลาการศาลปกครองสูงสุด 3 คนข้างต้นมาให้ปากคำแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนกรณีที่มีการกล่าวหาว่า มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลการศาลปกครองสูงสูดใน ระหว่างการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร ได้อย่างไร
เพราะตุลาการศาลปกครองสูงสุดทั้ง 3 คนดังกล่าว เป็น “กุญแจ”สำคัญ ที่สุดในคดีนี้โดยมีข่าวว่า ตุลาการบางคนได้เก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้ทั้งหมดซึ่งเพียงพอ ที่จะพิสูจน์ได้ว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดชุดแรกที่มี นายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนถึงขั้นมีการลงมติด้วยเสียง 3 ต่อ 2 ไม่รับคดีปราสาทพระวิหารไว้พิจารณา
แต่มีการเปลี่ยนองค์คณะเป็นคณะที่หนึ่ง(คณะพิเศษ)ที่มีนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะให้พิจารณาคดีแทน จนมีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติ ครม.นายสมัคร ไปดำเนินการใดๆ
การเปลี่ยนองค์คณะตุลาการดังกล่าว มีผลถึงขั้นเปลี่ยนแปลงผลของคดี ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าข่ายการแทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาคดีอย่างมิต้อง สงสัย
ถ้าตุลาการทั้ง 3 คนดังกล่าวยึดมั่นในจริยธรรมของตุลาการและนักกฎหมาย ย่อมต้องให้การตามความเป็นจริง ซึ่งนอกจากจะเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ตุลาการทั้ง 3 คนดังกล่าวแล้ว ยังจะเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญให้แก่ศาลปกครองว่า ต่อไปนี้จะไม่มีอำนาจใดๆไม่ว่าภายนอกหรือภายในแทรกแซงการพิจารณาคดีของศาล ปกครองได้โดยง่าย
ตรงกันข้าม ถ้าตุลการทั้ง 3 คน มิได้ให้การไปตามความเป็นจริง จะมีผลกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของสาธารณชนที่มีต่อศาลปกครองอย่างรุนแรง
นอกจากประเด็นการสอบปากคำตุลาการ 3 คนแล้ว ยังมีข่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ยุติกรณีที่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่
โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า  การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย  ดังนั้นการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ถ้าข่าวดังกล่าวถูกต้องตามข้อเท็จจริง แสดงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาเรื่องนี้อย่างหละหลวมหรืออาจทำให้คนเข้าใจได้ว่า ต้องการชิงปิดคดี
เพราะตามข้อกล่าวหานั้นระบุว่า คดีดังกล่าวนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรฯยื่นฟ้องนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินในเขต กทม.ลงวันที่ 2 กันยายน 2551
จากนั้นมีการจ่ายสำนวนให้แก่องค์คณะที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะและเป็นเจ้าของสำนวน(องค์คณะเดียวกับคดีปราสาทพระวิหาร)
ปรากฏว่า องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีไว้พิจารณาเพราะเห็นว่า  มาตรา 16 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศ คำสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองซึ่งต้องถือว่า คดีตกไปและถึงที่สุดแล้ว
แต่ ปรากฏว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดได้ส่งคำร้องในคดีดังกล่าวให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ซึ่งบัญญัติว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเอง…ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 6(ขัดต่อรัฐธรรมนูญ) ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณา วินิจฉัย
“ศาล”ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ย่อมหมายถึง “องค์คณะตุลาการหรือผู้พิพากษา”ที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาพิพากษาคดี มิได้หมายถึง ตัว “หัวหน้าองค์คณะ” “หัวหน้าศาล” หรือ “ประธานศาล” แต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อองค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีการขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินไว้พิจารณา คดีย่อมตกไป แต่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดกลับส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาอาจจะเป็นเพราะเห็นว่า ส่งเรื่องมาจากศาลปกครองอย่างเป็นทางการโดยที่ศาลปกครองมิได้แนบคำสั่งของ องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ไม่รับคดีไว้พิจารณาไปด้วย
เมื่อเห็นว่า เป็นการส่งเรื่องมาอย่างเป็นทางการ จึงมิได้ไต่สวนถึงกระบวนการภายในในการพิจารณาคดีนี้ ว่า  ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งไม่รับคดีไว้พิจารณาแล้ว
ดังนั้นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องเข้าไปดูกระบวนการเหล่านี้ด้วยซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเพราะ เป็นองค์คณะชุดเดียวกับคดีปราสาทพระวิหารก่อนถูกเปลี่ยนองค์คณะ
นอกจากจริยธรรมของตุลการทั้ง 3 คนแล้ว มาตรฐานและประสิทธิภาพในการไต่สวนของ ป.ป.ช.ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยจรรโลงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาลปกครอง รวมถึงตัวป.ป.ช.เองด้วย

พลังงานไทยขุมมรัพย์เพื่อรัฐสวัสดิการ-พลเมืองไทยอย่างั่ง....2

by earth












http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000098117


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000098451

ถึงเวลาต้องฟ้อง “ปตท.” ...มรดกบาป “รัฐบาลทักษิณ”!?
อมรรัตน์ ล้อถิรธร....รายงาน
     
       10 ปีแล้วที่ “ปตท.” ถูกแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายคนรู้ว่านั่นทำให้กำไรนับหมื่นนับแสนล้านบาทที่ ปตท.ได้มาจากประชาชนผู้ใช้พลังงานในแต่ละปี ไม่ตกเป็นของรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกต่อไป เพราะต้องแบ่งเค้กก้อนใหญ่ให้กับผู้ถือหุ้นที่เข้ามาจองซื้อตั้งแต่เมื่อปี 2544 ...ใครเลยจะรู้ว่า ผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้น ปตท.ในวันนั้น หาใช่ประชาชนรายย่อยทั่วไปไม่ แต่กลับกลายเป็นพวก “เหลือบไรนักการเมือง” ที่เข้ามารุมทึ้งหุ้น ปตท.ด้วยวิธีที่ฉ้อฉลและเกาะกินสมบัติของชาติและประชาชนจนพุงกางนับแต่นั้น มา... “มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน” เห็นว่า ถึงเวลาต้องกำจัดเหลือบไรเหล่านี้เสียที
     
        คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายงานพิเศษ
     
       เมื่อพูดถึง “ปตท.” ที่ถูกรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แปรรูปจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ขึ้นมาทีไร หลายคนยังไม่ลืมภาพภาคประชาชนอย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ออกมาเคลื่อนไหว ฟ้องศาลปกครองให้การแปรรูป ปตท.เป็นโมฆะเช่นเดียวกับ กฟผ.หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่รัฐบาลทักษิณพยายามจะแปรรูปให้ได้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะถูกมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบทุจริตเชิงนโยบาย จึงไปฟ้องต่อศาลปกครอง กระทั่งในที่สุดศาลได้สั่งเพิกถอนกระบวนการที่จะแปรรูป กฟผ.
     
       สำหรับ ปตท.แม้ศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 จะไม่ได้สั่งเพิกถอนการแปรรูป เนื่องจากเกรงว่าหากเพิกถอนหุ้นของ ปตท.ออกจากตลาดฯ อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงด้านพลังงาน (ตามที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ในขณะนั้น และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่เพิ่งทิ้งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้ เคยอ้าง) ก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลฯ ก็ระบุชัดถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลทักษิณ ที่มีมติให้โอนทรัพย์สมบัติของแผ่นดินที่ควรเป็นของรัฐ ไปให้ ปตท.ทั้งหมด อันได้แก่ ที่ดินและท่อก๊าซ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบท่อส่งก๊าซหรือระบบขนส่งปิโตรเลียมทาง ท่อ ซึ่งได้มาจากการรอนสิทธิและเวนคืนที่ดินจากประชาชน หรือได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ ศาลฯ จึงสั่งให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำการแยกทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติที่ ปตท.ครอบครองอยู่ แล้วโอนคืนแก่รัฐ รวมทั้งให้ตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
     
       แต่น่าแปลกที่จนถึงปัจจุบัน ปตท.ก็ยังคืนทรัพย์สินให้รัฐไม่ครบตามจำนวน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าให้ฟังว่า มูลนิธิฯ ได้พยายามจี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่เรียกคืนทรัพย์สินจาก ปตท. รวมทั้งขอศาลให้ช่วยบังคับคดี แต่กลับติดปัญหาด้านกฎหมาย
     
       “ทรัพย์สินมันไม่ถูกคืนครบและการตรวจสอบทรัพย์สินที่ ครม.ให้คืนตาม สตง.(สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) จริงๆ ปตท.ก็ไม่ได้คืนครบตามที่ สตง.ให้คืน นั่นเป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 คิดว่าทรัพย์สินที่ สตง.ตรวจก็เป็นทรัพย์สินก่อนการแปลงสภาพ(ปตท.) มันยังมีทรัพย์สินหลังการแปลงสภาพอีกเยอะที่ไม่ได้คืน ซึ่งรวมแล้วก็เกือบ 2 แสนล้าน คิดว่าตรงนั้นเป็นส่วนที่ ปตท.จะต้องคืน...คือมูลนิธิฯ ฟ้องไปแล้ว และศาลก็บอกแล้วว่าให้คืนทรัพย์สิน แต่มันไม่มีใครทำตาม แล้วพอเราไปขอบังคับคดี เขาก็บอกว่าเราไม่ใช่ผู้เสียหาย ซึ่งนี่เป็นช่องว่างของกฎหมายเสียหายอย่างแรง (ถาม-แล้วจะทำอย่างไร?) ตอนนี้ก็ต้องใช้กระบวนการที่เรียกว่าไปขอให้กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์เนี่ยเรียกทรัพย์สินคืน ซึ่งมันไม่มีใครเรียกไง มันก็ต้องไปใช้กระบวนการศาลปกครองอีกรอบหนึ่งเพื่อให้คืน”
     
       ไม่ใช่แค่เรื่องทรัพย์สินที่ ปตท.ต้องคืนรัฐแต่ยังคืนไม่หมด ล่าสุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ตรวจพบความฉ้อฉลในกระบวนการแปรรูป ปตท.หลายประเด็น จึงได้เตรียมฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้การซื้อขายหุ้น ปตท.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะในสัปดาห์นี้ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ 1 ในกรรมการมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบความฉ้อฉลของการแปรรูป ปตท.เล่าให้ฟังว่า หลักฐานความฉ้อฉลที่ตนได้มานั้น เป็นประเด็นใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อฟ้องต่อศาลปกครองจะนำไปสู่การสั่งให้การซื้อขายหุ้น ปตท.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะได้
     
       “ผมเป็นคนค้นพบสิ่งผิดปกติในการซื้อขายหุ้น ปตท.หลังจากที่ได้ติดตามมานาน และผมเองก็เป็น 1 ในกรรมการของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ทำให้เรารู้ข้อมูลว่า ปตท.เนี่ยฉ้อฉลอย่างไร ทั้งเชิงลึกและมีเอกสารในมืออย่างสมบูรณ์ มากกว่าคนอื่น และเป็นการเปิดประเด็นใหม่ ในประเด็นที่ว่าเขาซื้อขายหุ้นกันไม่ชอบ ซึ่งขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคของคุณรสนา (โตสิตระกูล) เขาฟ้อง เขาก็ไปฟ้องการแปรรูปตาม พ.ร.บ. แต่ตอนนั้นยังไม่มีหลักฐานว่า ปตท.ได้จำหน่ายหุ้นไปก่อนเวลา 09.30น.อันเป็นเวลาที่เปิดจอง ให้กับบุคคลภายนอกไปถึง 863 ราย ซึ่งอันนี้ทางคนอื่นเขาไม่รู้ แต่เราไปรวบรวมหลักฐานจนได้หลักฐานมาว่า คุณประกาศว่า 9.30น.นะ เปิดรับจองนะ แต่ 863 รายมันเข้าไปก่อน 9.30น. เหตุที่ผมรู้เพราะใบจองมันจะเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วมันตีเวลาออกมา ซึ่งเอกสารเหล่านี้ ทั้ง ปตท.และ กลต.เขาเก็บเงียบหมด ไม่เปิดเผยให้ใคร ดังนั้น สาธารณชนโดยทั่วไป ถ้าใครไม่ใส่ใจเรื่องนี้จะไปเอาหลักฐานตัวนี้มาไม่ได้เลย แต่ผมไปเอามาได้ นั่นประการที่ 1”
     
       “ประการที่ 2 พอเราได้หลักฐานมา เราก็พบว่ามีผู้ที่จองได้มากกว่า 1 ใบจอง ซึ่งตามทีโออาร์เนี่ย คนหนึ่งจะจองได้ 1 ครั้ง 1 ใบจอง 1 ใบจองก็ไม่เกิน 1 แสนหุ้น ปรากฏว่ามีเกินนั้นอีก 428 ราย 428 ราย พอผมไล่ไป เฮ้ย! ก็ไอ้นามสกุล “มหากิจศิริ”อย่างนี้ ไล่ไปมันเป็นนักการเมืองทั้งนั้นเลย มันเกือบจะทั้งนั้นพวกที่ได้เกินไปเนี่ย หรือผู้มีอิทธิพล ผู้มีประโยชน์ ผู้ที่รู้เรื่อง เมื่อเห็น 2 ประเด็นนี้ ก็ทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะแล้ว เพราะ 1.การซื้อขายที่ผิดไปจากทีโออาร์ ทีโออาร์ต้องถือเป็นสัญญาประชาคม เพราะได้ประกาศให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าฉันจะทำอย่างนี้นะ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 แต่คุณไม่ทำ 2.ขัดต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการที่ดี ขัดต่อกฎหมาย ปปช. เพราะการขายหุ้นไปอย่างนี้ ก็ไม่โปร่งใสและบุคคลที่ได้ไปเหมือนว่าคนที่รู้พฤติกรรมอินไซด์หรือผู้ บริหารหรือนักการเมืองหรือคณะกรรมการควบคุมราคาพลังงานต่างๆ เหล่านี้ เมื่อคุณกลับมาซื้อหุ้น มันก็ทำให้การซื้อขายนี้เป็นโมฆะ”
     
       เมื่อได้หลักฐานมา นายสุวัตรจึงได้ประกาศทาง ASTV เพื่อหาผู้เสียหายซึ่งเคยเป็นผู้ที่จองซื้อหุ้น ปตท.แล้วไม่ได้ เพื่อร่วมเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองด้วย ซึ่งในที่สุดก็ได้มา 7 ราย โดยเป็นผู้ที่เคยไปรอจองซื้อหุ้น ปตท.ตั้งแต่ตี 1 ตี 2 แต่กลับถูกพรรคพวกนักการเมืองแย่งชิงซื้อไปด้วยวิธีที่ฉ้อฉลก่อนเวลาเปิดจอง โดยขณะนี้มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและผู้เสียหายพร้อมที่จะยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ในสัปดาห์นี้
     
       ทั้งนี้ นอกจากมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและผู้เสียหาย จะฟ้อง ปตท.แล้ว ยังฟ้องกระทรวงการคลังด้วย โดยคำฟ้องบรรยายให้เห็นแผนอันแยบยลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบางคนที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นด้วย โดยได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและร่วมกันเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท.เพื่อเป็นของตัวเองและพรรคพวกด้วยวิธีฉ้อฉล โดยเริ่มจากอ้างความจำเป็นว่า ปตท.ต้องเพิ่มทุน ซึ่งดูแล้วไม่มีเหตุผล เพราะขณะนั้น ปตท.มีสภาพคล่องเพียงพอ โดยมีกำไรปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท
     
       จากนั้นก็จัดให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์ของ ปตท.ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เพื่อให้มูลค่าหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเปิดจองหุ้นในราคาเพียงหุ้นละ 31-35 บาท ทั้งที่ราคาตามสินทรัพย์ที่แท้จริงสูงกว่านั้นมาก ขนาดราคาจองหุ้นดังกล่าวว่าต่ำแล้ว ปตท.ยังมีการขายหุ้นให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่งในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท จำนวน 25 ล้านหุ้น ทั้งที่ ปตท.เป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
     
       เป็นที่น่าสังเกตว่า กระบวนการกระจายหุ้นของ ปตท.จำนวน 775 ล้านหุ้นนั้น แทนที่จะเป็นไปด้วยความโปร่งใสและขายให้คนไทย ปตท.กลับกำหนดว่า จะขายให้คนไทยรายย่อยแค่ 220 ล้านหุ้น ขายให้สถาบันในประเทศ 235 ล้านหุ้น แต่ขายให้นักลงทุนต่างชาติมากถึง 320 ล้านหุ้น ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้น ปตท.นั้น คือ “ฝรั่งหัวดำ” ที่ไปตั้งกองทุนหรือมีนอมินีอยู่ต่างประเทศเพื่อมาซื้อหุ้น ปตท.หรือไม่? ขณะที่การขายหุ้นให้คนไทยรายย่อย 220 ล้านหุ้น ก็เป็นไปแบบหมกเม็ด โดยมีการลัดคิวให้คนบางกลุ่มจองซื้อหุ้นได้ก่อนเวลาเปิดจองจำนวนถึง 863 ราย แถมให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่มของซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองจำนวนถึง 428 ราย!!
     
       นั่นคือส่วนหนึ่งเท่านั้นของความอัปยศในกระบวนการจองซื้อหุ้น ปตท.เมื่อปี 2544 ที่ระบุอยู่ในคำฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ซึ่งนายสุวัตร อภัยภักดิ์ 1 ในกรรมการมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน บอกว่า การฟ้อง ปตท.และกระทรวงการคลังต่อศาลปกครองครั้งนี้ จะเป็น “หัวไม้ขีด” สำหรับคดีต่อๆ ไปที่จะตามมา ซึ่งมีคดีอาญาที่จะต้องดำเนินการกับผู้ที่วางแผนและร่วมกันโกงทรัพย์สินของ ประเทศ รวมถึงคนที่รู้ว่ามีการโกงเกิดขึ้น แต่กลับเพิกเฉยไม่แก้ปัญหา
     
       “เมื่อฟ้องคดีแรกไปแล้ว จะทำให้ผมมีโอกาสที่จะออกหมายเรียกของศาล ออกหมายเรียกของศาลไปเรียกอะไร เพื่ออีก 4 ตัวไง อันที่ผมฟ้องคดีนี้ก็คือ ผู้จองซื้อรายย่อย ผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศที่มีทั้งหมด 340 ล้านหุ้น แต่ผมยังไม่รู้เลยบุคคลทั่วไปหรือนักลงทุนสถาบันเนี่ย ผ่านผู้จัดการหรืออันเดอร์ไรต์อีก 235 ล้านหุ้นเนี่ย ใคร ผู้ลงทุนในต่างประเทศ เรียกว่า ฝรั่งหัวดำอีก 320 ล้านหุ้นคือใคร และผมมีความเชื่อว่าไอ้พวกนี้เกี่ยวพันกับผู้มีอำนาจ ก็คือไปตั้งไว้ในต่างประเทศแล้วเข้ามาซื้อผ่านทรัสต์ต่างๆ แล้วผมก็ยังไม่รู้ว่าบุคคลผู้มีอุปการคุณตามที่คณะกรรมการ ปตท.เห็นชอบอีก 25 ล้านหุ้นเนี่ยเป็นใคร ผมจะขอให้ศาลปกครองเรียกสิ่งเหล่านี้เข้ามาให้หมดเลย ครั้นไปขอจาก ปตท.และ กลต.เขาก็ไม่ให้ เพราะนี่คือทุจริตที่เขาหมกเม็ดกันไว้ ผมต้องใช้อันนี้เป็นหัวไม้ขีด แล้วกรณีที่จะตามมากรณีการขายหุ้น ปตท.มันจะเป็นอีกหลายสิบคดีเลย แล้วมันจะมีคดีอาญาตามมาด้วย (ถาม-(คดีอาญา)สำหรับคนที่เพิกเฉย?) สำหรับคนที่วางแผนโกง คนที่เพิกเฉยรู้แล้วว่ามีการโกง ก็ไม่ปกป้อง คือปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วธนาคารที่ร่วมกับผู้จองอย่างธนาคารไทยพาณิชย์เนี่ย เห็นชัดๆ เลยว่าร่วมมือกับนักการเมือง เอาชื่อพวกนั้นเข้ามาใส่ก่อน เอามาให้ได้มากกว่า 1 ใบจอง ซึ่งไทยพาณิชย์เราก็รู้ว่าโยงถึงใคร”
     
       ต้องติดตามการฟ้อง ปตท.และกระทรวงการคลังครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนี่ไม่เพียงเป็นอีก 1 การต่อสู้ของ “มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน” ที่พยายามปกป้องทรัพย์สินของประเทศและประชาชนมาโดยตลอด แต่นี่จะเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญด้วยว่า กระบวนการยุติธรรมสามารถหยุดยั้งการกระทำของคนบางกลุ่มที่คบคิดและเกาะกิน สมบัติชาติมาเป็นเวลานับสิบปีได้หรือไม่?
อดีต ในช่วง ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ - หลังลอยตัวราคาน้ำมัน ปตท.จะเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาลใน​การบริหารจัดการราคาน้ำมันภายใน ประเทศ ในช่วงภาวะน้ำมันผันผวน ปตท.จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของ​ประชาชนด้วยคำยึดมั่นที่ว่า "รัฐวิสาหกิจก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ​ช่วยเหลือประชาชน โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร" เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูง​ขึ้น ปตท. ใช้วิธีคิดด้วยการยึดสต๊อกน้ำมั​นที่นำเข้ามาราคาถูกขายเป็นตัว กำหนดราคาขายให้กับประชาชนก่อน เมื่อสต๊อกน้ำมันราคาถูกหมดลง จึง​จะนำราคาใหม่มาคำนวณเพื่อกำหนดร​าคาขายใหม่ แต่ถ้าเห็นว่าราคานั้นๆ ยังสูงอยู่แล้ว ปตท.จะให้โรงกลั่นน้ำมันข​อง ปตท. ลดค่าการกลั่นลงจนบางช่วงโรงกลั่นแทบจะไม่มีกำไร แม้ ปตท.จะใช้วิธีนี้ แต่ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิ​จแห่งนี้ก็มีผลกำไรทุกปี โดยปีที่แย่ที่สุด ปตท.ยังมีกำไรมากกว่า 1,500 ล้านบาท

ปัจจุบัน ปตท. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ - การดำเนินงานใช้นโยบายสร้างกำไร​สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ได้เปลี่ยนวิธีการกำหนดราคาไปอิ​งกับตลาดสิงคโปร์ ทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปและค่าก​ารกลั่น ปัจจุบัน ปตท. มีกำไรมากกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท การบริหารแบบสุดลิ่ง ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นเท่าไร เอาราคานั้นเป็นตัวตั้ง โดยไม่สน​ใจว่าน้ำมันในสต๊อกจะคงเหลือมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาน้ำมันให้ทันตามราคาโลก แต่ในทางตรงกันข้าม ในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกปรับลดลง​ ปตท.จะเอาสต๊อกน้ำมันที่เหลืออยู่มาคำนวณเป็นต้นทุนก่อนเพื่อเป็นเหตุผลที่ จะอ้างว่ายังไม่สามา​รถปรับลดราคาลงได้ และเพื่อให้แน่ใจว่า ปตท.จะสามารถกำหนดนโยบายด้านราค​าของประเทศได้ ปตท.จึงทำการซื้อกิจการน้ำมันขอ​งประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งนโยบายนี้ ปตท. ทำไปด้วยการขอรับการส่งเสริมการ​ลงทุนจาก boi จึงไม่ต้องไม่เสียภาษีให้กั​บรัฐ นโยบายนี้ทำให้ ปตท. สามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบทั้ง​ราคาน้ำมันและค่าการกลั่น น้ำมัน​ได้ส่งผลโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท.กว่านซื้อมานั้น มีผลกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดด วิธีการนี้จึงเป็นการตอบคำถามได้ดีว่า เมื่อต้นเดือนก่อนราคาน้ำมันดิบโลกปรับขึ้น 2 วันเป็นจำนวน $3 ปตท.ไม่ลังเลที่จะขอปรับราคาน้ำมันขึ้น 60 สตางค์ แต่หลังจากนั้น ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปรับลงมากกว่า $12 ปตท.กลับใช้เวลาเกือบเดือนในการพิจารณาปรับราคาลงเพียง 60 สตางค์ (ซึ่งจะมีผลในวันพรุ่งนี้) ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วราคาในขณะนี้ ปตท.ต้องปรับราคาลงถึงลิดรละ 3 บาทด้วยซ้ำ (บทความนี้คัดลอกมาฝากให้เราช่วยกันคิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ปตท. ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติ)
คนไทย

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทุ่ม 1.8 ล้านล้าน ถมทะเลสร้างเมืองใหม่

ถมทะเล
ถมทะเล
จ้างบริษัทระดับโลกออกแบบ พัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ พร้อมทำความเข้าใจกับเอ็นจีโอ
7 ส.ค. รายงานข่าวแจ้งว่า นโยบายการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ของพรรคเพื่อไทย หนึ่งในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจ็กต์ จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพรรค เพื่อไทยให้ได้ หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ โดยการลงทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบพีพีพี หรือการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นหลัก
ทั้งนี้ ขั้นตอนการออกแบบเมืองใหม่ จะว่าจ้างบริษัทชื่อดังระดับโลกเข้ามาจัดทำให้ มองไว้แล้ว 2-3 แห่ง ยึดรูปแบบการดำเนินงานเหมือนเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์  เมื่อได้รายละเอียดนโยบายทั้งหมด จะเปิดประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย
ขณะเดียวกัน จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า เมืองใหม่จะมีพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6-1.8 ล้านล้านบาท ต้นทุนไร่ละ 6-8 ล้านบาท แต่ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำพื้นที่จำนวนนี้เปิดให้เอกชนทั้ง ในและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ใช้พื้นที่คืนกลับมาได้อีกเท่าตัวหนึ่ง หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาท
อย่าง ไรก็ตาม รูปแบบเมืองใหม่จะเป็นกรีนซิตี้ มีความพร้อมด้วยระบบผังเมืองและสาธารณูปโภคทุกชนิด นำธุรกิจอนาคตของประเทศไทยย้ายเข้าไปสู่เมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางทางการเงิน การรักษาพยาบาล เป็นศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติในภูมิภาคนี้ มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้สะดวก ผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง
ส่วน กระแสการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่และกลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้นโยบายนี้เกิดปัญหาได้ ซึ่งเมื่อได้รายละเอียดนโยบายชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้าง รัฐบาลจะรีบทำความเข้าใจกับสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ เนื่องจากนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อประเทศ โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เชื่อว่าภายในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าจะต้องประสบปัญหาแน่


                   ทำได้จริงหรือ????

มาร์คโบ้ย เอกสารลับ'ศอฉ.'

 ที่มา ข่าวสด

สั่งยิงวัน10เมย. โยนถามเทือก ในฐานะเป็นผอ. 'ทนายแดง'เล็ง ใช้ฟ้องศาลโลก







"สรรเสริญ"ยอมรับเอกสารลับศอฉ.รั่ว อายมีคนเผยแพร่แต่ไม่อายที่ฆ่าผู้ชุมนุม

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเอกสารลับของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่มีคำสั่งนรม.10 เม.ย. 53 ให้ขอคืนพื้นที่กลุ่มชุมนุมคนเสื้อแดง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาเผยแพร่ทางเวปไซต์และในสื่อหนังสือพิมพ์บางฉบับ ว่า ต้องถามคนที่นำออกมาเปิดเผยว่ามีเจตนาอะไรกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารของศอฉ.จริง

หากอ่านเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวจะพบว่ามีเนื้อหาเดียวกับที่ได้แถลงการณ์ต่อ สาธารณะแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ศอฉ.ทุกนายทำตามขั้นตอนและกรอบของกฎหมาย รวมทั้งรายละเอียดข้อปฏิบัติก็เป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมายหลักสากลในการ สลายกลุ่มผู้ชุมนุม

“อย่างไรก็ตามยันยันว่าสิ่งที่ศอฉ.ดำเนินการนั้นได้คำนึงถึงความปลอดภัยของ ประชาชนที่อาจจะถูกทำร้ายจากลุ่มคนชุดดำที่แฝงตัวปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ความจริงแล้วเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ถ้ามีคนหนึ่งคนใดนำเอาเอกสารความลับทางราชการออกมาเปิดเผยและตัวท่านก็เป็น คนหนึ่งที่อยู่ในองค์กร ไม่รู้สึกละลายใจบางเลยหรือ มีความจงรักภักดีต่อหน่วยงานของตนเองอยู่หรือไม่” พ.อ.สรรเสริญ กล่าว

อภิสิทธิ์หนูไม่รู้ชิ่งให้เทือกรับเต็มๆ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ทราบเพราะเป็นเรื่องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กำกับดูแล ศอฉ.อยู่ และไม่มีการส่งเรื่องมาให้ดู จึงไม่รู้ว่าเป็นเอกสารอะไร ควรนำเอกสารนี้ไปให้นายสุเทพ เผื่อจะรู้

ทั้งนี้แม้ในเอกสารจะเปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ในฐานะเป็นนรม.เป็นผู้สั่งการก็ตาม

ก่อนหน้านี้ในการปราศรัยทิ้งทวนที่ราชประสงค์ก่อนเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม นายสุเทพกล่างวตอนหนึ่งว่า หากพรรคเพื่อไทยชนะได้ตั้งรัฐบาล หากจะเช็กบิลให้มาเล่นงานตน นายอภิสิทธิ์ไม่เกี่ยวข้อง

เทือกรับเป็นคนสั่ง เฉไฉรัฐบาลใหม่ใช้เป็นเหตุตามเช็กบิล














วันนี้ (7 ส.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ผอ.ศอฉ.ได้แถลงข่าวชี้แจงกรณีที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับได้มีการเปิดเผย เอกสารลับว่า ศอฉ.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปฏิบัติการต่อผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ระหว่างวันที่ 10-13 เม.ย.53 ว่า ตนไม่สามารถคาดเดาเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้รายงานข่าวนี้ แต่เห็นว่าอาจทำให้ประชาชนเข้าใจความจริงในเรื่องนี้คลาดเคลื่อนและเข้าใจ ผิดต่อผู้สั่งการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการได้ ตนจึงต้องการชี้แจงว่า 1.เอกสารคำสั่งการได้ตัดวันที่ที่สั่งการออกไปไม่นำมาแสดงไว้ แต่เขียนคำบรรยายว่าสั่งการในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 53 โดยเน้นว่าเป็นคำสั่งอนุญาตใช้ปืนในเหตุการณ์คืนพื้นที่ 10 เมษาฯ พร้อมกับ ขีดเส้นใต้สีแดง โดยเน้นข้อความในคำสั่งให้ใช้อาวุธทำการยิงเมื่อปรากฏภัยคุกคาม หรือกลุ่มติดอาวุธให้ใช้อาวุธต่อเป้าหมายตามข้อ 2.1 ในระยะ 30-50 เมตร และให้เล็งส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่เข่าลงมา หากผู้อ่านมีเวลาอ่านเฉพาะส่วนที่พาดหัวข่าว ที่เน้นขีดเส้นใต้สีแดงไว้ จะเข้าใจเอาได้ว่าในวันที่ 10 เมษายน 53 ทาง ศอฉ.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้ปืนยิงประชาชน

นายสุเทพกล่าวว่า คำสั่งปฏิบัติการที่นำมาลงแสดงในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เป็นคำสั่งที่ลงวันที่ 13 เมษายน 2553 สั่งการหลังเกิดเหตุกรณีคนชุดดำนำอาวุธสงครามมาฆ่าเจ้าหน้าที่ และประชาชน เมื่อ 10 เมษายน 53 เป็นคำสั่งที่ออกมาภายหลังเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งนั้น ถึง 3 วัน ซึ่งเหตุที่ ศอฉ.ต้องสั่งการเช่นนี้เพราะเหตุการณ์ในวันที่ 10 เม.ย.มีคนชุดดำแฝงตัวปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง นำอาวุธสงครามร้ายแรงชนิดต่างๆ มายิงใส่เจ้าหน้าที่ และประชาชน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บประมาณ 800 คน ถือเป็นความสูญเสียที่รุนแรง ศอฉ.จำเป็นต้องระงับยับยั้งป้องกันไม่ให้เหตุเกิดขึ้นอีก แต่ปรากฏว่าหลังจากวันที่ 10 เม.ย.เหตุการณ์รุนแรงยังไม่ยุติ คนชุดดำถืออาวุธร้ายแรงยังปะปนแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ทำการก่อเหตุร้ายต่อเนื่องแทบทุกวัน ศอฉ.จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้ “ปืนลูกซอง” ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่ร้ายแรง สามารถควบคุมการยิงได้เพื่อป้องกันตัวเจ้าหน้าที่เอง และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้รอดพ้นจากภัยการคุกคามของคนชุดดำที่ติดอาวุธ

อีกทั้งในคำสั่งยังระบุเรื่องการควบคุมวิถีกระสุนควบคุมความเสียหายที่จะ เกิดขึ้น โดยให้ดำเนินการโดยไม่มุ่งประสงค์ต่อชีวิตของเป้าหมาย เพื่อระงับ ยับยั้งคนร้ายที่ถืออาวุธคุกคาม ชีวิตเจ้าหน้าที่และประชาชน ต้องการเพียงเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์เท่านั้น จึงมีคำสั่งชัดเจนว่า ในการใช้อาวุธให้เล็งยิงส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่เข่าลงมา

“ขอย้ำว่า สำเนาคำสั่งที่พาดหัวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เป็นคำสั่งการในวันที่ 13 เม.ย. ไม่ใช่ 10 เม.ย.อย่างที่เขาพยายามจะให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และการสั่งการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธ “ปืนลูกซอง” มุ่งหมายเพื่อควบคุมความสูญเสีย ไม่ต้องการให้เสียหายร้ายแรง”

นอกจากนี้ยังมีการนำสำเนาคำสั่งวันที่ 10 และ 13 เม.ย.มาลงแสดงไว้ แต่ได้มีการขีดเส้นใต้เฉพาะข้อความบางส่วน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจผิดในทำนองว่า ศอฉ.ตั้งใจสั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธ นอกจากนั้นยังอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ว่าเป็นคำสั่งการในเหตุการณ์เดียว กัน ทั้งที่ความจริง ศอฉ.ได้สั่งการห้ามเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธโดยเด็ดขาด ให้ใช้เฉพาะอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน คือ โล่ กระบอง รถฉีดน้ำ แก๊สน้ำตา และปืนลูกซองที่ใช้กระสุนยาง ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการควบคุมฝูงชนที่เป็นสากลอย่างเคร่งครัด

แต่ปรากฏว่า ในวันที่ 9 เมษายน 53 กลุ่มผู้ชุมนุมนับหมื่นคนได้บุกโจมตีเจ้าหน้าที่ที่รักษาการณ์อยู่ที่สถานี ดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว ใช้ก้อนหิน ไม้ มีด เป็นอาวุธทำร้าย เจ้าหน้าที่บาดเจ็บนับร้อยคน และได้ยึดอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ไปเป็นจำนวนมาก การที่มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ที่สถานีไทยคม เมื่อ 9 เม.ย.53 และอาวุธประจำกายถูกฝ่ายผู้ชุมนุมยึดไปหลายร้อยรายการ ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจมีการนำอาวุธนั้นมาทำร้ายเจ้าหน้าที่ ศอฉ.จึงมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธได้ แต่ต้องใช้เพื่อการป้องกันตนเองและประชาชนที่เจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครอง เท่านั้น

“ในคำสั่งที่อนุญาตให้ใช้อาวุธเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่และประชาชนนั้น ได้สั่งการชัดเจนว่า ใช้อาวุธได้เฉพาะในกรณีที่มีผู้กระทำผิดซึ่งหน้า และใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเอง และประชาชน เท่านั้น และระบุชัดเจน ใช้อาวุธเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายที่ใกล้จะถึงตัวเป็นอันตราย ต่อชีวิตเจ้าหน้าที่ และ ประชาชนที่สำคัญ ได้สั่งการชัดเจนว่า “หากจำเป็นต้องใช้อาวุธ ต้องใช้ตามลำดับขั้นที่กำหนดไว้”

นายสุเทพยืนยันว่า ศอฉ.ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ปกป้องชีวิตของเจ้าหน้าที่ และประชาชนให้รอดพ้นจากภัยคุกคามจากผู้ก่อเหตุร้าย การสั่งการต่างๆ ของ ศอฉ.เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง มุ่งหมายรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ไม่มีเจตนาร้ายต่อประชาชน ศอฉ.ได้กำหนดมาตรการในการระงับ ยับยั้งเหตุร้ายต่างๆ โดยพยายามให้มีความเสียหายน้อยที่สุด และเมื่อเหตุการณ์ร้ายนั้นผ่านพ้นไปเป็นเวลาปีเศษแล้ว รัฐบาลชุดที่แล้วได้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นคนกลางทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จ จริงทั้งหมดเพื่อรายงานต่อประชาชนต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีรัฐบาลใหม่ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเชื่อมโยงกับบรรดาผู้ก่อเหตุ และผู้ต้องหาก่อการร้ายหลายคนก็ได้เป็น ส.ส.ในสังกัดพรรครัฐบาล ผู้ต้องหาก่อการร้ายบางคนอาจได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลเป็นผู้กุมอำนาจรัฐจะสั่งการให้สอบสวนดำเนินคดีต่อตนซึ่งเป็นผู้รับ ผิดชอบสั่งการในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งตนพร้อมที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกระบวนการยุติธรรมทุกข้อหา

เปิดรายละเอียดเอกสารลับ แง้มไต๋ยังมีทีเด็ดอีกหลายชุดตามมา

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้อ้างตนว่าเป็น"คณะกรรมการทหารตำรวจประชาธิปไตย ๒๕๕๔"ได้เปิดเผยเอกสารทางราชการฉบับหนึ่ง โดยแจ้งว่า เพื่อความจำเป็นต้องหยุดยั้งมิให้ผู้ทรงอำนาจทางทหารในปัจุบันกระทำการสร้าง มูลเหตุคดีจากการเลือกตั้งอันนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยโดยเร็วไวที่สุด ซึ่งเป็นการทำลายชาติและกองทัพได้อีกต่อไป จึงขอส่งมอบหลักฐานเอกสารการสั่งการในการสังหารประชาชนเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ให้กับประชาชนทั้งประเทศเพื่อดำเนินการตามกฏหมาย กับผู้ทรงอำนาจทางทหารดังนี้

๑.วิทยุด่วนภายใน ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ (ลับมาก) คำสั่งศอฉ. กห.๐๔๐๗.๔๕/๔๒ ลงนามโดย รอง นรม.(รองนายกรัฐมนตรี) ตามเอกสารที่แสดงให้ดู ในเอกสารชุดที่ ๑ จำนวน ๒ หน้า และเอกสารชุดที่ ๒ จำนวน ๑ หน้า เป็นวิทยุด่วนมากใน ๑๓ เมษายน ๒๕๕๓ ลงนามโดย ผบ.ทบ.ดังนี้

เอกสารชุดที่ ๑ และ ๒ ขยายความตามที่ทหารได้รับคำสั่งดังนี้

๑.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการให้ศอฉ.ใช้กำลังทหารที่มีอาวุธเข้าผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมใน ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่ ๑๓.๓๐น. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรี เป็นคนลงนามในคำสั่ง และมีพล.ท.อักษรา เกิดผล ผช.เสธ.ฝยก. พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง.เสธ.ฝยก. และพล.อ.พิรุณ แพ้วพลสง เสธ.ทบ. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมต.กห. เป็นผู้ลงนาม ตรวจร่างในคำสั่งดังกล่าว โดยมีความสำคัญของเนื้อหาดังนี้

๑.๑อนุญาตให้ทหารใช้อาวุธได้และใช้ยานเกราะรถ รสพ. (รถสายพานลำเลียงพล) ในการปฏิบัติการ
๑.๒ใช้แก๊สน้ำตาแบบวิตถาร คือ โปรยจากเฮลิคอปเตอร์
๑.๓ไม่มีมาตรการจากเบาไปหาหนัก เพียงแต่แจ้งว่า แจ้งเตือนด้วยวาจาแล้วยิงปืนได้เลย
๑.๔มีชายชุดดำเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติการ
๑.๕มีพลซุ่มยิง ซึ่งยิงจากตึกสูงในพื้นที่ปฏิบัติการ (ซึ่งมีการสั่งการ แยกการจากคำสั่งฉบับนี้)

๒.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้สั่งการในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจนถึง ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยการสั่งการครั้งนั้น ผลที่เกิดขึ้นคือ

๒.๑ทำให้ทหารเข้าใจว่ามีผู้ก่อการร้ายในกลุ่มผู้ชุมนุม
๒.๒อนุมัติให้ทหารใช้กระสุนจริงยิงต่อเป้าหมายได้ แม้จะสั่งว่าให้ยิงในระยะ ๓๐-๕๐ เมตร โดยทำการยิงต่ำกว่าระดับหัวเข่าลงมา

๓.ผลที่เกิดขึ้น

๓.๑มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและผู้ชุมนุมและสื่อมวลชนต่างประเทศ
๓.๒มีเหตุการณ์ทั้งภาพและเสียง มีทหารใช้กระสุนจริง
๓.๓มีพลซุ่มยิงซึ่งเป็นพลซุ่มยิงของทหาร
๓.๔หลังการปฏิบัติการมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้เสียชีวิตคน
ใดแต่งกายชุดดำและมีอาวุธติดตัวอยู่ในขณะที่เสียชีวิต

๔.การวิเคราะห์

๔.๑สมมติฐาน เหตุใดพลซุ่มยิงถึงยิงผู้ชุมนุมที่ศีรษะได้อย่างแม่นยำจนเสียชีวิตและเหตุใดทหารและพลซุ่มยิงถึงไม่ยิงชายชุดดำ

๔.๒คำตอบจากข้อ ๓.๑ คือ มีการสั่งการลับให้มีชุดปฏิบัติการพิเศษของนปพ.ทบ. แต่งกายเป็นชายชุดดำเข้าสร้างสถานการณ์ (และถูกสวมรอยโดยชายชุดดำของพล.ต.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ซึ่งจัดกำลังจาก ฉก.นราธิวาส ตามแถลงการณ์ฉบับที่๒)

๔.๓นายกรัฐมนตรี , รองนายกรัฐมนตรีและผบ.ทบ. แม้จะปฏิบัติภายใต้อำนาจ พรบ.ความมั่นคงและภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม บุคคลดังกล่าวทั้ง ๓ ย่อมอยู่ภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฏหมายอันสูงสุด สั่งให้ทหารใช้กระสุนจริงยิงเข้าไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุมเสีย ชีวิตและสภาพศพถูกกระสุนที่ศีรษะและหน้าอกเป็นส่วนใหญ่และไม่ปรากฏว่ามีชาย ชุดดำเสียชีวิตและพบอาวุธติดตัวผู้ตายแต่อย่างใด แม้ว่าหากมีผู้ก่อการร้ายจริง ถามว่า บุคคลทั้ง ๓ ตัดสินด้วยการให้ยิงได้เลยหรือ? และกลุ่มคนต่างๆเหล่านั้นเป็นคนไทยมิใช่หรือ? สั่งให้เค้าตายอย่างนั้นได้อย่างไร มีอำนาจมากขนาดนั้นหรือ?

๔.๔ไม่ปรากฏการสั่งการหรือการปฏิบัติของ ศอฉ. โดยนายกรัฐมนตรี , รองนายกรัฐมนตรีหรือ ผบ.ทบ. ที่สั่งการทหารใช้น้ำฉีด ใช้แก๊สน้ำตา ตามหลักสากลที่นานาชาติใช้ดำเนินการต่อผู้ชุมนุม แต่มีการใช้แก๊สน้ำตา โปรยจากเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีที่เดียวในโลก

๔.๕เอกสารชุดที่ ๑ (เหตุการณ์ในห้วง ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓) จำนวน ๓ แผ่นนี้ คือหลักฐานที่ยืนยันว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะกรรมการศอฉ. ต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตทั้ง ๙๑ ศพและผู้บาดเจ็บอีกกว่า ๒,๐๐๐ นาย และต้องยอมรับผิดต้องขอโทษต่อประชาชนและตกเป็นผู้ต้องหาในการสั่งการให้ สังหารประชาชน

ซึ่งแน่นอนว่าหากไม่ดำเนินการดังกล่าว คณะกรรมการทหารตำรวจประชาธิปไตย ๒๕๕๔ จะนำเอกสารชุดที่ ๒ ชุดที่ ๓ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงของการสั่งการเหตุการณ์ในห้วง ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาเสนอต่อประชาชนต่อไป
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง