บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขุนพลประชาธิปัตย์ ฝากการบ้าน-แจกโจทย์เศรษฐกิจ จี้จุดอ่อนนโยบาย "ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ"





หลัง จากใช้เวลากว่า 16 ชั่วโมงในการอภิปรายนโยบาย เหล่าองครักษ์-แม่ทัพเศรษฐกิจ ต่างลุกขึ้นชี้แจงจนมือระวิง เพื่อตอบคำถามจากฝ่ายค้าน

"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ในฐานะนายกรัฐมนตรี ใช้เวลาชี้แจง 2 ช่วง 3 นาที 3 ประเด็น คือกองทุนน้ำมันฯ โครงการบ้านหลังแรก และการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง

เพราะ รายละเอียดบนเอกสาร 60 หน้า 8 นโยบายหลัก ถูกเกาะติด แกะทุกตัวอักษร เพื่อหาข้อติติงอย่างละเอียด โดยเฉพาะ 16 หัวข้อนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

"ประชาชาติธุรกิจ" ประมวลผล บทสรุปนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ฝ่ายค้านร่วมนำเสนอ เพื่อเป็นการบ้านให้ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" นำไปเป็นบทเรียนในการบริหารประเทศต่อไป

หนี้และภาระการเงิน-การคลัง

"กรณ์ จาติกวณิช" รับหน้าที่อภิปรายผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล สู่สถานะทางการเงิน การคลังระดับชาติ โดยเริ่มต้นย้ำคำพูดที่ "สัญญา" กับ "นโยบาย" ที่ไม่ตรงกัน สร้างความ ผิดหวังให้กับประชาชน

เขาบอกว่า การประกาศพักหนี้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทให้กับเกษตรกรและผู้ที่มีรายได้ต่ำนั้น หมายถึงการพักหนี้ให้แก่เกษตรกรกว่า 70% ในสังกัด ธ.ก.ส.ที่มีมูลหนี้สูงถึง 4 แสนล้านบาท และต้องไม่ลืมคิดถึงตัวเลขลูกหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรเงินสด จำนวน 16 ล้านคน มูลหนี้ 3 แสนล้านบาทด้วย

โดยหากคิดอัตราส่วนที่รัฐบาลต้องเข้าไปชดเชยดอกเบี้ยแทนประชาชน ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 1-2 แสนล้านบาท

ประเด็น ที่สองที่ "กรณ์" พูดถึง คือการขึ้นเงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท ที่หากคำนวณแค่ในระบบภาคราชการนั้นจะต้องจัดตั้งงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และทำให้ครบวงจรถึงผู้ที่มีวุฒิการศึกษา ป.โท และ ป.เอก ที่ต้องขยับขึ้นด้วย จะทำให้มีภาระเพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นล้านบาททันที

โครงการ "บ้านหลังแรก" ที่นอกจากจะจูงใจผู้ประกอบการด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว "ยังมีการลดภาษีธุรกิจเฉพาะ ลดภาษีค่าโอนในส่วน ผู้ประกอบการ เพราะบางบริษัทก็กำไรมากมายอยู่แล้ว บริษัท เอส ซี แอสเซท เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 55% จากปีที่ ผ่าน ๆ มา ทำไมรัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ กรณีนี้เข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องแน่นอน"

"กรณ์" สรุปว่า กระบวนการทั้งหมด ภายใน 1 ปี จะทำให้เกิดหนี้สาธารณะจาก 41% ของ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 50% ทันที และจะเพิ่มปริมาณใกล้เคียงกัน ทุกปี หากยังดำเนินการเช่นนี้ ดังนั้น รัฐบาลมี 3 ทางเลือกในการแก้ปัญหา คือไม่ทำนโยบาย กู้เงินมหาศาล หรือเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปให้มากขึ้น

"สรรเสริญ สมะลาภา" อภิปรายอ้างอิงผลการวิจัยของ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ลูกชายของนายไตรรงค์ สรุปความได้ว่า การขึ้นค่าแรงจะกระทบ กับภาคอุตสาหกรรมและสินค้าโดย ตรง เช่น วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และอาหาร

คำพยากรณ์สถานการณ์ เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะต้องเผชิญ กับวิกฤตการณ์เงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นถึง 12-15% ในช่วง ปีหน้าเป็นต้นไป นับได้ว่าเป็นตัวเลขที่ มากกว่าสมัยที่ "รัฐบาลอภิสิทธิ์" บริหารประเทศ

การออกนโยบายลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 ต้องไม่ลืมว่า ทุก 1% ที่หายไป ทำให้รัฐสูญรายได้ 2.1 หมื่นล้านบาท

ค่าแรง 300-15,000 ต้องทำจริง

นโยบาย ที่ประชาชนลอยคอ-รอคอย ให้รัฐบาลดำเนินการตั้งแต่รู้ผลเลือกตั้ง คือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และปรับเงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท ซึ่งปรากฏอยู่ในศึกครั้งนี้อย่างละเอียด ชนิดจับผิดทุกตัวอักษร

ในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน มอบหมายให้ "ธนิตพล ไชยนันทน์-อภิรักษ์ โกษะโยธิน-ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ" ร่วมชำแหละนโยบายดังกล่าว

"ธนิต พล" บอกว่า เมื่อแรงงานไทยได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แรงงานต่างด้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ส่งผลให้แรงงานไทยว่างงาน สินค้าจะราคาแพงขึ้น ก่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ

ขณะที่ "อภิรักษ์" มองเห็นปัญหาจากนโยบายดังกล่าวว่า ปัจจุบันค่าครองชีพรายพื้นที่มีความแตกต่างกันสูง อย่างเช่น กทม. 215 บาท ภาคเหนือ 180 บาท ภาคอีสาน 170-180 บาท หากจะทำค่าแรงขั้นต่ำให้เป็น 300 บาททั่วประเทศ จะเกิดปัญหาทันที

หากเริ่มต้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 จะส่งผลให้มีคนตกงาน 30% หรือ 3 แสนคน จากแรงงานทั้งหมด

ส่วน การปรับอัตราเงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท ที่อาจนำร่องให้กับราชการและรัฐวิสาหกิจนั้น หากเทียบตามบันไดขั้นเงินเดือนเดิม อัตราดังกล่าวจะเท่ากับคนที่ทำงานมาแล้วกว่า 10 ปี ซึ่ง ควรจะต้องปรับฐานเงินเดือนของคนที่มีอายุงานมากกว่าอย่างก้าวกระโดดตามไป ด้วย

"อภิรักษ์" บอกว่า หากไม่ทำครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกสายอาชีพ ทุกระดับชั้น จะทำให้ระยะห่างระหว่างคนจน-คนรวย เพิ่มมากขึ้น

ห่วง "จำนำข้าว" ล้มไม่เป็นท่า

"น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม" รับหน้าที่อภิปราย "โครงการจำนำข้าว"

เขา บอกว่า สิ่งที่หายไปในร่างแถลงนโยบายนี้ คือการรับจำนำข้าวเหนียว 18,000 บาท พร้อมย้ำรัฐบาลรับจำนำข้าวทุกเม็ด ทุกคน ในราคาข้าวเจ้า 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณ 4-5 แสนล้านบาท

"หาก รัฐบาลจะเลือกใช้บัตรเครดิตชาวนาเข้ามาลดรายจ่ายให้กับเกษตรกร รัฐบาลต้องสัญญาก่อนว่าจะได้รับต้นทุนการผลิตที่ถูกลงจริง และต้องระวังเรื่องแก๊งหลอกบัตรเครดิต เพราะขนาดชนชั้นกลางยังโดน ครั้งนี้เกษตรกรจะกลายเป็นเหยื่อแทน"

ส่วน "เกียรติ สิทธีอมร" ย้ำว่า ในช่วงหาเสียงพรรครัฐบาลรับปากประชาชนไว้ว่าจะเริ่มให้ทันในฤดูกาลเก็บ เกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนนี้ และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น แต่ส่วนตัวยืนยันว่าทำไม่ได้ ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

1.ประวัติ ศาสตร์ 30 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลในหลายประเทศใช้เงินอุดหนุนข้าวไปแล้วกว่า 3.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไม่มีครั้งไหนที่ทำให้ข้าวขยับราคาขึ้นตาม หัวใจหลักในการปรับราคานั้น คือหากมีสินค้าในสต๊อกสูง ราคาก็ตก หากมีสต๊อกต่ำ ราคาก็สูง สิ่งเหล่านี้มีตัวแปรจากดินฟ้าอากาศ และการปลูกพืชพลังงานทดแทน พื้นที่เพาะปลูก ไม่ใช่เกิดจากการแทรกแซงของรัฐ

2.ประเทศ ไทยเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก แต่ระเบียบระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่า มาตรการแทรกแซงตลาดที่ดำเนินการไว้ก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกจะต้องหยุด ไว้แค่นั้น แต่ต้อง ค่อย ๆ ลดลง 10% ต่อ 10 ปี และหากรับจำนำในราคาสูง ก็เป็นการจูงใจในการเพิ่มผลผลิต ก็เสี่ยงที่จะถูกฟ้อง เหมือนครั้งที่บราซิลเคยฟ้องสหรัฐ อเมริกา ในคดีฝ้ายมาแล้ว

ทั้งนี้ ราคาข้าวในตลาดโลกแตกต่างจากนโยบายรัฐถึง 5,000 บาท หากจะรับจำนำทั้งหมดจะใช้เงิน 4.7 แสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนทันที 1.5 แสนล้านบาท คำถามจึงมีอยู่ว่า รัฐบาลจะนำเงินจากไหนมาดำเนินการ ผิดกฎระเบียบหรือไม่ และจะทำอย่างไรไม่ให้ต่างชาติตอบโต้ทางการค้า

"ไตรรงค์ สุวรรณคีรี" หัวหอกผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวเป็นพิเศษ รับหน้าที่เป็นดาบสุดท้ายของการอภิปรายได้บอกว่า หากวันนี้รัฐบาลเลือกที่จะทำระบบจำนำข้าวแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ หากทำไม่ได้ก็ต้องออกมารับผิดชอบด้วย

และการรับจำนำต้องกำชับเจ้า หน้าที่ให้ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ ในข้อจำกัดเรื่องความชื้นให้ไม่เกิน 15% ต้องทำอย่างเคร่งครัด เพราะทุก ๆ 1% ที่ต่างออกไป นั่นเท่ากับว่าขาดทุนทันที 150 บาทต่อเกวียน

รวมถึงการตระหนักในการ ใช้งบประมาณ เพราะที่ผ่านมามีการใช้อย่างหละหลวม เสมือนความรู้สึกที่ว่าไม่ใช่เงินของตัวเอง เลยใช้เงินแบบไม่ระมัดระวัง ทำให้รัฐสูญงบประมาณไปอย่างเปล่าประโยชน์

เมื่อเริ่มโครงการรับจำนำ แล้ว รัฐบาลไม่มีโกดังเก็บข้าวเป็นของตัวเอง ต้องเช่าโรงสี ก็เสียเงิน ซึ่งข้าวที่เก็บไว้ในโกดังจากทุกรัฐบาลทั้งหมด 5.6 ล้านตัน ต้องจ่ายค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ยเดือนละ 810 ล้านบาท คิดเป็นเงิน 1 หมื่นล้านบาท ในหนึ่งปี

การเก็บข้าวไว้ในโกดังเป็นเวลานาน ก็ส่งผลถึงคุณภาพ โดยที่ผ่านมามีการวิจัยแล้วว่า ข้าวสามารถเก็บได้เพียงแค่ 1 ปี 6 เดือน หากเกินกว่านั้น คุณภาพจะตกลง การเก็บไว้เกิน 2 ปี จะราคาตกลง 5% เกิน 3 ปี ราคาก็ตกลง 10%

"ในทฤษฎีการบริหารธุรกิจ เขาสอนว่า ให้หลีกเลี่ยงการเก็บสต๊อกสินค้า เน่าเปื่อย เพราะเก็บไว้ มีแต่จะสร้างความขาดดุล ข้าวเสียหาย ส่งผลให้ข้าวที่ไม่ได้ออกสู่ตลาดโลก มีผลทำให้ราคาสูงขึ้น แต่เวลาข้าวสูงขึ้น คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียว เวียดนาม เขมร ปากีสถาน อินเดีย ก็ขายข้าวได้ดีขึ้น นี่คือดุลต้นทุนที่คนไทยต้องจ่ายปีละหมื่นกว่าล้านบาท"

"ไตรรงค์" เสนอว่า ข้อเสียของการรับจำนำข้าวอีกประการหนึ่ง คือการ ไม่ส่งเสริมให้ข้าราชการ ชาวนา ละเลยกับการไม่ยอมลดต้นทุน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้

จี้ทบทวนมาตรการพลังงาน

นโยบายที่ถูกคัดค้าน-ท้วงติงทันที ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยเริ่มหาเสียง ถึงกระแสที่ว่าจะหยุดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน

"ม.ล.อภิ มงคล โสณกุล" บอกว่า นโยบายพลังงานรัฐบาล คือแผนบ่อนทำลายพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะยุบหรือชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง ต่างก็เป็นกระบวนการทำลายโครงสร้างพลังงานทั้งสิ้น คือไม่มีเงินชดเชยแก๊สหุงต้มให้กับภาคครัวเรือน ส่งผลให้ราคาทะยานขึ้นสูงเป็น 540 บาทต่อถัง

สุดท้ายจะมีผลกระทบต่อ การ ส่งเสริมพลังงานทดแทน เพราะเมื่อ งดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ราคาแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซิน 95 จะแตกต่างกันเพียง 3 บาท และมีราคาสูงกว่าน้ำมันเบนซิน 91 ส่งผลให้คนขับรถจักรยานยนต์กลับไปใช้น้ำมันเบนซิน บริษัทผู้ผลิตจะต้องปิดตัวลง กระทบถึงเกษตรกรที่ปลูกพืชพลังงานอย่างอ้อย มันสำปะหลัง ก็จะขายไม่ได้ สุดท้ายแก๊สโซฮอล์จะสูญพันธุ์หายไปจากตลาด รัฐบาลจะมีแผนช่วยเหลืออย่างไร

ส่วน "อรรถวิชช์" ย้ำว่า นโยบายรัฐบาลเหมือนมาตรการ "แก้บน" ขอแค่ทำให้ได้ตามที่หาเสียง ส่วนจะเป็นไปอย่างถาวรหรือไม่ ยังตอบไม่ได้

คำ อภิปรายของ "อรรถวิชช์" มีคลิปภาพของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ในช่วงปราศรัยหาเสียงประกอบ ด้วยถ้อยคำที่ว่า "ดิฉันจะกระชากค่าครองชีพ ด้วยการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ"

โครงการบัตรเครดิตพลังงานที่อาจช่วย เหลือประชาชนได้ไม่ถั่วถึง ในขณะที่สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้อุ้มราคาให้คงที่ ได้รับประโยชน์ถ้วนหน้า

ปัญหารถไฟฟ้า-สนามบิน

"อนุชา บูรพชัยศรี" ท้วงติงเรื่องการพัฒนาระบบราง โดยเฉพาะรถไฟ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ทั้ง 2 สาย คือพญาไท-สุวรรณภูมิ, มักกะสัน-สุวรรณภูมิ ที่เฉลี่ยมีรายได้เพียงวันละ 1 ล้านบาท จากผู้ใช้บริการ 30,000 คน

"ควร นำสนามบินดอนเมืองกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งส่งสัญญาณไปถึงภาคการบินทั่วโลกให้รับรู้ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะมี 2 สนามบินในระดับสากล"

"สามารถ ราชพลสิทธิ์" เตือนถึงการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า จะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม 3 ประการ คือไม่เป็นธรรมกับผู้โดยสารที่นั่งระยะสั้นที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น, รถโดยสารปรับอากาศอาจเรียกร้องให้ใช้มาตรฐานเดียวกัน และเมื่อรถไฟฟ้าไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนปีละหลายหมื่นล้านบาท ต้องใช้เงินภาษีของคนทั่วประเทศมาช่วยเหลือคนกรุงเทพฯ

"อลงกรณ์ พลบุตร" ย้ำให้รัฐบาลดำเนินโครงการเปิดประตูการค้าด้าน ตะวันตกเชื่อมโยงวงแหวนเศรษฐกิจ East-West Economics Corridor เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งอย่างครบวงจรทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ตัวเลขทางการค้า การลงทุนสูงขึ้น




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง