บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทิศทางปฏิรูปประเทศ


  ปรีดา  กุลชล

                                                                               
                   การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสร้างบรรยากาศให้ประชาชน 63 ล้านคนตื่นตัวเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องดีที่สมควรได้รับการสนับ สนุนอย่างยิ่ง เพราะความสำเร็จในเรื่องนี้จะทำให้การบริหารของรัฐบาลมีระบบมีคุณภาพเป็น ครั้งแรกหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475   มีระบบป้องกันปัญหาทุกเรื่องรวมทั้งการทุจริตแทนที่จะตามแก้ปัญหาแบบวัวหาย ล้อมคอก  มีการปรับปรุงระบบเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนยากจนมีการอยู่ดีกินดี  มีระบบป้องกันความปลอดภัยทุกรูปแบบ ทำให้ประเทศไทยสงบสุขเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดประเทศหนึ่งของโลก  อย่างไรก็ตาม  คณะกรรมการชุดต่างๆที่รัฐบาลแต่งตั้งต้องรู้สาเหตุถึงความจำเป็นที่ต้อง ปฏิรูปประเทศและรู้ทิศทางการปฏิรูปที่ถูกต้องได้มาตรฐานสากล 

                   ประเทศต่างๆทั่วโลกพากันตื่นตัวปฏิรูปการบริหารมีสาเหตุมาจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง(Edwards Deming) เมื่อทศวรรษ 1970s พบว่า การทำงานของคนมีประสิทธิภาพไม่เกิน 15% เท่านั้น  อีก 85% ขึ้นอยู่กับระบบ(ดู Deming 85/15 rule ใน google) ดังนั้น <span>เป้าหมายของการปฏิรูปประเทศคือ </span><span>“ให้การบริหารประเทศมีคุณภาพ”</span> <span>ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบ เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ</span>(Quality Assurance)   องค์กรมาตรฐานสากลโดยการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติได้ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2530 ให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต้องใช้การบริหารที่มีระบบ Quality Management System  ระบบนี้องค์กรมาตรฐานสากลเรียกว่า Quality System ซึ่งหมายถึงโครงสร้างที่เป็นระบบ  การบริหารต้องมีระบบวิธีปฏิบัติงาน และใช้ทรัพยากรเป็นเครื่องมือในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุ  (Man  Money Material)  กล่าวโดยย่อให้เข้าใจง่ายคือ  <span>คน</span> เช่น นายกรัฐมนตรีบริหาร<span>ระบบวิธีปฏิบัติงาน</span> ตาม<span>โครงสร้างที่เป็นระบบ</span>...นี่คือความสำเร็จของ การปฏิรูปประเทศที่แท้จริง

1.    โครงสร้างเป็นระบบ(Organization as a system):  ธรรมชาติของระบบทำงานทั่วไปคือ มีการนำเข้า(Inputs)...มีกระบวนการเพื่อเพิ่มมูลค่า(Process)...ออกมาเป็นผล ผลิต(Outputs) เมื่อสังเกตจะเห็นว่าธรรมชาติของกระบวนการทำงานเป็นรูปแนวนอนหรือแนวราบ  ดังนั้น โครงสร้างจำเป็นต้องเป็นระบบหรือเป็นแนวราบเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทำ งานตามธรรมชาติ  โครงสร้างเป็นระบบแนวราบ(Flat organization)หมายถึงการตัดลำดับชั้นต่างๆหลายชั้น(Hierarchy)ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 6 ฉบับออกหมด   ในทางปฏิบัติ การบริหารคุณภาพยุคใหม่ของโลกจะมีเพียงลำดับชั้นเดียวเท่านั้นคือทีม(Teams) ทีมรายงานขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารสูงสุด(Leadership Council)ซึ่งมี ผู้บริหารสูงสุด หรือ Champion เป็นผู้แทนของคณะกรรมการดังกล่าว และมีนักบริหารระบบ(Process Owner)รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบทั้งหมดขององค์กรรวมทั้งการปรับปรุง คุณภาพ(Quality Improvement)อันเป็นเป้าหมายของการบริหารคุณภาพ(Quality Management)ตามมาตรฐานสากล

2.    ระบบวิธีปฏิบัติงาน (Documented Procedures):  ระบบนี้เป็นหัวใจของการบริหารคุณภาพซึ่งการบริหารจะมีคุณภาพได้จำเป็นต้องมี ความสามารถในการพัฒนาระบบหรือออกแบบระบบให้ได้ก่อน    ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้และใช้เวลา พัฒนาระบบนานพอสมควรโดยใช้อำนาจตามกฏหมายมากกว่าความรู้การบริหารที่ทันสมัย ของโลก  กพร.ยังไม่รู้ตัวว่าตนเองคืออุปสรรคของการปฏิรูปประเทศเพราะยึด พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2550 เป็นหลัก  เมื่อ กพร.ไม่สามารถออกแบบระบบได้...ก็ไม่มีระบบให้บริหาร  ซึ่งหมายถึงความล้มเหลวเพราะไม่สามารถเริ่มต้นใช้การบริหารที่มีคุณภาพ  ดังนั้น การปฏิรูปใดๆทั้งการปฏิรูประบบราชการหรือการปฏิรูปการเมือง  การปฏิรูปเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม  การปฏิรูปการศึกษา  การปฏิรูปสื่อ  การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจ ฯลฯ จะมีคุณภาพได้  จำเป็นต้องเริ่มต้นที่การออกแบบระบบ(System Design or Process Design)ขึ้นมาก่อน และใช้ระบบประกอบการวางแผน(Strategic Planning) ใช้ระบบประกอบการปฏิบัติงาน(Operating Procedures)และใช้ระบบเป็นพื้นฐานในการบริหารบุคลากร(Workforce Process)  การปฏิรูปของคณะกรรมการปฏิรูปที่มี  นายอานันท์  ปันยารชุน เป็นประธาน  ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนถ้ามีระบบดังกล่าว Set of Procedures รองรับการบริหาร 


3. ทรัพยากร(Resources): โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในฐานะผู้นำ(Leadership)มีความสำคัญมาก เพราะเป็นผู้ขับเดลื่อนระบบตามข้อ 2. และบริหารโครงสร้างที่เป็นระบบตามข้อ 1. ความสามารถของผู้นำในการบริหารคุณภาพยุคใหม่มีจุดเด่นที่ใช้<span> ระบบ</span>เป็นเครื่องมือในการประเมินและปรับปรุงที่<span> ระบบ</span>เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ผู้บริหารราชการ ยุคเก่ายังคิดไม่ถึง    เนื่องจากการบริหารราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2550 ล้าสมัยเพราะใช้โครงสร้างหลายลำดับชั้น(Hierarchy)ที่ไม่เป็นระบบเช่นโครง สร้างตามข้อ 1.  และขาดระบบวิธีปฏิบัติงานตามข้อ 2.  กฏหมายดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต่อต้านความสำเร็จในการปฏิรูปประเทศ ที่คณะกรรมการชุดของ ดร.คณิต ณ นคร  ควรตระหนักในเรื่องนี้



                   ทั้ง 3 ข้อข้างต้นคือระบบ Quality System ที่ใช้ในการบริหารเพื่อให้การบริหารมีคุณภาพ อันเป็นทิศทางที่ถูกต้องของการปฏิรูปการบริหารทุกสาขาอาชีพที่ได้มาตรฐาน สากล International Organization for Standardization  อีกทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานบอลริจ(Baldrige Criteria)ของรัฐบาลสหรัฐ US. Federal Government  อันเป็นมาตรฐานที่นานาชาติให้การรับรองโดยมีกว่า 70 ประเทศที่ใช้มาตรฐานบอลริจเป็นมาตรฐานรางวัลในการปฏิรูปการบริหารทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งมาตรฐานใหญ่ระดับโลกทั้งสองต้องเริ่มต้นที่การออกแบบระบบให้ได้ดีเสีย ก่อน  เพื่อให้ระบบเป็นหลักประกันคุณภาพการบริหาร



                   นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีความเฉียบแหลมที่ริเริ่มปฏิรูปประเทศโดยแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ เช่น นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูป โดยมี นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ทั้ง 2  ชุดมีวาระ 3 ปี โดยใช้บ้านพิษณุโลก เป็นที่ทำงานชั่วคราว  นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการหาข้อเท็จจริงนำโดย ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด   และมี ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ   คณะกรรมการชุดสำคัญที่ตกหล่นขาดหายไปคือ การออกแบบระบบซึ่งเป็นเรื่องยากมากหากขาดประสบการณ์  ดังนั้น นายกรัฐมนตรีน่าตั้งผู้มีประสบการณ์ออกแบบระบบ(System Design or Process Design)เป็นคณะกรรมการเพื่อให้บริการเรื่องระบบแก่คณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ เพื่อให้งานที่คณะกรรมการปฏิรูปกำหนดมีคุณภาพ   เป็นวิธีเที่ดีเพื่อสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปประเทศ  นั่นคือ  การบริหารทุกเรื่องมีระบบมีคุณภาพ  ทั้งของฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม



การปฏิรูปประเทศ เช่น การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ตามความเห็นของข้าพเจ้านั้น...ง่ายเหมือนกินกล้วย(ซึ่งลิงก็ทำได้) สิ่งที่ข้าพเจ้าสงสัย คือ

1).ทั่วโลกใช้ TQM ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการสาธารณสุข ปฏิรูปการบริหารทุกประเภทรวมทั้งการบริหารธุรกิจภาคเอกชน...แต่ทำไมประเทศ ไทยไม่ใช้ TQM ทั้งๆที่มีนายกรัฐมนตรีสำเร็จจาก Oxford ซึ่งประเทศอังกฤษใช้การบริหารระบบหรือ TQM เป็นแนวทางปฏิรูปประเทศโดยออกเป็น British Standard เมื่อ พ.ศ. 2522 คือ BS-5750, 1979  โดยกำหนดให้ใช้"ระบบ"เป็นหลักประกันคุณภาพการบริหาร...กว่า 30 ปีแล้ว
2). ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษแรก(2542-2551) ใช้เงินงบประมาณของประชาชนประมาณ 1 ล้าน-ล้าน บาท(฿.Trillion) การปฏิรูปการเมืองหรือการปฏิรูประบบราชการใช้เงินประชาชนกับความล้มเหลวมาก มายมหาศาลพอๆกัน
3). ความสำเร็จของการปฏิรูปต้องมี Commitment ของผู้บริหารสูงสุด เช่น นายกรัฐมนตรีชี้ให้เห็นทิศทางปฏิรูปด้วย TQM แต่ทำไมไม่มีนายกรัฐมนตรีแม้แต่คนเดียวที่ชี้ทิศทางที่ถูกต้องดังกล่าว...มี แต่ชี้ให้หลงทาง เช่น แก้รัฐธรรมนูญจำนวน ส.ส. ประชาวิวัฒน์หาเสียง...หรือตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเลือกเชิญคนที่มีชื่อเสียงที่ไม่รู้เรื่อง TQM  เพื่อให้ได้แสดงความขยันปฏิรูปลองผิดลองถูกช่วยซื้อเวลาให้รัฐบาล

ก. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง บัญญัติชัดเจนให้ใช้ TQM. โดยระบุในมาตรา 75 ให้จัด"ระบบ"งานราชการ เพราะ"ระบบ"(System) คือหัวใจของ TQM. ก็น่าจะรู้แล้วว่ารัฐธรรมนูญให้ใช้ TQM
ข. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ชี้ชัดเจนให้ใช้ TQM โดยให้มี"ระบบ"การประกันคุณภาพการศึกษาในหมวด 6 เพราะ"ระบบ"เป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา คือ เป็นทั้งระบบวางแผนการศึกษา เป็นระบบวิธีการสอนหรือวิธีการทำงาน และเป็นระบบประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้ง 3 อย่างทำได้ในระบบเดียวกัน.

ความล้มเหลวดังกล่าวเป็นเพราะเส้นผมบังภูเขาของนักปราชญ์หรือเป็นกลยุทธ์ หลอกลวงสร้างภาพของนักการเมืองซึ่งผู้ที่เสียหายคือประชาชน...ในฐานะ ประชาชน...ข้าพเจ้าจะเขียนสั้นๆให้ท่านอ่านใน Note นี้เร็วๆนี้ เพื่อให้พิจารณาว่า ที่ว่าการปฏิรูปข้างต้นง่ายเหมือนกินกล้วยนั้น จริงหรือไม่

การปฏิรูปประเทศ (1)


การปฏิรูปประเทศหมายถึง 1). การปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูปการบริหารของรัฐบาล 2). การปฏิรูปเศรษฐกิจ 3). การปฏิรูปสังคมและการศึกษา สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศไทยในอดีต คือ เกาไม่ถูกที่คัน...หรือปฏิรูปไม่ตรงประเด็นที่โลกหรือนานาชาติเขาปฏิรูปกัน ตามการชี้แนะของ UN. และ องค์กรมาตรฐานสากล กล่าวคือ โลกเขาปฏิรูปให้มีการบริหารระบบหรือการบริหารคุณภาพ TQM.(Total Quality Management) แต่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่ขาดความรู้สมัยใหม่ดังกล่าว จึงใช้อำนาจปฏิรูปด้วยการใช้วิธีการลองผิดลองถูก(Trial and Errors)ตามความรู้สึกของนายกรัฐมนตรีแต่ละคนรวม 6 ท่าน คือ 1.นายชวน หลีกภัย 2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 3. พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ 4. นายสมัคร สุนทรเวช 5. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ 6. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ 2540 และฉบับ 2550 บัญญัติให้ “จัดระบบงานราชการ” เพื่อให้มีการบริหารระบบ (TQM) ซึ่งเป็นการปฏิรูปที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ผู้ที่สามารถทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จได้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น คือนายกรัฐมนตรี ความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศจะต้องมีต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรี ที่มีความรู้การบริหารที่ทันสมัยมาเกิดหรือมีนายกรัฐมนตรีที่เฉียบแหลมใฝ่ รู้ศึกษาได้ด้วยตนเอง...ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศ นอกจากนายกรัฐมนตรีต้องมีความรู้การบริหารที่ทันสมัยของโลกแล้ว ยังจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร(Top Management Commitment)ว่าจะปฏิรูปประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล


การปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานการปฏิรูปชุดเดียวกันได้ เช่น เกณฑ์ทั้ง 7 หมวดตามโครงร่างองค์กรของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (PMQA) หรือ เกณฑ์ ตามโครงร่างองค์กร 7 หมวดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกอ)ซึ่งเหมือนกัน อีกทั้งการปฏิรูปของทุกกระทรวงสามารถกำหนดให้มีศูนย์กลางปฏิรูปประเทศเพียง แห่งเดียวอย่างเป็นเอกภาพ โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกเป็นการปฏิรูปการศึกษาส่วนหนึ่ง การปฏิรูประบบราชการอีกส่วนหนึ่งต่างหาก  เหมือนในอดีตที่ล้มเหลว

ข้อสังเกต: องค์กรที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากองค์กรนี้รับผิดชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่งน่าจะ เป็นผู้นำ เพราะแผนเกิดขึ้นก่อนและเป็นผู้ชี้นำการปฏิบัติงานของกระทรวงต่างๆ   ในยุคที่ประเทศตื่นตัวเรื่องการปฏิรูป สภาพัฒน์ฯกลับทำตัวเป็นอีแอบเก็บเนื้อเก็บตัวอย่างสงบเงียบซึ่งน่าจะเป็น เพราะมีปมด้อยขาดความรู้การบริหารสมัยใหม่ของโลก...หลักฐานยืนยันการขาดความ รู้เห็นได้ที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เป็นแผนที่ล้าสมัยตกยุคที่สร้างความเสียหายให้ประเทศอย่างไม่น่าให้อภัย เป็นแผนที่ล้าสมัยเนื่องจากไม่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ ประเทศไทยได้ ในทางตรงกันข้าม ความล้าสมัยเป็นตัวกดดันให้ชาติตกต่ำในยุคที่ประชาคมอาเชียนเปิดเสรีในปี พ.ศ. 2558 (ASEAN 2015) ที่ประเทศไทยควรเป็นผู้นำในเรื่องความสามารถแข่งขัน...สาเหตุหย่อนยานความ สามารถแข่งขันเป็นเพราะสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีคณะกรรมการที่ มีความรู้การวางแผนที่ตกยุคไปแล้ว รวมทั้งข้าราชการระดับสูงของสภาพัฒน์ฯ ขาดความรู้เรื่องการวางแผนสมัยใหม่ของโลกซึ่งมีวิธีการวางแผนที่มีเป้าหมาย ในการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement) ให้ชาติมีความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้การบริหารระบบ(Management System) ด้วยการออกแบบระบบการบริหารแผนของชาติ(System design for Strategic Planning) โดยมีการวัด(Measurement) เพื่อปรับปรุงแผนโดยทีม PIT (Process Improvement Teams) ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของ ประชาคมอาเชียนได้อย่างมีศักดิ์ศรี  วันนี้ยังไม่สายเกินไป...ยังพอมีเวลาเล็กน้อยในการเร่งพัฒนาความรู้ข้า ราชการและการปรับปรุงแผนฯ 11 ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้ชาติมีความสามารถในการแข่งขันให้จง ได้ ซึ่งความรู้การวางแผนที่ทันสมัยเปรียบเสมือนชูชีพที่ช่วยให้สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรอดจากการจมน้ำตายหรือรอดจากการถูกยุบสำนักงาน เพราะความล้าสมัย ในวันที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่มีความรู้การบริหารที่ทันสมัยเร็วๆนี้

  แผนฯ 11 ไร้ความสามารถแข่งขัน


ความมุ่งหมายสำคัญที่สุดที่ชี้ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 คือ
ความสามารถในการแข่งขันของชาติ (National Competitiveness) ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนของประเทศไทยที่ยังไม่มีสถาบันทางเศรษฐกิจของชาติ ให้ความสำคัญเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง ทั้งในเวทีการประชุมประจำปีของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเวทีการประชุมของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าการจัดทำทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่ไร้ความสามารถแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553นั้น ชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องความสามารถในการแข่งขันของชาติเท่า ที่ควร ทั้งๆที่ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 ประชาคมอาเซียนประกาศเปิดการแข่งขันโดยเสรีในปี พ.ศ. 2558 เมื่อแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 เป็นแผนที่ไร้ความสามารถในการแข่งขันเช่นนี้ ย่อมชี้ให้นานาชาติในประชาคมอาเซียนเห็นว่าประเทศไทยยอมรับความอ่อนแอของตน เองและยังไม่มีความพร้อมในการเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ เพราะขาดความสนใจเนื่องจากขาดความรู้วิธีการวางแผนที่สร้างความสามารถในการ แข่งขัน

วิธีการวางแผนให้มีความสามารถแข่งขันได้นั้น การวางแผนต้องต้องมี “ระบบ” (Work System) และ “กระบวนการทำงาน” (Work Processes) เป็นรากฐานในทุกเรื่อง กล่าวคือ นอกจากต้องชี้ทิศทางการพัฒนาแผนแล้ว ยังต้องมี “ระบบ” รองรับการปฏิบัติงานตามแผน(Operations) และต้องมีการวัด (Measures) ที่ “ระบบ” และ “กระบวนการทำงาน” เพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)ของการปฏิบัติตามแผน...การปรับปรุงดังกล่าวนี่แหละ คือ ความสามารถในการแข่งขันของชาติ ดังจะบอกวิธีการในรายละเอียดต่อไป

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี “ระบบ” รองรับ มิฉะนั้นจะเป็นแผนที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นแผนที่บกพร่องสูงอย่างน้อย 85% ตามผลการวิจัยของ ดร.เดมมิ่งที่ทั่วโลกรับรอง (Deming,“Out of the Crisis.”) จากการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 10 ล้วนไม่มีคุณภาพ เพราะทุกฉบับบกพร่องอย่างน้อย 85 % ดังนั้น การที่สื่อบางฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการวิจารณ์ว่าแผนพัฒนาฯของชาติไม่ดีนั้น เป็นความจริงทุกประการตามผลการวิจัยดังกล่าว

ข้อสังเกต: นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต้องมี “ระบบ” แล้ว การบริหารของรัฐบาลต้องมี “ระบบ” ด้วย ซึ่งในอนาคต การบริหารราชการทุกกระทรวงต้องจัดทำระบบรองรับการบริหารหมวดต่างๆตามโครง ร่างองค์กร(Organizational Profile)ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งระบบสามารถป้องกันความเลวร้ายต่างๆของชาติวันนี้ได้ เช่น การซื้อเสียงของนักเลือกตั้งอันเป็นที่มาของการโกงชาติขายแผ่นดิน และการคอร์รัปชั่นรวมทั้งการรีดไถทุกรูปแบบจนทำให้ประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิต และผู้ส่งออกรายใหญ่น้ำมันปาล์ม ประชาชนต้องเข้าคิวรอซื้อราคแพงทีละขวด เช่นเดียวกับข้าวที่มีราคาสูงในตลาดโลก แต่ชาวนาไทยถูกโกงกดราคาตกต่ำเพราะรัฐบาลขาดระบบป้องกัน เช่นเดียวกับการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องมี “ระบบ” การประกันคุณภาพการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ...ทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวคือ สภาพัฒน์ฯ ก.พ.ร. และกระทรวงศึกษาธิการจำเป็นต้องบริหารโดยมี “ระบบ” (Work Systems) รองรับรวมทั้งการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11โดยหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กรมาตรฐานสากลที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก หลักฐานยืนยันการบริหารของทั้ง 3 องค์กรต้องมีระบบนอกจากเป็นข้อกำหนดของมาตรฐานสากลแล้ว ยังดูรายละเอียดได้ที่หนังสือระดับ 5 ดาวของ ดร.เดมมิ่ง ชื่อ “The New Economics for Industry, Government, Education.”

การบริหาระบบของหน่วยงานราชการต่างๆไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในอดีตเป็น เพราะติดอยู่ที่การออกแบบระบบ (System design) ใม่ได้ “ระบบที่ดีจริง” สาเหตุการออกแบบไม่ง่าย เพราะระบบที่ดีต้องทำหน้าที่ได้ 3 ประการพร้อมกันในระบบเดียว คือ 1). เป็นระบบที่เป็นแผนชี้นำการทำงาน(Plan what to do)…2). เป็นระบบวิธีปฏิบัติตามแผน (Do what you planned) และ… 3). เป็นระบบที่วัดหรือประเมินการทำงาน (Verify what you’re doing it.)เพื่อปรับปรุงคุณภาพ

ระบบบริหารที่ดีที่สุดในโลกได้แก่ระบบบริหารของรัฐบาลสหรัฐ (US. Federal Government) ซึ่งเมื่อประมาณปลายทศวรรษ 1970s ประเทศอังกฤษและองค์กรมาตรฐานสากล ISO ได้นำระบบของรัฐบาลสหรัฐมาเป็นตัวอย่างในการปฏิรูปการบริหารของประเทศอังกฤษ ให้เปลี่ยนไปใช้การบริหารระบบ TQM. แต่อังกฤษและองค์กรมาตรฐานสากลพลาดไปหยิบเอาระบบผิดคือ MIL-Q-9858A ซึ่งเป็นระบบจัดซื้อ...มิใช่ระบบบริหารตามที่ต้องการ ซึ่งป่านนี้คงจะมีการแก้ไขไปแล้ว.(โปรดติดตามอ่านตอนต่อๆไปซึ่งจะเขียนสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายแบบนี้ โดยเรียบเรียงให้เห็นวิธีการวางแผนอย่างมีระบบที่ได้มาตรฐานสากลฉบับ ปัจจุบัน เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาค ASEAN ที่หาอ่านได้ยากจากที่อื่น...ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับการ comments และ ยินดีตอบคำถามเท่าที่รู้).

สหรัฐปฏิรูปประเทศเป็นชาติแรกของโลกเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยใช้รางวัลจูงใจให้เปลี่ยนแปลงการบริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากการ บริหารสมัยเก่า Bureaucracy ไปสู่การบริหารสมัยใหม่ TQM โดยออกกฏหมายคือ Public Law 100 - 107, 1987 (ดู google) โดยมีเป้าหมายที่การปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)เพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน  ปัจจุบัน มีประเทศต่างๆทั่วโลกมากกว่า 70 ชาติพากันปฏิรูปประเทศด้วย TQM ตามวิธีการของสหรัฐ

วิธีการปฏิรูปประเทศของสหรัฐ

ใช้ ภาวะผู้นำ (Leadership) บริหารระบบ 3 ระบบ
1. ระบบยุทธศาสตร์ (Strategy system) โดยมุ่งที่ความพอใจของประชาชนหรือลูกค้า (Customer Focus)
2. ระบบปฏิบัติงาน (Operation system)
3. ระบบบริหารคน (Workforce system)

การสร้างความสามารถแข่งขันตามเป้าหมายของกฏหมายดังกล่าว ใช้วิธีการวัดการวิเคราะห์
(Measurement, Analysis)ที่จุดอ่อนของระบบทั้ง 3 ข้างต้นและฝึกอบรมให้เป็นจุดแข็ง...อันเป็นวิธีการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันให้องค์กรและประเทศที่แท้จริง

 การไร้ความสามารถแข่งขันของชาติ
                                                

ความมุ่งหมายหรือทิศทางสำคัญที่สุดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 คือ ความสามารถในการแข่งขันของชาติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ประเทศไทยอ่อนด้อยเรื่องความสามารถแข่งขัน บนเวทีโลก เพราะยังไม่มีสถาบันทางเศรษฐกิจของชาติที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้กันอย่าง จริงจัง ทั้งในเวทีการประชุมประจำปีของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเวทีการประชุมของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าการจัดทำทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่ขาดประเด็นความสามารถแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553นั้น ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งคณะรัฐมนตรี ที่ขาดความรู้เรื่องความสามารถแข่งขัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอันดับแรก เพื่อให้ชาติมีความสามารถแข่งขัน เนื่องจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558

ความสามารถแข่งขันคืออะไร
คนทั่วไปมักคิดว่า ความสามารถแข่งขันคือการต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งเหมือนกีฬามวยหรือกีฬา ฟุตบอล...การต่อสู้กับบุคคลอื่นหรือสู้กับคู่แข่งมิใช่วิธีสร้างความสามารถ แข่งขันตามบทความนี้ วิธีการสร้างความสามารถแข่งขันตามมาตรฐานสากลใช้วิธีการปรับปรุง คุณภาพ(Quality Improvement)จนสามารถผลิตบริการหรือสินค้าให้ประชาชนหรือลูกค้ามีความพึงพอ ใจคุณภาพ(Customer Satisfaction) ดังนั้น การวางแผนของชาติให้มีความสามารถแข่งขันคือการวางแผนให้กระทรวงต่างๆพัฒนา องค์กรของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มความสามารถแข่งขันซึ่งใช้วิธี การสำรวจหรือชี้จุดอ่อน(Identify)ของกระบวนการทำงาน(Work Processes)เพื่อหาโอกาสให้มีการปรับปรุง(Opportunity for Improvement).….การปรับปรุงคุณภาพตามวิธีนี้คือการสร้างความสามารถแข่งขัน ตามมาตรฐานสากล

การปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)คืออะไร
การปรับปรุงคุณภาพให้ทำเป็นระบบได้แก่จัดให้มี “ระบบงาน” (Work Systems)ที่เป็นระบบแสดงความมุ่งหมาย(Purpose)และขั้นตอนวิธี ปฏิบัติ(Procedures)ในการปรับปรุงคุณภาพให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นคู่ มือ....คู่มือที่จำเป็นของการปรับปรุงคุณภาพอีกอย่างหนึ่งที่ละเว้นมิได้ คือคู่มือ “กระบวนการทำงาน” (Work Processes) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในรูปเอกสารที่บรรยายลักษณะการทำงานตั้งแต่จุดเริ่มต้น (Inputs) กระบวนการ(Process)เพิ่มมูลค่า จนออกมาเป็นผลผลิต (Outputs) การมีคู่มือกระบวนการทำงานช่วยให้ง่ายต่อการสำรวจค้นหาจุดอ่อนต่างๆในการ ปฏิบัติงานให้เห็นโอกาสในการปรับปรุง OFI. (Opportunity for Improvement)....เมื่อเห็นจุดอ่อนในกระบวนการทำงานแล้ว ก็ให้แก้ไขที่จุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งด้วยวิธีการฝึกอบรมเพื่อกำจัดจุด อ่อน...ด้วยวิธีนี้นี่แหละ คือ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กรของท่าน...เมื่อรัฐบาลส่งเสริม ให้มีการปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีข้างต้นอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นั่นคือ การสร้างความสามารถแข่งขันให้ทั้งประเทศ หากมีการเอาจริงเอาจังพัฒนาในเรื่องนี้ ย่อมส่งผลให้ประเทศไทยมีความสามารถแข่งขันสูงเหนือกว่าชาติอื่นในภูมิภาคอา เซียน และในระดับสากล.

วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน...ทำได้อย่างไร

วิธีการปรับปรุงคุณภาพ ในทางปฏิบัติให้มีการตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพ PIT (Process Improvement Team)เข้าไปช่วยหน่วยงานที่ต้องการปรับปรุง ทีมนี้เป็นทีมเฉพาะกิจ(Ad-hoc Team) ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ขนาดของทีมมี 5-7 คน ทุกคนผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วเป็นอย่างดี ระยะเวลาทำงานปรับปรุงประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่องานปรับปรุงคุณภาพประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดแล้ว ให้ยุบทีม โดยมีการให้รางวัลลูกทีมทุกคนที่พาทีมประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย…ราย ละเอียดเพิ่มเติมดู Peter R. Scholtes, The Team Handbook (Madison, WI: Joiner Associates, 1988); H. James Harrington, Business Process Improvement (New York: McGraw-Hill, 1991); Joseph M. Juran and Frank M. Gryna, Quality Planning and Analysis (New York: McGraw-Hill, 1993); Peter S. Pande, Robert P. Neuman, Roland R. Cavanagh, The Six Sigma Way (New York: McGraw-Hill, 2000) องค์กรใหญ่ในสหรัฐ เช่น G.E. ลงทุนให้พนักงานนับแสนคนเข้ารับการฝึกอบรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร หลายสัปดาห์ บริษัทซัมซุงของเกาหลีปฏิบัติตามโดยใช้วิธีฝึกอบรมเหมือนกับ G.E. จนติดอันดับ Top Ten ของโลกได้...นี่คือวิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเชื่อถือได้หรือไม่
การที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับวิจารณ์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไม่มี คุณภาพนั้นเป็นความจริง ถึงแม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 พยายามช่วยโดยบัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีนั้นไร้ค่าโดยสิ้นเชิง เพราะสภาที่ปรีกษาดังกล่าวขาดความรู้เรื่องระบบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10 แต่ละฉบับเชื่อถือได้ไม่เกิน 15% เท่านั้น เพราะแผนดังกล่าวทุกฉบับไม่มี “ระบบ” รองรับ หลักฐานยืนยันเรื่องนี้ได้จากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่งที่นานาชาติให้ความเชื่อถือ Edwards W. Deming, The New Economics (Cambridge, MA; MIT Center for Advanced Engineering Study, 1993)

วิธีแก้ให้เป็นแผนที่เชื่อถือได้

ให้มีการวางแผนโดยมีระบบรองรับตามการแนะนำขององค์กรมาตรฐานสากล ISO 9000:2008 ได้แก่แผนโฮชิน Hoshin Planning รายละเอียดดู Serv Singh Soin, Total Quality Control Essentials (New York:McGraw-Hill, 1992); Yoji Akao (ed.), Hoshin Kanri: Policy Deployment for Successful TQM (Cambridge, MA: Productivity Press, 1991)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง