เจาะลึก 18 มหาวิทยาลัยรัฐรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโปรเจ็กต์หน่วยงานรัฐปีละ 2,000 ล้าน จุฬาฯ กวาดเม็ดเงินเกือบครึ่ง ตามด้วย ม.เกษตร ธรรมศาสตร์ ต่างจังหวัดแค่เศษเงิน
ปี 2551 จำนวน 452 โครงการ วงเงิน 2,155 ล้านบาท
ปี 2552 จำนวน 457โครงการ วงเงิน 2,162 ล้านบาท
ปี 2553 จำนวน 391 โครงการ วงเงิน 1,893 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยที่ได้รับว่าเป็นที่ปรึกษามากสุด คือ จุฬาฯ 349 โครงการ วงเงิน 1,998.9 ล้าน บาท
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 249 โครงการ วงเงิน 1,413.7 ล้าน บาท
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 191 โครงการ วงเงิน 714.5 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 66 โครงการ วงเงิน 397.5 ล้านบาท
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร (นิด้า) จำนวน 81 โครงการ วงเงิน 325.4 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 64 โครงการ วงเงิน 287.1 ล้าน บาท
มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ จำนวน 27 โครงการ วงเงิน 123.4 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยมหิดล 83 โครงการ วงเงิน 241.6 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 35 โครงการ วงเงิน 159.8 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 25 โครงการ วงเงิน 177.4 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 30 โครงการ วงเงิน 109.5 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยนเรศวร 28 โครงการ วงเงิน 93.5 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 21 โครงการ วงเงิน 81.8 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 18 โครงการ วงเงิน 71.8 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 11 โครงการ วงเงิน 109.8 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 10 โครงการวงเงิน 47.6 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 21.9 ล้าน บาท
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4 โครงการ วงเงิน 14.4 ล้านบาท
สำหรับ 4 โครงการที่มหาสารคามรับจ้างเป็นที่ปรึกษาได้แก่ จ้างเหมาดำเนินโครงการจัดอบรมข้าราชการก่อนปฏิบัติราชการ วงเงิน 1,530,000 บาทโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ปี 2551 )และจัดทำโครงการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาพยาบาลวงเงิน 1,000,000 บาท โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ปี 2551) ,เป็นที่ปรึกษาสำหรับโครงการขอนแก่นวันสตอปเซอร์วิสโดยจังหวัดขอนแก่น วงเงิน 1,900,000 บาท (ปี 2552) ,ที่ปรึกษาในโครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์และระบบ e-OTOP การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตวงเงิน 10,000,000 บาท โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม(ปี 2553)
ทางด้านนักวิชาการจุฬาฯ คนหนึ่ง เปิดเผย TCIJ ว่า เพื่อ ความโปร่งใส สถาบันการศึกษาควรมีการเปิดเผยว่าเป็นที่ปรึกษาโครงการหน่วยงานไหนบ้าง เพื่อคนภายนอกจะได้รู้สึกว่าไม่มีอะไรหมกเม็ด
“แต่ว่าบางคนก็ไม่อยากเปิด เพราะคนที่ทำตรงไปตรงมา แต่มีคนที่ไม่ตรง บ้านเรามีแนวคิดแบบปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง มันจะเป็นภาระอีกเยอะเลยเมื่อคนดีส่วนใหญ่ต้องมาคอยชี้แจง บางทีพวกอาจารย์เองก็ไม่ได้มาคอยเก็บบิล” นักวิชาการจุฬาฯกล่าว
…………
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น