“ปราโมทย์” ชี้บางระกำภูมิประเทศเป็นแก้มลิงธรรมชาติ น้ำท่วมอยู่แล้วเป็นประจำ จะเข้าไปจัดการสู้กับน้ำไม่ได้ แนะสิ่งที่ทำได้คือต้องเข้าใจปัญหาทุกมิติ และเข้าถึงชาวบ้าน เพื่อปรับการใช้ชีวิตให้อยู่ร่วมกับปัญหาได้อย่างมีความสุข อัดไม่ใช่แค่ “แผนคิดคำนึง” นั่งประชุมแล้วก็ออกแผนมา ทำไปก็เสียสตางค์เปล่า
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา และนายบุญสนอง สุชาติพงศ์ โฆษกกรมชลประทาน ได้ร่วมพูดคุยในรายการ “คนเคาะข่าว”
นายปราโมทย์กล่าวว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา ควรใช้ศัพท์ว่าจัดการปัญหาน้ำท่วมจะดีกว่า คือที่ไหนอยู่ในวิสัยจัดการสู้ภัยได้ก็สู้ รับมือสู้กันเลย เช่น กรุงเทพฯ ถนนริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็เสริมให้สูง เพื่อให้เป็นคันกั้นน้ำ คลองก็มีประตูบังคับน้ำ มีสถานีสูบน้ำ นี่คือสู้ สู้ได้สู้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกที่สู้หมด อย่างบางระกำสู้อย่างไรก็สู้ไม่ไหว ต้องเข้าใจภูมิประเทศ สุโขทัยเชื่อมกับแพร่ แพร่ภูมิประเทศสูงเลยไม่ค่อยท่วม พอน้ำในแม่น้ำยมมาถึงสุโขทัย เข้าสู่พิจิตรซึ่งพื้นที่แบนราบ พอมาถึงบางระกำอันนี้แบนแต๊ดแต๋มันก็เลยท่วม เรียกว่าเป็นท้องกระทะ ภูมิประเทศอันนี้คือแก้มลิงโดยธรรมชาติ เป็นที่รวมของน้ำตามธรรมชาติ ไม่ควรสู้เพราะทุกปีก็เป็นอย่างนี้
นายปราโมทย์กล่าวอีกว่า ที่รัฐบาลบอกบางระกำโมเดลจะมีการทำวอเตอร์เวย์ หรือแก้มลิง บางระกำคือแก้มลิงอยู่แล้ว จะไปทำที่ไหน แก้มลิงอะไรกัน ภาครัฐไม่เข้าใจในพื้นที่ อยากจะพูดเลยว่าท่านทั้งหลายไม่เข้าใจธรรมชาติ ไม่เข้าใจความต้องการของประชาชน จะทำอะไรก็ต้องเข้าใจถึงความต้องการของเขา ไปหาเขาหรือเปล่า ฉะนั้นน้ำมวลใหญ่นี่จัดการไม่ไหว ธรรมชาติไม่อนุญาตให้จัดการเลย จัดการได้คือทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างมีความสุขกับปัญหาที่มี
บางพื้นที่ที่เกิดภัยแบบไม่เคยมาก่อน ทางรัฐก็ไม่เอามาเป็นบทเรียน ภัยน้ำป่าไหลหลากมีวิธีเดียวคือหลบภัย อย่าไปสู้ อย่าไปอยู่ให้สอดคล้องธรรมชาติเด็ดขาด มันก็มีพื้นที่เสี่ยงภัย สังเกตบ้านที่ถูกน้ำป่าไหลหลากกวาดไป มักตั้งตรงลำน้ำที่มีความโค้ง เวลาน้ำมามันก็ไปตามความโค้ง แต่ถ้ามาเยอะๆ ก็แหกโค้ง เหมือนรถ บ้านเรือนที่ตั้งตรงนั้นก็ถูกกวาด
“เข้าใจต้องเข้าใจทุกมิติ เข้าใจปัญหา ปัญหาที่แท้คืออะไร เข้าใจธรรมชาติ ภูมิประเทศ เรื่องราวสังคม เข้าใจประวัติศาสตร์ ทุกๆมิติ ไม่อย่างนั้นก็ออกแผนคิดคำนึงอีก นั่งประชุมกันแล้วก็ออกแผน เข้าถึงสักแค่ไหน ต้องเข้าถึงรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง 2 อย่างนี้เป็นหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ต้องเข้าใจก่อน และเข้าถึง” นายปราโมทย์กล่าว
นายปราโมทย์กล่าวว่า การจัดการปัญหาขาดแม่ทัพที่เข้าใจยุทธศาสตร์ แม่ทัพต้องมีพลัง มีความเข้าใจทุกมิติ นายกฯสั่งเองไม่ได้ เพราะไม่ว่าท่านไหนก็ไม่รู้เรื่อง มันเป็นปัญหามาชั่วนาตาปี บางระกำ สามง่าม บางบุญนาค ควรมียุทธศาสตร์จัดการอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ไม่ใช่ไปต่อสู้มันไม่ไหว
การตั้งถิ่นฐานบางครั้งต้องโน้มน้าวให้ชาวบ้านปรับ ช่วยได้ระดับไหนก็ว่าไป หรือโยกย้ายให้พ้นจากพื้นที่น้ำท่วมได้ก็ควรทำ ไม่ใช่ปล่อยให้อยู่แล้วเอาเงินลงไป
ปัจจุบัน อนาคต อากาศแปรปรวนมาก ความไม่แน่นอนเรื่องภัยธรรมชาติ จะเกิดอีกมาก ต้องให้ความรู้ชาวบ้าน อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) ต้องทำงาน คิดว่าท่านก็อยากจะรู้แต่ไม่มีใครไปเชื่อมโยงกับท่าน ประชาชนสำคัญจัดการตัวเขาเองได้ถ้ามีความรู้ อันไหนหนักหนาสาหัสหน่วยงานของรัฐต้องเข้าใจด้วย ไม่ใช่อยู่ๆ ไปมีโมเดล เข้าใจอยู่ฝ่ายเดียว ชาวบ้านไม่ได้เข้าใจด้วย ถ้าจะมีก็ไปหาชาวบ้านสิ มันเป็นอย่างนี้จะเอาอย่างไร ทำอะไรให้ดีขึ้น อย่าทำเป็นแผนคิดคำนึงประชุมแล้วออกมาเป็นแผนมันไม่ได้ ฟังแล้วหดหู่ เข้าใจ เข้าถึงสำคัญสุด เพื่อเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทุกมิติ เวลานี้บางระกำใครรู้บ้างอะไรคือปัจจัยของปัญหา ผลักวิธีการเข้าไปมันก็เสียสตางค์เปล่า
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
วุฒิสภา ไม่เห็นด้วยตั้ง กมธ. ดูเหตุ 10 เม.ย. 53
ที่ประชุมวุฒิสภามีมติไม่เห็นด้วยกับการเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบการขอคืนพื้นที่ ถนนราชดำเนิน วันที่ 10 เมษายน 2553
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ พร้อมคณะสมาชิกวุฒิสภา เสนอที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาญัตติเรื่องการขอให้วุฒิสภา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและสอบสวนเหตุการณ์ที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ถนนราชดำเนิน อันเป็นเหตุให้มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่และประชาชนจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เพื่อตรวจสอบว่า การดำเนินการของรัฐบาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยในอดีต ทั้งนี้ สมาชิกต่างอภิปรายสนับสนุนและตำหนิการสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้มีการถกเถียงกันระหว่างสมาชิกทั้ง 2 ฝ่าย
ซึ่ง นายสิงห์ชัย ทุ่งทองส.ว. จังหวัดอุทัยธานี อภิปรายสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา อภิปรายไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้มีความซับซ้อนกับคณะกรรมาธิการหลายชุดพร้อมตั้งข้อสังเกตถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่า มาจากกลุ่มที่พยายามสร้างสถานการณ์ โดยท้ายที่สุด ที่ประชุมมีมติ 46 - 32 เสียง ไม่เห็นชอบในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดดังกล่าว
"วิเชียร-เพรียวพันธ์" ปมเงื่อนกฎหมายกับความ(ไม่)เป็นธรรม
By ปกรณ์
ถึงนาทีนี้ หากลองทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชนคนไทยทั้งประเทศ คงไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ปลด พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี จากเก้าอี้ ผบ.ตร. เพราะรองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง ออกตัวแรงเสียขนาดนี้ เรียกว่าถ้าเป็นรถก็ดอกยางไหม้ ถ้าไม่ย้ายก็ไม่รู้จะมองหน้ากันอย่างไรแล้ว
เช่นเดียวกัน หากมีการปลด "บิ๊กน้อย" พล.ต.อ.วิเชียร เรียบร้อย ว่าที่ ผบ.ตร.คนใหม่ก็ย่อมจะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ "บิ๊กออฟ" พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 1 ซึ่งเจ้าตัวเชื่อว่าตนเองนั้นอาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.วิเชียร ตั้งแต่เมื่อครั้งคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ขึ้นเป็น ผบ.ตร.เมื่อปีที่แล้ว
ปัญหา ณ เวลานี้จึงไม่ได้อยู่ที่ พล.ต.อ.วิเชียร จะถูกปลดหรือไม่ หรือ ผบ.ตร.คนใหม่จะเป็นใคร แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะปลดอย่างไร และทำไมถึงต้องรีบร้อนปลดกันตั้งแต่รัฐบาลยังไม่เริ่มงานจริงจังเลยมากกว่า
เอาประเด็นหลังก่อน เพราะเหตุผลไม่ค่อยซับซ้อน กล่าวคือสาเหตุที่ต้องเร่งเปลี่ยนตัว ผบ.ตร.ในช่วงนี้ และมีข่าวมาตลอดตั้งแต่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ก็เพราะ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะเกษียณอายุราชการในปีหน้า (พ.ศ.2555) ขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร มีอายุราชการยาวนานถึงปี พ.ศ.2556 เพราะฉะนั้นถ้าไม่เปลี่ยนตัว ผบ.ตร.เป็น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ภายในปีนี้ เจ้าตัวก็จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสเก้าอี้ ผบ.ตร.อีกแล้ว
เรื่องราวของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นั้น ไม่ควรมองในแง่ของการเป็นพี่ชายของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร (ดามาพงศ์) อดีตภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เพียงด้านเดียว เพราะหากพูดกันอย่างแฟร์ๆ แล้ว "บิ๊กออฟ" เติบโตในหน้าที่ราชการเพราะฝีมือล้วนๆ ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ผบช.ปส.) ในรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายชวน หลีกภัย
แม้ในห้วงของการไต่ตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร. และ รองผบ.ตร. จะมีการแต่งตั้งแบบนอกวาระปกติเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งในระนาบเดียวกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรนัก ถ้าพูดตามความเห็นของข้าราชการตำรวจน้อยใหญ่ในกรมปทุมวัน ต้องบอกว่าพลพรรคสีกากีส่วนมากให้การยอมรับในฝีไม้ลายมือ ความทุ่มเทในการทำงาน และบุคลิกอ่อนน้อมถ่อมตนของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อย่างไม่ต้องสงสัย
เรียกว่ามีแต่คนรัก ไม่ค่อยมีคนเกลียด ก็น่าจะพอสรุปได้!
และในห้วงของการแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นเป็นรักษาราชการแทน ผบ.ตร. (เพราะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนใน ก.ต.ช.ให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ทั้งๆ ที่นายกฯในขณะนั้น คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามเสนอชื่อหลายครั้ง) ตอนนั้น พล.ต.อ.ปทีป ยังอาวุโสน้อยกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เสียอีก
ต่อมาในการแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ขึ้นเป็น ผบ.ตร. ซึ่งตลอดชีวิตราชการเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เพิ่งออกมาเข้าไลน์ "พลตำรวจเอก" ในตำแหน่งประจำ ตร.เมื่อไม่กี่ปีมานี้ และเพิ่งได้เข้าแถวเป็น รองผบ.ตร.ไม่นาน ก็ยังมีข้อกังขาว่า พล.ต.อ.วิเชียร นั้น อาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ตามที่ฝ่ายการเมืองอ้างจริงหรือ
ฉะนั้นหากจะตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ขึ้นเป็น ผบ.ตร.ด้วยเหตุผลเพื่อ "คืนความเป็นธรรม" ก็ต้องถือว่า "ฟังขึ้น"
แต่ปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะวันนี้หรือสิ้นเดือนกันยายนนี้ เก้าอี้ ผบ.ตร.ไม่ได้ว่างลงเพราะ พล.ต.อ.วิเชียร เกษียณอายุราชการ แต่เจ้าตัวยังมีเวลาทำงานอีกถึง 2 ปี ประกอบกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ให้แต่งตั้ง ผบ.ตร.จากข้าราชการตำรวจที่อาวุโสสูงสุด เพียงแต่ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก (มาตรา 51)
ฉะนั้นเรื่องลำดับอาวุโสจึงเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" หาใช่ "กฎหมาย" คำว่า "ความเป็นธรรม" จึงต้องพิจารณาประกอบพอสมควรว่าเป็นความเป็นธรรมแง่ไหน
เพราะที่ผ่านมาก็มีบทพิสูจน์มากมายว่าหลายเรื่องที่ไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย แต่ก็ไม่มีความเป็นธรรม!
ประเด็นต่อมาคือการปลด ผบ.ตร.จะทำอย่างไร เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดช่อง "ตรงๆ" ให้ฝ่ายการเมืองทำได้ง่ายนัก ตรวจสอบดูใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และแนวปฏิบัติของฝ่ายการเมืองที่ผ่านมา จะพบว่ามีอยู่ 2 ช่องทาง คือ
หนึ่ง มาตรา 62 การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น จะกระทำได้เมื่อเจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการหรือหน่วยงานต้องการจะรับโอนผู้นั้น...ฯลฯ แต่ช่องทางนี้ดูจะถูกปิดไปแล้ว เพราะมีข่าวว่าการต่อรองตำแหน่งใหม่ของ พล.ต.อ.วิเชียร ไม่ลงตัว และล่าสุด พล.ต.อ.วิเชียร ก็ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออก (จากตำแหน่ง ผบ.ตร.)
สอง มาตรา 61 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการใด หรือสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
ช่องทางนี้ดูจะเข้าทีสำหรับฝ่ายการเมือง แต่การจะออกคำสั่งได้ต้องมี "เหตุ" เสียก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการย้ายไปช่วยราชการเฉยๆ ซึ่งไม่ขาดจากตำแหน่ง ผบ.ตร. หาก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้รับแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ก็เป็นได้แค่ "รักษาราชการแทน" เท่านั้น ไม่ได้เป็น ผบ.ตร.อย่างเต็มภาคภูมิว่างั้นเถอะ!
ฉะนั้นจึงต้อง "หาเหตุ" และ "เหตุ" ที่ว่านี้ก็คือ "ความผิด" อย่างน้อยต้องมีการชี้มูลความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งในอดีตไม่ใกล้ไม่ไกลก็เคยมีฝ่ายการเมืองทำกับอดีต ผบ.ตร.รายหนึ่งมาแล้ว...และสำเร็จเสียด้วย
นี่คือช่องทางตามกฎหมายที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "ช่องโหว่" ให้ฝ่ายการเมืองล้วงมือเข้าไป "ปรับ ลด ปลด ย้าย" ได้ถึงเบอร์ 1 กรมปทุมวัน ซึ่งแน่นอนว่าเกมเปิดคลิปบ่อนการพนันและยาเสพติดกันกลางสภา ก็น่าจะเป็นการ "หาเหตุเพื่อการนี้" ซึ่งผลของมันอาจทำให้ พล.ต.อ.วิเชียร ยอมฮาราคีรีตัวเอง เข้าข้อกฎหมายมาตรา 62 ได้เหมือนกัน
ข่าวแว่วว่าถ้าหมากเกมนี้ "บิ๊กน้อย" ยังไม่ถูกน็อค พรรคเพื่อไทยยังมีข้อกล่าวหาว่าด้วยเรื่อง "งบลับ" รออยู่อีกเป็นคิวต่อไป
และหากดำเนินการต่อไปได้จนสุดทาง ย่อมตอบคำถามเรื่องข้อกฎหมายได้ระดับหนึ่ง แต่จะตอบคำถามเรื่องความเป็นธรรมได้หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่อง...
น่าคิดว่าการคืนความเป็นธรรมให้กับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ โดยการก่อความไม่เป็นธรรมใหม่ขึ้นมา จะเรียกว่าความเป็นธรรมได้หรือ?
///////////////////////////////////////////////////
ถึงนาทีนี้ หากลองทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชนคนไทยทั้งประเทศ คงไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ปลด พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี จากเก้าอี้ ผบ.ตร. เพราะรองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง ออกตัวแรงเสียขนาดนี้ เรียกว่าถ้าเป็นรถก็ดอกยางไหม้ ถ้าไม่ย้ายก็ไม่รู้จะมองหน้ากันอย่างไรแล้ว
เช่นเดียวกัน หากมีการปลด "บิ๊กน้อย" พล.ต.อ.วิเชียร เรียบร้อย ว่าที่ ผบ.ตร.คนใหม่ก็ย่อมจะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ "บิ๊กออฟ" พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 1 ซึ่งเจ้าตัวเชื่อว่าตนเองนั้นอาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.วิเชียร ตั้งแต่เมื่อครั้งคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ขึ้นเป็น ผบ.ตร.เมื่อปีที่แล้ว
ปัญหา ณ เวลานี้จึงไม่ได้อยู่ที่ พล.ต.อ.วิเชียร จะถูกปลดหรือไม่ หรือ ผบ.ตร.คนใหม่จะเป็นใคร แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะปลดอย่างไร และทำไมถึงต้องรีบร้อนปลดกันตั้งแต่รัฐบาลยังไม่เริ่มงานจริงจังเลยมากกว่า
เอาประเด็นหลังก่อน เพราะเหตุผลไม่ค่อยซับซ้อน กล่าวคือสาเหตุที่ต้องเร่งเปลี่ยนตัว ผบ.ตร.ในช่วงนี้ และมีข่าวมาตลอดตั้งแต่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ก็เพราะ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะเกษียณอายุราชการในปีหน้า (พ.ศ.2555) ขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร มีอายุราชการยาวนานถึงปี พ.ศ.2556 เพราะฉะนั้นถ้าไม่เปลี่ยนตัว ผบ.ตร.เป็น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ภายในปีนี้ เจ้าตัวก็จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสเก้าอี้ ผบ.ตร.อีกแล้ว
เรื่องราวของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นั้น ไม่ควรมองในแง่ของการเป็นพี่ชายของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร (ดามาพงศ์) อดีตภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เพียงด้านเดียว เพราะหากพูดกันอย่างแฟร์ๆ แล้ว "บิ๊กออฟ" เติบโตในหน้าที่ราชการเพราะฝีมือล้วนๆ ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ผบช.ปส.) ในรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายชวน หลีกภัย
แม้ในห้วงของการไต่ตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร. และ รองผบ.ตร. จะมีการแต่งตั้งแบบนอกวาระปกติเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งในระนาบเดียวกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรนัก ถ้าพูดตามความเห็นของข้าราชการตำรวจน้อยใหญ่ในกรมปทุมวัน ต้องบอกว่าพลพรรคสีกากีส่วนมากให้การยอมรับในฝีไม้ลายมือ ความทุ่มเทในการทำงาน และบุคลิกอ่อนน้อมถ่อมตนของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อย่างไม่ต้องสงสัย
เรียกว่ามีแต่คนรัก ไม่ค่อยมีคนเกลียด ก็น่าจะพอสรุปได้!
และในห้วงของการแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นเป็นรักษาราชการแทน ผบ.ตร. (เพราะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนใน ก.ต.ช.ให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ทั้งๆ ที่นายกฯในขณะนั้น คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามเสนอชื่อหลายครั้ง) ตอนนั้น พล.ต.อ.ปทีป ยังอาวุโสน้อยกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เสียอีก
ต่อมาในการแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ขึ้นเป็น ผบ.ตร. ซึ่งตลอดชีวิตราชการเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เพิ่งออกมาเข้าไลน์ "พลตำรวจเอก" ในตำแหน่งประจำ ตร.เมื่อไม่กี่ปีมานี้ และเพิ่งได้เข้าแถวเป็น รองผบ.ตร.ไม่นาน ก็ยังมีข้อกังขาว่า พล.ต.อ.วิเชียร นั้น อาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ตามที่ฝ่ายการเมืองอ้างจริงหรือ
ฉะนั้นหากจะตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ขึ้นเป็น ผบ.ตร.ด้วยเหตุผลเพื่อ "คืนความเป็นธรรม" ก็ต้องถือว่า "ฟังขึ้น"
แต่ปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะวันนี้หรือสิ้นเดือนกันยายนนี้ เก้าอี้ ผบ.ตร.ไม่ได้ว่างลงเพราะ พล.ต.อ.วิเชียร เกษียณอายุราชการ แต่เจ้าตัวยังมีเวลาทำงานอีกถึง 2 ปี ประกอบกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ให้แต่งตั้ง ผบ.ตร.จากข้าราชการตำรวจที่อาวุโสสูงสุด เพียงแต่ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก (มาตรา 51)
ฉะนั้นเรื่องลำดับอาวุโสจึงเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" หาใช่ "กฎหมาย" คำว่า "ความเป็นธรรม" จึงต้องพิจารณาประกอบพอสมควรว่าเป็นความเป็นธรรมแง่ไหน
เพราะที่ผ่านมาก็มีบทพิสูจน์มากมายว่าหลายเรื่องที่ไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย แต่ก็ไม่มีความเป็นธรรม!
ประเด็นต่อมาคือการปลด ผบ.ตร.จะทำอย่างไร เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดช่อง "ตรงๆ" ให้ฝ่ายการเมืองทำได้ง่ายนัก ตรวจสอบดูใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และแนวปฏิบัติของฝ่ายการเมืองที่ผ่านมา จะพบว่ามีอยู่ 2 ช่องทาง คือ
หนึ่ง มาตรา 62 การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น จะกระทำได้เมื่อเจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการหรือหน่วยงานต้องการจะรับโอนผู้นั้น...ฯลฯ แต่ช่องทางนี้ดูจะถูกปิดไปแล้ว เพราะมีข่าวว่าการต่อรองตำแหน่งใหม่ของ พล.ต.อ.วิเชียร ไม่ลงตัว และล่าสุด พล.ต.อ.วิเชียร ก็ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออก (จากตำแหน่ง ผบ.ตร.)
สอง มาตรา 61 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการใด หรือสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
ช่องทางนี้ดูจะเข้าทีสำหรับฝ่ายการเมือง แต่การจะออกคำสั่งได้ต้องมี "เหตุ" เสียก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการย้ายไปช่วยราชการเฉยๆ ซึ่งไม่ขาดจากตำแหน่ง ผบ.ตร. หาก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้รับแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ก็เป็นได้แค่ "รักษาราชการแทน" เท่านั้น ไม่ได้เป็น ผบ.ตร.อย่างเต็มภาคภูมิว่างั้นเถอะ!
ฉะนั้นจึงต้อง "หาเหตุ" และ "เหตุ" ที่ว่านี้ก็คือ "ความผิด" อย่างน้อยต้องมีการชี้มูลความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งในอดีตไม่ใกล้ไม่ไกลก็เคยมีฝ่ายการเมืองทำกับอดีต ผบ.ตร.รายหนึ่งมาแล้ว...และสำเร็จเสียด้วย
นี่คือช่องทางตามกฎหมายที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "ช่องโหว่" ให้ฝ่ายการเมืองล้วงมือเข้าไป "ปรับ ลด ปลด ย้าย" ได้ถึงเบอร์ 1 กรมปทุมวัน ซึ่งแน่นอนว่าเกมเปิดคลิปบ่อนการพนันและยาเสพติดกันกลางสภา ก็น่าจะเป็นการ "หาเหตุเพื่อการนี้" ซึ่งผลของมันอาจทำให้ พล.ต.อ.วิเชียร ยอมฮาราคีรีตัวเอง เข้าข้อกฎหมายมาตรา 62 ได้เหมือนกัน
ข่าวแว่วว่าถ้าหมากเกมนี้ "บิ๊กน้อย" ยังไม่ถูกน็อค พรรคเพื่อไทยยังมีข้อกล่าวหาว่าด้วยเรื่อง "งบลับ" รออยู่อีกเป็นคิวต่อไป
และหากดำเนินการต่อไปได้จนสุดทาง ย่อมตอบคำถามเรื่องข้อกฎหมายได้ระดับหนึ่ง แต่จะตอบคำถามเรื่องความเป็นธรรมได้หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่อง...
น่าคิดว่าการคืนความเป็นธรรมให้กับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ โดยการก่อความไม่เป็นธรรมใหม่ขึ้นมา จะเรียกว่าความเป็นธรรมได้หรือ?
///////////////////////////////////////////////////
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน