วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
ครม.มติตั้ง “อุกฤษ” เป็นประธาน กก.อิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ รื้อศาล-องค์กรอิสระ อ้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สร้างเชื่อมั่นการลงทุน
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า
ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 วรรค 1 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ 2554 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง
โดยมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรม ความชอบธรรม และความเสมอภาคของบุคคลในสังคม เพื่อให้บุคคลมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ที่เกิดจากอคติต่าง ๆ ของผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ
0000000
รัฐบาลกำลังจะเหลิงอำนาจเข้าไปควบคุมทั้ง นิติบัญญัติ และ ตุลาการเชียวหรือ?
แค่ตามตัวนักโทษที่ศาลพิพากษามารับโทษให้ได้ นั่นคือการรักษาหลักนิติธรรม นิติรัฐแล้ว
ถ้าไม่เคารพคำพิพากษาของศาล ก็ไม่ควรมายุ่งเกี่ยวอะไรกับประเทศนี้
ไม่เคยได้ยินว่า ฝ่ายบริหารสามารถควบคุมดูแลการทำงานของ อำนาจตุลาการ และ นิติบัญญัติ
ทั้งสามอำนาจต่างมีอิสระแก่กัน มิใช่อำนาจใดเหนืออำนาจใด
นี่มันจะใกล้ๆ เผด็จการไปทุกทีแล้วนะ
ถ้าอำนาจบริหารไปแตะองค์กรอิสระ แตะศาลเมื่อไหร่ ก็อย่าหวังว่าจะอยู่กันอย่างเป็นสุข
อย่าคิดว่ามีเสียงมากในสภาแล้วจะทำอะไรตามใจตัวเองได้นะ สิบอกไห่
แคน ไทเมือง
00000000000
บทความย้อนหลัง ( พลพรรคเสื้อแดงอ้างอิงมากที่สุด)
ควันหลงคดียุบพรรค "อุกฤษ"วิพากษ์"คำวินิจฉัยสวนเลน"
8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 21:48:00
คอลัมน์ บนความเคลื่อนไหว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้ยุบพรรคการเมือง 4 พรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทยนั้น ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบทุกคน โดยอาศัยบทบัญญัติตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ประกาศ คปค.) ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ซึ่งเป็นประกาศที่ออกมาภายหลังการกระทำความผิดของพรรคการเมืองที่ตกเป็นผู้ถูกร้อง
ล่าสุด ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญหลายสมัย ออกมาวิพากษ์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ "รุ่นน้อง" อย่างเผ็ดร้อน พร้อมเหตุผลประกอบที่น่าสนใจไม่น้อย
ศ.ดร.อุกฤษ เริ่มต้นที่องคาพยพของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง และนั่นคือปมเหตุแรกที่ทำให้เกิดปัญหา
"จริงๆ แล้วบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอยู่ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับของประเทศไทย แต่สมัยก่อนองค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีประธานรัฐสภาเป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยประธานศาลฎีกา เจ้ากรมอัยการ เจ้ากรมพระธรรมนูญ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง โดยไม่ได้มีอำนาจมากมายเท่าปัจจุบัน ประเด็นที่จะขึ้นสู่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองภายหลังการเลือกตั้งเท่านั้น"
ศ.ดร.อุกฤษ อธิบายว่า การที่องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตมาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา มีประสบการณ์สูง และเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เมื่อวินิจฉัยกรณีใดออกมาจึงเป็นที่ยอมรับ เพราะไม่ได้มองประเด็นไปในทิศทางเดียวกันหมด ซึ่งผิดจากตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่มีเฉพาะตัวแทนจากฝ่ายตุลาการ
"ศาลก็เปรียบเสมือนพระ เชี่ยวชาญด้านพระธรรมวินัย จึงย่อมไม่มีความรอบรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นไปในเรื่องการเมือง ที่สำคัญคดีการเมืองต่างจากการพิพากษาอรรถคดีซึ่งเป็นหน้าที่หลักของศาล เพราะคดีทั่วๆ ไปจะพิจารณาไปตามข้อกฎหมาย แต่คดีการเมืองมีมิติที่ต้องพิจารณามากกว่านั้น และสุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกวิพาษ์วิจารณ์ เพราะมีทั้งคนถูกใจและไม่ถูกใจ"
ประเด็นที่ดูจะคาใจอดีตประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญผู้นี้มากที่สุด ก็คือการที่ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันวินิจฉัยให้การกระทำผิดของบุคคล เป็นการกระทำความผิดของพรรค และยังลงโทษคณะกรรมการบริหารพรรคทุกคนโดยใช้หลัก "สันนิษฐานว่ารู้เห็นกับการกระทำความผิด"
"จริงๆ แล้วถ้าผู้บริหารพรรคการเมืองคนใดกระทำผิด ต้องถือเป็นการกระทำของบุคคลนั้น เหมือนกรณีบริษัท ถ้ากรรมการบริษัทคนไหนโกง ก็ต้องเอาผิดเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ไปยุบบริษัท หรือลงโทษกรรมการบริษัททุกคน เพราะหากกรรมการคนไหนพิสูจน์ได้ว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้มีส่วนรู้เห็น ก็ไม่ต้องรับผิด นี่คือหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ยึดถือกันมาตลอด" ศ.ดร.อุกฤษ ระบุ และว่า
"การพิจารณากรณีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง ต้องมองไกล และต้องตีความอย่างเคร่งครัดโดยยึดหลักนิติธรรมที่เรากำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับ นั่นก็คือต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาคือผู้บริสุทธิ์ แต่คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญกลับไปสันนิษฐานว่ากรรมการบริหารพรรคทุกคนต้องรู้เห็นกับการกระทำความผิด ซึ่งผมคิดว่าเป็นการพิจารณาที่สวนทางกับหลักนิติธรรม ทุกอย่างจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ให้ลูกหลานและนักเรียนกฎหมายได้ศึกษากันต่อไป"
ศ.ดร.อุกฤษ ยังย้ำถึงหลักการในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องตีความเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอย่างเคร่งครัด คืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เปรียบเสมือนถนน 3 เลนที่ให้รถ 3 คันวิ่ง ซึ่งรถแต่ละคันต้องไม่วิ่งข้ามเลน
"ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเกี่ยวพันกันโดยความเห็นชอบจากเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำถูกหรือผิด ในระบบประชาธิปไตยผู้ที่จะตัดสินลงโทษ ยกย่อง หรือชมเชย คือประชาชน เราจะไปดูถูกประชาชนว่าไม่มีความรู้ และเรามีความรู้มากกว่าจึงไม่ฟังเสียงประชาชนไม่ได้ ยิ่งถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแสดงบทบาทก้าวข้ามเส้นแบ่งที่เหมาะสมระหว่าง 3 อำนาจอธิปไตย ก็เท่ากับฝ่ายนั้นกำลังวิ่งนอกเลน"
"บ้านเมืองเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ถ้าเรามุ่งกำจัดพรรคการเมืองกับนักการเมือง แล้วหวังว่าจะได้พรรคใหม่ ได้คนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ ผมบอกได้เลยว่าไม่มีทาง เพราะการเมืองก็คือการเมือง นักการเมืองก็คือนักการเมือง หากหวังว่าจะได้นักการเมืองในอุดมคติ คงต้องรออีกนาน ฉะนั้นวันนี้เราต้องใช้นักการเมืองเท่าที่มีอยู่ไปก่อน แล้วเร่งให้การศึกษาประชาชนเพื่อให้เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงจะแก้ปัญหาได้ แต่ที่ผ่านมาเราแทบไม่เคยทำในเรื่องเหล่านี้กันเลย"
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองนับร้อยคนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อผนวกเข้ากับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีเจตนากีดกันและตีกรอบนักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ ศ.ดร.อุกฤษ มองอย่างเป็นห่วงว่า สังคมการเมืองไทยในปัจจุบันกำลังดูถูกพลังของนักการเมืองมากเกินไป จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงครั้งใหม่ได้
"นักการเมืองที่เป็นผู้แทนราษฎรได้ อาจจะไม่ใช่คนมีคุณธรรมมากมายนัก เพราะในสนามเลือกตั้งมีการแข่งขันกันสูง แต่พวกเขาก็ไม่ใช่คนเลว เดี๋ยวนี้เรากลับมองผู้แทนราษฎรเป็นคนเลว ทั้งๆ ที่ผู้แทนราษฎเป็นผู้ที่สัมผัสประชาชนมากที่สุด และรู้เรื่องบ้านเมืองดีที่สุด แต่เรากลับไปสกัดเขาออกไป เปรียบเหมือนผู้แทนเป็นปลาอยู่ในน้ำ รู้หมดว่าในน้ำมีอะไร แต่คนที่นั่งบนตลิ่งบอกว่าปลาพวกนี้ใช้ไม่ได้ ให้เอาออกไป แล้วกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ ผมอยากเตือนว่าอย่าไปดูถูกผู้แทนราษฎร"
"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคนไม่มีความรู้เรื่องการเมือง ส่วนใหญ่ไม่เคยนั่งในสภา และไม่เคยผ่านการเลือกตั้ง จึงมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างสูง กลายเป็นการแก้ปัญหาแบบลิงแก้แห ใช้คนไม่รู้จริงมาแก้ปัญหาบ้านเมือง ไม่รู้จริงแล้วยังไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ และขาดประสบการณ์ ที่สำคัญคือมีอคติกับนักการเมือง เมื่อเป็นอย่างนี้คงหาความสามัคคีไม่ได้ ผมอยากบอกว่าถึงวันนี้ระวังม็อบจะจุดติดขึ้นมา เพราะราดน้ำมันลงไปเรียบร้อยแล้ว"
"ผมก็ได้แต่ภาวนาว่า อย่าให้เกิดความรุนแรงที่กระทบถึงประชาชนและบ้านเมืองอีกเลย" เป็นคำเตือนส่งท้ายของบุรุษผู้คร่ำหวอดการเมืองไทยที่ชื่อ อุกฤษ มงคลนาวิน!
กรุงเทพธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
14 ก.ย.
(13)
- เอแบคโพลล์ชี้ความสุขมวลรวมด้านการเมือง-เศรษฐกิจต่ำ...
- วิพากษ์โครงสร้างการรวมศูนย์ และข้อเสนอต่อการกระจาย...
- ครม.มติตั้ง “อุกฤษ” เป็นประธาน กก.อิสระว่าด้วยหลัก...
- ตะลึง!!! 300 นักการเมืองรวยขึ้น 4 พันล้าน ปชป.พรึ่บ!
- เมื่อไทยถูก "ฮุน เซน" ใช้สร้างฉาก
- ฮุน เซน หวังค่าต๋งเพิ่มจากบ่อนกาสิโน
- เปิดรายละเอียด ! เงื่อนไข-สเป็ก รถยนต์คันแรก
- พลิกแฟ้มมติครม.13 ก.ย.แต่งตั้งโยกย้ายล็อตใหญ่"ขรก....
- อายชาวโลกเขาไหมนี่ ?
- ลางบอกความพินาศ
- วิทยุชุมชนรวมพลต้านกสทช.
- ศาลปกครองแถลงคดี ตร.สลาย "ม็อบท่อก๊าซ" ยุคทักษิณ เ...
- ครม.อนุมัติและจัดสรรงบประมาณในปีงบฯ 2556 จำนวน 30,...
-
▼
14 ก.ย.
(13)
-
▼
กันยายน
(189)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น