บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Cost/Benefit Analysis เครื่องมือหลักในการเลือกแนวทางดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ


                                                                                            อาจารย์จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์
sumetheeprasit@hotmail.com


     การกำหนดโครงการเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ลงมาสู่ภาคปฏิบัติ จึงพบว่าในระยะหลัง ๆ นี้องค์กรจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนและการบริหารโครงการที่จะนำไปสู่ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

     โดยทั่วไป โครงการ ถือเป็นกิจกรรมการลงทุนของกิจการ จึงต้องมีความมั่นใจว่ากระบวนการวิเคราะห์ก่อนที่นำไปสู่การตัดสินใจลงทุน เป็นไปอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความคุ้มค่าในการจัดสรรทรัพยากรและเงินงบประมาณมาใช้ในการดำเนิน โครงการนั้นๆ

     เครื่อง มืออย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการพิสูจน์ว่าโครงการที่จะพิจารณานั้นมีคุณ ค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและทางสังคม (ในกรณีของโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคมของหน่วยงานภาครัฐ)คือ Cost/Benefit Analysis
           
     Cost/Benefit Analysis มีจุดประสงค์เพื่อแสดงผลการคำนวณให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นภาพของต้นทุน ผลประโยชน์  และความเสี่ยงของแต่ละวิธีการที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อ นำไปสู่การพิจารณาตัดสินใจดำเนินงานโครงการเปรียบเทียบกับการเลือกจัดสรร ทรัพยากรและเงินงบประมาณไปใช้ในการลงทุนด้านอื่นที่มีโอกาสจะเป็นไปได้ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง Cost/Benefit Analysis ก็คือมาตรฐานการวิเคราะห์และคำนวณมาตรฐานหนึ่งที่จะสะท้อนความเป็นไปได้และความเหมาะสมเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic feasibility) และใช้เปรียบเทียบ หรือ
การเลือกสรรโอกาสในการลงทุนในด้านต่างๆ

1. ความนำ
       Cost/Benefit Analysis เป็นแนวปฏิบัติของการคำนวณวิธีการดำเนินโครงการว่าวิธีการใดที่เหมาะสมมากกว่ากัน  หรือ เหมาะสมที่สุดในบรรดาวิธีการหลายวิธีที่พิจารณา เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าควรจะดำเนินโครงการรูปแบบใดในอนาคต เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ในระยะยาวที่ดีที่สุด

       แนวปฏิบัติแบบนี้มักจะนิยมใช้ในการประเมินโครงการบริการสาธารณะ  หรือระบบเศรษฐกิจสวัสดิการที่ต้องการให้เกิดผลต่อประชาชนให้อยู่ดีมีสุขมากขึ้น  ซึ่งแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis กลับมาได้รับการกล่าวถึงในระยะ 1-2 ปีนี้ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมกับบริษัท ทริสหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวพึงปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ และสำนักงบประมาณเองก็พยายามผลักดันให้ส่วนราชการใช้เป็นวิธีพิสูจน์ความคุ้มค่าของโครงการที่ขอเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี

      ความเป็นมาของแนวคิด Cost/Benefit Analysis พบว่าย้อนหลังไปเมื่อปี ค.ศ.1844 ด้วยการใช้ในการประเมินโครงการงานบริการสาธารณะในฝรั่งเศส และต่อมาก็ถูกใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบโครงการในสหรัฐ  เช่นตามกฎหมายที่มีชื่อว่า The River and Harbour Act 1902 ระบุให้มีการรายงานความเหมาะสมในการดำเนินโครงการโดยอาศัย Cost/Benefit Analysis และยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ต้องระบุผลประโยชน์ที่เกิดกับท้องถิ่นประกอบการนำเสนอโครงการ

2. เศรษฐศาสตร์สวัสดิการพื้นฐานของ Cost/Benefit Analysis

      แนวคิดของ Cost/Benefit Analysis เป็นแนวคิดที่นักเศรษฐศาสตร์ในอดีตหยิบยกขึ้นมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการประยุกต์ โดยเชื่อว่าผลประโยชน์มวลรวมที่เป็นตัวเงิน (aggregate money gain) และส่วนที่เป็นความสูญเสียมวลรวม (aggregate money losses) เป็นเครื่องวัดผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ (efficiency gains) ของการดำเนินงานโครงการใดๆ ได้ กล่าวคือ กรณีที่ผลสุทธิของมวลรวมที่เป็นผลประโยชน์ลบด้วยส่วนของความสูญเสียออกมาเป็นบวก ก็ถือว่าเป็นดัชนีชี้ว่าส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทางการเงินเพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียออกมาเป็นบวก ก็ถือว่าเป็นดัชนีชี้ว่าส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทางการเงินเพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียหรือความเสียหายของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบได้ และยังคงมีผลประโยชน์คงเหลือหรือสวัสดิการที่ขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งแสดงประสิทธิภาพการดำเนินโครงการบริการสาธารณะของภาครัฐ (Harberger 1971)
      Efficiency gains= Aggregate money gain - Aggregate money losses
                                     = positive gains
                                     = net monetary gains
            
      กรอบแนวคิดสำคัญคือ
(1)  เมื่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายผ่านการดำเนินโครงการบริการสาธารณะของรัฐก็มัก จะมีทั้งผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบ แต่ผลโดยสุทธิควรจะออกมาเป็นบวก หรือผลประโยชน์ทางการเงินสุทธิ หลังจากชดเชยความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบแล้ว ยังคงมีค่าเป็นบวก                       

(2)  การ ดำเนินโครงการจึงต้องให้ความสำคัญกับการประมาณขนาดของเงินที่ต้องชดเชยแก่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบอย่างเหมาะสมและพอเพียงที่จะไม่ทำให้ระดับ สวัสดิการของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบลดต่ำลง

(3)  เงินชดเชยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบคือเป็นเงื่อนไขหนึ่งของระบบเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
3. การยอมรับแนวคิด Cost/Benefit Analysis ในทางวิชาการในต่างประเทศ
       ขณะที่เทคนิคและแนวคิด Cost/Benefit Analysis ในงานเชิงวิชาการ เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงลดลงมากในสถาบันการศึกษาในสหรัฐอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แนวคิด Cost/Benefit Analysis กลับได้รับความนิยมอย่างมากมายในส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐในสหรัฐ และทำท่าว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคต

       ทั้งนี้ศาสตราจารย์ทางกฎหมายทางเศรษฐศาสตร์และทางปรัชญา มีความเชื่อว่าการใช้ Cost/Benefit Analysis เป็นการเปิดช่องให้เกิดการสร้างตัวเลขและไม่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจอย่างมี จรรยาบรรณ จึงไม่ควรใช้ในการประเมินทางเลือกในการดำเนินโครงการ มีผู้ให้ความเห็นบางคนระบุว่าข้อมูลที่ใช้ในการประเมินทางเลือกในการดำเนิน โครงการ มีผู้ให้ความเห็นบางคนระบุว่าข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณทางการเงินใน Cost/Benefit Analysis เชื่อถือไม่ได้ และไม่มีการอ้างอิงที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลเป็นส่วนใหญ่

        ฝ่ายที่ออกมาโต้แย้งแนวคิดที่ต่อต้านการใช้ Cost/Benefit Analysis เป็นกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่ได้ใช้แนวคิดทางวิชาการของ Cost/Benefit Analysis ในการประเมินโครงการจริงๆ เห็นว่าวิธีการทำงานของตนตามกระบวนการ Cost/Benefit Analysis ไม่ได้แย่และเลวร้ายอย่างที่นักทฤษฎีทั้งหลายกล่าวหากัน

        ในระยะหลังๆ นี้มีตำราทางวิชาการออกมาหลายเล่มที่สนับสนุนและชี้ประโยชน์ของการใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis และมีมุมมองในแง่ที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ของการนำกระบวนการดังกล่าวในการตัดสินใจคัดเลือกโครงการ   ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าผู้ใช้ Cost/Benefit Analysis ต้องใช้ความระมัดระวัง ในการอิงวิธีการตั้งสมมุติฐาน และที่มาที่ไปของข้อมูลที่อาจจะไม่เพียงพอและไม่น่าเชื่อถือ

(1)  หน่วยงานภาครัฐจะนำเอากระบวนการคำนวณ Cost/Benefit Analysis มาใช้เป็นการถาวรก่อนการพิจารณาคัดเลือกทางเลือกในการดำเนินงานโครงการ  เพราะหากจุดเริ่มต้นไม่ถูกต้อง  และได้รับการยอมรับจะทำให้เกิดการผิดพลาดต่อๆ ไปในระยะยาว

(2)  หากจะใช้ Cost/Benefit Analysis จะต้องใช้ในลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์ภาคบังคับใช้ให้ครบถ้วนทุกหน่วยงาน  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรเงินและทรัพยากรไปใช้กับการดำเนินงานโครงการ

(3)  เงื่อนไขในการใช้ Cost/Benefit Analysis ควรจะรวมเรื่องของผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย

(4)  การ พิจารณาการดำเนินโครงการควรจะมีลักษณะของการส่งเสริมชักจูงและผลักดันให้ หน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งเริ่มที่จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โครงการอย่างต่อเนื่อง (Self improvement) ทั้งในด้านต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ  และผลประโยชน์สุทธิที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนของกลุ่มที่ออกมาตอบโต้ว่าการใช้ Cost/Benefit Analysis ในการประเมินทางเลือกของโครงการชี้ว่า

(1)  การโจมตีว่าการคำนวณต่างๆ ใน Cost/Benefit Analysis ไม่มีจรรยาบรรณไม่น่าเชื่อถือเป็นประเด็นที่ไม่ถูกต้อง เพราะเทคนิค Cost/Benefit Analysis เป็นเครื่องมือที่พยายามหาคำตอบเพื่อประกอบการตัดสินใจอนุมัติโครงการ จึงไม่ใช่เรื่องของการยึดมาตรฐานด้านจรรยาบรรณหรือคุณธรรมแต่อย่างใด และการพิจารณาเพื่อตัดสินใจก็มุ่งที่จะหาช่องทางดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายได้ดีที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ตามที่คาดหมาย แต่ ก็ยังดีที่โครงการจะแสดงได้ว่ามีต้นทุนการดำเนินโครงการต่ำกว่าผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นๆ ที่มี

(2)   เทคนิคการวิเคราะห์ Cost/Benefit Analysis เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่ำ  เมื่อเทียบกับเทคนิคการวิเคราะห์แบบอื่น เช่น Risk-Risk Analysis หรือมาใช้อย่างเหมาะสมในวิธีการที่ถูกต้องก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เช่นเดียวกัน  โดยแต่ละหน่วยงานของรัฐจะต้องทำการปรับปรุงแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis จากต้นแบบเชิงทฤษฎีเป็นแนวคิดที่ประยุกต์ให้เหมาะสมเชิงสังคมนั้นๆ  ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis อย่างถ่องแท้

(3)   มีบางกรณีเหมือนกันที่ Cost/Benefit Analysis อาจจะใช้ไม่ได้  หรือพูดอีกนัยหนึ่ง  ผู้ปฏิบัติรู้ดีว่าไม่อาจจะใช้แนวคิดนี้ได้ในกรณีที่
(3.1)     ผลกระทบของโครงการที่มีต่อประชาชนไม่เหมือนกัน  ไม่เท่ากันจนไม่อาจจะประเมินผลกระทบแบบเหมาๆ  แบบค่าเฉลี่ยได้  ก็จะไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value)
(3.2)  ประเด็นที่พิจารณาตามแนวคิด Cost/Benefit Analysis ไม่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน  ซึ่งทำให้ต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์แบบอื่นที่เป็นที่ยอมรับมากกว่า

4. แนวคิดการประยุกต์ใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis

         การนำเอาแนวคิด Cost/Benefit Analysis มาใช้ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างมีสติ มีเหตุมีผล และที่สำคัญต้องมีการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ
         
 แนวทางในการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ Cost/Benefit Analysis ที่เป็นไปได้ ได้แก่
(1)   การกำหนดน้ำหนักของต้นทุนการดำเนินโครงการ
เป็นการนำเอาปัจจัยที่มีความสำคัญในการสะท้อนอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility) ของการลงทุนดำเนินโครงการต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือ ที่เป็นตัวสำคัญในการผลักดันต้นทุนและประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ มากำหนดเป็นน้ำหนักต่อการคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งมักจะใช้ในการเป็นส่วนต้นทุนเป็นสำคัญ และการกำหนดความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย
(2)   การปรับแต่วิธีการ (methodology) จากที่เคยใช้วิธีการมาตรฐานเดียวในการคำนวณต้นทุน และผลประโยชน์
มาตรฐานการคำนวณต้นทุนมักจะมาจากมาตรฐานทางบัญชีซึ่งเป็นมาตรฐานกลางในการบันทึกรายการทางบัญชีในระบบ General Ledger (G/L) ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับการประเมินต้นทุนของทุกโครงการ

แนวทางดัดแปลงได้  คือการใช้วิธีการที่เรียกว่า
(2.1) 
   Willingness to pay หรือการคำนวณต้นทุนตามความสามารถในการจ่ายของผู้ที่มีระดับความมั่งคั่งแตกต่างกัน
(2.2) 
   Willingness to accept หรือการคำนวณต้นทุนตามระดับที่ได้รับการยอมรับ  หรือเกณฑ์ที่ยอมรับได้  เพื่อมิให้ผลกระทบทางลบทำให้ระดับความกินดีอยู่ดีหรือความมั่งคั่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบลดลง
อย่างไรก็ตาม การจัดแปลงและประยุกต์ใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis จะมากหรือน้อย และซับซ้อนเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับศักยภาพหรือสมรรถนะในการใช้เทคนิค Cost/Benefit Analysis ของแต่ละหน่วยงานภาครัฐเป็นสำคัญด้วย ในหน่วยงานภาครัฐกับแนวคิด Cost/Benefit Analysis ก็จะได้ประโยชน์ในการนำเอาแนวคิดนี้ไปใช้ได้ในระยะยาว และในบางกรณีอาจจะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบความต้องการบริการสาธารณะเชิงสังคมของกลุ่มเป้าหมาย  และทางเลือกที่มีอยู่มีมากน้อยแค่ไหน กรณีที่มีบริการเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการให้บริการโดยธุรกิจเอกชนเป็นตัวเปรียบเทียบและเสมือนแข่งขันกับบริการสาธารณะเชิงสังคม แนวทางการใช้ Cost/Benefit Analysis ก็จะมีความจำเป็นต้องดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้แตกต่างกัน

(3)   การใช้ Cost/Benefit Analysis ที่สอดคล้องกับหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ผู้บริหารประเทศหรือรัฐบาลใช้เป็นปรัชญาหรือหลักการในการบริหารประเทศ
อย่างเช่น รัฐบาลที่ยึดหลักประโยชน์นิยม (Utilitarianism)จะ เชื่อว่าโครงการนั้นๆ ควรจะดำเนินการตราบเท่าที่บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของโครงการ มากกว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบทางลบ โดยเชื่อว่าทุกคนต้องการบริการสาธารณะเชิงสังคมเช่นเดียวกัน และยอมรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบได้

แต่ถ้ารัฐบาลยึดหลักว่าการดำเนินโครงการใดๆ จะต้องสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน หมาย ความว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจะต้องได้รับการชดเชยอย่างพอเพียงที่จะไม่ ทำให้สถานะของความกินดีอยู่ดีเลวลงจากก่อนที่จะเกิดการดำเนินโครงการนั้นๆ 

หากการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ Cost/Benefit Analysis อย่างเหมาะสมก็จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกโครงการที่ตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลได้

ประเด็นที่ต้องระมัดระวังในการนำเอา Cost/Benefit Analysis มาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคมของภาครัฐ คือ

(1)   Cost/Benefit Analysis เป็นกระบวนการในการระบุต้นทุนและประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากการดำเนินโครงการ  เพื่อประเมินหาผลประโยชน์สุทธิว่ามีมูลค่าทางการเงินเป็นบวกหรือเป็นลบ และมีทางเลือกในการดำเนินการกี่ทางเลือกแต่ละทางเลือกให้ผลประโยชน์สุทธิที่เป็นตัวเงินแตกต่างกันอย่างไร โดยแต่ละทางเลือกมุ่งไปสู่เป้าหมายของการให้บริการสาธารณะเหมือนกัน

(2)   Cost/Benefit Analysis จึงเป็นเครื่องมือที่อยู่ในขั้นตอนของการตัดสินใจแก้ไขปัญหา (decision problem solving) และการใช้หลักการเลือกทางเลือกที่ดีกว่า โดยใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินเป็นเงื่อนไขในการพิจารณา

(3)   Cost/Benefit Analysis ใช้หลักเกณฑ์ของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (net present value creation) เป็นแนวทาง ซึ่งมูลค่าปัจจุบันเป็นสุทธินี้เป็นเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป เพื่อให้ผู้ตัดสินใจคัดเลือกโครงการเลิกการใช้มูลค่าที่เป็นตัวเงินรายปี (annual value) ซึ่งทำให้การตัดสินใจเกิดการบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินโครงการอาจจะเกิดขึ้นจริงในระหว่างการดำเนินโครงการ  เช่น  โครงการระยะ 1 ปี  จะเกิดต้นทุนในช่วง 1 ปี  แต่ต้นทุนที่จ่ายออกไปในช่วง 1 ปีจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในอีกหลายปีในอนาคต  เช่นอีก 10 ปี  ไม่ใช่เพียงปีเดียวเหมือนรายจ่ายด้านต้นทุน จึงจะประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการต่อความกินดีอยู่ดีที่แท้จริงของประชาชน  หรือแสดงผลลัพธ์ (out comes) ได้อย่างแท้จริง

(4)   การประเมินผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการจะต้องใช้ราคาตลาด (market price) เป็นตัวชี้วัดเงื่อนไขการดำเนินโครงการ  เพื่อให้มูลค่าที่เป็นตัวเงินเป็นมูลค่าที่แท้จริง ในกรณีที่มีการใช้ราคาควบคุม (shadow price) ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด ต้องถือส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาที่ถูกควบคุมเพดานไว้เป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่เกิดจากการดำเนินโครงการ

(5)   ในฐานะที่เป็นโครงการของภาครัฐ  การประเมินต้นทุนและผลกระทบจากการดำเนินโครงการ จึงต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม (Social and environmental impact analysis) และการวิเคราะห์ความอ่อนไว (Sensitivity analysis) ซึ่งกำหนดสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 3 สถานการณ์คือ best case, normal cast และ worst case

(6)   ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการยังขึ้นอยู่กับอัตราส่วนลด 9discount rate) ที่ ใช้ในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่าคิดค่าเสียโอกาส ในการดำเนินโครงการหรือค่าที่ควรจะเป็นของผลตอบแทนจากโครงการในการดำเนิน โครงการหรือค่าที่ควรจะเป็นของผลตอบแทนจากโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคม ต่างๆ อย่างไร และแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหนในระหว่างรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการที่แตกต่างกันตามยุทธศาสตร์ (Agenda)

(7)   ผลที่ได้จากการใช้ Cost/Benefit Analysis อาจจะออกมาแตกต่างกันมาก ระหว่างโครงการที่มีการจัดเก็บข้อมูล ผลประโยชน์เชิงสังคม (social benefit or out comes) กับที่ไม่เคยมีการจัดเก็บข้อมูล  เพราะอาจจะขาดแนวทางในการประเมินผลประโยชน์เหล่านี้ออกมาเป็นมูลค่าทางการเงิน  และพิสูจน์ทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง