บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอกสารลับ ยุทธการกระชับวงล้อม 14-19 พ.ค.53 "มาร์ค"สั่งกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติ"ไม่ใช่"เจรจา"

มติชนออนไลน์

บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ใน วารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553  เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ”เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทาง ทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง” จากความริเริ่มของพล.ท.สิงห์ศึก  สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่

ผู้เขียนใช้นามแฝงว่า”หัวหน้าควง”เป็นจปร.32 (เหล่าทหารราบ) เป็นนายทหารปฏิบัติการประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก

เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของนายทหารที่ปฏิบัติการณ์สลายการชุมนุมของ”คนเสื้อแดง”ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553  ที่สรุปบทเรียนจาก”ความสำเร็จ”ในการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

มีเนื้อหาหลายช่วงตอนที่น่าสนใจ เช่น

1.ใน ขณะที่”สุเทพ เทือกสุบรรณ”รองนายกรัฐมนตรี ปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ไม่ได้ร่วมสั่งการในการสลายการชุมนุม โดยนายสุเทพประกาศว่าเขาเป็นคนสั่งการเอง

“ผมเรียนกับพี่น้องครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ไม่ได้ร่วมสั่งการใด ๆทั้งสิ้น ผมเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ผมเป็นคนสั่งการทุกอย่าง แล้วผมรับผิดชอบ เขากล่าวหาว่า ทำให้คนตาย ผมไปมอบตัวแล้ว ผมเรียนกับพี่น้องครับ ผมพร้อมที่จะสู้คดีพิสูจน์ความถูก ความต้อง ผมไม่หนีไปต่างประเทศเหมือนทักษิณ”

แต่ในบทความชิ้นนี้ ระบุชัดว่า”นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่วางไว้”



นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่านโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่มนปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติการชุมนุม"ไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อ"เปิดการเจรจา"


และนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้อเสนอเป็นตัวกลางในการเจรจาของ"วุฒิสมาชิก"ในคืนวันที่18 พฤษภาคมถูกปฏิเสธ


ยุทธการกระชับวงล้อมแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วง 14 พฤษภาคม 2.ช่วง 15-18 พฤษภาคม และ  3 ช่วงวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม 13.20 น.

2.”หัวหน้าควง”สรุปว่า เหตุผลหนึ่งที่ประสบชัยชนะในการกระชับวงล้อมมาจากการถอนตัวของนายวีระมุสิก พงศ์ ประธานกลุ่มนปช. และการเสียชีวิตของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง  เพราะทำให้นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและไม่มีหัวเสธ.ระดับ ยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรับ

ก่อนหน้านี้นายสุเทพ ปราศรัยว่าเขาสงสัยว่าพวกของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นฝ่ายยิงเสธ.แดง


3.เอกสารชุดนี้บอกชัดเจนถึงแผนยุทธการทั้งหมด และหน่วยทหารที่ใช้ในครั้งนี้  มีการยอมรับในเอกสารถึงการใช้”หน่วยสไนเปอร์” เป็นหน่วยแรกในการเข้าสลาย  โดยยึดพื้นที่สูงคืออาคารเคี่ยนหงวน และอาคารบางกอกเคเบิ้ล

และมี หลายช่วงตอนที่พุดถึง”หน่วยสไนเปอร์” ที่ระดมพลแม่นปืนเท่าที่มีอยู่ในกองทัพบกเข้าประจำพื้นที่ เพื่อต่อต้านการซุ่มยิงของกลุ่มนปช.ทั้งบนอาคารสูงและพื้นที่สูงข่ม

4.มี การพูดถึงการสั่งการให้ใช้”กระสุนจริง”และระบุว่า”แผนยุทธการครั้งนี้เป็น การวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เหมือนการทำสงครามรบในเมือง  ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล”และ”ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายผู้ถือ อาวุธและเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน มีจิตใจรุกรบมากขึ้น”

และ”ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย”

5.จาก หน่วยข่าวศอฉ.เชื่อว่ามีผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่มนปช.เป็นกองกำลังติด อาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79  M16  AK 47 และ Travo-21

6.ในส่วนของ”ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี” มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า “ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชน ผู้บริสุทธ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์  อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด”

และ”ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะ สมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใด ในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ”



และนี่คือรายละเอียดของบทความชิ้นนี้โดย"มติชนออนไลนื"แบ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็น2 ตอน

.......................................................................
บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม  พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553  ( ตอน 1 )


ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความมีเอกภาพของรัฐบาลกับ

กองทัพ



กล่าวนำ

สืบ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติแดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) กับรัฐบาล โดยกลุ่ม นปช.ได้มีการชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ 12 มีนาคม จนถึง 18 พฤษภาคม 2553 และกลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนย้ายมวลชนมาปักหลักตั้งเวทีปราศรัยถาวรที่บริเวณพื้นที่สี่ แยกราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในกรุงเทพฯส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล และได้สร้างผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อน


รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.เพื่อการแก้ไขปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม นปช.   ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีกองทัพบกเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา และกองทัพบกได้นำ  กำลังพลเข้าแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์สำคัญ ๆ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ 10 เมษายน พื้นที่สี่แยกคอกวัว เหตุการณ์การรักษาพื้นที่สีลม เหตุการณ์

สลายการเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช. พื้นที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง

บท ความฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง" ตามดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน

เมืองรูปแบบใหม่

เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ศอฉ. ผ่านการสั่งการมายังกองทัพบกก็ได้จัดกำลังเปิด



ยุทธการกระชับวงล้อม โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ห้วงเวลา กล่าวคือ ห้วงแรก เป็นการกระชับวงล้อมขั้นต้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553   ห้วงที่ 2 เป็นการถอยร่นเพื่อสถาปนาแนวตั้งรับเร่งด่วนในวันที่ 15-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และห้วงสุดท้ายการกระทบวงล้อมขั้นสุดท้ายในวันที่ 19  พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์ เมื่อเวลา 13.20 น.

 บทความนี้จะได้นำเสนอบทเรียนแบบความสำเร็จของยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ในระดับยุทธ์ศาสตร์ยุทธการ และยุทธวิธี

พร้อมด้วยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติระดับยุทธวิธีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

การ แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี   ภายหลังทหารประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ "ยุทธการกระชับวงล้อม" ในเวลา 10 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความพอใจผลงานยุติม็อบว่า "...เป้าหมายของ ศอฉ.เพื่อกระทบวงล้อม เพื่อให้เกิดการยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด



เรายึดหลักสากล ทำให้เกิดความพอใจ..." คำพูดไม่กี่คำของนายกรัฐมนตรีภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ ทำให้ทหารและกองทัพที่เป็นหมัดสุดท้าย  ซึ่งเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลที่มีอยู่รู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นถึง ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของยุทธการครั้งนี้

ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ทางทหารยุทธการกระชับวงล้อม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นผลจากความชัดเจนทางการเมืองสำคัญ   ได้แก่

1.นโยบาย รัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติ  การชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ดังนั้นถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยากและเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการ ในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้

2.สำหรับ สัญญาณทางการเมืองที่ส่งไปยังสังคมได้ส่งผลของจิตวิทยาระดับยุทธศาสตร์คือ การใช้ภาษาคำว่า "การกระชับวงล้อม" ไม่ใช่ "การสลายม็อบ" คือ "การปราบม็อบ" หรือ "การปิดล้อม" จากภาษาที่สื่อดังกล่าวสังคมรับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งคาดหวังว่าเหตุการณ์จะสงบโดยเร็ว และอาจมีการสูญเสียชีวิตประชาชนบ้าง แต่ไม่มากมายเหมือนเช่นในอดีต

3.มาตรการตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดโทรศัพท์ ตัดระบบการส่งกำลังบำรุง และการตัดการเติมคนเสื้อแดงเข้าไปในราชประสงค์เป็นมาตรการระดับยุทธศาสตร์ ที่รัฐบาลภายใต้การอำนวยการของ ศอฉ.ได้สร้างแรงกดดันให้ม็อบราชประสงค์ ถูกบีบกระชับวงล้อมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ได้ส่งผลข้างเคียงต่อชุมนุมผู้อาศัยโดยรอบพื้นที่การ ชุมนุม ถ้าปล่อยไว้นาน อาจส่งผลทำให้เกิดกระแสตีกลับ มาขับไล่รัฐบาลได้

4.ความ มีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวความไม่ลงรอยกันบ้างในการแก้ปัญหาเนื่องจากการใช้กำลัง ทหารขอคืนพื้นที่ เพราะบทเรียนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 บริเวณสี่แยกคอกวัวจะตามมาหลอกหลอนผู้นำกองทัพอยู่เสมอ ๆ แต่เมื่อได้ประเมินทางยุทธศาสตร์เพื่อมีความคุ้มค่าและมองเห็นความสำเร็จรับ บาลกับกองทัพก็หันมาร่วมมือกันเปิดยุทธการครั้งนี้อย่างมั่นใจรวมไปถึงความ ร่วมมือของทุกกองกำลัง

ของทุกเหล่าทัพ ก็เป็นการแสดงถึงความมีเอกภาพ

5.ปัจจัยเวลาใน กรอบการปฏิบัติงานก็เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากความล้มเหลวในการรุกเข้าขอคืน พื้นที่ใน14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้หน่วยทหารทั้งในส่วนพื้นที่ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ และถนนราชปรารภ (สามแยกดินแดง) ต้องตรึงกำลังให้อยู่กับที่ หรือแทบจะเรียกได้ว่าถอยร่นออกมาจากระยะยิงของสไนเปอร์จากการ์ด นปช. แต่เมื่อรัฐบาลเข้าใจว่าต้องให้เสรีในการปฏิบัติเรื่องเวลา รัฐบาลจึงมีมติผ่าน ครม. ประกาศให้พื้นที่ กรุงเทพมหานคร หยุดราชการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง 17-18 พฤษภาคม และ 19-21 พฤาภาคม ทำให้ทหารไม่มีแรงกดดันเรื่องเวลาเหมือนเช่นเหตุการณ์  10 เมษายนที่ผ่านมา

6.ประสิทธิภาพ ของการทำงานปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations) ได้ผลทางยุทธศาสตร์ ทั้งในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ ผ่านโทรทัศน์ NBT และการแถลงข่าวของ ศอฉ.โดยโฆษกของ ศอฉ. สามารถตอบโต้กลุ่ม นปช.และตอบข้อสงสัยของสังคม ผู้ชุมนุม ผู้ได้รับการ เดือดร้อนรอบพื้นที่ชุมนุม ประชาชนในส่วนที่เหลือของประเทศ ยกเว้นพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่มีมวลชนเป็นสีแดงเข้มก็ไม่ได้ผล รวมทั้งการสื่อสารกับนานาชาติในระดับโลก ก็ถือว่าได้ผลระดับหนึ่ง ผ่านทางรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล และกระทรวงการต่าง

ประเทศ

7.การปรากฏตัวทางยุทธศาสตร์ ศอฉ. ได้ใช้ประโยชน์จากการที่สามารถควบคุมสื่อสารโทรทัศน์ในเวลาแถลงข่าวของผู้นำ ทหารในการ แก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรองเสนาธิการทหารบก ผช.เสธ.ฝยก. แม่ทัพภาคที่ 1 และ ผบ.พลหน่วยปฏิบัติ ทำให้กำลังพลมีความเชื่อมั่น การปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อม มีการวางกำลังทางทหารและมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน สังคมและประชาชนก็มั่นใจว่า น่าจะมีความสำเร็จสูง

8.การชี้แจงทำ ความเข้าใจของการใช้อาวุธ ตามหลักสากล มีกฎการใช้กำลัง การยิงกระสุนจริง การใช้หน่วยสไนเปอร์ ก็ถือว่ากระทำได้อย่างทันท่วงที เพื่อตอบโต้กับภาพข่าวทั้งในและต่างประเทศ เพราะถ้าไม่มีการแก้ข่าวทุกวัน ข่าวความห่วงใยเหล่านี้ได้ไต่ระดับเลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากของปัญหามากยิ่งขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลไม่สามารถรับมือกับต่างประเทศได้

9.การควบคุมการ ติดต่อสื่อสารทุกระบบ ก็ถือว่าเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ที่สำคัย เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสั่งปิดเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค และทวิสเตอร์ของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ช่องทางสื่อสารถูกตัดขาดลง

10.การทำงานที่สอดคล้องกันระหว่าง มาตรการตัดน้ำตัดไฟ กับมาตรการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในเรื่องการประกาศงดทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ต้องสงสัยที่ต่อท่อน้ำเลี้ยง ให้กับกลุ่ม นปช. คือการตัดแหล่งทุนสำคัญของการเคลื่อนไหวลงได้ระดับหนึ่ง

11.การ นำคดีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงกับคดีการก่อการร้ายมาเป็นคดีของกรมสอบสวน คดีพิเศษเป็นผลให้การทำคดีมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเข้มข้นในการสืบสวนสอบสวน ตามกระบวนยุติธรรมและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากถึง 11 หน่วยงาน มาช่วยกันทำคดีการก่อการร้าย ก็ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายอย่างมาก

12.จุด อ่อนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่ม นปช.ที่กลายเป็นจุดแข็งของรัฐบาล คือ การถอนตัวของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่ม นปช. และการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้มีความเชี่ยวชาญทางทหารที่มีส่วนดูแลและวางแผนการรักษาความปลอดภัยของ การ์ด นปช. ถือว่าเป็นสัญญาณแห่งความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ เพราะกลุ่ม นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมือง คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ และไม่มีหัวเสธ.ระดับยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรัฐ ในกรณีที่ทหารจะเข้าสลายม็อบ นปช.


สรุปได้ว่า ความสำเร็จทางยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ การที่ทหารสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ชัดเจนได้ก็เนื่องจากการเมืองของ รัฐบาลที่ชัดเจน และที่สำคัญดังที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า "ชัยชนะย่อมเกิดจากฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึกตกอยู่ในสถานการณ์พ่ายแพ้เอง"นั่น คือสภาพการแตกแยกทางความคิดของกลุ่มแกนนำหลัก และการสูญเสียมือวางแผนระดับเสนาธิการ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่ม นปช.เริ่มเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์มาตามลำดับ



แผนยุทธการและหน่วยรับผิดชอบการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

 แผนยุทธการสลายม็อบราชประสงค์ถูกกำหนดดีเดย์ไว้ตั้งแต่ตี3 ครึ่งวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน่วยแรกที่เข้าปฏิบัติการคือ หน่วยสไนเปอร์ เพื่อยึดพื้นที่สูงข่มของตึกบนถนนวิทยุ (อาคารเคี่ยนหงวน) และสะพานแยกสารสิน(อาคารบางกอกเคเบิล)โดยที่อาคารสูงบนถนนวิทยุถูกยึดได้ก่อนตี 5 ครึ่ง ส่วนตึกสูงด้านถนนสารสินยังเข้าไม่ได้


หลังจากนั้นทหารจาก พล.ม.2 รอ.ได้แยกกำลังรุกเข้าไป 3 ทิศทาง ตามเส้นทางถนนวิทยุ ถนนสีล้ม และถนนสุรวงศ์ มีการเคลื่อนรถหุ้มเกราะปฏิบัติพร้อมทหารเดินเท้าอาวุธเต็มอัตราศึกเป็นรูป ขบวนการรบที่คุ้นตาสำหรับการปฏิบัติการของยานยนต์รบกับหน่วยของการยุทธรบใน เมือง


แต่กว่าที่ภาพรถหุ้มเกาะจะค่อยๆ บดทับและพังทลายป้อมค่ายป้องกันของ นปช. ที่ศาลาแดงได้นั้น ได้มีการวางแผนปรับแผนส่วนหน้ามาแล้วเป็นเดือนโดยใช้บทเรียน 10 เมษายน เป็นสมมติฐาน ดังนั้นแผนยุทธการครั้งนี้จึงมีการวางแผนอย่างรัดกุมและตั้งอยู่บนสถานการณ์ ที่เป็นไปได้มากที่สุด และจะเห็นได้ว่ายุทธการครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางการทหารและ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น



ขั้นการปฏิบัติยุทธการกระชับวงล้อม

 จากการประมวลภาพการแถลงข่าวของศอฉ. และภาพข่าวของสื่อมวลชน แผนยุทธการน่าจะประกอบด้วยขั้นการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่


1.ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นต้น เพื่อทดสอบกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ขั้นต้น ใช้เวลา 1 วัน (14 พฤษภาคม)


2.ขั้นการวางกำลังตรึงพื้นที่รอบนอก เพื่อป้องกันการเติมคนของกลุ่ม นปช. อาจเรียกได้ว่าเป็นการกลับหลังหันรบ 180 องศา มาตั้งรับใย 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ บ่อนไก่ ถนนราชปรารภ และสามย่าน ขั้นนี้ต้องใช้ความอดทนอย่างสูวสุด ควบคุมสถานการณ์ให้นิ่งให้ได้ รอฟังคำสั่งต่อไปใช้เวลา 4 วัน (15-18 พฤษภาคม)



3. ขั้นการสลายม้อบภายหลังจากปฏิบัติการในขั้นที่ 2 ที่ต้องใช้เวลา 4 วัน เพื่อเช็คข่าวการวางกำลังและอาวุธสงครามในพื้นที่สวนลุมพินี การวางกำลังหลังแนวด่านตรวจ นปช.โดยรอบพื้นที่ราชประสงค์ การเช็คที่ดั้งจุดใช้อาวุธ M 79  การตรวจสอบกองกำลังกลุ่มอ่กการร้ายจำนวน 500 คนว่าวางกำลังพื้นที่ใด เมื่อทุกหน่วยเข้าที่พร้อม การปฏิบัติการก็เริ่มต้นในเช้าตรู่วันที่ 19 พฤษภาคม โดยให้เสร็จสิ้นภารกิจภายใน 1,800 ของวันเดียวกัน

 4. ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบค้นหาหลักฐาน อาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมาย เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 สาเหตุที่ไม่สามารถทำได้ในวันบุกสลายการชุมนุมในขั้นที่ตอนที่ 3 เพราะกลุ่ม นปช.ได้วางเต้นท์และที่พักเป็นจำนวนมาก และตั้งแต่บ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม มวลชนเสื้อแดงได้ก่อการจลาจลในพื้นที่ราชประสงคืและทั่วกรุงเทพฯ



หน่วยรับผิดชอบวางกำลังยุทธการกระชัยวงล้อม


เป็นการปฏิบัติการร่วม3 เหล่าท้พคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกำลังหลักที่ใช้ปฏิบัติการเป็นกำลังของกองทัพบก จำนวน 3 กองพล ได้แก่


กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร.1รอ.) ใช้กำลัง 3 กรม หลักคือ ร.1 รอ. ร.11 รอ.และ ร.31 รอ.ให้ ร.1 รอ กับ ร.11 รอ. วางกำลังพื้นที่ดินแปลง พญาไทราชปรารภ ร.31 รอ.เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติการพิเศษ  กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ถนนวิทยุ บ่อนไก่ ศาลาแดง ลุมพินี สามย่านกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อโศก เพลินจิต ชิดลม


นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุน คือ พล.ร.2 รอ.กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศสแตนด์บายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินเหนือพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิตจพิเศาอารักขาสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณโรงพยาบาลศิริราชง


ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจของกองทัพจะมีสัญญาณบอกฝ่าย เป็นสัญลักษณ์แถบสี ติดหัวไหล่ แขนขวา โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกวัน แต่เมื่อการปฏิบัติภารกิจเต็มขั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทุกหน่วยจะใช้แถบสีชมพูเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่าย ติดไว้บริเวณหลังหมวกเหล็กทุกนาย




ความสำเร็จทางยุทธการ : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์


1.แผนยุทธการมีพื้นฐานและสอดรับกับความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายของรัฐบาล


2.แผนยุทธการมีการวางแผนเป็นขั้นตอนรัดกุมมีเสรีในการปฏิบัติตามกรอบเวลามีการวางแผนและปฏิบัติโดยปราศจากแรงกดดันด้วยเวลา


3.การปฏิบัติการข่าวสารนับว่าเป็นผลในระดับยุทธการ ทั้งในส่วนการสร้างขวัญและกำลังใจของฝ่ายปฏิบัติการ และลดขวัญกำลังใจของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย


4.ความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่กลุ่ม นปช.ทำให้สามารถใช้หน่วยได้ตรงกับขีดความสามารถและถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ ยกตัวอย่าง การใช้หน่วยสไนเปอร์ของทุกกรม โดยเฉพาะกับพื้นที่ตึกสูงตามเส้นทางถนนวิทยุและสายสารสิน


5.ความสำเร็จในการจู่โจม แม้ว่าแผนยุทธการครั้งนี้ไม่สามารถจู่โจมด้วยเวลาได้ ก็มีการแก้เกมด้วยการจู่โจมด้วยความเร็วโดยการส่งล่วงหน้าเข้ารักษาความ ปลอดภัยบนพื้นที่อาคารสูง การเข้ายึดพื้นที่สวนลุมพินีเป็นส่วนใหญ่ได้ก่อนสว่าง และการรุกเข้าพร้อมกัน 3 ทิศทาง


6.การปฏิบัติตามแผนยุทธการ กระทำด้วยการรุกคืบด้วยความระมัดระวังของแต่ละพื้นที่โดยการประเมินศักยภาพ ของกำลังการ์ดนปช.ให้สูงกว่าเมื่อครั้ง10 เมษายน เพื่อให้มีระบบป้องกันตัวทหารที่มากขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กำลังทหารประมาณ 2 หมื่นนาย มีการสูญเสียทหาร 1 นาย กับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความสูญเสียที่ยอมรับได้


7.กองกำลังการ์ด นปช.มีการตั้งรับแบบกองโจรวางกำลังเต็มพื้นที่ ขาดผู้เชี่ยวชาญการวางกำลังตั้งรับและร่นถอยแบบทหารที่แท้จริง เนื่องจากการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ทำให้จุดศูนย์ดุลของ นปช.กลายมาเป็นจุดแข็งของการปฏิบัติของกองทัพ


8.แผนยุทธการเป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบเสมือนการทำสงครามรบใน เมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล วางแผนเข้าปฏิบัติการ ซึ่งมีอำนาจกำลังรบเปรียบเทียบสูงกว่ามาก ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มกลุ่มก่อการร้ายผู้ถืออาวุธ และเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่เคยสูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ก็มีจิตใจรุกรบมากขึ้น


9.แผนยุทธการในการรุกผ่านฝ่ายเดียวกันจากถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ และถนนวิทยุ ทำให้กองกำลังทหารสามารถรักษาโมเมนตัมในการปฏิบัติการได้อย่างตอ่เนื่อง และสามารถพิทักษ์ป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง (พื้นที่สีลม) ได้อย่างปลอดภัย


10.ความมีเอกภาพในการปฏิบัติ จากการสั่งการของแม่ทัพภาคที่ 1 กับกองกำลัง 3 กองพลให้ปฏิบัติการได้ถูกจังหวะการรุกและการหยุดหน่วย เพื่อผลการรุกของหน่วยอื่นหรือรอเวลาสำหรับการปฏิบัติชั้นสุดท้าย ยกตัวอย่างหน่วยรุกแตกหัก ได้แก่ พล ม.2 รอ.จากทิศทางสีลมมุ่งสู่สี่แยกศาลาแดง ส่วนที่ 2 กองพลที่เหลือคือ พล.ร.9 รับผิดชอบพื้นที่แยกอโศก เพลินจิต ชิดลม และ พล.1 รอ.รับผิดชอบพื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ กำลังส่วนนี้ต้องตรึงกำลัง ปิดเส้นทางหลบหนี ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้ทยอยออกจากพื้นที่ราชประสงค์ผ่านถนนพระราม 1 ไปแยกปทุมวัน หรือเข้าไปในวัดปทุมวนาราม



ความสำเร็จทางยุทธวิธี : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์


ยุทธการกระชับวงล้อมเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นการปฏิบัติทางทหารเต็มรูปแบบ จึงเห็นได้ว่าภารกิจชัดเจน คือการกระชับวงล้อมด้วยกระสุนจริง จากกำลังหน่วยรบหลักของเหล่าทหารราบ เหล่าทหารม้า และหน่วยส่งกำลังทางอากาศ อย่างเช่น ร.31 รอ.ในภารกิจปฏิบัติการพิเศษ อาจเรียกได้ว่าเป็นการรบในเมืองที่ใช้อาวุธยุทธโธปกรณ์ทางทหารเต็มอัตราศึก ทั้งกำลัง อาวุธประจำกายที่ทันสมัย ชุดสไนปอร์ หน่วยยานเกราะ ซึ่งการปรับกำลังและการเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธีที่สำคัญครั้งนี้ก็เป็นผล สะท้อนจากบทเรียนเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ.2553 นั่นเอง


การปฏิบัติการทางยุทธวิธีที่ใช้เวลาทำงาน 9 ชั่วโมง (เวลา 03.30-13.30) ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งทางยุทธวิธีของการรบในเมือง ที่สมควรได้มีการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการรบในเมือง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1.การปฏิบัติการทางยุทธวิธีสอดรับกับแผนยุทธการกระชับวงล้อมของศอฉ.ใน ระดับยุทธการและนโยบายของรัฐบาลที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อการเมืองชัดเจนผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพชัดเจน ผู้บังคับหน่วยชัดเจนนำมาซึ่งแผนยุทธการและแผนปฏิบัติระดับยุทธวิธีก็มอง เห็นทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ




2.ปรับยุทธวิธีการปราบจลาจลเป็นยุทธวิธีการรบในเมือง เพื่อการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ หรือผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่ม นปช.ด้วยฐานข่าวของ ศอฉ.ว่ามีกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธปืนซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M 16 AK 47 และ Travo-21


3.ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย ทำให้ต้องมีการสร้างวินัยอย่างเข้มงวด ตามกฎการใช้กำลัง จากเบาไปหาหนัก ตามหลักสากลมีการยิงให้กรวยกระสุนตกต่ำกว่าหัวเข่า การยิงเมื่อเห็นเป้าหมายหรือบุคคลถืออาวุธ เป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง การยิงขู่จะยิงเมื่อม็อบเคลื่อนที่เข้ามาแล้วสั่งให้หยุด ก็ไม่ยอมหยุด




4.การจัดระยะห่างระหว่างการวางกำลังของหน่วยทหารกับแนวตั้งรับของม็อบใน ระยะยิงหวังผลปืนM16 ประมาณ 400 หลา ซึ่งต้องมีกำลังพลเข้าเวรตรวจดูความเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช.ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดเวลา


5.การปรับการวางกำลังและการเคลื่อนที่ภายใต้อาคารและทางเดินเท้าไม่มีการ จัดรูปขบวนยืนแถวหน้ากระดานเป็นแผงกลางถนน เพื่อเตรียมตัวผลักดันกับฝูงชนในภารกิจปราบจลาจล เพื่อป้องกันการซุ่มยิงจากด้านหลังผุ้ชุมนุม




6.การดัดแปลงที่วางกำลังเป็นการตั้งรับแบบเร่งด่วนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือถอยร่นด้วยกำบังกระสอบทรายสูงระดับครึ่งเข่า เมื่อต้องนอนราบหรือสูงระดับศรีษะเมื่อต้องการยืนปฏิบัติการ และมีการวางแนวทหารตั้งรับเป็นชั้นๆ ตามเส้นทางเคลื่อนที่เข้าหาม็อบ มิใช่เป็นการวางแนวเป็นปึกแผ่นเพียงชั้นเดียว ซึ่งถ้าม็อบมีจำนวนมากกว่า ก็สามารถล้อมทหารและเข้าถึงตัวแย่งปืนได้ง่าย


7.ใช้ลักษณะผู้นำหน่วยขนาดเล็กสูงมาก เพราะต้องอดทน ใจเย็น รอเวลา ทนต่อการยั่วยุ การรับควันไฟกลิ่นยางรถยนต์ที่เหม็นรุนแรงตลอดทั้งวันทั้งคืน


8.การใช้ส่วนสไนเปอร์คุ้มครองการเคลื่อนที่ในการรุกไปข้างหน้าและการ ป้องกันให้หน่วยเมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือเมื่อกองกำลังหยุดนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลาข้ามวันข้ามคืน อีกทั้งต้องรับภารกิจอารักขาผู้บังคับบัญชาระดับสูงอีกด้วย


9.การวางกำลังตามแนวทางเดินเท้าสามารถวางกำลังได้ ยิ่งกระจายกำลังออกไปให้ได้มากก็ยิ่งตกเป็นเป้าหมายคุ้มค่าน้อยลง และไม่ตกเป็นเป้าหมายคุ้มค่าน้อยลง และไม่ตกเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ให้กับกระสุน M 79 ของกำลังก่อการร้าย


10.พัฒนารูปแบบการวางจุดตรวจการณ์ข้างหน้า (Out Post) โดยใช้สะพานลอยข้ามถนนมีการปิดฉากม่านดำเสริมด้วยบังเกอร์และกระสอบทราบ ทำให้ลดการตรวจการณ์ของการ์ด นปช.และเสริมการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ทั้งสามารถปกปิดการถ่ายรูปจากสื่อมวลชน


11.การปรับกำลังและระดมพลแม่นปืนเท่าที่มีอยู่ของกองทัพบกเข้าประจำ พื้นที่เพื่อต่อต้านการซุ่มยิงของกลุ่ม นปช.ทั้งบนอาคารสูงและพื้นที่สูงข่ม


12.การกำหนดพื้นที่อันตรายเป็นฉนวนกั้นกลางระหว่างแนวระยะยิงหวังผลของ หน่วยทหารกับแนวตั้งรับของกลุ่มนปช.เป็นยุทธวิธีประการหนึ่ง โดยมีการประกาศเขตการยิงด้วยกระสุนจริง (Live  Firing Zone)




13.การกำหนดเขตห้ามบิน เป็นแผนยุทธการที่สนับสนุนงานยุทธวิธี ทำให้มั่นใจว่าการรบเหนือน่านฟ้าพื้นที่ราชประสงค์ ฝ่ายเราสามารถครองความได้เปรียบทางอาศัยอยู่


14.ยุทธวิธียอมเสียพื้นที่ แล้วถอยกลับมาตั้งรับในพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่า ห่างจากระยะยิงของพลซุ่มยิงกลุ่ม นปช.เห็นได้จากความล้มเหลวในการกระชับวงล้อมในพื้นที่ 14 พฤษภาคม ถือว่าเป็นยุทธวิธีที่ชาญฉลาด ด้วยการไม่บุกตะลุยเข้าสู่คิลลิ่งโซน (Killing Zone)




15.การถอนกำลัง หรือการวางกำลังกระจายตัวมากขึ้นภายหลังค่ำมืด ก็ถือว่าเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการไม่ตกเข้าไปในกับดักที่ เป็นเป้าหมายคุ้มค่า


16.การใช้หน่วยรถหุ้มเกราะเมื่อจำเป็นและต้องการผลแตกหักในการสลายการ ชุมนุมเท่านั้น จึงทำให้ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวของยานเกราะก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553




17.การใข้รถหุ้มเกราะกับพลรบเคลื่อนที่ตามกันนั้นเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ ได้แปรเปลี่ยนไปเพื่อเป็นการข่มขวัญการ์ด นปช.เพราะลดการสูญเสียพลรบ จากอาวุธ M79 จรวด RPG หรือระเบิดเคโมร์ตามแนวตั้งรับ นปช.




18.การสนธิกำลังอย่างลงตัวของชุดรบที่ประกอบด้วยชุดสไนเปอร์ ขบวนรถหุ้มเกราะพลรบหลังรถหุ้มเกราะขุดผจญเพลิง ขุดกู้ระเบิด (EOD) เป็นที่ประสบความสำเร็จที่น่าสนใจ




19.การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติการที่ส่งผลให้มีเสรีในการปฏิบัติทาง ยุทธวิธีเช่น การเริ่มปฏิบัติในตอนเช้าตรู่ ทำให้มีเวลามากพอสำหรับกำลังในการรุกเข้าเคลียร์พื้นที่ แต่การรบในเวลากลางคืนทำให้การมองเห็นจำกัด อาจตกเป็นเป้าหมายของกองกำลังก่อการร้ายที่แอบแฝง และที่สำคัญไม่มียิงฝ่ายเดียวกันหรือยิงประชาชนผู้บริสุทธิ์




20.การใช้หน่วย ปจว.ทางยุทธวิธี เพื่อทำความเข้าใจก่อนการบุกสลายการชุมนุมถือว่าเป็นหลักสากลประการหนึ่ง


21.การใช้หน่วยในพื้นที่วางกำลังส่วนล่างหน้าไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เพื่อตรึงกำลังป้องกันมิให้มวลชนคนเสื้อแดงยกกำลังเข้าช่วยที่ราชประสงค์ ต่อจากนั้นจึงใช้กำลังหลักเข้าสลายกลุ่มชุมนุม


22.การยอมถอนตัวของกำลังทหารออกจากพื้นที่ราชประสงค์ภายหลังถูกโจมตีด้วย M79 ในช่วงตอนเย็นตรงพื้นที่แยกสารสิน ถอยกลับไปยังพื้นที่ปลอดภัยถนนสีลมถือว่าเป็นการตัดสินใจในระดับยุทธวิธีที่ ถูกต้อง เพื่อลดการสูญเสียโดยไม่จำเป็น


23.มีการซักซ้อมแผนและซักซ้อมการปฏิบัติทั้งหมดทั้งในพื้นที่ตั้งหน่วย และที่ร.11 รอ. เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นใจสู่ความสำเร็จ และเป็นการลดเกณฑ์เสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง





 สืบเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) กับรัฐบาลโดย กลุ่ม นปช.ชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ 12 มีนาคม จนถึง 18 พฤษภาคม 2553 และกลุ่ม นปช.เคลื่อนย้ายมวลชนมาปักหลักตั้งเวทีปราศรัยถาวรที่บริเวณพื้นที่สี่แยกราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล และได้สร้างผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.เพื่อการแก้ไขปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีกองทัพบกเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา และกองทัพบกได้นำกำลังพลเข้าแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์สำคัญๆ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ 10 เมษายน พื้นที่สี่แยกคอกวัว เหตุการณ์การรักษาพื้นที่สีลม เหตุการณ์สลายการเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช. พื้นที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง

บทความฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติ ทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง" ตามดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่

เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ ศอฉ. ผ่านการสั่งการมายังกองทัพบกก็ได้จัดกำลังเปิดยุทธการกระชับวงล้อม โดยแบ่ง การปฏิบัติออกเป็น 3 ห้วงเวลา กล่าวคือ ห้วงแรก เป็นการกระชับวงล้อมขั้นต้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ห้วงที่ 2 เป็นการถอยร่นเพื่อสถาปนาแนวตั้งรับเร่งด่วนในวันที่ 15-18 พฤษภาคม พ.ศ.2553 และห้วงสุดท้ายการกระทบวงล้อมขั้นสุดท้ายในวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์ เมื่อเวลา 13.20 น.

บทความนี้นำเสนอบทเรียนแบบความสำเร็จของยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี พร้อมด้วยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติระดับยุทธวิธีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป



ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์

การแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ภายหลังทหารประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ "ยุทธการกระชับวงล้อม" ในเวลา 10 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความพอใจผลงานยุติม็อบว่า "...เป้าหมายของ ศอฉ.เพื่อกระทบวงล้อม เพื่อให้เกิดการยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด เรายึดหลักสากล ทำให้เกิดความพอใจ..." คำพูดไม่กี่คำของนายกรัฐมนตรีภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ ทำให้ทหารและกองทัพที่เป็นหมัดสุดท้ายซึ่งเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลที่มีอยู่รู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นถึงยุทธศาสตร์ทางการเมืองของยุทธการครั้งนี้

ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ทางทหาร ยุทธการกระชับวงล้อม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นผลจากความชัดเจนทางการเมืองสำคัญ อาทิ

1.นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติการชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ดังนั้น ถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยาก และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้

2.สำหรับสัญญาณทางการเมืองที่ส่งไปยังสังคมได้ส่งผลของจิตวิทยาระดับยุทธศาสตร์คือ การใช้ภาษาคำว่า "การกระชับวงล้อม" ไม่ใช้ "การสลายม็อบ" คือ "การปราบม็อบ" หรือ "การปิดล้อม" จากภาษาที่สื่อดังกล่าวสังคมรับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย

3.การควบคุมการติดต่อสื่อสารทุกระบบ ก็ถือว่าเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสั่งปิดเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และทวิสเตอร์ของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ช่องทางสื่อสารถูกตัดขาดลง

สรุปได้ว่า ความสำเร็จทางยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ การที่ทหารสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ชัดเจนได้ก็เนื่องจากการเมืองของรัฐบาลที่ชัดเจน และที่สำคัญดังที่ชุนจูกล่าวไว้ว่า "ชัยชนะย่อมเกิดจากฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึกตกอยู่ในสถานการณ์พ่ายแพ้เอง"

นั่นคือสภาพการแตกแยกทางความคิดของกลุ่มแกนนำหลัก และการสูญเสียมือวางแผนระดับเสนาธิการ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่ม นปช.เริ่มเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์มาตามลำดับ



แผนยุทธการ

แผนยุทธการสลายม็อบราชประสงค์ถูกกำหนดดีเดย์ไว้ตั้งแต่ตี 3 ครึ่ง วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 หน่วยแรกที่เข้าปฏิบัติการคือ หน่วยสไนเปอร์ เพื่อยึดพื้นที่สูงข่มของตึกบนถนนวิทยุ (อาคารเคี่ยนหงวน) โดยที่อาคารสูงบนถนนวิทยุ ถูกยึดได้ก่อนตี 5 ครึ่ง ส่วนตึกสูงด้านถนนสารสินยังเข้าไม่ได้

หลังจากนั้นทหารจาก พล.ม.2 รอ.ได้แยกกำลังรุกเข้าไป 3 ทิศทาง ตามเส้นทาง ถนนวิทยุ ถนนสีลม และถนนสุรวงศ์ มีการเคลื่อนรถหุ้มเกราะปฏิบัติพร้อมทหารเดินเท้าอาวุธเต็มอัตราศึกเป็นรูปขบวนการรบที่คุ้นตาสำหรับการปฏิบัติการของยานยนต์รบกับหน่วยของการยุทธ์รบในเมือง

แต่กว่าที่ภาพรถหุ้มเกาะจะค่อยๆ บดทับและพังทลายป้อมค่ายป้องกันของ นปช. ที่ศาลาแดงได้นั้น ได้วางแผนปรับแผนส่วนหน้ามาแล้วเป็นเดือนโดยใช้บทเรียน 10 เมษายน เป็นสมมติฐาน ดังนั้นแผนยุทธการครั้งนี้จึงมีการวางแผนอย่างรัดกุมและตั้งอยู่บนสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด และจะเห็นได้ว่ายุทธการครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางการทหารและยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น



เหล่าทัพ'กระชับวงล้อม'

เป็นการปฏิบัติการร่วม 3 เหล่าทัพคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกำลังหลักที่ใช้ปฏิบัติการเป็นกำลังของกองทัพบก จำนวน 3 กองพล ได้แก่

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร.1 รอ.) ใช้กำลัง 3 กรม หลักคือ ร.1 รอ. ร.11 รอ.และ ร.31 รอ.ให้ ร.1 รอ. กับ ร.11 รอ. วางกำลังพื้นที่ดินแปลง พญาไทราชปรารภ ร.31 รอ.เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติการพิเศษ

กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ถนนวิทยุ บ่อนไก่ ศาลาแดง ลุมพินี สามย่าน

กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อโศก เพลินจิต ชิดลม

นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุน คือ พล.ร.2 รอ.กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศสแตนด์บายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินเหนือพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิจพิเศษอารักขาสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณโรงพยาบาลศิริราช

ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจของกองทัพจะมีสัญญาณบอกฝ่าย เป็นสัญลักษณ์แถบสี ติดหัวไหล่ แขนขวา โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกวัน แต่เมื่อการปฏิบัติภารกิจเต็มขั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทุกหน่วยจะใช้แถบสีชมพูเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่าย ติดไว้บริเวณหลังหมวกเหล็กทุกนาย



ความสำเร็จทางยุทธการ

1.แผนยุทธการมีพื้นฐานและสอดรับกับความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายของรัฐบาล

2.แผนยุทธการมีการวางแผนเป็นขั้นตอน รัดกุมมีเสรีในการปฏิบัติตามกรอบเวลามีการวางแผนและปฏิบัติโดยปราศจากแรงกดดันด้วยเวลา

3.การปฏิบัติการข่าวสาร นับว่าเป็นผลในระดับยุทธการ ทั้งในส่วนการสร้างขวัญและกำลังใจของฝ่ายปฏิบัติการ และลดขวัญกำลังใจของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย

4.ความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่ กลุ่ม นปช.ทำให้สามารถใช้หน่วยได้ตรงกับขีดความสามารถและถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ ยกตัวอย่าง การใช้หน่วยสไนเปอร์ของทุกกรม โดยเฉพาะกับพื้นที่ตึกสูงตามเส้นทางถนนวิทยุและสายสารสิน

5.ความสำเร็จในการจู่โจม แม้ว่าแผนยุทธการครั้งนี้ไม่สามารถจู่โจมด้วยเวลาได้ ก็มีการแก้เกมด้วยการจู่โจมด้วยความเร็วโดยการส่งล่วงหน้าเข้ารักษาความปลอดภัยบนพื้นที่อาคารสูง การเข้ายึดพื้นที่สวนลุมพินีเป็นส่วนใหญ่ได้ก่อนสว่าง และการรุกเข้าพร้อมกัน 3 ทิศทาง

6.การปฏิบัติตามแผนยุทธการ กระทำด้วยการรุกคืบด้วยความระมัดระวังของแต่ละพื้นที่โดยการประเมินศักยภาพของกำลังการ์ด นปช.ให้สูงกว่าเมื่อครั้ง 10 เมษายน เพื่อให้มีระบบป้องกันตัวทหารที่มากขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กำลังทหารประมาณ 2 หมื่นนาย มีการสูญเสียทหาร 1 นาย กับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความสูญเสียที่ยอมรับได้

7.กองกำลังการ์ด นปช.มีการตั้งรับแบบกองโจรวางกำลังเต็มพื้นที่ ขาดผู้เชี่ยวชาญการวางกำลังตั้งรับและร่นถอยแบบทหารที่แท้จริง เนื่องจากการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ทำให้จุดศูนย์ดุลของ นปช.กลายมาเป็นจุดแข็งของการปฏิบัติของกองทัพ

8.แผนยุทธการเป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เสมือนการทำสงคราม รบในเมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล วางแผนเข้าปฏิบัติการ ซึ่งมีอำนาจ กำลังรบเปรียบเทียบสูงกว่ามาก ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มก่อการร้ายผู้ถืออาวุธ และเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่เคยสูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ก็มีจิตใจรุกรบมากขึ้น

9.แผนยุทธการในการรุกผ่านฝ่ายเดียวกันจากถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ และถนนวิทยุ ทำให้กองกำลังทหารสามารถรักษาโมเมนตัมในการปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพิทักษ์ป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง (พื้นที่สีลม) ได้อย่างปลอดภัย

10.ความมีเอกภาพในการปฏิบัติ จากการสั่งการของแม่ทัพภาคที่ 1 กับกองกำลัง 3 กองพล ให้ปฏิบัติการได้ถูกจังหวะการรุกและการหยุดหน่วย เพื่อผลการรุกของหน่วยอื่นหรือรอเวลาสำหรับการปฏิบัติชั้นสุดท้าย

ยกตัวอย่างหน่วยรุกแตกหัก ได้แก่ พล ม.2 รอ.จากทิศทางสีลมมุ่งสู่สี่แยกศาลาแดง ส่วนที่ 2 กองพลที่เหลือคือ พล.ร.9 รับผิดชอบพื้นที่แยกอโศก เพลินจิต ชิดลม และ พล.1 รอ.รับผิดชอบพื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ กำลังส่วนนี้ต้องตรึงกำลังปิดเส้นทางหลบหนี ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้ทยอยออกจากพื้นที่ราชประสงค์ผ่านถนนพระราม 1 ไปแยกปทุมวัน หรือเข้าไปในวัดปทุมวนาราม



ความสำเร็จทางยุทธวิธี

ยุทธการกระชับวงล้อมเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นการปฏิบัติทางทหารเต็มรูปแบบ จึงเห็นได้ว่าภารกิจชัดเจน คือการกระชับวงล้อมด้วยกระสุนจริง จากกำลังหน่วยรบหลักของเหล่าทหารราบ เหล่าทหารม้า และหน่วยส่งกำลังทางอากาศ อย่างเช่น ร.31 รอ.ในภารกิจปฏิบัติการพิเศษ อาจเรียกได้ว่าเป็นการรบในเมืองที่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารเต็มอัตราศึก ทั้งกำลัง อาวุธประจำกายที่ทันสมัย ชุดสไนเปอร์ หน่วยยานเกราะ การปรับกำลังและการเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธีที่สำคัญครั้งนี้ก็เป็นผลสะท้อนจากบทเรียนเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 นั่นเอง

การปฏิบัติการทางยุทธวิธีที่ใช้เวลาทำงาน 9 ชั่วโมง (เวลา 03.30-13.30 น.) ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งทางยุทธวิธีของการรบในเมือง ที่สมควรบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการรบในเมือง อาทิ

-การปฏิบัติการทางยุทธวิธีสอดรับกับแผนยุทธการกระชับวงล้อมของ ศอฉ.ในระดับยุทธการและนโยบายของรัฐบาลที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อการเมืองชัดเจน ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพชัดเจน ผู้บังคับหน่วยชัดเจนนำมาซึ่งแผนยุทธการ และแผนปฏิบัติระดับยุทธวิธีก็มองเห็นทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

-ปรับยุทธวิธีการปราบจลาจล เป็นยุทธวิธีการรบในเมือง เพื่อการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ หรือผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่ม นปช.ด้วยฐานข่าวของ ศอฉ.ว่ามีกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธปืนซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M 16 AK 47 และ Travo-21

-ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย ทำให้ต้องสร้างวินัยอย่างเข้มงวด ตามกฎการใช้กำลัง จากเบาไปหาหนัก ตามหลักสากลมีการยิงให้กรวยกระสุนตกต่ำกว่าหัวเข่า การยิงเมื่อเห็นเป้าหมายหรือบุคคลถืออาวุธ เป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง การยิงขู่จะยิงเมื่อม็อบเคลื่อนที่เข้ามาแล้วสั่งให้หยุดก็ไม่ยอมหยุด

การใช้ส่วนสไนเปอร์คุ้มครองการเคลื่อนที่ในการรุกไปข้างหน้า และการป้องกันให้หน่วยเมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือเมื่อกองกำลังหยุดนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลาข้ามวันข้ามคืน อีกทั้งต้องรับภารกิจอารักขาผู้บังคับบัญชาระดับสูงอีกด้วย

-การกำหนดพื้นที่อันตรายเป็นฉนวนกั้นกลางระหว่างแนวระยะยิงหวังผลของหน่วยทหารกับแนวตั้งรับของกลุ่ม นปช.เป็นยุทธวิธีประการหนึ่ง โดยมีการประกาศเขตการยิงด้วยกระสุนจริง (Live Firing Zone)

-การใช้หน่วยรถหุ้มเกราะเมื่อจำเป็น และต้องการผลแตกหักในการสลายการชุมนุมเท่านั้น จึงทำให้ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวของยานเกราะก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553

-การสนธิกำลังอย่างลงตัวของชุดรบที่ประกอบด้วยชุดสไนเปอร์ ขบวนรถหุ้มเกราะพลรบหลังรถหุ้มเกราะขุดผจญเพลิง ขุดกู้ระเบิด (EOD) เป็นที่ประสบความสำเร็จที่น่าสนใจ

-การซักซ้อมแผนและซักซ้อมการปฏิบัติทั้งหมดทั้งในพื้นที่ตั้งหน่วยและที่ ร.11 รอ. เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นใจสู่ความสำเร็จ และเป็นการลดเกณฑ์เสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง



ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธี ควรมีวินัยและความอดทนสูงเยี่ยม และพร้อมปฏิบัติงานเกินกรอบเวลาที่กำหนด อย่างน้อยต้องเตรียมการ เตรียมใจ เตรียมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างน้อย 7 วัน (กรณี 3 วันนั้นน้อยเกินไป) ถ้ามีการต่อต้านอย่างหนัก เช่น กรณีชุมนุมบ่อนไก่)

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีควรมั่นใจ เชื่อมั่นที่รองรับด้วยเหตุผลว่า ภารกิจทางยุทธวิธีนั้นสอดรับกับแผนยุทธการ และแผนยุทธศาสตร์ของ ศอฉ. และรัฐบาล

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีควรมีการรักษาความลับในการปฏิบัติการ ทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติการ เพื่อมิให้เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมายกับกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลหยิบยกไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน

-ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชน ผู้บริสุทธิ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์ อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด

-ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถืออาวุธ ควรถืออาวุธและใช้อาวุธในรูปแบบการฝึกที่ปลอดภัยที่สุด ควรระลึกเสมอว่า การลั่นไกหนึ่งนัด อาจจะทำให้รัฐบาลล่มได้

-ควรศึกษาจัดทำบทเรียนการปฏิบัติ ในกรณี 10 เมษายน พื้นที่แยกคอกวัว กรณี 28 เมษายน พื้นที่อนุสรณ์สถาน กรณี 13 พฤษภาคม การลอบยิง เสธ.แดง และกรณียุทธการกระชับวงล้อม เพื่อจัดทำเป็นคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติระดับยุทธวิธีของกองทัพบก

-ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใดในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ



สรุป

บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ แม้ว่าในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธีจะได้บทสรุปออกมาในเชิงประสบความสำเร็จเสียเป็นส่วนใหญ่ ในระดับรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติ ผลสำเร็จครั้งนี้สร้างความโล่งใจให้กับสังคมไทยได้ไม่กี่นาที แต่ภายหลังผลการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ สถานการณ์ที่กำลังลดดีกรีความรุนแรงลง กลับกลายเป็นการปะทุขึ้นของยุทธการเผาบ้านเผาเมือง ก่อการจลาจลจากความโกรธแค้น ผิดหวังของมวลชนคนเสื้อแดงแดงทั้งแผ่นดิน แต่เป็นการแดงด้วยเปลวเพลิง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

นั่นคือ บทเรียนสงครามจลาจลเผาบ้านเผาเมืองที่ยังไม่ได้เขียน แต่ได้สร้างความหายนะให้กับประเทศนี้ไปเรียบร้อยแล้ว สมกับหนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่ง พาดหัวข่าวในวันรุ่งขึ้นวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ว่า "ประเทศพินาศ"



เบื้องหลังนามแฝงใครคือ "หัวหน้าควง"?

หัวหน้าควง จปร.32 (เหล่าทหารราบ) เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 72 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาหลักสูตรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ระหว่างประเทศและการทูต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-ผ่านการอบรมหลักสูตรพลร่ม ที่ฟอร์ต เบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ, อบรมภาษาอังกฤษขั้นสูงที่ออสเตรเลียและที่สหรัฐอเมริกา

-เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ เช่น - ผบ.ร้อย บก.รพศ.1 พัน 2 - อจ.หก.รร.สธ.ทบ.สบส. - ผช.อจ.อก.รร.สธ.ทบ.สบส. (ส่วนวิชาจำลองยุทธ)

- อนุกรรมาธิการและเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา พ.ศ.2551 (25 มิ.ย.-25 ม.ค. 2552)

- อนุกรรมาธิการและเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการศึกษาติดตามการบริหารจัดการงบประมาณในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา พ.ศ.2552 (26 ม.ค.2552 - 6 มี.ค.2553)

- คณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ รอง ปล.กห.(4) กระทรวงกลาโหม (26 ต.ค.2552 - 30 ก.ย.2553) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก


   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง