บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ฮุนเซนโมเดล (สารส้ม)


การเดินทางเข้าไปปรากฏตัวร่วมกับฮุนเซนของ ทักษิณ ชินวัตร เกิดขึ้นในวาระเดียวกันกับการเลี้ยงฉลองของเหล่าบรรดาผู้ร้ายหลบหนีอาญาแผ่น ดินไทยหลายราย

ไม่ว่าจะเป็นนายอริสมันต์ที่ปรากฏกายบนเวทีเคียงข้าง กับนางดารณี หรือไม่เว้นแม้แต่นายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ผู้แสดงทัศนะจาบจ้วงอยู่เป็นขาประจำ

ทั้งหมดทั้งมวล เฮฮาร่วมกันกับทักษิณ ชินวัตร และแกนนำเสื้อแดง

แล้ว ยังจะปฏิเสธอยู่หรือ... ว่าทักษิณไม่รู้ไม่เห็นกับขบวนการก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และจาบจ้างดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย?

แล้ว ยังจะปฏิเสธได้หรือ... ว่าฮุนเซนไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ หรือร่วมขบวนการของทักษิณโจมตีราชอาณาจักรไทยในช่วงที่ผ่านมา? ไม่ว่าจะกรณีโจมตีชายแดน หรือการรับเลี้ยงดูผู้ร้ายหลบหนีอาญาแผ่นดินจากประเทศไทย

1) ฮุนเซนเลือก "ชินวัตร" เหนือกว่า "ประเทศไทย"

นาย อู วิรัค ประธานของศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา บอกว่า ทักษิณมีความสนใจมากในเรื่องการลงทุนในประเทศกัมพูชา เขาต้องการจะสานต่อการลงทุนในเกาะกง และเสริมสร้างการลงทุนในภาคอื่นๆ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

นายอู วิรัค ยังตั้งข้อสังเกตอย่างแหลมคมด้วยว่า ฮุนเซนมอบศรัทธาไว้กับพรรคเพื่อไทย และ "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนตระกูล "ชินวัตร" มากเกินไป ทั้งๆ ที่ พวกเขาเป็นเพียงด้านหนึ่งของการแบ่งแยกทางการเมืองในประเทศไทย "ผมเห็นว่าการเมืองที่เลือกข้างเช่นนี้เป็นอันตราย เพราะระบอบการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ"

2) ฮุนเซนโมเดล

ถึง เวลานี้ ท่าทีของทักษิณและฮุนเซนทำให้บทวิเคราะห์ว่าด้วย "ฮุนเซนโมเดล" ที่คุณคำนูณ สิทธิสมาน เคยวิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่าอาจจะถูกนำมาใช้กับประเทศไทย ดูจะคืบคลานใกล้เข้ามายิ่งกว่าเดิม

ส.ว.คำนูณ วิเคราะห์ไว้ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2552 ใจความสำคัญบางตอนว่า

"....ฮุนเซนโมเดล หมายรวมถึง แนวทางการเข้าสู่อำนาจ, การหาประโยชน์จากอำนาจ,

การ ต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจ ในแบบของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีตลอดกาลของกัมพูชา ซึ่งอาจจะเป็นที่ปรารถนาใคร่จะลอกเลียนแบบของอดีตผู้นำไทยบางคน อดีตผู้นำไทยบางคนนั้นจะรวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วยหรือไม่ ต้องใช้วิจารณญาณตอบเอง

แต่ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้แล้วในวันนี้ คือ การต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองกลับคืนมาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยกระดับจากการก่อการภายในประเทศมาสู่การดึงเอาอำนาจนอกประเทศมาเป็นส่วน หนึ่งของขบวนการต่อสู้แล้วโดยสมบูรณ์

...ถ้าจะเข้าใจสมเด็จฯ ฮุนเซน ต้องเข้าใจการเมืองของกัมพูชา ที่เดิมมีกษัตริย์ แม้จะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ก็ยังมีระบอบกษัตริย์ภายใต้อารักขาฝรั่งเศสอยู่ นั่นก็คือเจ้าสีหนุ

สมเด็จฯ ฮุนเซนเกิดเมื่อ 2494 ตอนนั้นกัมพูชาได้เอกราชใหม่ๆ ช่วงหลังสงครามโลก ตอนที่เป็นเด็กอยู่ในช่วงที่เจ้าสีหนุเปิดศึกฟ้องร้องเขาพระวิหารกับไทย เขาเป็นคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง จึงแตกฉานในทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง สันทัดในยุทธศาสตร์ยุทธวิธีคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะระบบการจัดตั้ง ที่เขานำมาใช้กับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในรูปแบบประชาธิปไตยวันนี้

ระบบ สีหนุล่มสลายเพราะพรรคคอมมิวนิสต์ หรือเขมรแดง ภายใต้การนำของนายพอลพต เข้ายึดครองกัมพูชาระหว่างปี 2518 - 2522 สมเด็จฯ ฮุนเซน เดิมเป็นทหารชั้นผู้น้อยในสังกัดเขมรแดง แต่โลกคอมมิวนิสต์ขณะนั้นเกิดความแตกแยกระหว่างจีนกับรัสเซีย เวียดนามที่โดยปกติสนับสนุนเขมรแดง ตัดสัมพันธ์กับเขมรแดงที่นิยมจีน เหมือนกับที่เวียดนามและลาวตัดสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่นิยมจีนใน ช่วงเวลาเดียวกัน สมเด็จฯ ฮุนเซนและพรรคพวกจำนวนหนึ่ง ภายใต้การนำของนายเฮงสัมริน -ที่บัดนี้เป็นสมเด็จเหมือนกัน "สมเด็จอัครมหาปัญญาจักรีเฮง สัมริน" -เลือกยืนข้างเวียดนาม ต่อมาก็หนีไปอยู่กับเวียดนาม ยกเข้ามาไล่ตีเขมรแดงออกจากอำนาจไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1978 หรือ พ.ศ.2521 และยึดครองอยู่ 13 ปีเศษ

สมเด็จฯ ฮุนเซนเริ่มต้นเข้าสู่อำนาจทางการเมืองเป็น รมว.ต่างประเทศ เมื่อปี 2522 จวบจนบัดนี้ เขาอยู่ในอำนาจเป็นเวลา 30 ปีพอดี

เมื่อ ปี 2535 เวียดนามถอนตัวออกจากกัมพูชา สหประชาชาติจัดการเลือกตั้งซึ่งมีกลุ่มและฝ่ายต่างๆ กลับเข้ามาสู่สนามการเมือง พรรคประชาชนกัมพูชา CPP แพ้พรรคฟุนซินเปคของเจ้านโรดมรณฤทธิ์ โอรสของเจ้าสีหนุ แต่สมเด็จฮุนเซนก็ยังได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 เพราะประกาศว่าหากไม่ให้อำนาจเขา ประเทศก็จะกลับเข้าสู่สงคราม เนื่องเพราะเขามีกองกำลังทหารเข้มแข็งที่สุด

พูดง่ายๆ ว่าเอาสันติภาพของประเทศเป็นตัวประกัน!

เหมือน ใครครับพี่น้อง.... ประเทศกัมพูชาในยุคนั้นจึงมีกษัตริย์เป็นประมุข และลูกชายกษัตริย์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ส่วนสมเด็จฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 จากนั้น สมเด็จฯ ฮุนเซนก็ใช้ยุทธวิธีหลากหลายรูปแบบสลายพรรคฟุนซินเป็ก ทั้งเงิน ทั้งอิทธิพล ส.ส.พรรคฟุนซินเป็คย้ายพรรคมา CPP ไม่น้อย เจ้ารณฤทธิ์ต้องการคานอำนาจทหารสายนิยมเวียดนาม จึงคิดจะดึงกองกำลังเขมรแดงกลับเข้ามาในกองทัพ จึงถูกสมเด็จฮุนเซนรัฐประหารเมื่อปี 2540 มีคนตาย 54 คน บาดเจ็บนับร้อย เจ้ารณฤทธิ์หนีไปต่างประเทศ สมเด็จฯ ฮุนเซนผงาดเป็นผู้นำหนึ่งเดียวที่มีอำนาจมากที่สุดตั้งแต่บัดนั้น เพราะหลังจากนั้นอีก 1 ปี มีการเลือกตั้งรอบใหม่ เขาชนะอย่างถล่มทลาย เป็นนายกรัฐมนตรีหนึ่งเดียวมาตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน

ในช่วงแรก เขาขอให้เจ้าสีหนุสถาปนาเป็นสมเด็จฯ ฮุนเซนเฉยๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประมุขเป็นเจ้าสีหมุนีที่อ่อนชั้นอ่อนเชิง กว่ามากนัก เขาจึงได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน" เมื่อตุลาคม 2550

...กษัตริย์สีหมุนีแตกต่างกับกษัตริย์สีหนุโดยสิ้น เชิง สมเด็จฯ ฮุนเซนไม่ผิด เพราะสมาทานลัทธิคอมมิวนิสต์มาแต่ต้น ไม่ได้จงรัก ภักดี หรือเห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว แต่เลือกที่จะไม่โค่นล้มในทันทีแล้วตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดี หันมาใช้ยุทธวิธีเลือกเชื้อพระวงศ์ที่ไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวงขึ้นมาเป็น กษัตริย์ แล้วอวยยศให้ตนเป็นเจ้า

...นี่แหละคือ ฮุนเซนโมเดล ใช้กองกำลังต่างชาติสนับสนุน, สนับสนุนเชื้อพระวงศ์ที่ไม่พร้อมให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์, ให้กษัตริย์ใหม่สถาปนาตนเป็นเจ้า, ใช้ระบบจัดตั้งแบบคอมมิวนิสต์คุมพรรค คุมประชาชน เพื่อรักษาอำนาจไว้ตลอดกาลภายใต้รูปแบบประชาธิปไตยตะวันตก - การเลือกตั้ง, เนื้อแท้ของระบอบคือเผด็จการรวมศูนย์อำนาจการเมือง-เศรษฐกิจและเปิดประเทศ จับมือกับกลุ่มทุนตะวันตกให้เข้ามาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรของชาติในทุกรูป แบบ..."

3) ส.ว.คำนูณ ยังทายทักไว้ตั้งแต่ครั้งกระโน้นด้วยว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการทักษิณนั้น "...หวังผลขั้นแรก คือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภา, พรรคการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณได้รับเลือกด้วยเสียงข้างมากเกินครึ่ง, นิรโทษกรรมทุกฝ่าย นำประเทศกลับไปสู่ช่วงก่อน 19 กันยายน 2549 หากไม่เป็นผลหรือสถานการณ์เอื้ออำนวย อาจถึงขั้นปฏิวัติประชาชน..."

ถึงวันนี้ เห็นภาพชัดแจ้งแดง

สุเทพ'ชี้แดงเชื่อมสัมพันธ์เขมรไร้ผล

'สุเทพ'ชี้แดงเชื่อมสัมพันธ์เขมรไร้ผล
'สุเทพ'บ่นเสียดายแดงลงทุนเชื่อมสัมพันธ์เขมรแต่ไร้ผล จับตาดูรบ.เริ่มเจรจาผลประโยชน์ทางทะเล ไม่หวั่นรัฐบาลเอาตั้งกระทู้คุยซกอาน มั่นใจแจงได้
         20 ก.ย.54 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงท่าทีของประเทศกัมพูชาในปัจจุบันซึ่งส่งผลด้านลบกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นที่ชัดเจนว่า สมเด็จฮุนเซน ได้เลือกข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย


         ดังนั้นสิ่งที่ สมเด็จฮุนเซน แสดงออกจึงสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ซึ่งน่าเสียดายที่ สมเด็จฮุนเซน กระทำการก้าวล่วงเข้ามาในการเมืองไทย และเป็นเรื่องที่เขาไม่ทำกัน
         ทั้งนี้ตนเสียดายที่ได้ลงทุนลงแรงไปมากในการเชื่อมไมตรีกับ สมเด็จฮุนเซน แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องติดตามความเปลี่ยนแปลง ใครจะมีความสัมพันธ์จะดีร้ายอย่างไร แต่ต้องไม่ให้ชาติเราขาดทุน
         ส่วนกรณีการตั้งข้อสังเกตเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องรอดูก่อนอย่าเพิ่งรีบสรุป สิ่งที่เขาเคยพูดคุยและเจรจากัน หรือที่กำลังจะเจรจาต่อไปข้างหน้ามีรายละเอียดอย่างไร แต่วันนี้มีอย่างหนึ่งการเจรจาระหว่างประเทศถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและเรื่องเขตแดนจะต้องมีการอนุญาตต่อรัฐสภา
         ส่วนกรณีที่กัมพูชาแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนแต่กลุ่มการเมืองแค่กลุ่มเดียวคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งเท่ากับว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาลจะส่งกระทบต่อความสัมพันธ์อีกนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ดูทีท่าว่าจะเป็นอย่างนั้น และคิดว่าน่าเสียดาย เมื่อถามย้ำว่าหากเป็นอย่างนี้ 2 ประเทศจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปคิดไกล เพราะถึงวันนั้นสมเด็จฮุนเซ็นอาจจะหมดแรง ที่กัมพูชาก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
         เมื่อถามว่ามีการมอบเหรียญให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัวนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องน่าแปลกใจ เพราะมีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด จึงถือเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อถามว่า 2 คนนี้เป็นคนไทยแต่ไปรับเหรียญเกียรติยศของกัมพูชา ในฐานะที่ทำคุณงามความดีให้นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคงไม่ต้องอธิบายอะไร และไม่ต้องตอบเพราะคนไทยก็จะรู้สึกและสัมผัสได้เอง
         เมื่อถามกรณีที่หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับมาจากประเทศกัมพูชา และได้มีตัวแทนจากกลุ่มบริษัทเชฟรอนเข้าพบนั้น ถือว่าเป็นการส่อนัยอะไรหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้จะต้องเป็นเรื่องที่จับตาดูเป็นพิเศษ การเจรจาระหว่าง 2 ประเทศเป็นเรื่องของหลักการ และเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีอะไรน่ากังวลใจ เพราะหลังจากมีการตกลงทั้ง 2 ประเทศแล้วก็ต้องไปดูในรายละเอียดว่าเขาได้พูดถึงการบริหารจัดการพื้นที่นี้อย่างไร เช่น จะแบ่งพื้นที่ว่าโซนไหนใครเป็นคนดูแล หรือจะเอาทั้งหมดตั้งเป็นบริษัทร่วมกัน ต้องดูบริษัททั้งหมดได้รับใบอนุญาตสัมปทานหรือไม่ ทั้งๆ ที่เขตแดนยังไม่ชัดเจน จะได้รู้ว่าเขาได้ไปอย่างโปร่งใสหรือไม่ และหากได้บริหารร่วมกันแล้วจะจัดการให้มีการประมูลใหม่หรือไม่อย่างไร ก็ต้องไปพูดคุยกันต่อ
         เมื่อถามว่าแม้ว่าจะมีการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 แต่คิดว่าจะมีช่องว่างตรงไหนที่สามารถให้รัฐบาลแอบไปดำเนินการบางอย่างได้โดยที่ไม่ต้องผ่านรัฐสภาได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าในหลักการคงเป็นไปได้ยาก ตนคิดว่าพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลจะร่วมกันบริหารอย่างไร จะแย่งผลประโยชน์อย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากัน แต่เราต้องตั้งคำถามและหาคำตอบว่าเขาจะบริหารอย่างไร เช่น กรณีพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ก็มีการตั้งบริษัทร่วมกัน 2 ประเทศ ซึ่งทุกอย่างต้องโปร่งใส
         ส่วนกรณีที่ทางพรรคเพื่อไทยเตรียมตั้งกระทู้กรณีที่นายสุเทพไปเจรจาลับกับ นายซกอาน นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องดี ตนก็จะได้ชี้แจง เพราะไม่มีอะไรที่ต้องเป็นเรื่องกังวลใจ
 
 
“เทพเทือก” ไม่หวั่นโอนคดี 13 ศพ ให้ตำรวจทำแทน
 คมชัดลึก






       นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการโอนคดี 13 ศพในเหตุการณ์ชุมนุมปี 2553  ให้ตำรวจดำเนินการแทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ตนคิดว่าในยุคนี้สมัยนี้ ถ้าใครจะบิดเบือนข้อเท็จจริงก็จะเป็นปัญหา ความจริงก็ต้องเป็นความจริงอยู่วันอย่างค่ำ ส่วนใครจะมาดูแลต้องไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ตนเชื่อในระบบการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้ว่าตัวบุคคลและบางกลุ่มจะน่าระแวงอย่างไรเราก็ต้องยึดระบบไว้ ส่วนตนเองก็พร้อมจะต่อสู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
โจมตีเสื้อแดงหวังสร้างลัทธิยึดครองประเทศ
       นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายขวัญชัย ไพพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดรระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกขอร้องไม่ให้ต่อต้านการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงว่า  นี่คือสิ่งที่ตนได้พูดไว้หลายครั้งว่าสิ่งที่เขาทำต้องเรียกว่าลัทธิ แต่ตนไม่รู้จะเรียกว่าลัทธิอะไร ซึ่งน่าจะเรียกลัทธิแดงไปก่อน วันนี้เขายังเดินหน้าสมคบคิดเพื่อให้ลัทธิแดงครองประเทศไทย ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องติดตามในสิ่งที่เขาทำและจะต้องตัดสินใจ
       นายสุเทพกล่าวว่า ตนขอเรียนว่ากระบวนการที่เขาทำมาทำอย่างเป็นระบบ มีทั้งพรรคการเมือง มวลชนและกองกำลังติดอาวุธ มีเงินทุนมหาศาลที่คอยให้การสนับสนุน มีการดำเนินการในต่างประเทศ ตนจึงบอกว่า ประชาชนคนใดที่ไม่เห็นด้วยให้ลัทธิแดงครองเมือง ก็ต้องตั้งสติร่วมมือกันให้ดี ไม่อย่างนั้นแล้วบ้านเมืองก็จะเสียหาย ส่วนจะเป็นการนำประเทศเข้าสู่การนองเลือดอีกครั้งหรือไม่นั้น ตนมองว่า เราต้องพยายามอย่าให้ประเทศเข้าสู่การนองเลือด เรายังมีโอกาสที่จะยังทำได้อยู่ ทุกภาคส่วน ประชาชน และทุกองค์กรต้องหาเวลามานั่งหารือกันว่าสถานการณ์อย่างนี้จะนำไปสู่อะไร เราคนไทยที่เป็นเจ้าของประเทศจะปกป้องบ้านเมืองของเราอย่างไร
       ส่วนกรณีนายนิสิต สินธุไพร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยอกมากล่าวว่าหลังวันที่ 5 ธ.ค.จะมีการพยายามล้มล้างรัฐบาลจึงขอให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวไว้ นายสุเทพกล่าวว่า สิ่งที่ตนกลัวที่สุดคือ คนเสื้อแดงจะล้มรัฐบาลมากกว่า แต่ยังไม่สามารถพูดในตอนนี้ได้ สิ่งที่ตนกลัวมากกว่านั้นคือการร่วมมือกันเล่นงานคนไทยและประเทศไทยให้อยู่หมัดซึ่งเป็นเรื่องที่ตนกังวลใจ
       "เขาก็ต้องเร่ง เขาก็กำหนดระยะเวลาไว้ในช่วง 3-4 ปีนี้ ที่เขาจะต้องยึดครองให้หมด"  นายสุเทพกล่าว
 
 
หวั่นรัฐบาลวางคนไม่เหมาะแก้ปัญหาไฟใต้
       นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลว่า ยังไม่ทราบว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร แต่หากดูจากที่รัฐบาลเลือกคนที่จะไปรับผิดชอบปัญหาแล้ว ยังไม่ถูกต้อง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะตนไม่เคยได้ยินพื้นฐานหรือประสบการณ์ของ พ.ต.อ ทวีในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาก่อน ซึ่งกรณีดังกล่าวน่าเป็นห่วงเพราะว่าครั้งที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็ประเมินสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ผิดพลาด กล่าวหาว่าเป็นโจรกระจอกและใช้หลักวิธีการในการแก้ปัญหาด้วยการอุ้มฆ่าเลยทำให้สถานการณ์บานปลาย วันนี้ก็เหตุการณ์คล้ายๆกับอดีต ที่นำคนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับจังหวัดชายเดนภาคใต้ปัญหาก็น่าจะซ้ำรอยเดิมกับอดีต
       นายสุเทพ ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกฯเสนอตัวต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯเพื่อเข้ามารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)แทนที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า กังวลใจ เพราะประวัติในการทำงานของ พล.อ.พัลลภ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ยังทิ้งรอยแผลอยู่ คงไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ ทั้งนี้ตามกฎหมายก็ระบุให้นายกรัฐมนตรีเป็นผอ.รมน.ถึงจะมอบหน้าที่ให้คนอื่นก็จะยังต้องรับผิดชอบเหมือนเดิม
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความแล้วว่าที่ปรึกษาไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ พล.อ.พัลลภ จึงเสนอให้ตั้งตนเองเป็นประธานที่ปรึกษาเพื่อจะได้มีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน นายสุเทพกล่าวว่า กฎหมายว่าอย่างไรก็ต้องปฎิบัติไปตามนั้น
       เมื่อถามย้ำว่า พล.อ.พัลลภ มีเหตุผลอะไรถึงกระตือรือร้นเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ นายสุเทพกล่าวว่า ตนไม่ทราบจริงๆเรื่องนี้ต้องไปถามท่านว่าท่านติดใจอะไรถึงอยากจะมาทำหน้าที่ผอ.รมน.และคงไม่สามารถที่จะไปคาดเดาได้ว่าพล.อ.พัลลภจะทำอะไรผิดหรือไม่เพราะพล.อ.พัลลภยังไม่ได้รับตำแหน่ง แต่ในความคิดทั่วไป คิดว่ายังมีผู้อื่นที่มีความเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งนี้ได้มากกว่า และประชาชนจะมีความสบายใจมากกว่า
       ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่จะมอบตำแหน่งผอ.กอ.รมน.ให้พล.อ.พัลลภ เพื่อตอบแทนที่นำส.ส.พรรคเพื่อไทยภาคอีสานชนะการเลือกตั้งหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบ ต้องไปถามเขาเอง ส่วนจะเป็นการพยายามใช้เรื่องความมั่นคงเพื่อมาสร้างฐานทางการเมืองหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตนสงสัยและจับตามองอยู่

รัฐธรรมนูญ?


โดย บ้านเมืองออนไลน์ ยายน พ.ศ.2554
คอลัมน์ : ปริทัศน์ : รัฐธรรมนูญ?

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นที่ยอมรับของประชาชน ในขณะเดียวกันเป็นโครงสร้างของประเทศ เพราะทุกอย่างต้องบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร กาญจนดล จะบอกลูกศิษย์เสมอว่าห้ามเรียกกฎมายรัฐธรรมนูญ แต่ให้เรียกว่ารัฐธรรมนูญเฉยๆ ไม่ต้องมีคำนำ

นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ ไม่ศึกษาและทำความเข้าใจกับรัฐธรรมนูญ ว่าทำไม? ต้องมีรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตราเป็นอย่างไร? มีปัญหาในการนำไปใช้หรือไม่อย่างไร? จะพูดถึงรัฐธรรมนูญก็ต่อเมื่อให้ประโยชน์อย่างไร? กับตนเอง และพรรคพวก?

ประชาชน จึงสบสนและไม่เข้าใจ ในการที่นักการเมืองจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ สื่อมวลชนก็มักจะเสนอข่าวเพื่อการค้ามากกว่าที่จะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ทำไม? จึงแก้กันบ่อยนัก แต่ละประเด็นมีที่มาอย่างไร? และเป็นประโยชน์กับประชาชนหรือไม่?     

รัฐธรรมนูญทุกฉบับของ ประเทศไทย มีที่มาจากต่างประเทศแถบตะวันตกทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย เพราะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่าง เป็นผู้ที่เคยไปศึกษาในประเทศเหล่านั้น บางเรื่องก็ลอกมาทั้งประเด็น บางเรื่องก็นำมาปรับปรุงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศ แต่ในระยะหลัง โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 นั้น ได้นำหลักการต่างๆ ไม่ว่าในเรื่องการตรวจสอบ ระบบการเลือกตั้งการประชุมสภาฯ และเรื่องอื่นๆ มาใส่ไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทย ที่ผิดหลักการก็คือการนำกฎหมายธรรมดามาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกฎหมาย อาญา

พิจารณาให้ละเอียดจะกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญไทยทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้นำหลักการต่างๆ มาจากประเทศอังกฤษ สหรัฐ เยอรมนี อิตาลี โดยเฉพาะฝรั่งเศส เนื่องจากตัวจักรสำคัญในการร่างจบการศึกษาจากฝรั่งเศส การนำมาปรับใช้เป็นเรื่องดี แต่ต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของสภาพแวดล้อมในประเทศไทยให้ละเอียด เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาไม่มีใครรับผิดชอบ?

ที่ผ่านมาทั้งนักการเมือง และนักวิชาการมักโทษรัฐธรรมนูญ แต่ ไม่มีใครหันมาดูตัวเองเลยว่า เป็นเพราะคนไม่ใช่ระบบ!

รัฐ ธรรมนูญ 50 มีปัญหา เพราะเป็นรัฐธรรมนูญของคณะผู้ยึดอำนาจ หรือคณะรัฐมประหาร เมื่อ 19 ก.ย.49 เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญ 34 มีจุดอ่อน และข้อบกพร่องหลายจุด?

เห็นด้วยที่จะต้องมีการแก้ไขในบางประเด็น แต่ควรปรับระบบคิดของการแก้ไขเสียใหม่ เพราะถ้าทำในลักษณะเดิมก็หนีไม่พ้นที่จะพิจารณาแบบเดิม คือ ดูเป็นหมวดและรายมาตรา ซึ่งได้เรียนแล้วว่า เราได้ลอกเลียนมาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่?
เมื่อมีปัญหาก็ไม่รู้จะทำ อย่างไร? เพราะของต่างประเทศนั้น เขาพิจารณาจากสภาพแวดล้อม และประวัติศาสตร์ของเขา เราเอามาใช้ เมื่อมีปัญหาไม่มีทางออก ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ!
ใครมีเวลาก็อ่านดู เฉพาะฉบับสำคัญ 5-6 ฉบับ ก็จะพบความจริง จึงขอถือโอกาสเรียนผู้มีอำนาจว่า ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศและประชาชน ไม่ใช่คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด อย่าเหลิงอำนาจเหมือนคณะรัฐประหาร! ต้องโปร่งใสและเป็นธรรมในการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง!
ได้เคยเสนอไว้ตั้งแต่ การร่างรัฐธรรมนูญ 50 แล้วว่า การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.นั้นไม่ได้ประโยชน์ เพราะตั้งแต่พรรคพวกเข้ามา รัฐธรรมนูญจึงสนองประโยชน์ต่อกลุ่มของผู้ร่าง และผู้อนุมัติเท่านั้น ไม่โปร่งใสและเป็นธรรม นอกจากนั้นการตั้ง สสร.นั้น เปลืองงบประมาณ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน อย่าไปเอาอย่างเรื่องที่ไม่ดีของรัฐบาลชุดที่แล้ว ต้องแสดงจุดต่างให้ประชาชนเห็นว่าเป็นรัฐบาลของประชาชนจริง?
ประเทศไทยมี ปัญหามากมาย เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาตั้งแต่ 2,500 ทุกคณะได้ทิ้งปัญหาต่างๆ ไว้เหมือนดินพอกหางหมู บางเรื่องเป็นปัญหาวิกฤติของสังคมไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องค้นหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากที่รัฐบาลจะดำเนินการ ถ้ามีความจริงใจในการแก้ปัญหาจริง?
ได้เรียนให้ทราบแล้วว่า รัฐธรรมนูญเป็นโครงสร้างของประเทศ ทำไม? จึงไม่ศึกษาว่าประเทศไทยมีจุดอ่อนและข้อบกพร่องในด้านใดบ้าง ไม่ว่าในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตหรือมิติทางสังคม และด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ความเป็นธรรมในสังคม ระบบอุปถัมภ์ การคอรัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น?
เรามีผู้มีความรู้มากมายอยู่ในสถาบันการ ศึกษา และภาคเอกชน ทำไม? รัฐบาลจึงไม่เชิญคนเหล่านั้นให้ช่วยเหลือ? ขอแนะนำให้ที่ประชุมอธิการบดีทั่วประเทศเป็นเจ้าภาพทำการศึกษาในเรื่องนี้ เพราะมีทั้งงบประมาณ ทรัพยากรบุคคลที่เพียบพร้อม ให้เวลา 1 ปี น่าจะมีความเป็นไปได้สูง เพราะเป็นผลประโยชน์ของประเทศ และเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่โปร่งใสของรัฐบาลในการดำเนินการ!
เมื่อเสร็จ ภารกิจก็ให้ที่ประชุมอธิการบดีฯ ส่งผลการศึกษาไปให้รัฐบาล เพื่อดำเนินการต่อไป ในการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคงใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่แท้จริง
ไม่ควรเกิน 15 คน ให้เวลา 6 เดือน!
การ ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญควรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อาจใช้วิธีเสนอชื่อให้สื่อมวลชน และสังคมตรวจสอบก่อนก็ได้ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ และละเอียดอ่อน จะให้ใครก็ได้มาทำการร่างไม่ได้ เห็นได้จากการที่มี สสร.มา 2-3 ครั้ง ได้คนที่ไม่ได้รู้เรื่องรัฐธรรมนูญมาร่างทำให้เปลืองเวลา และเสียงบประมาณมากเกินไป!
ที่สำคัญคือขาดข้อมูลพื้นฐานที่เป็นความจริง ของสังคมไทยมาประกอบการพิจารณา ทำให้รัฐธรรมนูญมีจุดอ่อน เมื่อประกอบกับนักการเมืองที่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาเป็นองค์ประกอบ ยิ่งทำให้ประเทศมีปัญหามากขึ้น
ประชาชนกลายเป็นเหยื่อทางการเมืองมากขึ้น ถ้าเราไม่แก้ไขในจุดนี้!
จาก การศึกษาและประสบการณ์ที่มีอยากเรียนให้ทราบว่าแต่ละประเทศในโลกนั้น พยายามที่จะใช้คนน้อยที่สุดในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะพิจารณารอบคอบในแต่ละเรื่อง ผู้ร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐในครั้งแรก เป็นผู้แทนจาก 11 มลรัฐ ในขณะนั้นเพียง 55 คน แต่ผู้ร่างมี 3-4 คนเท่านั้น ส่วนฮังการีนั้น ซึ่งผู้เขียนมีประสบการณ์โดยตรง ใช้ดอกเตอร์ทางกฎหมายเพียง 2 คนเป็นผู้ร่าง!
(ฮังการีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์ เป็นประชาธิปไตย จำได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกมีเพียง 88 มาตรา)
รัฐ ธรรมนูญที่ดีไม่จำเป็นต้องยาว และลงในรายละเอียด เพราะจะมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ บังคับใช้ในแต่ละเรื่องกำกับอยู่ สำคัญที่สุดต้องมีความยืดหยุ่น ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องตีความ เพราะทุกมาตรามีที่มา และเจตนารมณ์ในตัวของมันอยู่แล้ว?
การที่มีข่าวในสื่อมวลชนเรื่องการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยผู้แทนของพรรคเพื่อไทย ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปในทิศทางต่างๆ เกิดความสับสนในหมู่ประชาชน พรรคเพื่อไทยจะต้องแถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะว่าแก้เพราะอะไร? เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างไรบ้าง? เพราะมิฉะนั้นจะเป็นปัญหาในด้านลบกับพรรคเพื่อไทยเอง!
ควรให้นักวิชาการของพรรคที่เข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอยู่หลายคนเป็นผู้ชี้แจงจะเหมาะสมกว่า!
เป็น เรื่องที่น่าหนักใจของคนไทยที่ประเทศนี้ได้แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายเรียบร้อยแล้ว การปรองดองเกิดขึ้นได้ยาก ถ้านักการเมืองยังใช้ระบบคิดแบบเดิม คือ เอาตัวเองเป็นหลัก!
รอเวลาที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้ว่ามีการโจมตีกันในสื่ออย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยไม่ได้นึกว่าขณะนี้ประชาชนเดือดร้อนแสนสาหัสจากน้ำท่วม!     
เรื่อง รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่ถ้าจะดำเนินการให้เหมาะสมและรอบคอบจะต้องใช้เวลาตามที่ได้เสนอ สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการมีมากมายไม่เฉพาะยาเสพติดเท่านั้น!
เยียวยาน้ำท่วมก็เร่งด่วน ค่าครองชีพสูงก็เร่งด่วน อย่ามัวไปยุ่งกับเรื่องที่ประชาชนได้รับประโยชน์น้อยจะดีกว่า!
ได้ เรียนให้ทราบตั้งแต่รับตำแหน่งแล้วว่า มีงานที่ทำแล้วประชาชนได้รับประโยชน์และมีความสุขอีกมาก ไปเอาใจใส่ในเรื่องที่ประชาชนเดือดร้อนดีกว่า เพราะนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศคงจะทราบดีว่า อุปสรรคในการบริหารประเทศของตนนั้นมีมากมาย!
การเอาประชาชนเป็นกำแพงให้พิงเป็นการดีที่สุด!
รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

ชำแหละ'5ปี-รัฐประหาร' 'กองทัพ'กรรโชกทรัพย์!! ประเทศยังไม่เคยมีปชต . อำนาจจริงอยู่ที่อำมาตย์



ครบ 5 ปี...พอดิบ-พอดี กับเหตุการณ์ 19 ก.ย. 2549 ที่ “ทักษิณ ชินวัตร” ถูกโค่นอำนาจ กระเด็นตกจากบัลลังก์ “นายกรัฐมนตรี” ด้วยน้ำมือของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือที่เรียกว่า “คปค.” ก่อนจะมีการปรับมาเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” หรือ “คมช.” ในเวลาต่อมา...โดยมี “พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” ผบ.ทบ.ในเวลานั้น เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ผ่านไปไวเหมือนโกหก...เพราะวันนี้...กลายเป็นว่า “น้องสาวทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวเข้ามาเป็น “นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ” และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 มีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ...ขณะที่ “พล.อ.สนธิ” ที่เคยยิ่งใหญ่ กลับเป็นเพียงส.ส.ธรรมดาคนหนึ่ง ในสภาผู้แทนราษฎรเดียวกัน
ณ นาทีนี้...ถ้าจะให้วิพากษ์วิจารณ์ อย่างตรงไปตรงมา ก็ต้องเป็นบุคคลที่พูดตรงๆ วิพากษ์ตามที่เห็น ก็คงหนีไม่พ้น “พล.อ.อำนวย ถิระชุณหะ” ตท.10 และที่ปรึกษาพิเศษพรรคเพื่อไทย และอดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ซึ่งว่ากันว่า เป็นคนที่ออกความเห็นแรงที่สุดคนหนึ่งในรุ่น ที่รู้ๆ กันดีว่าเป็นรุ่นเดียวกับ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “เขา” เคยออกมาคัดค้านการแต่งตั้ง “พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา” ในการมาดำรงตำแหน่งรมว.กลาโหม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 มาแล้ว
ความจริงจากปาก...“พล.อ.อำนวย” อาจบาดใจ “คนในพรรคเพื่อไทย” และ “คนในเครือข่ายอำมาตย์” แต่นี่คือสิ่งที่ “เขาคิด” ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้...โปรดติดตาม
Q : ประเทศไทยได้อะไรบ้าง หลังครบ 5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549
A : ผมว่ามันเป็นที่รู้อยู่แก่ใจว่า อะไรมันก็แย่ลงหมด ไม่มีอะไรดีขึ้น การรัฐประหารเป็นเพียงเครื่องมือของการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ คือล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แล้วประเทศไทยก็เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด เพราะฉะนั้นประเทศชาติก็ไม่ไปถึงไหน เพราะฉะนั้นหลัง 2475 อำนาจมันตกไปอยู่กลุ่มขุนนาง ที่เขาเรียกว่า “อำมาตย์” มันไม่ได้ตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นถ้ายังดื้อดึงกันต่อไปประเทศชาติก็จะตกต่ำไปเรื่อยๆ ผู้คนก็จะลำบาก มันต้องยอมให้รัฐบาลประชาธิปไตยบริหารประเทศ
Q : มีคนบอกว่าการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 จุดประสงค์หลักคือต้องการล้มพ.ต.ท.ทักษิณ 5 ปีผ่านไป คุณยิ่งลักษณ์-น้องสาวคุณทักษิณได้เข้ามามีอำนาจ แปลว่าการรัฐประหารที่ผ่านมาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
A : แสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้เห็นดีเห็นงามด้วย ซึ่งขณะนี้ฝ่ายโน้นก็ยังใช้กลไกแห่งอำนาจที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน เช่น องค์กรอิสระ กองทัพ มาเป็นเครื่องมือลิดรอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ทุกวันนี้กระบวนการก็เริ่มขึ้น มีข่าวว่ายอมให้ได้แค่ 6 เดือน คือกลไกเหล่านั้นไม่ใช่กลไกประชาธิปไตย
Q : จากการที่ไทยเปลี่ยนมือจากระบบประชาธิปไตยมาสู่ “ระบบขุนนาง” หรือ “อำมาตย์” ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระบบนี้ยังเข้มแข็งหรือโตขึ้นอยู่หรือไม่
A : ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตย อำนาจ ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจาก 2475 ในช่วงสั้นๆที่มีประชาธิปไตยก็คล้ายๆเผด็จการของกลุ่มทุน กลุ่มทุนก็ไปครอบงำพรรคการเมืองแล้วมีอำนาจผ่านพรรคการเมือง แสวงประโยชน์ แต่ช่วงประชาธิปไตยจำแลงผ่านไปสั้นๆ อำนาจจริงๆอยู่กับขุนนางหรืออำมาตย์เหมือนเดิม
Q : ตามข่าวที่บอกว่า กลุ่มอำมาตย์ให้เวลารัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำงานแค่ 6 เดือน โอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดตามคำกล่าวอ้างดังกล่าวมีมาก-น้อยเพียงใด
A : ถ้าใจผมคิด โอกาสเป็นไปได้เกินครึ่ง เกิน 50% เพราะว่ารัฐบาลปูบริหารเต็มไปด้วย “กับดัก-กับระเบิด” อย่างเช่น...อย่างที่จะมีการผ่านกระทรวงกลาโหมขึ้นมา การซื้ออาวุธมูลค่านับแสนล้าน งบผูกพัน คือประเทศไม่มีเงินอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพูดง่ายๆ “กองทัพกรรโชกทรัพย์ประชาชน” ไม่ใช่กรรโชกทรัพย์ใคร คือถามว่าไปรบกับใคร คุณตอบได้มั๊ย? ภัยคุกคามคือใคร ตอบได้มั๊ย?...ตอบไม่ได้
คุณจะซื้อเพื่อเอาผลประโยชน์อย่างเดียว อย่างไปซื้ออาวุธที่มันไม่ทันสมัย เหมือนเขาใช้จรวดรบกันแล้ว นี่ยังไปซื้อดาบมาฟันกัน อย่างผมยกตัวอย่างเช่น เรือดำน้ำ ที่เหล็กมันหมดอายุแล้ว ซื้อมา 6 ลำ 2 ลำไม่มีอะไหล่ เพราะมันคงหาอะไหล่ไม่ได้แล้ว ในขณะที่ยานไร้คนขับ มันมีตั้งแต่บนฟ้า บนดิน ผิวน้ำ ใต้น้ำ แล้วสามารถรับภารกิจได้หมด ราคาก็ถูก ทำไมไม่เสาะแสวงหา ดันไปซื้อเทคโนโลยีโบราณ  ยิ่งกองทัพบกยิ่งแย่ใหญ่ อย่างอาวุธต่อสู้รถถัง ที่ทันสมัยเป็นอาวุธปล่อยจากยานไร้คนขับ เหมือนในสงครามอิรัก จะบอกว่าเราหาเทคโนโลยีไม่ได้ เราไม่เคยมีเทคโนโลยี อย่างกองกำลังที่แข็งที่สุดของอิรักในสมัยซัดดัม ที่เรียกว่า “กองกำลังพิทักษ์ซัดดัม” ไอ้กองพันรถถังโดนยานไร้คนขับปล่อยอาวุธ 2 ลูก กองพันรถถังทั้ง 2 กองพัน เป็นอัมพาต กองพันถูกทำลาย กองพันที่ตามมาตกใจรีบกระโดดลงจากรถถังยกมือยอมแพ้ นี่เพียงรถถัง แต่เรายังไปมัวมะงุมมะงาหรา ซื้ออาวุธโบราณเพียงเพื่อผลประโยชน์ มันกรรโชกทรัพย์ของประชาชน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ากองทัพไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
Q : กองทัพกรรโชกทรัพย์ประชาชน ส่วนหนึ่งนอกจากการที่อาวุธไม่มีประสิทธิภาพแล้ว เพราะไม่มีรายละเอียดของโครงการมากพอหรือไม่
A : คือผมคิดว่าเหมือนกับซื้อเพื่อผลประโยชน์ เพราะ ฉะนั้นรู้อยู่แล้วในระบบทุนนิยม ท่านซื้อท่านจะได้คอมมิชชั่น ข้อที่ 2 มันเป็นการดึงเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดทำให้รัฐบาลเดินไม่ได้ รัฐบาลไม่สามารถทำตามนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชนได้ทั้งหมด แล้วผลจากการซื้อขายอาวุธส่วนหนึ่งก็ไปหนุนการเมืองบนถนน อย่างหน่วยข่าวเขาแจ้งเลยว่าการเมืองบนถนนรอบที่แล้ว ในรัฐบาลรอบที่แล้ว มันได้เงินส่วนหนึ่งมาจากเงินซื้ออาวุธ เพราะผลประโยชน์มันก็ไปแจกจ่ายในกลุ่มอำมาตย์ แล้วก็ลงมาสนับสนุนการเมืองบนท้องถนนเพื่อโค่นรัฐบาลประชาธิปไตย มันก็งูกินหาง เพราะฉะนั้นมันกระสุนนัดเดียว-นกสองตัว เป็นการช่วยล้มรัฐบาลได้ด้วย
Q : คือการเมืองบนถนนคือสีที่ไม่ใช่สีแดงใช่หรือไม่
A : อ๋อ...สีแดงมันจะมาได้ไงในเมื่อกลุ่มผลประโยชน์มัน....สีแดงมันหากันเอง มันก็ต้องคนละสี สีเหลือง สีน้ำเงิน สีอะไรพวกนั้น
Q : ส่วนตัวกลัวว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะซ้ำรอยรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือไม่ เกี่ยวกับกรณีที่ยอมกองทัพทุกอย่าง อนุมัติงบประมาณจำนวนมากให้ เพื่อหวังให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะรัฐบาลนี้ที่ยิ่งมีข่าวว่าขีดเส้นให้แค่ 6 เดือนเท่านั้น
A : ผมถึงบอกไง รัฐบาลตั้งด้วยความกลัว ไม่กล้ายุ่งกับนายทหารที่พัวพันกับการเข่นฆ่าประชาชน เพราะกลัวเขาไม่ให้ตั้ง (รัฐบาล) เมื่อตั้งรัฐบาลด้วยความกลัว มันก็แบบนี้แหละครับ กลัวเขาไม่ให้ตั้ง เขาก็ขี่คอ...ลองหักดิบสิ Q : รัฐบาลยิ่งลักษณ์น่าจะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในกองทัพตำแหน่งใด
A : ตอนนี้มันคิดได้ 2 แง่ 1.รัฐบาลยังไม่แข็งแกร่งก็คิดได้ว่า จะไปหักหาญ-ก็คงไม่กล้า แต่โอกาสที่รัฐบาลจะแข็งแกร่งก็ต้องใช้เวลานานและต้องทำตามนโยบายได้ครบ ไอ้นี่ก็เตะตัดขา ดึงเงินซื้ออาวุธ เพราะฉะนั้นเงินก็ไม่มี เศรษฐกิจโลกก็ตกต่ำ ก็ไอ้ 6 เดือนผมว่าเป็นไปได้สูง ตอนนี้ก็เริ่มแล้ว อะไรๆก็เริ่มแล้ว
“คนไทยเนี่ยความจำสั้น จำแป๊บนึงก็เออ...เออเปลี่ยนไปแล้ว ไปหลงหมด ลืมไปว่าอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลที่เข่นฆ่าประชาชน เป็นรัฐบาลที่ทุจริตกันมโหฬาร ไอ้โครงการไทยเข้มแข็ง...ลืมสนิท คนไทยลืมสนิท มันก็เป็นชะตากรรม ผมว่ามันเป็นเรื่องเศร้า แม้แต่คน ที่มาวางตัวเป็น “รมว.กลาโหม” ก็ยังวางตัวด้วยความกลัว ต้องเอาคนที่เข้าบ้านสี่เสาฯได้ ดูสิครับไอ้ที่โยกย้ายทหารเนี่ย รมว.กลาโหมสู้อยู่ตำแหน่งเดียว คือตำแหน่ง ‘ปลัดกระทรวง กลาโหม’ มันมีอะไรหรือเปล่า มันจะไปเชื่อมโยงผลประโยชน์จากการซื้ออาวุธที่กำลังจะเข้ามาในกระทรวงกลาโหม หรือเปล่า ผมว่าสังคมต้องจับตามมองในตรงนี้ ทำไมตำแหน่งอื่นกูไม่ยุ่ง ตำแหน่งนี้กูสู้ตายเลย ถึงให้กฤษฎีกาตีความ ผมอยากจะให้ช่วยไปสื่อถึงประชาชนหน่อย เพราะว่าเงินทองมันก็ของเรา แล้วก็...ถ้ามัวแต่รัฐประหาร ประเทศชาติไม่ไปไหน มันต้องฝึกให้คนซาบซึ้งในประชาธิปไตยที่มันกินได้
Q : การที่รมว.กลาโหมพยายามผลักดันคนที่ตนเองสนับสนุนมานั่งในตำแหน่งปลัดฯ เพื่อผลประโยชน์จากการจัดซื้ออาวุธในอนาคต
A : ก็พล.วิทวัส (รชตะนันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม)  เป็นเตรียมทหารรุ่น 11 กับพล.อ.เสถียร (เพิ่มทองอินทร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย) เขารุ่นเดียวกัน แต่เสถียรเขาอาวุโสกว่า เสถียรเขาอันดับ 2 ส่วนไอ้เจี๊ยบ (หมายถึงพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เสนาธิการทหาร) นั่นอันดับ 1  เขาก็ให้เป็นผบ.สส. อันดับ 2 เหล่าทัพเขาก็ดันมาเป็นปลัดฯ แต่รัฐมนตรีจะเอาอาวุโสอันดับ 3 คือพล.อ.วิทวัส แล้วสู้หัวชนฝา ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็บอกว่า เออ...มันก็คงน่าจะเป็นไปตามครรลอง คือให้พล.อ.เสถียรเขา แล้วลักษณะนี้ดื้อ ถึงจะให้กฤษฎีกาตีความกันอุตลุด แล้วอย่างนี้มันจะมองว่ามันจะไม่เชื่อมโยงผลประโยชน์จากการจัดซื้ออาวุธหรือ เปล่า ให้คนจับตาดูหน่อย มูลค่านับแสนล้าน งบผูกพัน แล้วซื้ออาวุธโบราณ
“เหมือนกองทัพบกคราวที่แล้ว ซื้อบอลลูนที่มันไม่ขึ้น ขึ้นทีต้องเติมฮีเลี่ยม 2-3 แสน เพราะมันรั่ว รั่วจนไม่รู้จะปะยังไงแล้ว ซื้อมา 30 ล้าน มันรั่ว จีที 200 ซื้อแล้วใช้ไม่ได้ ยานเกราะยูเครนซื้อแล้วใช้ไม่ได้ แล้วเนี่ยกองทัพซื้ออาวุธเต็มเลย ทหารเรือนี่ทยอยซื้อ ทหารบก กองพลทหารม้าที่ 3 ตั้งแล้ว กำลังจะรอซื้อฮ. เป็นกองพลทหารม้าอากาศเคลื่อนที่ บินทั้งกองพล เพื่อสนองพล.อ.เปรม (ติณสูลานนนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) อยากเห็นทหารม้าอีกกองพลก่อนตาย แล้วงบประมาณของชาติมันไม่รู้กี่หมื่นล้าน ไอ้ตรงนั้น อาวุธยิงรถถังที่เป็นข่าว อย่างที่บอกเขาใช้อาวุธปล่อยจากยานไร้คนขับ มันทำลายทั้งกองพันรถถัง แต่ไม่ซื้อ”
Q : ความพยายามในการบีบรัฐบาลจากการให้เวลาทำงานแค่ 6 เดือน กลุ่มอำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลังตามการข่าวโยงไปถึงบ้านหลายเสาหรือไม่
A : “บ้านหลายเสา” เป็นเพียงศูนย์กลางของกลุ่มอำมาตย์ แต่ “อำมาตย์” มันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่กว่านั้น ใหญ่จนพูดไม่ได้ พูดเดี๋ยวคุณกับผมก็ไปกินข้าวผัดโอเลี้ยงในคุก
Q : สิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อล้มรัฐบาลใน 6 เดือนได้ รูปแบบจะเป็นการปฏิวัติรัฐประหาร หรือรูปแบบอื่นอย่างตุลาการภิวัฒน์
A : ผมว่าการปฏิวัติเอารถถังมาวิ่งทำได้ลำบาก อย่างน้อยคลื่นมหาชนคนเสื้อแดงมันก็ออกมาต้าน แล้วอย่าลืมนะอย่างในยูโกสลาเวีย นายพลรัตโก มลาดิช แห่งเซอร์เบีย ที่ฆ่า 8 พันกว่าศพที่เมืองเซเบรนิกา ของบอสเนียเฮอร์เซโกวิน่า ตอนนี้ติกคุก ผ่านมา 10 ปีแล้ว คือโลกทั้งโลกมันไม่ได้บอกให้คุณทำอำนาจได้ตามอำเภอใจ เข่นฆ่าคนได้ตามอำเภอใจ เพราะฉะนั้นเวลา 10 ปี...แม้แต่เยอรมัน ฮิตเลอร์กว่า 100 ปี มันยังตามมาติดคุกเลย ที่หลบหนีไป 40-50 ปี คือมันยากที่จะทำแล้วหนีไป
“เพราะฉะนั้นไอ้ที่ง่าย คือใช้กลไกอำนาจของตัวเองที่ไม่ได้เชื่อมโยงรัฐธรรมนูญ เพราะกองทัพก็ไม่ใช่ ไม่ใช่กองทัพของประชาชน มันเป็นกองทัพของคนส่วนน้อย กองทัพของกลุ่มอำมาตย์ จะเรียกกองทัพ หรือกองกำลังติดอาวุธก็ได้ มันไม่ใช่กองทัพของประชาชน เพราะมันไม่เคยคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ แล้วองค์กรอิสระ ศาล ที่เรียก “ตุลาการภิวัฒน์” ก็ใช้ดุลยพินิจอย่างไร้มาตรฐาน ประชาธิปัตย์ทำผิดไม่ยุบพรรค ไอ้พรรคหนึ่งทำกับข้าวก็โดน คือไร้มาตรฐาน องค์กรอิสระเป็นเครื่องมือกลไกของอำนาจของอีกฝ่ายหนึ่ง ตรงนี้โอกาสที่จะใช้สูง แล้วตั้ง แท่นรออยู่แล้วนี่ จะยุบพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่เรื่อง “ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ” จ่ออยู่ในศาลแล้ว เพียงแต่ว่าจะกล้าหรือไม่กล้า คือเงื่อนไขมันรออยู่แล้ว
Q : รูปแบบที่น่าจะเกิดคือการยุบพรรคเพื่อนำไปสู่การล้มรัฐบาล
A : น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะถ้าออกมา (หมายถึงปฏิวัติรัฐประหาร) มันจะบาดเจ็บล้มตายกันเยอะ มันอาจจะคุมไม่อยู่ ผมว่าอำมาตย์เขากลัวนะ กลัวเป็นแบบในอาหรับ คือเหมือนเทวดาปกครองเมือง อย่างลิเบีย กัดดาฟีนอนเต้นท์ ไม่ขอเลื่อนเป็นพันเอก อยู่ลิเบียมา 50-60 ปี จากเทวดา กลายเป็นอสูร เป็นซาตานไป หรือบูมารักของอียิปต์ พวกนี้ทำอะไรทำเพื่อประชาชนนะ ไม่ได้กินกันอย่างมูมมามนะ ออกกฎหมายทำอะไรเพื่อประชาชน จะมีบ้างเผื่อวงศาคณาญาติก็แอบๆ ไม่โจ๋งครึ่มอย่างบ้านเรานะ Q : จะเตือนรัฐบาลให้ทำงานอย่างไรภายใต้สถานการณ์แรงบีบ 6 เดือน และเงื่อนไขยุบพรรคที่จ่อคออยู่ขณะนี้
A : ต้องทำตามนโยบายให้คนอยู่ดี ประชาชนจะเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก และอย่าให้มีเรื่อง เช่น คอรัปชั่น ซื้อขายตำแหน่งอะไรพวกนั้น เพราะมันไม่มีแบ็ค อีกฝ่ายหนึ่งทำได้ เฮ้ย...มึงทำได้ กูทำมั่ง...ไม่ได้ อีกฝ่ายมันมีแบ็ค มันทำอะไรก็ไม่ผิด เราบอกเราจะเอามั่ง เพราะฉะนั้นต้องควบคุมรัฐมนตรีให้ดี เห็นท่าไม่ดีต้องรีบปลดออก
“อย่างกรณีผมเป็นทหาร ผมอาจจะรู้เรื่องกระทรวงกลาโหม ถามว่ามีผลงานมั๊ย นอกจากเข้าบ้านหลายเสา แล้วเหตุการณ์ใต้ก็รุนแรงขึ้น แล้วใต้ก็บอกว่าของจริงน้อยกว่าครึ่งนะ เกินครึ่งของปลอมนะ อย่างระเบิดคาร์บอม 3 ลูกครั้งสุดท้าย ก็บอกเป็นกลุ่มผลประโยชน์เครือข่ายยาเสพติด เพราะฉะนั้นทำไมรมว.กลาโหมไม่ไปดูเลยว่า ไประดมสมองสิว่าไอ้ที่ทำมาทั้งหมดมันผิด มันไม่ดีขึ้น มีแต่เลวลง ตัวเองมาวุ่นอยู่กับการอยากได้ปลัดฯคนเดียว เพราะการซื้ออาวุธมันจะมาใช่มั๊ย มันน่าเศร้านะ ไอ้อย่างนี้มันต้องปลดทิ้งไวๆเลย มีแต่กะโหลก ไม่มีสมอง”
“ผมยังคิดเลยว่า ของฝ่ายตรงข้ามอะไรที่เขามีส่วนดี น่าจะเอาไว้มาผสมผสานกัน พอเป็นชาตินิยมตีตกหมดเลยไง ประชาชนก็ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ อย่างยกตัวอย่างชัดๆ เรื่องการจำนำข้าว การจำนำก็เหมือนกับรัฐบาลไปกว้านซื้อ เพราะดีมานด์ข้าวของโลกมันคงที่ หรืออาจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อตัวซับพลาย รัฐบาลไปกักไว้ ซับพลายมันก็น้อยลง สินค้าราคามันก็เพิ่มขึ้น เหมือนรัฐบาลจำนำก็เอาข้าวมาเก็บไว้ ข้าวในตลาดมันเลยน้อยลง ราคามันก็เลยเพิ่มตามกฎดีมานด์-ซับพลาย แต่น้ำท่วมค่อนประเทศ ถามว่าชาวนามีข้าวมาจำนำมาอะไรมั๊ย...มันไม่มี เพราะฉะนั้นมันต้องทั้งจำนำและประกันรายได้ด้วย จำนำก็จำนำไป แต่คนที่ประสบภัยพิบัติประกันรายได้เขาได้มั๊ย นาเขาเคยทำได้ไร่ละกี่ถัง ก็ประกันเป็นเงิน”
Q : อย่างตอนนี้รัฐบาลยิ่งลักาณ์โดนข้อกล่าวหาทำเพื่อคนๆเดียว ทำเพื่อเครือญาติ จะมีผลต่อรัฐบาลอย่างไร และเป็นจริงอย่างที่มีการกล่าวหาหรือไม่
A : ไอ้จริงหรือไม่จริง มันไม่มีใครประกาศมันก็รู้ได้ยาก แต่ถ้าถามในความรู้สึกว่ายังมีบทบาทมั๊ย (หมายถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ผมว่าทั้งประเทศก็คงตอบได้ตรงกัน ปฏิเสธไม่ได้ แต่ถามว่าบทบาทของท่านมันทำความหายนะให้กับประเทศหรือเปล่า...เปล่า มันเป็นประโยชน์กับประเทศ คนทำไมไม่มองท่านทำโน่นทำนี่ ทำแล้วมันดี คนจะอยู่ดีมีสุข แต่ถ้าท่านยังมีบทบาทและทำให้ประเทศลงสู่หุบเหวหายนะอันนั้นค่อยมาว่ากัน แต่อันนี้มันก็เป็นข่าวลึกๆว่ามีการไปสุมหัวกัน โดยเฉพาะรุ่น 12 ที่ไปเลี้ยงรุ่นเลี้ยงอะไร ข่าวมันก็รอดออกมา ตัวที่จะเป็นตัวจักรเนี่ย ก็คือเสธ. ซึ่งเดิม “ดาว์พงษ์” (รัตนสุวรรณ) เป็น โดยที่มาทำหน้าที่เป็นเลขาฯกอ.รมน.ด้วย มันไม่ใช่กองทัพอย่างเดียว มันคืบไปทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ผ่านเครือข่ายกอ.รมน.ด้วย
“ความคิดมีแน่ (หมายถึงปฏิวัติรัฐประหาร) แต่ถามว่ากล้ามั๊ย ไม่เข็ดกันบ้างเหรอ แล้วตัวเองฆ่าคนเพื่อลาภยศ ไม่รู้สึกอะไรบ้างเหรอ ในเมื่อเราเป็นชาวพุทธ ผมเชื่อในกฎแห่งกรรมนะ ผมก็จะเฝ้ามองว่าไอ้พวกนี้จะไม่ตายดี ไม่ว่า “ทรงกิตติ จักกาบาตร์” (ผบ.สส.) ในปี 2552  ที่ไปยิงที่ดินแดง ไม่มีศพเลย มีแต่คนหาย แล้วเขาคิดว่าศพไปโผล่ที่ระยอง แล้วก็เงียบไป แต่ปี 2553 มีทั้งศพ มีทั้งคนหาย แต่ครั้งหน้ามันไม่ง่าย เพราะไอ้คนที่ตาย...ส่วนใหญ่คนที่มาปราบกับคนที่ตายพูดง่ายๆเป็นไพร่เหมือน กัน ทหารที่เอามาปราบ ทหารตัวที่ปฏิบัติการคือทหารระดับล่าง ไอ้ตัวนายคุมบังเหียนอยู่ข้างบน ไอ้ระดับล่างก็ถูกหลอกว่าพวกนี้มันล้มในหลวง มันก็ยิงฉิบหายเลยสิ ไอ้ที่ตาย...ตายจากสไนเปอร์ทั้งนั้น บาดเจ็บ-ตายเกือบ 3 พันคน เท่ากับกระสุนที่จตุพร (พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแกนนำเสื้อแดง) บอก กระสุนที่ใช้ไปของสไนเปอร์”
Q : ถ้ายิ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่แตะตำแหน่งในกองทัพ จะการันตีได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย
A : ถ้าเป็นผมนะ เอาคดี 91 ศพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว ไอ้พวกนี้ตกจากอำนาจหมดแหละ เพราะมันเป็นจำเลย คือพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็เป็นพ.ร.ก.เถื่อน

กระบวนการนิติบัญญัติไทย

Thai Law Watch,

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้น รัฐสภาได้กลายเป็นสถาบันที่รวบรวมเอาเจตจำนงสูงสุดของประชาชนและเป็นผู้ใช้ อำนาจนิติบัญญัติ (legislature) ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล องค์กรนิติบัญญัติอาจมีได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบสภาเดียว (unicameral system) และแบบสองสภา (bicameral system) ระบบของไทยในปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไข) มีสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งจำนวน 500 คน และวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและจากการสรรหา รวม 150 คน โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ผู้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฝ่าย ได้แก่
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
  • ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
  • ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
การเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี เริ่มตั้งแต่กระบวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติจากส่วนราชการ กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้จัดทำ โดยหน่วยราชการอาจใช้ข้าราชการหรือนิติกรภายในหน่วยงานเป็นผู้ร่าง หรืออาจว่าจ้างนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยและมอบ หมายให้ผู้วิจัยทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายขึ้นด้วยก็ได้
หรือในบางกรณีฝ่ายการเมืองอาจเป็นผู้ริเริ่มให้มีร่างพระราชบัญญัติใหม่ หรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขกฎหมายเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ร่างกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในทางนโยบายการบริหารประเทศ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาลเป็นผู้ตรวจพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาแบ่งแยกออกเป็นกรรมการร่างกฎหมายต่างๆ จำนวน 12 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายจำนวนประมาณ 9 คน การประชุมแบ่งออกเป็น 3 วาระ ได้แก่
  • วาระที่ 1 การพิจารณาหลักการทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมาย
  • วาระที่ 2 เป็นการตรวจพิจารณารายมาตรา โดยจะเป็นการตรวจพิจารณาทั้งในแง่เนื้อหากฎหมาย (content) แบบของกฎหมาย (format) รวมถึงถ้อยคำที่ใช้
  • วาระที่ 3 เป็นการตรวจพิจารณาความสมบูรณ์ของร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ
เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่างกฎหมายกลับไปที่สำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีก ครั้งหนึ่ง ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการตรวจพิจารณานั้นมีการแก้ไขเล็กน้อยหรือเป็น การแก้ไขตามแบบการร่างกฎหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราช บัญญัตินั้นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) และสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามลำดับในระเบียบวาระ ยกเว้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีร้องขอไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ สภาพิจารณาร่างกฎหมายนั้นเป็นเรื่องด่วนซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อน การพิจารณาจะแบ่งเป็น 3 วาระตามลำดับ ได้แก่

วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ

ในวาระที่ 1 จะเป็นการพิจารณาว่าจะรับหลักการแห่งร่างกฎหมายนั้นหรือไม่ โดยให้ผู้เสนอร่างกฎหมายอภิปรายชี้แจงหลักการและเหตุผลต่อสภาผู้แทนราษฎร กรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งรับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติจะเป็นผู้เสนอร่างพระ ราชบัญญัติในนามคณะรัฐมนตรี จากนั้นจึงเปิดให้มีการอภิปรายคัดค้านหรือสนับสนุนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อการอภิปรายสิ้นลงสุดแล้วที่ประชุมจะลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่าง กฎหมายฉบับนั้นหรือไม่ ถ้าที่ประชุมมติรับหลักการก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 แต่ถ้าไม่รับหลักการ ร่างกฎหมายนั้นก็เป็นอันตกไป

วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการและการพิจารณารายมาตรา

การพิจารณาในวาระที่ 2 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ และการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ในขั้นตอนแรก คือการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ โดยมากจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ บุคคลภายนอกก็ได้ กรรมาธิการแต่ละคนอาจเพิ่มมาตราขึ้นใหมหรือตัดทอนหรือแกไขมาตราเดิมได แตตองไมขัดกับหลักการแห่งรางพระราชบัญญัตินั้น หากที่ประชุมคณะกรรมาธิการนั้นเห็นด้วยก็จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไป ตามนั้น แต่ถ้าคณะกรรมาธิการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และกรรมาธิการผู้นั้นยืนยันที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม กรรมาธิการผู้นั้นก็มีสิทธิ “ขอสงวนความเห็น” ของตนไว้เพื่ออภิปรายในที่ประชุมสภาให้ที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นโดยแสดงร่างเดิมและร่างที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา
ขั้นตอนที่สอง คือการพิจารณารายมาตราในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง ในการพิจารณานี้จะเป็นการพิจารณารายมาตราไปจนจบ ถ้ามีมาตราใดแก้ไขเพิ่มเติม หรือมีผู้สงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้ ก็จะหยุดการพิจารณาไว้ก่อน และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเฉพาะในมาตรานั้นๆเท่านั้น หลังจากนั้นสภาจะพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง

วาระที่ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย

ในขั้นตอนนี้ที่ประชุมสภาจะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย โดยจะไม่มีการอภิปรายใดๆ อีก หากลงมติเห็นชอบก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป แต่ถ้าผลการลงมติไม่เห็นชอบร่างกฎหมายก็จะตกไป
ในลำดับถัดมา สภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา วุฒิสภาจะมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง หนึ่ง เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างนั้นแล้ว ก็จะดำเนินการโดยการแบ่งเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ วาระที่ 1 ขั้นพิจารณารับหลักการ วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา (พิจารณารายมาตรา) วาระที่ 3 ขั้นลงมติ โดยที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาได้ลงมติขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา
ผลการลงมติในวาระที่ 3 ของวุฒิสภามี 3 กรณีดังนี้
  1. ในกรณีที่เห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไข ให้ถือได้ว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
  2. ในกรณีที่ไม่เห็นชอบ ต้องยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน แล้วส่งร่างคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งครบ 180 วัน สภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
  3. ในกรณีที่วุฒิสภาให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ วุฒิสภาต้องส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับทราบและเห็นชอบด้วยก็ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันที แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ ให้ทั้งสองสภาตั้งบุคคลที่มีจำนวนเท่ากันขึ้นเป็น “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง โดยต้องรายงานและเสนอร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วต่อทั้งสองสภา ถ้าสภาทั้งสองเห็นด้วยกับเห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งร่างนั้นไว้ก่อน
ขั้นตอนสุดท้ายคือกระบวนการลงพระปรมาภิไธยโดยพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หลังจากที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ หากพระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบและทรงใช้อำนาจยับยั้ง (veto) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะถูกส่งคืนมายังรัฐสภาโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรืออาจทรงเก็บร่างนั้นไว้โดยไม่พระราชทานคืนมายังรัฐสภาจนล่วงพ้นเวลา 90 วัน ในกรณีนี้รัฐสภาจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและทรงพระราชทานคืนมาภายใน 30 วันให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้ บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 163 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น โดยกำหนดให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนสามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเกี่ยวข้องกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอจะต้องจัดทำมีรายละเอียดที่จำเป็น ได้แก่
  1. บันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
  2. มีบทบัญญัติที่แบ่งเป็นมาตราชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจความประสงค์ของการเสนอร่างกฎหมาย
  3. มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย (enforcing instrument)

วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายอาจกระทำได้ 2 วิธีคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง หรืออาจร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายก็ได้ ในกรณีที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภาโดยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
  1. ร่างพระราชบัญญัติที่จะนำเสนอต่อสภา
  2. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและผู้แทนการเสนอกฎหมาย พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
จากนั้นประธานรัฐสภาจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและประกาศรายชื่อผู้ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ในขั้นตอนนี้ผู้ใดที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศแต่มิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ด้วย สามารถยื่นคำร้องต่อประธานรัฐสภาหรือบุคคลที่รัฐสภาแต่งตั้งเพื่อให้ลบชื่อ ตนเองออกได้ภายในยี่สิบวันหลังจากวันปิดประกาศ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้ถือว่ารายชื่อนั้นถูกต้อง และจะถอนการเข้าชื่อในภายหลังอีกมิได้ ภายหลังการตรวจสอบความถูกต้องถ้ารายชื่อยังคงเกินกว่าหนึ่งหมื่นชื่อให้ ประธานรัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป แต่ถ้ารายชื่อเหลือไม่ครบหนึ่งหมื่นชื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ผู้แทนการ เสนอกฎหมายทราบ เพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพิ่มเติมภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วรายชื่อยังไม่ครบหนึ่งหมื่นชื่อให้ประธาน รัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง
ในกรณีที่เป็นการเข้าชื่อโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งร้อยคนขึ้นไปยื่นคำขอต่อประธานกรรมการการ เลือกตั้งพร้อมทั้งร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้สภาพิจารณา เพื่อขอให้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จากนั้นประธานกรรมการการเลือกตั้งจะจัดส่งร่างพระราชบัญญัติและเอกสารที่ เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดทราบว่ามีการเสนอกฎหมาย ในเรื่องใด และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงชื่อในแบบพิมพ์การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งที่กำหนด โดยที่กำหนดเวลาจะต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อครบกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดรวบรวมแบบพิมพ์การเข้า ชื่อเสนอกฎหมายส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและจัด ทำบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายทั้งหมด จากนั้นจึงนำส่งร่างพระราชบัญญัติและบัญชีรายชื่อต่อประธานรัฐสภา
เมื่อร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราช บัญญัตินั้นเป็นผู้เสนอและชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติต่อที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎร และที่ประชุมวุฒิสภา และจะต้องมีผู้แทนของประชาชนฯ ที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นเข้าเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติด้วยจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด เพื่อให้ผู้เสนอร่างกฎหมายได้มีโอกาสให้ชี้แจงและแสดงเหตุผลเพื่อปกป้อง เจตนารมณ์ของร่างกฎหมาย หลังจากนั้นสภาก็จะพิจารณาร่างกฎหมายตามขั้นตอนปกติ
ช่องทางการติดตามร่างกฎหมาย
ประชาชนสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของร่างกฎหมายต่างๆ ได้จากหน่วยงานต่อไปนี้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ข่าววิทยุรัฐสภา
ราชกิจจานุเบกษา
นอกจากนี้ยังมีองค์กรสนับสนุนอื่นๆ อีกได้แก่
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
การรับฟังความคิดเห็นกฎหมายไทย
คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย

'บลูมเบิร์ก' ชี้ สันติในไทยอาจสิ้นสุดหาก 'ทักษิณ' กลับประเทศ


Pic_183974 "บลูมเบิร์ก" สื่อดังจากสหรัฐฯ วิเคราะห์การเมืองไทย ระบุ ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขในไทยจะหายไป หากรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกองทัพโค่นอำนาจกลับประเทศ...

"บลูมเบิร์ก" สื่อดังด้านธุรกิจและการเงินจากมหานครนิวยอร์คในสหรัฐฯ ตีพิมพ์บทวิเคราะห์การเมืองไทยเมื่อวันที่ 5 ก.ค. โดยระบุว่า ความสงบสุขและช่วงเวลาแห่งสันติในไทย จะมีระยะเวลายาวนานเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกองทัพโค่นอำนาจเมื่อปี 2006 จะเดินทางกลับประเทศหรือไม่

บท วิเคราะห์ของบลูมเบิร์กชี้ว่า ช่วงเวลาแห่งสันติในไทยอาจถึงคราสิ้นสุดลง หากรัฐบาลชุดใหม่ของไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจใช้อำนาจจากการมีคะแนนเสียงสนับสนุนจำนวนมหาศาลอยู่ในมือ เพื่อจัดการกับ "ความอยุติธรรม" ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มการเมืองของตนและพี่ชาย คือ พ.ต.ท.ทักษิณ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน

โดยบลูมเบิร์ก ระบุว่า หากรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยรายนี้ ตัดสินใจลงมือกระทำการดังกล่าวเร็วเกินไป ก็อาจเป็นการสร้างความขัดแย้งกับกองทัพได้

บทวิเคราะห์จากสื่อดังของ สหรัฐฯ ในครั้งนี้ย้ำว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ คิดจะหาช่องทางช่วยให้  พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับประเทศไทย หลังต้องลี้ภัยในต่างแดนนานหลายปี รวมถึงพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของบรรดา "ตัวแสดงที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" สิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ของไทยจะต้อง "ก้าวข้าม" ไปให้ได้ คือ แรงต้านจากกองทัพและตุลาการ

แอนดรูว์ สต็อทซ์ นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็งในไทย มองว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในเวลานี้ คือ ถ้ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เริ่มดำเนินการดังกล่าวอย่างรวดเร็ว และใช้วิธีการที่แข็งกร้าวเพื่อทวงคืน "สิ่งที่พวกเขาสูญเสียไป" จากการรัฐประหารขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นช่วงเวลาแห่งความสงบสุขของประเทศไทยก็คงจะสิ้นสุดลง และการประท้วงจากฝ่ายตรงข้ามก็จะเปิดฉากขึ้นอีกครั้ง.
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง