วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เล็งออกภาษีที่ดิน
เร่งออกกฏหมายภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า มันถึงเวลาแล้ว.
โดย Metha matkhow จากกลุ่ม OCCUPY-THAILAND
ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30% ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางสังคมมหาศาลและการกระจายรายได้ที่แย่มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกนี้ เรามีมนุษยน์ผู้จิบไวน์ขวดละแสน และชาวนาที่ต้องขายควายกว่า 10 ตัวกว่าจะเทียบเท่าน้ำทิพย์สีแดงขวดนั้น ไม่ผิดที่เราเกิดมาต่างกัน แต่นั่น มันไม่เป็นธรรมเลยสักนิด!!
ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่ง เพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ
พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐแน่นอน ในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้ และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสูพลเมืองอีกระลอกหนึ่ง แน่นอน ผลพวงนี้เชื่อมต่อกันและทุกคนก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเหล่านี้ หลายครอบครัวยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่าอีกครอบครัวหนึ่งซึ่งมีรายได้น้อยกว่า เพียงเพื่อจะให้ลูกของตนเข้าโรงเรียนที่เดียวกัน เหตุผลเดียวก็คือเพื่อให้ลูกหลานของตนได้เรียนรู้และอยู่ใน “สังคม”
ในอเมริกา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ บุช ผู้พ่อ เคยเสนอให้ยกเลิกเก็บภาษีมรดก เพื่อเดินทางเสรีนิยมสุดขั้ว ให้การแข่งขันและการผลิตของทุนมุ่งกำไรเต็มที่โดยไม่ต้องเอาสังคมเป็นภาระ ปรากฏว่านายทุนชั้นนำของสหรัฐฯ ต่างออกมาคัดค้าน หลายคนเห็นว่าพวกเขากอบโกยมาจากคนกว่า 200 ล้านคนในสหรัฐฯ ย่อมสมควรคืนกลับให้สังคมบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็เพื่อให้สังคมที่เขาอยู่ดีขึ้น และมันทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดีขึ้นด้วย เข้าทำนองภาษิตที่ว่า “หากคนอ้วนแบ่งอาหารให้คนผอม ชีวิตเขาจะยืนยาวทั้งคู่”
ระหว่างที่ทรัพย์สินงอกเงยขึ้น มาจากการคุ้มครองจากรัฐในรูปแบบนิติบุคคล แน่นอน เราจ่ายภาษีเพียงบางส่วนให้แก่รัฐ แต่สังคมที่โอบอุ้มดูแลอยู่ล่ะ เราได้เสียภาษีสังคมหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมสลายลงทีละน้อยๆ ล่ะ เราได้จ่ายภาษีสิ่งแวดล้อมที่เสียไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่ มีใครเคยคิดบ้างว่า เรายังคงหายใจในอากาศร่วมกัน เรายังคงหายใจบนพื้นที่ส่วนรวมอยู่ ไม่น้อยก็มากชีวิตเรากึ่งหนึ่งยังเป็นของส่วนรวม
ภาษีทรัพย์สิน คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่และแน่นอน ภาษีมรดก คือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง ส่วนเกินที่เราสะสมมาจากมูลค่าที่สังคมโอบอุ้ม เราไม่ได้มันมาจากสุญญากาศ ดังนั้น เราจ่ายภาษีคืนสังคมเผื่อเหลือเผื่อขาดแน่นอน มันจึงพอกพูนงอกเงยขึ้นเป็นกองมรดกให้แก่ลูกหลาน การจ่ายคืนส่วนเกินบางส่วนให้แก่สังคมปลายทางนี้ จึงเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นกันเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
ในสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า รวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาด้วย มีทั้งปันส่วนหนึ่งเข้ารัฐบาลกลางและส่วนหนึ่งเข้าท้องถิ่น มีทั้งภาษีการให้และการรับ จากกองมรดกและหรือจากการรับมรดกก็ตามรูปแบบที่แต่ท้องที่ไป
ในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาล คนรวยพากันคัดค้านการปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมมาโดยตลอด แต่ก็เป็นที่น่ายินดี ที่กระทรวงการคลังดำริว่าจะผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเร็วๆ นี้ เพราะมันถึงเวลาแล้ว!!! และในอนาคตภาษีมรดกจะตามมาเยียวยาบาดแผลและรอยร้าวของความยากจน ที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมมาตลอดกว่า 50 ปี
กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บนี้ นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดีขึ้นได้ ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีกขั้นหนึ่ง เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและกระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่นนี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม
แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรียนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก “ค่ารายปี” หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการถือครองมูลค่า แต่ก็เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการใช้ประโยชน์ หากมีการปล่อยที่ดินไว้รกร้างว่างเปล่าก็จะเก็บภาษีมากขึ้น หากเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็จะมีอัตรามากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมทั่วไป อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้เน้นในเรื่องของการกระจายการถือครองที่ดินโดยตรง และคนจนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกิน ดังนั้น กระทรวงการคลัง ควรมีนโยบายที่จะป้องกันไม่ไห้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรไปสู่นายทุน โดยเพิ่มมาตรการการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าที่มากขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และนโยบาย “โฉนดชุมชน” เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับการครอบครองที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัยของผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่แท้จริง และเป็นมาตรการในการให้ชุมชนมาจัดการที่ดินร่วมกัน เพื่อให้ที่ดินสามารถคงอยู่กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป รวมถึงควรมีมาตรการกันรายได้ของภาษีที่ดินส่วนหนึ่งตั้งเป็น “ธนาคารที่ดิน” เพื่อเป็นหลักประกันให้คนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน
นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ในระยะอันใกล้ หรืออาจเป็นนโยบายสังคมระยะยาว ควรมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้ง ระบบ เพื่อการกระจายการถือครองที่ดิน อย่างจริงจัง โดยการรื้อฟื้นปรับปรุง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมา ยที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดิน ไม่เกิน 50 ไร่ และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤ ษดิ์ ธนะรัชต์ ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้เอกชนได้แสวงปร ะโยชน์จากทรัพยากรโดยไม่มีมาตรก ารรองรับ จนโครงสร้างการจัดการทรัพยากรโด ยเฉพาะที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจนเกิ ดปัญหาการสะสมที่ดินขึ้น โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้น โดยมีมาตรการจำกัดการถือครองเพิ่มขึ้นไม่เกิน 200 ไร่ ตามความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งจะสนับสนุนนโยบายการเก็บภาษีที่ดินฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญ ญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่อ งนี้ เกษตรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเ พียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์ มขนาดใหญ่ของนายทุนข้ามชาติในอน าคต
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2552 มาตรา 85 ที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สิ นอัตราก้าวหน้า ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหา ริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินใน ต่างประเทศ ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเ ดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระร าชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาควา มเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าว หน้า เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรม ทางสังคม และเป็นหลักประกันด้านสิทธิมนุษ ยชนในประเทศไทย ตามสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ เพื่อให้รัฐและท้องถิ่นนำมาใช้ใ นการพัฒนาสาธารณูปโภคและสวัสดิก ารทางสังคม เช่น การขนส่งมวลชนสาธารณะ การศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพปลอดพ้ นจากความอดอยากแร้นแค้น โดยเฉพาะชนชั้นล่างทางสังคม ซึ่งหากภาษีที่รัฐเก็บมาใช้จ่าย ไปในกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้ระดับล่างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายไ ด้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งจะสามารถลดช่องว่างของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น
มันถึงเวลาแล้วที่คนรวยจะต้องไม่เห็นแก่ตัว แล้วมัวแต่อ้างอิงว่าตนเองและสังคมจะเสียประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้ การแข่งขันเสรีจะสะดุด หรือวิกฤตเศรษฐกิจจะตามมา นอกจากเป็นอวิชชาของพ่อค้าคนธรรพ์จอมปลอมแล้ว ทุกคำที่ท่านอาจคัดค้าน ก็ล้วนแต่ส่งสาส์นของความเห็นแก่ได้ไม่รู้จบ
หากคนอ้วนไม่สนใจคนผอม ความขัดแย้งก็ไม่มีวันสิ้นสุดแล ะสะดุดเสรีนิยมสุดขั้วลงทุกครั้ งด้วยความรุนแรงทางสังคม ความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจละเลย ลืมเลือนต่อส่วนรวม สังคมจะขับเคลื่อนกงล้อไปสู่อาร ยธรรมใหม่ได้ ก็เมื่อเราสละไวน์รสดีขวดละแสน เป็นน้ำทิพย์ชุบชีวิตเพื่อนมนุษ ย์ที่แร้นแค้นใกล้ตาย จากโครงสร้างที่เขาไม่สามารถเข้ าถึงมาเป็นสังคมเศรษฐกิจที่เราร่วมกันออกแบบได้ เพื่อมาร่วมใช้ชีวิตร่วมกันและพัฒนาสังคมต่อไป
โดย Metha matkhow จากกลุ่ม OCCUPY-THAILAND
ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30% ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางสังคมมหาศาลและการกระจายรายได้ที่แย่มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกนี้ เรามีมนุษยน์ผู้จิบไวน์ขวดละแสน และชาวนาที่ต้องขายควายกว่า 10 ตัวกว่าจะเทียบเท่าน้ำทิพย์สีแดงขวดนั้น ไม่ผิดที่เราเกิดมาต่างกัน แต่นั่น มันไม่เป็นธรรมเลยสักนิด!!
ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่ง เพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ
พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐแน่นอน ในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้ และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสูพลเมืองอีกระลอกหนึ่ง แน่นอน ผลพวงนี้เชื่อมต่อกันและทุกคนก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเหล่านี้ หลายครอบครัวยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่าอีกครอบครัวหนึ่งซึ่งมีรายได้น้อยกว่า เพียงเพื่อจะให้ลูกของตนเข้าโรงเรียนที่เดียวกัน เหตุผลเดียวก็คือเพื่อให้ลูกหลานของตนได้เรียนรู้และอยู่ใน “สังคม”
ในอเมริกา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ บุช ผู้พ่อ เคยเสนอให้ยกเลิกเก็บภาษีมรดก เพื่อเดินทางเสรีนิยมสุดขั้ว ให้การแข่งขันและการผลิตของทุนมุ่งกำไรเต็มที่โดยไม่ต้องเอาสังคมเป็นภาระ ปรากฏว่านายทุนชั้นนำของสหรัฐฯ ต่างออกมาคัดค้าน หลายคนเห็นว่าพวกเขากอบโกยมาจากคนกว่า 200 ล้านคนในสหรัฐฯ ย่อมสมควรคืนกลับให้สังคมบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็เพื่อให้สังคมที่เขาอยู่ดีขึ้น และมันทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดีขึ้นด้วย เข้าทำนองภาษิตที่ว่า “หากคนอ้วนแบ่งอาหารให้คนผอม ชีวิตเขาจะยืนยาวทั้งคู่”
ระหว่างที่ทรัพย์สินงอกเงยขึ้น มาจากการคุ้มครองจากรัฐในรูปแบบนิติบุคคล แน่นอน เราจ่ายภาษีเพียงบางส่วนให้แก่รัฐ แต่สังคมที่โอบอุ้มดูแลอยู่ล่ะ เราได้เสียภาษีสังคมหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมสลายลงทีละน้อยๆ ล่ะ เราได้จ่ายภาษีสิ่งแวดล้อมที่เสียไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่ มีใครเคยคิดบ้างว่า เรายังคงหายใจในอากาศร่วมกัน เรายังคงหายใจบนพื้นที่ส่วนรวมอยู่ ไม่น้อยก็มากชีวิตเรากึ่งหนึ่งยังเป็นของส่วนรวม
ภาษีทรัพย์สิน คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่และแน่นอน ภาษีมรดก คือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง ส่วนเกินที่เราสะสมมาจากมูลค่าที่สังคมโอบอุ้ม เราไม่ได้มันมาจากสุญญากาศ ดังนั้น เราจ่ายภาษีคืนสังคมเผื่อเหลือเผื่อขาดแน่นอน มันจึงพอกพูนงอกเงยขึ้นเป็นกองมรดกให้แก่ลูกหลาน การจ่ายคืนส่วนเกินบางส่วนให้แก่สังคมปลายทางนี้ จึงเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นกันเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
ในสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า รวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาด้วย มีทั้งปันส่วนหนึ่งเข้ารัฐบาลกลางและส่วนหนึ่งเข้าท้องถิ่น มีทั้งภาษีการให้และการรับ จากกองมรดกและหรือจากการรับมรดกก็ตามรูปแบบที่แต่ท้องที่ไป
ในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาล คนรวยพากันคัดค้านการปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมมาโดยตลอด แต่ก็เป็นที่น่ายินดี ที่กระทรวงการคลังดำริว่าจะผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเร็วๆ นี้ เพราะมันถึงเวลาแล้ว!!! และในอนาคตภาษีมรดกจะตามมาเยียวยาบาดแผลและรอยร้าวของความยากจน ที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมมาตลอดกว่า 50 ปี
กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บนี้ นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดีขึ้นได้ ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีกขั้นหนึ่ง เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและกระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่นนี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม
แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรียนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก “ค่ารายปี” หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการถือครองมูลค่า แต่ก็เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการใช้ประโยชน์ หากมีการปล่อยที่ดินไว้รกร้างว่างเปล่าก็จะเก็บภาษีมากขึ้น หากเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็จะมีอัตรามากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมทั่วไป อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้เน้นในเรื่องของการกระจายการถือครองที่ดินโดยตรง และคนจนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกิน ดังนั้น กระทรวงการคลัง ควรมีนโยบายที่จะป้องกันไม่ไห้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรไปสู่นายทุน โดยเพิ่มมาตรการการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าที่มากขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และนโยบาย “โฉนดชุมชน” เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับการครอบครองที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัยของผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่แท้จริง และเป็นมาตรการในการให้ชุมชนมาจัดการที่ดินร่วมกัน เพื่อให้ที่ดินสามารถคงอยู่กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป รวมถึงควรมีมาตรการกันรายได้ของภาษีที่ดินส่วนหนึ่งตั้งเป็น “ธนาคารที่ดิน” เพื่อเป็นหลักประกันให้คนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน
นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ในระยะอันใกล้ หรืออาจเป็นนโยบายสังคมระยะยาว ควรมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้ง ระบบ เพื่อการกระจายการถือครองที่ดิน อย่างจริงจัง โดยการรื้อฟื้นปรับปรุง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมา ยที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดิน ไม่เกิน 50 ไร่ และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤ ษดิ์ ธนะรัชต์ ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้เอกชนได้แสวงปร ะโยชน์จากทรัพยากรโดยไม่มีมาตรก ารรองรับ จนโครงสร้างการจัดการทรัพยากรโด ยเฉพาะที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจนเกิ ดปัญหาการสะสมที่ดินขึ้น โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้น โดยมีมาตรการจำกัดการถือครองเพิ่มขึ้นไม่เกิน 200 ไร่ ตามความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งจะสนับสนุนนโยบายการเก็บภาษีที่ดินฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญ ญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่อ งนี้ เกษตรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเ พียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์ มขนาดใหญ่ของนายทุนข้ามชาติในอน าคต
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2552 มาตรา 85 ที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สิ นอัตราก้าวหน้า ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหา ริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินใน ต่างประเทศ ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเ ดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระร าชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาควา มเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าว หน้า เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรม ทางสังคม และเป็นหลักประกันด้านสิทธิมนุษ ยชนในประเทศไทย ตามสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ เพื่อให้รัฐและท้องถิ่นนำมาใช้ใ นการพัฒนาสาธารณูปโภคและสวัสดิก ารทางสังคม เช่น การขนส่งมวลชนสาธารณะ การศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพปลอดพ้ นจากความอดอยากแร้นแค้น โดยเฉพาะชนชั้นล่างทางสังคม ซึ่งหากภาษีที่รัฐเก็บมาใช้จ่าย ไปในกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้ระดับล่างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายไ ด้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งจะสามารถลดช่องว่างของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น
มันถึงเวลาแล้วที่คนรวยจะต้องไม่เห็นแก่ตัว แล้วมัวแต่อ้างอิงว่าตนเองและสังคมจะเสียประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้ การแข่งขันเสรีจะสะดุด หรือวิกฤตเศรษฐกิจจะตามมา นอกจากเป็นอวิชชาของพ่อค้าคนธรรพ์จอมปลอมแล้ว ทุกคำที่ท่านอาจคัดค้าน ก็ล้วนแต่ส่งสาส์นของความเห็นแก่ได้ไม่รู้จบ
หากคนอ้วนไม่สนใจคนผอม ความขัดแย้งก็ไม่มีวันสิ้นสุดแล ะสะดุดเสรีนิยมสุดขั้วลงทุกครั้ งด้วยความรุนแรงทางสังคม ความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจละเลย ลืมเลือนต่อส่วนรวม สังคมจะขับเคลื่อนกงล้อไปสู่อาร ยธรรมใหม่ได้ ก็เมื่อเราสละไวน์รสดีขวดละแสน เป็นน้ำทิพย์ชุบชีวิตเพื่อนมนุษ ย์ที่แร้นแค้นใกล้ตาย จากโครงสร้างที่เขาไม่สามารถเข้ าถึงมาเป็นสังคมเศรษฐกิจที่เราร่วมกันออกแบบได้ เพื่อมาร่วมใช้ชีวิตร่วมกันและพัฒนาสังคมต่อไป
สืบมูลเท็จ-จริง เรื่องร้องเรียน"เขตบึงกุ่ม"กับแบบฟอร์มขอรับ"5 พัน"และขบวนการ"เหลือบ"อาละวาด
หลังจากที่ คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในเขตกรุงเทพมหานครรวม 30 เขต ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบกรณีน้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย รวมทั้งกรณีบ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
ภายใต้เงื่อนไขประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งคำร้องได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่ประสบภัยสำหรับกรณีที่เป็นเจ้าบ้าน ให้นำเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือรูปถ่ายถ้ามี ส่วนกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของบ้าน หรือผู้เช่าบ้าน ให้นำเอกสาร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย (ถ้ามี) พร้อมด้วยหนังสือเซ็นรับรองจากประธานชุมชน หรือตัวแทนที่สำนักงานเขตรับรอง ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่เขตจะทำการตรวจสอบเอกสารแล้วจะนำรายชื่อผู้มีสิทธิส่งเข้ามายังส่วนกลาง โดย กรุงเทพมหานคร จะมีการตรวจสอบข้อมูล รับรองความถูกต้อง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของครัวเรือนที่ประสบภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก่อนจ่ายเงินช่วยเหลือ ก่อนจะส่งไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อรอขั้นตอนการดำเนินการ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณตรงให้ธนาคารออมสิน อนุมัติการสั่งจ่ายให้กับผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดดำเนินการช่วยเหลือต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนชาวเขตบึงกุ่มส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 30 เขต กรุงเทพมหานคร ที่ประสบภัยน้ำท่วม ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการขอรับเงินชดเชยจำนวน 5,000 บาท โดยอ้างว่า มีเจ้าหน้าที่ (ซึ่งไม่ทราบว่าจากส่วนไหน) นำแบบฟอร์มเอกสารมาให้กรอกขอคำร้องเพื่อรับเงินจำนวนดังกล่าว ทั้งที่ ในส่วนบริเวณบ้านของพวกเขา (พื้นที่ที่แจ้งว่ามีการนำเอกสารไปให้กรอก คือซ.นวลจันทร์ 14) ซึ่งจากกาารตวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึงหลายๆหมู่บ้านในเขตบึงกลุ่ม น้ำเข้าท่วมไม่ถึง โดยบุคคลที่ให้มากรอกเอกสารอ้างว่า ได้งบฯประมาณมาแล้ว ขณะที่บางส่วนก็อ้างว่า คนที่นำเอกสารมาให้กรอก ระบุว่า ที่เหลือ ส.ส. (พรรคการเมืองหนึ่ง) จะจัดการเอง
เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เรื่องดังกล่าว มีมูลความจริงการกระทำอันส่อความไม่โปร่งใสและเป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่เขตบึงกุ่ม หรือจากหน่วยงานใดหรือไม่ ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์จึงได้โทรศัพท์สัมภาษณ์นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม ถึงกรณีดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันว่า ทางสำนักงานเขตไม่ได้มีการรับงบประมาณใดๆ จากทางรัฐบาลมาเพื่อดำเนินการในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งนั้น เพียงแต่ว่าทางเขตเป็นเพียงแค่หน่วยงานที่ตรวจสอบข้อมูลบ้านเรือนต่างๆที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ว่า มีพื้นที่ใดบ้างที่ประสบภัย และได้รับความเสียหาย ซึ่งจากการตรวจสอบมีเพียงบ้านเรือนของราษฎร แค่ประมาณ19% ของพื้นที่เขตบึงกุ่มเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม และขณะนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ก็พบว่าน้ำได้ลดลงเกือบแห้งสนิทแล้ว โดยหมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายเต็มพื้นที่ และหนักสุด คือ หมู่บ้านมณียา แขวงนวลจันทร์ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ความเสียหายไม่มากเท่าไหร่
กับกรณีที่ว่า มีผู้นำเอกสารมาให้ประชาชนกรอกเพื่อขอรับเงิน 5,000 บาทนั้น ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม ยืนยันว่า คนที่ดำเนินการไปให้ชาวบ้านกรอกเอกสารไม่น่าจะใช่เจ้าหน้าที่เขตบึงกุ่มอย่างแน่นอน ทางเขตมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งหมด 7 ข้อ ที่ตนตั้งไว้ เริ่มตั้งแต่การตรวจเอกสารคำร้อง การรับเรื่อง ส่งชุดคณะกรรมการออกไปตรวจสอบความเสียหายที่มีการยื่นเรื่องมา ก่อนที่จะมาคีย์ข้อมูลผู้ยื่นคำร้อง ตรวจเอกสารทั้งหมด และขั้นตอนสุดท้ายตนจะเป็นคนตรวจสอบว่า บ้านไหนที่ได้รับความเสียหายและสมควรที่จะได้รับเงินชดเชยเยียวยาจำนวนดังกล่าวจริง ขั้นตอนการตรวจสอบนี้ ทางเจ้าหน้าที่เขตมีข้อมูลหลักฐานที่เพียงพอซึ่งจะรู้ได้ว่า ใครได้รับผลกระทบมากน้อยเท่าไหร่ จากภาพถ่ายและวิดีโอที่ทางเจ้าหน้าที่เขตได้ลงพื้นที่ไปสำรวจตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมก่อนหน้านี้แล้ว ว่าบ้านไหนเป็นอย่างไร สภาพเสียหายแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ทางเขตเพิ่งจะมีการผ่านรายชื่อครอบครัวที่ได้รับเงินเยียวยาไปแล้วประมาณ 200-300 ครอบครัวเอง จากทั้งหมดที่ยื่นเรื่องมา ประมาณ 3 พันครัวเรือนแล้ว ซึ่งการทำงานค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากเราต้องการให้แน่ใจว่า คนที่มาขอยื่นรับเงิน ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ
ทั้งนี้ นายกฤษณ์ ก็ยอมรับว่า เท่าที่ทราบเรื่องตอนนี้มีขบวนการเหลือบไรคอยหากินกับความเดือดร้อนของประชาชนอยู่ ซึ่งตนกำลังพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตรวจสอบเอกสารต่างๆที่มีการยื่นคำร้องมาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างเช่นตอนนี้ พบว่า มีคนมายื่นเอกสารขอรับเงินแต่จากการตรวจสอบพบว่าไม่ใช่เจ้าของบ้านที่ถูกน้ำท่วมตัวจริง เราก็ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบให้เห็นกับตาเลยว่า เป็นอย่างไร มีพวกพยายามาแอบอ้างเยอะมาก เพราะฉะนั้นคนที่จะมาสวมรอยในการหาประโยชน์จากการรับเงิน 5,000 บาทนี้ ทำให้ทางเขตเราทำงานได้ยากลำบาก หรือแม้กระทั่งคนที่รับรองสุ่มสี่สุ่มห้า เราก็จะไม่ไว้วางใจเมื่อนำไปเทียบกับฐานข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับเดือดร้อนไม่พบว่าตรงกับความเป็น เป็นต้น ซึ่งตนก็มองว่า บางทีการตรวจสอบการช่วยเหลือเยียวยา ตามเงื่อนไข ของมติครม.นั้น มันก้ำกึ่ง แม้จะระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมีรูปถ่ายมายืนยัน แต่ตรงข้อที่ระบุว่าต้องมีความเสียหาย นั้นต้องเสียหายมากน้อยแค่ไหน นั่นทำให้การดำเนินการของทางเขตเราทำงานได้ช้า ทั้งๆที่เราอยากจะช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว แต่ตอนนี้เพิ่งรับรองไปได้ไม่แค่กี่ร้อยหลังคาเรือนเอง
"ผมออกนโยบายอย่างชัดเจนว่า ทางเขตบึงกุ่มเราต้องไม่มีการคอรัปชั่นเป็นอันขาด การดำเนินการร้องขอ ผมเป็นคนตรวจสอบขั้นสุดท้าย เราทำงานกันหนักมาก แม้จะล้ากันบ้างจากการลงพื้นที่ทุกวัน แต่ต้อต้องทำต่อไป เพราะฉะนั้นวางใจได้ว่า จะไม่เกิดความไม่ชอบมาพากลกับการส่งเรื่องไปยังกทม.อย่างแน่นอน เมื่อได้รับเรื่องมาผมก็ส่งคณะกรรมการไปตรวจสอบมีการประชุมกันทุกเย็น ขณะที่การพิจารณาการให้เงิน ก็ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งนั้น มีแต่ให้ กับไม่ให้ บ้านหลังไหนเข้าหลักการผมอนุมัติผ่านให้เลยแต่บ้านไหน คนมายื่นเรื่องน่าสงสัยผมไม่ให้ผ่านไปง่ายๆ เพราะถ้าทางเขตดำเนินการไม่ละเอียด เราก็เสี่ยงต่อความผิดเช่นกัน และยืนยันทางเขตเราไม่มีงบประมาณใดๆ ในการดำเนินการส่งเรื่องยื่นของ 5,000 บาททั้งสิ้น เราทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ตอนนี้เราพยายามดำเนินเรื่องให้เร็วที่สุด ไม่ให้ช้า แต่อย่างว่า พวกเหลือบไรมันเยอะ ผมกลัวจังเลยพวกหากิน และไม่มั่นใจว่า พวกนี้ไปหากินอะไรบ้าง ใครจะมาสวมรอยแอบอ้างไม่ใช่ง่ายๆผมมีเรคอคอร์ดไว้อยู่แล้ว รวมถึงยืนยัน เขตบึงกุ่ม เราดำเนินการเฉพาะของเราเอง ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพวกส.ส. ส.ก.หรือ ส.ข. ในการส่งเอกสาร" ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่มย้ำ
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างของการดำเนินงานของสำนักงานเขตต่างๆ รวมถึงการดำเนินงานของการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วยว่า มักจะมีผู้แอบอ้างหรือพยายามหาผลประโยชน์ สวมรอยหากินกับความเดือดร้อนของชาวบ้านโดยอ้างอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นในการหลอกให้ประชาชนลงชื่อเพื่อนำไปดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งหากผู้ปกครองท้องถิ่นนั้นๆไม่มีความเข้มแข็งหรือขาดซึ่งการดูแลเอาใจใส่ ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากเงินค่าชดเชยความเสียหาย ก็จะเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีฉวยโอกาสเอาได้ รวมถึงฝากเตือนไปยังประชาชน อย่าหลงเชื่อคำเชิญชวนหรือลงชื่อร่วมกรอกข้อมูลเอกสารอะไรก็แล้วแต่ที่มีความผิดปกติ น่าสงสัย เพราะนั่นอาจจะทำให้มีความผิด หรือถูกสวมรอยใช้สิทธิในการดำเนินการต่างๆได้
มติชนออนไลน์
ภายใต้เงื่อนไขประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งคำร้องได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่ประสบภัยสำหรับกรณีที่เป็นเจ้าบ้าน ให้นำเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือรูปถ่ายถ้ามี ส่วนกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของบ้าน หรือผู้เช่าบ้าน ให้นำเอกสาร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย (ถ้ามี) พร้อมด้วยหนังสือเซ็นรับรองจากประธานชุมชน หรือตัวแทนที่สำนักงานเขตรับรอง ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่เขตจะทำการตรวจสอบเอกสารแล้วจะนำรายชื่อผู้มีสิทธิส่งเข้ามายังส่วนกลาง โดย กรุงเทพมหานคร จะมีการตรวจสอบข้อมูล รับรองความถูกต้อง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของครัวเรือนที่ประสบภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก่อนจ่ายเงินช่วยเหลือ ก่อนจะส่งไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อรอขั้นตอนการดำเนินการ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณตรงให้ธนาคารออมสิน อนุมัติการสั่งจ่ายให้กับผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดดำเนินการช่วยเหลือต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนชาวเขตบึงกุ่มส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 30 เขต กรุงเทพมหานคร ที่ประสบภัยน้ำท่วม ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการขอรับเงินชดเชยจำนวน 5,000 บาท โดยอ้างว่า มีเจ้าหน้าที่ (ซึ่งไม่ทราบว่าจากส่วนไหน) นำแบบฟอร์มเอกสารมาให้กรอกขอคำร้องเพื่อรับเงินจำนวนดังกล่าว ทั้งที่ ในส่วนบริเวณบ้านของพวกเขา (พื้นที่ที่แจ้งว่ามีการนำเอกสารไปให้กรอก คือซ.นวลจันทร์ 14) ซึ่งจากกาารตวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึงหลายๆหมู่บ้านในเขตบึงกลุ่ม น้ำเข้าท่วมไม่ถึง โดยบุคคลที่ให้มากรอกเอกสารอ้างว่า ได้งบฯประมาณมาแล้ว ขณะที่บางส่วนก็อ้างว่า คนที่นำเอกสารมาให้กรอก ระบุว่า ที่เหลือ ส.ส. (พรรคการเมืองหนึ่ง) จะจัดการเอง
เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เรื่องดังกล่าว มีมูลความจริงการกระทำอันส่อความไม่โปร่งใสและเป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่เขตบึงกุ่ม หรือจากหน่วยงานใดหรือไม่ ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์จึงได้โทรศัพท์สัมภาษณ์นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม ถึงกรณีดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันว่า ทางสำนักงานเขตไม่ได้มีการรับงบประมาณใดๆ จากทางรัฐบาลมาเพื่อดำเนินการในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งนั้น เพียงแต่ว่าทางเขตเป็นเพียงแค่หน่วยงานที่ตรวจสอบข้อมูลบ้านเรือนต่างๆที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ว่า มีพื้นที่ใดบ้างที่ประสบภัย และได้รับความเสียหาย ซึ่งจากการตรวจสอบมีเพียงบ้านเรือนของราษฎร แค่ประมาณ19% ของพื้นที่เขตบึงกุ่มเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม และขณะนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ก็พบว่าน้ำได้ลดลงเกือบแห้งสนิทแล้ว โดยหมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายเต็มพื้นที่ และหนักสุด คือ หมู่บ้านมณียา แขวงนวลจันทร์ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ความเสียหายไม่มากเท่าไหร่
กับกรณีที่ว่า มีผู้นำเอกสารมาให้ประชาชนกรอกเพื่อขอรับเงิน 5,000 บาทนั้น ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม ยืนยันว่า คนที่ดำเนินการไปให้ชาวบ้านกรอกเอกสารไม่น่าจะใช่เจ้าหน้าที่เขตบึงกุ่มอย่างแน่นอน ทางเขตมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งหมด 7 ข้อ ที่ตนตั้งไว้ เริ่มตั้งแต่การตรวจเอกสารคำร้อง การรับเรื่อง ส่งชุดคณะกรรมการออกไปตรวจสอบความเสียหายที่มีการยื่นเรื่องมา ก่อนที่จะมาคีย์ข้อมูลผู้ยื่นคำร้อง ตรวจเอกสารทั้งหมด และขั้นตอนสุดท้ายตนจะเป็นคนตรวจสอบว่า บ้านไหนที่ได้รับความเสียหายและสมควรที่จะได้รับเงินชดเชยเยียวยาจำนวนดังกล่าวจริง ขั้นตอนการตรวจสอบนี้ ทางเจ้าหน้าที่เขตมีข้อมูลหลักฐานที่เพียงพอซึ่งจะรู้ได้ว่า ใครได้รับผลกระทบมากน้อยเท่าไหร่ จากภาพถ่ายและวิดีโอที่ทางเจ้าหน้าที่เขตได้ลงพื้นที่ไปสำรวจตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมก่อนหน้านี้แล้ว ว่าบ้านไหนเป็นอย่างไร สภาพเสียหายแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ทางเขตเพิ่งจะมีการผ่านรายชื่อครอบครัวที่ได้รับเงินเยียวยาไปแล้วประมาณ 200-300 ครอบครัวเอง จากทั้งหมดที่ยื่นเรื่องมา ประมาณ 3 พันครัวเรือนแล้ว ซึ่งการทำงานค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากเราต้องการให้แน่ใจว่า คนที่มาขอยื่นรับเงิน ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ
ทั้งนี้ นายกฤษณ์ ก็ยอมรับว่า เท่าที่ทราบเรื่องตอนนี้มีขบวนการเหลือบไรคอยหากินกับความเดือดร้อนของประชาชนอยู่ ซึ่งตนกำลังพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตรวจสอบเอกสารต่างๆที่มีการยื่นคำร้องมาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างเช่นตอนนี้ พบว่า มีคนมายื่นเอกสารขอรับเงินแต่จากการตรวจสอบพบว่าไม่ใช่เจ้าของบ้านที่ถูกน้ำท่วมตัวจริง เราก็ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบให้เห็นกับตาเลยว่า เป็นอย่างไร มีพวกพยายามาแอบอ้างเยอะมาก เพราะฉะนั้นคนที่จะมาสวมรอยในการหาประโยชน์จากการรับเงิน 5,000 บาทนี้ ทำให้ทางเขตเราทำงานได้ยากลำบาก หรือแม้กระทั่งคนที่รับรองสุ่มสี่สุ่มห้า เราก็จะไม่ไว้วางใจเมื่อนำไปเทียบกับฐานข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับเดือดร้อนไม่พบว่าตรงกับความเป็น เป็นต้น ซึ่งตนก็มองว่า บางทีการตรวจสอบการช่วยเหลือเยียวยา ตามเงื่อนไข ของมติครม.นั้น มันก้ำกึ่ง แม้จะระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมีรูปถ่ายมายืนยัน แต่ตรงข้อที่ระบุว่าต้องมีความเสียหาย นั้นต้องเสียหายมากน้อยแค่ไหน นั่นทำให้การดำเนินการของทางเขตเราทำงานได้ช้า ทั้งๆที่เราอยากจะช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว แต่ตอนนี้เพิ่งรับรองไปได้ไม่แค่กี่ร้อยหลังคาเรือนเอง
"ผมออกนโยบายอย่างชัดเจนว่า ทางเขตบึงกุ่มเราต้องไม่มีการคอรัปชั่นเป็นอันขาด การดำเนินการร้องขอ ผมเป็นคนตรวจสอบขั้นสุดท้าย เราทำงานกันหนักมาก แม้จะล้ากันบ้างจากการลงพื้นที่ทุกวัน แต่ต้อต้องทำต่อไป เพราะฉะนั้นวางใจได้ว่า จะไม่เกิดความไม่ชอบมาพากลกับการส่งเรื่องไปยังกทม.อย่างแน่นอน เมื่อได้รับเรื่องมาผมก็ส่งคณะกรรมการไปตรวจสอบมีการประชุมกันทุกเย็น ขณะที่การพิจารณาการให้เงิน ก็ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งนั้น มีแต่ให้ กับไม่ให้ บ้านหลังไหนเข้าหลักการผมอนุมัติผ่านให้เลยแต่บ้านไหน คนมายื่นเรื่องน่าสงสัยผมไม่ให้ผ่านไปง่ายๆ เพราะถ้าทางเขตดำเนินการไม่ละเอียด เราก็เสี่ยงต่อความผิดเช่นกัน และยืนยันทางเขตเราไม่มีงบประมาณใดๆ ในการดำเนินการส่งเรื่องยื่นของ 5,000 บาททั้งสิ้น เราทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ตอนนี้เราพยายามดำเนินเรื่องให้เร็วที่สุด ไม่ให้ช้า แต่อย่างว่า พวกเหลือบไรมันเยอะ ผมกลัวจังเลยพวกหากิน และไม่มั่นใจว่า พวกนี้ไปหากินอะไรบ้าง ใครจะมาสวมรอยแอบอ้างไม่ใช่ง่ายๆผมมีเรคอคอร์ดไว้อยู่แล้ว รวมถึงยืนยัน เขตบึงกุ่ม เราดำเนินการเฉพาะของเราเอง ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพวกส.ส. ส.ก.หรือ ส.ข. ในการส่งเอกสาร" ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่มย้ำ
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างของการดำเนินงานของสำนักงานเขตต่างๆ รวมถึงการดำเนินงานของการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วยว่า มักจะมีผู้แอบอ้างหรือพยายามหาผลประโยชน์ สวมรอยหากินกับความเดือดร้อนของชาวบ้านโดยอ้างอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นในการหลอกให้ประชาชนลงชื่อเพื่อนำไปดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งหากผู้ปกครองท้องถิ่นนั้นๆไม่มีความเข้มแข็งหรือขาดซึ่งการดูแลเอาใจใส่ ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากเงินค่าชดเชยความเสียหาย ก็จะเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีฉวยโอกาสเอาได้ รวมถึงฝากเตือนไปยังประชาชน อย่าหลงเชื่อคำเชิญชวนหรือลงชื่อร่วมกรอกข้อมูลเอกสารอะไรก็แล้วแต่ที่มีความผิดปกติ น่าสงสัย เพราะนั่นอาจจะทำให้มีความผิด หรือถูกสวมรอยใช้สิทธิในการดำเนินการต่างๆได้
มติชนออนไลน์
สิ่งที่สำคัญกว่าคำว่า "ประชาธิปไตย "
ได้ฟังคลิปเสียงสัมภาษณ์ของจักรภพ เพ็ญแข แล้วผมก็อยากจะเสนอความคิดเห็นในส่วนของคำว่าประชาธิปไตยที่พวกเค้าเอามา อ้างในการหลอกล่อประชาชนนิดละกันครับ ในส่วนที่คุณจักภพ กล่าวพาดพิงในหลวงนั้นผมขอผ่านไป ซึ่งคงมีหลายๆสื่อ หลายๆช่องทางโจมตีประเด็นนี้กันไปแล้วนะครับ ผมขอแสดงความคิดเห็นในเรื่อง ระบอบการปกครองอย่างเดียวละกัน
คุณจักรภพได้ให้สัมภาษณ์ถึง สิ่งที่ควรจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยว่าการเป็นประชาธิปไตยนั้นอำนาจของ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่นั้นควรได้ รับความชอบธรรมในหลายๆด้าน รัฐบาลควรดำเนินการโดยต้องไม่กลัวอำนาจจากมือที่มองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน เพราะเรามีระบบรัฐสภาในการตรวจสอบ ฝ่ายค้านก็สามารถทำหน้าที่คัดค้านได้ในสภา นี่คือประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่ประเทศเราจะต้องให้เป็นไปให้ได้ น่าจะประมาณนี้
ผมเห็นด้วยครับกับกลไกดังกล่าวของระบบระบอบประชาธิปไตยที่คุณจักรภพพูดถึง มันควรจะเป็นเช่นนั้นหากความเป็นจริงประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องของ ประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นจริงๆ
ระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวมานั้น มันเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือ หากประชาชนของประเทศยังมีความคิดความเชื่อ ว่า ทักษิณเป็นคนดีเพราะทักษิณเอาเงินมาให้ เหมาะหรือ กับประชาชนที่ยังหลงงมงายในเรื่องทักษิณคือพระเจ้าตากสินที่กลับมาทวงความ ชอบธรรมคืนจากราชวงค์จักรีในความเชื่อของประวัติศาสตร์เดิมๆที่ยังไม่สามารถ พิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์เลย แล้วจริงๆปัจจุบันก็มีการพิสูจน์แล้วว่า พระเจ้าตากสินนั้นไม่ได้ถูกแย่งชิงอำนาจแบบความเชื่อเดิมๆซักหน่อย เราโดนหลอกโดยอาศัยความเชื่อเดิมๆแล้วกลับมองข้ามความดีของราชวงค์จักรีที่ ทำเพื่อประชาชนแบบที่พวกเราสัมผัสได้แล้ว ที่เห็นๆเลยการเลิกทาสจากสมัย ร.๕ เอาเป็นว่า เอาแค่เท่าที่ผมสัมผัสมาตั้งแต่เกิดนี่ก็พอ ความดีที่ในหลวงรัชกาลปัจจุบันก็น่าจะเป็นที่ประจักษ์ในหลายๆเรื่องแล้วครับ ว่าพระองค์ทรงรักประชาชนของพระองค์ขนาดไหน เราย้อนดูอะไรหลายๆอย่างที่พระองค์ทรงทำมาในอดีตได้ครับ แต่ทำไมถึงมองข้ามความดีที่เราเห็นกันมาด้วยตนเองไปงมงายในเรื่องที่เราไม่ อาจรับรู้ได้นอกจากการออกมาเล่าให้ฟัง แล้วแบบนี้หรือที่ว่าประเทศไทยเหมาะจะเป็นประชาธิปไตย
ผมไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยนะครับ แต่ผมอยากให้มองมุมที่เราควรมองมากกว่าไปหลงกับชื่อของระบอบ ระบอบไหนจะไปสำคัญครับหากผู้มีอำนาจ ผู้ปกครองในระบอบนั้นขาดซึ่งความเป็นธรรม มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งนั้นครับหากขาดสิ่งนี้ การที่รัฐบาลที่ถูกเลือกมาจากเสียส่วนใหญ่แล้วจะทำอะไรก็ได้เพราะประชาชน เลือกมาแล้วนี่หรือประชาธิปไตย การที่รัฐมีการประชุมลับเพื่อต้องการทำให้ผู้ที่มีความผิดเป็นผู้บริสุทธิ์ นี่หรือประชาธิปไตย การกลั่นแกล้งผู้ที่ตรงข้ามกับรัฐ การปกปิดสื่อต่างๆในการนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมานี่หรือประชาธิไตย ถามใจตัวเองลึกๆครับ ว่าใช่ระบอบที่เราควรนำมาปกครองประเทศจริงๆหรือ มันใช่ประชาธิปไตยที่ให้ความเท่าเทียมกับทุกฝ่ายจริงๆหรือเปล่า
พวกเรากำลังหลงทางกับคำว่าประชาธิปไตยครับ เพราะเรายึดติดกับชื่อของมัน พวกเราต้องมองดูตัวเราเองก่อนครับว่า เรารู้จักประชาธิปไตยที่แท้จริงแค่ไหน แล้วประชาธิปไตยที่ฟังกันมานั้นมันถูกต้องแล้วจริงๆหรือเปล่า
ผมอยากให้เรามองความเป็นธรรม ความชอบธรรม เป็นหลักครับ มองความเท่าเทียมที่แท้จริงให้ออก อย่าไปหลงแค่ชื่อ หลงกลพวกที่แสวงหาอำนาจ การปกครองระบอบอะไรถ้าไม่มีคุณธรรมมันก็เป็นปัญหากับประชาชนอย่างเราทัํ้ง นั้น ประชาธิิปไตยที่ขาดผู้ปกครองที่ใจเป็นธรรม มันไม่มีทางเท่าเทียมหรอกครับ
ประชาธิปไตยแบบที่คุณจักรภพกล่าวมา จึงเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประเทศเปลี่ยนระบอบเป็นระบอบทักษิณเท่านั้น เอง หาใช่ประชาธิปไตยไม่! อย่าให้ผู้แสวงหาอำนาจ อาศัยความไม่รู้จักประชาธิปไตยที่แท้จริงของเรา เอาระบอบอะไรไม่รู้มาแปะชื่อว่า ประชาธิปไตย หลอกเราอีกต่อไปเลยครับ
คุณจักรภพได้ให้สัมภาษณ์ถึง สิ่งที่ควรจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยว่าการเป็นประชาธิปไตยนั้นอำนาจของ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่นั้นควรได้ รับความชอบธรรมในหลายๆด้าน รัฐบาลควรดำเนินการโดยต้องไม่กลัวอำนาจจากมือที่มองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน เพราะเรามีระบบรัฐสภาในการตรวจสอบ ฝ่ายค้านก็สามารถทำหน้าที่คัดค้านได้ในสภา นี่คือประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่ประเทศเราจะต้องให้เป็นไปให้ได้ น่าจะประมาณนี้
ผมเห็นด้วยครับกับกลไกดังกล่าวของระบบระบอบประชาธิปไตยที่คุณจักรภพพูดถึง มันควรจะเป็นเช่นนั้นหากความเป็นจริงประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องของ ประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นจริงๆ
ระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวมานั้น มันเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือ หากประชาชนของประเทศยังมีความคิดความเชื่อ ว่า ทักษิณเป็นคนดีเพราะทักษิณเอาเงินมาให้ เหมาะหรือ กับประชาชนที่ยังหลงงมงายในเรื่องทักษิณคือพระเจ้าตากสินที่กลับมาทวงความ ชอบธรรมคืนจากราชวงค์จักรีในความเชื่อของประวัติศาสตร์เดิมๆที่ยังไม่สามารถ พิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์เลย แล้วจริงๆปัจจุบันก็มีการพิสูจน์แล้วว่า พระเจ้าตากสินนั้นไม่ได้ถูกแย่งชิงอำนาจแบบความเชื่อเดิมๆซักหน่อย เราโดนหลอกโดยอาศัยความเชื่อเดิมๆแล้วกลับมองข้ามความดีของราชวงค์จักรีที่ ทำเพื่อประชาชนแบบที่พวกเราสัมผัสได้แล้ว ที่เห็นๆเลยการเลิกทาสจากสมัย ร.๕ เอาเป็นว่า เอาแค่เท่าที่ผมสัมผัสมาตั้งแต่เกิดนี่ก็พอ ความดีที่ในหลวงรัชกาลปัจจุบันก็น่าจะเป็นที่ประจักษ์ในหลายๆเรื่องแล้วครับ ว่าพระองค์ทรงรักประชาชนของพระองค์ขนาดไหน เราย้อนดูอะไรหลายๆอย่างที่พระองค์ทรงทำมาในอดีตได้ครับ แต่ทำไมถึงมองข้ามความดีที่เราเห็นกันมาด้วยตนเองไปงมงายในเรื่องที่เราไม่ อาจรับรู้ได้นอกจากการออกมาเล่าให้ฟัง แล้วแบบนี้หรือที่ว่าประเทศไทยเหมาะจะเป็นประชาธิปไตย
ผมไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยนะครับ แต่ผมอยากให้มองมุมที่เราควรมองมากกว่าไปหลงกับชื่อของระบอบ ระบอบไหนจะไปสำคัญครับหากผู้มีอำนาจ ผู้ปกครองในระบอบนั้นขาดซึ่งความเป็นธรรม มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งนั้นครับหากขาดสิ่งนี้ การที่รัฐบาลที่ถูกเลือกมาจากเสียส่วนใหญ่แล้วจะทำอะไรก็ได้เพราะประชาชน เลือกมาแล้วนี่หรือประชาธิปไตย การที่รัฐมีการประชุมลับเพื่อต้องการทำให้ผู้ที่มีความผิดเป็นผู้บริสุทธิ์ นี่หรือประชาธิปไตย การกลั่นแกล้งผู้ที่ตรงข้ามกับรัฐ การปกปิดสื่อต่างๆในการนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมานี่หรือประชาธิไตย ถามใจตัวเองลึกๆครับ ว่าใช่ระบอบที่เราควรนำมาปกครองประเทศจริงๆหรือ มันใช่ประชาธิปไตยที่ให้ความเท่าเทียมกับทุกฝ่ายจริงๆหรือเปล่า
พวกเรากำลังหลงทางกับคำว่าประชาธิปไตยครับ เพราะเรายึดติดกับชื่อของมัน พวกเราต้องมองดูตัวเราเองก่อนครับว่า เรารู้จักประชาธิปไตยที่แท้จริงแค่ไหน แล้วประชาธิปไตยที่ฟังกันมานั้นมันถูกต้องแล้วจริงๆหรือเปล่า
ผมอยากให้เรามองความเป็นธรรม ความชอบธรรม เป็นหลักครับ มองความเท่าเทียมที่แท้จริงให้ออก อย่าไปหลงแค่ชื่อ หลงกลพวกที่แสวงหาอำนาจ การปกครองระบอบอะไรถ้าไม่มีคุณธรรมมันก็เป็นปัญหากับประชาชนอย่างเราทัํ้ง นั้น ประชาธิิปไตยที่ขาดผู้ปกครองที่ใจเป็นธรรม มันไม่มีทางเท่าเทียมหรอกครับ
ประชาธิปไตยแบบที่คุณจักรภพกล่าวมา จึงเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประเทศเปลี่ยนระบอบเป็นระบอบทักษิณเท่านั้น เอง หาใช่ประชาธิปไตยไม่! อย่าให้ผู้แสวงหาอำนาจ อาศัยความไม่รู้จักประชาธิปไตยที่แท้จริงของเรา เอาระบอบอะไรไม่รู้มาแปะชื่อว่า ประชาธิปไตย หลอกเราอีกต่อไปเลยครับ
โดย Chor Chang
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน