ในการอภิปราย ที่สถาบันพระปกเกล้าในวันนี้ ผู้เขียน จะขอพูด เป็น ๓ ช่วง
คือ ในตอนแรก ผู้เขียนจะให้ข้อคิดเห็นว่า อะไร คือ “สาหตุ”
ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกัน ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ และในตอนที่สอง
จะเป็นตอนที่ว่า เราจะหา”ทางออก”จากสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
ได้อย่างไร ; และจะจบลงด้วย บทสุดท้าย ว่าด้วย ข้อคิดที่ได้มาจาก
“นิทานอิสป” เรื่องหนูกับแมว
ตอนที่ ๑ ผู้ใดหรือกลุ่มใด ที่ทำให้คนไทยต้องตกอยู่ในสภาพแตกแยก ดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๕๓)
ในตอนนี้ (การวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของการแตกแยก)
ผู้เขียนจะแยกกล่าวเป็น ๓ ข้อ คือ (๑) ท่านรู้หรือไม่ว่า
รัฐธรรมนูญของไทยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก ที่ใช้
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน”ในระบบรัฐสภา ; (๒)
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ทำให้คนไทยแตกแยกได้อย่างไร ; และ
(๓) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และ
“ใคร” เป็นผู้ที่ทำให้เกิดขึ้น
ข้อ ๑.๑ ท่านรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก
ที่รัฐธรรมนูญใช้”ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา
-parliamentary system ( โดยรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติบังคับให้
ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง / ให้พรรคการเมืองมีอำนาจเอา ส.ส.ออกจากตำแหน่ง
ส.ส.ได้ / กำหนดบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. -
หัวหน้าพรรคการเมือง เท่านั้น)
ท่านเคยย้อนคิดบ้างหรือไม่ว่า ทำไม คณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และ
คณะรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของเรา จึงไม่เคยบอกกับเราว่า รัฐธรรมนูญของเรา
ที่ใช้ “ระบบสถาบันการเมือง(ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน)” นั้น
มีเพียงประเทศเดียวในโลก คือ ประเทศไทย เท่านั้น
ท่านรู้หรือไม่ว่า วงการวิชาการของทุกประเทศทั่วโลก
เขามองเห็นผล(เสีย)ของระบบนี้ มาตั้งแต่ระยะแรก
ๆของการที่ประเทศในยุโรป(โลก) เริ่มใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณะ - written
constitution เพื่อกำหนดรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ ตั้งแต่
ปลายศตวรรษที่ ๑๘ คือ กว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีบทบัญญัติกำหนดให้
ส.ส.มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ของ ส.ส.
และต้องไม่อยู่ภายไต้อาณัติและการมอบหมายใด ๆ
ข้อ ๑.๒ ทำไม “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา - parliamentary system จึงทำให้คนไทยแตกแยกได้
รัฐธรรมนูญของเราในปัจจุบันนี้ (รัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก) ที่สร้าง
ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ในระบบรัฐสภา ด้วยบทบัญญัติ ๓
ประการ ดังกล่าวข้างต้น(บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรค /
ให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ ส.ส. พ้นจากตำแหน่งได้ /นายกรัฐมนตรีต้องเป็น
ส.ส. –หัวหน้าพรรคเท่านั้น)
เป็นระบบที่ชักนำและทำให้นายทุนมารวมทุนกันตั้งพรรคการเมือง
เพื่อเข้ามาผูกขาด “อำนาจรัฐ” ในระบบรัฐสภา (
โดยเป็นทั้งรัฐบาลและคุมทั้งเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร)
เพื่อหาโอกาสแสวงหาความร่ำรวยจากทรัพยากรของชาติโดยมิชอบ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ
ในระบบรัฐสภา - parliamentary system
ได้ทำให้ระบบรัฐสภาขาดการถ่วงดุลระหว่างสถาบันฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)กับสภาบัน
ฝ่ายนิติบัญญัติ(สภาผู้แทนราษฎร) และทำเกิดการผูกขาดอำนาจโดยพรรคการเมือง
และทำให้ “พรรคการเมือง”กลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ
เหนือรัฐบาลและเหนือสภาผู้แทนราษฎร [หมายเหตุ
สิ่งที่แปลกแต่จริงสำหรับคนไทย ก็คือ ด้วย
“ความไม่รู้”ของคณาจารย์นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
ที่ไม่สามารถอธิบายให้คนไทยทราบถึง “ความเป็นจริง”ข้อนี้ได้
จึงทำให้เราได้ยินทางหนังสือพิมพ์อยู่บ่อย ๆ ว่านายกรัฐมนตรี
สามารถหลีกเลี่ยง “ความรับผิดชอบ”ของตนเอง ได้ โดยการกล่าวเพียงว่า
เรื่องนี้เป็นของสภาและสมาชิกสภา ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล รัฐบาลไม่เกี่ยว
ทั้ง ๆ ที่นายกรัฐมนตรีเองเป็น “หัวหน้าพรรคการเมือง”
ที่คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ? ? ? ]
ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน
ทำให้นายทุนทั้งหลายใช้เงินและอิทธิพลในการซื้อเสียง
(ในขณะที่สภาพสังคมไทยอ่อนแอและมีกลไกการบริหารที่พิกลพิการ) เพื่อเข้ามา
“จับขั้ว”รวมกลุ่มกันเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
และเข้ามาเป็นรัฐบาลที่ผูกขาดอำนาจรัฐ และใช้
“อำนาจรัฐ”แสวงหาความร่ำรวยจากทรัพยากรของส่วนรวมทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งโดยการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยตรงและโดยการทุจริตทางนโยบาย คือ
ออกกฎหมายที่ไม่ควรออก(เพื่อประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก)
และไม่ออกกฎหมายที่ควรจะต้องออก รวมทั้งการใช้นโยบาย populist
โดยไม่มีขอบเขต เพียงเพื่อซื้อเสียงและซื้อความนิยมจากประชาชน
เพื่อให้ตนได้อยู่ในตำแหน่งให้นานที่สุด เพื่อจะได้ผูกขาดอำนาจรัฐ
(และทำการทุจริตคอร์รัปชั่นหาความร่ำรวยจากทรัพยากรของส่วนรวม) ต่อไป ;
วิธีการใช้อำนาจของนักการเมืองนายทุน ได้กลายเป็นวงจรแห่งความเสื่อม -
vicious circle โดยไม่มีที่สิ้นสุด
การแข่งขันกันระหว่างกลุ่มนายทุน(เจ้าของพรรคการเมือง(ในภูมิภาคต่าง
ๆ ของประเทศ)ในการซื้อเสียงเพื่อการเลือกตั้ง
และการแจกเงินและแจกจ่ายผลประโยชน์(ของนักการเมือง)เพื่อแสวงหาและผูกพันหัว
คะแนน / พรรคพวก /
และประชาชนที่สนับสนุนตนในทุกวิถีทาง(ทั้งในขณะเลือกตั้งและในขณะที่เป็น
รัฐบาล)นั่นเอง ได้เป็น “สาเหตุ”ของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทย
ทำให้คนไทยต้องแตกแยกทั้งในด้านความคิดเห็นและแบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็น
จังหวัดและภาค ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓)
.ข้อ ๑.๓ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา
ในรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขี้นตั้งแต่เมื่อใด และ ใครหรือกลุ่มใด
เป็นผู้ที่ทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น ในประเทศไทย - ประเทศเดียวในโลก
(ก) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา
ในรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขี้นครั้งแรกโดยสมบูรณ์ แบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
(เดือนกันยายน) ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๓๔ (ฉบับที่ ๔)
โดย คณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว หลัง “พฤษภาทมิฬ”
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ใช้บังคับมาจนถึงขณะนี้
เป็นเวลา ๑๗ ปี และผลของการใช้บังคับระบบนี้ต่อเนื่องกันมาถึง ๑๗ ปีนี้เอง
ได้ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกัน ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
(ข) ผู้ใดทำให้“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา เกิดขึ้นในประเทศไทย(ประเทศเดียวในโลก)
ผู้ที่รับผิดชอบทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ชนชั้นนำ ๒ กลุ่ม คือ
(๑) นักการเมืองนายทุนที่มาจากเลือกตั้ง
ที่ต้องการผูกขาดอำนาจทางการเมืองไว้ในกลุ่มนายทุนด้วยกันเอง
(โดยอาศัยการเลือกตั้งในสภาพที่สังคมไทยมีความอ่อนแอและสภาพกลไกการบริหาร
ที่พิกลพิการ)
(๒) กลุ่ม นักวิชาการและคณาจารย์ ที่มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
ประเภทที่หนึ่ง คือ พวกที่ไม่รู้จริงและขาดความรอบรู้ และ อีกประเภทหนึ่ง
คือ ประเภท ที่(อาจ)รู้จริงหรือไม่รู้จริง
แต่ประสงค์จะแสวงหาตำแหน่งหรือประโยชน์ ด้วยการเป็น”นิติบริกร”
ให้แก่ทหาร(ที่เข้ามาใช้อำนาจทางการเมือง)
หรือนักการเมืองนายทุน(ที่มาจากการเลือกตั้ง)
ผู้เขียนคิดว่า ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน(ในระบบรัฐสภา)
คงจะไม่ได้รับการยอมรับ และไม่ สามารถเกิดขึ้นได้
(ตามความต้องการของนักการเมืองนายทุนที่มาจากการเลือกตั้ง)
ถ้าหากคณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและนักวิชาการ
ของเรา จะมีความรู้ในระดับมาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว
และอธิบายให้คนทั่วไปได้ทราบว่า เพราะเหตุใด ทั่วโลกเขาจึงไม่ ให้
“พรรคการเมืองนายทุน เข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ” และ ทำไมเขาจึงต้องบัญญัติให้
ส.ส. ต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.
และนอกจากนั้น ประเทศไทยเรายังมี “ชนชั้นนำ - Elite”
ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน(ที่ไม่ได้เป็นนักการเมือง)
แต่บังเอิญท่านเหล่านี้ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้น
ท่านจึงมองไม่เห็น “ปัญหา”ที่จะ เกิดตามมา จากความผิดพลาดในการกำหนดรูปแบบ -
form of government ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ; ด้วยเหตุนี้
ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา(ประเทศเดียวในโลก)
จึงได้เกิดขึ้น ด้วยความสนับสนุนจาก elite กลุ่มนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕
สิ่งที่ผู้เขียนแปลกใจ ก็คือ
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน(ในระบบรัฐสภา)”ของเรา
สามารถดำรงอยู่ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงขณะนี้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นเวลานานถึง
๑๗ ปี โดยไม่มีคณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของเรา
และ Elite ที่ไม่ใช่นักการเมืองของเรา สังเกตเห็น ความเลวร้าย
(vice)ของระบบนี้ ทั้ง ๆ ที่ ได้มี
“เหตุการณ์ที่ผิดปกติ”เกิดขึ้นอย่างมากมายในประเทศ
และเห็นกันอยู่เป็นประจำวัน (?) (?) (?)
การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองของเรามีอยู่ในทุกรูปแบบ
ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น / นักการเมืองของเราสามารถส่งมอบ
“ตำแหน่งรัฐมนตรี”ให้แก่บุตรภริยาได้ / จำนวนตำแหน่งรัฐมนตรีของประเทศ
หารแบ่งกันได้ในระหว่างกลุ่มนายทุน(ในพรรคการเมือง) โดยคำนวณตามจำนวน ส.ส.
ที่นายทุนให้ “เงินช่วยเหลือ(ประจำ)” /
สมาชิกสภาจัดสรรงบประมาณให้สมาชิกสภา(ตนเอง)ไปต่างประเทศ /
การฟ้องร้องคดีและการแจ้งความโดยนักการเมืองมีหลากหลายจนนับไม่ถ้วน ;
ถ้าหากแบ่งผลประโยชน์กันไม่ลงตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะไม่เข้าประชุม
(เพื่อให้สภาล่ม) หรือมิฉะนั้น ก็มาประชุม แล้วขอนับองค์ประชุม
แต่เดินออกนอกห้องประชุมเพื่อไม่ให้นับเป็นองค์ประชุม ; ทั้งนี้
โดยไม่พูดถึง พฤติกรรมธรรมดา ๆของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ออกไปข้างนอกไม่อยุ่ประชุม แต่ฝากบัตรไว้ให้ผู้อื่นเสียบลงคะแนนแทน(
โดยลงตามมติที่พรรคการเมืองสั่ง โดยไม่ต้องฟังเหตุผล)
ขณะนี้ เมื่อบรรดา “พรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น”ของเรา
ได้โอกาสที่สามารถล้ม “พรรคการเมืองนายทุนระดับชาติ” -
การผูกขาดอำนาจโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวลงได้ (เพราะโลภมากเกินไป)ได้
บรรดาพรรคการเมืองนายทุนท้องถิ่น ๒-๔ พรรค ต่างก็แย่งกัน “จับขั้ว”
เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และเข้ามาเป็นรัฐบาล
เพื่อผูกขาดอำนาจและแสวงหาประโยชน์(คอร์รัปชั่น) แทนที่ต่อไป
สิ่งที่รออยู่ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป
เมื่อการแสวงหาผลประโยชน์และการคอร์รัปชั่นของ กลุ่มนายทุนที่เป็น “
พรรครัฐบาล”ในปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ต่อคนทั่วไป
ก็จะถูกนักการเมืองนายทุนของพรรคการเมือง(ที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล)นำเอาการ
ทุจริตคอร์รัปชั่นมาเปิดเผย
และเปิดอภิปรายเพื่อล้มขั้วพรรคการเมืองของรัฐบาล ทั้งนี้ เพียง
เพื่อหาโอกาสให้ตนเองได้ “จับขั้ว”กันเป็นพรรคการเมืองนายทุนชุดใหม่
เพื่อเข้ามาผูกขาดอำนาจและแสวงหาประโยชน์(คอร์รัปชั่น) เหมือน ๆ กัน [
หมายเหตุ เหตุการณ์เช่นนี้ - การแย่งกันจับขั้วระหว่างกลุ่ม
“พรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น” ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในระหว่าง ปี พ.ศ.
๒๕๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่พรรคการเมืองของนายทุนระดับชาติจะได้จัดตั้งขึ้น
และแย่งการผูกขาดอำนาจรัฐ ไปจากพรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น ]
ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ประเทศไทยจะอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้อีกนานเท่าใด ก่อนที่ประเทศจะล่มสลาย เพราะ
การคอร์รัปชั่นอย่างต่อเนื่อง ของนายทุนพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนายทุนท้องถิ่น หรือนายทุนระดับชาติ โดยไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนที่ ๒ ขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๓ ) เราจะหา”ทางออก” ได้อย่างไร
ในตอนที่ ๑ ผู้เขียนได้พูดถึง “สาเหตุ”ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยก
กันมาแล้วว่า การที่คนไทยต้องแตกแยกกัน ก็เพราะ รัฐธรรมนูญของเรา ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน”
ในระบบรัฐสภา(ประเทศเดียวในโลก) ซึ่งเป็นเหตุทำให้
นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง (ซึ่งต่างก็มีความโลภตามธรรมชาติ และ
ต่างต้องการชัยชนะใน “การเลือกตั้ง”)
แข่งขันกันแจกเงินและประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆอย่างไร้ขอบเขต
เพื่อเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ
และแสวงหาประโยชน์และความร่ำรวยจากทรัพยากรของส่วนรวม
ภายไต้ระบบการเมืองที่ปราศจากการคานอำนาจและการถ่วงดุล
การที่ “กลุ่มนักการเมืองนายทุน”เจ้าของพรรคการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ
ทั่วประเทศ
ต่างแก่งแย่ง”อำนาจรัฐ”(เพื่อมาแสวงประโยชน์และความร่ำรวยฯ)นี้เอง
ก่อให้เกิดผลที่ตามมา ก็คือ
ทำให้คนไทยทั้งประเทศต่างเข้าหาและเป็นพรรคพวกของนายทุนพรรคการเมืองฝ่ายที่
จะให้และเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง มากที่สุด :
คนไทยจึงแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย
และมองหาประโยชน์ส่วนตัวที่ใกล้ตัวที่นักการเมืองให้หรือเสนอให้
และสูญเสียความสำนึกใน “ประโยชน์ส่วนรวม”ของประเทศ
ผู้เขียนเห็นว่า การที่จะแก้ปัญหาการเมืองของประเทศ มีหนทางเดียว
คือ ต้องแก้ปัญหาที่ “สาเหตุ”ของปัญหาที่ทำให้นายทุนแก่งแย่งกัน นั่นก็คือ
การผูกขาดอำนาจรัฐ ด้วยการยกเลิก “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน”
ในระบบรัฐสภา(ประเทศเดียวในโลก) นี้เสีย
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า แล้ว “ใคร”จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ –
การปฏิรูปการเมืองให้เรา และถ้าจะแก้ จะแก้อย่างไร ; ดังนั้น ในตอนที่ ๒
นี้ ผู้เขียนจะแยกเป็น ๓ ข้อ คือ (๑) ท่านคิดว่า ในใจจริงของ“นักการเมือง
ในรัฐบาลปัจจุบัน” มีความต้องการอันแท้จริง ที่จะปฏิรูปการเมือง หรือไม่ ;
(๒) ถ้านักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบัน (ที่กุมอำนาจรัฐอยู่)
ไม่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้เราแล้ว เรา(คนไทย)จะทำอย่างไร ; และ (๓)
“ทางออก”ของคนไทย อยู่ที่ไหน
ข้อ ๒.๑ นักการเมือง ใน“รัฐบาล”ปัจจุบัน มีความตั้งใจจริง จะปฏิรูปการเมือง หรือไม่
การปฏิรูปการเมือง คือ การแก้ไข form of government
(ระบบสถาบันการเมือง) ด้วยการยกเลิกและปรับเปลี่ยน (rationalization)
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน( ในระบบรัฐสภา)”(ประเทศเดียวในโลก)
เพื่อมิให้มีการผูกขาดอำนาจรัฐโดยพรรคการเมือง อีกต่อไป
คำถามแรก ที่เราจะต้องหาคำตอบ ก็คือ
“นายทุน”เจ้าของพรรคการเมืองที่กำลังผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน
จะแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองไม่มีอำนาจผูกขาดนี้ และ
ทำให้ตนเองต้องสูญเสียโอกาสในการแสวงหาความร่ำรวยจากทรัพย์กรของส่วนรวม
หรือไม่
การที่ท่านจะรู้ว่า รัฐบาลปัจจุบันมี
“ความตั้งใจจริง”จะปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูปประเทศหรือไม่ ก็คงต้องดูจาก
“คำพูด”และจาก “การกระทำ”ของรัฐบาลและของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ และแน่นอนว่า
“คำพูด” ก็คงไม่สำคัญเท่ากับการกระทำ เพราะ “การกระทำ”
เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริงที่ “ซ่อน”อยู่ในใจของนักการเมือง
ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องบอกว่าผู้เขียนมีความเห็นอย่างไร
แต่ผู้เขียนขอแนะนำให้ท่านผู้อ่าน “คิด” และตอบแก่ตัวท่านเอง ว่า
นักการเมืองนายทุนที่กุมอำนาจรัฐอยู่ในขณะนี้
มีเจตนาที่แท้จริงที่จะปฏิรูปการเมือง หรือไม่ โดยขอให้ท่านลองนึกย้อนหลัง
ไปสัก ๑ ปี หรือย้อนหลังไปตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมาก็ได้ ว่า
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ท่านนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันเรา
ได้ “พูด”อะไร บ้างและได้ “ทำ”อะไรมาบ้าง เพื่อ การปฏิรูปการเมือง และปราบ
“คอร์รัปชั่น” ในกลุ่มนักการเมืองของรัฐบาลเอง
เรื่องที่ (๑) ...................................................................................
เรื่องที่ (๒)..................................................................................
เรื่องที่ (๓) ..................................................................................
ฯลฯ ฯลฯ
ข้อ ๒.๒ ถ้าท่านพบว่า นายกรัฐมนตรีและนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบัน
ไม่มี “ความตั้งใจที่แท้จริง” ในการปฏิรูปการเมือง เรา(คนไทย)จะทำอย่างไร
จึงจะทำให้เกิด “การปฏิรูปการเมือง” ซึ่งบางที บางคนก็คิดไปไกลถึงจะ
“การปฏิรูปประเทศ” (?)
คำตอบ ก็คือ ผู้เขียนคิดว่า
ก่อนที่เราจะคิดปฏิรูปการเมือง(หรือการปฏิรูปประเทศ) เราคนไทยคงต้องหา
“ความรู้”ให้แก่ตนเองก่อนตามสมควร เพื่อจะได้รู้ว่า การปฏิรูปการเมือง
เขาทำกันอย่างไร
“ความรู้”ในที่นี้ คงมิใช่เป็น
ความรู้ที่จะทำให้เราสามารถเขียนรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวเอง แต่เป็น
“ความรู้ทั่วไป” ที่จะทำให้เรา “รู้เท่าทัน” นักการเมืองนายทุน
และนักวิชาการประเภท นิติบริกรหรือประเภทศรีธนญชัย เพื่อมิให้บุคคลเหล่านี้
อาศัยความไม่รู้ของคนส่วนใหญ่ เอาคำว่า “ประชาธิปไตย”มาหลอกเรา และ
เขียนรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน”
ในระบบรัฐสภา ( ประเทศเดียวในโลก) เอา อำนาจรัฐ ไปให้ตนเอง ผูกขาด
และทำการทุจริตคอร์รัปชั่นแสวงหาความร่ำรวยจากทรัพยากรของส่วนรวม
“ความรู้ทั่วไป” ที่จะทำให้เรารู้เท่าทันนักการเมืองและนักวิชาการประเภทนิติบริกร มีอยู่ ๔ ประการ คือ
(๑) เรา ต้องรู้ว่า “การปฏิรูปประเทศ” ประกอบด้วยการปฏิรูป ๒ ส่วน
ส่วนแรก คือ “การปฏิรูปการเมือง” ซึ่งได้แก่ การปฏิรูประบบสถาบันการเมือง -
form of government ในระบบรัฐสภา และ ส่วนที่สอง
คือ“การปฏิรูประบบ(กฎหมาย) การบริหารพื้นฐานของประเทศ” ได้แก่
การปฏิรูประบบการบริหารงานในเรื่องที่สำคัญ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
และระบบ(กฎหมาย)ที่สำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูป ก็มี เช่น
เรื่องระบบตำรวจและกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ-อัยการ-ศาล)
ระบบการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ระบบข้าราชการประจำ
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
ระบบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ระบบสหกรณ์ เป็นต้น
แต่ที่สำคัญที่สุด ที่ เราจะต้องรู้ ก็คือ
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น สถาบันการเมือง(ที่มาจากการเลือกตั้ง)
เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันมีอำนาจสูงสุดของประเทศ
และเป็นสถาบันเดียวที่มีอำนาจตรากฎหมาย(พระราชบัญญัติ) และ ดังนั้น
เราจึงต้องระลึกอยู่เสมอ ว่า เราไม่สามารถมี
“การปฏิรูปประเทศ”(การปฏิรูปการเมือง + การปฏิรูประบบบริหารพื้นฐานประเทศ)
ได้ โดยไม่มี “การปฏิรูปการเมือง (ระบบสถาบันการเมือง) ”
การปฏิรูปการเมือง เป็นการทำให้ “คนดี”ได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง
ไม่ใช่ให้นักการเมืองนายทุน ที่ร่วมลงทุนกันในการเลือกตั้ง
แล้วเข้ามาผูกขาดอำนาจ ดังเช่นในขณะนี้
เราไม่ควรให้นักการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน
เอาประเด็นเรื่องการบริหารประเทศ
(รวมทั้งกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร)และปัญหาทางเศรษฐกิจ
มากลบเกลื่อนความสำคัญและความเร่งด่วนของ “การปฏิรูปการเมือง”
เพื่อถ่วงเวลาให้ตนเองได้ผูกขาดอำนาจและทำการคอร์รัปชั่นแสวงหาความร่ำรวย
ด้วยการอ้างใช้จ่ายเงินแผ่นดินเพื่อความจำเป็นในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
(๒) เราต้องทราบว่า ในการปฏิรูปการเมือง (การออกแบบ – design
ระบบสถาบันการเมือง)นั้น ประเทศต้องการ
“ความรู้”ในระดับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ
การออกแบบรัฐธรรมนูญ เป็นการวางรูปแบบของรัฐบาล - form of
government และกำหนดกลไกของรัฐให้มีการคานและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
เพื่อป้องกันมิให้บุคคลในสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ใช้อำนาจรัฐโดยบิดเบือนความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ
เพื่อการแสวงหาประโยชน์และความร่ำรวยส่วนตัวจากทรัพยากรของชาติ
โดยอ้างการเลือกตั้ง
การร่างรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่เป็นเรื่องการเอา
“บุคคลที่พอรู้กฎหมาย”มาเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วประชุมลงมติด้วยคะแนนด้วย
เสียงข้างมาก เป็นรายประเด็น เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา
เพื่อความเป็นประชาธิปไตย
ความเป็นประชาธิปไตยของ “รัฐธรรมนูญ”
อยู่ที่การให้ความเห็นชอบของประชาชน(ส่วนใหญ่) ทั้งประเทศ
ด้วยการออกเสียงเป็น ประชามติ - referendum
โดยอาศัยการชี้นำและความเชื่อถือในตัวบุคคลที่เป็นผู้นำประเทศในระดับที่
เป็น statesman หรือ เป็นวีรบุรุษสงคราม หรือเป็นผู้กู้ประเทศให้มีอิสรภาพ
(ซึ่งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยอาจยังหาไม่พบ) หรือ
โดยวิธีการที่กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติ - referendum
หลังจากที่ประชาชนมีความกระจ่างแจ้ง
(๓) เราต้องทราบว่า การเป็น “นักกฎหมาย”นั้น มิได้หมายความว่า
ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย” และนอกจากนั้น กฎหมายก็มีหลายสาขา เช่น
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง ฯลฯ ดังนั้น การเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย(หากเป็น)”
ก็มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเชี่ยวชาญกฎหมายได้ในกฎหมายทุกสาขา
ในการปฏิรูปการเมือง เราต้องการ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายในสาขากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะหามาได้)
และนอกจากนั้น เรา ต้องทราบว่า
การดำรง”ตำแหน่งทางบริหาร”ในสถาบันการศึกษา (เช่น
ตำแหน่งคณะบดีคณะนิติศาสตร์ก็ดี หรือตำแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัย
ที่มีการเรียนการสอนทางนิติศาสตร์ก็ดี ) กับความเชี่ยวชาญกฎหมายนั้น ก็
เป็นคนเรื่องกัน ; และดังนั้น
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคณบดีนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย จึงมิได้หมายความ
ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย” และแม้ว่า
ผู้นั้นจะเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย ก็มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเป็น
“ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ” [หมายเหตุ และแม้แต่
อาจารย์“ผู้ที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ”ในมหาวิทยาลัยเอง
ก็มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชียวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ”
ซึ่งท่านสามารถทราบได้
เพียงแต่ท่านเอาตำราหรือเอกสารที่อาจารย์ใช้สอนนักศึกษา(ถ้าหากจะมี)
วางเทียบกับตำรารัฐธรรมนูญของประเทศที่พัฒนาแล้ว ท่านก็จะเห็นความแตกต่าง ]
(๔) และในประการสุดท้าย เรา ต้องทราบถึงความเป็นจริง – reality
ที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่งได้แก่ สภาพสังคม /
สภาพของกฎหมายที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหาร / และ สภาพของชนชั้นนำ –
elite ในสังคม ; พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ ก่อนที่เราจะเริ่มต้น
“การปฏิรูปการเมือง” และ“การปฏิรุปประเทศ” เราต้องรู้จักตัวเราเอง
(ก) สภาพสังคมไทย สภาพสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความอ่อนแอ
เป็นสังคมที่อยู่ภายไต้ระบบอุปถัมภ์ที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน และขาด
“ประสบการทางการเมือง” ที่เกิดจากวิวัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ (
ผิดกับประชาชนของประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ) และ
สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรที่ยังยากจน ; ดังนั้น สภาพสังคมเช่นนี้ จึงเป็น
“โอกาส”ของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองในการที่จะซื้อเสียงจากคนส่วน
ใหญ่ของสังคม เพื่อเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ ได้โดยง่าย
(ข) สภาพของระบบกฎหมายพื้นฐาน
สภาพระบบกฎหมายที่เป็นพื้นฐานของระบบบริหารประเทศ อยู่ในสภาพพิกลพิการ
ทั้งในด้านการบริหารราชการประจำและในด้านการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็น “เอกราช”มาโดยตลอด
ไม่เคยตกเป็นประเทศในอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้น
กฎหมายว่าด้วยระบบบริหารพื้นฐานของประเทศและระบบการปกครองท้องถิ่นของเรา
จึงไม่ได้รับอิทธิพล จาก “รูปแบบ(กฎหมาย)” ของประเทศที่พัฒนาแล้ว
กลไกการบริหารงานประจำ(รวมทั้งระบบกระบวนการยุติธรรม)
และการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ที่พิกลพิการของเรา
จึงได้กลายเป็นเครื่องมือและตกอยู่ไต้อิทธิพล ของนักการเมืองนายทุน
ในระบบเผด็จการโดยงานพรรคการเมืองนายทุน(ประเทศเดียวในโลก)ได้โดยง่าย
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบการปกครองท้องถิ่น และระบบงานราชการประจำ
เป็นกลไกพื้นฐานทางการเมืองให้แก่ “สถาบันทางการเมือง”
โดยเป็นกลไกที่ถ่วงดุลอำนาจ และทำให้ระบบการบริหารของประเทศ มีความโปร่งใส -
เปิดเผย ซึ่งตรงกันข้ามและกลับกันกับสภาวการณ์ในประเทศไทย
(จากพื้นฐานที่พิกลพิการอยู่แล้ว) “รัฐบาล”ในช่วงระยะเวลา ๑๗
ปีในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน
ยังได้ทำให้ระบบการปกครองท้องถิ่นและกลไกประจำทางราชการ เป็นฐานของ
“หัวคะแนน” และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุน ดังนั้น
การคอร์รัปชั่นจึงได้ขยายตัวและกระจายไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง
รวดเร็ว
(ค) สภาพชนชั้นนำ – elite ของคนไทย
อยู่ในสภาพที่ต่างคนต่างเห็นแก่ตัว และขาดคุณภาพ คือ
เรามีนักการเมืองนายทุน ที่แสดงให้เห็น
“พฤติกรรม”ในการฉวยโอกาสจากสภาพสังคมที่อ่อนแอและการมีนักวิชาการที่ขาด
คุณภาพ
ด้วยการสร้างระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน(ประเทศเดียวในโลก)ขึ้น
และทำให้คนทั้งประเทศเข้าใจว่า ระบบนี้
เป็นกลไกที่ถูกต้องของความเป็นประชาธิปไตย
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการผูกขาดอำนาจและแสวงหาความร่ำรวยในกลุ่มนักการ
เมืองนายทุน
เรามี คณาจารย์นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของไทย
ที่มีความรู้ที่ แตกต่าง(ต่ำกว่า)
กับระดับมาตรฐานของประเทศเทศที่พัฒนาแล้วมาก
และหลงอยู่ในความคิดของความเป็นประชาธิปไตยในสมัยมองเตสกีเออ เมื่อ ๒๕๐
ปีก่อน โดยไม่รู้ว่า ในปัจจุบันนี้
นิติปรัชญาและวิชานิติศาสตร์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้พัฒนาไปไกลเพียงใด
นักกฎหมายและนักวิชาการของเราจำนวนมาก ขาดทักษะทาง “ภาษา”
ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงตำราที่ได้มาตรฐาน(ภาษาต่างประเทศ)
ของประเทศที่พัฒนาแล้ว และทำให้ “มาตรฐานความรู้”ของเรา
แตกต่างกับความรู้ของวงการวิชาการของประเทศที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศ
ทมหาอำนาจ ซึ่งนักวิชาการของเขาไม่มีอุปสรรคในการอ่านตำราภาษาต่างประเทศ ;
นอกจากนั้นแล้ว ยังมี “กรณี”ที่ปรากฏให้เห็นด้วยว่า
นักกฎหมายและนักวิชาการของเราที่ไปจบจากการศึกษาจากต่างประเทศในบางประเทศ
มีความรู้ทางภาษาศาสตร์ เพียง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ซึ่งทำให้นักกฎหมายของเรา
ขาดความลึกในความเข้าใจทางวิชาการ ทั้งนี้
โดยยังไม่พูดถึงนักกฎหมายและนักวิชาการ ประเภท “นิติบริกร”
ประเทศไทยไม่มีโครงการแปลตำราทางวิชาการอย่างกว้างขวาง เหมือนกับ
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไต้หวัน ประเทศจีน และประเทศเกาหลีไต้
ที่จะทำให้นักศึกษา(จำนวนมาก)หาความรู้ได้
โดยไม่ต้องเรียนภาษาต่างประเทศก่อน
[หมายเหตุ ความเป็นจริง เรื่อง
การต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปของนักวิชาการทางกฎหมายของไทย
สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่ยาก เพราะ เพียงแต่ เรานำเอกสาร ที่เรียกว่า “เอกสาร
- expose”ที่อธิบายเกี่ยวกับการเขียน (ออกแบบ)กฎหมา ย
ของประเทศที่พัฒนาแล้ว
ที่เขาทำกันเป็นปกติในเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติ มาวางเปรียบเทียบกับ
เอกสารการเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติของเรา เราก็สามารถรู้ได้ว่า
มาตรฐานและคุณภาพของนักวิชาการทางกฎหมายของเขากับของเรา
แตกต่างกันและห่างกัน(ไกล)เพียงใด ; เอกสาร – expose
(ในการเสนอร่างกฎหมาย)นี้ นักกฎหมายจะต้องทำคำอธิบาย
เปรียบเทียบโครงสร้างและกลไกในร่างกฎหมาย
กับโครงสร้างและกลไกในกฎหมายของประเทศอื่น
และต้องสามารถอธิบายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ และประชาชนทั่วไป
ทราบและมองเห็นได้ว่า โครงสร้างและ กลไกในร่างกฎหมาย
ที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติ(แต่ละฉบับ)นั้น จะทำให้ “จุดหมาย”
ของ(ร่าง)กฎหมายดังกล่าว สัมฤทธิผลได้อย่างไรและ เพียงใด ซึ่ง
ประเทศไทยไม่เคยมี “เอกสาร” ที่ถึงระดับนี้
ตัวอย่าง การเขียน(ออกแบบ)กฎหมาย (โดยมีความรู้ที่ไม่ถึงมาตรฐาน)
ที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้การบริหารประเทศพิกลพิการอย่างไร
ที่เห็นชัดเจนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ
กฎหมายว่าด้วยตำรวจและกฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรม(ทางอาญา) :
อันที่จริง มีกฎหมายที่สำคัญ ๆ
อีกจำนวนมากที่พิกลพิการและก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ในขณะนี้
แต่บังเอิญเพียงว่า เราคนไทยไม่รู้ว่า กฎหมายเหล่านี้พิกลพิการ เพราะว่า
วงการกฎหมายและวงการวิชาการของเรา ไม่รู้ ว่า
“กฎหมายที่ดี”ของประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามีกันอย่างไ ร
ท่านเคยถามตัวท่านเองบ้างหรือไม่ว่า ใน
“คดีคอร์รัปชั่น”ที่มีคนต่างประเทศให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของไทยในประเทศไทย
ทำไม ต่างประเทศเขาจึงสอบสวนและพิจารณาเสร็จไปแล้ว แต่ทำไม
กระบวนการสอบสวนของประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้น และไม่รุ้ว่าจะเสร็จเมื่อใด
(?) (?) ]
ชนชั้นนำประเภทสุดท้าย คือ เรามีชนชั้นนำ – elite
(ที่ไม่ใช่นักการเมือง)ที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่ง
แต่บังเอิญบุคคลเหล่านี้ของเรา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ
และขาดความรอบรู้ดังเช่น statesman ของประเทศอื่น;
ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่า
ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาของเรา(ประเทศเดียวในโลก)
ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ ด้วยการรับรู้และการสนับสนุนของ elite กลุ่มนี้ ;
และด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า บุคคลเหล่านี้
จะไม่สามารถช่วยคนไทยให้มองเห็น “ปัญหา” และ “วิธีการแก้ปัญหา”
ของระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุนในระบบรัฐสภา
(ประเทศเดียวในโลก)นี้ได้ ; และดูเหมือนว่า elite กลุ่มนี้ ได้ตกเป็น
“เครื่องมือ” และถูกอ้างอิงอยู่เสมอ ๆ
จากนักการเมืองนายทุนที่ต้องการจะรักษาระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองฯ นี้ไว้
ข้อ ๒.๓ “ ทางออก” ของคนไทย
ผู้เขียนมีความเห็นว่า “การปฎิรูปการเมือง” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
และต้องทำก่อนที่จะมี “การเลือกตั้งครั้งหน้า”
ซึ่งผู้เขียนไม่อาจทราบได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น จากการแข่งขันกัน
“ซื้อ”เสียงในระหว่างกลุ่มนักการเมืองนายทุน
ซึ่งต่างคนต่างก็ต้องการจะเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ
และแสวงหาความร่ำรวยด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น
ภายไต้ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน – ประเทศเดียวในโลก ของเรา
ผู้เขียนเห็นว่า การปฏิรุปการเมืองและการปฏิรูปประเทศ จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒ ครั้ง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรก จะเป็นการแก้ไข “รัฐธรรมนูญ”
เพื่อกำหนดรูปแบบขององค์กร และกำหนดกระบวนการ – process
ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (การปฏิรูปการเมือง) และในขณะเดียวกัน
ก็กำหนด “รูปแบบ”ของการบริหารประเทศในช่วงระยะเวลาของการปฏิรูปการเมือง
ให้เป็นประชาธิปไตย ตามมาตรฐานสากล คือ ส.ส.
ต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ของ ส.ส.
โดยไม่ตกอยู่ภายไต้อาณัติหรือการมอบหมายใด ๆ
บทบาทและการมีส่วนร่วมของคนไทยในการปฏิรูปการเมือง(เพื่อการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญฉบับใหม่) ได้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึง ความสามารถ / ความรู้ /
ความเชี่ยวชาญ / และ ข้อจำกัดในการขัดกันแห่งผลประโยชน์ – conflict of
interest ของแต่ละกลุ่ม
ตามหลักวิชาการและตามประสบการณ์ที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเคยใช้มาแล้ว
ส่วน การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สอง ได้แก่
การนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ที่เป็นผลงานที่มาจากการยกร่างขององค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นนี้
มาให้ประชาชนออกเสียงประชามติ “เลือก”เอา ระหว่าง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” กับ
“รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐” อันเป็นฉบับ ที่นักการเมืองนายทุนเรียกร้อง
อันที่จริง “ทางออก”ตามแนวทางนี้ ผู้เขียนได้เคยเสนอ
และเขียนคำอธิบายไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความเรื่อง
“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ(ฉบับปัจจุบัน) เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย”
ในปลายเดือน เมษายน ๒๕๕๓ คือ เมื่อ ๓ เดือนก่อน (
ก่อนที่จะมีเหตุการณ์รุนแรงสลายม็อบ ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓) : ดังนั้น
ผู้เขียนจึงจะไม่กล่าวและอธิบายซ้ำในที่นี้อีก ถ้าท่านประสงค์จะไปศึกษาแนว
“ทางออก”(พร้อมด้วยเหตุผล ) ก็ขอให้ท่านไปอ่าน “บทความ” ดังกล่าวได้จาก
เว็บไซต์ www pub-law.net ของท่าน ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
แต่ในโอกาสที่ผู้เขียนได้มาอภิปรายในครั้งนี้
ผู้เขียนก็เลยถือโอกาสนำเอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผู้เขียนได้เคยเสนอไว้แล้ว
ในบทความดังกล่าว มาปรับเขียนให้อยู่ใน “รูปแบบ” ของ(ร่าง)รัฐธรรมนูญ
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้กันในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา
โดยท่านอาจดูได้ เอกสารหมายเลข ๒ ท้ายบทความนี้
[ หมายเหตุ ความแตกต่าง
ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญในบทความก่อน(เดือนเมษายน)กับบทความนี้(เดือนสิงหาคม)
ก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญในบทความก่อนนั้น ผู้เขียนเขียน “แยก” บทมาตราต่าง ๆ
ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตาม “ความมุ่งหมาย”ของมาตรการที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
โดยผู้เขียนต้องการให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึง“วิธีการออกแบบ –
design(การเขียน)รัฐธรรมนูญ”ว่า
ในการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเมืองในแต่ละจุดหรือแต่ละความมุ่งหมายนั้น
เราสามารถทำให้เกิดขึ้นและบรรลุผลได้ ด้วยการกำหนดมาตรการต่าง ๆ
(หลายๆมาตรการ) ให้สอดคล้องกัน เพื่อไปสู่ความมุ่งหมายเดียวกัน ได้อย่างไร ;
แต่สำหรับในร่างรัฐธรรมนูญในบทความนี้
ผู้เขียนได้นำบทมาตราทั้งหมดเหล่านั้นมาเรียงลำดับเสียใหม่ เพื่อให้อยู่ใน
“รูปแบบ”ที่เป็นพิธีการสำหรับการเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติ ดังนั้น
บทมาตราต่าง ๆ ที่กำหนด“มาตรการ”ที่ไปสู่ความมุ่งหมายเดียวกันเหล่านั้น
จึงจะไม่รวมอยู่ด้วยกัน แต่จะบัญญัติกระจายอยู่ใน “หมวด”ต่าง ๆ
ของรัฐธรรมนูญ และ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงจะมองเห็น “ความมุ่งหมาย”ในการออกแบบ
(เขียน)รัฐธรรมนูญได้ยาก หรืออาจจะมองไม่เห็น เลย -
เมื่ออ่านหรือพิจารณาแยกจากกันเป็นมาตรา ๆ ไป เหมือน ๆ กับที่
คณาจารย์คณะนิติศาสต์และคณะรัฐศาสน์ในมหาวิทยาลัยเของรา
ที่อ่านรัฐธรรมนูญของต่างประเทศในยุคปัจจุบัน(rationalized system)
แต่มองไม่เห็นอะไร (นอกจากบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพ) เพราะไม่รู้จัก
form of government – ดู
หลักฐานได้จากเอกสารบันทึกรายงานการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ ]
ผู้เขียนขอเรียนย้ำไว้ในที่นี้เพียงว่า ตามความเห็นของผู้เขียน
“การปฏิรูปการเมือง (ระบบสถาบันการเมือง)” เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำโดยเร็ว
แต่สำหรับ “การปฏิรูประบบบริหารพื้นฐานของประเทศ” (เพื่อให้ เป็น
“การปฏิรูปประเทศ”)นั้น จะประกอบด้วยการปฏิรูปกฎหมายสำคัญหลายฉบับ
ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาต่อเนื่องไปอีก ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี ซึ่ง
ก็คงจะต้องทำต่อไปหลังจากการปฏิรูปการเมือง(ถ้ามี)แล้ว
แต่ “ข้อสำคัญ”ที่ท่านจะต้องทราบด้วย ก็คือ
แม้จะมีการปฏิรูปการเมือง(ถ้ามี)แล้วก็ตาม
“การปฏิรูประบบบริหารพื้นฐานประเทศ”ของประเทศไทย ก็ยังไม่สามรถเป็นไปได้
ถ้าหากไม่มีการยก ระดับ“มาตรฐานคุณภาพ ของนักกฎหมาย”ของ ประเทศไทย
ในปัจจุบัน
(ให้ถึงหรือใกล้เคียงกับมาตรฐานของนักกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว) ;
โดยในการออกแบบ (เขียน)กฎหมายแต่ละฉบับ นักกฎหมายของเรา
จะต้องมีความสามารถเขียน “คำอธิบายร่างกฎหมาย –
expose”(เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติ) ในเชิงของกฎหมายเปรียบเทียบ
(comparative law) และสามารถอธิบายให้ประชาชน เห็นได้ ว่า
“กลไกในร่างกฎหมาย”มุ่งไปสู่ความสำเร็จและการสัมฤทธิผลของจุดหมายของ (ร่าง)
กฎหมาย ได้อย่างไร
การตรากฎหมายของประเทศในอนาคต จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โดยต้องมีโครงสร้างและกลไก(ในกฎหมาย)ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ; ดังนั้น
ในการยกร่างกฎหมาย จึงจะต้องมี “กระบวนการ(ยกร่าง)”ที่โปร่งใส
ที่ช่วยให้ประชาชน (ที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย)
สามารถตรวจสอบและเข้าใจร่างกฎหมายได้ และ นั่นก็คือ
จะต้องมี“คำอธิบายร่างกฎหมาย” ของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายที่เป็นอิสระ
เป็นกลางและมีความรู้ (คือ ไม่ใช่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ โดยตำแหน่ง”
ที่แล้วแต่จะแต่งตั้งกันขึ้นมา )
สำหรับให้คนทั่วไปได้อ่านประกอบการเสนอร่างกฎหมาย
ตามวิธีการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาทำกันเป็นปกติ นั่นเอง ;
การที่จะได้กฎหมาย(ที่ดี)สำหรับประเทศ คงมิใช่ทำกันอย่างง่าย ๆ
ตามความต้องการและตามการกล่าวอ้างของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง(ด้วย
ความช่วยเหลือของนักกฎหมายประเภท “นิติบริกร”) แต่ “หมก”
กลไกของการแสวงหาอำนาจและการแสวงหาประโยชน์ ให้แก่ตนเองและพรรคพวก
ตามที่เราทำ ๆ กันอยู่ทุกวันนี้
-----------------------------------------------------------
บทสุดท้าย บทสรุปของการอภิปราย ว่าด้วย ข้อคิดจากนิทานอีสป เรื่อง “ แมวกับหนู”
เราคงจำนิทานอีสป เรื่อง แมวกับหนู ได้ ; เรื่องแมวกับหนูนี้
ภาษาอังกฤษ เขา เรียกว่า the Bell and the Cat – กระดิ่งกับแมว , หรือ
บางทีก็เรียกว่า Belling the Cat , หรือบางทีก็เรียกว่า the Mice in
Council
เรื่องมีอยู่ว่า บรรดาหนูมักจะถูกแมวแอบมาจับไปกินอยู่เสมอ
โดยเวลาที่แมวมา พวกหนูไม่รู้ตัวว่าแมวจะมาเมื่อไร
หนูจึงไม่สามารถหลบหลีกหรือหนีได้ทัน
ดังนั้น หัวหน้าหนู ก็เรียกประชุม(หนู) เรียกว่า เป็น “สมัชชาหนู -
the Mice in Council ” เพื่อให้หนูทุกตัวได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็นว่า
หนูจะทำอย่างไรดี จึงจะหนีอันตรายจาก เจ้าแมวตัวนี้ได้ ; ซึ่งวิธีการนี้
ดูคลับคล้ายคลับคลาว่า จะเหมือน ๆ กับ
“วิธีการ”ที่รัฐบาลของเราใช้แก้ปัญหาการเมืองของเรา
อยู่ในขณะนี้ โดยรัฐบาลของเรา ก็ตั้งคณะกรรมการ – Council
ขึ้นมาหลายคณะ เพื่อให้ประชาชนได้มีร่วมในการแก้ปัญหา และ แม้แต่รัฐบาลเอง
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ก็ยังอุตส่าห์
จัดโครงการรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ เรียกว่า “๖วัน - ๖๓
ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย” และแม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรีเอง
ก็สละเวลาไปนั่งรับโทรศัพท์ ฟังความเห็นจากประชาชน
ในการสัมมนาหนู บรรดาหนูต่าง ๆ
ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นกันมาอย่างหลากลายมากมาย และมี เจ้าหนูตัวหนึ่งเสนอ
“ความคิด”ขึ้นมาว่า ถ้าเอากระดิ่งไปแขวนคอแมวไว้ แมวมาเมื่อไร
เราพวกหนูก็จะรู้ตัวล่วงหน้า และเราก็จะได้หนีทัน ; ความคิดนี้
พวกหนูต่างก็ดีใจ และเห็นด้วยกันทุกตัว และต่างยกย่องสรรเสริญ
เจ้าหนูตัวที่เสนอความคิดนี้ว่า เป็นหนูที่มีความเป็นอัจฉริยะ ฉลาดที่สุด
ที่คิดออกมาได้ ; แต่ทว่า
ในขณะที่บรรดาหนูกำลังดีใจและสรรเสริญเยินยอเจ้าหนูตัวนี้กันยกใหญ่นี้เอง
ก็บังเอิญมีหนูตัวหนึ่ง ยกมือ(หาง)ขึ้นและถามขึ้นมาว่า หนูตัวไหน
ที่จะเอากระดิ่งไปผูกคอแมว ; ความจึงปรากฏว่า คำถามนี้ ไม่มีหนูตัวใด ตอบ
และเงียบกันไปทั้ง Council
นิทานเรื่องนี้ สอนอะไรให้เรา : ฝรั่งเขาบอกว่า
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า It is one thing to suggest and another thing
to do หรือ It is easy to propose impossible remedies
.
.. เราลองเอานิทานเรื่องนี้ มาเป็นอุทาหรณ์
เพื่อเปรียบเทียบดูกับสถานการณ์ของสังคมไทยในขณะนี้ดูบ้าง ว่า the Mice in
Council กับ the Thai Elite in Council ของเรา มีความเหมือนกัน หรือ
แตกต่างกันอย่างไร
เราคงจำได้ว่า ในปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ น(หลังเหตุการณ์
สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม) นายกรัฐมนตรีของเรา ได้ ประกาศแผนปรองดอง
หรือโรดแมป ๕ ประการ เพื่อนำไปสู่ “การปฏิรูปประเทศ”
และได้แต่งตั้งคณะกรรมการ – council ขึ้นมาหลายคณะ
และในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ก็จะมี คณะกรรมการ – councils ถึง ๓
คณะ คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ / คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป /
และ คณะกรรมการพิจารณาแนวทางในการแก้รัฐธรรมนูญ ; โดยในคณะกรรมการแต่ละชุด
มี “ประธาน” ที่เป็นบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากสังคม
และรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ให้ เป็นจำนวน ๖๐๐ ล้านบาท ใช้เวลา ๓ ปี ;
และตามข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์จนถึงขณะนี้ คณะกรรมการ - council
ดังกล่าวแต่ละคณะ ก็ได้เรียกประชุมกันมาแล้วหลายครั้ง และ ก็มีข้อเสนอ -
suggestions ขึ้นมาแล้วหลายประการ
ในที่นี้ เราคงจะไม่พูดถึงประเด็นว่า โรดแมป ๕ ประการ เพื่อนำไปสู่
“การปฏิรูปประเทศ”ของรัฐบาลนี้ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
มีความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมืองหรือไม่
และเราก็จะไม่พิจารณาว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรจะรู้หรือไม่รู้ ว่า
วิธีการเหล่านี้ จะทำให้เราปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมือง ได้หรือไม่
เพราะประเด็นนี้ ผู้เขียนได้ขอให้ท่านพิจารณามาแล้ว ในตอนที่ ๒
แต่ในหัวข้อนี้ เราจะลองมาพิจารณาดูว่า
“ชนนั้นนำ”ที่ได้รับมอบหมายจากนักการเมืองให้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น to
suggest ในการปฏิรูปประเทศ ว่า the Thai Elite in Council
(คณะกรรมการ)ที่รัฐบาลแต่งตั้งมานั้น ได้เสนอความเห็น (one thing to
suggest) โดย (คณะกรรมการ)ดังกล่าว ได้คิดต่อไปด้วยหรือไม่ ว่า
ความเห็นของตนที่เสนอมานั้น จะทำให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้หรือไม่
อย่างไร ( another thing to do)
จริงอยู่ ขณะนี้
อาจจะเร็วเกินไปที่จะมองเห็นถึงผลงานของคณะกรรมการเหล่านี้
เพราะเพิ่งจะเริ่มต้นของระยะเวลา ๓ ปี
ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้คณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เสนอความเห็น to
suggest ในการ “ปฏิรูปประเทศ” แต่ผู้เขียนคิดว่า
ข้อเสนอเท่าที่ปรากฏขึ้นในระยะต้นของการทำงานของคณะกรรมการนี้
ก็น่าจะทำให้เราพอมองเห็น “แนวทาง”และ
“ความคิด”ในการทำงานของคณะกรรมการเหล่านี้ได้ว่า
การทำงานของคณะทำงานอยู่ใน“แนวทาง”
ที่จะนำเราไปสู่การปฏิรูปประเทศและการปรองดองได้ หรือไม่
ใน ๗-๘ วันที่ผ่านมานี้(ปลายเดือนกรกฎาคม) หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าว
“ผลงาน”ของคณะกรรมการ ๒ คณะ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น คือ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
– คปร. ”และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป”
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ – คปร. ประธานคณะกรรมการฯ)ได้แถลงข่าวว่า
“................คณะกรรมการฯเห็นควร เสนอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิก พรก.
ฉุกเฉินโดยเร็ว ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล
แต่อย่างน้อย เราก็ทำหน้าที่ของเราแล้ว .........” และ
“คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ซึ่งกำหนดเรื่องที่จะต้องปฏิรูปไว้ ๕-๖
เรื่องด้วยกัน (คือ ปฏิรูปสังคม / ปฏิรูปการเมือง / ปฏิรูปกฎหมาย /
ปฏิรูปการศึกษา / ฯลฯ) ประธานคณะกรรมการสมัชชา
ก็ได้แถลงข่าวในปลายเดือนกรกฎาคมเช่นเดียวกันว่า
คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ไว้ ๑๔ ชุด (๑๔ sub – councils) ได้แก่
คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป /
คณะกรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนและสภาผู้นำชุมชนเพื่อการปฏิรูป /
คณะกรรมการเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูป /
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ใช้แรงงานและคนจนเมืองเพื่อการปฏิรูป / และ ฯลฯ
ผู้เขียนไม่ทราบว่า เมื่อท่านได้อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์แล้ว
ท่านผู้อ่านจะ มีความเห็นอย่างไร กับข้อเสนอของ คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ
แต่สำหรับผู้เขียน ผู้เขียนคงต้องขออนุญาต
ที่จะมีความเห็นที่แตกต่างไปจากท่านคณะกรรมการ ทั้งสอง
เพราะผู้เขียนไม่คิดว่า
ข้อเสนอของคณะกรรมการการทั้งสองจะทำให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือการปรองดอง
ได้ ; ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในการที่จะทำการปฏิรูปประเทศนั้น
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศก็ดี หรือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปก็
น่าจะต้องเริ่มต้น ด้วยการวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของปัญหา
ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกัน
อันเป็นต้นเหตุของความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปประเทศ เสียก่อน
ในตอนที่ ๑ ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ให้ความเห็นของผู้เขียนไว้ว่า
“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”(ประเทศเดียวในโลก)
ได้เป็นสาเหตุของความเลวร้าย - vice ทั้งหลายที่คนไทยเป็นอยู่ในปัจจุบัน ;
และดังนั้น ไม่ว่าท่านคณะกรรมการทั้งสองคณะ
จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เขียนก็ตาม ผู้เขียนก็เห็นว่า
การจะแก้ “ปัญหา”ใดๆก็ตาม ก็คงต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หา
“สาเหตุ”ของปัญหาอยู่ดี เพราะมิฉะนั้นแล้ว
ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องแล้ว เรา
ก็คงไม่สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (ให้ตรงกับสาเหตุ)ได้
ผู้เขียนไม่คิดว่า ข้อเสนอของ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ”
ที่ทำงานเริ่มต้นด้วยเสนอให้รัฐบาล ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยเร็วนั้น
เป็นข้อเสนอที่มีสาระพอ และอยู่ใน “แนวทาง”ที่จะนำไปสู่การ ปฏิรูปประเทศ ;
การที่จะประกาศใช้ หรือไม่ประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินในท้องที่ใด
เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็น(เพียง)
“ผล”ที่เกิดขึ้นจากความแตกแยกของคนไทย และเป็น “หน้าที่”
ของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบเอง ; ข้อเสนอของคณะกรรมการในเรื่องนี้
จึงเป็นข้อเสนอที่แก้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นการปัญหา ที่ปลายเหตุ
ดังนั้น ย่อมไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
อันเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของประเทศได้ ; ภาระหน้าที่ของ
“คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” คือ การเสนอวิธีการ เพื่อการปฏิรูปประเทศ ;
ผู้เขียนเห็นว่า
คณะกรรมการฯน่าจะต้องหาสาเหตุของความแตกแยกของคนไทยให้พบก่อน
ก่อนที่จะเสนอข้อเสนอ - to suggest (ทั้งนี้
ไม่ว่าคณะกรรมการจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับสาเหตุของความแตกแยกของคนไทย
ตามความเห็นของผู้เขียน หรือไม่ ก็ตาม)
และเช่นเดียวกัน ผู้เขียนก็ไม่คิดว่า วิธีการแก้ปัญหาของ
“คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ที่เริ่มต้นทำงานด้วยการตั้งสมัชชา – councils
อย่างมากมาย ถึง ๑๔ สมัชชา ; ถ้าหากหนู Mice in one Council
แก้ปัญหาแมวไม่ได้ Mice in ๑๔ Councils ก็แก้ปัญหาแมวไม่ได้เช่นกัน เพราะ
“หนู”ก็คือหนู สู้แมว
ไม่ได้อยู่ดี : ผู้เขียนได้ให้ความเห็นของผู้เขียนไว้ในตอนที่ ๒ ว่า
การแก้ปัญหาการเมืองของประเทศในปัจจุบัน ต้องการ
“ความรู้”ในระดับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ จะต้องรู้ถึง another
thing to do ไม่ใช่รู้เพียงแต่ one thing to suggest เท่านั้น ; และดังนั้น
การที่จะแก้ปัญหาด้วยการปฏิรูปประเทศหรือหาทางปรองดอง ก็ต้องหา
“สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญ” (เท่าที่เราจะมีได้ ) ให้พบเสียก่อน คือ ต้องหา
super mouse ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ทราบว่า ในประเทศไทย จะมี super mouse
สักกี่ตัว
ผู้เขียนเห็นว่า การแก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไม่ได้อยู่ที่
“จำนวน”ของสมัชชา ; ถ้าเราไม่สามารถหา“สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญฯ”ได้
ผู้เขียนก็คาดหมายว่า สิ่งที่คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป จะได้จากสมัชชาทั้ง ๑๔
สมัชชา ก็คือ ความคิดเห็น (suggestions)ที่หลากหลาย
จนจับสาระและเหตุผลไม่ได้ - many things to suggest
แต่ผู้เสนอเองอาจไม่รู้ว่าจะทำให้ข้อเสนอของตนนี้
เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร - how to do ; และในที่สุด “ ความคิดเห็น”
ที่รวบรวมได้จากสมัชชา ๑๔ ชุดเหล่านี้ ในอีก ๓ ปีข้างหน้า คือ ในปีพ.ศ.
๒๕๕๖ ( พร้อมกับหมดเงินงบประมาณของแผ่นดินไปแล้ว ๖๐๐ ล้านบาท
ตามที่รัฐบาลให้มาสำหรับ “การซื้อเวลา” เพื่อให้ Eliteของเรา มีอะไรทำ
-ให้วุ่น ๆ บ้าง เพื่อที่รัฐบาลจะได้อยู่ในตำแหน่งและแสวงหาประโยชน์ต่อไป )
ก็คงจะเหมือนกับ “ความคิด”ที่รัฐบาลรวบรวมได้ในโครงการของรัฐบาล “๖วัน ๖๓
ล้านความคิด”เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม (๒๕๕๓)
ที่ท่านนายกรัฐมนตรีกรุณาไปนั่งรับโทรศัพท์ด้วยตนเอง คือ
รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ ก็แล้วแต่รัฐบาลจะ “เลือก” และพร้อม ๆ กับการเลือก
ก็คือ การคงอยู่ของ “การคอร์รัปชั่น”
และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุน เจ้าของพรรคการเมือง
ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา – ประเทศเดียวในโลก
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ถ้าจะเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง the
Mice in Council กับ the Thai Elite in Council ผู้เขียนก็มีความเห็นว่า
ในนิทานอิสปนั้น Mice ( in Council) นั้น พวกหนูรู้ว่า
“แมว”มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร คือ หนูยังรู้ว่า แมวมี “คอ”
พอที่จะสามารถเอากระดิ่งไปผูกห้อยไว้ได้
เพียงแต่พวกหนูหาหนูตัวที่จะยอมตายเพื่อเอากระดิ่งไปผูกคอแมว ไม่ได้
เท่านั้น (เพราะหนูตัวนั้น รู้ตัวว่าต้องตายแน่ ๆ
โดยเอากระดิ่งไปผูกคอแมวไม่ได้ ) ; แต่สำหรับชนชั้นนำของคนไทย - the Thai
Elite in Council นั้น ปรากฏว่า
คณะกรรมการเหล่านี้ไม่ได้วิเคราะห์หา“สาเหตุ”ของความแตกแยกของคนไทย ว่า
เกิดจากอะไร ; ดังนั้น ชนชั้นนำของเราจึงยังไม่รู้จัก “แมว” คือ ไม่รู้ว่า
“ระบบสถาบันทางการเมือง - form of government”(แมว) คือ อะไร และ
ระบบสถาบันการเมืองของไทย (ระบบเผด็จการโดย
พรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา)
แตกต่างกับระบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศทั่วโลก อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ the Thai Elite in Council ก็เลยไม่รู้ว่า จะเอา
“กระดิ่ง”ไปผูกไว้ที่ส่วนไหน ของแมว คือ ไม่รู้ว่า จะปรับเปลี่ยน
rationalize system - ระบบ สถาบันการเมือง ได้อย่างไร
ผู้เขียนคิดว่า ชนชั้นนำ - Elite ที่มี”เจตนาดี”
และมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็น “เงื่อนไข”
ที่เพียงพอสำหรับการปฏิรูปประเทศให้คนไทย ; ผู้ที่จะปฏิรูปประเทศได้
จะต้องเป็นทั้ง ผู้มี “เจตนาดี” ที่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ
แต่ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มี “ความรู้” และมีความรอบรู้
พอที่จะวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจกับคนไทย ตลอดจนสามารถชี้นำคนไทย
(ด้วยเหตุด้วยผลและตรรก) ให้ไปสู่ การปฏิรูปประเทศ และ การปฏิรูปการเมือง
ได้ ; ใครก็ตามที่คิดจะ “เขยื้อนภูเขา” ผู้เขียนไม่คิดว่า
ผู้นั้นจะสามารถเขยื้อนภูเขาได้
ถ้าผู้นั้นยังอยู่ไต้ภูเขาหรือถูกภูเขาทับอยู่ และหนูก็คือหนู
ไม่ว่าจะเป็นหนูตัวเดียว หรือ หนู in Council ; It is one thing to suggest
and another thing to do.
ถ้าเราจะพิจารณาความเป็นมาของรัฐธรรมนูญของเราย้อนหลังไป ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๓๕ ( ซึ่ง เป็นปีต้นกำเนิดของ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน
ในระบบรัฐสภา – parliamentary system”ในประเทศไทย - ประเทศเดียวในโลก)
และตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยเรามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ๒ ครั้ง ในปี
พ.ศ. ๒๕๔๐ (และ พ.ศ. ๒๕๕๐) เราก็จะพบว่า ผู้ที่อาสาเข้ามา
“ปฏิรูปประเทศ”ให้คนไทยในขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ไม่ว่าจะเป็น
นักการเมืองนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งก็ดี หรือชนชั้นนำ - Elite
ที่ไม่ใช่นักการเมืองก็ดี ก็ดูเหมือนว่า ล้วนเป็น “ บุคคลเดิม ๆ”
ที่ได้สร้างระบบนี้ให้คนไทย และรักษาระบบนี้ไว้ เป็นเวลา ๑๗
ปีมาแล้วนั่นเอง
สรุป ก็คือ ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าหาก “ชนชั้นนำ”ของประเทศไทย
(นักการเมือง / นักกฎหมายและนักวิชาการ / Elite ที่ไม่ใช่นักการเมือง)
ยังอยู่ในสภาพเช่นนี้ ผู้เขียนก็ไม่คิดว่า ประเทศไทยจะปฏิรูปประเทศ
และทำความปรองดองให้เกิดขึ้นได้
“อีสป” เป็นบุคคลในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า และได้เล่านิทาน เรื่อง
แมวกับหนูและกระดิ่ง - Belling the Cat เพื่อสอนให้เรารู้จัก “วิธีคิด - It
is one thing to suggest and another thing to do”นี้ไว้เมื่อกว่า ๒๕๐๐
ปีมาแล้ว และทั่วโลก ได้ใช้นิทานของอีสปนี้ในการเรียนการสอนเด็ก ๆ
กันมาเป็นเวลานาน ; สำหรับประเทศไทยเรา กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้จัดให้มีผู้แปลเป็นภาษาง่าย ๆ สำหรับใช้สอน
“เด็ก”ในชั้นมูลศึกษาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕
แต่บางทีเมื่อเวลาผ่านไปและเราโตขึ้น เราอาจจะลืม ๆ กันไปบ้าง
ผู้เขียนก็เลยขออนุญาตเอานิทานเรื่องแมวกับหนูนี้
มาเล่าเพื่อเตือนความทรงจำของพวกเราอีกครั้งหนึ่ง
๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน