บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“รายได้ขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท” กับ “ค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท ” ต่างกันอย่างไร??

by ณ.เมืองลุง ,

         
           หลัง จากที่ นายกฯ ได้อ่านนโยบาย ต่อรัฐสภา แล้วหายหน้าไปเลย ไม่สนใจ ว่าใครจะอภิปรายฉันอย่างไร ฉันหมดหน้าที่ ของฉันแล้ว แล้วก็กลับมา ตะกุกตะกัก อีกที่ก็ตอนค่ำ สองสามนาที และมีการวิพากษ์ วิจารณ์ กันอย่างกว้างขวาง กับนโยบาย ค่าแรง ๓๐๐ บาท บังเอิญได้ฟังสื่อบางคน คุยข่าว ยังไม่เข้าใจเลยว่า สองอย่างนี้ มันต่างกันอย่างไร  ค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท กับรายได้ขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท ไม่เห็นจะต่างกันเลย ก็แค่นักการเมืองเล่นเกมส์ ในสภา ว่าไปโน้น!!!!!  หากว่าสื่อ มีความรู้แค่นี้ ก็แย่เอามากๆ  ยัง ไม่เข้าใจถึงความแตกต่างกัน แล้วไปพูด แบบถูกๆ ผิด ทำให้คนที่ฟัง ก็อาจจะเข้าใจผิด กันด้วย เช่นกัน ซึ่งจริงแล้ว หากว่าคนที่มีรายได้เป็นเงินเดือน หรือ ค่าแรงสามสี่หมื่นต่อเดือน จะไม่เคยสัมผัส หรือสนใจเรื่องเหล่านี้
             วันนี้ หากผมทำงาน รายวัน อยากได้ เงินวันละ ๓๐๐ บาท ผมก็แค่เดินเข้าไปสมัครงาน วันแรก  นายจ้าง ให้ค่าแรงผมตามอัตราที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คือ  ๒๑๕ บาทต่อวัน(กรุงเทพฯ)  ผมทำโอทีหลังเลิกงาน สัก ๓ ชม. วันนั้น ผมก็ได้ เงิน  ๓๓๖ บาท ผมก็ได้เงินมากว่า วันละ ๓๐๐ บาท ตามที่นายกฯสคริป บอก แต่นายจ้างจะจ่าย กลางเดือน หรือสิ้นเดือนก็แล้วแต่ตกลงกัน  นาย จ้างก็ไม่ผิดกฎหมาย ลูกจ้างก็ได้เงิน เกินวัน ๓๐๐ บาท แล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปบังคับใคร ให้จ่าย หรือไม่ต้องไปหาเสียง ที่ไหน หรือขึ้นป้ายที่ไหน ก็ได้ เพราะ มันเป็นอยู่ อย่างเดินปัจจุบัน
              ใน ขณะเดียวกัน วันนี้ หากรัฐบาลประกาศบอกว่า ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันต้อง ๓๐๐ บาท เท่ากับว่า แรงงานทำงาน ๘ ชม.ต่อวันนายจ้างต้องจ่าย อย่างต่ำ ๓๐๐ บาทต่อ ๘ ชม.ทำงาน  ค่าทำงานล่วงเวลาหรือโอที ชม.ละ ๕๖.๒๕  บาท หากทำโอที  ๓ ชม.เท่ากัน วันนั้น ผมจะได้ เงิน ๔๖๘.๗๕ บาท และ หากนายจ้างไม่จ่าย ตามอัตรานี้ นายจ้างก็จะมีความผิด
               จะเห็นได้ว่า ทำงานจำนวนชม.เท่า กัน คือ ๑๑ ชม.แต่ได้เงินต่างกัน
          “รายได้ขั้นต่ำ ๓๐๐ บาทต่อวัน”  จะได้เงิน ๓๓๖ บาท หากทำ ๒๖วัน จะได้เงิน ๘,๗๓๔   บาทต่อเดือน
          “ค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาทต่อวัน”  จะได้เงิน ๔๖๘ บาท หากทำ ๒๖ วัน จะได้เงิน ๑๒,๑๘๗.๕๐ บาทต่อเดือน
                 แค่ รัฐบาล พลิกลิ้น เล่น คำแค่นิดเดียว คนที่ไม่รู้เรื่อง บางคน ก็เออออ ห่อหมก เข้าข้างกันไป ก็ได้ไม่รู้ ความแตกต่าง แต่สำหรับ คนที่รับค่าแรงขั้นต่ำก็จะรู้ ว่า มันสำคัญ อย่างไร
                ...................................................................................................
         ถามว่าหากวันนี้ เราเป็น “ลูกจ้างรายวัน” เราต้องการไหม๊ ตอบว่า ใช่อยากได้ ค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาทต่อวัน
         ถามว่า “นายจ้าง อยาก จ่าย ๓๐๐ บาท ต่อวัน ก็จะบอกว่า อุตสาหกรรมบางประเภท จ่าย สูงกว่า ๓๐๐ บาท ต่อวัน แต่อุตสาหกรรม บางประเภท ที่ใช้ แรงงานจำนวนมา ก็ยังอิงค่าแรงขั้นต่ำ จ่ายได้ แต่ ต้องเพิ่มราคาสินค้า
          ถามต่อว่า แล้ว “คนอื่นๆ ทั่วไป” ตั้งแต่ ขอทาน ข้างถนน ถึงคนมีรายได้ ต่อวัน วันละแสน อย่าให้จ่าย ๓๐๐ บาท ต่อวันไหม๊ ????
          คำตอบคือ........................................
               วันหนึ่งผมตื่นเช้ามา
                บีบยาสีฟัน ราคายาสีฟันเพิ่มขึ้นหลอดละ ๕ บาท เพราะโรงงานผลิต ต้องจ่ายค่าแรงคนงานเพิ่มขึ้น
               อาบน้ำ สบู่ที่หยิบ ขึ้นมาใช้ ราคาเพิ่มขึ้นก้อนละ ๓ บาท เพราะโรงงานต้องจ่ายค่าแรงคนงานเพิ่มขึ้น
               ทาแป้ง แป้งราคา เพิ่มขึ้นอีก ๗ บาท เพราะโรงงานต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นและวัตถุดิบ
               หยิบเสื้อผ้า มาแต่งตัว เสื้อที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ก็ราคาเพิ่มขึ้น
               กิน ข้าวในบ้าน ไข่ กะปิ น้ำปลา น้ำมัน ข้าวสาร เครื่องปรุง แก๊ส อุปกรณ์ ทุกอย่างราคาก็เพิ่ม ขึ้น เพราะต้นทุน ทุกอย่างมาจากโรงงาน ที่ต้องจ้างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
               กินก๋วยเตี๋ยว ริมทาง ราคาก็เพิ่มขึ้น เพราะ ต้นทุนวัตถุดิบ ทุกอย่างเพิ่มหมด รวมถึงต้องจ่ายลูกจ้างในร้านก็ต้องเพิ่มขึ้นอีก
               เพราะฉะนั้น อย่างคิดว่า ค่าแรงขึ้น ไม่เห็นเกี่ยวกับชั้นเลย หากคุณคิดแบบนั้น คิดผิดไปแล้ว
               คำถามต่อ คือว่า ค่าแรงขึ้นจริง แต่เงินที่ขึ้นได้นั้น “มันจะไปอยู่ในกระเป๋า ใคร” ??????
                    ลูกจ้าง!!    พ่อค้ารายย่อย!!    นายจ้าง!!  หรือ นายทุน!!   กันแน่ ??????
                      อยากให้จำไว้ว่า “คนโง่ ย่อมเป็นเหยื่อของคน ฉลาดเสมอ”
              ผมอยู่ในวงการอุตสาหกรรม มาหลายปี ไม่เคยเห็น ลูกจ้างคนไหน รวยสักคน
  ได้ เงินมา สิ้นเดือน จับจ่ายใช่สอย ข้าวของเครื่องใช้ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ จนหมดหรือเกือบหมด กระเป๋า ทุกเดือน เงินเหล่านั้นก็ไปกอง ที่กระเป๋านายทุน ที่สุดท้าย
      เพราะฉะนั้น ไม่ว่า ค่าแรงจะขึ้น สูงไปขนาดไหนก็ตาม เงินเหล่านั้นก็จะยิ่งไปกองอยู่ ที่นายทุน มากเท่านั้น
      อยากจะบอก ถึงรัฐบาล หากอยาก ช่วยแรงงาน คนจน หรือคนชั้นกลางจริงๆ ไม่จำเป็นต้องขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำหรอกครับ แค่
             เข้าไปควบคุม ราคา สินค้า อุปโภค บริโภค ที่ขายอยู่ ให้ราคาต่ำลง(นี้คือรายจ่ายประจำและจำเป็น) แล้วกำไรนายทุนน้อยลงหน่อย
             ปรับ ราคารถส่วนบุคคล ให้ สูงขึ้นให้มากและภาษี สูงๆ(นี้คือรายจ่ายฟุ่มเฟือย)ค่าผ่อน ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อม
             จัดระบบขนส่งสาธารณะ ให้มีคุณภาพ และ ราคาไม่แพง(นี้คือรายจ่ายจำเป็น)
             บุ หรี ซองละ ๑๐๐ บาท เหล้า ขวดละ ๑๐๐๐ บาท เบียร์ ขวดละ ๓๐๐ บาท หวยล๊อตตอรี่ ฉบับ ๓๐๐ บาท ถูกรางวัล ได้เงิน ๑๐๐๐ บาท(นี้คือรายจ่ายฟุ่มเฟือย)
                               ......... ของให้ ทำแค่นี้ ก็พอ แล้วครับ........
  รายได้แต่ละวัน แต่เดือน เท่าไหร่ ไม่สำคัญหรอก ครับ สำคัญ ที่ว่า รายเหลือ แต่ละวัน แต่ละเดือน เท่าไหร่ มากกว่า
                หากรายได้ไม่สูง และค่าใช้จ่ายไม่แพง  ถึงอย่างไรเงินก็ ยังเหลือ
        ต่อให้ รายได้เพิ่ม แต่ รายจ่ายกระโดด ขึ้นมากว่า ก็ไม่มีวัน ลืมตา อ้าปากได้ ครับ
  เพราะฉะนั้น ค่าแรงขึ้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท อย่าได้คิดเลยครับ ว่า มันจะไปกองอยู่ในกระเป๋า ลูกจ้างเหล่านั้น
        หากว่ารัฐบาลได้แค่นั้น แสดงว่า คุณคิดผิด ผิดต่อลูกจ้างรายวันอย่างเดียวไม่พอ  ทำให้คนอื่นๆ ต้องพลอยลำบากได้รับผลที่ต้อง ตามมาอีกด้วย
       ณ.เมืองลุง
    ๒๕/๐๘/๒๕๕

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง