ประชาชนเมืองมุกจาร์ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 90 แต่ เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นแบบ กึ่งทะเลทราย ทำให้มีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกได้เพียงเล็กน้อย และการมีชีวิตต้องผูกติดไว้กับฟ้าฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่เกษตรเล็กๆเหล่านี้ จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงปากท้องได้ ทำอย่างไรผืนดินจำนวนน้อยนิดอันเป็นต้นทุนเพียงอย่างเดียวของเกษตรกร จะสามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างพอเพียง ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงจากธรรมชาติที่ไม่แน่นอนได้ ด้วยเหตุนี้กองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย ดาร์ฟู จึง ได้นำแนวทางตามพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปเผยแพร่ โดยการทดลองทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ในฐานปฎิบัติการมุกจาร์ซึ่งได้กลายมาเป็น ประจักษ์พยานที่ยืนยันได้ถึงความสำเร็จอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพและสายพระ เนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่านที่สามารถค้นพบวิธีการที่จะช่วยเหลือหมู่มวล มนุษยชาติให้พ้นจากความทุกข์ยากในการดำรงชีวิต ความมหัศจรรย์ของแนวทางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกพื้นที่ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แม้ในพื้นที่แห้งแล้งอย่างเมืองมุกจาร์ก็สามารถทำให้พืชผักต่างๆที่นำไปจาก ประเทศไทยซึ่งไม่ใช่พืชท้องถิ่น เติบโตออกดอกออกผลเขียวขจีสวยงาม ทำให้เกิดความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น
เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นและสร้างความสนใจ ให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกร ตลอดจนหน่วยงานของสหประชาชาติ ว่าแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถใช้ได้จริง จึงได้เชิญชวนบุคคลเหล่านี้เข้าเยี่ยมชมโครงการฯและได้เก็บผลผลิตที่เกิดจาก การทดลองเป็นของฝากเพื่อให้เห็นถึงคุณภาพของผลผลิต จนในที่สุดข่าวของการทดลองเกษตรทฤษฎีใหม่ในฐานปฎิบัติการมุกจาร์ได้ขจรไปไกล จนได้รับความสนใจจากประชาชน และผู้แทนรัฐบาลซูดานด้านความช่วยเหลือมนุษยธรรม และด้านพัฒนาเมืองมุกจาร์ได้ขอให้เปิดการฝึกอบรม โดย UNAMID ได้ให้งบประมาณในการอบรมให้แก่ผู้นำเกษตรกร เกษตรกรและนักเรียน จำนวน 200 ตน เพื่อให้สามารถนำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ไปพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
นายอาดัม อิสมาเอล อะหุหมัด ผู้แทนรัฐบาลซูดานด้านความช่วยเหลือมนุษยธรรมประจำเมืองมุกจาร์ ได้กล่าวกับผู้เข้ารับการอบรมว่า “การอบรม เกษตรทฤษฎีใหม่เปรียบได้ว่า เขาไม่ให้ปลาแต่เขาสอนการหาปลาให้กับเรา และเราจะมีปลารับประทานไปตลอดชีวิต ขอให้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไป”
นายอะหมัด มูฮำหมัด ฟัดดุ้ลเมาลอ ผู้นำเกษตรกรเมืองมุกจาร์ และประธานเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมในรุ่นที่ 2 ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ชาว เมืองมุกจาร์มีอาชีพเกษตรกรรมถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องที่น่าละอายใจที่ต้องซื้อนสินค้าเกษตรจากพื้นที่อื่น เราต้องร่วมมือกับทหารไทย เพื่อการพัฒนา และเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวเมืองมุกจาร์ และเหลือส่งขายไปยังพื้นที่อื่นบ้าง ผมดีใจแทนประชาชนชาวไทยที่มีกษตริย์แบบพระองค์ท่าน ถ้าซูดานมีผู้นำแบบพระองค์ท่านประเทศเราคงเจริญมากกว่านี้” ผู้ นำเกษตรกรเมืองมุกจาร์ ท่านนี้เป็นผู้ที่นำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปฎิบัติอย่างเต็มรูปแบบใน ที่ดินของตนเอง และได้ผลผลิตเป็นแบอย่างที่ดีให้เกษตรกรรายอื่น ซึ่งทหารไทยเราก็ได้เข้าไปส่งเสริมและได้เปิดเป็น “แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง (สวนสันติภาพสาธารณรัฐซูดานและราชอาณาจักรไทย)” เป็นศูนย์การเรียนรู้นอกฐานปฎิบัติการที่เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าไปเรียนรู้
ในการอบรมเกษตรฯ รุ่นที่ 3 นาย ตอยยิบ ซีการีมา มูซา ประธานเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมได้กล่าวให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวภาคสนามไทยดาร์ฟูร์ ททบ.5 ซึ่งเมื่อรับฟังแล้วรู้สึกภาคภูมิใจแทนชาวไทยเป็นอย่างมาก “ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง หากมาประยุกต์ใช้ในซูดานจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นต้นเหตุของความขัด แย้งในพื้นที่ จะนำมาซึ่งความสุข และสันติภาพสู่ประชาชนอย่างแท้จริง โดยประชาชนสามารถพึ่งพาตนเอง และยืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้จริง”
ขอ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้โอกาสพวกเราส่งทหารมาถ่ายทอดความรู้ใหม่เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวให้กับเกษตรกรซูดาน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดของนักปราชญ์ที่ไม่เหมือนใครในโลก ทั้งนี้ขอขอบคุณสหประชาชาติ สหภาพแอฟริกาที่ได้ให้โอกาส ทหารไทยมาปฎิบัติภารกิจในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง
เรา ดีใจที่ได้โอกาสสำคัญเช่นนี้ สุดท้ายขออำนวยพรให้ทหารไทยและประชาชนชาวไทยมีความสุขความเจริญ ขอให้พระเจ้าคุ้มครองให้ท่านปลอดภัย ปฎิบัติภารกิจลุล่วงสำเร็จทุกประการ
สิ่ง ที่น่าแปลกใจคือผู้รับการอบรมได้ให้การยอมรับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยและพวกเขายังมีความภาคภูมิใจที่ เรามีพระมหากษัตริย์แบบพระองค์ท่าน การยอมรับแบบนี้เป็นสิ่งที่ยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคมที่มีวัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความภาคภูมิใจเหล่านี้ไม่ใช่เป็นความภาคภูมิใจของทหารไทยที่ประเทศซูดานเท่านั้น แต่นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของเราชาวไทยทั้งชาติด้วย
ขอบคุณ
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น