บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

วิพากษ์โครงสร้างการรวมศูนย์ และข้อเสนอต่อการกระจายอำนาจให้จังหวัดจัดการตนเอง



คุณ พงศ์โพยม  วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.)ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการกระจายอำนาจให้จังหวัดเชียงใหม่จัดการตนเอง ดังนี้
การเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย   ในอดีตก่อน พ.ศ. 2435 ความเป็นรัฐชาติ ( Nation state)  ของ เมืองไทยแทบไม่มีเลย การปกครองเป็นแบบหลวมๆ การปกครองหัวเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญก็ส่งลูกเจ้าพระยามหากษัตริย์ไปปกครอง ส่วนหัวเมืองเล็กๆ น้อยๆ ก็แต่งตั้งเอาผู้มีอิทธิพล เอานักเลงท้องถิ่นมาตั้งเป็นขุนหลวง เป็นพระยาขึ้นมาปกครอง กินเมืองไป ขออย่าทำให้ราษฎรเดือดร้อน บ้างก็ใช้สอยกำลังของราษฎรสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง
การ ที่รัชกาลที่ 5 มอบให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพคิดเรื่องการรวมชาติขึ้นมาในช่วงนั้นน่า จะเป็นเรื่องที่ดี 120 ปีที่คิดระบบการปฏิรูปบ้านเมืองขึ้นมาก็เป็นคุณูปการ และเหมาะสมกับเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคสมัยนั้น จะบอกว่าไม่ดีเลยก็ไม่ได้ เราก็ผ่านพ้นวิกฤติของปัญหาและพัฒนาบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ
แต่ เราก็พบว่าปัจจุบันสังคมมันสลับซับซ้อนมากขึ้น ปัญหามีความยุ่งยากมากขึ้น และการสั่งการแบบ เดียวแต่ให้ปฏิบัติการครอบคลุมทุกพื้นที่ (Universal) ไม่เฉพาะเจาะจง ไม่แยกแยะความแตกต่าง (Particular)  มันก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

                กลไกทางราชการอย่างเดียวทำให้ประชาชนอ่อนแอ ผม เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายอำเภอ ผมทำให้ประชาชนเยอะ ทำสะพาน ทำถนน ปลูกต้นไม้ ทำโดยไม่ถามเคยถามประชาชนเลย สิ่งที่ทำผมปรารถนาดี ผมเรียนเก่งมีความอยากทำให้ มีความรู้สึกรับผิดชอบดูแลราษฎร จับโจรผู้ร้ายเสี่ยงชีวิตไปก็เยอะแต่สิ่งที่ทำมาทั้งหมดนี้ มาย้อนดูภายหลังมันทำให้ท้องถิ่นอ่อนแอทั้งสิ้น เหมือนกับเรามีลูกเราทำให้ทุกอย่าง ผมท้าทายเลยว่าถ้าเรามีลูกแล้วอุ้มตลอดไม่ไห้เดินเลย 10 ขวบก็เดินไม่ได้ แต่ถ้าวางให้ลูกฝึกเดินก็คิดว่าไม่เกิน 2-3 วันก็เดินได้
สิ่ง เหล่านี้ก็อยากจะโทษตัวเองเหมือนกัน โทษมหาดไทยที่ดูแลราษฎรดีเกินไปหรือไม่ จนทำอะไรไม่เป็น และพอมีใครที่ฉลาดมากๆ ขึ้นมา ก็ทำประชานิยมลด แลก แจก แถมให้ชาวบ้าน ชาวบ้านก็ชอบ และเขาก็จะได้คะแนนจากชาวบ้านจริงๆ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน ในยุคที่เราเข้าไปอยู่กระแสอาเซียน ( ASEAN Economic Community) และ FTA.  WTO ถามว่ารัฐบาลจะไปต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างนี้ได้หรือไม่ แต่ถ้าเรากระจายอำนาจมากขึ้น ถ้าเราให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งท้องถิ่นก็สามารถจัดการท้องถิ่นได้เอง รวมถึงการที่จะไปต่อสู้กับกระแสต่างๆ ที่เข้ามาก็เป็นเรื่องของรัฐบาลท้องถิ่น
                วิธีการคือ ยกเลิกการบริหารส่วนภูมิภาค เชื่อว่าถึงแม้จะยกเลิกภูมิภาคเราก็ยังเป็นรัฐเดี่ยวเหมือนญี่ปุ่น เกาหลี เครื่องมือในการปกครองตนเองของรัฐบาลท้องถิ่น (Autonomy Tool Local Government) แต่ยังโอนอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น เศรษฐกิจท้องถิ่น สังคมท้องถิ่น การเมืองท้องถิ่นให้ อปท. สำนักงานส่วนกลางที่ใหญ่อาจมีได้ เช่น สำนักงานจังหวัดเอาไว้ประสานงานกับแผนชาติหรือแผนท้องถิ่น หรือว่าหน่วยวิจัยข้าว กุ้งปลาก็มีได้  อีกอันคือหน่วยที่จะประสานระหว่างท้องถิ่นที่มีอำนาจมากขึ้นกับรัฐบาลกลางที่ต้องคอยกำกับดูแลอยู่เหมือนกันเพราะว่าเราเป็นรัฐเดี่ยว
                คณะปฏิรูปมองว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอไม่ใช่คำตอบ คำตอบคืออำนาจของกระทรวง ทบวง กรมทั้งหลายที่เก็บไว้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจริงๆ เป็น Front office เท่านั้นเองทำอะไรไม่ได้ แต่ว่างบส่วนใหญ่เป็นงบ Function ผ่าน มาทางกระทรวง ทบวง กรมทั้งสิ้นงบเปลืองพวกนี้ไม่ได้สร้างการพัฒนาจังหวัดเลย เวลาผมทำแผนจังหวัดระดมคนทั้งภาควิชาการ เอกชนมาช่วยกันทำทำเสร็จต้องเอาไปขอตามกระทรวง ทบวง กรม วิธีทำงบประมาณของเขาก็จะมีเพดานมาให้ว่ากระทรวงนี้ไม่เกินเท่านี้ตอนดัดก็ ไม่ได้ถาม ในที่สุดเราก็จะได้เตียงคนไข้ที่ไม่มีอุปกรณ์ มีทางเดียวคือต้องเอางบทั้งหมดมาแยกเป็นรายจังหวัด แล้วให้จังหวัดล่ำซำคิดเองทำเอง นี่เป็นความคิดของ อ.ชัยอนันต์  สมุ ทวณิช ลองล่ำซำกันเยอะๆ เป็นพันๆล้านต่อปีจังหวัดจะมี 2 ตัวคือ การแก้ปัญหาของจังหวัด กับความฝันของจังหวัดเราอยากเป็นอยากได้อะไรกับเราอยากแก้ปัญหาอะไร จะออกมาในรูปของโครงการที่เป็นรูปธรรม โครงการอาจจะมีใบโครงการแต่เงินถ้าทำได้ 50 แต่อย่างน้อย 51 ปีหน้าอาจได้ทำต่อ แต่ปัจจุบันระบบการทำงบประมาณไม่ใช่อย่างนั้น 51 ปีหน้าจะหายไปมาทำกันใหม่ ไม่รู้ว่า 51 ปีหน้าจะกลับมาหรือไม่เกิดมีคนพูดเก่งก็จะหายไป เมืองไทยเราผมมองว่าเหมือนรถ 4 สูบแต่วิ่งได้แค่ 3 สูบ นี่คือปัญหาของเรา
                ถ้าเป็นมหานครเชียงใหม่แต่อำนาจยังอยู่ที่กระทรวง ทบวง กรมเหมือนเดิมทำอะไรไม่ได้ ผังเมืองก็อยู่ที่กรมผังเมืองเหมือนเดิม ผมต้องเตือนว่าระวังอย่างหลบกับดักโครงสร้างมากนัก แต่ตัวเนื้อแท้ของปัญหาคือตัวอำนาจที่อยู่ตามกระทรวง ถามว่าผู้ว่าฯ เป็นผู้รับเรื่องจะทำโรงงานมายื่นเรื่อง อุตสาหกรรมจังหวัดก็รับเรื่องไว้ตรวจดู เสนอผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ ให้ความเห็นไปที่กรม  กรมจะเอาไม่ เอาก็ได้ เพราะว่าอำนาจที่กระทรวง ทบวง กรมให้จังหวัดมาเป็นอำนาจที่คอยบังคับเขา อย่างกรมเจ้าท่ามอบจังหวัดมอบท้องถิ่นก็จริง แต่มอบเฉพาะเวลาบรรทุกล้ำลำน้ำแต่อนุญาต อนุมัติ ยกเว้นไม่ได้ให้ต้องไปขออธิบดี การเป็นมหานครหรือการเป็นโครงสร้างท้องถิ่นใหญ่โตต้องไปดูเนื้อแท้ของอำนาจ ความเลื่อมล้ำทางด้านอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากรถ้าเข้าถึงอำนาจทางการเมือง เข้าถึงอำนาจทางสังคม การศึกษา วัฒนธรรม ถ้ายกเลิกภูมิภาคลงและยังอยากมีผู้ว่าฯ ผู้ว่าทำหน้าที่คอยกำกับ ดูแล แนะนำ ให้ความช่วยเหลือถ้ามองในแง่เจตนาดี แต่ถ้าผู้ว่าฯ ไม่ได้ทำอะไรจะยังใช้คำว่าผู้ว่าฯ อยู่หรือไม่ถ้าคุณอายก็ถอยไปเป็นผู้ตรวจการจังหวัดหรือผู้ตรวจการรัฐบาล เพราะรัฐบาลกลางต้องกำกับดูแลท้องถิ่น นายอำเภอก็ยังอยู่ได้แต่อย่าทำอะไร ปล่อยให้ชาวบ้านบริหารจัดการชีวิตตัวเอง ทุกครั้งที่มีเรื่องกระจายอำนาจกระทรวงมหาดไทยออกมาต่อสู้หัวชนฝา แต่กระทรวงอื่นเงียบแท้ไม่ออกมาต่อต้านเรื่องการปฏิรูป สมมติเรามีท้องถิ่นไม่มีภูมิภาคแต่รัฐบาลกลางก็มีนายอำเภอ ผู้ว่าฯ คอยกำกับให้อยู่ในกรอบความมั่นคง แต่อะไรที่เป็นการปฏิบัติเรื่องน้ำ ดิน ป่า การศึกษา วัฒนธรรม วัดคลุมไปหมด
ยกตัวอย่างเรื่องการศึกษา สมมุติว่าโรงเรียนทุกโรงเรียนในประเทศไทยเป็นของจังหวัด ถามว่าจะมีใครยอมให้ลูกหลานโง่กว่าอีกจังหวัดหนึ่ง จะเกิดการแข่งขันกันไม่มีใครยอมใคร เด็กพอเรียนตามระบบที่เขาจัดให้มันออกไม่ได้กลับมาเป็นชาวไร่ชาวนาไม่ได้ อย่างในหลายประเทศในสแกนดิเนเวียเด็กไม่มีสิทธิ์เลือก เขาจะประเมินเด็ก ป.1-6 ว่าจะเรียนอะไร ถ้าจะเรียนตามใจต้องออกเงินเองเพราะรัฐประเมินแล้วว่าคนนี้เหมาะกับอะไร ของเราถ้าโรงเรียนเป็นของจังหวัดครูทั้งหลาย ที่อยู่ รร.ประจำจังหวัดคุณนายทั้งหลายที่ไปฝากๆ กันจะอยู่ไม่ได้ คุณภาพของลูกหลานก็จะดีขึ้น
ท้อง ถิ่นต้องออกกฎเกณฑ์บางอย่างได้แต่ละจังหวัดไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ควรที่จะมีคนที่บังคับกฎเกณฑ์นั้นได้ ในส่วนที่แบ่งอำนาจมาจากส่วนกลางเพราะว่าผมไม่เชื่อว่าจะยอมให้ตำรวจแห่ง ชาติต้องไปขอแบ่งบางเรื่องเช่น จราจร ตำรวจไปจับผู้ร้ายแทนการจับรถให้ตำรวจท้องถิ่นจัดการ
ข้อนี้สำคัญที่ต่อต้าน คือมหาดไทยจะกลัวนายกที่มาจากการเลือกตั้งกลัวว่าประชาชนกุมรายได้ และส่งสารว่าโครงสร้างเก่าไม่ดีอย่างไร คณะปฏิรูปเสนอให้มีกรรมการภาคประชาสังคมถ่วงดุลจากสภาท้องถิ่นที่มาจากการ เลือกตั้ง โดยเฉพาะเรื่องของโครงการต่างๆ ที่มีงบประมาณมากกว่าเดิม ตอนตั้งโครงการมีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นไม่ใช่มีแค่สภาท้องถิ่น อย่างเดียว ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมทุกระดับตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ การตรวจรับ เกิดความโปร่งใสมีอำนาจในการเปลี่ยนตัวผู้บริหารได้ ถ้าโครงการนี้ทางสภาจังหวัด สภาเทศบาลยืนยันแต่ชาวบ้านไม่เห็นด้วยก็มีการลงมติ ถ้านายกฯ ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวชาวบ้านหาหลักฐานได้
รัฐบาลกลางก็ยังมีภาระระดับชาติ ป้องประเทศรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายใน การจัดเก็บภาษีบางเรื่องรัฐบาลจัดเก็บบางเรื่องภาษีจัดเก็บ การจัดเก็บภาษีก็มีข้อคิดเหมือนกัน ผมสังเกตนายกฯ เวลาผมไปดูหนี้ค้างชำระมันนิ่งเลยไม่มีการตาม การที่มีคนกลางมาจัดเก็บอาจจะดีก็ได้ อย่างในเด็นมาร์กใครก็ตามที่จ่ายเงินให้ใครจะต้องหักภาษีส่งบางตัวหัก 50 กว่า เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลกลางมีหน้าที่ในการกำหนดและควบคุมมาตรฐานกำหนดงบบุคลากรว่ากี่ เปอร์เซ็นต์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นระเบียบมาก กฎหมายไม่ใช่เฉพาะเรื่องของมหาดไทย ทุกกฎหมายพยายามที่จะกันคนเลว แต่ว่าผู้ร้ายมีแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้แต่ทำให้ 95 เปอร์เซ็นต์ร้ายไปหมดเจตนาดีแต่ว่าวิธีการห่วย เรื่องที่เราจะเข้าไปดูแลจะสามารถกำหนดกรอบ เหมือนเด็กให้วิ่งอยู่ในกรอบถ้าจะปีนออกเราก็เตือน เสนอให้รัฐบาลกลางไม่มีอำนาจถอดถอน ปัจจุบันผู้ว่ายังมีอำนาจถอดถอนเทศบาลตำบล กรณีที่มีข้อขัดแย้งคณะปฏิรูปเสนอให้มีอนุญาโตตุลาการ กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ไปเจอกันที่ศาลศาลปกครอง เสนอให้มีแผนกปกครองท้องถิ่นขึ้น มองว่ารัฐบาลจะไม่มีอำนาจพัฒนาประเทศ จริงๆ แล้วรัฐมีเครื่องมือเยอะ มีอำนาจเยอะ ก็ใช้วิธีคุยกันว่าดีอย่างไร แผนพัฒนาจังหวัดมีปัญหาเยอะ อย่างเช่นไปบอกประจวบคีรีขันธ์ว่าต้องเป็น Southern seaboard ตอนนี้เดินขบวนกันทุกวันแต่ไม่เคยมาถามว่าทำไมไม่อยากเป็นประเด็นก็เลยเกิดขึ้น
คณะปฎิรูปอยากจะเห็นว่าท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้น มีอำนาจมากขึ้นจะต้องมีการปฏิรูประบบการคลัง และระบบบริหารงานบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน กับดักตรงนี้ต้องระวัง เช่นผมอยู่แม่ฮ่องสอนอยากได้ดอกเตอร์ไปบริหารจังหวัด ผมเสนอเงินเดือน 200,000 - 300,000 บาท ตราบใดที่เขายังวิ่งอยู่ในกรอบงบประมาณที่ส่วนกลางกำหนดมาตรฐาน ท้องถิ่นควรจะลงทุนได้ รูปแบบของท้องถิ่นคณะปฏิรูปเสนอ 2 ระดับคือ ระดับจังหวัดเรายังใช้องค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ไม่ใช่เจ้านายของเทศบาลและ อบต. ส่วน อบต. เราเห็นว่าควรจะเปลี่ยนเป็นเทศบาลในโอกาสต่อไป อบจ. จะเติมเต็มในส่วนที่ขาดอยู่ อันที่สองคือเชื่อมในส่วนที่จะต้องเชื่อม
ภาคประชาชนเราเข้มแข็งจริงหรือไม่ ต้องระวังกับดักคือเรื่องของอำนาจกระทรวง ทบวง กรม อย่าปล่อยไว้ต้องเอามา คน เงิน งบประมาณ อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบอย่าไปหลงแค่โครงสร้างเพราะโครงสร้างอย่างเดียวไม่ทำให้ท้อง ถิ่นดีขึ้น อันที่สองเรื่องระบบราชการอย่ามาเอาครอบท้องถิ่นที่เราเรียกร้อง อย่าทำให้อำมาตย์น้อยเข้ามาทดแทนอำมาตย์ใหญ่ เพราะมีการโกงกันเยอะ เราอยากเห็นว่าคนท้องถิ่นคือลูกหลานที่ทำเพื่อท้องที่ไม่ใช่หาผลประโยชน์ อันที่สามคืออำนาจและผลประโยชน์ อำนาจทำให้คนดีๆ เสียไปเยอะและผลประโยชน์ไม่ได้เข้าใครออกใคร ฉะนั้นต้องระวังว่าเราจะเซ็ทระบบที่ให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาสู่ชุมชนจะต้อง สร้างเครื่องมือ เช่นเรื่องของการให้คะแนน (Rating) ในการทำงานเรื่องความสะอาด ความโปร่งใสเพื่อให้ชาวบ้านมีข้อมูลที่จะทักท้วงว่านายกฯ เราทำไมสอบตกเรื่องความสะอาด ผมมั่นในว่าถ้าท้องถิ่นมีอิสระมีงบมาขึ้น มีคนมากขึ้นสามารถจะทำอะไรได้ และเรื่องการจัดอันดับ (Ranking) มีการประกาศสิบอันดับ ( Top Ten) ชาวบ้านก็เริ่มมีฝ่ายค้านหรือฝ่ายโจมดีว่าทำไมนายกฯ เราไม่ได้ก็เกิดความกดดันให้ผู้บริหารทำดี
คณะ ปฏิรูปมองเป็นภาพใหญ่ คือ ข้าราชการส่วนใหญ่ งบส่วนใหญ่ อำนาจส่วนใหญ่ลงท้องถิ่นหมด ต้องมีทุกอย่างครบ ข้าราชการที่ไม่โอน ให้เกษียณไปเลย อย่างกรมพัฒนาชุมชนก็ไม่รู้จะทำอะไร ยกตัวอย่างกรมส่งเสริมการเกษตรให้ส่งเสริมแต่วิชาการ ส่งเสริมด้านไหนชาวบ้านก็จะรู้ ฝ่ายรัฐถอยมาเป็นฝ่ายวิชาการ มีเจตนาดีให้คำช่วยเหลือแนะนำ ผมไปดูงานที่เยอรมันมีจังหวัดกับท้องถิ่นอยู่คู่กัน แต่จังหวัดมีไม่กี่คน เวลาหนอนลงนาข้าวใช้ยาตัวนี้สิแต่คุณจะใช้หรือไม่ก็แล้วแต่ ถ้าจะสร้างถนนเรามีแบบ 10 แบบให้เลือก เพราะท้ายที่สุดประชาชนจะฉลาดไม่ยอมอะไรง่ายๆ ที่เทศบาลในเยอรมันเข้ามีเส้นสีแดงบอกว่าอีก 2 ปีจะสร้างถนน แล้วถามว่าคนไม่ไปซื้อที่ดินไว้หรือที่นั่นไม่ทำกันแต่บ้านเราคนจะสร้างปิด และไปซื้อไว้หมด ที่เยอรมันถ้ามีคนทำอย่างนั้นจะมีคนรู้และมีคนยกประเด็นขึ้นมาและหมดอนาคต ทางการเมือง สิ่งที่ต้องระวังอักอย่างหนึ่งคือการรวมศูนย์รูปแบบแฝง ในเรื่องการบริหารงานบุคคล ข้อสังเกตสำคัญต้องระวังว่าพอกระจายอำนาจมากๆ คนที่จะใหญ่โตที่สุดในความเห็นของผมคือ หัวหน้าตำรวจจังหวัดเพราะว่าเป็นตำรวจแห่งชาติอยู่ ต้องมีตำรวจท้องถิ่นกับตำรวจแห่งชาติอยู่ ตำรวจแห่งชาติปัจจุบันผู้ว่าฯ กับผู้การตำรวจไม่ค่อยจะลงรอยกันเท่าไหร่ แต่ก็เกรงใจกันอยู่ ถ้าต่อไปงานรักษาความสงบเรียบร้อยไปอยู่ที่ตำรวจอย่างเดียวจะน่ากลัว เพราะถ้าร่วมกับนายกท้องถิ่นคนไหนก็จะมีสถานบันเทิงเกิดขึ้นมากมายและมี ตะกั่วเป็นเครื่องมือในการดูแลก็ต้องระวังไว้ ความรุนแรงยังมีอยู่และต้องระวังการเมืองใหญ่ลงมา คณะปฏิรูปอยากเอาอำนาจจากส่วนกลางแยกไปให้ท้องถิ่น ผลประโยชน์แยกไปให้ท้องถิ่นเพื่อให้นักการเมืองใหญ่ๆ ที่แย่งอำนาจกันอยู่ที่กรุงเทพฯ มันลงมาข้างล่างคนเก่งๆ ลงมา อีกอย่างถ้าผมจบปริญญาเอกเป็นครูแล้วโดนนายกกดขี่ข่มเหงอาจจะลาออกมาเป็น นายกแข่งขันเอง เพราะพฤติกรรมมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและพออำนาจมา เงินมา ผลประโยชน์มาคนที่ไม่เคยสนใจท้องถิ่นก็จะหันมาสนใจ ถ้าอบต. กุมชีวิตเขาทั้งหมดพฤติกรรมที่คนไทยไม่สนใจการบ้านการเมืองก็จะดีขึ้น

เพิ่มเติม
การ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เมื่อวานผมไปสงขลา ทางสงขลาบรรยายสรุปบอกว่ามีส่วนราชการภูมิภาค 34 คน มีส่วนกลาง 220 คน เชียงใหม่กับโคราชก็มี 200 คนเหมือนกัน เราอย่ามาหลงประเด็นเรื่องเลือกผู้ว่าฯ ถ้าเลือกผู้ว่าฯแต่ อำนาจยังอยู่รัฐบาลกลางเต็มเหนี่ยว มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร งบประมาณท้องถิ่นที่ได้รับ 300,000 ล้านบาท เห็นว่าขึ้นมา 400,000 ล้านบาท ถ้าเทียบกับ 2,000,000,000,000 บาท ก็ประมาณ 15-16 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ทำอย่างไรงบประมาณลงมาท้องถิ่นดูแลบริหารจัดการตนเองมันกลายเป็น 45-60 เปอร์เซ็นต์ และข้าราชการทั้งหลายเป็นข้าราชการที่สังกัดท้องถิ่นเป็นพนักงานของท้องถิ่น แล้วภารกิจส่วนใหญ่เป็นของท้องถิ่นทั้งหมด ผังเมืองแต่ละจังหวัดต้องวางให้ดี ผมคิดว่าต้องเรียนจากความเจ็บปวด ถ้าโง่เลือกคนไม่ดีก็ต้องยอมรับความเจ็บปวด ไม่ใช่ผู้ว่าฯ นายอำเภอไปปลดให้ ผมยืนยันประชาชนไม่ได้เจ็บปวดอะไรกับท้องถิ่นเลย ท้องถิ่นเข้ามาจัดการหมดจัดการได้บ้างไม่ได้บ้างก็สู้กันไป ผมคิดว่าถ้าส่วนใหญ่ทั้งคน เงิน อำนาจหน้าที่ลงมาที่ท้องถิ่นและประชาชนเรียนรู้ที่จะจัดการตนเอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคืออำนาจหน้าที่ที่จะต้องดึงมาจากกระทรวง ทบวง กรมแล้วนอกเหนือจากการเลือกตั้งบุคคลแล้ว ก็คือเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นคำถามมาก ในคณะปฏิรูปมีภาคประชาสังคม หรือ NGO อยู่หลายท่าน แต่ในชีวิตคนต้องทำมาหากินจะมานั่งดูนายกฯ ทุกวันไม่ได้ ฉะนั้นกลไกการสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่กลายเป็นเป็น อำมาตย์น้อย ไม่กลายเป็นผู้มีอิทธิพล มาเฟียเจ้าพ่อจะทำอย่างไร ถ้าเราตอบคำถามตรงนี้ได้ ผมคิดว่าเลือกตั้งผู้ว่าฯ แล้วเอาหน้ามาบริหารจัดการไม่มีใครเขาว่าอะไร

ไม่ ว่าเราจะจัดการตนเองอย่างไร กระจายอำนาจอย่างไร เลิกภูมิภาคอย่างไร รัฐบาลกลางก็ต้องมีตัวแทนมาดูแลเราว่าเราออกนอกลู่นอกทางมากน้อยแค่ไหน ที่ผมเสนอว่าอาจจะเป็นผู้ตรวจการจังหวัด เพราะชื่อผู้ว่าหายไป เลิกภูมิภาคไปแล้ว ส่วนนายอำเภอก็เป็นผู้ตรวจการระดับอำเภอ ไม่ได้ทำอะไรคอยมาดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือ กำนันผู้ใหญ่บ้านเราไม่ได้เสนอให้ยกเลิก แต่ความรู้สึกผมตั้งแต่มี อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่มีเงิน ผมมานึกดูเหมือนผัว-เมีย ผัวมีหน้าที่ดูแลโลกไม่ให้เกเร ดูแลความปลอดภัยของลูกเมียก็คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เมียก็เหมือนท้องถิ่นปัดกวาด ทำความสะอาด ดูแลลูกหลาน ฉะนั้นทำงานด้วยกันได้ แต่ต้องเปลี่ยนบทบาท กำนัน ผู้ใหญ่บ้านถ้าจะอยู่ต่อไปก็ทำงานซีกรักษาความสงบเรียบร้อยเพิ่มมากขึ้นเป็น ผู้ช่วยตำรวจไปเลย เพิ่มอำนาจให้เขา ดูแลคนแปลกหน้า โจร ผู้ร้าย แต่เมื่อใดที่หมดความจำเป็น ในบางพื้นที่อยากเลิกก็เลิกไป ถ้าเราทำเรื่องท้องถิ่นเราไม่ได้เสนอให้เลิกแต่เสนอให้เปลี่ยนบทบาทไปในด้าน รักษาความสงบเรียบร้อยให้มากขึ้น เพราะด้านพัฒนาท้องถิ่นเอามาทำหมดแล้ว

คณะ ปฏิรูปพูดเรื่องนี้ว่าการเอาอำนาจของรัฐในส่วนกลางมาให้ท้องถิ่น ไม่ใช่ว่าทุกเรื่องทุกอย่าง บางเรื่องส่งตรงมาที่ภาคประชาสังคมเลยเช่นเรื่องวัฒนธรรม ศีลปะ ศาสนา ไม่เห็นจะต้องผ่านท้องถิ่น การเอาเงินภาษีมาเป็นตัวตั้งก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง คือรัฐบาลกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลท้องถิ่น 70 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้จะทำให้งานส่วนกลางหายไปโดยปริยายเพราะไม่มีเงิน แต่ต้องเอาเรื่องอำนาจมาด้วย ยกตัวอย่างเชียงใหม่มีเงินเยอะแยะ อยากจะจัดการป่าเสื่อมโทรม แต่กรมป่าไม้บอกว่าอย่ายุ่งแล้วจะทำอย่างไรและเรื่องอำนาจต้องคู่กันด้วย อำนาจส่วนกลางจำเป็นต้องสลายหรือแบ่งปันมา ไม่เช่นนั้นจะไม่มีประโยชน์อะไร

เรื่อง การป้องกันประเทศเราก็ไม่ได้ไปเตะ ผมมีความเชื่อว่าถ้าจังหวัดที่เป็นท้องถิ่นมีความเข้าแข็งขึ้นจะสามารถช่วย ราชการได้เยอะกว่าภูมิภาค เพราะว่าเป็นเป็นลูกเป็นหลานและเป็นคนที่อยู่ชายแดนหรือเกี่ยวกับความมั่นคง สามารถที่จะประสานและงบประมาณจะเอื้อต่อการดูแลความมั่นคง รวมทั้งความสงบเรียบร้อยได้เร็วกว่า ถ้าเงินไปอยู่ที่ท้องถิ่นและมีอำนาจที่จะเอื้อเฟื้อมาช่วยใน
Powered by Chiangmai Webdesign


เรื่องนี้ ไม่มีความรู้เลยครับ พี่ๆ อ่านแล้ว คิดอย่างไร คอมเม้น แนะนำกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง