บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปาฐกถา...ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี “จริยธรรมสื่อมวลชน”


“ทัศนคติของสื่อมวลชนเป็นเรื่องสำคัญมาก การบิดเบือน หรือเสนอไม่ครบ
เป็นเหมือนเป็นการทำให้ผู้บริโภค บริโภคอาหารไม่เต็มจาน ได้เพียงครึ่งจาน หรืออาจมียาพิษในอาหาร”


วันที่ 25 มิถุนายน ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษหัวข้อเรื่อง “จริยธรรมสื่อมวลชน” ในงานมหกรรม “คนสร้างข่าว จริยธรรมสร้างคน ” เนื่องในโอกาสครบรอบ 14  ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ศ.นพ.นายแพทย์เกษม กล่าวถึงอิทธิพลของสื่อมวลชน หรือสื่อสารมวลชนต่อประชาชนในยุคนี้ มีรูปแบบการเสนอมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสื่อผสม โดยมีผลงานวิจัยที่ชัดเจนว่า เด็กสมัยใหม่ ได้รับความรู้และเกิดปัญญาความคิด โดยการบริโภคข่าว เนื้อหาสาระความรู้ผ่านสื่อมาก ขณะเดียวกันสิ่งที่ได้รับจากโรงเรียนมีบ้าง และสิ่งที่ได้รับจากพ่อแม่ก็นับวันมีน้อยลงไป
“พ่อแม่สมัยนี้อย่าว่าแต่สอนเรื่องคุณธรรม ความดี ความงาม เพราะแทบไม่ได้สอนความรู้ให้กับลูกหลานเท่าใดนัก ฉะนั้น เด็กและเยาวชนจะประมวลความคิดของตัวเองจากสิ่งที่เสพได้จากสื่อมวลชน
สำหรับผู้ใหญ่ก็ได้รับข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ทั้งวันทั้งคืน ดังนั้น อิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่อมนุษย์ในโลกสมัยใหม่จึงมีมาก เมื่อสำคัญมากขนาดนั้น ถ้าไม่มีกฎ หรือกรอบจริยธรรมคอยประคับประคอง ความสัมพันธ์อาจจะไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้ ถ้าต้องการได้ประโยชน์จากการใช้สื่อมวลชน โดยไม่มีจริยธรรมเป็นตัวบังคับก็สามารถทำได้ และใช้กันอยู่แล้ว เช่น ในยามเกิดสงครามระหว่างประเทศ หรือเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ 2 กลุ่ม ก็จะใช้สื่อเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของฝ่ายตน
อิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่อวิธีคิดของเด็กและ ผู้ใหญ่มีมากมาย ฉะนั้น ก็มีทั้งคนที่ตั้งใจให้ข้อมูลข่าวสารเป็นจริง ตั้งใจให้หลอกลวง หรือไม่ได้ตั้งใจลวงแต่ไม่ได้ตรวจสอบ เมื่อนำไปสร้างกรอบความคิดให้ประชาชน ก็จะได้กรอบที่บิดๆ เบี้ยวๆ จึงอยากแนะนำว่า ข้อมูลข่าวสารที่แม่นยำ เป็นจริง จะต้องมีกระบวนการที่ได้มา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ทั้งนี้ ถ้าเป็นนักข่าว แล้วได้ข้อมูลที่เชื่อถือไมได้ จะต้องมีกลไกที่ทำให้แหล่งข่าว หรือข่าวที่ได้มานั้น เชื่อถือได้ หรือแม่นยำ ส่วนแหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ควรมีการตีราคา หรือให้น้ำหนักกับแหล่งข่าวนั้น ไม่อย่างนั้นจะต้องคอยมากรองข่าวอยู่ตลอดเวลา ส่วนแหล่งข่าวที่ตั้งใจจะให้ข้อมูลเท็จ ก็เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนที่จะต้องปฏิเสธแหล่งข่าวเหล่านี้
คำว่า “ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์” ต้อง ยึดเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก เคยมีประโยคของพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ คือ พหุชนหิตาย กับ พหุชนสุขาย ที่หมายถึง ประโยชน์ของมหาชนและเพื่อความสุขของมหาชน
“ผมคิดว่า อาชีพสื่อมวลชน เป็นอาชีพที่ยกย่องกันมาแต่โบราณแล้วว่า เป็นอาชีพศักดินาที่ 5 เพราะทุกคนเห็นความสำคัญมาตั้งแต่ไหนแล้ว หากถามว่าอาชีพนี้ทำเพื่ออะไร ให้ยึดตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้า ให้ยึดว่าเวลาไปเผยแพร่พุทธธรรมต้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ความสุขของสาธารณะ เป็นทั้งประโยชน์และความสุขของมวลชน แม้คำว่าข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ จะมีการฝักฝ่าย แต่ถ้าสื่อมวลชนจับหลักว่า จะเอาประโยชน์ของส่วนรวมและของมหาชนเป็นหลัก ก็จะมีจุดหมาย
สำหรับ “ข้อมูลข่าวสารวงใน” หรือ ข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ ผู้ที่มีอาชีพสื่อสารมวลชนต้องตัดสินว่าวงในจริงหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไม่ มีความรอบด้านพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นข่าวสารเพื่อออกสู่ประชาชน คล้ายๆ กับคำว่า “ข่าวสารที่เป็นความลับ”
“ในยุคดิจิตอลข่าวสารเป็นความลับลำบากขึ้น เพราะช่องทางและเทคโนโลยีมีมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมาตรฐานของการประกอบอาชีพของสื่อมวลชนใหม่ขึ้นมา ทำให้การจัดมาตรฐานและระเบียบของอาชีพนี้อาจจะต้องพิจารณากันใหม่”
ผู้ที่มีหน้าที่ผลิตข่าว แล้วส่งให้มวลชนบริโภคมักจะคิดว่าหน้าที่จบแค่นั้น แท้ที่จริงแล้ว ข่าวที่ผลิตขึ้นมาและเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน มีผู้บริโภคหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนที่มีระดับการศึกษา ผู้สูงอายุ หรือประเทศเพื่อนบ้าน สื่อมวลชนจึงเป็นผู้ที่มีลูกค้าเยอะมาก แต่เมื่อบริโภคแล้วเกิดคำถามว่า ข่าวที่รับรู้มาเชื่อหรือไม่ เชื่อมากหรือน้อย และเมื่อเชื่อแล้วเกิดปฏิกิริยาอย่างไร หรือเมื่อไม่เชื่อแล้วเกิดปฏิกิริยาอย่างไร
“ปฏิกิริยาที่ว่าเป็นเชิงบวกหรือลบ เชิงสร้างสรรค์หรือทำลาย ตรงนี้จึงจะกลับไปสู่เป้าหมายของสื่อมวลชนว่าสุดท้ายแล้ว จะสร้างประโยชน์ และสร้างความสุขให้กับมหาชนหรือไม่ อาชีพสื่อมวลชนมีกรอบในการทำงาน เพื่อประโยชน์และความสุขต่อมหาชน อยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ระดับความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชนต่อข่าว ทัศนคติบวกหรือลบต่อสื่อมวลชน และกรอบจริยธรรมของสื่อมวลชน
หากพูดถึงระดับความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชน ต่อข่าว ผมเห็นใจสื่อมวลชน เพราะปัจจุบันทำงานยากขึ้น มีเรื่องซับซ้อนมาก การที่นิสิต นักศึกษาเรียนวิชาสื่อสารมวลชน 4 ปี แล้วจะให้เขาเข้าใจประเด็นต่างๆ ซึ่งสลับซับซ้อน ย่อมเป็นไปไม่ได้ หลักและทักษะกว้างๆ พอจะเป็นไปได้ แต่จะให้ลงลึกไปเป็นผู้สื่อข่าวแต่ละด้านคงไม่ได้ ต้องมีประสบการณ์ เรียนรู้จากรุ่นพี่ จากแหล่งอื่นๆ และต้องใช้เวลา ซึ่งผมเข้าใจว่าสภาการณ์หนังสือพิมพ์คงจะตระหนักดี ในการปรับเรื่องความรู้ ให้รับรู้และทันต่อโลก ต่อเหตุการณ์
ในสื่อหลักทุกวันนี้ บางเนื้อข่าว ผู้ที่เป็นผู้ประกาศข่าวบางท่านก็หลงไปเป็นผู้วิจารณ์ข่าวเอง แล้วก็วิจารณ์ผิด ผมคิดว่าความรู้ความเข้าใจในประเด็นข่าว และความหลงบทบาทตัวเองเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ผมไม่คิดว่าเป็นการอคติมากมาย แต่เป็นความไม่เข้าใจในประเด็น ดังนั้น เมื่อความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับผู้บริโภคมีมากมาย และส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเชื่อสื่อ หากทั้งพื้นฐานของคนที่ทำอาชีพนี้มีไม่พอแล้วยังเข้าใจผิดอีก ประชาชนก็ยิ่งเข้าใจผิดไปใหญ่ ผมจึงขอฝากผู้หลัก ผู้ใหญ่ไว้ว่าการอัพเดตความรู้ของอาชีพต้องทำตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นศาล แพทย์และทุกอาชีพ
“ถ้ามีหน้าที่ประกาศข่าว อ่านข่าว แล้วจะวิจารณ์ข่าวด้วย ต้องมั่นใจก่อนว่ารู้จริง มิฉะนั้นจะไม่ใช่ข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์”
ทัศนคติของผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชน ทั้งในทางบวก และทางลบ ย่อมเกิดผลที่ต่างกัน
ยกตัวอย่าง ทัศนคติทางลบของผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชน เคยมีนักข่าวอาวุโสท่านหนึ่งพูดกับผมว่า ความขัดแย้งคือข่าว ผมคิดว่าหากคิดอย่างนี้ เป็นเรื่องที่โบราณไปแล้ว เป็นทัศนคติทางลบมากกว่า เพราะเป้าหมายของสื่อสารมวลชน คือ เพื่อประโยชน์สุขของมวลชน ฉะนั้น ทัศนคติ ของสื่อมวลชนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การบิดเบือน หรือเสนอไม่ครบ ก็เป็นสิ่งที่สื่อมวลชนไม่ควรทำ เหมือนเป็นการทำให้ผู้บริโภค บริโภคอาหารไม่เต็มจาน ได้เพียงครึ่งจาน หรืออาจมียาพิษในอาหาร เมื่อเป็นเช่นนั้น หากมีทัศนคติบวกก็จะเป็นประโยชน์มหาศาล แต่ถ้าทัศนคติลบก็จะสร้างความแตกแยกมาก
จริยธรรมของสื่อมวลชน ในนิยามของผม คือข้อบัญญัติที่ฆราวาสกำหนดขึ้นเอง เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ทั้งนี้ คิดว่า “ข้อบัญญัติของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน 9 ข้อ” น่าจะดีสำหรับคนทั่วไป เป็นจริยธรรมสำหรับคนไทย 9 ประการ ได้แก่
1.ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2.มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
3.ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4.ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย
5.ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ
6.ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7.มุ่งผลรับฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้
8.ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9.ยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ถ้าประเทศเรายึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม หมายความว่า บางทีต้องเสียประโยชน์ เพื่อยึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม ขายเสียงก็ไม่ได้ ขายตัวก็ไม่ได้ หรือต้องต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องเที่ยงธรรมก็ต้องทำ เรื่องเหล่านี้เป็นอุดมการณ์ที่ค่อนข้างสูง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง