วิทยุชุมชนรวมพลต้านกสทช. ผวาทหารพรึ้บอ้างความมั่นคงขจัดวิทยุ-ทีวีเสื้อแดงประเคนนายทุน
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
13 กันยายน 2554
กลุ่มผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงรากหญ้าภาคประชาชน โดยเฉพาะวิทยุชุมชน ได้นัดหมายกันรวมตัวคัดค้านการเสอชื่อทูลเกล้าฯรายชื่อกสทช.ในวันนี้ เวลา 09.00น. โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปโดยไม่โปร่งใส มีทหารเข้ามาจำนวนมาก มีแนวโน้มปิดกั้นวิทยุชุมชนภาคประชาชน โดยอ้างความมั่นคง และจะเปิดทางให้บริษัทต่างชาติระดมทุนเข้ามาเพื่อที่จะประมูลคลื่นความถี่ แทนคนไทย
แกนนำกลุ่มผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงรากหญ้าภาคประชาชน รายหนึ่งกล่าวว่า วิทยุเสื้อแดงที่มีอยู่ทั่วประเทศ ได้ให้ข้อมูลการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย เปิดโปงเผด็จการอำมาตย์มาอย่างต่อเนื่องมาหลายปีมานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ประชาชนไทยทั่วประเทศหูตาสว่าง
รวมทั้งโทรทัศน์ดาวเทียมเสื้อแดงอย่างASIA UPDATEก็มีคนติดจานดูทั่วประเทศ ทำให้รู้ทันเผด็จการอย่างกว้างขวาง เมื่อวุฒิสภาลากตั้งได้สมคบกับทหารให้เข้ามายึดกุมกสทช.เช่นนี้ มองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่าเข้ามาเพื่ออ้างว่าเป็น"องค์กรอิสระ"เหมือนองค์กร ของอำมาตย์รายอื่นๆเช่น คตส. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วคงต้องมาปิดวิทยุ-ทีวีเสื้อแดงแน่ จากนั้นจะได้ใช้อุดมการณ์อำมาตย์ครอบงำประชาชนให้ตกเป็นทาสต่อไป คนก็จะไม่หูตาสว่างอีก เพราะหมดทางถูกปิดกั้นหมด
โดยกลุ่มดังกล่าวนี้ได้นัดหมายชุมนุมกันในวันที่ 13 กันยายนนี้เวลา09.00น.ที่ลานพระรูปทรงม้า และจะเดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องขอให้แก้ไขกฎหมายประมูลคลื่นความถี่ โดยแยกออกจากฏหมายโทรคมนาคมกับกฏหมายวิทยุกระจายเสียง-โทรทัศน์ออกจากกัน
เมื่อวานนี้คณะกรรมการกสทช.ได้เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ได้พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี เป็นประธาน ส่วนตำแหน่งรองประธาน 2 คน เลือก พ.อ.นที ศุกลรัตน์ และพ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ
ทั้งนี้หนังสือที่เตรียมยื่นต่อนายกรัฐมนตรี มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
เรื่อง ขอความกรุณาชะลอการทูลเกล้า กสทช.ที่สรรหาโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อมาบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีความเป็น ธรรมขัดต่อธรรมนูญและเสนอแก้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญ
เรียน พณ ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา สมาชิกวุฒิสภาได้มีการสรรหา กสทธ.11 คน แล้วนั้น ข้าพเจ้าและผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชน และคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ติดตาม การดำเนินการสรรหา กสทช. มาตั้งแต่ต้น และเป็นที่ประจักษ์ ตามสื่อต่างๆว่าการสรรหา กสทช. เป็นไปด้วยความไม่โปร่งใส
ข้าพเจ้าและผู้ร่วมลงชื่อเห็นว่า ควรจะชะลอการยื่นทูลเกล้าฯไว้ก่อน จนกว่าจะมีการดำเนินการให้ถูกต้องโปร่งใส เพื่อมิให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาหาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงของประเทศ
และที่สำคัญคณะกรรมการ กสทช.ทั้ง11 คนต้องมาใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชน ของ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และพรบ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ไม่เป็นธรรมและขัดกับกฏหมายรัฐธรรมนูญ คือมาตรา ๔๑ วรรค ๖ ในกรณีที่เป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงภาคธุรกิจ ให้ใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่เท่านั้น ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ
ปัจจุบันวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนมีประมาณหนึ่งหมื่นคลื่น(๑๐,๐๐๐) ที่เกิดขึ้น ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ พรบ .๒๕๔๓ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้นำคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติ มาใช้ เพื่อประโยชน์ สาธารณชนอย่างเสรีและเป็นธรรมโดยความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฏหมายรัฐธรรมนูญ และหลักการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ คปค . โดยการนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพ.ต.ท.ดรทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น และแต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและให้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้นมา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งจัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสอง ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นทั้งใน ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ อีกทั้งประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการการประกอบกิจการสื่อ มวลชนสาธารณะ ตามวรรคสอง ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมีให้มีการรวบรวมการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ หรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเอง
พ.ร.บ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔๑ วรรค ๖ ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ในสมัยของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เป็นรัฐบาล ได้ร่างกฎหมายฉบับนี้ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯลงพระปรมาภิไธย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
และยังมีกฎหมายมาตรา ๕๗ โทษปรับทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการวิทยุภาคประชาชน ที่มีรายได้จาการประกอบกิจการไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม แต่มีโทษปรับเท่ากันคือ
(๑)โทษปรับทางปกครองชั้น ๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(๒)โทษปรับทางปกครองชั้น๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทแต่ไม่เกินห้าล้านบาท
(๓) โทษปรับทางปกครองชั้น ๓ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าแสนบาท แต่ไม่เกินห้าล้านบาท
มาตรา ๖๖ ผู้ใดใช้คลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ หรือประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ หรือให้บริการนอกเหนือจากกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละไม่เกินห้าหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๑๘ การกำหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงระยะเวลาที่คุ้ม กับการลงทุน วัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการ แนวทางการพัฒนากิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตความต้องการของผู้บริโภค ความเสมอภาคในการแข่งขันของผู้ประกอบกิจการรวมทั้งผลการประเมินคุณภาพรายการ
ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงให้มีอายุไม่เกินเจ็ดปี
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ให้มีอายุไม่เกินสิบห้าปี
ในกรณีที่ใบอนุญาตตามวรรคสองสิ้นอายุ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่อย่างน้อยเก้าสิบวันแต่ไม่เกิน หนึ่งปีก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุแต่ในกรณีที่ใบอนุญาตตามวรรคสามสิ้น อายุให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่อย่างน้อยเก้าสิบวันแต่ไม่ เกินสองปีก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ
เมื่อได้รับคำขอตามวรรคสี่แล้วให้คณะกรรมการพิจารณามีคำสั่งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในระหว่างนั้นให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าคณะกรรมการจะสั่ง ไม่อนุญาต ในการสั่งไม่อนุญาตให้คณะกรรมการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตาม ส่วนด้วย การยื่นคำขอรับใบอนุญาตและการพิจารณามีคำสั่งตามวรรคสี่และวรรคห้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้าพเจ้าและผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชน และคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ดำเนินการ เห็นว่า กฎหมายที่ออกมาในรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ไม่มีความเป็นธรรม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มิชอบด้วยกฎหมายหลายประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. องค์ประกอบการดำเนินการสรรหไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. การสรรหาบัญชี 2 น่าเชื่อว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. การเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครบางกลุ่มให้ได้รับการคัดเลือกเป็น กสทช
4. ผู้มีส่วนได้เสียในการร่าง พ.ร.บ. กสทช มาสมัครเป็น กสทช ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การหาผลประโยชน์ใน พ.ร.บ. ที่ตนมีส่วนในการร่างนั้น
5. บุคคลกับตำแหน่งมีคุณสมบัติไม่ตรงสายงาน
และปัญหาสำคัญ ตำแหน่ง กสทช นั้นมีอำนาจมากมายในการออกข้อบังคับ ข้อกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ได้เอง ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระ ถ้าได้บุคคลหรือคณะบุคคลที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมีข้อกังขาในการเข้าสู่ตำแหน่งอันมิชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้น จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการบริหารจัดการประเทศของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นอย่างยิ่ง
และจะส่งผลกระทบไปยังผู้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์รายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ต่อ พ.ร.บ. ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 ที่มีบทบัญญัติหลายมาตรที่เป็นการปิดกั้นการประกอบวิชาชีพและการเข้าถึงการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เป็นอย่างยิ่ง
จึงเรียนมาเพื่อทราบโปรดทราบและพิจารณาชะลอการยื่นทูลเกล้าฯรายชื่อ 11คณะกรรมการ กสทช. และขอให้ดำเนินการพิจรนาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนสืบไป
******
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น